Announcement

Collapse
No announcement yet.

PSU กินไฟเต็มที่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องรึเปล่าครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #31
    ขอบคุณที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ

    Comment


    • #32
      ผมรู้แต่ว่า spec เดิมเปลี่ยน PSU 550 ไปเป็น 700

      ค่าไฟไม่เพิ่มมากเท่าไหร่ เปิดคอม 24/7 ตลอด ***งกันไม่มากตามปกติ

      Comment


      • #33
        กระทู้วิชาการ

        Comment


        • #34
          กะลังพยายามทำให้มันเป็นวิชาการกว่านี้แต่ยังไม่มีเวลาพิมยาวๆเลย

          เดี๋ยววันเสาร์นี้น่าจะมีเวลามาพิมต่อครับ - -" ฝีมือวาดรูปก็ห่วยซะขนาดนั้น

          Comment


          • #35
            ใช้ Visio ก็ได้ครับท่าน Windy31
            หรือว่าจริงๆแล้วก็ใช้แหละ แต่ไม่ถนัด 555555 ไม่เป็นไรๆ

            รอฟังเรื่อยๆครับ

            Comment


            • #36
              ไอ้ที่เห็นข้างบนนั่น Microsoft Word ล้วนๆครับ - -"

              ที่จริงตอนทำงานผมจะใช้ AutoCAD วาดครับนี่กะลังโหลดมาลงที่บ้านอยู่หลังจากลง Window ใหม่

              Comment


              • #37
                ขอจดละค้าบ ขอบคุณมากมาย

                Comment


                • #38
                  Originally posted by ohmee04 View Post
                  ถ้าอยากให้ PSU ทำงานเต็มที่ก็ลองไปหาโปรแกรมนี้มาทดสอบดูครับ
                  OCCT

                  http://www.ocbase.com/download/OCCTPT1.1.0.zip
                  หรือ
                  http://www.ocbase.com/download/OCCTPT1.1.0.exe
                  หรือ
                  http://www.ocbase.com/perestroika_en/index.php?Download

                  http://www.vmodtech.com/modules.php?...wtopic&t=20903

                  ผมกำลังเทสอยู่พอดี พึ่งเปลี่ยน PSU ตัวให้มานะครับ

                  ผ่านไป 13 ชั่วโมงและยังนิ่งอยู่

                  โปรแกรมนี้ใช้ทำไรอะครับ ทดสอบระบบ หรือว่าทดสอบ PSU ใครรู้ช่วยอธบายหน่อยครับ

                  Comment


                  • #39
                    มาต่อภาค 3 ละครับวันนี้ จะเป็นเรื่องของ Power Supply ที่ได้มาตรฐาน 80Plus และเราจะมาลองดูความคุ้มค่าของมันกันครับว่าจะคุ้มรึเปล่าที่ต้องเสียเงินแพงขึ้นมากกว่า PSU ทั่วไป เพื่อซื้อ PSU ที่ได้มาตรฐาน 80Plus

                    ความหมายของ 80Plus นั้นก็ตามชื่อเลยครับ
                    นั่นคือมันเป็นมาตรฐานที่ออกมาเพื่อใช้ในการรองรับ PSU ที่ถูกผลิตขึ้นโดยผู้ผลิดต่างๆ ว่า PSU เหล่านั้น มี Efficiency เกินกว่า 80%

                    แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วครับว่า PSU ตัวหนึ่งๆไม่ได้มี Efficiency เท่าเดิมที่ทุกๆค่าของโหลด โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่นั้นจะบอก Spec Efficiency ของ PSU ไว้ที่ Typical ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าสูงสุดของ PSU ตัวนั้นๆครับ

                    ดังนั้น PSU บอกไว้ใน Spec ว่ามี Eff. 80% ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ 80+ นะครับ
                    PSU ที่ได้ 80+ นั้นจะต้องมี Eff. เกิน 80% ที่โหลดตั้งแต่ประมาณ 20% จนกระทั่ง 100% ของ Full Load ของ PSU นั้นๆครับ



                    ตามรูปผมยกกราฟ Eff. ของ PSU 2 ตัวที่ได้ 80+ มาให้ดูกันครับจะเห็นว่าทั้งคู่มี Eff. เกิน 80% ตั้งแต่ 20% ไปจนกระทั่ง 100% ของ Full load

                    นอกจากนี้ PSU ที่ได้ 80+ ยังให้ผู้ผลิตบอก Maximum Continuous Power เอาไว้ที่ข้างฉลากอีกด้วยดังนั้นจะเป็นการการันตีไปในตัวเลยว่าได้ PSU Watt เต็มมาใช้แน่นอน

                    เรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกะ 80+ รวมทั้งรายชื่อและผลเทสของ PSU ที่ได้ 80+ สามารถตรวจสอบได้ที่เวบ http://www.80plus.org/

                    Comment


                    • #40
                      มาต่อเรื่องความคุ้มค่าของมันละกันครับ ตรงส่วนนี้ผมไม่สามารถบอกได้นะครับว่ามันคุ้มรึเปล่าเพราะของอย่างงี้มันอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละคน
                      แต่ผมจะบอกได้แค่วิธีคิดคร่าวให้ไปตัดสินใจกันเอาเอง

                      อันดับแรกนะครับจะคุ้มหรือไม่คุ้มเนี่ยมันอยู่ที่ว่าคุณจ่ายค่าไฟให้กับคอมของคุณเยอะแค่ใหน
                      ยิ่งจ่ายเยอะ PSU ที่ได้ 80+ มันก็จะเซฟเงินคุณได้เยอะขึ้นด้วย

                      ปัจจัยที่จะเป็นตัวบอกว่าคุณต้องจ่ายเงินค่าไฟให้คอมของคุณเท่าใหร่ก็มีดังต่อไปนี้ครับ
                      1.) System ของคุณใช้กำลังไฟฟ้าเยอะแค่ใหน
                      2.) PSU efficiency ของคุณมีค่าเท่าใหร่
                      3.) คุณใช้คอมของคุณบ่อยแค่ใหน
                      4.) ค่าไฟต่อยูนิตที่คุณต้องจ่าย

                      โดยในบทความอันนี้เราจะให้ค่าต่างๆมีค่าเท่ากันยกเว้น PSU Efficiency เพื่อหาความคุ้มค่าของมันกันครับ
                      ในบทความนี้ผมสมมติให้ PSU ที่ได้ 80+ มี Eff. เฉลี่ยที่ 80% และแบบที่ไม่ได้ 80+ มี Eff. เฉลี่ย 75% นะครับ

                      หลักการคิดค่าไฟง่ายของไฟบ้านเป็นดังนี้ครับ
                      เอาจำนวน kWatt ที่ใช้คูณกับจำนวน ชั่วโมงที่ใช้งานจะได้ออกมาเป็นยูนิต
                      แล้วเอาจำนวน ยูนิตที่ได้คูณกับค่าไฟต่อยูนิตก็จะได้ค่าไฟที่ต้องจ่ายครับ

                      ที่นี้เรามาดูการคำนวนอันแรกกันครับ
                      โดยเงื่อนใขแรกคือคุณเป็นคนใช้คอมธรรมดาๆไม่ได้ Extreme อะไรมากอาจจะมี OC นิดหน่อย System ของคุณกินไฟเฉลี่ยประมาณ 300W และใช้คอมไม่หนักหนามากวันนึงอาจเปิดคอมซัก 12 ชั่วโมง และใช้คอมที่บ้านพักอาศัยทั่วไฟค่าไฟต่อยูนิตเฉลี่ยประมาณ 3 บาทก็จะคำนวนได้ดังนี้ครับ

                      ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (300/0.75)/1000 x 12 x 30 x 3 = 432 บาท
                      ค่าไฟของ PSU 80+ = (300/0.8)/1000 x 12 x 30 x 3 = 405 บาท

                      สรุปว่าคุณประหยัดได้ 27 บาทต่อเดือนถ้า PSU 80+ แพงกว่า 1000 บาท ระยะคืนทุนของคุณก็จะอยู่ประมาณ 37เดือนเศษหรือ 3ปีกว่าๆ - -"

                      เงื่ิอนใขที่ 2 ครับ System เดียวกะเงื่อนใขที่ 1 แต่คุณเอามาโหลดบิตแล้วเปิดคอม 24 ชั่วโมงตลอดเดือน โดยที่คราวนี้คุณอยู่หอที่เจ้าของหาคิดค่าไฟ 5 บาทต่อยูนิตก็จะคำนวนได้ดังนี้ครับ

                      ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (300/0.75)/1000 x 24 x 30 x 5 = 1440 บาท
                      ค่าไฟของ PSU 80+ = (300/0.8)/1000 x 24 x 30 x 5 = 1350 บาท

                      มาคราวนี้ประหยัดได้ 90 บาทต่อเดือนระยะคืนทุนก็จะประมาณ 11 เดือนเศษๆหรือเกือบๆปีนั่นเอง

                      มาเงื่อนใขที่ 3 บ้าง คราวนี้คุณเป็นคนเล่นเกมโหด System ของคุณเริ่ม Extream แล้วมีการใช้ Crossfire หรือ SLI แถม HDD ยังต่อ RAID อีก ทำให้ System ของคุณเขมือบไฟเฉลี่ยไปถึง 600W แล้วยังเปิด 24 ชั่วโมงอีกตังหาก แต่คุณย้ายมาอยู่บ้่านแล้วทำให้เสียค่าไฟเพียง 3 บาทต่อยูนิต มาดูการคำนวนกันครับ

                      ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (600/0.75)/1000 x 24 x 30 x 3 = 1728 บาท
                      ค่าไฟของ PSU 80+ = (600/0.8)/1000 x 24 x 30 x 3 = 1620 บาท

                      คราวนี้ประหยัดตังไปได้ถึง 108 บาทต่อเดือน ระยะคืนทุนถ้า PSU 80+ แพงกว่ากัน 1000บาท ก็จะอยู่ที่ 9 เดือนกว่าๆเท่านั้น

                      เท่านี้ก็คงพอจะเห็นแล้วนะครับว่ามันช่วยประหยัดเงินยังไงบ้างก็ลองๆเอาไปคิดดูครับ
                      ว่าลักษณะการใช้งานของคุณมันควรมั้ยที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ PSU ที่ได้ 80+ มาใช้
                      อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟที่ผมทำให้ดูนี่เป็นการคิดคร่าวๆเท่านั้นนะครับส่วนใครที่อยากรู้ลึกกว่านี้แนะนำให้ไปดูที่เวปของการไฟฟ้านครหลวงครับ
                      ตามนนี้เลย www.mea.or.th ครับ

                      Comment


                      • #41
                        Originally posted by windy31 View Post
                        มาต่อเรื่องความคุ้มค่าของมันละกันครับ ตรงส่วนนี้ผมไม่สามารถบอกได้นะครับว่ามันคุ้มรึเปล่าเพราะของอย่างงี้มันอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละคน
                        แต่ผมจะบอกได้แค่วิธีคิดคร่าวให้ไปตัดสินใจกันเอาเอง

                        อันดับแรกนะครับจะคุ้มหรือไม่คุ้มเนี่ยมันอยู่ที่ว่าคุณจ่ายค่าไฟให้กับคอมของคุณเยอะแค่ใหน
                        ยิ่งจ่ายเยอะ PSU ที่ได้ 80+ มันก็จะเซฟเงินคุณได้เยอะขึ้นด้วย

                        ปัจจัยที่จะเป็นตัวบอกว่าคุณต้องจ่ายเงินค่าไฟให้คอมของคุณเท่าใหร่ก็มีดังต่อไปนี้ครับ
                        1.) System ของคุณใช้กำลังไฟฟ้าเยอะแค่ใหน
                        2.) PSU efficiency ของคุณมีค่าเท่าใหร่
                        3.) คุณใช้คอมของคุณบ่อยแค่ใหน
                        4.) ค่าไฟต่อยูนิตที่คุณต้องจ่าย

                        โดยในบทความอันนี้เราจะให้ค่าต่างๆมีค่าเท่ากันยกเว้น PSU Efficiency เพื่อหาความคุ้มค่าของมันกันครับ
                        ในบทความนี้ผมสมมติให้ PSU ที่ได้ 80+ มี Eff. เฉลี่ยที่ 80% และแบบที่ไม่ได้ 80+ มี Eff. เฉลี่ย 75% นะครับ

                        หลักการคิดค่าไฟง่ายของไฟบ้านเป็นดังนี้ครับ
                        เอาจำนวน kWatt ที่ใช้คูณกับจำนวน ชั่วโมงที่ใช้งานจะได้ออกมาเป็นยูนิต
                        แล้วเอาจำนวน ยูนิตที่ได้คูณกับค่าไฟต่อยูนิตก็จะได้ค่าไฟที่ต้องจ่ายครับ

                        ที่นี้เรามาดูการคำนวนอันแรกกันครับ
                        โดยเงื่อนใขแรกคือคุณเป็นคนใช้คอมธรรมดาๆไม่ได้ Extreme อะไรมากอาจจะมี OC นิดหน่อย System ของคุณกินไฟเฉลี่ยประมาณ 300W และใช้คอมไม่หนักหนามากวันนึงอาจเปิดคอมซัก 12 ชั่วโมง และใช้คอมที่บ้านพักอาศัยทั่วไฟค่าไฟต่อยูนิตเฉลี่ยประมาณ 3 บาทก็จะคำนวนได้ดังนี้ครับ

                        ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (300/0.75)/1000 x 12 x 30 x 3 = 432 บาท
                        ค่าไฟของ PSU 80+ = (300/0.8)/1000 x 12 x 30 x 3 = 405 บาท

                        สรุปว่าคุณประหยัดได้ 27 บาทต่อเดือนถ้า PSU 80+ แพงกว่า 1000 บาท ระยะคืนทุนของคุณก็จะอยู่ประมาณ 37เดือนเศษหรือ 3ปีกว่าๆ - -"

                        เงื่ิอนใขที่ 2 ครับ System เดียวกะเงื่อนใขที่ 1 แต่คุณเอามาโหลดบิตแล้วเปิดคอม 24 ชั่วโมงตลอดเดือน โดยที่คราวนี้คุณอยู่หอที่เจ้าของหาคิดค่าไฟ 5 บาทต่อยูนิตก็จะคำนวนได้ดังนี้ครับ

                        ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (300/0.75)/1000 x 24 x 30 x 5 = 1440 บาท
                        ค่าไฟของ PSU 80+ = (300/0.8)/1000 x 24 x 30 x 5 = 1350 บาท

                        มาคราวนี้ประหยัดได้ 90 บาทต่อเดือนระยะคืนทุนก็จะประมาณ 11 เดือนเศษๆหรือเกือบๆปีนั่นเอง

                        มาเงื่อนใขที่ 3 บ้าง คราวนี้คุณเป็นคนเล่นเกมโหด System ของคุณเริ่ม Extream แล้วมีการใช้ Crossfire หรือ SLI แถม HDD ยังต่อ RAID อีก ทำให้ System ของคุณเขมือบไฟเฉลี่ยไปถึง 600W แล้วยังเปิด 24 ชั่วโมงอีกตังหาก แต่คุณย้ายมาอยู่บ้่านแล้วทำให้เสียค่าไฟเพียง 3 บาทต่อยูนิต มาดูการคำนวนกันครับ

                        ค่าไฟของ PSU ธรรมดา = (600/0.75)/1000 x 24 x 30 x 3 = 1728 บาท
                        ค่าไฟของ PSU 80+ = (600/0.8)/1000 x 24 x 30 x 3 = 1620 บาท

                        คราวนี้ประหยัดตังไปได้ถึง 108 บาทต่อเดือน ระยะคืนทุนถ้า PSU 80+ แพงกว่ากัน 1000บาท ก็จะอยู่ที่ 9 เดือนกว่าๆเท่านั้น

                        เท่านี้ก็คงพอจะเห็นแล้วนะครับว่ามันช่วยประหยัดเงินยังไงบ้างก็ลองๆเอาไปคิดดูครับ
                        ว่าลักษณะการใช้งานของคุณมันควรมั้ยที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ PSU ที่ได้ 80+ มาใช้
                        อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟที่ผมทำให้ดูนี่เป็นการคิดคร่าวๆเท่านั้นนะครับส่วนใครที่อยากรู้ลึกกว่านี้แนะนำให้ไปดูที่เวปของการไฟฟ้านครหลวงครับ
                        ตามนนี้เลย www.mea.or.th ครับ
                        สุดยอดครับ

                        Comment


                        • #42
                          ท่าน windy31 ขอบคุณมากครับ

                          ผมเชื่อท่านแล้วนะครับ ผมจะอ้างอิงแบบนี้เสมอ
                          ขอโทษที่เข้ามาดูช้าครับ
                          ผมไม่ไปถามอาจารย์ แล้วนะครับ ข้อมูลแน่นขนาดนี้

                          นับถือครับ โหวตให้ครับ

                          Comment


                          • #43
                            ยินดีที่มันเป็นประโยชน์ครับ

                            เดี๋ยวสุดสัปดาห์นี้มาต่อเรื่อง Power Factor ซึ่งคงจะเป็นอันสุดท้ายแล้วมั้งแล้วผมก็ไม่เห็นว่ามันไม่ค่อยสำคัญเท่าใหร่ด้วยถ้าเอามาใช้ตามบ้าน

                            แต่ถ้าเป็นตามโรงงาน หรือองค์กรณ์ใหญ่ๆนี่อะไรๆมันก็เป็นเงินเ็ป็นทองหมดหล่ะครับ

                            Comment


                            • #44
                              เยี่ยมเลยครับความรู้มากมายขอเวลานั่งอ่านก่อน

                              Comment

                              Working...
                              X