Announcement

Collapse
No announcement yet.

AIS พร้อมประกาศบริการ 3G เชียงใหม่ 6 พ.ค. นี้ กทม. ต้องรอ มิ.ย.

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • AIS พร้อมประกาศบริการ 3G เชียงใหม่ 6 พ.ค. นี้ กทม. ต้องรอ มิ.ย.

    หลังจากที่ได้มีนโยบาย “เร่งด่วน” ของรัฐบาลให้ผู้บริการเครือข่ายมือถือไทยมี 3G ใช้ภายใน 6 เดือน ล่าสุด AIS ประกาศพร้อมให้บริการ 3G ในเชียงใหม่เริ่มต้น 6 พฤษภาคมนี้และกรุงเทพฯ​ 15 มิถุนายน

    สำหรับสาเหตุที่ต้องทำการเปิดตัวที่เชียงใหม่ก่อน เพราะว่าเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ แต่กลับมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่น้อยกว่า จึงมีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายเป็นอย่างมาก

    สำหรับบริการใหม่นี้ ได้ใช้ชื่อว่าบริการ 3GSM Advance สำหรับ AIS นั้นเป็นเครือข่ายที่จะให้บริการ HSPA ที่คลื่นความถี่ 900MHz ซึ่งปัญหาหลักมีอยู่ว่ามีเพียงแค่ Nokia 6121 และ PhoneOne บางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน แต่ข้อดีก็คือคลื่นสามารถเดินทางได้ระยะไกลกว่า

    ถึงแม้ AIS จะทำได้แค่บนคลื่น 900MHz ก็ตาม แต่ในอนาคตคาดว่าจะมีมือถือสนับสนุนคลื่นนี้มากขึ้น เช่น Sony Ericsson Xperia, Nokia N96 และแน่นอนค่ายอื่น ๆ ต้องทำตามในเร็ววัน ในที่สุดคาดว่าเมืองไทยน่าจะมี HSDPA ใช้กันถ้วนหน้าต้นปีหน้าแน่นอนครับ (ข่าวดีจริง ๆ)

    ที่มา - GSM Advance
    http://www.blognone.com/node/7505

  • #2
    เย้!!!!!!!!!!!!!!!!! ซะที

    Comment


    • #3
      อีกกี่ปีพัทลุงจะได้ใช้บ้าง

      Comment


      • #4
        เย่ๆๆๆ มีไหร่ อิสาน จะได้ใช้บ้าง

        Comment


        • #5
          น่าจะใช้ 2100MHz นะเพราะโทรศัพท์ส่วนใหญ่ก็รองรับ 2100MHz ถ้าเปิดใช้แล้วก็คงต้องเปลี่ยนโทรศัพท์อีกแล้ว

          Comment


          • #6
            บ้านแม้วใช้ก่อนใครเพื่อน

            Comment


            • #7
              เย้ๆๆ เชียงใหม่ อิอิ

              Comment


              • #8
                เห็นว่าภายในปีนี้ได้ทั้งประเทศ ไม่รุ้จิงมั้ย เเต่ ขอสงขลา อย่างไว อิอิ

                Comment


                • #9
                  ผมใช้ 6120classic อดครับ เป็น 850/2100Mhz ไม่รับ 900Mhz
                  แต่เร็วๆนี้คงน่าจะใช้ได้ อิอิ หวังไว้

                  Comment


                  • #10
                    ทำไมต้อง ชม ฟะ กทม.คนรอใช่เยอะแยะไม่มาลอง

                    Comment


                    • #11
                      แล้วไอ้ 3G เนี่ย มันคืออะไรหรอครับ มีประโยชน์ยังไง - -

                      ผมเป็นคนคาบข่าวมาบอก แต่ตัวเองไม่รู้ - -เห็นอะไร 2G 3G - -

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by X1950Pro View Post
                        แล้วไอ้ 3G เนี่ย มันคืออะไรหรอครับ มีประโยชน์ยังไง - -

                        ผมเป็นคนคาบข่าวมาบอก แต่ตัวเองไม่รู้ - -เห็นอะไร 2G 3G - -
                        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G นั้น ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้มีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                        ITU ได้ให้มีการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่ง ITU ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานดังกล่าวในเชิง ย่านความถี่ (Spectrum Band) และมาตรฐานการเชื่อมต่อทางเทคนิค (Technical Standard) อธิบายรายละเอียดยาวไปเดี๋ยวจะจับประเด็นไม่ได้ผมสรุปเลยดีกว่าว่า เจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามมันมีลักษณะทางเทคโนโลยีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

                        นิยาม (Definition)

                        โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า

                        • “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้

                        • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง

                        • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ

                        • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว

                        > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ
                        > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่
                        > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่

                        นั่นแหละครับคือนิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000 มีดังนี้ครับ
                        มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ (www.itu.int)

                        1. WCDMA
                        2. CDMA2000
                        3. TD-SCDMA
                        4. EDGE
                        5. DECT

                        ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ

                        มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม “นิยาม” ข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น

                        แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ
                        เทคโนโลยีการสื่อสารยุค 3G จุดเด่นที่สุดคือความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล เน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง รับ-ส่งข้อมูลรวดเร็ว สามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้สมบูรณ์แบบ มีช่องสัญญาณความถี่และความจุในการรับส่งข้อมูลมากกว่า 2G อีกคุณสมบัติเด่นคือ Always On หมายถึงมีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เปิดโทรศัพท์

                        อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths
                        ซึ่งเข้าใจได้ง่ายจากภาพที่ ITU ให้ไว้เพื่อการศึกษา เช่นจากเครือข่าย GSM อย่างไรก็ต้องผ่านการปรับปรุงเครือข่ายให้มีเทคโนโลยี EDGE ก่อนจึงจะสามารถให้บริการ WCDMA ได้ในอนาคต ส่วนผู้ที่ให้บริการระบบ CDMA one ในปัจจุบันสามารถพัฒนาเครือข่ายไปเป็น CDMA20001X ได้เลย

                        Creadit : คุณ ปรเมศวร์ กุมารบุญ
                        และ http://www.se-society.com/

                        Comment


                        • #13
                          แล้วค่าให้บริการเท่าไหร่น่าจะแพงหูฉี่เลยนะคร้าบใครรู้ราคามั่ง

                          Comment


                          • #14
                            อีกหน่อย 3G เราว่า Dtac น่าจะบูมในช่วงนั้นน่ะ ว่าแต่ในที่นี้มีใครใช้ O2 cocoon ไหม

                            Comment


                            • #15
                              NOKIA 6233 ของผมก็ลองรับ 3G เย๊ๆ

                              Comment

                              Working...
                              X