Announcement

Collapse
No announcement yet.

ถาม เทพSound ทุกท่านครับ ว่ามี Sound แจ่มๆแล้ว โปรแกรมอะไรที่ท่านใช้"ฟังเพลง"กันครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ถาม เทพSound ทุกท่านครับ ว่ามี Sound แจ่มๆแล้ว โปรแกรมอะไรที่ท่านใช้"ฟังเพลง"กันครับ

    เน้นนะครับว่าฟังเพลง ใช้โปรแกรมอะไรอยู่มั่ง แล้วลง Plug in อะไรเพิ่มกันรึเปล่า

    หรือว่านอกจากโปรแกรมแล้วยังต้องใช้พวกโปรแกรมแต่งเสียงช่วยอีก

    ขออภัยถ้าตั้งกระทู้ถามซ้ำอีก ^_^

  • #2
    ผม ใช้windows media player 10 (ต้องเป็นเวอร์ชั่นนี้เท่านั้นครับ) เพียวๆ ไม่มี plugin ครับ


    ปล.ซาวน์การ์ดทีดีต้องไร้การปรับแต่ง

    Comment


    • #3
      ผมใช้ Winamp เดิมๆปรับ EQ เอา

      Comment


      • #4
        Originally posted by nanana001 View Post
        ผม ใช้windows media player 10 (ต้องเป็นเวอร์ชั่นนี้เท่านั้นครับ) เพียวๆ ไม่มี plugin ครับ


        ปล.ซาวน์การ์ดทีดีต้องไร้การปรับแต่ง


        ถูกต้องตาม ปล.ครับ เลยมาถูกใจที่ Digital music USB ตามลายเซ็น

        Comment


        • #5
          Originally posted by fluzzy View Post
          ผมใช้ Winamp เดิมๆปรับ EQ เอา

          เหมือนท่านเลยครับ

          Comment


          • #6
            อืม...ผมใช้ Sound On board อยู่ครับ ใช้ Jet Audio ปรับ EQ ไปที่ Flat ถึงจะมีความรู้สึกว่าเสียงครบ

            อ้อ ผมใช้ AJ 5.1 Input เป็น Stereo ธรรมดา

            ว่าแต่ WMP10 เนี่ยมันเหมาะกับการให้เสียงแบบเดิมๆไม่ใช่เหลอครับ ^_^

            Comment


            • #7
              Foobar 2000 + Audigy 2ZS

              Comment


              • #8
                Originally posted by nanana001 View Post
                ผม ใช้windows media player 10 (ต้องเป็นเวอร์ชั่นนี้เท่านั้นครับ) เพียวๆ ไม่มี plugin ครับ


                ปล.ซาวน์การ์ดทีดีต้องไร้การปรับแต่ง
                คอเดียวกันเลยครับ ไม่ปรับ ไม่แต่ง แต่ตอนนี้หันมาใช้ Media Monkey ครับ Logo น่ารักดี อิอิ

                Comment


                • #9
                  Windows mediaplayer ใช้ interface MME

                  ผ่าน Kmixer เต็มๆ เสียงถูก resampler เป็น 48 Khz 1,000,00 %

                  ไอ้คำว่า ไม่ปรับไม่แต่ง นี่ คิดผิด


                  Kmixer:
                  The KMixer is a part of Windows that enables your computer to take multiple audio sources and play them back at the same time and at the same bit rate. The KMixer is also how Windows handles your volume control. Regular CD audio is 44.1 kHz. Many times, due to poorly written drivers, sound cards that will interact with the KMixer will cause this 44.1kHz data to be resampled to 48kHz. Obviously this will result in an undesirable result when trying to achieve the utmost in sound quality. The mixing algorithm as implemented by Microsoft has been shown in many cases to only have a signal to noise ratio of about 92dB. CDs have a signal to noise ratio of about 96dB (technically 97.5dB). The KMixer effectively reduces the data from 16bit to 14 bit.
                  To bypass the Windows KMixer you either need to use ASIO or Kernel Streaming.





                  Comment


                  • #10
                    foobar เดิมๆเลยแต่งไม่เป็น

                    Comment


                    • #11
                      ไอ้คำว่า ไม่ปรับไม่แต่ง นี่ คิดผิด
                      An audiophile, from Latin audire[1] "to hear" and Greek philos[2] "loving," can be generally defined as a person dedicated to achieving high fidelity in the recording and playback of music.
                      ถ้า Audiophile ไม่ใฝ่หาความสมจริงของต้นฉบับ (HighFideltity) แล้ว Audiophile จะฟังกันไปทำไม ไม่รู้สิ สำหรับผมไม่ว่าเครื่อเสียง ชุดที่คอม หรือจะชุดใหญ่ ถ้าฟังเพลงจะ กดปุ่ม Pure direct หรือ Defeat Tone ไว้ Player ก็เดิมๆ ไม่ต้องใช้ Oversampling อะไร แล้วจะได้ฟังเสียงที่ คนบันทึก source หรือ Sound Engineer หรือแม้แต่ ศิลปิน ที่เค้าอยากให้เราได้ยินครับ ก็แล้วแต่บางคนชอบผู้หญิงที่สวยเพราะโบ๊ะเครื่องสำอางเยอะๆ หรือเสริมด้วยพลาสติก แต่ผมชอบผู้หญิงที่สวยโดยแต่กำเนิด สวยแม้ไม่ต้องแต่ง สวยโดยเนื้อแท้

                      มันเป็นอย่างนี้ครับ สมัยก่อนนั้นเทคโนโลยีของ CD ยังเป็นของใหม่ ความรู้ทางด้านทฤษฎีดิจิตอล ยังค่อนข้างมีอยู่จำกัด แต่ต้องเร่งผลักดันออกมาเพื่อชิงตลาด วางเป็นบรรทัดฐานในการขายฟอร์แมต จนถึงปัจจุบันเรามีความรู้ในเทคโนโลยีดิจิตอลมากขึ้น-แน่นขึ้น จนอาจสามารถพลิกผันเทคโนโลยีของ CD ให้ตกยุคไปได้ง่ายๆ นี่คือเรื่องจริงเพราะทุกวันนี้ฟอร์แมตต่างๆที่แตกไลน์ไปจาก CD ล้วนแล้วแต่มีความก้าวล้ำนำหน้าไปอย่างมาก ทีนี้หากมาดูถึงความกระจายตัวของ CD ที่ถือได้ว่าเป็น "สื่อ" ที่มีความแพร่หลายทั่วโลก คล้ายกับม้วนเทปที่ขายกันทุกซอกทุกมุม จึงไม่เหมาะแน่ถ้าจะทิ้งขวาง CD ไป ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของ CD ไปจากที่กำหนดไว้ในสารพัด BOOK ที่ SONY/PHILIPS ได้กำหนดร่วมกันไว้ได้ จึงมีบางค่ายหาทางออกด้วยการ UP-SAMPLING ข้อมูลจากเดิม 44.1 kHz เพิ่มขึ้นไปเป็น 96 kHz หรือบางทีก็ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง WORDLENGTH จากเดิม 16 บิตไปเป็น 20 หรือ 24 บิต ซึ่งบทสรุปก็ ว่าน่าจะดี เพราะมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา ทว่าหากเราคิดในอีกทางหนึ่ง เราอาจจะมองว่า การไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเดิม มันก็เท่ากับว่าเป็นการผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับแล้ว ดังนั้นการที่จะไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนก็ต้อง อย่าไปยุ่งกับข้อมูลต้นฉบับ มันก็เท่านั้น นั่นก็คือหลักการ NON-OVERSAMPLING นั่นเอง เรียกว่า ข้อมูลของมันมีอัตราการสุ่มสร้างตัวอย่างข้อมูลเท่าใด ก็นำไปผ่านกระบวนการถอดรหัสข้อมูลดิจิตอลสู่รูปสัญญาณอนาล็อก (DAC) อย่างนั้นเลย

                      ทีนี้เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันมันสามารถที่จะเอื้อต่อการ NON-OVERSAMPLING แล้วละครับ เพราะอุปกรณ์ต่างๆมีความแม่นยำในการทำงานมากกว่าแต่ก่อนมากทีเดียว จริงๆแล้วการ NON-OVERSAMPLING ก็คือการ OVERSAMPLING ที่ x1 นั่นเองครับ ไม่มีการการนำข้อมูลไปทดไปยกระดับอัตราการส่มสร้างตัวอย่างข้อมูลเหมือนเช่นที่ผ่านมา เท่าที่ผมทราบตอนนี้ดูเหมือนว่า จะเป็น DAC ของ AudioNote ที่ใช้หลัก

                      จาก : ทีมงานgm2000 - - 21/06/04 1429

                      อ้างอิง http://www.wijitboonchoo.com/audiocl...ow.php?id=4436
                      ขอเล่าที่มาก่อนละกัน ว่าทำไมผมอยากเขียนเรื่องนี้นัก คือเมื่อประมาณ ต.ค. ปี 2543 เพื่อน DIYer คนหนึ่งของผม เดินทางไปทำธุระที่ Seattle กลับมาก็ติด Chip มาให้ผม 2 ตัวคือ CS8412 และ AD1865 บอกให้ผมลองวิจัย Non Oversampling DAC ดู ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกขัดๆ หู \"ว่าไรนะ! :fragend: Non-Oversampling เหรอ\" เค้าก็ว่า \"ใช่ Digital Filterless ด้วย\" :0 คำถามแรกในใจผมคือ \"Why?\" มันเป็นอะไรที่สวนทางกับสิ่งที่ผมเคยรู้มาอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลอย่างเดียวที่ผมมีตอนนั้นคือสำเนา Review Audionote DAC-5 เขียนโดย Martin Column เพื่อนผมยังวางเหยื่อให้ผมสนใจจนได้ด้วยประโยคว่า \"DAC-5 ขายที่อังกฤษตัวละ 28,500 ปอนด์นะ\" DAC บ้าอะไรตัวละเกือบ 2 ล้านบาท :icon_wow: Audionote ก็บ้าอยู่แล้ว แต่บ้าแบบมีหลักการ สุดท้ายก็ตกหลุมเรียบร้อย ต้องเป็นหัวหอกอีกแล้ว พยายามอยู่เกือบเดือน Non-OS DAC ตัวแรกของผมก็ร้องเพลงได้ ตอกแรกดีใจแทบตายที่คราวนี้ไม่มีควันและแสงออกมาพร้อมกับเสียง แต่เอ๊ะ! ชิ้นดนตรีมากองอยู่ตรงกลางหมดเลย พอฟังถึงเพลงที่ 2 ถึงรู้ว่าฟัง Mono อยู่ มันดังแต่ Channel ซ้ายครับ ออก 2 ลำโพงเลย :stupid: งมอยู่อีกเกือบเดือน ได้รับความช่วยเหลือจาก Audioasylum น่ะครับ ถึงรอดจนได้ Channel ขวามา ฟังดีครับ :musik004: ดีกว่า CD-63 Art Signature อยู่เยอะเลย อย่างน้อยมันได้พิสูจน์ให้ผมรู้แล้วว่า Non-Oversampling ไม่ได้เป็นอะไรที่ไร้สาระ

                      ทีนี้สาระนะครับ ผมลองศึกษา Concept ของ Ryohei Kusunoki จาก www.sakurasystems.com (ถ้าไม่มี Sakura system ช่วยแปลให้ ผมและอีกหลายๆ คนทั่วโลก ก็คงไม่มีโอกาสได้รู้ Thanks, พิมพ์ครั้งแรกใน MJ Magazine Nov 1997) แนวคิดเค้าดีมากเลยครับ ข้อแรกที่ผมชอบคือ เค้าใช้คำว่า \"Music\" ล้วนๆ ในการอธิบาย Concept ไม่ใช่ Sound และข้อสองคือ \"ยังไม่มีเครื่องมือวัดใดในโลกทำหน้าที่แทนหูได้\" (อันนี้ผมมักจะยืมเอามาใช้บ่อยๆ)

                      บทความของ Kusunoki san เริ่มด้วยการกล่าวถึงความเป็นมาคร่าวๆ ของ Oversampling ซึ่งให้ประโยชน์ในการเพิ่ม \"ข้อมูลต่อเวลา\" ให้มากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่ Kusunoki มีข้อแย้งว่า ในแง่ของดนตรีแล้ว \"เวลา\" เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า การเพิ่ม \"ข้อมูลต่อเวลา\" ให้มากขึ้นนั้น จะทำให้ \"โอกาสที่จะ Error เนื่องจากเวลา\" มากขึ้นตามไปด้วย (Jitter ไงครับ) ซึ่งมีข้อสรุปทางคณิตศาสตร์อยู่ในบทความด้วย และ Kusunoki ก็สรุปว่า ทางแก้ปัญหาคือไม่ใช้ Oversampling เลย ซึ่งจะได้ผลพลอยได้ในแง่ Purity ด้วยคือ บิททุกบิทที่จะส่งไปถอดรหัสจะเป็นข้อมูลตรงที่ออกจาก Studio ไม่ใช่จำลองขึ้นเหมือนการ Oversampling

                      สิ่งต่อมาที่ Kusunoki พูดถึงคือ Digital Filter ครับ ในวงการ Digital Audio จะใช้ DF แบบ FIR, Finite Impulse Response เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง DF แบบนี้จะทำให้เกิดผลเสีย 2 ประการคือ
                      1. FIR จะมีการ Delay ของข้อมูล ทำให้ข้อมูลชุดละ 16 bit ซึ่งควรจะถูกถอดรหัสพร้อมกัน กลับถูกถอดรหัสที่เวลาต่างกัน ระยะเวลาการ Delay ข้อมูลนี้ จะใกล้เคียงกับระบบการรับฟังของมนุษย์ ซึ่งจะทำการ Sampling ทุกๆ 0.2mS ทำให้หูคนสามารถจับความแตกต่างได้ง่าย
                      2. FIR จะมีการเพิ่ม \"ปริมาณข้อมูล\" ลงไปในข้อมูลเดิม เช่นจาก 16 bit เป็น 30 bit (ขึ้นกับผู้ออกแบบ FIR) แล้วจึงตัดออกให้เหลือแค่ที่ต้องการใช้ระหว่าง 16-20 bit ซึ่งเท่ากับว่าข้อมูลจริงบางส่วนหายไป และถึงแม้จะมีเพิ่มเข้ามาบางส่วน ก็เป็นข้อมูลที่จำลองขึ้นโดย FIR ไม่ใช่ข้อมูลจริง
                      Kusunoki จึงสรุปว่า DF ก็เป็นพิษเหมือนกัน Kusunoki ได้อธิบายผลทางการรับฟังด้วยว่า การ Delay เนื่องจาก FIR นั้น จะทำให้การตอบสนอง Transient ของ DAC ไม่ดี สัญญาณที่ควรจะเป็นเสียงๆ เดียว ก็จะเป็นเสียงที่คลุมเครือ หัวเสียงไม่ชัดเจน สังเกตได้ง่ายจากเสียง Guitar และ Piano ซึ่งข้อนี้ผมทดลองโดยการฟังมาแล้ว จริงอย่างที่เค้าว่าครับ เสียง Guitar ที่ฟังจาก Non-OS DAC กับ OS-DAC ที่ใช้ Chip ตัวเดียวกัน (เอา Dac-in-the-box มาตัดต่อ DF) ให้เสียงต่างกันอย่างที่เค้าว่าจริง ยิ่งถ้าเป็นดนตรี Spainish ละก็ ฟังแตกต่างกันชัดเจนเลย (Burmester CD2 track 2) เสียงเปียโนฝืมือ George Winston ในเพลง Canon / J. Parcebel ชุด December ก็มีความแตกต่างในทำนองเดียวกัน ในท้ายบทความ Kusunoki ได้แนบ Schematic DAC ต้นแบบตาม Concept นี้มาด้วย และมีผลการวัดเปรียบเทียบกับระบบ 8X-20bit ให้ดู เพื่อยืนยันในเรื่องที่เค้ากล่าวมา

                      ดูเหมือน Non-OS DAC นั้น จะกระจายอยู่แต่เฉพาะในหมู่ DIYer เท่านั้นนะครับ เนื่องจากไม่มี Product ขายเป็นตัวๆ ผมก็คิดไม่ออกว่าจะโฆษณายังไงให้ขายได้ ในเมื่อคู่แข่งในตลาดพูดเป็นอีกแบบหนึ่ง เท่าที่ผมรู้ มีแค่ 4 รายเท่านั้นที่ทำ Non-OS DAC ออกขาย ก็มี 47 Labs, AีN-JP, อีกรายหนึ่งใน Japan และ AN-UK ครับ ผมก็เคยคิดว่าคงไม่มี Non-OS DAC ขายในตลาดบ้านเราแน่ๆ แต่สุดท้ายก็ได้เจอครับคือ Marantz CD-46 ครับ ในนั้นไม่มี Oversampling และ Digital Filter ครับ แต่ Marantz ก็ไม่ได้เอามาเป็นจุดขายแต่อย่างใด มองได้ 2 แง่คือ Marantz มองคำว่า Non-OS เป็นจุดอ่อนทางการค้า บอกไป CD-46 แย่แน่ :waffen017: หรือ Marantz แค่จะลดต้นทุนโดยการไม่ใช้ OS&DF โดยที่ไม่รู้จัก Non-OS Concept แต่อย่างไรก็ตาม CD-46 เป็น CDP ที่เสียงดีมากตัวหนึ่งถ้าเอามาโมฯ นะครับ มันน่าจะข้ามระดับคุณภาพของ CDP อย่าง Marantz CD-17 หรือ Rega 2000 ได้ไม่ยากเลย

                      ข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่สรุปจากบทความของ Kusunoki นะครับ ผมข้ามรายละเอียดบางอย่างไป เพื่อไม่ให้ยากเกินไป และส่วนหนึ่งเป็นความเห็นของผมเอง หลังจากคลุกคลีกับมันมาปีกว่าๆ
                      หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

                      อ้างอิง http://www.thaiavclub.org/forums/ind...pic=289.0;wap2
                      sampling ในระบบ CD ปกติ อยู่ที่ 44.1 khz
                      over sampling จะเกิน 44.1 khz เช่น 48 khz (Oversampling แปลว่า สุ่มเยอะ)
                      non over sampling dac คือ การแปลงสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลเป็นอนาล็อก โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ น้อยมาก (ไม่สุ่มเยอะ อิอิ) แล้ว DAC กับ ระบบเสียงใน Com เกี่ยวกันยังไง Sound Card ทุกตัวจะมี DAC อยู่ครับ โดยในรุ่นสูง ก็จะมี Chip DAC แพงขึ้นไปเรื่อยอย่าง Creative มักใช้ตระกูล CS
                      Last edited by Aeromancer; 19 Feb 2008, 15:20:30.

                      Comment


                      • #12
                        ...
                        Last edited by พจน์; 19 Feb 2008, 16:18:30.

                        Comment


                        • #13
                          (- -").......
                          ใช้โปรแกรมบ้านๆ ทั่วไป
                          Foolbar, iTune
                          ไม่ EQ ไม่ปรุง ไม่โม..

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by Aeromancer
                            sampling ในระบบ CD ปกติ อยู่ที่ 44.1 khz
                            over sampling จะเกิน 44.1 khz เช่น 48 khz (Oversampling แปลว่า สุ่มเยอะ)
                            non over sampling dac คือ การแปลงสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลเป็นอนาล็อก โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ น้อยมาก (ไม่สุ่มเยอะ อิอิ) แล้ว DAC กับ ระบบเสียงใน Com เกี่ยวกันยังไง Sound Card ทุกตัวจะมี DAC อยู่ครับ โดยในรุ่นสูง ก็จะมี Chip DAC แพงขึ้นไปเรื่อยอย่าง Creative มักใช้ตระกูล CS

                            แล้วเกี่ยวอะไรกับ DAC ? สัญญาน PCM ยังไมได้ไปถึง DAC ด้วยซ้ำ

                            ของมันมา ดีๆ 44.1

                            kernelmixer มันก็ดัน oversampling ไปเป็น 48 Khz ซะนี่

                            ถึงจะไม่ได้สั่ง แต่มันก็ทำ ซึ่งแสดงว่า " เกิดการผิดเพี้ยนแล้ว "

                            ดังนั้นการที่จะไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนก็ต้อง อย่าไปยุ่งกับข้อมูลต้นฉบับ มันก็เท่านั้น
                            เพราะฉะนั้น windows mediaplayer monkey audio player winamp jetaudio หรืออื่นๆ

                            ที่ใช้ interface waveout [MME] และ direct sound ให้เสียงที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับทั้งสิ้น
                            Last edited by battlecruiser; 19 Feb 2008, 16:24:53.

                            Comment


                            • #15
                              แล้วก็เรื่อง soundcard ด้วย


                              soundcard จำนวนมาก โดยเฉพาะ creative live/audigy resampling เสียงทุกอย่างเป็น 48Khz

                              ไม่สามารถ output ที่ 44.1 ได้
                              Last edited by battlecruiser; 19 Feb 2008, 16:50:56.

                              Comment

                              Working...
                              X