Announcement

Collapse
No announcement yet.

เทคนิคการ OC RAM และการเซ็ตค่า Timing ต่างๆ ด้วย Memset

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เทคนิคการ OC RAM และการเซ็ตค่า Timing ต่างๆ ด้วย Memset

    มาจะกล่าวบทไปถึงเรื่องของแรม (memory) ก็ชั่งมีเรื่องให้กล่าวถึงกันได้เยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของความจุ , บัส , ค่าซัพทิมมิ่ง(CL)
    และที่จะเจาะลึกโดยเฉพาะในวันนี้คือการอ่านค่า Timing ต่างๆของแรม และการเซ็ตค่าโดยละเอียด เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆรวมถึงการ OC อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรมให้สูงขึ้น

    ก่อนอื่นก็ขอออกตัวก่อนอีกเช่นเคยว่าบทความนี้ เขียนแบบไม่ได้ซีเรียสอะไรมากมาย
    เพียงเพื่อแค่แนะนำการใช้งานเบื้องต้น เพื่อจะส่งผลไปถึงการต่อยอดในการใช้งานขั้นสูงต่อไป
    ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในระดับเริ่มต้น ส่วนผู้ที่มีความเข้าใจในส่วนนี้แล้วก็ถือว่าดูขำๆแล้วกันงับ.... หุหุ
    Last edited by dears; 7 May 2008, 16:02:23.

  • #2
    ก่อนอื่นต้องขอแนะนำสเป็กคร่าวๆที่จะนำมาขึ้นเขียงในวันนี้ซะก่อน
    ประกอบไปด้วยหลักๆ
    E8400
    DFI LANPARTY DK P35-T2RS
    Gskill 2HK/800 2GB(1GBx2) (4-4-3-5)
    พระเอกของงานในส่วนของ HW ก็เจ้า HK รุ่นเก่าๆนี้แหละ (Promo)
    ตังค์ไม่มีเปลี่ยนงับ เลยไม่ได้หามาเทสหลายๆตัว หุหุ

    ส่วนโปรแกรมที่จะใช้งานในวันนี้
    ประกอบด้วย
    cpuz
    everest
    memset 3.5 beta
    พระเอกของงานในส่วนของ SW ก็คงเป็นเจ้า memset นี่แหละ
    ซึ่งเราเลือกใช้ตัว 3.5 beta


    โปรแกรม memset หากท่านใดไม่มีก็เลือกโหลดได้ตามสะดวกเลยนะงับ
    Memset_3.3
    Memset_3.4
    Memset_3.5
    Memset_3.5_Final
    Last edited by dears; 1 Aug 2008, 17:22:53.

    Comment


    • #3
      Study Mode
      ขั้นแรกในการเริ่มงาน เราก็ต้องมาทำความรู้จักเจ้า timing กันซะก่อน
      ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างรัย และจะดูได้อย่างรัยว่าค่ามาตรฐานของมันอยู่ที่เท่าไหร่
      บางคนอาจให้ความสำคัญในส่วนนี้เพียงแค่4ตัวแรก เช่น 4-4-4-12 หรือ 5-5-5-15
      แต่ความสำคัญของมันไม่ใช่เพียงแค่นั้น และทาง DFI ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้ค่อนข้างมาก เลยให้ปรับแต่งกันเล่นๆไปเลยที่ 17 ตัว .... เหอะๆๆๆ
      (แล้วท่านที่ไม่ได้ใช้บอร์ดตัวนี้หละ จะต้องทำยังงัย) นั้นไม่ใช่ปัญหางับ
      วันนี้เราจึงนำเสนอมาตรฐานเดียวกัน ให้ลองทำตามกันแบบง่ายๆ ด้วยโปรแกรมที่ได้กล่าวไว้ขั้นต้น


      เริ่มกันด้วยการตั้งค่า auto ทุกอย่างในไบออส โดยจะใช้ไฟแรมที่ 2.1 ตามมาตรฐานของแรมตัวนี้งับ เพื่อทำการอ่านค่ามาตรฐานต่างๆของแรมแล้วหละ


      จากนั้นเมื่อทุกอย่าง auto หมดละ เราก็เข้าวินโดว์กันเลย....
      เริ่มด้วยการเช็คค่า timing ด้วยโปรแกรมต่างๆ
      ขั้นตอนนี้ก็ดูกันไปตามรูป แล้วก็ลองเปิดดูกันเลยนะครับ ว่ารายละเอียดของแรมที่คุณใช้เป็นแบบใดบ้าง
      CPUZ

      Everest (chipset)

      Everest (spd)

      Memset 3.5


      หลังจากได้ทำการอ่านค่าต่างๆของแรม ด้วยโปรแกรมต่างดังรูป
      ก็จะทำให้เราทราบถึงความแตกต่างในหลายๆจุด ซึ่งผมจะอธิบายรายละเอียดกันดังนี้เลยนะครับ
      ค่ามาตรฐานที่อ่านได้และกำลังใช้งานในปัจจุบัน คือ 5-5-5-15 ซึ่งเป็นค่าปกติที่ OS สามารถรันเจอ โอ้..แน่นอนว่ามันทำไมไม่วิ่งตามสเป็กของแรมเราหว่า นั้นเป็นเรื่องปกติงับ ไม่ต้องซีเรียส ให้มองข้ามจุดนี้ไปได้เลย
      แต่เราต้องมาให้ความสำคัญกันในส่วนของค่ามาตรฐานของตัวแรมจริงๆ ซึ่งก็คือค่า SPD ที่อ่านได้จากโปรแกรม everest และ memset
      คราวนี้หละงับ เริ่มเข้าเรื่องละ เมื่อเราได้ค่าต่างๆกันอย่างละเอียดแล้ว ก็สามารถเริ่มลงมือเซ็ตค่าต่างๆได้ด้วยตัวท่านเองละ
      แต่เดี๋ยวก็ครับ เพราะในเมนูการปรับแต่งในไบออสของแต่ละบอร์ดย่อมไม่เหมือนกัน มีรายละเอียดมากน้อยไม่เท่ากัน
      ดังนั้นผมจึงขอแนะนำวิธีการง่ายๆ ซึ่งเชื่อแน่ว่าสามารถนำไปใช้งานได้กับทุกๆบอร์ด ก็คือ ให้เราไปเซ็ตค่าในไบออสเฉพาะตัวหลักๆ เช่น 4-4-3-5 (อันนี้แรมใครแรมมันนะครับ) และผมแนะนำว่าควรให้ความสำคัญเพิ่มอีก1ตัว คือ Refresh Cycle Time (tRFC)
      ค่าตัวนี้มีความสำคัญอย่างไรรึ???? มันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นตัววัดประสิทธิภาพของแรมเลยก็ว่าได้ ว่าแรมท่านแหล่มเพียงใด
      ค่าปกติที่เห็นชาวบ้านเขาทำกัน โดยเฉพาะชิบ D9 มักจะอยู่กันที่ 25 ต่ำกว่านี้ไม่ค่อยได้เห็นซักเท่าไหร่ (แต่ก็มีนะครับ)
      แต่แรมของผมในวันนี้ขอตั้งไว้ที่ 30 เพราะว่าหากเราคลายค่าตัวนี้แล้ว จะทำให้สามารถใช้ไฟที่ต่ำกว่าสเป็กเดิมๆของแรมได้อย่างสบายมาก การที่แรมเวลาลากบัสสูงๆแล้วทำให้เทสไม่ผ่านหรือติดขัด มักจะอิงค่าตัวนี้ค่อนข้างมาก
      ผมให้ข้อสังเกตุนิดนึง ซึ่งทุกท่านสามารถนำไปทดลองเองได้นะครับ ก็คือให้ลองไปปล่อยค่าตัวนี้ให้เป็น auto แล้วไปลอง OC บัสของแรมให้เพิ่มมากขึ้น จากนั้นให้ลองสังเกตุการเปลี่ยนแปลงได้เลยครับ ว่าค่าดังกล่าวจะทำการคลายตัวเองไปเรื่อยๆ จนดูหลวมซะเกินไป ดังนั้นจึงอยากจะแนะนำให้ไปฟิคไว้อีกตัวนึง

      สรุปเลยก็คือ
      ผมจะไปเซ็ตค่าต่างๆในไบออสไว้ทั้งหมด 5ตัว คือ 4-4-4-5-30
      (ตัวที่3 ที่เปลี่ยนจาก 3 เป็น 4 เพราะความสวยงามและให้มันดูหลวมๆหน่อยแค่นั้นนะครับ เพื่อที่จะใช้ในการ OC ต่อไป หุหุ)
      จากนั้นเราถึงจะเริ่มมาใช้งาน memset กันอย่างจริงๆจังแล้วหละครับ
      ปล.ของท่านอื่นอาจเซ็ตไว้ที่
      4-4-4-9-25
      4-4-4-12-30
      4-4-4-12-35
      5-5-5-15-35
      หรือแล้วแต่จะลองเทสว่าแรมไหวหรือเปล่านะงับ


      หลักจากได้ลองเซ็ตค่าที่ได้ว่าไปแล้วจำนวน 5 ตัวด้วยกันคือ 4-4-4-5-30
      คราวนี้จะมาว่ากันเต็มๆเฉพาะโปรแกรม memset แล้วนะครับ
      เริ่มด้วยการเช็คก่อนเลยว่า มันอ่านได้อย่างรัยกันบ้าง....


      เพื่อให้เห็นภาพถึงความแตกต่างของการตั้งค่าแบบ auto และการเซ็ตค่าในไบออสแบบ manual เฉพาะ 5ตัวหลัก
      ก็จะขอเปรียบเทียบและอธิบายความสัมพันธ์ของค่าแต่ละตัวดังนี้ครับ

      คงเห็นความเปลี่ยนแปลงกันบ้างแล้วนะครับ
      ค่าทางด้านซ้ายได้มาจากค่าที่เราตั้งในไบออสไว้ที่ auto หรือตั้งไว้ที่ CL5
      ค่าทางด้านขวาได้มาจากค่าที่เราตั้งในไบออสไว้ที่ CL4
      สรุปกันง่ายๆเลยคือว่า ค่า timing จะมีชุดย่อยให้เห็นกันจะๆอยู่2ชุด คือตัวสีแดงกับน้ำเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
      ค่าสีแดงจะเปลี่ยนแปลงตามค่า timing ตัวที่ 3 ที่พอเราตั้งไว้ที่ 4 ทั้งชุดจะอ่านค่าเองโดยอัตโนมัติไปที่4
      พอตั้งไว้ที่ 5 ทั้งชุดจะอ่านค่าเองโดยอัตโนมัติไปที่5
      จึงพอสรุปได้คร่าวๆว่า มันเป็นค่าที่เหมาะสมที่ระบบของแรมทำการใช้งานให้สัมพันธ์กับ 4ตัวหลักที่เราไปเซ็ตเอาไว้

      ค่าสีน้ำเงินคือค่าที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยเมื่อยิ่งบีบ4ตัวแรกให้เน้นขึ้น ค่าก็จะวิ่งต่ำลง แต่เมื่อคลาย4ตัวแรกให้หลวมลงอีก ค่าเหล่านั้นก็จะยิ่งหลวมตามไปอีก
      แต่เดี๋ยวก่อน ยังไม่หมดเพียงแต่เท่านี้ เพราะยังมีค่าอีก2ตัวที่มีความสำคัญเช่นกัน
      คือ Performance level และ Refrest Period(tREF) จากรูปก็จะเห็นว่าถูกตั้งอัตโนมัติไว้ที่ 7 และ 3120
      ค่าดังกล่าวเป็นค่ามาตรฐานส่วนมากที่แรมทั่วไปสามารถทำงานได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็แล้วแต่แรมแต่ละตัวว่าจะลองรับการทำงานที่เท่าไหร่นะครับ ส่วนตัวผมแนะนำให้ลองตั้งเป็นค่าปกติที่มันได้ทำการเซ็ตให้เลยก็ดีครับ หรือหากเราลองใช้งานจนคล่องหรือรู้ถึงประสิทธิภาพของแรมเราอย่างเต็มที่ละ เราก็สามารถปรับแต่งให้แตกต่างไปจากนี้ได้
      เมื่อเราได้ค่าต่างๆแล้วก็ทำการ save ได้เลยครับป๋ม ต่อไปเมื่อเข้าวินโดว์ ก็จะได้การทำงานของแรมตามที่เราต้องการละ



      Overclock Mode
      หลังจากได้รู้ถึงรายละเอียดของแต่ละค่าแล้วนะครับ หวังว่าทุกคนคงอ่านค่าต่างๆเป็น และสามารถใช้งานตัวโปรแกรมได้ละ
      คราวนี้เราจะมาเริ่มต้นในโหมดของ OC กันได้เลยครับ เดี๋ยวจะได้รู้กันละว่าการ OC Ram มันจะยากอย่างที่คิดกันหรือเปล่า
      โดยเทคนิคง่ายๆ เพื่อเป็นการเริ่มต้นก็คือทำการฟิคในไบออส5ตัวแรกที่เคยแนะนำไว้ก่อนเลย จากนั้นเดี๋ยวจะแนะนำกันต่อไปครับว่าต้องเซ็ตค่าต่างๆแบบไหนถึงจะรอด.. หุหุ
      โดยคราวนี้ป๋มจะเริ่มอัดค่า timing ให้แน่นลงกว่าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและจะลดการใช้พลังงานของไฟในการอัดให้น้อยที่สุด
      เป้าหมายที่ตั้งไว้เพื่อเป็นตัวอย่างก็เพียงแค่จาก 800 ไปที่ 1000 นะครับ โดยจะเพิ่มไฟจากค่ามาตรฐานของแรมให้น้อยที่สุด

      เริ่มด้วยการกดค่าลดลงนิดหน่อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และตั้งค่า Refresh Cycle Time ไว้ที่ 30 อย่างที่เคยบอกไปครับว่า ค่านี้ยิ่งหลวมยิ่งประหยัดไฟ แต่จะจริงมั้ยท่านต้องลองดูเอง หุหุ
      ผมจะใช้ค่า timing ชุดนี้ทั้งชุดในโหมดของการ OC โดยที่จะทำการลากบัสของแรมและทำการเพิ่มไฟเท่านั้น
      โดยที่ผมจะไม่ไปยุ่งในไบออสในส่วนของแรมอีกแล้วนะครับ จะเซ็ตไว้เพียงแค่ 5 ตัวเท่านั้น
      เริ่มด้วยบัส 900 ไฟ 2.1 ทดสอบด้วย hiperpi 4M นะครับ พอดีต้องเทสเบาหน่อยเพราะเขียนไปเทสไปกันสดๆ เดี๋ยวรอนานงับ หุหุ
      ระหว่างการเทสนี้ จะใช้อัตราทดแรม 5:6 เวลาที่เทสออกมาอย่าไปซีเรียสนะครับ เอาแค่ผ่านๆพอละ

      บัส 960 ไฟ 2.1 (ไฟเดิมๆผ่านด้วยแฮะ หุหุ)

      บัส 1000 ไฟ 2.25 ผ่านฉลุย
      Last edited by dears; 8 May 2008, 07:30:38.

      Comment


      • #4
        คงได้เห็นกันไปแล้วนะครับสำหรับการใช้งานเบื้องต้น รวมถึงการอ่านค่าต่างๆ ตลอดการเซ็ตค่าต่างๆโดยคร่าวๆ
        ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าให้ลอกเลียนแบบซะทั้งหมดนะครับ แต่เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น
        เพราะแรมแต่ละตัว ความสามารถย่อมแตกต่างกันออกไป รายละเอียดของ timing ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน
        โดยท้ายที่สุดคุณเท่านั้นที่จะเป็นคนไล่ค่าเองทั้งหมด เพื่อให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพรวมถึงบัสที่เพิ่มมากขึ้น
        อย่าลืมว่าการคลายค่า timing ให้หลวมก็จะสามารถทำให้ลากบัสได้ไกลขึ้น แต่ก็ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลของค่า timing ต่างๆลดน้อยลงตามลำดับ
        ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วหละครับ ว่าจะเลือกเอาค่า CL สวยๆ ไฟมากๆ หรือจะใช้ CL หลวมๆไฟต่ำ
        แต่ทั้งหมดนี้ จุดประสงค์ก็เพื่อให้รู้ถึงการใช้งานของโปรแกรมดังกล่าว รวมถึงการเรียนรู้ถึงรายละเอียดของแรมที่เราใช้
        ว่าใช่แต่จะมีความสำคัญเพียงแค่การอัดไฟเข้าไปมากๆ เพื่อให้ได้บัสไกลๆ แต่ค่าต่างๆของ timing ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

        สุดท้ายก็ขอให้สนุกกับการใช้โปรแกรม memset นะครับ โอกาสหน้าคงได้หาโปรแกรมดีๆมาแนะนำเทคนิคการใช้งานกันอีกต่อไป....




        ฝากทิ้งท้ายกับความหมายของค่า timimg ในแต่ละตัวนะครับ
        แม้จะไม่ครบครันเท่าไหร่ แต่ก็คงพอช่วยได้บ้าง (แปลกันเองนะ หุหุ)

        A Guide to Memory Timing

        The performance and stability of any system depends in part on the memory being used and the settings for the RAM timing. Many users may prefer "xyz" brand, and certainly using brand name memory is a very good idea since low quality memory is often at the root of many stability issues. However, it is also important to pay attention to the timing settings of the memory used.

        IMPORTANT: Setting memory timings incorrectly could result in lost or corrupted data (resulting in system instability) or boot/post failure. If a system fails to post, default settings can be restored by clearing the CMOS/BIOS via the clear real time clock jumper on the motherboard. Refer to the board manual for the correct procedure.

        The topic of memory architecture is too detailed and complex to cover in a single brief article. We will attempt to simplify a portion of the topic that addresses memory timings and how they work.

        Typical timing parameters appear as 2-3-2-6-T1 or some variant. So what do these numbers mean?

        Before delving into these specific settings, let's first define some common terms used when discussing memory timings.

        * RAS - Row Address Strobe or Row Address Select
        * CAS - Column Address Strobe or Column Address Select
        * tRAS - Active to precharge delay; this is the delay between the precharge and activation of a row
        * tRCD - RAS to CAS Delay; the time required between RAS and CAS access
        * tCL - (or CL) CAS Latency
        * tRP - RAS Precharge; the time required to switch from one row to the next row, for example, switch internal memory banks
        * tCLK – ClocK; the length of a clock cycle
        * Command Rate - the delay between Chip Select (CS), or when an IC is selected and the time commands can be issued to the IC
        * Latency - The time from when a request is made to when it is answered; the total time required before data can be written to or read from the memory.

        Some of the above terms are more important to system stability and performance than others. However, to understand the whole, it is important to understand the role of each of these settings/signals. Therefore, the numbers 2-3-2-6-T1 refer to CL-tRCD-tRP-tRAS-Command Rate and are measured in clock cycles.

        tRAS
        Memory architecture is like a spreadsheet with row upon row and column upon column, with each row being one bank. For the CPU to access memory, it first must determine which row or bank in the memory is to be accessed and then activate that row with the RAS signal. Once activated, the row can be accessed over and over, until the data is exhausted. This is why tRAS has little effect on overall system performance but could impact system stability if set incorrectly.

        tRCD
        tRCD is the delay from the time a row is activated to when the cell (or column) is activated via the CAS signal and data can be written to or read from a memory cell. When memory is accessed sequentially, the row is already active and tRCD will not have much impact. However, if memory is not accessed in a linear fashion, the current active row must be deactivated and then a new row selected/activated. In such an example, low tRCD's can improve performance. However, like any other memory timing, putting this too low for the module can cause in instability.

        CAS Latency
        Certainly, one of the most important timings is the CAS Latency, which is also the one most people understand. Since data is often accessed sequentially (same row), the CPU need only select the next column in the row to get the next piece of data. In other words, CAS Latency is the delay between the CAS signal and the availability of valid data on the data pins (DQ). The latency between column accesses (CAS) then plays an important role in the performance of the memory. The lower the latency, the better the performance. However, the memory modules must be able to support low-latency settings.

        tRP
        tRP is the time required to terminate one row access and begin the next row access. tRP might also be seen as the delay required between deactivating the current row and selecting the next row. So in conjunction with tRCD, the time required (or clock cycles required) to switch banks (or rows) and select the next cell for reading, writing, or refreshing is a combination of tRP and tRCD.

        tRAS
        tRAS is the time required before (or delay needed) between the active and precharge commands. In other words, how long the memory must wait before the next memory access can begin.

        tCLK
        This is simply the clock used for the memory. Note that because frequency is 1/t, if memory were running at 100Mhz, the timing of the memory would be 1/100Mhz, or 10nS.

        Command Rate
        The Command Rate is the time needed between the chip select signal and when commands can be issued to the RAM module IC. Typically, these are either 1 clock or 2.

        This covers much of the basic settings for memory and how they work. As mentioned earlier, it is important to understand what timings your memory will support. Refer to your memory vendor’s website or datasheets for more information.

        Cautionary Statement
        Activities and projects described herein may involve the use of tools and materials that may present health and safety hazards. These must be handled carefully and all tools and products should be used strictly according to manufacturers' precautions and instructions for the safe use of the respective tool or product. The techniques described herein may result in the voiding of manufacturers' warranties. The user assumes all risks associated with the techniques described in this article/guide. THIS INFORMATION IS PROVIDED “AS IS” WITH NO WARRANTY, EXPRESS OR IMPLIED. AMD ASSUMES NO RESPONSIBILITY FOR ANY ERRORS CONTAINED IN THIS ARTICLE/GUIDE AND HAS NO LIABILITY OR OBLIGATION FOR ANY DAMAGES ARISING FROM OR IN CONNECTION WITH THE USE OF THIS ARTICLE/GUIDE.
        ที่มา : http://www.amd.com/us-en/Processors/...E13335,00.html
        Last edited by dears; 4 Jun 2008, 20:03:11.

        Comment


        • #5
          คนแรกเลย มารอจด ๆๆๆ

          Comment


          • #6
            คนที่2ละกัน

            Comment


            • #7
              ปูเสื่อ ซื้อป๊อปคอร์น มานั่งรออ่าน

              Comment


              • #8
                - -*

                Comment


                • #9
                  ไหนง่า สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป หรือว่ามุข

                  Comment


                  • #10
                    มาชมความรู้ครับ

                    Comment


                    • #11
                      ขออ่านด้วยนะ

                      Comment


                      • #12


                        ทีเค้าถามตั้งนานมะสอน ให้ไปลองเอาเองจนแรมเกือบจะแต๊ปถึงจะใช้เป็น



                        ปล.จัด SETFSB มาด้วยนะตะเอง คนถามหลายคนแระเค้าอธิบายมะเก่ง
                        Last edited by matoom; 7 May 2008, 16:32:36.

                        Comment


                        • #13
                          เร่งกันจังเลยง่ะ.... เห็นใจเน็ตบ้านนอกหน่อยงับ อัพอยู่เน้อพี่น้อง รายละเอียดมันเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

                          Comment


                          • #14
                            ข้อควรระวัง!!!

                            1. OC มากอาจแต๊บได้นะครับ
                            2. OC มากโลกร้อน

                            Comment


                            • #15
                              ทำไมตาเดียร์ต้องมีแต่ของแรงๆด้วยวะเนี่ย

                              Comment

                              Working...
                              X