Announcement

Collapse
No announcement yet.

ต่อสายดิน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ต่อสายดิน

    หลังที่ใช้งานการฟังเพลงจากคอมผ่านdac int แต่ต้องโดนไฟดูดนิดๆตลอดตอนโดนอุปกรณ์กลัวเป็นหมัน
    วันนี้อ่านกระทู้พวกต่อสายดินตามเวปต่างๆ ว่าจะทำดูแต่หาดินนอกบ้านไม่เจอถัดกำแพงบ้านเราก็กลัวเขาก่อสร้างดันมาขุดของเราไปอีก เลยเอาแบบง่ายๆเอามันตรงแถวโตะคอมนี่แหละวะ จำได้ว่าเดินท่อน้ำใหม่เห็นช่างขุดนิดเจอดินแล้วเลยจัดการเอาสว่านมาเจาะเลยพ้นปูนไป5cmเจอดินโชคดีไปไปซื้อทองแดงแท่งมาจัดการตอกซะเลยแล้วต่อสายไฟจากหลังintซะเพราะคิดว่าในเมื่อมันเชื่อมต่อกันหมดแค่ต่อจากintอยางเดียวก็น่าจะเพียงพอ ก่อนทำเอาไขควงวัดไฟจิ้มตามอุปกรณ์ดูมีไฟติดมันทุกจุด แต่หลังจากต่อเสร็จเออวะมันไม่ช๊อต แล้วเอาไขควงจิ้มไปทั่วเลยคราวนี้ไฟไม่ติดแฮะ เปิดฟังเสียงดูเออฟังไม่ออกครับแค่ไฟไม่ดูดก็คุ้มแล้ว
    คำเตือนตอนจิ้มอย่าไปจิ้มโดน ผบทบ นะเดี๋ยวไฟติดแน่ละ

    ถามอีกข้อครับแบบนี้ผมเดินไฟจากเมนใหญ่มาเลยเส้นหนึ่งเพื่อใช้กับชุุดคอมกับเครื่องเสียงคือมันจะเป็นLกับN แล้วซื้อปลั๊กแบบสามขามาเพื่อจะทำปลั๊กรางแล้วผมสามารถต่อสายดินที่ทำอยู่เข้าขั้วกราวน์GRของปลั๊กที่ซื้อมาได้เลยไหม
    รูป
    Last edited by mudang3048; 30 Sep 2010, 09:56:06.

  • #2
    ได้เลยคร้าบบ^^ แต่ลงกราวด์ หลายจุดระวัง กราวด์ลูปนะครับ

    Comment


    • #3
      ลืมบอกค่าใช้จ่ายแท่งทองแดง+หัวน๊อตทองแดง1.8 ม.120บ. สายดิน4 ม. 50บ. ค่าแรงกาแฟร้อนๆ1แก้ว
      ลืมเรื่องเสียงครับฟังตอนแรกไม่รู้ ฟังไปฟังมาผมว่าเหมือนมันนิ่งขึ้นครับ
      Last edited by mudang3048; 30 Sep 2010, 09:23:18.

      Comment


      • #4
        ถ้าคุณจะเดินสายแยกจากเมนใหญ่เข้าเครื่องเสียงคุณ ผมใช้ สายไฟ thai yazaki 6 sq เบสมาไม่หมดไม่สิน เหมือนกับ หนี้ไม่หมดไม่สิน (ผ่อนเครื่องเสียง) อิๆ ส่วนทองแดงตอนนี้ผมใช้ ไม่ยาว ว่าจะจัดยาวๆ ให้มันลงไปในดินชั้นที่ 2 เลย อิๆ

        Comment


        • #5
          อ่าของผมต้องถอดสายออกไฟเลย(แค่ปิดสวิทซ์ที่รางปลั๊กยังไม่ได้) แล้วทิ้งไว้นานหน่อย ก่อนจะต่ออะไร ทั้งคอมและแอมป์ ไม่งั้นดูดอิอิ

          อ่า..ในรูปนั่นแปลว่าโซดามีแล้วชิมิ แล้วเหล้ามีด้วยมิงี๊บ....ตั้งวง
          Last edited by naraklive; 30 Sep 2010, 11:36:16.

          Comment


          • #6
            โอ่ ลงทุนเจาะบ้านเลยแฮะ

            Comment


            • #7
              นำเสนอวิธีต่อกราวน์ระบบ 2แบบ

              1. ดึงกราวน์จากเครื่องตัวสุดท้ายของระบบ(AMP) ลงดิน
              2. ดึงกราวน์จากเครื่องตัวแรกของระบบ(COM, CD DVD Player) ลงดิน

              ลองสังเกตุความแตกต่างด้วย น้ำเสียง + มิติเวทีเสียง

              Comment


              • #8
                ขอถามนิดหนึ่งครับ เเล้วถ้าผมต่อจากตัวถังคอมจุดเดียว
                นี้ช่วยได้ไหมครับ ในกรณีเล่นเพลงจากคอมเเล้วไปต่อ กับ dac
                หรือว่า ควรจะต่อจาก dac ครับ
                ส่วนตัวผมคิดว่าควรต่อจากdac
                ที่ถามคือว่า ผมต่อกับคอมไว้ก่อนเเล้วครับ
                ที่จริงเสียงที่ได้ก็ดีพอสมควรครับ เเต่อยากรู้หลักที่น่าจะถูกต้องเเละดีที่สุดครับ
                ขอบคุณมากครับ ^^
                Last edited by lookchid; 30 Sep 2010, 14:40:31.

                Comment


                • #9
                  ผลทางศักย์ไฟของตัวถังเครื่อง เมื่อต่อกราวน์ดินแล้วคงไม่ต่างกันครับ
                  แต่ต่อจากคนละจุด(ต้นทาง, ปลายทาง) จะมีผลต่างอีกเล็กน้อย ในเรื่องกราวน์ลูป ในเรื่องการลดสัญญาณรบกวนในระบบบางส่วน(ต่อแบบไหนบายพาสสัญญาณรบกวนให้ออกจากระบบได้เร็วกว่ากัน)

                  Comment


                  • #10
                    ถ้าแบบที่ท่านเก่งบอก ผมก็ลากสายไปจากเส้นเมนมา1เส้นตรงเครื่องเสียงแล้วทำเป็นปลั๊ก3ทางแล้วเอาสายกราวน์ที่ทำขันไปในช่องGRของปลั๊ก3ทางที่เดินมาใหม่ แบบนี้ผมก็ไม่จำเป็นต้องต่อจุดสายกราวน์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วใช่ไหมครับ
                    อีกเรื่องครับจุดที่ผมนั่งมันใกล้กับจุดต่อสายดินผมจะได้รับอันตรายไหมครับ
                    Last edited by mudang3048; 1 Oct 2010, 05:41:53.

                    Comment


                    • #11
                      คุณเก่งครับ เวลาผมลงกราวด์ ผมจะเอามิเตอร์วัดไฟวัดระหว่าง L กับ N ก่อนแล้วดูว่าไฟมาเท่าไหร่ สมมุตติว่ามา 220 v แล้วผมจะ
                      เทียบระหว่าง L กับสายกราว์ดที่เราเดิน(G) จะต้องใกล้เคียงกับ ที่เราวัดระหว่าง L กับ N เช่น วัด L กับ N ได้ 220 v. แล้ว
                      วัด L กับ G ถ้าได้ 220 v. ก็ โอเค อาจจะขาดไปเหลือ 218-219 ก็โอเค ถามว่าใช้วิธีแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ
                      (ผมใช้แบบนี้มาตลอด)

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by mudang3048 View Post
                        ถ้าแบบที่ท่านเก่งบอก ผมก็ลากสายไปจากเส้นเมนมา1เส้นตรงเครื่องเสียงแล้วทำเป็นปลั๊ก3ทางแล้วเอาสายกราวน์ที่ทำขันไปในช่องGRของปลั๊ก3ทางที่เดินมาใหม่ แบบนี้ผมก็ไม่จำเป็นต้องต่อจุดสายกราวน์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วใช่ไหมครับ
                        อีกเรื่องครับจุดที่ผมนั่งมันใกล้กับจุดต่อสายดินผมจะได้รับอันตรายไหมครับ
                        ขอนุญาติ ตอบให้นะครับ คือเราต้องดูด้วยว่า สายไฟ
                        ของคอมพ์หรืออุปกรณ์ อื่นๆเป็นแบบสามขาหรือไม่ถ้าเป็นแบบสามขากราวด์ก็สมบูรณ์แล้วครับ
                        เรื่องได้รับอันตรายมั้ย สมมุตตินะครับว่าไฟรั่วที่เคสคอมแล้วเราไปจับเคสคอม ถ้าระบบกราวด์เราดี ไฟมันจะวิ่ง
                        ไปหาอะไรที่ใหญ่กว่าตัวเรา(พื้นโลกนั่นเอง) มันจะไม่ไหลมาหาเรา แต่ถ้ากราว์ดไม่ดี มีค่าความต่างศักย์
                        น้อยกว่าตัวเรา ไฟก็จะวิ่งเข้าหาเรา พูดง่ายๆใช้หลัก การคล้ายๆ กับสายล่อฟ้านั่นเอง

                        Comment


                        • #13
                          Originally posted by fenderfree
                          เวลาผมลงกราวด์
                          เอามิเตอร์วัดไฟวัดระหว่าง "L" กับ "N" ก่อนแล้วดูว่าไฟมาเท่าไหร่ = สมมุตติว่า "220 v"
                          แล้วเทียบระหว่าง "L กับ "สายกราว์ดิน(G)" จะต้องใกล้เคียงกัน (ที่เราวัดระหว่าง "L" กับ "N") = ถ้าได้ "220 v" ก็ โอเค อาจจะขาดไปเหลือ 218-219 ก็โอเค
                          ถามว่าใช้วิธีแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ (ผมใช้แบบนี้มาตลอด)
                          L = Line
                          N = Neutron (ไม่ชัวร์ แต่น่าจะจำไม่ผิดน่ะ ถ้าผิดก็ทักท้วงด้วย)
                          G = Earth

                          เป็นวิธีวัดแบบนึงครับ แต่มีวิธีวัดที่ง่ายและสะดวกกว่า

                          เอามิเตอร์ ตั้งเร้นจ์ที่วัดความต้านทาน สายข้างนึงจิ้มที่ "ขั้วGของปลั๊กไฟ" / สายอีกข้างจิ้มที่"พื้นดินหรือพื้นปูนของตัวบ้าน"
                          ดูค่าความต้านทาน ไม่ควรเกิน"0(ค่าในอุดมคติ)"โอห์ม (ถ้าจะเอาแบบชัวร์จริงๆต้องใช้พวกมิลิโอห์มมิเตอร์มาวัด)

                          เพราะถ้ามีค่าความต้านทานเกิดขึ้น แสดงว่าระบบกราวน์ดินยังระบายออกได้ไม่หมด ถ้ามีไฟรั่วเราก็จะโดนดูดแบบเบาๆให้พอรับรู้ว่ามีไฟรั่วนิดๆ

                          ถ้าในระบบเครื่องเสียง นอกจากเรื่องสายดินแล้ว ยังมีเรื่องไฟรั่วของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องที่มีผลต่อเสียงที่ได้ด้วย
                          เพราะ เมื่อนำมาต่อใช้งานร่วมกัน จะมีการรวมค่าไฟรั่วจากเครื่องหนึ่งสู่เครื่องอื่นภายในระบบด้วย


                          ---------------------------------------------------------


                          เอามาจากเวป Miracle Power Transformer All Type

                          Insulation & Shielding

                          INSULATION SYSTEMS
                          MIRACLE Toroidal Transformers are constructed with reinforced insulation and withstand 4,000 V RMS for 1 minute. Minimum creepage distance is 8 mm.

                          STATIC SHIELDING
                          When the toroidal transformer is used in an extremely noisy environment, a static shield might be needed to reduce the capacitive coupling between the primary and secondary. The noise suppression decreases with larger core sizes.

                          The static shield consists of copperfoil laminated between polyester tape.
                          Since the shield adds layers to the winding window in the transformer, a larger core size might be required.

                          LOW MAGNETIC STRAY FIELD
                          MIRACLE toroidals have a very low magnetic strayfield, with the primary and secondary windings uniformly wound around the entire core. For extremely sensitive applications the radiated field can be reduced further by winding a magnetic shield around the circumferenceof the transformer.

                          A = Without magnetic shield
                          B = With magnetic shield


                          --------------------------------------------------------


                          ตัวอย่าง ที่มีผลจากการต่อสายไฟACกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

                          โครงสร้างของหม้อแปลง แบบEI



                          โครงสร้างของหม้อแปลง แบบToroidal


                          สมมุติว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีหม้อแปลง จะเป็นแบบEI แบบC-Coreหรือแบบไหนก็ตาม ขาไฟเข้าของตัวหม้อแปลงจะมี2เส้น

                          เชื่อหรือไม่ ถ้าเราสลับสายไฟ2เส้นนี้ เสียงที่ได้จะมีผลต่างด้วย มากบ้างน้อยบ้างก็อยู่ที่ซิสเต็มที่ใช้ว่าละเอียดอ่อนแค่ไหน(พวกเครื่องขี้ฟ้อง)

                          คำอธิบาย
                          โครงสร้างของตัวหม้อแปลง คือ ใช้ลวดตัวนำมาพันวน (จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้ายก็ตามสบาย) ซ้อนกันหลายๆชั้น
                          พูดง่ายๆ คือ จะมีปลายลวดตัวนำข้างนึงอยู่ด้านในสุด และ ปลายลวดตัวนำอีกด้านนึงจะอยู่ด้านนอกสุด

                          ทฤษฎี คือ เมื่อมีการป้อนไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำ ลวดตัวนำจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบๆตัวเอง (ตามกฏมือขวาหรือไรนี่แหล่ะ)

                          ลองนึกภาพตามน่ะ สายไฟจากการไฟฟ้า มี "L" กับ "N"
                          - ถ้าเราเอา "L" ไปต่อกับลวดชั้นใน "N" ต่อกับลวดชั้นนอก จะเกิดสนามไฟฟ้าแบบไหน
                          - ถ้าเราเอา "N" ไปต่อกับลวดชั้นใน "L" ต่อกับลวดชั้นนอก จะเกิดสนามไฟฟ้าแบบไหน


                          อาจจะมีคนบอก
                          "ไฟACมันไม่มีขั้ว" ต่อถูกต่อผิดมันก็ทำงานได้เหมือนกัน ผมก็ต้องตอบว่า "ถูกต้องคร๊าบบบบบบ"
                          และผมจะตอบเพิ่มไปอีกนิดว่า
                          "ไฟACไม่มีขั้ว แต่มันมีเฟส เฟสบวก เฟสลบ น่ะคร๊าบบบบ" + "ผลต่างที่เกิดขึ้นก็เพราะอิทธิพลจากเฟสนี่แหล่ะคร๊าบบบบ"


                          รูปแบบแพทเทินของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้จากการต่อสายทั้ง2แบบ จะมีส่วนที่ต่างกันบ้าง ไม่เหมือนกันเป๊ะๆ

                          ถ้าหากเราไม่ต่อสายกราวน์ดินให้กับเครื่องตัวนี้ รับรองว่า ถ้าเราวัดค่าไฟรั่วของเครื่องตัวนี้ มันจะบอกว่าการต่อทั้ง2แบบนี้ มีค่าไฟรั่วไม่เท่ากัน

                          OK กังวลปัญหาเรื่อง ไฟรั่วใช่ไม๊ งั้นต่อสายดินให้มันไปสิ จะได้จบเรื่องไฟรั่วไปซะ
                          เมื่อต่อสายดินให้กับเครื่องตัวนี้ ลองวัดไฟรั่วอีกครั้ง ปรากฏว่า ไม่มีไฟรั่วแล้ว
                          เย้ เย้ ดีใจจัง ไม่มีไฟรั่วแล้ว

                          ไม่มีไฟรั่วแล้วก็จริง แต่ แต่ แต่ แล้วก็ แต่
                          แต่ ..... คุณต้องอย่าลืมว่า รูปแบบแพทเทินการแพร่กระจายสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของตัวหม้อแปลงมันยังมีอยู่เหมือนเดิม

                          ซึ่งแพทเทินการแพร่กระจายสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนั้น มันไปกระทบกับอุปกรณ์หรืออะหลั่ยต่างๆที่อยู่ภายในเครื่องนั้นด้วย
                          มันก่อให้เกิดผลต่างกับชุดซิสเต็มที่ละเอียดอ่อน(พวกเครื่องขี้ฟ้อง)


                          รูปแสดงการแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากหม้อแปลง ที่มีผลต่ออุปกรณ์รอบตัว

                          A = Without magnetic shield
                          B = With magnetic shield

                          ผู้ผลิตเครื่องเสียงจำเป็นต้องใช้หม้อแปลง แต่ก็พยายามหาทางเลี่ยงผลกระทบจากการแพร่สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยวิธีต่างๆ
                          - วางหม้อแปลง ให้อยู่ห่.างหรืออยู่คนละมุมกับตัววงจร


                          - หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะพื้นที่จำกัด ก็ใช้วิธี ขยับตัววงจรที่สำคัญให้ห่.างจากหม้อแปลง


                          - นอกจากวางให้ห่.างหรือคนละมุมแล้ว เพื่อลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด ก็ทำฝาครอบปิดทับตัวหม้อแปลงไปเลย




                          คำแนะนำ คำเตือน คำขู่ ฯลฯ
                          การไวร์ริ่งสายไฟภายในเครื่อง พวกสายสัญญาณ พวกสายลำโพง พวกสายไฟเลี้ยง ต้องพยายามให้อยู่ห่.างจากตัวหม้อแปลงมากที่สุด
                          สายไฟที่พาดผ่าน หรือ อยู่ใกล้หม้อแปลง อาจได้รับสัญญาณรบกวนเป็นของแถม เช่น เสียงฮัม เสียงจี่ เสียงปิดเปิดไฟในบ้าน
                          Last edited by keang; 1 Oct 2010, 16:20:28.

                          Comment


                          • #14
                            หลังจากต่อสายดินเสร็จผลการฟังไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้วทีนี้มาลงมือทำสายacใหม่โดยซื้อสายมา3เมตรราคา1650บ. หัวท้าย2คู่990บ. จัดการโมนิดหน่อยสายมันใหญ่กว่าหัว
                            จากการลองฟังดูยังไม่พ้นเบรินรู้สึกว่าเสียงมันยิ่งนิ่ง และสงัดขึ้นแน่นขึ้น ต้องลองให้พ้นเบรินไปสักระยะน่าจะดีขึ้นอีกผมว่านะ ไม่รู้อุปโหลกไปเองเปล่าอิอิ



                            Comment


                            • #15
                              ครับผมคุณเก่ง ผมก็เคยวัดแบบนั้นมาก่อน แต่ที่เลิกวัดแบบนั้นไปก็เพราะว่าท่านลองคิดดูนะครับว่า
                              1.พื้นปูนเป็นฉนวน วัดยังไงก็ไม่มีค่า Ohm. (แบบนี้ไม่เคยวัดแต่คิดเอาตามที่รู้มา)
                              2.หัวมิเตอร์ที่เราจิ้มกับผิวดิน ไม่เหมือนกับการตอกลงไปในดินก็หมายความว่าเรากำลังวัดความต้านทาน
                              ระหว่างผิวดินกับใต้ดินที่ลึกหลายเมตร(ตามที่เราตอกกราวด์) มันจะคลาดเคลื่อนไปตามความชื้นของ
                              ผิวดินในจุดที่เราวัด ซึ่งมันจะไม่มีทางเป็น 0 Ohm. ได้เลย และไม่ใกล้เคียงด้วยต่อให้ดินชื้นแบบมีน้ำขังด้วย
                              ไม่เชื่อให้ท่าน จขกท. วัดดูก็ได้ครับ
                              **ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยครับ** ^^
                              N= neutral
                              Last edited by fenderfree; 1 Oct 2010, 21:42:51.

                              Comment

                              Working...
                              X