Announcement

Collapse
No announcement yet.

เห็นหลายคนกำลังเล่นเครื่องเสียง หรือ กำลังจะเริ่ม มารู้จักคำว่า class amp กันดีกว่า

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เห็นหลายคนกำลังเล่นเครื่องเสียง หรือ กำลังจะเริ่ม มารู้จักคำว่า class amp กันดีกว่า

    หลายคนเข้าใจว่าผมหูท๊องทอง ฟังจนเชียวชาญ แต่จริงๆ ไม่ใช่นะครับ ผมหูคนธรรมดา เลยขอเอาบทความจากท่านอาจารย์ วิจิตร ที่หูทอง 100% มา อ่านกันดีกว่าครับ

    Credit by อ.วิจิตร จากเว็บ http://www.wijitboonchoo.com

    คลาสของแอมปลิไฟร์, กำลังขับ, การเลือกซื้อแอมป์ท้องตลาดทั่วไป by wijit

    ตอนนี้ ก็จะมาว่ากันถึงเรื่องของการออกแบบภาคขยายแอมปลิไฟร์ ในส่วนสำคัญก็คือ การจัดวงจรขยายเสียงในรูปของคลาสต่าง ๆ
    อันนี้ทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนว่า คำว่า "คลาส" ในที่นี้ ไม่ใช่การแบ่งเกรดของแอมป์ว่าเป็นระดับสูง ระดับต่ำ แต่เขาแยกกันตามลักษณะในการไบอัสกระแสให้กับทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในวงจรขยายเสียง เมื่อมีการออกแบบภาคขยายเสียง นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียของวงจรแต่ละประเภท พูดกันง่าย ๆ คือมันไม่มีวงจรไหน ๆ ที่ถือว่าดีที่สุด หรือไม่มีใครบอกได้ว่าวงจรขยายเสียงแบบไหนจะได้มาซึ่งคุณภาพเสียงดีที่สุด แต่สามารถบอกด้วยเครื่องมือได้ว่าแอมป์และวงจรที่ออกแบบมานั้นให้กำลังขยายเท่าไร? กี่วัตต์? มีความผิดเพี้ยนจากสัญญาณอินพุทเท่าไร?
    แอมปลิไฟร์หรือภาคขยายเสียง ที่ทำออกมาขายกันทั่วโลกนี้ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นแอมคลาส A-B แอมป์คลาสอื่น ๆ มีออกมาน้อยเต็มที ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับขนาดของเครื่องบ้าง หรือเหตุผลทางต้นทุน ไม่คุ้มที่จะนำมาแข่งขันกับตลาดเครื่องเสียงทั่ว ๆ ไป
    ตอนนี้เราลองมาดูกันว่าแอมป์แต่ละคลาส เขามีวิธีการจัดวงจรขยายกันอย่างไร คำว่าการ ไบอัส ในที่นี้ผมอยากใช้ภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่าคือ การป้อนกระแสไฟให้ตัวทรานซิสเตอร์นั่นเอง
    เราย้อนกลับมาดูคลื่นเสียงในอุดมคติกันก่อน ในภาพ A เป็นคลื่นไซน์เวฟบริสุทธิ์ ค่าหนึ่งที่แอมป์ทุกระดับจะต้องขยายให้เป็นไป ในรูป B ก็คือทำให้สัญญาณใหญ่ขึ้น (ดังขึ้น)






    ลักษณะการจัดวงจรของคลาส A เขาจะให้ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวทำงานครบหนึ่งไซเกิล คือจากจุด O ไปยัง O จะไม่มีรอยต่อใด ๆ ที่เกิดจากการขยายสัญญาณ แต่นั้นก็เท่ากับว่าจะต้องจัดการป้อนกระแสให้ทรานซิสเตอร์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญาณอินพุทเข้ามาหรือไม่ ว่ากันตั้งแต่เปิดเครื่องเลย วงจรคลาส A จะรับประทานกระแสกันชนิดเต็มที่ เสียงที่ได้จากแอมป์คลาสนี้จะเหมือนรูป A ขยายเป็นรูป B เลยทีเดียว เรียกว่าสัญญาณเที่ยงตรงมาก แต่ข้อเสียก็มีนั่นคืจะทำให้เครื่องร้อนมากเพราะป้อนกระแสให้ทรานซิสเตอร์เต็มที่ตลอดเวลานั่นเอง
    ทีนี้นักออกแบบเขาก็มาคิดกันว่า แทนที่จะใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว ทำงานครบทั้งไซเกิล (บวก-ลบ) ทำไมไม่ใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานในลักษณะผลัก-ดันช่วยกันทำงานคนละครึ่ง (อาจจะคล้าย ๆ กับวัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่งละมัง) วงจรแบบนี้เขาเรียกว่าคลาส B ซึ่งจะไม่มีการป้อนกระแสล่วงหน้าให้วงขยาย ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุทเข้ามาจึงค่อยป้อนกระแส ทีนี้ระบบผลัก-ดัน (PUSH-PULL) นี้ ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียอยู่ในตนเอง ที่ต้องพิจารณา ข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่สัญญาณที่ได้จากการขยายจะมีเกนของความผิดเพี้ยนสูง เกิดความผิดเพี้ยนรอยต่อของการส่งผ่านที่ทรานซิสเตอร์ซึ่งทำงานกันละครึ่งไซเกิล ดูจากภาพประกอบที่ 2 จะเห็นว่า ตรงจุดรอยต่อของการส่งสัญญาณนั้น จะทำให้ผิดไปจากสัคญญาณอินพุทที่ไม่รอยขยัก (ตรงที่วงกลมเอาไว้)

    นักออกแบบแอมปลิไฟร์เขาก็เลยต้องมานั่งปวดหัวทั่วกันต่อ เพราะเสียงที่ได้จากแอมป์คลาส B นั้น มันผิดเพี้ยนเละเทะสิ้นดี กินไฟบ้านไม่มาก แต่เสียงไม่มีคุณภาพ คือเอาแต่ดังลูกเดียวไม่มีความใกล้เคียงสัญญาณจากดนตรีจริง ๆ ในที่สุด ก็มีนักออกแบบหัวใสนำข้อดีข้อข้อเสียของแอมป์คลาส A กับคลาส B มารวมกันเสียเลย จึงได้เกิดคลาส A-B อย่างที่แอมป์ในท้องตลาดทั่วไปเขาทำออกมาขายนั่นแหละ โดยใช้วิธีการป้อนกระแสไฟปริมาณต่ำ ๆ เอาไว้ล่วงหน้าที่ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 ตัว มันจึงคล้าย ๆ กับคลาส A ที่มีไฟเลี้ยงทรานซิสเตอร์ตลอดเวลา เพียงแต่ปริมาณไม่เต็มที่เท่าคลาส A แท้ ๆ จากนั้นการจัดวงจรก็ให้เป็นแบบ PUSH-PULL เหมือนคลาส B ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุทจากต้นแหล่งกำเนิดเสียงจึงค่อยทำการขยายตามหน้าที่ ดูจากรูปประกอบที่ 3 จะเข้าใจง่ายขึ้นครับ คือเขาจะป้อนกระแสปริมาณหนึ่งเอาไว้รอเชื่อมต่อการทำงานของทรานซิสเตอร์ ในลักษณะการทำงานจริง ๆ คลื่นตามไซน์เวฟจะแนบสนิทกัน แต่ในภาพเขียน ผมเขียนภาพไซน์เวฟคลื่นบวกลบให้***งกัน เพื่อจะได้เข้าใจง่าย

    ลองสังเกตดูซิครับ จะพบว่าคลื่นบวกกับคลื่นลบจะถูกป้อนกระแสให้เลยช่วงการทำงานไปเล็กน้อย คือเลยเส้นแกน O-O พอมีสัญญาณจริง ๆ ที่ต้องขยายเข้ามา มันก็พร้อมจะส่งต่อสัญญาณกันได้ทันท่วงที
    ผมจะขอพูดถึงแค่แอมป์คลาส A-B ซึ่งเป็นแอมป์วงจรขยายพื้นฐานที่เรามีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในความเป็นจริง ยังมีแอมป์คลาสอื่น ๆ อีก เช่น คลาส C คลาส D (DIGITAL) คลาส H (ระบบแมกเนติกฟิลด์) เอาไว้ให้ถึงเรื่องพิเศษโดยเฉพาะของแอมป์ประเภทนั้น ๆ เราค่อยมาว่ากันอีกที เพียงแค่นี้ผมว่าท่านผู้อ่านบางท่านก็อยากจะรู้แล้วว่า เมื่อจะเลือกซื้อแอมป์ เราจะต้องพิจารณาจากจุดใดบ้างจึงจะไม่ผิดหวัง อีกอย่าง ขืนเขียนลายเส้นเคอร์ฟต่าง ๆ เหล่านี้หลาย ๆ ตอน รู้สึกว่ามันน่าเบื่อ จริงมั๊ยครับ
    ตอนนี้เรามาดูกันที่ของจริง ๆ กันไปเลยว่า จะหาซื้อแอมป์กันอย่างไร?
    การเลือกแอมปลิไฟร์ หรือเครื่องขยายเสียง จะต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลักด้วยว่าคุณจะซื้อมาใช้งานแบบใด ถ้าใช้ฟังในบ้านตามปกติ ไม่ใช่นำไปขยายเสียงในสถานบันเทิง ห้องประชุม เรียกว่าซื้อมาสำหรับการฟังเพลงพักผ่อนหย่อนใจ เราก็จะต้องมาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญอีก 2 ประการด้วยกันคือ เรื่องของขนาดห้องฟังเพลงและอุปกรณ์ร่วมอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำโพง เมื่อคุณผู้อ่านย้อนกลับไปดูบทความบทที่ 2 จะเห็นแผนผังของเครื่องเสียงที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันระหว่างแหล่งโปรแกรมแอมปลิไฟร์ ลำโพง ซึ่งเราจะขาดจุดใดจุดหนึ่งไปไม่ได้ ไม่งั้นไม่ได้ฟังเสียงเพลงกันพอดีละครับ
    ขนาดของห้องฟัง


    ห้องที่มีขนาดใหญ่ ย่อมต้องการแอมป์ที่มีกำลังขับสูง ๆ ขึ้นไปเป็นเงาตามตัว การใช้แอมป์ที่มีกำลังขับน้อย ๆ ย่อมไม่เหมาะสมหรือพอเพียงต่อการขับเสียงลำโพง ให้มีเวทีเสียงใกล้เคียงกับความเป็นจริงในการฟังเพลง เสียงที่ได้อาจถูกลืนหายไปกับการซับเสียงภายในห้องหรือการจางหายไป ที่เขาเรียกว่าความเข้มของเสียงลดลงไปเรื่อย ๆ ตามปริมาตรห้องฟัง ตามปกติในการฟังเพลงธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ในแบบฟังเผื่อคนข้างบ้านหรือฟังกันเสียงดังทะลุทะลวงฝาบ้าน ห้องขนาดเล็กทั่วไปขนหาด 3 x 4 เมตร อาจจะใช้แอมป์ที่มีกลังขับ 20-50 วัตต์ต่อข้างก็พอเพียง ห้องขนาดกลาง 4 x 7 เมตร ใช้แอมป์ 60-120 วัตต์ต่อข้าง และห้องขนาดใหญ่กว่านั้น 5 x 8 เมตรขึ้นไปควรใช้แอมป์ที่มีกำลังขยายขนาด 200 วัตต์ต่อข้างจึงจะพอเพียง ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยในการฟังเพลงของคุณด้วย ถ้าต้องการฟังกันแบบใกล้เคียงกับการยกวงดนตรีมาไว้ในบ้าน อาจจะต้องใช้แอมป์ที่มีกำลังขับสูงกว่านี้ขึ้นไป อีกเหตุที่ระบุว่ากำลังขับต่อข้าง ก็เพราะระบบเครื่องเสียงในบ้านจะเป็นระบบสเตอริโอ 2 ช่องเสียงครับ (2 CHANNEL)
    อุปกรณ์ส่วนร่วมและลำโพง


    อุปกรณ์ส่วนร่วม หมายถึง แหล่งโปรแกรม ที่ต้องนำมาจัดเข้าเป็นชุดเดียวกันจะต้องเหมาะสมกันไม่ว่าจะเป็นคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ จูนเนอร์ คาสเซ็ตเด็ค อย่างน้อย ๆ คุณภาพเสียงจะต้องดีพอเพียงกัน สังเกตจากราคาก็พอจะมองเห็นได้ชัด เช่น คุณคงไม่นำคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ ราคาเจ็ดพันบาทมาใช้กับแอมป์ที่มีราคาเจ็ดแปดหมื่นบาท อย่างนี้เขาเรียกว่าคนละชิ้นกันเลย กับแอมปลิไฟล์หรือภาคขายเสียงละเอียด ๆ จะฟ้องออกมาให้เห็นโทนโท่ว่าเสียงของคอมแพ็กดิสก์ ก็ยังหยาบกร้านอยู่เป็นอันมาก ยิ่งตัวลำโพงด้วยแล้ว จะยิ่งมีความสำคัญอย่างที่สุด ลำโพงที่เกรดดีราคาแพง ลำโพงเล็ก ๆ บางคู่ อย่าง MONITOR AUDIO รุ่น STUDIO TEN ราคาแพงกว่าซื้อมินิคอมโปสามสี่ชุดให้รายละเอียดจะแจ้งชิ้นดนตรีเด่นชัดสมจริง เหมือนอย่างนักเล่นเครื่องเสียงเขาว่ากันนั่นแหละ ยิ่งแพงก็ยิ่งให้เสียงเหมือนจริง ว่าแต่ว่าเราจะมาเล่นเครื่องเสียงกันทั้งที เราต้องใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละชุด ไม่ว่าจะถูกหรือแพงปานใด
    ลำโพงที่จะเข้ากันกับแอมปลิไฟร์ของคุณนั้น จะต้องดูด้วยว่ามีค่าความไวเท่าไร?
    ลำโพงที่มีค่าความไวค่อนข้างต่ำ อาจต้องใช้กำลังขับจากแอมป์ที่มีกำลังขับสูงยิ่งขึ้นไปอีก คือไม่ได้ตายตัวเหมือนสูตรที่ใช้กับห้องฟังข้างต้นเสมอไป และเมื่อคุณได้อ่านตอนต่อไป ซึ่งว่าด้วยเรื่องศาสตร์ของการผลิตลำโพงแล้วจะเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกครับ แต่ตอนนี้เรามาว่ากันคร่าว ๆ ก่อน คือลำโพงเขาแบ่งค่าความไว หรือประสิทธิภาพ (EFFICIENCY) ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
    ประเภทประสิทธิภาพสูง
    ประสิทธิภาพกลาง
    ประสิทธิภาพต่ำ
    การวัดค่าความไว หรือประสิทธิภาพลำโพง จะทำกันในห้องไร้เสียงสะท้อนของวิศวกร วางลำโพงโดยตั้งให้***งจากไมโครโฟนวัดเสียง 1 เมตร ใช้กำลังขับจากแอมป์ป้อนเข้าไป 2.83 โวลต์ (1 วัตต์) จะได้ความดังที่วัดได้กี่เดซิเบล (DB) นั่นแหละจะได้ค่าความไวของลำโพงออกมา แล้วมาจัดแบ่งประสิทธิภาพกัน พวกที่ไวสูง ตั้งแต่ 93 ดีบีขึ้นไป เรียกว่าลำโพงประสิทธิภาพสูง ลำโพงที่มีค่าความไววัดได้ต่ำจาก 92 ดีบี ลงมาจนถึง 89 ดีบี เรียกว่ามีประสิทธิภาพกลาง แต่ถ้าลำโพงใดก็ตามมีค่าความไววัดได้ต่ำกว่า 88 ดีบีลงมา เขาเรียว่าลำโพงประสิทธิภาพต่ำ
    โปรดเข้าใจด้วยนะครับว่า ประสิทธิภาพไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณภาพเสียง ไม่ใช่ว่าลำโพงประสิทธิภาพสูงแล้วจะต้องเสียงดี อันนี้มันคนละเรื่องกัน ลำโพงที่ประสิทธิภาพต่ำส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่ให้คุณภาพเสียงดี ประสิทธิภาพสูง ๆ จะมีประโยขน์ตรงที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้แอมป์ที่มีกำลังขับสูง ๆ (ราคาแพง) มาขับลำโพงนั้น ๆ และลำโพงประสิทธิภาพต่ำนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กำลังขับจากแอมปลิไฟร์ที่มีกำลังขับสูง ๆ นี่คือสูตรธรรมดา ๆ ของการจับคู่แอมปลิไฟร์และลำโพง
    ท่านผู้อ่านคงไม่ลืมว่าแอมปลิไฟร์ที่กำลังพูดถึงนี้ หมายถึงปรีแอมป์-เพาเวอร์แอมป์ (ภาคปรับแต่ง-ภาคขยาย) หรืออินทิเกรทเตดแอมป์ (ทั้งที่มีทั้งภาคขยายและภาคปรับแต่งในตัวเองอยู่แล้ว) ถ้าคุณเลือกใช้อินทิเกรทเตดแอมป์ ก็ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องซื้อปรีเพาเวอร์แอมป์อีก ถ้าหากสงสัยก็ให้ลองย้อนกลับไปดูแผนผังคราวที่แล้ว (บทที่ 2)
    ต่อจากนี้ไป คือตัวอย่างของแอมปลิไฟร์ที่น่าสนใจในตลาดเครื่องเสียง ซึ่งผมคิดเฉพาะที่กำลังเป็นที่นิยมหรือระดับเบสต์บาย (BEST BUY) โดยยกตัวอย่างอินทิเกรทเตดแอมป์ 2 เครื่อง และปรีเพาเวอร์ 2 ชุด ให้คุณผู้อ่านลองศึกษารายละเอียด และลองหาโอกาสไปฟังกันดู
    NAD 302


    อินทิเกรดเตดแอมป์มีภาคขยายและภาคปรับแต่งโทนคอนโทรล ซึ่งปรับทุ้มแหลมได้ เป็นแอมป์ที่มีหน้าตาค่อนข้างจืด เอาเป็นว่าถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่มีการแต่งหน้าทาปากกันเลย ออกแบบเน้นคุณภาพเสียงจริง ๆ ไม่มีลูกเล่นกระจุกกระจิกรกเลอะเทอะบนหน้าปัด มีกำลังขับข้างละ 25 วัตต์ ที่มีความต้านทาน 8 โอห์ม แต่ด้วยวิธีการออกแบบชาญฉลาด วิศวกรของ NAD ทำให้แอมป์เครื่องนี้มีพลังสำรองมากถึงหนึ่งเท่าตัว หมายถึงว่ามันสามารถจ่ายพลังให้ได้ถึง 40 วัตต์ เมื่อยามที่สัญญาณดนตรีโหมกระโชกหรือต้องการพลังอัดฉีดเมื่อมีความจำเป็น และเมื่อมีโหลดต้านทานต่ำ ๆ มันจะขับเสียงไปได้ถึง 75 วัตต์ต่อข้างเลยทีเดียว (ตามปกติลำโพงจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปจากความต้านทานสูง ๆ จนถึงค่าความต้านทานต่ำ ๆ 32-2 โอห์ม)
    แอมป์รุ่น 302 นี้ พัฒนาขึ้นมาจากรุ่น 3020 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแอมป์ขนาดเล็กที่ขายดีที่สุดเครื่องหนึ่งของวงการ การออกแบบเน้นความเป็นเบสิกมากที่สุด เล่นง่ายไม่จุกจิก เหมาะกับนักเล่นมือใหม่ ๆ เป็นอย่างยิ่ง สามารถเลือกเล่นโปรแกรมได้ถึง 5 อินพุท รวมทั้งภายขยายหัวเข็มแผ่นเสียงด้วย เป็นแอมป์ที่มีโทนเสียงนุ่ม ๆ สะอาดเหมาะกับผู้ที่นิยมเพลงสไตล์ป๊อป แจ๊ซ ไลท์มิวสิก ที่ฟังกันเพลิน ๆ ได้ทุกเวลา ราคาประมาณเจ็ดพันกว่าบาทเท่านั้น เหมาะกับท่านที่มีห้องฟังไม่ใหญ่มากนัก สามารถขับเสียงลำโพง "ประสิทธิภาพกลาง" เสียงเต็มอิ่มเต็มห้องฟังขนาด 3x4 เมตร ได้อย่างสบาย ๆ
    ONKYO A 809

    อินทิเกรทเตดแอมป์ที่ "ครบเครื่อง" มากยิ่งขึ้น มีกำลังต่อเนื่อง 105 วัตต์ต่อข้างที่มีความต้านทาน 8 โอห์ม ซึ่งเหมาะกับห้องขนาดกลาง ๆ ประมาณ 4 x 7 เมตร หรือจะมีขนาดเล็กใหญ่กว่านี้สักเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร หรือจะเอาไปใช้ในห้องขนาด 3 x 4 เมตรก็ได้ การมีแอมป์ที่มีกำลังขับสูงๆ ไว้ก่อน มักจะได้เปรียบในแง่หนึ่ง ที่เห็นได้ชัดก็คือเมื่อยามเปิดฟังเบา ๆ เสียงจากแอมป์ขนาดกำลังขับสูง ๆ จะให้เสียงดนตรีได้ละเอียดชัดเจนกว่าแอมป์ขนาดเล็กที่เปิดดังเท่า ๆ กัน นอกจากออน เกียว A 809 จะมีกำลังขับสูงแล้วอินพุทเลือกเล่นแหล่งโปรแกรมก็มีครบถ้วน 7-8 อินพุท แถมยังให้คุณฟังเพลงจากแหล่งโปรแกรมหนึ่ง ในขณะที่กำลังบันทึกเทปจากแหล่งโปรแกรมอื่น ๆ ได้ในขณะเดียวกันด้วย เช่น ฟังวิทยุไปพร้อมกับที่คุณบันทึกเสียงจากคอมแพ็กดิสก์ลงเทปคาสเซ็ตได้โดยไม่รบกวนกัน ที่ค่อนข้างจะทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์ (โลกานุวัตร) ก็คือ มีรีโมตคอนโทรลในการเลือกแหล่งโปรแกรม เร่ง-ลดระดับความดังจากระยะไกล ๆ ได้ ทำให้นั่งฟังเพลงได้อย่างยาวนานขึ้น ไม่ต้องลุกไปคอนโทรลที่แอมป์โดยตรง เรียกว่านั่งฟังกับที่จนงอกรากได้นั่นแหละครับ
    EXPOSURE 17,18


    ปรี-เพาเวอร์จากประเทศอังกฤษ ที่ดูหน้าตาจืดเสียยิ่งกว่าจืด เห็นหน้าตาท่าทางบางคนนึกว่าเป็นแอมป์ถูก ๆ บ้านหม้อซะอีก แอมปลิไฟร์พอขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง เขาไม่สนกันแล้วว่าหน้าตาจะสวยหรือไม่ แต่การออกแบบวงจรภายในต้องดีเยี่ยมอุปกรณ์เกรดเอเหมือนดังที่แอมป์เอ็กซ์โฟเซอร์เป็นอยู่ รหัสรุ่น 17 คือปรีแอมป์ ส่วนรหัสรุ่น 18 ก็คือเพาเวอร์แอมป์ (ปรี-เพาเวอร์ก็เหมือนกับการแยกอินทิเกรทเตดแอมป์ เป็น 2 ส่วนนั่นเอง)
    ปรี-เพาเวอร์คู่นี้ ภาคจ่ายไฟเขาใช้ทรานสฟอร์เมอร์แบบวงแหวน (เทอรอยดัล) มองดูจากตัวหน้าปัดปรีแอมป์ คนที่ชอบแอมป์ที่มีปุ่มปรับเยอะ ๆ คงแทบร้องไห้ เพราะมีปุ่มให้เล่นแค่ 3 ปุ่มเท่านั้น คือ วอลุ่มใช้เร่งลดเสียงดังค่อย ปุ่มเลือกฟังโปรแกรมและปุ่มเลือกบันทึกจากแหล่งโปรแกรมต่าง ๆ มีไลน์อินพุทอยู่ 5 ชุดเป็นภาคไลน์อินพุท ส่วนอินพุทหรือช่องสัญญาณเข้าชุดที่ 6 เป็น PHONO หมายถึง เล่นกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงได้
    ตัวเพาเวอร์แอมป์รุ่น 18 มีกำลังขับ 60 วัตต์ต่อแชนแนล มีอินพุททั้งแบบ RCA มาตรฐานทั่วไป และแบบ XLR ที่ใช้กับเครื่องโปรเฟสชั่นแนล ที่เขาว่ากันว่าให้เสียงดีกว่าแบบ RCA เรื่องของเรื่องเป็นอย่างไร ผมจะขุด (ค้น) มาเล่าให้ฟังตอนต่อ ๆ ไป การเล่นแอมป์ประเภทแยกชิ้นนั้นคุณจะได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นกว่าอินทิเกรทเตดแอมป์ และโอกาสในการยกระดับด้วยการเปลี่ยนเครื่องจะง่ายกว่า เพราะเลือกเปลี่ยนเฉพาะปรีหรือเพาเวอร์ก็ได้ ในขณะที่อินทิเกรดเตดแอมป์ คุณจะต้องยกไปเปลี่ยนทั้ง 2 ภาค (เพราะอยู่ในตัวเดียวกัน) ราคาปรีเพาเวอร์ EXPOSURE 17,18 ประมาณชุดละ 60,000 บาท

    Encore
    Duet 350
    CELLO THE ENCORE, DUET 350

    เชลโลไม่ใช่เครื่องเสียงธรรมดา ๆ เพราะเป็นผลงานจากมิสเตอร์มาร์ค ลีวินสัน ที่ลาออกมาจากบริษัทเดิม มาตั้งทีมงานวิจัยผลผลิตใหม่ ๆ ทางเครื่องเสียงมี ปรัชญาที่ว่า "เมื่อไม่จำกัดวงเงินทำเครื่องเสียงที่ดีที่สุดได้แค่ไหน" ดังนั้นจึงมีทั้งคุณภาพที่เยี่ยมยอดและราคาที่ฟังแล้วชวนขนหัวลุก ดูไม่ค่อยมีเหตุผลนักกับคนที่ไม่ได้เป็นนักเล่นเครื่องเสียงด้วยสนนราคาของปรี-เพาเวอร์คู่นี้คือ 660,000 บาท ซื้อรถญี่ปุ่นดี ๆ มาขี่เล่นได้หนึ่งคันละครับ
    ปรีแอมป์ที่เห็นปุ่มมากมาย ไม่มีปุ่มปรับทุ้มแหลมหรือโทนคอนโทรแม้แต่ปุ่มเดียว ว่ากันแบบแฟล็ท (FLAT) ปรีแอมป์เลยทีเดียว ที่เห็นหลายปุ่มก็เพราะแยกการปรับระดับความดังซ้ายขวาออกจากกัน มีมาสเตอร์วอลุ่มคุมอีกทีหนึ่ง ปุ่มบาลานซ์ซ้ายขวาและรีเวิร์ส คือสามารถปรับเสียงแชนแนลซ้ายสลับมาแทนแชนแนลขวาได้ อินพุทภาคไลน์มีถึง 8 ชุด มีภาคโฟโนสำหรับเล่นกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงอีกหนึ่งโปรแกรม ที่เห็นในภาพตัวบนคือตัวปรีแอมป์ ส่วนตัวล่างเป็นเพาเวอร์แอมป์ ENCORE ระบบดูอัลโมโน
    เพาเวอร์แอมป์ที่อยากจะแนะนำ ได้แก่รุ่น DUET 350 เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่มีขนาดบึกบึนจริง ๆ ถ้าหากยกคนเดียวคงหลังแอ่นเพราะหนักถึง 95 ปอนด์หรือ 43 กิโลกรัมต่อเครื่อง ออกแบบเรียบง่ายมาก มีปุ่มปิด-เปิดไฟเข้าเครื่องเท่านั้นเอง ให้กำลังขับในระบบสเตอริโอข้างละ 350 วัตต์ ที่ความต้านทาน 8 โอห์ม หรือถ้ายังไม่พอใจ จะนำไปบริจด์เป็นโมโน (ใช้ 2 เครื่องต่อหนึ่งซิสเต็ม) ก็จะได้ 1,200 วัตต์ต่อแขนแนล (สะใจ!)
    เมื่อนำปรี-เพาเวอร์คู่นี้มาจับชุด ใช้ทั้งลำโพง-แหล่งโปรแกรมผสมครบชุด ราคาคงไม่ต่ำกว่าชุดละเจ็ดแปดแสนบาท ถึงหนึ่งล้านกว่าบาท นี่หละครับที่นักเลงเครื่องเสียงเขาเล่นกัน ดุขนาดนี้! ความแพงของแอมป์ระดับไฮเฮนด์อย่าง CELLO ไม่ใช่ขึ้นอยู่ที่กำลังขับ แต่อยู่ที่การออกแบบและการใช้อุปกรณ์ที่ดีเลิศ ให้การถ่ายทอดเสียงดนตรีสมจริงไม่ผิดเพี้ยน ชุดเครื่องเสียงที่ให้เสียงใกล้เคียงดนตรีเท่าไรก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ครับ ว่าบ้านเราก็มีลำโพงคู่ละล้านกว่าบาทเป็นลำโพงคู่ใหม่เอาไว้จะมาเล่าสู่กันฟังครับ

    ที่ยกตัวอย่างแอมปลิไฟร์ทั้ง 4 แบบขึ้นมานี้ ก็เพราะอยากจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง-จุดประสงค์ของการออกแบบ ซึ่งมุ่งไปยังผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกัน คนเริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลย อาจจะต้องการเล่นชุดง่าย ๆ แอมป์อย่าง NAD302 เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ไม่มีปุ่มมากมายสับสน ข้อสำคัญให้เสียงที่ดีพอสมควร หรือถ้าห้องมีขนาดใหญ่และต้องการกำลับขับสูงขึ้น อาจจะหันมาเลือก ONKYO A 809 แทน ส่วนที่คิดจะเล่นกันแบบจริงจัง เครื่องแยกชิ้นข้นเริ่มต้น อย่าง EXPOSURE MODEL 17, 18 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งบนความเรียบง่ายที่ให้คุณภาพเสียงน่าพึงพอใจ ราคาพอยอมรับได้ และระดับไฮเอ็นด์แบบไม่จำกัดวงเงิน แอมปลิไฟร์ของ CELLO ก็น่าลิ้มลองท้าทายไม่ใช่น้อย
    แอมปลิไฟร์แบบอินทิเกรดเตดที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด เป็นคลาส A-B และปรีแอมป์ทุกเครื่องออกแบบในระบบวงจรคลาส A ส่วนเพาเวอร์แอมป์ก็เป็นคลาส A-B ทุกเครื่องเช่นกัน
    บทสรุปของการเลือกซื้อแอมปลิไฟร์เออร์จากตลาดเครื่องเสียง ที่ผมอยากสรุปทิ้งท้ายเอาไว้ตรงนี้ก็คือ
    คุณภาพเสียงที่ได้ต้องฟังสบายหู รายละเอียดดนตรีควรชัด ไม่เสียงทึบอู้
    กำลังขับไม่ว่าจะเท่าใด ควรมีพลังในการขับลำโพงอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่พอเร่งดัง ๆ แล้ว เสียงเพี้ยนแสบแก้วหู มีพลังสำรองพอเพียงยามดนตรีโหมกระโชกหลาย ๆ ชิ้นติดต่อกัน
    ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นปุ่มอะไรต่อมิอะไรมากมาย ยิ่งมากปุ่มยิ่งสับสน บางทีทำให้คุณภาพเสียงเลวลงด้วยซ้ำไป
    พยายามสลับแอมปลิไฟร์หรือแหล่งโปรแกรมไปยังเครื่องอื่น ๆ บ้าง ในการลองฟังที่ร้านค้า เพราะคุณอาจจะพบแอมป์ที่ดีกว่าแอมป์ที่คุณนั่งฟังอยู่นานสองนานแต่ไม่ถูกหูก็ได้
    แอมป์ยี่ห้อเดียวกันไม่ไม่ใช่ว่าจะดีทุกรุ่น บางทีรุ่นเล็ก ๆ เสียงดีกว่ารุ่นใหญ่ที่แพงกว่าก็มี ลืมเรื่องยี่ห้อหรือคำบอกเล่าที่ดูพิสดารพันลึกเกินไปในถ้อยคำโฆษณาเสียเถิด
    ซื้อเครื่องเสียงทุกครั้ง อย่าลืมสืบสาวประวัติการบริการหลังการขายว่าดีไม่ดีอย่างไรด้วย (สำคัญมาก)


    โปรดระลึกเสมอว่า ไม่มีผู้ผลิตใด ๆ ผลิตเครื่องทุกรุ่นทุกแบบได้ดีทั้งหมด บางบริษัทอาจผลิตแอมป์ได้ดีแต่ผลิตคอมแพ็กดิสก์เพลเยอร์ เทปคาสเซ็ตไม่ได้เรื่องก็ได้ หรือผู้ผลิตลำโพงที่ดีมักไม่ใช่ผู้ผลิตแอมป์ที่ดี ดังนั้นการเล่นเครื่องเสียง จึงจำเป็นต้อง "ผสมข้ามพันธุ์"
    Last edited by Aeromancer; 21 Jan 2008, 22:36:44.

  • #2
    8. นานาเรื่องน่ารู้เพาเวอร์แอมปลิไฟร์เออร์ by wijit

    ในบรรดาอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ "ซิสเต็มเครื่องเสียง" ที่มีความสำคัญด้วยกัน
    "แอมปลิไฟร์เออร์" มักจะถูกประเมินคุณค่ากันผิด ๆ เสมอมา

    บ้างก็คำนึงถึงแต่ขนาดกำลังขับของภาคขยายเสียง

    บ้างก็ให้ความสนใจลักษณะวงจร

    และหลายคนก็มักจะให้ความสำคัญของเรื่องเกรดอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครื่องนั้น ๆ แต่การให้ความสนใจถึงเรื่องโครงสร้างและระบบพลังขับ ดูจะได้รับความสนใจมากมายเกินกว่าการคิดคำนึงถึงเรื่องคุณภาพเสียง

    คำถามที่ว่า "แอมป์เครื่องนั้นกำลังขับกี่วัตต์" ดูจะเป็นคำถามท็อปฮิตเสียจริง ๆ ต่อเมื่อมีการเข้ามาคลุกวงในเล่นเครื่องเสียงอย่างจริง ๆ จัง จนถึงระดับหนึ่ง นักเล่นเครื่องเสียงจะพิจารณารายละเอียดในการเลือกซื้อเครื่องหลายประการประกอบกันไป มิใช่การพิจารณาแต่เฉพาะกำลังขับของแอมปลิไฟร์เพียงอย่างเดียว

    เครื่องที่จัดเป็นแอมปลิไฟร์เออร์ที่ให้พลังขับเสียงนั้น คือ "เพาเวอร์แอมป์" ซึ่งเป็นภาคขยายเสียงแท้ ๆ กับ "อินทิเกรทเดดแอมป์"

    เพาเวอร์แอมป์ มีเพียงวงจรขยายเสียงเท่านั้น จะต้องจัดซิสเต็มคู่กับภาคขยายเบื้องต้น คือ "ปรีแอมป์" เพื่อทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในขณะที่อินทิเกรทเตดแอมป์มีคุณสมบัติที่เป็นทั้งภาคขยายกำลัง การเลือกเล่าเพาเวอร์แอมป์โดด ๆ กับอินทิเกรทเตดแอมป์นั้น ย่อมจะมีข้อถกเถียงกันอีกมากกว่าอย่างไหนจึงจะเหมาะสมกัน ในบทความตอนนี้ ผมคงจะเน้นถึงวิธีการพิจารณาเพาเวอร์แอมป์จากรายละเอียดทั่ว ๆ เพราะโอกาสที่คุณจะเข้าไปนั่งฟังโดยไม่รูแบ็กกราวด์ต่าง ๆ ของเครื่องเลย คงยากจะตัดสินใจได้ว่าจะเล่นแอมปลิไฟร์เครื่องใดดี

    ทำความเข้าใจกันง่าย ๆ เสียก่อนเป็นการเริ่มต้นว่าแอมปลิไฟร์ที่พูดถึงนี้ ก็คือเพาเวอร์แอมป์นั่นเอง ความจริงอยากจะให้ท่านผู้อ่านย้อยกลับไปอ่านบทความตอนต้น ๆ ว่าด้วยเรื่องการขยายเสียง ผมจึงขอพูดถึงรายละเอียดที่ง่าย ๆ ในการทำความเข้าใจก็แล้วกันครับ

    เพาเวอร์แอมป์ หรือพูดกันอย่างตรงตัวก็คือ "เครื่องขยายเสียง" นั่นเองหน้าที่หลังของมันจะรับสัญญาณที่มีปริมาณเหมาะสม จากปรีแอมป์แล้วทำการขยายให้ใหญ่ขึ้นอีกก่อนส่งต่อไปยังลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา เพาเวอร์แอมป์ที่ดี จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญยิ่งก็คือ สามารถถ่ายทอดและขยายสัญญาณได้อย่างเที่ยงตรงถูกต้อง หรือมีความเพี้ยนต่ำที่สุด

    เพาเวอร์แอมป์ในอุดมคตินั้น เมื่อมีสัญญาณใด ๆ เข้ามา จะต้องทำการขยายสัญญาณให้ออกไปทางเอ๊าท์พุท ให้เหมือนเดิมทุกประการ แต่ก็อย่างว่าแหละ เรื่องความเพี้ยนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงยาก เพียงแต่ว่ามันจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยเท่านั้นเองแอมปลิไฟร์ที่แพง ๆ จึงเป็นแอมป์ที่มีความเที่ยงตรงสูงในการขยายสัญญาณ

    เพาเวอร์แอมป์ เมื่อแบ่งออกตามลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ในการขยายเสียงแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
    1. เพาเวอร์แอมป์แบบทรานซิสเตอร์
    2. เพาเวอร์แอมป์แบบหลอดสูญอากาศ

    ซึ่งทั้งนี้คุณสามารถสังเกตได้จากลักษณะอุปกรณ์ภายในเครื่องได้ว่า มีลักษณะเป็นหลอดสูญญากาศหรือแบบทรานซิสเตอร์ เพราะว่าข้อแตกต่างจากกันอย่างชัดเจน ตามลักษณะของอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม เพาเวอร์แอมป์นั้นยังแบ่งออกไปได้ตามลักษณะของการจัดวงจรขยาย และลักษณะในการถ่ายทอดสัญญาณได้อีก เช่นถ้าแบ่งกันตามลักษณะในการจัดวงจรไบอัสในการขายเสียง ก็จะมีการแบ่งออกเป็นคลาสต่าง ๆ เช่น คลาส A, คลาส B, คลาส AB, คลาส C, คลาส D, คลาส H ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้ออกแบบจะทำการเลือกสรรวิธีการไบอัสกระแสของวงจรขยายแบบไหนที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด

    ในปัจจุบัน แอมป์คลาส AB ได้รับความนิยมมากที่สุด

    นอกจากนี้ ถ้าแบ่งประเภทตามวิธีออกแบบในการถ่ายทอดสัญญาณในภาคขยายสุดท้าย ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ภาคขยายแบบ OTL (OUT PUT TRNAS FOMER LESS) ภาคขยายชนิด OCL (OUT PUT CONDENSER LESS) เป็นหลัก ส่วนวิธีการในแบบวงจรอื่น ๆ ดูจะไม่เป็นที่นิยมกันเช่นแบบ OPT ของหลอดสูญญาอากาศ

    เพาเวอร์แอมป์ชนิดที่ออกแบบอุปกรณ์โดยใช้หลอดสูญญากาศล้วน ๆ นั้น ในปัจจุบันเป็นที่นิยมน้อยกว่าแอมปลิไฟร์ภาคขยายชนิดทรานซิสเตรอื เนื่องจากหลอดสูญญากาศจะมีขนาดที่ใหญ่เทอะทะ มีน้ำหนักมากใช้ไฟในการเลี้ยงวงจรสูงกว่าทรานซิสเตอร์ และมีความร้อนสะสมภายในตัวเครื่องสูงด้วย แต่ก็ยังมีผู้คนนิยมคุณภาพเสียงที่ได้จากแอมป์หลอด ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากบุคลิกเสียงของหลอดสูญญากาศมีความนุ่มนวลเสียงกลางดีเลิศ มีความละมุนละไม ถูกหูผู้ฟังมาก

    และอีกประการหนึ่ง ในแง่ของเทคนิคสำคัญก็คือ หลอดสูญญากาศจะใช้ไฟเลี้ยงวงจรที่สูงมาก สูงกว่าวงจรทรานซิเตอร์ จึงสามารถสะวิงสัญญาณเอ๊าท์พุทให้สูง หรือมีพลังสำรองที่ดี อีกทั้งเพาเวอร์แอมป์ชนิดอหลอดสูญญากาศนั้น เมื่อคุณได้ใช้กำลังขับจากมันอย่างเต็มที่ จนถึงอากาศคลิปปิ้ง (CLIPPING) เสียงที่ขับเกินกำลังของแอมป์หลอด จะไม่พร่าเพี้ยนปรากฎชัดเจนเหมือนแอมป์ทรานซิสเตอร์

    ด้วยเหตุผลข้างต้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เพาเวอร์แอมป์หลอด ยังได้รับความนิยมจากออดิโอไฟล์กลุ่มหนึ่งอย่างเหนียวแน่น แม้ว่าแอมป์หลอดจะมีข้อเสียบางประการอยู่ เช่น มีค่าความต้านทานทางเอ๊าท์พุทที่สูงไม่สามารถนำไปขับลำโพงที่มีความต้านทานต่ำ ๆ ได้โดยตรง แอมป์หลอดทุกเครื่องจึงต้องมีหม้อแปลง หรือ OUT PUT TRANSFORMER (OPT) สำหรับปรับค่าความต้านทานของหลอดสูญกาศให้เหมาะสมกับค่าความต้านทานของลำโพง เอ๊าท์พุททรานสฟอร์เมอร์ที่ว่านี้ จะต้องมีคุณภาพที่ดีเลิศจริง ๆ ไม่เช่นนั้น มันจะกลายเป็นตัวการทำลายคุณภาพเสียงของแอมป์หลอดไปเสียเอง อีกทั้งต้องไม่ลืมว่าหลอดสูญญากาศจะมีความร้อนสะสมในตัวสูงอยู่แล้ว การจัดตำแหน่งแห่งที่ทรานสฟอร์เมอร์ จึงค่อนข้างยุ่งยากว่าจะวางตำแหน่งใดดีจึงจะเหมาะสม ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนั้นเอง ได้ทำให้แอมป์หลอดสูญญากาศมีขนาดใหญ่โตเทอะทะทั้ง ๆ ที่มีกำลังขับนิดเดียว

    เพาเวอร์แอมป์ชนิดทรานซิสเตอร์ ซึ่งก็จะมีการออกแบบวงจรที่หลากหลายกันออกไป อุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำก็มีอยู่หลายแบบให้เลือกใช้ อุปกรณ์จำพวกนี้ได้แก่ทรานซิสเตอร์, ไอซี, มอสเฟท เป็นต้น ตามปกติในเวลานี้ ทรานซิสเตอร์ชนิดไบโพล่าดูจะได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ในบรรดาผู้ออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์ชนิดทรานซิสเตอร์

    ข้อดีของอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำนี้มีอยู่มากเช่นกัน โดยเฉพาะในแง่ของน้ำหนักขนาดที่เล็กและมีน้ำหนักเบากว่า มีความร้อนสะสมในอัตราที่น้อยกว่าแอมป์ชนิดหลอดสูญญากาศมาก อีกทั้งยังใช้ไฟในการเลี้ยงวงจรที่ต่ำกว่า ที่น่าแปลกมากก็คือหากใช้เครื่องมือจับวัดสัญญาณแล้ว เพาเวอร์แอมป์ ชนิดทรานซิสเตอร์จะมีค่าความเพี้ยนที่ต่ำกว่าแอมป์ชนิดหลอดสูญญากาศแต่ในเวลาฟังจริง ๆ ในทางภาคปฏิบัติ นักฟังมักจะชื่นชอบเสียงจากแอมป์หลอดมากกว่า ดังนั้นค่าความเพี้ยนต่าง ๆ ที่กำหนดเอาผู้ฟังไว้ในสเปกของเครื่อง จึงไม่สามารถบอกได้ว่าเครื่องรุ่นใด ชนิดใดให้เสียงดีกว่า จากแค่การพิจารณาความเพี้ยนของสเปกเครื่อง

    เพาเวอร์แอมป์ประเภททรานซิสเตอร์ยังต้องมีการออกแบบฮีทซิ้งหรือแผงระบายความร้อนในอุปกรณ์ เพื่อให้การระบายความร้อนสะสมที่เกิดกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำไปได้รวดเร็วที่สุด ความร้อนสะสมภายในตัวทรานซิสเตอร์ จะทำให้มันมีอายุการใช้งานสั้นลงมากกว่าปกติ ความร้อนยิ่งมากตัวอุปกรณ์เหล่านี้จะมีกระแสไหลผ่านมาก และถ้ายังมีกระแสไหลผ่านตัวมันมากขึ้นเรื่อย ๆ มันก็จะทำให้อุปกรณ์นั้นเสียหายได้ ถ้าหากว่าอุปกรณ์ที่เป็นทรานซิสเตอร์ล้วน ๆ จะต้องมีวงจรช่วยในการจำกัดกระแสที่ไหลผ่านตัวทรานซิสเตอร์นั้น ๆ ไม่ให้ร้อยจนเกินกว่าตัวอุปกรณ์นั้นจะรับได้

    ในช่วงระยะหลัง ๆ ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า "มอสเฟท" เข้ามาทำงานแทนที่ทรานซิสเตอร์ธรรมดาทั่วไป ข้อดีจของมอสเฟทก็คือ ไม่ต้องมีระบบวงจรชดเชยอุณหภูมิ เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษในการจำกัดจำนวนกระแสดที่ไหลผ่านตัวของมันได้เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น มอสเฟทจึงไม่เสียหายง่าย ๆ อย่างทรานซิสเตอร์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป

    เพาเวอร์แอมป์วงจรทรานซินเตอร์นั้นมักจะมีการออกแบบที่แตกต่างหลากหลายมากคงไม่สามารถนำมาแจกแจงทั้งหมดได้ แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนของแอมป์ประเภทนี้ก็คือ เมื่อเวลามีการใช้กำลังขับมาก…จนคลิปแอมป์ทรานซิสเตอร์จะมีความเพี้ยนในระดับที่สูงมาก ผู้ฟังจะได้ยินเสียงแตกพร่าชัดเจนรุนแรงว่าแอมป์หลอดสูญญากาศหลายเท่าตัวดังนั้นการเลือกเล่นแอมปลิไฟร์ชนิดทรานซิสเตอร์ จึงน่าเลือกแอมป์ที่มีพลังขับสูง ๆ เอาไว้ก่อน โดยเฉพาะในกรณีที่คุณมีห้องฟังขนาดใหญ่ ๆ และจำเป็นต้องใช้แอมป์ไปขับลำโพงซึ่งมีค่าความต้านทานสูง หรือลำโพงที่มีความไวค่อนข้างต่ำ

    สิ่งที่ดีกว่าของแอมป์ทรานซิสเตอร์ก็คือ เรื่องของค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์ ซึ่งจะมีอัตราที่สูงกว่าแอมป์ไฟร์แบบหลอดสูญญากาศ ค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์ คือการหยุดยั้งการสั่นค้างของลำโพง ในการฟังเสียงแอมปลิไฟร์ประเภทหลอดสูญญากาศ คุณจะพบได้ง่ายว่าความถี่ต่ำของมันจะมีความพร่าเลือนไม่ฉับไว (ในความถี่ต่ำมาก) แอมปลิไฟร์ที่หยุดยั้งการสั่นค้างของลำโพงได้ดี ๆ จะทำให้เสียงกระชับฉับไวสมจริงมากยิ่งขึ้น นี่เป็นคุณสมบัติที่แอมป์ทรานซิสเตอร์จะให้ได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดทั้งหลายในทางปฏิบัติ จะมีข้อปลีกย่อยอีกมากมาย มิใช่เพียงแค่คุณสมบัติเพียงด้านเดียวของ DAMPING FACTOR เท่านั้น

    ข้อที่น่าสังเกตคือ ในระดับไฮเอ็นด์สูงสุดแล้ว แอมป์หลอดกับแอมป์ทรานซิสเตอร์ล้วนมีราคาสูงสูดโต่งด้วยกันทั้งคู่ น้ำเสียงบุคลิกของมันก็ยอมเยี่ยมมีรายละเอียดดี ยากจะนำข้อจำกัดความของลักษณะเสียงมาชี้ขาดได้ว่าใครดีกว่าใคร

    แต่ในแอมปลิไฟร์ระดับราคาตลาดแล้วแอมปลิไฟร์ทรานซิสเตอร์มักจะก่อความเพี้ยนได้รุนแรง หรือฟังออกได้ง่ายกว่า เพราะทรานซิสเตอร์ที่มีอาการผิดเพี้ยน จะผิดเพี้ยนที่ฮาร์โมนิคคี่ ซึ่งมีผลต่อการรับฟังของหูมากกว่าฮาร์โมนิคคู่ แอมปลิไฟร์ทรานซิสเตอร์ชั้นดี จึงมักออกแบบพลังสำรองให้สูง ๆ เพื่อป้องกันอาการผิดเพี้ยนของเสียงดังกล่าวข้างต้น

    ตามปกติทั่วไป แอมปลิไฟร์หรือเพาเวอร์แอมป์หลอดสูญญากาศ มักจะเป็นแอมป์ที่มีราคาแพงเสมอ ในขณะที่แอมป์ทรายซินเตอร์นั้น จะมีทั้งสนนราคาแพงและไม่แพง

    แต่บทสรุปอื่น ๆ เกี่ยวกับหลอดหรือทรานซิสเตอร์นั้น ยังไม่มีบทสรุปที่แน่นอนว่าควรเลือกเล่นแอมป์แบบใด ?

    อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในวงจรเพาเวอร์แอมป์ต่อไปนี้ ล้วนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งสองประการ ซึ่งผมจะขอแจกแจงเอาไว้ พอเป็นที่ประดับความรู้ในการเลือกซื้อแอมปลิไฟร์เออร์

    MOSFET หรือ METAL OXIDE SEMI-CONDUCTOR FIELD EFFECT TRANSISTOR ซึ่งเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีการทำงานคล้ายหลอดสูญญากาศมาก คือเมื่อได้รับอินพุทโวลเตจ ก็จะเกิดสนามไฟฟ้าเล็ก ๆ ขึ้นในตัวของมัน เพื่อใช้ในการควบคุมปริมาณกระแสที่จะวิ่งผ่านตัวของมัน และมอสเฟทนั้น ก็จะมีค่าความต้านทานขาเข้าสูงมาก สูงกว่าไบโพล่าร์ทรานซิสเตอร์โดยทั่วไป

    BIPOLAR TRANSISTOR หรืออุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางมาก ทรานซิสเตอร์นั้นมีการทำงานที่แตกต่างไปจนมอสเฟท และหลอดสูญญากาศ คือมันจะทำการตอบสนองต่อกระแส ไม่ใช่โวลเตจอินพุทอย่างเป็นกับมอสเฟทเมื่อมีกระแสเข้าปริมาณหนึ่งที่อินพุทของมัน แต่ในทางเอ๊าท์พุท กระแสจะไหลออกเป็นปริมาณมากกว่า นั่นคือการทำงานขยายเสียงของมันนั่นเอง

    TUBE หลอดสูญญากาศ เป็นอุปกรณ์ดั้งเดิมที่รู้จักกันมาก่อนทรานซิสเตอร์ ขั้วของหลอดจะประกอบด้วยคาโธค เพลท และกริด (CATHOD, PLATE, GRIE) การไหลผ่านของอีเล็กตรอน จะเกิดการจุดไส้หลอดโดยที่ขั้วของคาโธคจะเป็นขั้วลบ และเพลทเป็นขั้วบวก เมื่อหลอดถูกจุดให้ร้อน อีเล็กตรอนก็จะกระโดดจากคาโธคไปยังเพลทเป็นเหตุให้มีการไหลของกระแสปริมาณกระแสนั้นจะถูกควบคุมโดยกริด ซึ่งอยู่ในระหว่างทางเดินของอีเล็กตรอน และจากการที่ขั้วของหลอดทั้ง 3 ขั้ว ไม่ได้ต่อให้ถึงกัน ดังนั้นจึงมีค่าความต้านทานทางด้านอินพุทที่สูงมาก

    POWER SUPPLY เป็นภาคจ่ายไฟเพาเวอร์แอมป์ ส่วนของวงจรนี้มีหน้าที่หลักในการจ่ายกระแสให้กับตัวเครื่องทั้งหมด วงจรเบสิกทั้งไปจะประกอบด้วย ไดโอด 4 ตัว คาปาซิเตอร์จำนวน 2 ตัว นอกจากกรณีของการต่อพ่วงกัน เพื่อให้วงจรมีเสถียรภาพที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

    POWER TRANSFORMER คือส่วนหนึ่งของวงจรเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นหม้อแปลงไฟฟ้า สำหรับแปลงไฟบ้านขนาด 220 โวลท์ ให้เหมาะสมกับวงจรที่ต้องการใช้หากวงจรของเพาเวอร์แอมป์มีกำลังขับสูงก็ย่อมต้องการไฟเลี้ยงวงจรที่สูงขึ้น สมมติว่าเป็นแอมป์ที่มีกำลังขนาด 100 วัตต์ (ขชนิดทรานซิสเตอร์) จะต้องแปลงไฟจาก 200 โวลท์ให้ลงมาเหลือ 40 โวลท์โดยประมาณ ส่วนเพาเวอร์แอมป์หลอดสูญญากาศ อาจจะต้องแปลงไฟให้สูงกว่า 220 โวลท์ ข้อสังเกตก็คือตัวเพาเวอร์แอมป์วงจรเดียวกัน หากเพาเวอร์ซัพพลายของเครื่องตัวใดตัวหนึ่งออกแบบได้ดีกว่า ก็จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

    เรื่องที่น่ารู้ เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์นั้นยังมีอีกมากมาย แต่คำศัพท์ที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพเสียงนั้นจะมีในวงจำกัดไม่กี่คำ ยกตัวอย่างเช่น

    SLEWLATE หมายถึงค่าความไวของเพาเวอร์แอมป์ ในอันที่จะตอบสนองต่อสัญญาณอินพุท ซึ่งมักจะบอกกันเป็นค่าของโวลท์ต่อไมโครเซกั้นด์ เช่น อัตราการสรูว์เรทของเพาเวอร์แอมป์เครื่องหนึ่งมีอัตรา 60 โวลท์ต่อไมโครเซกั้นด์ ก็หมายถึงเมื่อสัญญาณอินพุทมีการเปลี่ยนแปลงค่าต่อเอ๊าท์พุท เอ๊าท์พุทจะสามารถเปลี่ยนจากศูนย์ถึง 60 โวลท์ ได้ภายในเวลา 1 ไมโครเซกั้นด์ (หรือหนึ่งในล้านวินาที)

    การเปรียบเทียบค่า SLEW RATE นั้นจะต้องเปรียบเทียบจากแอมปลิไฟร์ที่มีกำลังขับระดับเดียวกันจึงจะเหมาะสม ไม่ควรนำแอมป์ขนาด 100 วัตต์ ไปเปรียบเทียบอัตราสรูว์เรทกับแอมป์ขนาด 20 วัตต์ เพราะแอมป์ขนาดกำลังขับทั้ง 2 ขนาดนี้ ย่อมจะต่างกันโดยเบสิกของการออกแบบอยู่แล้ว

    คลาสของเพาเวอร์แอมป์ ที่จริงผมเคยเขียนถึงลักษณะการทำงานของแอมปลิไฟร์วงจรต่างๆ เหล่านี้มาแล้ว ด้วยกลวิธีในการออกแบบภาคขยาย และวิธีการจัดไบอัสให้กับทรานซิสเตอร์นั่นเอง ได้แบ่งให้เกิดแอมป์คลาสต่าง ๆ มากมาย แต่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ แอมป์คลาส A และคลาส AB จะขอสรุปสั้น ๆ เพื่อเป็นการทบทวนเรื่องคลาสของแอมป์ซึ่งเคยพูดถึงมาบ้างแล้ว ซึ่งจะขอยกเว้นภาคขยายประเภทอื่น ๆ อันไม่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

    CLASS A
    การจัดวงจรภาคขยายแบบนี้ จะมีการไบอัสกระแสให้กับทราสซิสเตอร์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่มีสัญญาณมาให้ขยาย ตัวทรานซิสเตอร์ก็ยังจะจต้องมีปริมาณกระแสไหลผ่านในปริมาณค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัวเครื่องของแอมป์คลาส A จะมีความร้อนสูงกว่าการจัดวงจรแบบคลาสอื่น ๆ ข้อดีก็อาจจะมีตรงที่ค่าความเพี้ยนต่าง ๆ จะมีต่ำกว่าวงจรแบบอื่น ๆ และแอมป์คลาส A มักจะทำให้มีกำลังขับได้ไม่สูงนัก ถ้าผลิตแอมป์คลาส A ที่มีกำลังขับสูง ๆ ตัวเครื่องและส่วนของแผงระบายความร้อนจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก

    CLASS B
    เป็นการจัดวงจรที่ต่างจากคลาส A โดยสิ้นเชิง คือเมื่อไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามา ก็จะไม่มีกระแสไหลผ่านทรานซิสเตอร์ จะมีกระแสไหลผ่านได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอินพุทเข้ามาเท่านั้น แอมป์คลาส B มักจะมีค่าความเพี้ยนสูงมาก แต่มันมีข้อดีที่จะทำเป็นแอมป์กำลังขับสูง ๆ ได้ ปัจจุบันไม่มีแอมป์คลาส B แท้ ๆ อีกแล้ว เนื่องจากคุณภาพเสียงไม่เป็นที่น่าพอใจ

    CLASS AB
    แอมปลิไฟร์หรือเพาเวอร์แอมป์ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน การออกแบบจะนำข้อดีของแอมป์ทั้งคลาส A และคลาส B มาผสมผสานกัน คือ มีการปล่อยให้มีกระแสปริมาณน้อย ๆ ผ่านทรานซิสเตอร์จำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาเลย การทำงานปิดเปิดก็จะเป็นไปตามสัญญาณอินพุททั่วไป เพียงแต่ว่าวงจรนี้ จะไม่มีการ OFF ของกระแสทั้งหมด แม้ว่าจะไม่มีอินพุทเข้ามา
    คุณสมบัติของเพาเวอร์แอมป์ที่ดีนั้นไม่อาจจะสรุปได้โดยง่าย ในแง่ของเทคนิคพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นเพียงพื้นฐานที่ท่านผู้อ่านควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแอมปลิไฟร์เออร์ แต่ถ้าพิเคราะห์กันถึงวิธีการเลือกซื้อแล้ว เรามักจะจัดให้เพาเวอร์แอมป์ได้มีโอกาสจับคู่กับปรีแอมป์ แล้วทำงานขับลำโพงจริง ๆ เพื่อฟังผลของคุณภาพเสียง มากกว่าการพิจารณาคุณสมบัติของเพาเวอร์แอมป์เพียงเครื่องเดียว

    บทสรุปที่เห็นเด่นชัดในทางปฏิบัติของเพาเวอร์แอมป์ที่ดี คือ

    1. พลังขับจะต้องสมบูรณ์ตลอดย่านความถี่ และระดับความดังไม่มีเสียงพร่าเพี้ยนเมื่อทำงานในระดับความดังสูง ๆ

    2. มีน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ ไม่ผิดเพี้ยนความเป็นจริง เช่น เสียงจัด เสียงขุ่นมัว หรือเบลอ

    3. ในระดับความดังแบบแบ็กกราวด์มิวสิก (เบา ๆ) เพาเวอร์แอมป์ที่ดี จะให้รายละเอียดของชิ้นดนตรีได้มากกว่าเพาเวอร์แอมป์ที่ไม่ดี ข้อสังเกตคือ แอมป์ขนาดกำลังขับสูง ๆ แม้จะเปิดในระดับความดังเท่ากับแอมป์ขนาดกำลังขับต่ำ ๆ แอมป์กำลังขับสูงจะให้เสียงที่มีรายละเอียดมากกว่าเสมอ

    4. มีความเป็นกลางของน้ำเสียงสามารถจัดเข้ากับปรีแอมป์ได้หลากหลายและยังคงลักษณะบุคลิกเสียง ที่เป็นแฟล็ทได้เสมอ

    5. ควรมีวงจรโพรเท็คชั้น ป้องกันตนเองได้ กรณีเอ๊าท์พุทช้อต โดยไม่ทำให้คุณภาพเสียงโดยรวมเสียหาย

    6. การออกแบบ จะต้องคำนึงถึงการใช้งานจริงอันเหมาะสม ไม่ใช่แค่สวยงามที่รูปทรงของเครื่องแต่อย่างเดียวเท่านั้น

    7. เพาเวอร์แอมป์ที่ดี ย่อมไม่เกี่ยงลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ซับซ้อน และต้องไม่มีอาการเสียงเครียดเมื่อเปิดฟังนาน ๆ

    นั่นคือคุณสมบัติบางประการ ที่จะช่วยให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเลือกเฟ้นเวอร์แอมป์ที่ดีได้ แม้จะไม่ใช่สูตรสำเร็จทั้งหมด

    ข้อสำคัญก็คือ คุณจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเสียงที่ถูกใจ และถูกหูของคุณด้วย

    เพาเวอร์แอมป์ที่ยกตัวอย่างในภาพประกอบของบทความตอนนี้ คือส่วนหนึ่งของเพาเวอร์แอมป์ยอดนิยมในปัจจุบัน ในระดับราคากลาง ๆ จนถึงราคากลางสูง ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถที่จะหาโอกาสไปทดลองฟัง ได้จากตัวแทนจำหน่ายของแต่ละยี่ห้อ

    Comment


    • #3
      ชอบท่านอาจารย์อยู่เหมือนกันครับ แต่ชอบ อาจารย์ไมตรี มากกว่าเท่านั้น

      Comment


      • #4
        ชอบท่านอาจารย์อยู่เหมือนกันครับ แต่ชอบ อาจารย์ไมตรี มากกว่าเท่านั้น
        แล้วแต่ครับ
        คุณ fishow ศิษย์ ไมตรี แอนตาซิล แจกเข็มละพัน อิอิ

        เหตุผลที่ผมเอามาโพสต์เพื่อ
        1. บางคนกำลังเริ่มเล่นเครื่องเสียง
        2. อยากให้อ่านจากหูทองตัวจริง แล้วเลิกแซวผมซักที

        Comment


        • #5
          ขอหูคนธรรมดาร่วมแจมอีกคน
          Originally posted by fishow
          ชอบท่านอาจารย์อยู่เหมือนกันครับ แต่ชอบ อาจารย์ไมตรี มากกว่าเท่านั้น
          สายลำโพงท่านวางบนกองหนังสีอสูง 1 คืบ แล้วทับด้วยหนังสือหนัก 5 กก ด้วยไม๊ครับ ผมทำอยู่พักนึงแล้วทำความสะอาดพื้นลำบากเลยต้องไปหาอย่างอื่นมารองสายลำโพงแทน
          Originally posted by Aeromancer
          เหตุผลที่ผมเอามาโพสต์เพื่อ
          1. บางคนกำลังเริ่มเล่นเครื่องเสียง
          2. อยากให้อ่านจากหูทองตัวจริง แล้วเลิกแซวผมซักที
          1. บางคนที่กำลังสนใจจะเล่นเครื่องเสียงแนะนำเวปเหล่านี้ไปหาความรู้เพิ่มได้ครับ จะได้ข้อมูลที่หลากหลายและถูกต้อง รีวิวเครื่องตั้งแต่ชุดราคาถูกถึงราคาแพงสุดกู่ มีบางท่านเคยเอามาแนะนำในเวปนี้แล้วครับ ซ้ำอีกครั้งก็แล้วกัน
          -เวป http://www.audio-teams.com/ เน้น 2 ch
          - เวปhttp://www.wijitboonchoo.com/
          - เวป http://www.thaiavclub.org/forums/index.php
          - เวป http://www.sound-map.com/
          - เวป http://www.htg2.net/
          - เวป http://forum.thaidvd.net/ เน้นด้านโฮมเธียร์เตอร์ AVR ที่เราพูดๆกันในเวปแห่งนี้ และท่านที่สนใจ htpc ต้องไม่พลาดครับ
          ลองเข้าไปอ่านกันดูหลายๆเวปครับ บางเวปไม่มีเซียนตัวจริงคอยชี้แนะ ข้อมูลถูกใจท่านบ้างหรือไม่ถูกใจท่านบ้างหาว่ามั่ว ก็วิเคราะห์กันเอง เรื่องมั่วไม่มั่วนี่อ่านไปนานๆก็รู้เองละครับ บางแห่งมีเจ้าของร้านขายเครื่องเสียงไปร่วมแจมด้วย อยากรู้รายละเอียดเครื่องเค้าสามารถตอบให้ได้แน่นอน ส่วนจะมีเชียร์ของที่ขายก็มีบ้างละครับ
          2. ไม่ต้องกลัวครับ ผมคนนึงละที่ไม่แซวเรื่องเซียนหูทองครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องโฮมเธียร์เตอร์เลยหาข้อมูลจากเวป thaidvd เป็นประจำครับ ตั้งแต่บอร์ดเก่าจนย้ายใหม่ ได้ความรู้จากคุณAeromancer มาพอสมควรเลย แต่หลังจากกระทู้วิจารณ์ลำโพง 8 โอม หมดไปก็ไม่ได้เห็นโพสของคุณอีกเลย ก็ไม่นึกว่าจะมาเจอในเวปoverclokzone ครับ ก็รออ่านโพสคุณต่อไปครับ

          Comment


          • #6
            ต้องปริ้นเก็บไว้อ่านเเล้ว

            Comment


            • #7
              ขอบคุณท่านมากครับ แจ่ม

              Comment


              • #8
                2. ไม่ต้องกลัวครับ ผมคนนึงละที่ไม่แซวเรื่องเซียนหูทองครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องโฮมเธียร์เตอร์เลยหาข้อมูลจากเวป thaidvd เป็นประจำครับ ตั้งแต่บอร์ดเก่าจนย้ายใหม่ ได้ความรู้จากคุณAeromancer มาพอสมควรเลย แต่หลังจากกระทู้วิจารณ์ลำโพง 8 โอม หมดไปก็ไม่ได้เห็นโพสของคุณอีกเลย ก็ไม่นึกว่าจะมาเจอในเวปoverclokzone ครับ ก็รออ่านโพสคุณต่อไปครับ
                ขอบคุณครับ ที่ไม่แซวผม อย่างนั้น ในบอร์ด thaidvd เกิดปัญหาว่า .... เจ้าถิ่น ครับ คงพอเข้าใจ ผมเบื่อกับคำนี้อย่างมาก ผมถาม ไม่มีใครตอบ ผมตอบ ไม่มีใครเห็นด้วย แถมยัง มองขาว กับ ดำ เท่านั้น ไม่ใครมองสี เท่าได้เลย ก็เลยไม่คิดว่าผมจะสามารถ อยู่ในบอร์ดนั้นได้ครับ แล้วก็รับผิดชอบสิ่งที่ผมรับปากให้เสร็จ แล้วก็จบ ผ่านไปแล้วครับ เพื่อนในบอร์ดนั้น บางคนก็ยังโทรหาผมอยู่เลย (คนที่พาไปซื้อ Klipsch Quint III นั่นแหละครับ) แต่ก่อนหน้านี้ผม เคยบอกไปแล้ว ว่าผมจะไม่ใช้บอร์ดนั้นอีก

                และ บอร์ดนี้ ผมก็เริ่มมีความรู้สึกเดิมๆ ขึ้นมาอีกครั้ง ช่วยบอกผมทีว่าผมคิดมากไปเอง.... อาจจะโพสต์ หรือ รีพลาย เหมือนที่ผ่านๆ มาไม่ได้แล้ว

                ดังนั้น หูผมไม่ได้ทอง แต่หูผม เคยผ่านเสียงดนตรี เสียงเพลง เสียงหนัง ที่ผมเคยฟังเคยได้ยิน เคยเปรียบเทียบ แค่อยากแชร์ประสบการณ์ กับอีกหลายๆ คนแค่นั้นครับ ส่วนรายการ link ที่คุณ post มานั่น ก็คือแหล่งความรู้ ทั้งนั้นครับ ใครอยากได้ความรู้ แนะนำตามนั้นเลยครับ ผมก็เคยอ่านเหมือนกัน อย่าง Sound Map ยังโหลด Excel เค้ามาใช้เลย ดีมากเลยครับ
                Last edited by Aeromancer; 23 Jan 2008, 13:41:25.

                Comment


                • #9
                  ผมก็ชอบอาจารย์วิจิตร ครับ

                  เมื่อก่อนซื้อหนังสือ GM2000 เกือบทุกเล่ม รวมถึงฟังรายการที่อาจารย์จัดเกือบทุกอาทิตย์ และยังเคยโทรเข้าไปในรายการของอาจารย์หลายครั้ง

                  ตอนหลังไม่ได้ตามเรื่องเครื่องเสียงเลย รู้สึกอาจารย์จะไปออกหนังสือใหม่ แต่ผม***งมานานแล้วอะครับ

                  Comment


                  • #10
                    โถๆ
                    ใจเย็นๆครับ
                    ผมก็พยายามทำตัวดีๆ
                    แต่ก็ไม่วายมีคนไม่ชอบอยู่ดีแหละครับ
                    เป้นกันทุกคน

                    Comment


                    • #11
                      ลิงค์ที่ให้ๆ มาผมแวะไปหมด แต่หลังๆ เกิดอาการเบื่อๆ อยากๆ เพราะกำลังจะเปลี่ยนระบบหลายๆ ยอ่าง เลยเปลี่ยนแนวเสียงจากคอมชั่วคราว รอให้อะไรมันนิ่งขึ้นแล้วคงกลับไปเล่นอย่างเดิม

                      Comment


                      • #12
                        อ.วิจิตร แกยังไม่ไปสุดๆ แบบหลายๆ นักเขียนบางคนเล่นกัน ซึ่ง อ.แกคงเล่นบ้างแต่ไม่พูดถึงเท่านั้น

                        แม้ปัจจุบันจะมีการยอมรับเรื่องแปลกๆ หลายเรื่อง แต่คนนอกวงการก็ยังว่า บ้า อยู่ดี

                        Comment


                        • #13
                          ผมเคยมีโอกาศได้คุยกับนักเขียนท่านนึง บอกว่าทุกวันนี้ที่เผยแพร่ไปเป็นเพียง 20% ที่เล่นเท่านั้น เพราะเพียงเท่านี้ก็โดนว่าลืมกินยาแล้ว ถ้าออกไป 100% มันจะขนาดไหน

                          เรื่องพวกนี้บางทีฟังออกก็เชื่อกันไป คนฟังไม่ออกก็เอาตัวเป็นที่ตั้งแล้วไปสรุปว่าพวกที่เล่นมันบ้า ... -*-

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by IIM View Post
                            ผมเคยมีโอกาศได้คุยกับนักเขียนท่านนึง บอกว่าทุกวันนี้ที่เผยแพร่ไปเป็นเพียง 20% ที่เล่นเท่านั้น เพราะเพียงเท่านี้ก็โดนว่าลืมกินยาแล้ว ถ้าออกไป 100% มันจะขนาดไหน

                            เรื่องพวกนี้บางทีฟังออกก็เชื่อกันไป คนฟังไม่ออกก็เอาตัวเป็นที่ตั้งแล้วไปสรุปว่าพวกที่เล่นมันบ้า ... -*-
                            ถึงได้มีคนพูดคำว่าบ้า เยอะแยะไงครับ บ้าคอมพ์ บ้าเกมส์ บ้าเครื่องเสียง บ้าผู้หญิง บ้าฯลฯ บ้าคงหมายถึง คลั่งมั้งครับ อิอิ ผมก็บ้าหลายอย่าง บ้าเกมส์ บ้าหนัง บ้าคอมพ์ บ้าเพลง แต่...แล้วแต่จะบ้ากัน ผมว่า คำว่าบ้า มันคือเครื่องยึดเหนี่ยว ของชีวิตครับ ถ้าคนเราไม่บ้าอะไรเลย ก็บรรลุ แล้วล่ะครับ

                            โถๆ
                            ใจเย็นๆครับ
                            ผมก็พยายามทำตัวดีๆ
                            แต่ก็ไม่วายมีคนไม่ชอบอยู่ดีแหละครับ
                            เป้นกันทุกคน
                            อ้าวแต่ผมไม่เห็นจะไม่ชอบใครนิครับ ? ผมชอบทุกคน คนที่ใช้เว็บบอร์ดนั่นหมายถึง คนที่พร้อมจะเข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล ไม่ใช่ สนามรบ ครับ ผมชอบทุกคนครับ ^^

                            Comment


                            • #15
                              ผมชอบแต่ผู้หญิง ผู้ชายไม่ชอบคับ

                              Comment

                              Working...
                              X