Announcement

Collapse
No announcement yet.

มีที่ไหนเค้ารับทำ ไครโอเจนิค (Cryogenic) บ้างครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • มีที่ไหนเค้ารับทำ ไครโอเจนิค (Cryogenic) บ้างครับ

    คือผมไปเจอบทความ เรื่อง ไครโอเจนิค (Cryogenic) ของ ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ มาอ่ะ เค้าว่ามันทำให้เสียงดีขึ้น เลยอยากรู้ว่ามีที่ไหนเค้ารับทำกันบ้าง แล้วราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

    นี่บทความครับ
    ไครโอเจนิค (Cryogenic) โลหะวิทยามหัศจรรย์ที่ยกระดับไฮเอนด์วันนี้ (11/02/2550)
    ดร.ชุมพล มุสิกานนท์
    [จํานวนผู้เข้าชม 3522 ครั้ง]

    วงการเครื่องเสียงปัจจุบันได้นำเอากรรมวิธีไรโอเจนิคเข้ามาประยุกต์ใช้กับการผลิตอุปกรณ์หลายๆประเภทเช่น เพลทในใส้หลอดขยายเสียง (Tube - Plate) ตัวนำของสายสัญญาณขาของปลั๊กไฟฟ้า ฟิวส์ และอุปกรณ์เสริมหลายชนิด ฯลฯ บางคนคลั่งไค้ลเทคโนโลยีชนิดมาก มากจนกระทั่งนำเอาเครื่องเล่นซีดีทั้งเครื่องไปผ่านกระบวนการไครโอเจนิค!!! เพราะเชื่อมั่นว่าจะทำให้เสียงดีขึ้น!!! หากจะอธิบายไครโอเจนิคคืออะไรด้วยเนื้อที่อันจำกัดนี้ ขอสรุปเพื่อความเข้าใจง่ายๆว่ามันคือการเอาตัวนำหรือโลหะไปลดอุณหภูมิลงไปจนกระทั่งอยู่ที่ประมาณ - 250 องศาฟาเรนไฮด์ แล้วปล่อยให้โลหะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิขึ้นจนกระทั่งเท่ากับแอมเบี้ยนซ์หรืออุณหภูมิของห้องปกติ กระบวนการในการลดอุณหภูมินี้มีความสลับซับซ้อนขึ้นอยู่กับความสามารถของคนทำซึ่งแต่ละคนจะมีเทคนิคเฉพาะตัวและโลหะแต่ละชนิดต่างก็ต้องการวิธีลดอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไป การทำไครโอเจนิคด้วยกรรมวิธีที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เสียงแย่ลงสังเกตได้จากโททัลบาลานซ์หรือดุลย์น้ำเสียที่ผิดปกติ เวทีต่ำลง เสียงแหลมมีอาการจัดกร้าว สรุปคือเสียเงินเปล่าครับ กลับมาที่กระบวนการลดและเพิ่มอุณหภูมิ...จะต้องค่อยเป็นค่อยไปและมีการควบคุมระดับอุณหภูมิให้คงที่ในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสม มิเช่นนั้นโลหะจะเปราะและแตกสลายไป กระบวนการไครโอเจนิคในปัจจุบันนิยมใช้ไนโตรเจนเหลวเป็นตัวลดอุณหภูมิ เนื่องจากสามารถควบคุมการลดอุณหภูมิได้แน่นอนที่ -250 องศาฟาเรนไฮด์ โดยแบ่งออกเป็นกระบวนการแบบแห้งและแบบเปียก ซึ่งแบบแรกจะดีกว่าและแพงกว่า เนื่องจากมันมีการควบคุมอุณหภูมิได้แน่นอนกว่าแบบหลัง ซึ่งใช้การแช่หรือจุ่มลงไปในไนโตรเจนเหลวโดยตรง

    การทำไครโอเจนิคแบบแห้งจะใช้ไอของไนโตรเจนเหลวเป่าลงไป อุณหภูมิของโลหะจะค่อยๆลดลงๆ ไม่มีอาการ THERMAL SHOCK เกิดขึ้น แต่วิธีนี้ต้องการห้อง (CHAMBER) ที่ปิดสนิทและอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีราคาแพงทั้งสิ้น โลหะที่ผ่านกระบวนการไครโอเจนิคอย่างถูกต้องจะมีเนื้อมวลที่แข็งแกร่งทนทาน การใช้งานที่ต้องการใช้โลหะมวลเบา แต่มีความแข็งแกร่งมากๆอย่างเช่นวัสดุที่ใช้ประกอบเครื่องบิน จึงต้องใช้การไครโอเจนิคเข้าช่วย เล็กๆลงมากว่านั้นและที่ใกล้ตัวเราก็คือมีดทำครัวราคาแพงที่ผู้ผลิตคุยโม้ว่าผลิตจากเหล็กกล้าชนิดพิเศษหายาก แท้จริงแล้วก็ทำจากเหล็กธรรมดาแต่ไปผ่านกรรมวิธีไครโอเจนิคจึงทำให้ได้ความแข็งแกร่ง คมอยู่นานกว่าเหล็กธรรมดาทั่วไป หรืออาวุธปืนหลายๆยี่ห้อก็ใช้การไครโอเจนิคเข้าช่วยทำให้แข็งแกร่งเป็นพิเศษไม่แตกร้าวง่าย

    แล้วไครโอเจนิคไปเกี่ยวอะไรกับเครื่องเสียง? เราคงไม่ต้องการความแข็งแกร่งอะไรมากไปกว่าเสียงที่ดีขึ้น ไครโอเจนิคช่วยได้มากจริงๆครับ เหตุผลคือเครื่องเสียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและตัวนำ เปลี่ยนไปสู่พลังงานเสียงออกจากลำโพงเข้าสู่หูของผู้ฟัง การไหลผ่านของไฟฟ้าจากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งไปสู่อีกชิ้นล้วนแล้วแต่มีการวิ่งของอิเลคตรอนที่อยู่ในโมเลกุลของตัวนำ ที่นี้ปกติแล้วโมเลกุลของตัวนำจะมีการเรียงตัวกันอย่างสะเปะ สะปะ ไม่เป็นระเบียบกว่าที่อะตอมจะวิ่งผ่านไปได้ก็ต้องออกแรงแหวกว่ายกันหนักหนาสาหัส ก่อนหน้าที่จะมีไครโอเจนิคได้มีผู้คิดตัวนำที่ใช้ผลึกของโมเลกุลต่อเนื่อง เพื่อจัดระเบียบโมเลกุลให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง (คล้ายกับ ดร.ประชัยฯ) ที่มาของไครโอเจนิคคือการทำให้การเรียงตัวของโมเลกุลของโลหะดีขึ้นเป็นระเบียบมากขึ้นไปอีก เทียบได้กับโมเลกุลของคาร์บอนด์คาไบ ซึ่งเป็นส่วนเล็กมากๆในเนื้อโลหะ ลดรูปลงมาเป็นผลึกขนาดเล็กและจัดเรียงตัวกับเป็นระเบียบเรียบร้อย เสมือนกับขบวนการย้อนกลับ (Reverse) ไปหาความบริสุทธิ์ของโลหะก่อนที่จะถูกหลอมเหลวด้วยความร้อน/และรีดออกมาเป็นเส้นสาย ซึ่งบางท่านอาจจะทราบดีว่านั่นคือความเครียด (STRESS) ของตัวนำที่ยังใหม่อยู่ ต่อเมื่อมีการใช้งานให้กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไปสักพักจนอิเลคตรอนกรุยทางได้ราบเรียบแล้ว เสียงจึงจะคงที่สงบลงกว่าตอนแรกที่เริ่มใช้งาน

    กระบวนการทำไครโอเจนิคจะมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การลดอุณหภูมิ 2) การแช่ไว้ที่ ระดับ -250 องศาฟาเรนไฮด์ อย่างน้อย 20 ชั่วโมง และ 3) การเพิ่มอุณหภูมิขึ้น ทั้งหมดนี้กินเวลาประมาณ 3-5 วัน ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและกินเวลามากที่สุดคือการลดอุณหภูมิกล่าวคือตามหลักวิชาการการลดอุณหภูมิลงไปต่อ 1 นาทีจะทำได้ไม่เกิน 1 องศาเท่านั้น และเมื่อลดลงไปจนถึงระดับหนึ่ง เช่น-60 องศาจะต้องคงอุณหภูมิไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้เนื้อโลหะมีความคงที่ (STABILIZATION) ทั้งนี้กรรมวิธีจะแตกต่างออกไปตามชนิดของโลหะด้วย

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคุณผู้อ่านคงอยากทราบว่าผลทางเสียงเมื่อนำไปใช้งานจริงแล้วเป็นอย่างไร? ผมได้ทดสอบอุปกรณ์ที่ผ่านกระบวนการไครโอเจนิค 4 ชิ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ 1) หลอดเบอร์ EL84 และ 12 AX7 2) สายBELDEN 75 โอห์ม (ดิจิตัล) 3) ฟิวส์ป้องกันไฟช๊อตยี่ห้อ BUSS 4) ตัวครอบปลั๊กไฟฟ้าที่ผนัง (RECEPTABLE TAB) ของ AUDIO REPLAUS ผลที่เกิดขึ้นนั้นเรียกว่ามหัศจรรย์จริง!!! ในตอนนี้จะยกตัวอย่างเฉพาะฟิวส์ BUSS ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวเล็กๆเท่านั้น ฟิวส์ BUSS มีให้เลือกทั้งชนิดหลอดแก้ว และหลอดเซรามิค รุ่นที่ได้รับมาเป็นเซรามิคมีการเคลือบสารพิเศษเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์และสลายการเกาะของสนามแม่เหล็กที่ผิวด้านนอกด้วย จึงทำให้ฟิวส์มีสีดำด้านที่บริเวณตรงกลางจรดขั้วหัวและท้าย ผมลองเปลี่ยนฟิวส์ BUSS ที่ผ่านการไครโอเจนิคลงไปในเครื่องเล่น ซีดี MARANTZ 63 ki โดยเปลี่ยนแทนฟิวส์ตัวหลัง (ต้องเปิดฝาครอบออกมาก่อน จึงจะเปลี่ยนได้) ฟิวส์ตัวนี้มีค่าความต้านทานที่ 1 โอห์ม ผลที่ได้นั้นชัดเจนและมีความแตกต่างในทางบวกเพิ่มขึ้นมากกว่าเปลี่ยนสายไฟ AC เส้นละเกือบหมื่นบาทเสียอีก (ฟิวส์ชนิดนี้ราคาตัวละพันกว่าบาท) เขียนอย่างนี้หลายๆท่านอาจจะคิดว่าผมเพ้อเจ้อหรือรับประทานยาผิด เอาเป็นว่าผู้ที่ได้ลองฟังกันเกือบ 10 คน ต่างก็เห็นพ้องต้องกันโดยเอกฉันท์ว่าเป็นเช่นนี้จริงๆ เจ้าฟิวส์เล็กๆแท่งเดียวนี่มันสามารถเติมความหวานระรื่นเป็นกังวานและทำให้ชิ้นดนตรีต่างๆเชื่อมต่อเข้าหากันได้อย่างกลมกลืน ฮาโมนิคสมจริงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ผู้ที่ใช้เครื่องเล่นดีวีดีฟังเพลงอยู่ด้วย ผมฟันธงเลยว่าฟิวส์ BUSS เป็นสิ่งที่คุณขาดไม่ได้!!!

    มีข้อสังเกตสำหรับผู้ที่ประสงค์จะซื้อฟิวส์ AUDIO GRADE ไปใช้งานว่าโปรดเลือกใช้ให้ถูกประเภท กล่าวคือในอุปกรณ์ที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงๆอย่างพวกเพาเวอร์แอมป์ ปลั๊กพ่วง หรือพวกเครื่องกรองเครื่องคุมไฟทั้งหลาย ห้ามใช้ฟิวส์ที่มีค่าความต้านทานต่ำกว่าสเปคที่โรงงานกำหนด เช่น สเปคโรงงานเป๊ะไม่ได้ อนุญาติให้ใช้ค่าสูงกว่าได้เล็กน้อย เช่น สเปคโรงงานกำหนดให้ใช้ฟิวส์ดำ 3.25 โอห์ม อาจจะเลือกใช้ 3.5 โอห์มแทนได้ เผลอๆอาจจะได้เบสเพิ่มขึ้นมาอีกด้วยสำหรับการเพิ่มค่านี้ แต่ไม่ควรจะเพิ่มขึ้นไปให้มากนักเพราะจะเสียประโยชน์ของการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรไปอันตรายมากครับ!!! และอีกประเภทหนึ่งคือในเพาเวอร์แอมป์หรือปลั๊กพวงคุณควรใช้ฟิวส์ประเภท SLOW BLOW หรือขาดช้า เนื่องจากเวลาที่เปิดเครื่องใช้งานจะมีกระแสไฟฟ้าจำนวนมากวิ่งผ่านฟิวส์ หากเป็นฟิวส์ FAST BLOW อาจจะขาดได้ทันทีหรืออายุการใช้งานสั้นในกรณีที่มีการเปิด ปิดเครื่องบ่อยครั้ง แต่สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการบริโภคกระแสไฟฟ้ามากนักอย่างเช่น เครื่องเล่นซีดีหรือปรีแอมป์ แนะนำว่าให้ใช้ FAST BLOW เสียงจะออกมาสดและเปิดโปร่งมากกว่า ในการเลือกซื้อฟิวส์ราคาแพงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดๆไปใช้งานพึงพิจารณาความเหมาะสมกับอุปกรณ์ด้วยครับ อีกประการหนึ่งคือในฟิวส์ระดับ AUDIO GRADE นี้ การสลับทิศทางของฟิวส์จะมีผลต่อเสียงอย่างชัดเจนไม่ต้องหูทอง หูทิพย์ก็สามารถจะฟังออกได้

    การเสียบฟิวส์ผิดทิศทางสุ้มเสียงที่ปรากฎจะมีส่วนคล้ายการเสียบปลั๊กไฟฟ้าสลับขั้วอยู่หลายส่วนกล่าวคือ ฟังดูคล้ายกับว่าเวที กว้าง แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นความฟุ้ง อิมเมจไม่ชัดเจน ไม่มีทรวดทรง เบสบวม ขาดความสงัดของแบ็คกราวนด์ นอกจากนั้นยังพุ่งสาดมาข้างหน้า ยิ่งเวลาที่ไดนามิคพุ่งพรวดหรือเครื่องดนตรีโหมประโคมขึ้นพร้อมๆกันจะฟังดูมั่วซั่วสับสนไปหมด ต่อเมื่อสลับให้เข้าที่เข้าทาวแล้วเสียงจะเป็นตรงกันข้ามกับสิ่งที่ได้กล่าวมา เบสอาจจะคล้ายกับลดปริมาณลงมาบ้าง แต่จะควบแน่นและมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น อิมเมจขึ้นรูปชัดเจนเวทีเสียงสำแดงความเป็นสามมิติมีโถงของเวทีที่ลึกลงไปเป็นชั้นๆ แบ็คกราวนด์สงัดโดยเฉพาะกับฟิวส์ BUSS นี่เป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งเลยครับ พอแบ็คกราวนด์สงัดทุกสิ่งทุกอย่างก็ย่อมจะปรากฎออกมาเองไม่ต้องเอาใจช่วย เรียกว่าแก้ปัญหากันถูกจุดที่ต้นเหตุกันเลย และสำหรับคอเบสแล้ว ผมใช้ฟิวส์ BUSS ขนาด 6 โอห์ม SLOW BLOW เปลี่ยนแทนลงไปในเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้งานประจำ ทดสอบทิศทางเรียบร้อยปล่อยให้มันรันอินไปสัก 3 ชั่วโมง พระเจ้าจอร์ช!!!... ผมไม่ต้องการซัฟวูฟเฟอร์อีกต่อไปแล้วเบสมี Punchy ที่ถูกจังหวะเหมือนกับว่ามันไปทำอะไรบางอย่างกับภาคจ่ายไฟให้ดีขึ้นเบสแต่ละลูกที่ปรากฎออกมานั้น มีEXTENSION หรือการทอดตัวลงไปอย่างต่าอเนื่อง

    สาเหตุที่ฟิวส์ตัวเดียวทำให้เสียงดีขึ้นได้สำหรับ BUSS นั้น เนื่องจากว่าในกระบวนการทำไครโอเจนิคและเคลือบสารลดไฟฟ้าสถิตย์และการเหี่ยวนำจากสนามแม่เหล็ก ทำให้มันได้จำลองรูปแบบของตัวนำที่เป็น superconductor บางประการมา ลองคิดดูนะครับว่าก่อนหน้านี้ไปสัก 10 ปี วงการเครื่องเสียงเรามีการนำเอาขาของคาปาซิเตอร์ยี่ห้อ VAN DEN HOL มาบัคกรีลงไปในแผงวงจรแทนที่ตัวนำบางช่วงที่เป็นจุด critical point ผลลัพท์ออกมาทำให้เสียงดีขึ้นนี่แค่ขาของคาปาซิเตอร์นะครับ (ความละเอียดในเรื่องนี้ลองถามเดอะหั่งเจ้าของสำนัก HI-FI HOUSE ดูกันเอาเองตามอัธยาศัย) คราวนี้เราได้เพิ่มตัวนำที่เป็น superconductor เข้ามาในระบบ ซึ่งฟิวส์ BUSS จะไปช่วยสกัดการเหนียวนำของสนามแม่เหล็ก ดีกว่าการใช้กระบอกเฟอไรด์แน่นอนอีกทั้งยังจัดระเบียบของโมเลกุลอันทำให้อิเลคตรอนวิ่งได้สะดวกโยธินทั้งหมดนี้เรียกว่ามันไปลด distortion ให้กับเครื่องเสียงโดยตรงเลย ปัญหาของฟิวส์ BUSS คือหาซื้อได้ยากในขณะนี้และไม่แน่ว่าจะมีขายโดยแพร่หลายเหมือนของชาวบ้านชาวช่องหรือไม่ เรียนกันตรงๆแบบนี้แหละครับ... ขนาดฟิวส์ยังเห็นผลกันแบบเข็มขัดสั้น (คาดไม่ถึง) แล้วถ้าเป็นปลั๊กผนัง (Receptacle) ที่ผ่านกระบวนการไครโอเจนิคทั้งชิ้นจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามผลการทดสอบปลั๊กผนัง Fuentch ในฉบับหน้าครับ
    ที่มาhttp://www.piyanas.com/test_product1...&cat=7&lang=th

  • #2
    แล้วไอ้ ฟิวส์ ของ Buss นี่มันตัวกี่ตังครับ หาซื่อแถวไหนได้บ้างอ่ะอยากลอง ^^

    Comment


    • #3
      ชักเริ่มสนแล้วเหมือนกัน แฮะ

      Comment


      • #4
        สืบข้อมูลมาได้ความว่า ร้าน เวสเทค คอมโพเน้น มีขายอะครับ ที่ลาดพร้าว ซอย 1

        Comment


        • #5
          เราหัวอกเดียว กัน เดียวจะหา bussman แบบ T2AH 250V. มาลอง -*-

          Comment


          • #6
            Originally posted by excomics View Post
            เราหัวอกเดียว กัน เดียวจะหา bussman แบบ T2AH 250V. มาลอง -*-
            หาได้บอกกันด้วยนะท่าน จะเอาบ้างอิอิ

            Comment


            • #7
              ท่าน excomics ไม่ทราบท่านได้เปลี่ยนสาย Satellite กับไอ้สาย ที่ต่อเข้า ตัวคอลโทรล มั่งยังครับ

              Comment


              • #8
                bussman ผมมีหลายเบอร์เลยทั้งแก้ว และเซรามิค (500ma 1a 2.5a 3.15a 4a) แต่ดันไม่เคยซื้อ 2A มาเก็บไว้ กำจิงๆ

                ไว้ต้องหาเวลาว่างๆ ไปซื้อ ไกลจิงๆ -*-

                Comment


                • #9
                  ส่วน cryogenic ผมว่าไม่ต้องไปทำหรอกครับ ซื้อสายของ furutech ใช้เลยง่ายกว่า ทุกรุ่นผ่านการ cryo และ ล้างสนามแม่เหล็กด้วย


                  อย่างสายลำโพงรุ่นเล็กของเค้าก็ไม่แพงร้อยกว่าบาทเอง ยังถูกกว่า monitor อีก - -

                  Comment


                  • #10
                    พี่ IIM อยู่แถวไหนอะ เดียวแวะไปขอ แบ่ง 2.5 ตัวนึงจิ

                    *0* pm เบอร์ไปแล้ว


                    ส่วนสายลำโพง เปลี่ยนหมดแล้ว เสียงดีขึ้นเยอะเลย

                    Comment


                    • #11
                      X3 แกะยากด้วย ดันหุ้มท่อหด ไว้อีก

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by IIM View Post
                        ส่วน cryogenic ผมว่าไม่ต้องไปทำหรอกครับ ซื้อสายของ furutech ใช้เลยง่ายกว่า ทุกรุ่นผ่านการ cryo และ ล้างสนามแม่เหล็กด้วย

                        อย่างสายลำโพงรุ่นเล็กของเค้าก็ไม่แพงร้อยกว่าบาทเอง ยังถูกกว่า monitor อีก - -
                        สาย furutech เมตรล่ะร้อยกว่าบาทเองเหรอครับ เสียงดีไหม น่าซื่อมาลองซักเส้นก่อน ที่ไหนขายบ้า่งครับ

                        Comment


                        • #13
                          ที่นี้มี planetlaser 02-6891163
                          คุยดีๆ ลดได้ 30%

                          ถ้าบอม บอม ลด 25%

                          Comment


                          • #14
                            ที่นี้มี planetlaser 02-6891163
                            คุยดีๆ ลดได้ 30%

                            ถ้าบอม บอม ลด 25% แต่ท่านต้องเช็คราคาดีๆ ครับ ผมเคยซื้อสาย furutech กับเค้า แพงกว่าผู้นำเข้าอีก เซ็งเป็ด -*- (ถ้าร้านเข้ามาอ่านก็ให้ทราบไว้ด้วยทำแบบนี้เสียลูกค้าครับ แม้จะแพงกว่าไม่เท่าไร แต่เสียความรู้สึก และความไว้วางใจ ) 081-4598676

                            ถ้าทราบราคาก่อนเป็นดีครับ
                            http://www.clef-audio.com/Furutech_c...rice_may07.pdf
                            Last edited by IIM; 2 Apr 2008, 22:35:32.

                            Comment


                            • #15
                              ใช้รุ่น FS-303-100 ที่เมตรล่ะ 226- รึปล่าวครับ แล้วเทียบกับของ monster THX 16G มันพอๆกันหรือดีกว่าครับ

                              Comment

                              Working...
                              X