Announcement

Collapse
No announcement yet.

เจ้าของเครื่องคอม ชอบ format hdd แบบ full บ่อยๆ hd จะเสียไหมครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เจ้าของเครื่องคอม ชอบ format hdd แบบ full บ่อยๆ hd จะเสียไหมครับ

    มีคำถามน่าสนใจค่ะ






    เจ้าของเครื่องคอม ชอบ format hdd แบบ full บ่อยๆ hd จะเสียไหมครับ
    คือผมพักอยู่กับญาติ ครับ เจ้าของเครื่องเขามักจะ format hdd บ่อยๆ เพราะปัญหา วินโด เสีย โปรแกรมเสียเขาเลย format hdd แบบ full บ่อยๆ
    พอดี เขาใส่ hdd 700 gb มา 3 เดือน เอง ปรากฏว่าเขา format hdd แบบ full ทั้ง hdd ไม่แบ่งพาร์ทิชั่นเลย ไป
    30 ครั้งครับ เอ่อสาเหตุมาจากการติดตั้งโปรแกรมกำจัดไวรัสตัวนึงมัน กวนใจมาก แคร๊กยาก แคร๊กแล้วมักเสียเลยถอนเข้าถอนออกติดตั้งใหม่แคร๊กใหม่ รีสตาร์ทไปๆมาๆ window พัง เพ๊ยนไปเลย เปลี่ยน window ไปๆมาๆ
    บ่อยๆ ลงใหม่ ๆ เขาเลย format hdd แบบ full ทั้ง hdd ไม่แบ่งพาร์ทิชั่น 700 gb ปาไป 3 ชั่วโมงกว่า ถึงจะ
    ติดตั้ง window ได้ แล้วบ่อยด้วย
    ครับ รวมๆแล้ว 30 ครั้งได้แล้วนะครับ
    แบบนี้ hdd จะพังหรือไม่ หัวอ่านจะเสียไหมครับ จะมี bad ไหมครับ

    ตอนนี้เกรงว่า hdd จะมีปัญหาเลยไม่ค่อยกล้าใช้ครับ
    กลัวเก็บข้อมูล ลง hdd แล้วเกิด bad เกรงจะยุ่งครับ

    แบบนี้จะเปลี่ยนมา format แบบ quick จะดีกว่าไหมครับ





    เพิ่มเติมหน่อยนะครับ เขาคิดมากไป

    คือเจ้าของเครื่องเขาเกรงว่า format แบบ quick อาจลบ
    ขยะไม่หมดนะครับ



    แล้วที่ไม่ยอมแบ่ง Partition แล้วทำ Ghost เพราะเขาเกรงว่า Partition ที่ทำ Ghost อาจมี bad หรือไวรัส หรือไฟล์เสีย อยู่ในนั้น นะครับ
    เขากลัวว่า format แบบ quick จะไม่ได้ตรวจสอบ bad ขณะ format น่ะครับ เพราะเขาชอบถอด อุปกรณ์ในเครื่องเปลี่ยนบ่อยๆด้วยครับ บางทีก็ถอด dvd ออกสับไปใช้ตัวนั้นตัวนี้นะครับ เขาอ้างว่ามันไม่สมบูรณ์ บางทีก็ทดสอบการ์จอ
    เปลี่ยนลองนะครับ เขามือหนักด้วย ทำเครื่องสะเทือนเวลา ดึงอุปกรณ์ เข้าๆออก เลยนึกในใจไป และเกรงว่า format แบบ quick จะไม่ได้ตรวจสอบ bad อันนี้ มันจริงไหมครับ
    การที่ format แบบ quick มันจะ fix bad ไปด้วยรึเปล่าครับ เผื่อจะได้บอก ให้เขาเลิก format แบบ full สะทีน่ะครับ

  • #2
    ผมว่านะ
    อันดับแรก
    ถ้าไม่พาเพื่อนคุณไปปรึกษาอาการไข้กับแพทย์เกี่ยวกับโรควิตกจริตหรือโรคย้ำคิดย้ำทำ
    ก็หาหนังสือความรู้คอมพ์ดีๆ ให้เขาอ่านหรือ
    บอกให้เจ้าตัวเข้ามาศึกษาหาข้อมูลที่เวบ OCZ เพื่อจะได้ข้อมูลกลับไปรักษาอาการไข้ได้ดัวยตัวเอง
    ฮิๆ...
    ล้อเล่นน่ะครับ รอผู้รู้ท่านอื่นมาชี้แนะ
    หุๆ...

    Comment


    • #3
      -> การ Format ก็ถือเป็นการใช้งาน HDD อย่างนึงนะคับ ถ้าถามว่าทำบ่อยๆ แล้วจะเสียมั้ย มันก็เหมือนกัย HDD ที่มีการ copy ข้อมูลทั้งลูกบ่อยๆ นะแหละคับ มันไม่ทำให้เสียในทันที แต่อาจทำให้อายุการใช้งานลดลงไป นิดนึง

      -> ถ้าต้องลง Windows แล้ว format บ่อยๆ ก็ควรจะแบ่ง Partition สำหรับ Windows โดยเฉพาะ จะสะดวกกว่าคับ (ซักประมาณ 60GB - 80GB น่าจะเหลือๆ) หรือจะไปซื้อ HDD ความจุน้อยๆ หน่อยมาใช้ก็ได้ เรื่อง GHOST ไม่ GHOST จะ Format แบบ qiock หรือไำม่ ก็แล้วแต่สะดวก

      -> การ format แบบ Quick เป็นแค่การลบรายการไฟล์ทิ้ง แต่ไม่ได้เข้าไปลบเนื้อไฟล์จริงๆ ออกจาก HDD คับ

      -> การตรวจสอบ bad ไปใช้โปรแกรมตรวจสอบ (เช่น hdtune) จะดีกว่าคับ ไม่จำเป็นจะต้อง Fotmat :P และก็ไม่ใช่ของที่จะมาตรวจสอบกันบ่อยๆ นะคับ เพราะ HDD มันก็เหมือนของทั่วๆ ไปอะคับ ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ อายุการใช้งานมันก็สั้นลงเท่านั้น แต่ถ้าเจ้าของเครื่องกังวลมาก ก็ให้เค้าตรวจสอบซัก 1-3 เดือนครั้ง ผมว่าก็เหลือเฟือแล้วคับ

      -> เวลาดึงอุปกรณ์เข้า-ออก ถ้าเครื่องปิดอยู่ ก็ไม่เห็นต้องกังวลอะไรนี่คับ

      ปล. ของซื้อมาแล้ว ก็ใช้ให้คุ้มเถอะคับ HDD ใช้เก็บข้อมูล ที่สำคัญคือข้อมูลคับ ไม่ใช่ HDD
      Last edited by live; 11 Apr 2008, 06:53:04.

      Comment


      • #4
        17 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ Harddisk (ข้อมูลจาก นิตยสาร QuickPC)

        มีความเชื่อต่างๆ นานาเกี่ยวกับ HDD.และการใช้งาน HDD.ซึ่งเป็นความเชื่อบางอย่างที่มันเป็นความเชื่อ
        ที่ผิดๆ และทำให้เราไม่สามารถใช้งาน HDD. ได้อย่างเต็มที่ เรามาดูกันว่าความเชี่อเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร


        ความเชื่อที่ 1 :

        การฟอร์แมต HDD.บ่อยๆ อาจทำให้อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง
        ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมต HDD.ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของ HDD.แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนจะคิดว่ามีส่วนทำให้อายุการใช้งานสั้นลง แต่จริงๆ แล้ว เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เท่านั้น

        การฟอร์แมต HDD. ไม่ถือเป็นการทำงานที่จะทำให้ HDD.ต้องแบกรับภาะหนัก หัวอ่านของ HDD.จะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นจานข้อมูลแต่อย่างใด (Platter) ระหว่างการฟอร์แมต

        สรุปแล้วก็คือ เราสามารถฟอร์แมต HDD. 30 ครั้งต่อวัน ทุกวันเลยก็ได้ อายุการใช้งานมันก็จะไม่ต่างจากจาก HDD. อื่นๆ เลย


        ความเชื่อที่ 2 :

        การฟอร์แมต HDD.จะทำให้มีข้อมูล หรือปฎิกรณ์ ;อะไรสักอย่าง
        วางซ้อนเพิ่มบนแผ่นดิสก์ ซึ่งมีผลทำให้เกิด;bad sector ได้

        ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตจะไม่ทำให้เกิดข้อมูล หรืออะไรทั้งนั้นที่แผ่น HDD. เนื่องจาก HDD.เป็นระบบปิด ดั้งนั้นฝุ่นหรือปฏิกรณ์จะ ยากที่จะเข้าไปยังดิสก์ได้ และแม้จะมีฝุ่นก็ตามแต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ฝุ่นจะต้ องมากับการฟอร์แมต


        ความเชื่อที่ 3 :

        การฟอร์แมต HDD. จะมีความเค้นต่อเข็มหัวอ่าน (head actuator) สูง

        ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตมีการอ่านในแต่ละเซ็กเตอร์อย่างต่อเนื่อง และเป็นลำดับชั้น เช่น เซ็กเตอร์ที่ 500 เซ็กเตอร์ที่ 501 เซ็กเตอร์ที่ 502 และต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของเข็มหัวอ่านน้อยมาก ดังนั้น ข้อเท็จจริงของความเชื่อนี้ก็คือ การฟอร์แมตจะไม่มีความเค้นสูงต่อเข็มหัวอ่าน HDD.


        ความเชื่อที่ 4 :

        การดีแฟรกเมนต์ (defragmenting) HDD.จะมีความเค้นที่หัวอ่านสูง

        ข้อเท็จจริง : ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง เพราะการดีแฟรกเมนต์ต้องอาศัยการควานหาตำแหน่งของเซ็ กเตอร์อย่างสูง เนื่องจากการดีแฟรกเมนต์ก็คือการจัดระเบียบเซ็กเตอร์ ต่างๆ เพื่อไม่ให้หัวอ่านต้องทำงานหนักเวลาที่ใช้หาข้อมูลใ นการใช้งานจริง

        ดังนั้น แม้ในกระบวนการดีแฟร็กเมนต์ จะทำให้เข็มหัวอ่านมีความเค้นสูงก็ตาม แต่หลังจากที่ได้ทำการดีแฟรกเมนต์แล้ว เข็มหัวอ่านก็ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนก่อนที่จะทำการดีแฟรกเมนต์ เพราะจะหาเซ็กเตอร์ได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น


        ความเชื่อที่ 5 :

        ถ้า HDD.ของคุณมี bad sector อยู่แล้ว การฟอร์แมต HDD.จะยิ่งทำให้ เกิดเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้น

        ข้อเท็จจริง : ถ้า HDD. ของคุณมีเซ็กเตอร์เสียอยู่แล้ว แน่นอนว่าเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จะต้องพบเซ็กเอตอร์เสียเพื่มขึ้นเรื่อยๆ

        การฟอร์แมตแล้วเห็นเซ็กเตอร์เสียเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุไม่ได้เป็นเพราะการฟอร์แมต เพียงแต่ว่าการฟอร์แมตจะทำให้เราได้พบเห็นเซ็กเตอร์ท ี่เสียเพิ่มขึ้นนั่นเอง เพราะยูทิลิตี้สำหรับทำการฟอร์แมตนั้น จะสแกนและตรวจสอบ HDD.ด้วย ทำให้พบเห็นเซ็กเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา


        ความเชื่อที่ 6 :

        การดาวน์โหลดโปรแกรมและไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะทำให้
        อายุการใช้งานของ HDD.สั้นลง

        ข้อเท็จจริง : การดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตไม่ทำให้อายุการใช้งานขอ ง HDD.ลดน้อยลงไป HDD.จะมีการหมุนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีการดาวน์โหลดไ ฟล์ หรือว่าไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม ดังนี้โอกาสที่จะเสียขณะทำการดาวน์โหลด กับขณะที่เปิดคอมพิวเตอร์ไว้เฉยๆ ก็มีเท่ากัน อายุการใช้งานท่าเดิม


        ความเชื่อที่ 7 :

        พลังงาน (กระแสไฟ) ที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย

        ข้อเท็จจริง : กระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ กับกระแสไฟฟ้าถูกตัดทันทีทันใด จะไม่ก่อให้เกิดเซ็กเตอร์เสีย เพราะในช่วงที่กระแสไฟไม่เพียงพอ หรือมีการตัดกระแสไฟนั้น เข็มหัวอ่านจะพักตัวโดยอัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดความ เสี่ยงต่อแผ่นดิสก์ ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะมีการสร้างเซ็กเตอร์เสียได้ ที่เสียหายก็อาจเป็นความเสียหายของ OS.มากกว่า


        ความเชื่อที่ 8 :

        ระบบกำลังไฟ หรือระบบสำรองไฟที่มีราคาถูก และไม่มีคุณภาพ อาจจะบั่นทอน
        อายุการใช้งานของ HDD.เรื่อย ๆ และทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้า ๆ

        ข้อเท็จจริง : ระบบกำลังไฟหรือระบบสำรองไฟที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะไม่ทำให้ HDD.ตายลงอย่างช้าๆ แต่หากระบบไม่สามารถควบคุมกระแสไฟได้ จนทำให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลทะลักสู่เครื่องคอมพิว เตอร์

        อาจทำให้ HDD.ตายในทันที ไม่ใช่ตายลงอย่างช้า ๆ

        แต่ถ้าไม่สามารถให้กระแสไฟเพียงพอแก่การทำงานได้ ดิสก์ก็แค่มาสามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หรืออาจไม่ทำงานเลย แต่ HDD.จะไม่ตาย แต่ OS อาจตายหรือ พิการ


        ความเชื่อที่ 9 :

        ถ้า HDD. มีการหมุนความเร็วของดิสก์แบบขึ้นๆ ลงๆ นั่นเป็นเพราะว่า
        ระบบสำรองไฟในบางครั้งสามารถส่งกระแสไปที่พอสำหรับกา รทำงานได้
        มันจึงหมุนเร็วขึ้น แต่เมื่อมันไม่สามารถให้กระแสไฟที่เพียงพอได้ มันจึง
        หมุนช้าลง

        ข้อเท็จจริง : ในกรณีที่กำลังไฟตกฮวบ มันจะทำให้ระบบทั้งหมดถูกตัดไฟ ชะงักการทำงาน และจะทำให้เครื่องแฮงก์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีการหมุนของ HDD.ให้เห็นอย่างแน่นอน

        หมุนเร็วขึ้นหมุนลดลงนั้น เป็นการการปกติของ HDD. ที่จะทำการวัดขนาดของดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเตรียมความพร้อมในการใ ช้งานแต่ละครั้ง


        ความเชื่อที่ 10 :

        เสียงคลิกที่ได้ยินจาก HDD. เกิดจากการพักการทำงานของหัวอ่าน

        ข้อเท็จจริง : เสียงคลิกที่ได้ยินจากการทำงานของ HDD. อาจเป็นได้ทั้งเสียงการเตรียมพร้อมที่จะเขียนข้อมูล (เหมือนอย่างในความเชื่อที่ 9) หรืออาจเป็นเสียงการสะดุดของหัวอ่านบนแผ่น HDD.


        ความเชื่อที่ 11 :

        เข็มหัวอ่านใช้มอเตอร์ในการทำงาน ซึ่งการทำงานของมอเตอร์นี้
        อาจล้มได้หากมีการใช้งานมากเกินไป

        ข้อเท็จจริง : เข็มหัวอ่านในปัจจุบัน ไม่มีการใช้มอเตอร์ในการทำงานแต่อย่างใด ดังนั้น ก็ไม่มีมอเตอร์ที่จะล้มเหลวเมื่อมีการใช้งานมากเกินไ ป

        สมัยก่อนนั้น เข็มหัวอ่านเคยใช้มอเตอร์เดินไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แต่ปัจจุบัน เข็มหัวอ่านใช้ระบบ Voice Call Mechanism ซึ่งก็คือการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าในการเคลื่อนหัวอ่าน ไปตามตำแหน่งที่ต้องการ


        ความเชื่อที่ 12 :

        การจอดพักของหัวอ่าน ทำให้มอเตอร์เข็มหัวอ่านเสื่อมเร็ว

        ข้อเท็จจริง : ก็เหมือนกับความเชื่อข้อที่ 11 นั่นคือไม่มีมอเตอร์ นอกจากนี้การจอดพักการทำงานของหัวอ่าน HDD. นั้นจะมีขึ้นโดยอัตโนมัติในกรณีที่กระแสไฟถูกตัด หรือ HDD. หยุดการทำงาน ดังนั้นการจอดพักนี้ ไม่ใช่กระบวนการที่มีการทำงานบ่อย หรือที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง

        เข็มหัวอ่านจะมีสปริงคอยควบคุมตำแหน่งของมัน เมื่อมีกระแสไฟเข็มหัวอ่านก็จะอยู่ในตำแหน่งที่มีการ ต้านแรงของสปริง และเมื่อไม่มีกระแสไฟ เข็มหัวอ่านก็จะถูกดันให้อยู่ในตำแหน่งจอดพัก ดังนั้น แม้ว่าเข็มหัวอ่านจะมีมอเตอร์ลี้ลับนี้จริง การจอดพักของเข็มหัวอ่านก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับก ารทำให้มอเตอร์ดังว่ามีการ
        เสื่อมแต่อย่างใด


        ความเชื่อที่ 13 :

        ดิสก์จะมีการหมุนเร็วขึ้นเวลาที่มีการอ่านหรือเขียนข ้อมูลเท่านั้น
        แต่จะหมุนลดลงเมื่อ HDD .ไม่มีกิจกรรม (idle)

        ข้อเท็จจริง : แผ่นดิสก์ภายใน HDD. หรือที่เรียกว่า platter นั้นมีการหมุนในความเร็วระดับเดียวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ อ่าน เขียน หรือ พัก (idle) ยกเว้นแต่เจ้าของเครื่องใช้คำสั่งให้มีการหมุนลดลงใน ช่วง idle เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน


        ความเชื่อที่ 14 :

        การหมุนลดลงจะทำให้ลดความเค้นที่มอเตอร์ขับเคลื่อนแผ ่นดิสก์ได้

        ข้อเท็จจริง : โดยปกติแล้วแผ่นดิสก์จะเริ่มหมุนตอนเครื่อง startup และจะหมุนอยู่อย่างนั้นจน shutdown ในช่วงที่มีการหมุนอยู่นั้น ถือเป็นช่วงที่มีความเค้นสูงสุดต่อตัวมอเตอร์แล้ว ส่วนการรักษาความเร็วของการหมุนให้คงที่นั้น จะใช้กำลังน้อยลงมา

        หากมีการใช้คำสั่งให้แผ่นดิสก์หมุนลดลงในช่วง idle นั้น ทุกครั้งที่มีการเขียน หรืออ่านไฟล์ใด ๆ ก็จะต้องมีการหมุนเพื่อให้เร็วขึ้นเพื่อให้ได้ความเร ็วปกติ ก่อนที่จะอ่านหรือเขียนได้ ดังนั้น ควรที่จะให้ดิสก์มีการหมุนที่ความเร็วคงที่ตลอด เพื่อลดความเค้นที่ตัวมอเตอร์


        ความเชื่อที่ 15 :

        การตัดกระแสไฟอย่างทันทีทันใดอาจทำให้เกิดเซ็กเตอร์เ สีย

        ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสีย หรือ bad sector นั้น ไม่ได้เกิดจากการปิดหรือการดับเครื่องอย่างทันทีทันใ ด แต่เมื่อสมัยก่อนนานมาแล้ว ก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง ผู้ใช้จะต้องพักจอดหัวอ่าน HDD.ก่อนที่จะสามารถปิดเครื่องได้ แต่ปัจจุบัน ระบบหัวอ่านแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำการจอดพักตัวเองโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่กระแสไฟฟ ้าถูกตัดจากระบบ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เกิดความเสี่ยงว่าจะเกิด bad sector จากกรณีการตัดกระแสไฟ


        ความเชื่อที่ 16 :

        เซ็กเตอร์เสียบางอัน เป็นเซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ (คือเป็นที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์)
        และสามารถแก้ไขได้โดยการทำฟอร์แมต HDD.

        ข้อเท็จจริง : เซ็กเตอร์เสียแบบเวอร์ชัวล์ไม่มีอยู่จริง เซ็กเตอร์ที่เสียนั้น คือเซ็กเตอร์(หรือช่องอันเป็นส่วนหนึ่งของดิสก์สำหรั บการเก็บข้อมูล) ที่ไม่สามารถทำการอ่านหรือเขียนได้ เนื่องจากมีการเสียหารทางกายภาพ เช่น ถูกทำลาย หรือทีการเสื่อมลง ดังนั้น จึงไม่สามารถซ่อมแซมด้วยกระบวนการทางด้านซอฟต์แวร์ได ้


        ความเชื่อที่ 17 :

        เซ็กเตอร์เสีย สามารถถูกลบได้โดยการฟอร์แมต HDD.

        ข้อเท็จจริง : การฟอร์แมตในระดับต่ำ จะสามารถทดแทนเช็กเตอร์เสียด้วยเซ็กเตอร์ดีได้ โดยอาศัยพพื้นที่ว่างสำรองบน HDD. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ HDD. ก็จะลดลงเนื่องจากหัวอ่านจะต้องทำการค้นหาพื้นที่สำร องบน HDD.ด้วย อีกทั้งพื้นที่สำรองบน HDD.นั้นมีจำนวนจำกัด

        สรุปแล้ว bad sector ก็คือ สัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่อ งบางอย่างของ HDD. แม้ bad sector นั้นจะเกิดจากการชนของหัวอ่าน (crash) เพียงครั้งเดียว แต่ซากที่เหลือจากการชนครั้งนั้น รวมทั้งหัวอ่านที่อาจได้รับความเสียหาย อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อไปในอนาคตได้ เช่น อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นดิสก์เพิ่มมากขึ้น หรืออาจทำให้ความเร็วในการหมุน หรือการอ่านลดลง

        ดังนั้น ถ้ามีข้อมูลที่สำคัญที่ต้องการเก็บรักษาไว้อย่างมั่น คง ควรหัดทำการแบ็คอัพข้อมูล และเปลี่ยน HDD.เมื่อพบว่ามีปัญหาบางอย่าง เช่น การค้นพบ bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่า HDD.จะสามารถทำงานได้ต่อไป และนานๆครั้งจะพบว่าเกิด bad sector เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่า HDD. ของคุณมันใกล้ตายแล้วครับ

        ขอขอบคุณ http://www.adslcool.com/computer/viewrecord.php?id=119

        Comment


        • #5
          ความรู้ใหม่ อิ..อิ ^^"

          Comment


          • #6
            ข้อมูลท่าน Nai แน่นมากครับ ขอบคุณสําหรับความรู้ครับ

            Comment


            • #7
              -ขอบคุณด้วยคนครับ-

              Comment


              • #8
                มีประโยชน์มากมายยยยย

                Comment


                • #9
                  ขอบคุณมากค้าบ
                  เป็นความรู้จริงๆ
                  ผมชอบFormat Quickอยู่บ่อยๆ
                  ทุกๆ2เดือนเห็นจะได้
                  จะได้สบายใจซะที

                  Comment


                  • #10
                    ตามนั้น เด้อ

                    Comment


                    • #11
                      HDD ทำมาให้ลองรับการ Format ลง โปรแกรม ได้

                      Comment


                      • #12
                        ขอปรบมือให้คุณ Nai ครับ แปะๆๆๆ get เลย

                        Comment


                        • #13
                          ขอบคุณครับ

                          Comment


                          • #14
                            เจ้าของกระทู้เป็นหญิงหรือชายอ่ะ มีครับ มีค่ะ

                            Comment


                            • #15
                              เยี่ยม

                              เครื่องผม 4-5เดือนยังไม่Format อะไรเลย เพราะมันไม่ช้าลงเลย
                              ถ้าเคลียร์ขยะ-Defrag อย่างเหมาะสม เครื่องก็จะทำงานได้ดี

                              Comment

                              Working...
                              X