Announcement

Collapse
No announcement yet.

เปลี่ยนแรมเป็นฮาร์ดดิสก์ด้วย ACARD

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เปลี่ยนแรมเป็นฮาร์ดดิสก์ด้วย ACARD

    เปลี่ยนแรมเป็นฮาร์ดดิสก์ด้วย ACARD

    ถ้าใครที่เคยได้ยินชื่อของอุปกรณ์ที่ว่าชื่อ ว่า “I-RAM” ที่ผลิตโดย Gigabyte ก็คงจะรู้จักกันดีว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเปลี่ยนแรมที่ใส่บนคอมพิวเตอร์ ของเราเป็นฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งนั่นมันก็นานหลายปีมาแล้วครับที่ไม่ได้มีการเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมา ต่อยอดเพิ่มเติม จนกระทั้งล่าสุดได้มีการลอกเลียนแบบการทำงานของเจ้า I-RAM ดังกล่าวขึ้นมาอีก แต่ทว่ารุ่นใหม่นี้ใส่แรมได้มากกว่าเดิมและรองรับหน่วยความจำ DDR2 ซะด้วย โดยมันมีชื่อเก่ๆ ว่า “ACARD”

    ACARD เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ทำขึ้นมาจากการเอาแรมหลายๆ ตัวมาต่อใช้งานร่วมกัน โดยภายในตัวมันเป็นกล่องขนาด 5.2 นิ้ว ที่มีแผงเสียบแรมจำนวน 8 ช่อง ที่สามารถรับความจุของแรมได้สูงสุดช่องละ 4 GB โดยจะมีแหล่งจ่ายไฟเป็นของตนเองเพื่อจะไม่ทำให้ความจำบนตัวแรมนั้นหายไป เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์อีกด้วย

    ประโยชน์ของเจ้าอุปกรณ์ที่ชื่อ ACARD นี้คือมันจะส่งผลดีต่อการใช้งานด้านการอ่าน-เขียนข้อมูลที่จะรวดเร็วกว่า ฮาร์ดดิสก์หลายเท่าเพราะมันไม่ต้องมีหัวอ่าน ไม่จำเป็นต้องใช้จานแม่เหล็ก ทำให้การเข้าถึงข้อมูลใช้เวลาน้อยมากๆ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับติดตั้ง OS หรือฮาร์ดดิสก์ที่ต้องมีการอ่าน-เขียนข้อมูลขนาดใหญ่ๆ บ่อยๆ ครั้ง เช่น ในเครื่องตัดต่อวิดีโอเป็นต้น

    ข้อมูลเพิ่มเติม : akiba
    เรียบเรียงโดย @ Hardware.ARiP.co.th

    สามารถดูรูปภาพได้จากลิ้งค์ http://hardware.arip.co.th/

  • #2
    แล้วทราบราคาขายไหมครับ

    ลงรูปให้นะครับ
    Last edited by karanikov; 15 Sep 2008, 13:25:41.

    Comment


    • #3
      ว๊าวว หรู จิง

      Comment


      • #4
        ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียหน่อยนะครับ

        จริงๆ แล้วเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า SSD (Solid State Drive)
        หลักๆ แล้วแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Flash Base และ DRAM base
        สำหรับตัว A Card จัดเป็น DRAM base ครับ(สำหรับข้อแตกต่างระหว่าง SSD ทั้งสองอย่างผมจะไม่พูดถึงนะครับ)

        ข้อเสียนะครับ
        1. ราคาถ้าเทียบกัน gb ต่อ gb แล้วราคาจะแพงกว่ากันมากๆ โดยเฉลี่ยราคาของ SSD จะอยู่ที่ 128 gb = $460
        2. ความเสถียรของข้อมูล เนื่องจากตัว SSD เอง เปลือย(อย่างที่เห้นในรูปด้านบน) จะทำให้มีปัญหาเกี่ยวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเข้ามารบกวน ซึ่งแตกต่างจาก HD ธรรมดาๆ ทั่วไปที่จะอยู่ในกล่องที่มีลักษณะล้ายกรงฟาราเด (เอาเป็นว่ามันกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า)
        3. เรื่องของการกินไฟ เนื่องจากตัว DRAM เอง ข้อมูลบนตัวมันจะหายไปเมื่อไฟหมด ฉนั้นจึงต้องมีการส่งไฟเข้าไปเลี้ยงตลอดเวลา ทำให้กินไฟมากกว่า HD ปรกติแน่นอน ทั้งนี้รวมไปถึงตอน IDLE ของ DRAM SSH อีกด้วย ที่กินไฟมากกว่า IDLE ของ harddisk ธรรมดาทั่วไปๆ

        เกร็ดข้อมูลเพิ่มเติม
        1. ถ้าเข้าใจไม่ผิด ตอนนี้ SSD ความจุสูงสุดที่ 256 gb
        2. ความเร็วในการอ่าน/เขียน สูงสุดที่ประมาณ 250 mb/sec (SSD ของบริษัท MICRON)

        Comment

        Working...
        X