Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y.ตอน ต่อแอมป์ 40+40 w. ราคาไม่ถึงพัน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • dynamic range ผมว่าผมเข้าใจมันดีครับ ส่วนเรื่อง อิมแพ็ค เสียงพริ้ว เสียงอิ่มเสียงหวาน ผมก็ไม่เข้าใจเช่นกัน
    คลาส G ผมเคยทำครับ หวังผลทางด้านประหยัดพลังงาน มากกว่า แต่มองในด้านคุณภาพเสียง กับ การประหยัดพลังงาน
    แล้ว คลาส H คือ คลาสที่ดีที่สุด ทั้งในแง่คุณภาพเสียง ทั้งการประหยัดพลังงาน
    คลาส G มีแบบอนุกรม และแบบขนาน ทั้งสองแบบมีภาคจ่ายไฟ สองชุด ใช้ ทรานซิสเตอร์ ในการควบคุมภาคจ่ายไฟ
    ภาคขยายจัดวงจรแบบคลาส AB
    คลาส H พัฒนามาจาก คลาส G (ของ yamaha จะใช้ชื่อว่า EEEngine ) มีภาคจ่ายไฟ สามชุดปรับปรุงการทำงานของ
    ตัวควบคุมภาคจ่ายไฟ ซึ่งมีความสเถียรมากขึ้น สวิชไฟได้ราบเรียบขึ้น ทั้งคลาส G และ คลาส H เหมาะกับเครื่องเสียงกลางแจ้งมากกว่า
    ที่ทำงานผมก็ ทยอยเปลี่ยนเป็น คลาส H เกือบหมดละครับ ^^
    เพราะถ้าสร้างเล็กๆวัตต์ต่ำ ต้นทุนจะสูงกว่าคลาส ทั่วๆไป อันนี้บอกก่อนนะครับว่าเป็นความเข้าใจของผมเอง ผิดถูก ตกหล่น
    ยังไงช่วยแนะนำให้ทีครับ

    Comment


    • ดีจัง มีคนเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก
      หนีไปเดินเล่นต่อละ แว่บ แว่บ

      Comment


      • มีใครเคยฟังเพลงผ่าน compresser บ้างครับผมใช้มันมานาน แต่ไม่เคยลองกะเสียงดนตรีเลยซักครัง
        พรุ่งนี้มีงานพอดี เดี๋ยวผมจะลองใช้ดู

        อธิบายก่อนนะครับว่ามันคือ อะไร
        compresser ผมนิยามเอามั่วๆ ว่ามันคือ "โวลุ่มอัตโนมัติ" ละกัน การทำงานของมันก็ง่ายๆครับ เสียงที่ เบาๆ มันจะเร่งขึ้นมาได้
        เสียงที่ดังๆมันก็จะเบาลงได้ เอาใว้ใช้ควบคุมไมค์โครโฟน ในกรณีที่ ผู้ใช้ไมค์โครโฟน ไม่สามารถควบคุม ความดังได้
        (บางทีพูดเบาหรือไมค์ไกลจากปากมากเกินไป หรือบางทีพูดดังหรือจ่อไมค์ใกล้ปากมากเกินไป) เจ้าตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ของมัน ตามที่ได้ปรับ
        ตั้งค่าเอาใว้ เดี๋ยวจะลองดูว่าได้ผลมั้ย พรุ่งนี้ค่ำๆจะมารายงานผลครับ^^
        ปล.เอฟเฟ็คกีต้า ก็มีเสียง compresser ถ้าใช้ เสียงกีต้าจะค้างแบบเสียง ยาวๆ กีต้าร์เสียงจริงมันจะค่อยๆเบาลงไปแล้ว
        แต่พอผ่านเอฟเฟ็คเสียง compresser เสียงจะยังค้างอยู่เพราะมันเปรียบสเหมือนโวลุ่ม ที่ทำงานโดยอัตโนมัตินั่นเอง
        Last edited by fenderfree; 4 Mar 2011, 01:28:45.

        Comment


        • EEEngine คือ เทคโนโลยีการจัดการวงจรขับภาคขยายกำลัง เครื่องขยายเสียงพีเอ ของยามาฮ่า ด้วยแนวคิดที่ จะทำให้เครื่อง เพาเวอร์แอมป์ ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คือกินกำลังไฟน้อย แต่ให้กำลังออกได้สูง นอกจากนั้น ผู้ออกแบบ ยังคำนึงถึง เสียงที่มีคุณภาพ ให้คงคุณภาพ ความน่าประทับใจอยู่ ด้วยการใช้วงจรจ่าย ตรวจสอบ ขนาดสัญญาณเข้า และจ่ายแรงดัน และกระแส ไฟเลี้ยงให้เปลี่ยนแปลงไป ตามระดับ สัญญาณเข้า อย่างต่อเนื่อง ในระดับที่พอเหมาะ เพียงพอที่จะ ใช้ส่งกำลังออก อย่างเต็มที่ ตามที่ได้กำหนดไว้

          การออกแบบนี้ ถือว่า เป็นการปฎิวัติทาง เทคโนโลยีด้านการขับสัญญาณออก ของเครื่องขยายเสียง โดยได้นำเอาความโดดเด่น ด้านคุณภาพเสียง มาจาก เครื่องขยายเสียง คลาส AB และ ความโดดเด่นด้าน ประสิทธิภาพ จากเครื่องขยายเสียงคลาส D (ความดังเท่ากัน แต่ร้อนน้อยกว่า) มารวมกัน เข้าไว้ใน EEEngine นี้ เทคโนโลยีนี้ ได้ถูกนำมาใช้แล้ว กับเครื่องขยายเสียง ของยามาฮ่ามากมายหลายรุ่น และได้รับการยอมรับ จากผู้ใช้ และงานติดตั้งระบบเสียงทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

          EEEngine ได้ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยมีความโดดเด่น ด้านการออกแบบ เครื่องขยายกำลัง ให้มีประสิทธิภาพ เทียบเคียง เครื่องขยายเสียง คลาส D โดยคุณภาพเสียงเทียบ ได้กับเครื่องขยายเสียง คลาส AB นอกจากนี้ EEEngine ผลพลอยได้ คือน้ำหนัก ขนาด และความร้อนที่เกิดจากการใช้กับกำลังสูงๆ ลดลง ตามไปด้วย

          EEEngine จะตรวจจับขนาดสัญญาณเข้า และจ่ายกำลังไฟแหล่งจ่าย ให้น้อยที่สุด เพียงพอ แก่ภาคขยายกำลัง ที่จำเป็นจริงๆ ในการส่งออก ยังลำโพง ในการพัฒนา แหล่งจ่ายกำลัง ได้นำเอาแนวคิด การทำงานของ คลาส D มาใช้ ในการจ่ายกำลังยัง ภาคขยายสุดท้าย ซึ่งทำงานแบบ คลาส AB กระแสเกือบทั้งหมด จะจ่ายออกตรง ยังลำโพง ไปเป็นสัญญาณเสียง มีเพียงส่วนเล็กน้อย ที่ยังคงสูญเสีย และปล่อยพลังงานความร้อน ออกมาผ่าน แผ่นระบายความร้อน

          ด้วยการที่ยังคงใช้ภาคขยายกำลังสุดท้ายแบบคลาส AB ซึ่งเป็นอนาล็อกล้วนๆ และไม่ได้มีการแปลงสัญญาณแต่อย่างใด ทำให้คุณภาพเสียงดี และภาคจ่ายไฟ ที่ออกแบบให้ การตกคร่อม ของกำลังที่ ภาคขยายสุดท้าย น้อยที่สุด ทำให้ได้เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมือนคุณได้เครื่องที่มีคุณภาพเสียง คลาส AB และประสิทธิภาพสูงอย่างคลาส D ในเครื่องเดียวกันนั่นเอง

          ขอบคุณข้อมูลจาก detex audio ครับ
          Last edited by toon ชาวโลก; 4 Mar 2011, 08:05:07.

          Comment


          • อันนี้ class ต่างๆ ครับ

            1. แบ่งตามชนิดไบอัสของ เอาท์พุททรานซิสเตอร์ ได้แก่ CLASS A, B, AB, C
            1.1 คลาส A ชนิดนี้เน้นในเรื่องคุณภาพเสียง มีความเพี้ยนตํ่าและมีเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในด้านความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟอยู่ตลอด เวลา เหมาะฟังเพลงเน้นรายละเอียดของเสียงครับ

            1.2 คลาส B ใช้ทรานซิสเตอร์ทำงาน 2 ตัวสลับกัน ข้อดีคือไม่ร้อน ข้อเสียคือความเพี้ยนเยอะครับ เสียงไม่ค่อยมีคุณภาพ

            1.3 คลาส AB ก็ คือเหมือนเอาเอกับบีมารวมกัน ใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวในการทำงาน แต่ป้อนกระแสไฟในปริมาณที่ต่ำกว่าของคลาสเอ แต่การทำงานของ ทรานซิสเตอร์เหมือนคลาสบี จึงได้ข้อดีของทั้งสองคลาส คือไม่ค่อยร้อนมากและได้ความเพี้ยนของเสียงน้อยครับผม อาจจะไม่ได้เท่าคลาสA แต่ก็ใกล้เคียงครับผม แล้วกำลังขับยังได้มากกว่าด้วยครับ ชนิดนี้ใช้ขับได้หมดครับ กลางแหลม หรือซับ

            1.4 คลาส D ชนิดนี้ได้เปรียบเรื่องพลังขับมากกว่าชนิดอื่นๆๆ ได้เรื่องพละกำลังอย่างเดียว นิยมเอาไว้ขับซับอย่างเดียวครับ

            2.แบ่งตามความคิดของผู้ออกแบบ ได้แก่
            CLASS H มีแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่ง ไฟสูงและไฟต่ำ ชุดไฟต่ำทำงานด้วย CLASS AB ชุดไฟสูงจะจ่ายไฟให้ชุดไฟต่ำอีกทีแบบแปรผันกับสัญญาณ
            หากสัญญาณมาแรง ชุดไฟสูงก็จะปรับแรงดังไฟเลี้ยงให้สูงตาม ทำให้สัญญาณไม่ขลิบ

            CLASS G เหมือน CLASS H แต่ หากสัญญาณจะขลิบ ชุดไฟสูงจะจ่ายไฟสูงให้เลย(เป็นสวิทช์ เปิด-ปิด ไฟสูง)
            จุด ประสงค์ของทั้ง 2 CLASS เพื่อที่ต้องการออกแบบวงจรขยายวัตต์สูง แต่ ทรานซิสเตอร์ไม่สามารถรับไฟสูงได้ และทำให้ลดความร้อน เพิ่มประสิทธิภาพ
            (หมายถึงใช้กินไฟน้อย) เลยทำให้เกิด CLASS D

            CLASS D เป็นการแปลงสัญญาณ Analog เป็น Digital และ ณ จุด output จะใช้ Coil+C ฟิลเตอร์ให้เป็น Analog อีกทีหนึ่ง เนื่องจาก Output ทำงาน
            แบบ Digital ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงเกินกว่า 90% หมายถึงถ้า amp ใช้กำลัง 100 w จะสามารถถ่ายทอดพลังงานให้แก่ลำโพงได้ถึง
            90 w สูญเสียภายในวงจรเพียง 10 w แต่เนื่องจาก จุด output ใช้ Coil+C ขวางลำโพงอยู่ ทำให้ Damping factor ต่ำ เสียงไม่สมจริง
            ในวงการเครื่องเสียงจึงไม่นิยมครับ
            คงมี CLASS แปลก ๆ อื่น ๆ อีก โดยส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นหลักการนี้ครับ แต่ส่วนมากจะเป็นประเภทวงจรมากกว่า ได้แก่ ประเภท X-circuit
            ลืมอีก CLASS ครับ Super A ของ JVC คนไทยเอามาทำให้ชื่อว่า Dynamic CLASS A
            หลักการคือ Bias แบบ CLASS AB แต่ ณ อีกเฟสสัญญาณ TR จะไม่หยุดนำกระแส (ไม่เหมือน CLASS AB) ที่ TR จะหยุดนำกระแสหากไม่ใช่ เฟส ของตัวเอง แหมอธิบายยาก
            หู!!! มันออกแบบได้ไงเนี่ย เก่งจริง ๆ จากการทดสอบทาง LAB เขารับรองว่า ได้เสียงสมจริงเหมือน CLASS A แต่กินไฟมากกว่า AB นิดหน่อย
            แต่ที่ไม่ฮิตติดตลาด เพราะพวกไฮไฟไม่ยอมรับครับ
            อ้อ ในหนังสือคงไม่มี CLASS Super A นะครับ ผมอ่านเจอในหนังสือมานานแล้ว ทุกอย่างประทับไว้ในความทรงจำ.....ไม่รู้ลืม
            Class H กินไฟมากกว่า AB นิดหน่อยครับ ผมยังไม่เคยเห็นวงจรเลย ที่ผมรู้ที่มาเหล่านี้มาจากวารสาร สเตอริโอสมัยเมื่อสามสิบปีก่อน ไว้ว่าง ๆ จะ หาหนังสือ scan ให้ดูกันครับ ส่วน Class G ของแอมป์ Carver มีแหล่งจ่ายไฟถึง 3 ระดับ ตัวบางเฉียบ ไม่ใช้หม้อแปลง คาดว่า ใช้ Coil tab ไฟมาจากไฟบ้านเลย
            โดยใช้ Triac ควบคุม ทำให้ amp model นี้สามารถส่งกำลังได้ 250 W. RMS และ 1200 W. peak
            ในความเห็นผมนะครับ amp 300 w. RMS ต้องใช้ไฟไม่น้อยกว่า +/- 86 Volt หากต้องการ 1000 วัตต์ตามความเข้าใจของผม วงจรคงต้องใช้ไฟเลี้ยง ไม่น้อยกว่า +/-100 Volt (ที่โหลด 8 โอห์ม) Class AB คงไม่ไหว แหม ผมทำหนังสือหายไปเล่มนึง เป็นวงจรขยายขนาด 800 W.(วัตต์ไม่โม้) ถ้าจำไม่ผิด ใช้ไฟ +/- 115 Volt เลยทีเดียว TR เรียงเป็นแผง หาก ต้องการวัตต์สูงและใช้ไฟต่ำ ก็ต้องใช้ลำโพง 4 โอห์มครับ ต่ำกว่านี้ไม่ดี เพราะความต้านทานของสายลำโพงเอาไปหมด แม้สายลำโพงจะสั้นๆก็ตาม

            Class H จะใช้ไฟสองระดับ เป็น LO กับ HI สมมติว่า LO ใช้ไฟ 30 Volt HI =100 Volt
            เมื่อเปิดเพลงเบาๆ ทรานซิสเตอร์จะใช้ไฟ LO ยามใดที่สัญญาณพุ่งแรง จะมีวงจรตรวจจับสัญญาณ แล้วสั่งให้วงจรพิเศษดึงไฟ จากชุด HI มาจ่ายให้กับชุด LO เช่น สัญญาณขนาด 20 Volt ใช้ไฟชุด LO

            สัญญาณขนาด 35 Volt ไฟชุด HI จะจ่ายไฟให้มากกว่า 35 โวลต์นิดหน่อยครับ เหมือนกับเป็น Linear regulator แปรผันตามขนาดสัญญาณเข้า ไม่เหมือนกับวงจร Class G เพราะ Class นี้จะสวิทช์ไฟ HI จ่ายให้เลย ดังนั้น จากกรณีตัวอย่างที่สัญญาณขนาด 35 โวลต์ TR output จะได้รับไฟตรงขนาด 100 Volt เลยทีเดียว ซึ่งวงจรประเภทนี้จะเห็นตามวารสารต่าง ๆ มากเลยเพราะออกแบบง่ายกว่า เห็นใช้ ic op-amp ออกแบบเป็นวงจรเปรียบเทียบแรงดัน ระหว่างแรงดันอ้างอิงกับสัญญาณเข้า แล้วไปสั่ง MOSFET switch ไฟสูงจ่ายให้ TR output เลย

            หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ ถึงเหตุผลที่ทำไมต้องใช้แหล่งจ่ายไฟมากกว่า 1 แหล่ง
            คราวนี้ผมวิเคราะห์ต่อ การที่ Class G สวิทช์ไฟแบบรวดเร็วเช่นนี้ จะทำให้ TR output ได้รับไฟเพิ่มขึ้นแบบกระโชกโฮกฮาก เป็นผลให้เกิด ความเครียดระหว่างรอยต่อของขา B-E และการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมมีผล capacitance ระหว่างรอยต่อ B-E ด้วย จึงพออนุมานได้ว่า ผลลัพธ์ของเสียงที่ได้จะไม่นิ่มนวล จึงเหมาะสำหรับงานกลางแจ้งมากกว่าฟังในบ้าน แต่ยกเว้นสำหรับ Class H นะครับ เพราะออกแบบมาสำหรับฟังในบ้าน ท่านอาจจะสงสัยว่า amp เป็นร้อย ๆ วัตต์คงไม่มีใครฟังในบ้านหรอก แปลกแต่จริงครับ เพราะว่า amp วัตต์สูงเวลาเปิดฟังดัง ๆ ในห้องฟังเพลง จะทำให้เสียงไม่เครียด สมัยก่อน(ประมาณ 20 ปีก่อน) เมื่อทรานซิสเตอร์เปิดตัวมาต่อกรกับหลอด ด้วยกำลังที่สูงกว่า เกิดองค์กรไฮไฟขึ้นมาองค์กรหนึ่ง
            ทดสอบและทดลองได้ผลดังนี้
            - แอมป์ทรานซิสเตอร์ที่จะสามารถขึ้นทำเนียบระดับไฮไฟได้ จะต้องมีคุณสมบัติ คือ
            ต้องมีกำลังไม่น้อยกว่า 100 W. RMS ที่ 8 โอห์ม ที่ความถี่ 1 KHz ความเพี้ยนรวมไม่เกิน 0.1 %
            ในขณะที่แอมป์หลอด ไม่ระบุวัตต์ ระบุเพียงความเพี้ยนรวมไม่เกิน 5 %
            ช่าง แตกต่างกันเหลือเกินนะครับ แต่มันมีเหตุผล เพราะ อุปกรณ์ไบโพล่า มักจะให้ความเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิคเป็นเลขคี่ ในขณะที่หลอดเป็นเลขคู่ และให้บังเอิญ เสียงเครื่องดนตรีทุกชนิดก็จะให้ความถี่เชิงฮาร์มอนิคเป็นเลขคู่เสียด้วย ดังนั้น แม้หลอดจะมีความเพี้ยนมากกว่า แต่หูมนุษย์ก็จะฟังไม่ค่อยออกครับ

            ขอบคุณ magnetaudio.com
            Last edited by toon ชาวโลก; 5 Mar 2011, 12:23:48.

            Comment


            • ผมว่าไม่น่าใช่นะที่ว่าคลาส H กินไฟมากกว่า คลาส AB ถ้าเป็นเช่นนั้นคงได้เห็นคลาส H แต่ในบ้านล่ะครับ แต่นี่กัน ไม่เคยเห็นคลาส H ในเครื่องเสียงบ้าน
              แต่นี่ผมเคยเห็น(ใช้) แต่ใน PA อ่านๆดูข้อความด้านบนบางอย่างเจ้าของบทความเค้าก็ไม่แน่ใจนัก เรื่องคลาส H ก็เช่นกัน การเน้นข้อความเพียงบางส่วน
              อาจจะทำให้ผู้ที่อ่านนั้นเข้าใจผิดได้ครับผม (ป่านนี้ผู้อ่านบางท่านคงกะลังเอาไปเถียงกับใครสักคนนึงอยู่)

              Comment


              • Originally posted by fenderfree View Post
                ผมว่าไม่น่าใช่นะที่ว่าคลาส H กินไฟมากกว่า คลาส AB ถ้าเป็นเช่นนั้นคงได้เห็นคลาส H แต่ในบ้านล่ะครับ แต่นี่กัน ไม่เคยเห็นคลาส H ในเครื่องเสียงบ้าน
                แต่นี่ผมเคยเห็น(ใช้) แต่ใน PA อ่านๆดูข้อความด้านบนบางอย่างเจ้าของบทความเค้าก็ไม่แน่ใจนัก เรื่องคลาส H ก็เช่นกัน การเน้นข้อความเพียงบางส่วน
                อาจจะทำให้ผู้ที่อ่านนั้นเข้าใจผิดได้ครับผม (ป่านนี้ผู้อ่านบางท่านคงกะลังเอาไปเถียงกับใครสักคนนึงอยู่)
                ------------------------------------

                ( การเน้นข้อความเพียงบางส่วนอาจจะทำให้ผู้ที่อ่านนั้นเข้าใจผิดได้ครับผม ) ขออภัยอย่างแรงครับ
                Last edited by toon ชาวโลก; 4 Mar 2011, 09:14:23.

                Comment


                • ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

                  ข้อมูลเยอะดีจริงๆ แต่อ่านยากนิดนึง ถ้าใช้ย่อหน้าใหม่เข้ามาช่วย จะช่วยให้สบายตาขึ้นเยอะเลย

                  Comment


                  • final test จบแล้ว T w T

                    มาตามเสพต่อแล้วครับผม ... ขอบคุณสำหรับข้อมูลอันมากมาย.... *ตามอ่านกี่วันเนี่ย

                    Comment


                    • ขอบคุณ สำหรับข้อมูลด้วยครับ

                      ผมนี่สงสัยจะป็น Old school ไปซะละ class ใหม่ๆ ล่าสุดนี่(แต่นานแล้ว) ที่เคยทำเล่นก็ Class T
                      เอาIC TA2020 มาโมใส่แอมป์รถยนต์ ของ Pioneer class AB ได้กำลังเพิ่มมาหลายเลย เสียงดีด้วยนะ
                      แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้จะหาได้อยู่รึปล่าว เพราะบริษัทที่คิด/ทำIC ตัวนี้ Tripath ดันเจ๊งไปซะแล้ว

                      Comment


                      • เห็น Jeff Rowland แล้วทำให้อยากเล่น Lm3886 จัง
                        http://jeffrowland.com/websitepublis...ml#/all_images

                        Comment


                        • Originally posted by tiger X-fi
                          เห็น Jeff Rowland แล้วทำให้อยากเล่น Lm3886 จัง
                          คุณเสือ สั่งตัวนี้มาทำแท่นเครื่องเลย
                          Last edited by keang; 5 Mar 2011, 16:36:50.

                          Comment


                          • Originally posted by keang View Post
                            คุณเสือ สั่งตัวนี้มาทำแท่นเครื่องเลย
                            เอาเหมือนตัวจริงเลย
                            โหดไปมั๊ยนี่......(แต่มันสวยมากๆเลย)
                            แค่ซิ้งค์ธรรมดากระเป๋าก็แย่แล้วครับ....555+

                            Comment


                            • คุณเสือ มีฝีมือทางทำเคสนี่ใช่ไหมครับ เห็นว่าทำพวกอคิลิคด้วย
                              ไม่รู้ว่าว่างหรือรับทำไหม บางทีเผื่อให้ช่วยทำให้มั่ง แล้วเดี๋ยวจะเอาไปบอกเพื่อนฝรั่ง ให้มาสั่งทำ
                              ธรรมดาผมจะไปวิ่งเล่นบอร์ดนอกซะเป็นส่วนใหญ่
                              ขนาดก็คงเป็นแบบมาตรฐาน ลองไปโหลดข้อมูลของพวก Hammond มาดูไว้ก็ได้ครับ
                              เพราะ เวลาออกแบบปริ๊นท์ ส่วนใหญ่ก็ใช้ขนาดเคสพวก Hammond เนี่ยแหละเป็นมาตรฐาน

                              Comment


                              • ช่วงงนี้เครื่องมือยังไม่ครับ...ถ้าเครื่องมือครบๆรับครับ....แต่หาขนาดกล่องไม่เจอครับ....555+
                                http://diyaudioprojects.com/Schemati...ube-Amplifier/

                                Comment

                                Working...
                                X