Announcement

Collapse
No announcement yet.

[<|^_*)<[GuIde]>(^_O|>] คู่มือการเลือกซื้อ SSD มาเปลี่ยนชีวิตให้เร็วปี๊ดกันเถอะ !!!!!

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [<|^_*)<[GuIde]>(^_O|>] คู่มือการเลือกซื้อ SSD มาเปลี่ยนชีวิตให้เร็วปี๊ดกันเถอะ !!!!!

    Solid State Drive


    โซลิดสเตตไดรฟ์ (อังกฤษ: Solid state drive, SSD) หรือ เอสเอสดี คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล

    คำว่าโซลิดสเตตไดรฟ์เป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์แต่ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลทดแทนการใช้จานแม่เหล็ก โซลิดสเตตไดรฟ์จึงมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามชนิดหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้ในโซลิดสเตตไดรฟ์คือ หน่วยความจำแฟลช ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมที่สุดแต่มีข้อเสียที่จำกัดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลทับ และอีกชนิดคือ เอสเอสดีจาก DDR SDRAM หรือแรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี ซึ่งเร็วกว่าหน่วยความจำแฟลชมากและเขียนทับได้ไม่จำกัด แต่เพราะว่า DDR SDRAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวดังนั้นการที่จะให้ทำงานเป็นหน่วยความจำถาวรก็ต้องมีแหล่งไฟฟ้าที่ถาวรเลี้ยงเพื่อไม่ให้ลืมข้อมูล ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้ทั่วไปตามบ้านเรือนแต่นิยมในอุตสาหกรรมที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง



    SSD : Solid State Drive




    รู้จักกับ Solid State Drive (SSD)

    SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการประยุกต์ใช้ Flash Memory มาทำเป็น Harddisk ประโยชน์ที่ได้รับที่เห็นกันอยู่ ก็จะพบว่า ความไวในการ เข้าถึงข้อมูลจะทำได้ไวกว่า Harddisk ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็น Harddisk แบบที่ใช้จานแม่เหล็ก ที่เวลาเข้าถึงข้อมูลจะต้องให้ Harddisk หมุนไปแล้วจึงหาสืบค้นข้อมูลที่ถูกเก็บใน harddisk ได้ โดยวิธีนี้ทำให้ เกิดความร้อนขึ้น ในตัวของ Harddisk เอง ยิ่งมีความไวของมอเตอร์ ที่ใช้ในการหมุนตัว จานแม่เหล็ก มากเท่าไรก็จะ ทำให้ มีความร้อนสูงมากขึ้นด้วย ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการเพิ่ม พื้นที่ในการระบายความร้อนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานของ Server ได้ การพัฒนาเทคโนโลยีของ Harddisk นั้นก็ พัฒนา มาหลายปี แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มอเตอร์และจานแม่เหล็ก จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้โดยการนำ meomory หรือ การนำ Solid State มาทำเป็น Harddisk ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าถึงข้อมูล การเขียนข้อมูล ลงไปบนตัว Harddisk การคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัว Harddisk เสียงที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์บนตัว Harddisk

    ดังนั้น ปัญหาพวกนี้จะหมดไปถ้าเรานำเทคโนโลยี Solid State มาใช้ ถ้านำไปใส่ใน Notebook จะช่วยทำให้ ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Notebook ทำงานได้ดีขึ้น เพราะจะกินพลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับ harddisk แบบเดิม



    สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็ก ที่เราใช้กันทั่วไปนั้น เวลาเข้าถึงข้อมูลแต่ละครั้งนั้น ฮาร์ดดิสก์จะเกิดการหมุนครับ ซึ่งการหมุนนี่เอง ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ โน๊ตบุ๊ค (Notebook) หรือคอมพิวเตอร์พีซี ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนนั้น จำเป็นที่ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี ยิ่งรอบการหมุนมากเท่าไหร่ ความร้อนก็จะมากขึ้นเท่านั้น

    แต่สำหรับ Solid State Drive หรือ SSD จะไม่มีการหมุนเหมือนฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กครับ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลนั้น เป็นแบบ Flash นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ทำให้โน๊ตบุ๊ค (Notebook) หรือ อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD นั้น เงียบกว่า และเกิดความร้อนขึ้นน้อยกว่า ้โน๊ตบุ๊ค (Notebook) ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กนั่นเองครับ

    อะไรคือ Solid State Drive (SSD)

    การทำงานของมันก็คือ Memory แบบ Flash เมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งสุดท้ายไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย แต่ Flash Memory ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำการ เขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ยังคงเก็บเอาไว้ เหมือนต้นฉบับทุกประการ ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่นี้มาต่อยอด และพัฒนา มาเป็น Solid State Drive (SSD) ในที่สุด ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk จานแม่เหล็ก เพราะใช้ Flash เป็นตัว จัดเก็บข้อมุล ดูจากรูป จะเห็นชัดเจน




    เปรียบเทียบโซลิดสเตตไดรฟ์กับฮาร์ดดิสก์






    SSD นั้นผลิตได้่ 2 แบบ คือ

    1. NOR Flash (หน่วยความจำจะถูกเชื่อมต่อ
    กันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระ อ่านข้อมูลเร็วมาก แต่ มีความจุต่ำ และราคาแพงมาก)
    2. NAND Flash (เป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล๊อก ทำให้มีความจุสูง ราคาถูก)
    FlashDrive ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้จึงเป็นแบบ NAND Flash เพราะราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
    - Single-Level Cell (SLC) : ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็ว
    กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ)
    แต่ราคาสูง
    - Multi-Level Cell (MLC) : 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน
    1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆ
    ความเร็วต่ำกว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)

    ข้อดีของ SSD

    - ใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ เพราะไม่มีหัวอ่าน ไม่มีจานแม่เหล็ก ไม่ต้องหมุน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เลย ปัจจุบัน SSD มีความเร็วในการอ่านถึง 120 MB/s และเขียนที่ 100MB/s ซึ่งเกือบจะเร็วเท่าฮาร์ดดิสก
    ์ที่เร็วที่สุดอยู่แล้ว และสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล(นี่เพิ่งเริ่มต้น)
    - เงียบ เพราะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้เหมือนอาร์ดดิสก์
    - ทนแรงกระแทก การสั่นสะเทือน และอุณหภูมิที่สูงกว่า
    - น้ำหนักเบา
    - ที่สำคัญ ปัญหาเรื่อง การกระจายของไฟล์ (File Fragmentation)
    ไม่มีผลต่อ ความเร็วของ SSD อีก (เพราะอะไรเดวจะเข้าใจ) เพราะฉะนั้น
    โปรแกรม Defrag จึงไม่จำเป็นต่อ SSD
    -ความไวในการ Boot เครื่อง

    ข้อเสีย

    - ราคาแพง เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์
    - ความจุต่ำ
    - ความคงทนในการใช้งาน อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า เขียนได้แบบจำกัดจำนวนครั้งต่อ 1 บล๊อก ส่วนอ่านไม่มีปัญหา
    จึงได้มีการพัฒนา เทคนิค "Wear-Leveling" ขึ้นมาเพื่อช่วยยืด
    อายุการใช้งานหน่วยความจำแบบ Flash หลักการทำงาน คือ ทำการกระจาย
    การเขียนข้อมูลไปยังทุกๆบล๊อกของหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้มีการ
    เขียนข้อมูลซ้ำที่ตำแน่งเดิมบ่อย ซึ่งจะทำให้เสียเร็วกว่าตำเหน่งอื่นๆ
    แบ่งเป็น 2 ประเภท
    - Static Wear-Leveling เป็นการค้นหาเนื้อที่หน่วยความจำทั้งหมด
    โดยจะย้ายไฟล์ในบล๊อกที่ใช้งานบ่อย ไปบล๊อกที่ใช้งานน้อยที่สุด โดยจะย้ายทั้งไฟล์ระบบ หรือไฟล์ที่ปกติไม่มีการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่
    - Dynamic Wear-Leveling คล้ายกับประเภทแรก แต่จะไม่ยุ่งกับ
    พวกไฟล์ระบบ การย้ายและเขียนข้อมูลใหม่จึงทำในส่วนบล๊อคที่เป็นข้อมูลทั่วไป
    และบล๊อกที่ว่างอยู่ (กระจายแต่ไม่ทั่วทั้งความจุ)
    ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะมีเทคนิคดังกล่าว แต่ความคงทนในการใช้งาน
    ก็ยังมีความคลุมเครืออยู่พอสมควร ผู้ผลิตบางที่บอก แสน บางที่บอกล้านครั้ง

    5 สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ SSD



    1. ประสิทธิภาพ



    สิ่งแรกที่คุณจะพบเมื่อคุณอัพเกรดเปลี่ยนจากฮาร์ดดิสก์ เดิมๆมาเป็น SSD (ถ้าเป็นไดรฟ์หลักที่ลง OS) คือ มันจะบูธเร็วแบบผิดหูผิดตา

    โดยเฉพาะบน Windows 8 ที่มีการเขียน Code ใหม่ให้รองรับ SSD ได้ดียิ่งขึ้น อารมณ์ในการเปิดแทบจะเทียบเท่าการเปิดแท็บเล็ต

    ที่เปิดขึ้นมาได้ในไม่กี่วินาที สารพัดโปรแกรมที่เคยโหลดนานจะเปิดขึ้นมาในเสี้ยววินาที แต่กระนั้นเลย ต้องเข้าใจไว้อย่างนึงว่า SSD

    ทำให้การอ่านและเขียนไฟล์เร็วขึ้นหลายเท่าจากฮาร์ดดิสก์ปกติ แต่มันจะไม่ทำให้คุณเล่นเกมส์ไปด้วย เรนเดอร์ไฟล์งานไปด้วย

    หรือมันไม่ทำให้เกมส์ลื่นขึ้น หรือเว็บโหลดไวขึ้น เพราะนั่นมันเป็นที่ส่วนอื่นไม่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ (แต่โหลดเกมส์เร็วขึ้นอันนี้ชัวร์)

    นอกเหนือจากนั้น มันยังประหยัดไฟขึ้น หากนำไปใช้กับ Laptop ก็แน่นอนว่าอายุแบตเตอรี่จะอยู่ได้นานขึ้นด้วย


    2.การย้าย OS และแอพพลิเคชั่นต่างๆจากฮาร์ดดิสก์สู่ SSD



    หากคุณติดตั้ง SSD ลงบนเครื่องใหม่ อ่านข้ามไปได้เลย แต่หากคุณอยากจะติดตั้ง SSD ลงบนเครื่องเก่าโดยไม่ฟอร์แมท

    ผู้ผลิต SSD หลายๆเจ้าได้ทำแอพพลิเคชั่น สำหรับการย้ายระบบปฏิบัติการรวมถึงโปรแกรมต่างๆจากฮาร์ดดิสก์เก่ามา

    ยัง SSD แต่ยังไงก็ตาม ลงใหม่เถอะครับ สะอาดกว่า ชัวร์กว่า ปลอดบั๊ก


    3.SSD คุ้มค่าหรือยัง เมื่อเทียบราคากับความจุ

    ในอดีตหากพูดถึง SSD ใครๆ ก็ส่ายหน้า ไม่ใช่ว่าไม่อยากได้ แต่เห็นราคาแล้วก็หายอยาก เพราะความจุแค่ 60-80GB ก็ว่ากันที่หลายพันแล้ว อย่าว่าแต่ซื้อเลย แค่คิดก็มึนแล้ว สำหรับหลายคนที่อยากได้ SSD ก็เริ่มยิ้มออกกันไม่นานมานี้ เพราะมีราคาที่ลดลงบ้าง เรียกว่ากระเป๋าไม่ฉีก พอเป็นเจ้าของกันได้ เพียงแต่ถ้าต้องการรุ่นที่มีชิปคอนโทรลเลอร์หรือตัวเมมโมรี่ที่ดี ก็ต้องลงทุนมากขึ้นหน่อย ส่วนใครเบี้ยน้อย หอยน้อย ก็ใช้รุ่นล่างๆ ไป อาจจะเร็วไม่เท่า แต่ก็เก๋าพอสมควร

    ในปัจุบันเนื่องจากในช่วงนี้มา SSD หลายรุ่นเข้าสู่ตลาด จึงอยากหยิบยกเอามาคำนวณความคุ้มค่ากันดูว่า SSD ในตลาดปัจจุบัน มีราคาต่อความจุคุ้มค่ามากพอ ที่จะไปสู่ขอจับจองเป็นเจ้าของได้หรือไม่ เพื่อจะได้เป็นแนวทางสำหรับใครที่อยากจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์จานหมุน มาสู่ SSD กันเสียที

    สนนราคา SSD 120GB ของเกือบทุกค่ายรุ่นใกล้เคียงกัน จะอยู่ที่ประมาณ 3 พันบาทขึ้นไป จะมีบางรุ่นที่อยู่ในกลุ่มตลาด Performance จะขึ้นไปกว่า 4 พันบาทเลยทีเดียว โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3584 บาท ซึ่งเมื่อเทียบความคุ้มค่าแล้วอยู่ที่ประมาณ 29.87 บาท/GB ส่วนใครงบหนักจัดโลดครับ!!


    4. ขีดจำกัดด้านความจุ



    ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์เกรดผู้ใช้งานทั่วไปปกติเริ่มที่ 320G (แต่ก็ไม่ค่อยเห็นละ ส่วนใหญ่จะ 500G) ไปจนถึง 3TB แต่ SSD

    กับเริ่มต้นด้วยความจุเพียงแค่ 64G ในราคาไล่ๆกับ HDD ขนาด 320-500G ทำให้หลายๆคนกังวลเรื่องความจุของ SSD

    แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามักจะนิยมลงแค่ OS และโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยๆ ลงบนไดรฟ์ SSD ในขณะที่ไฟล์งานเอกสาร

    รูปภาพ หรือไฟล์ดาวน์โหลดอื่นๆมักจะเก็บลงในฮาร์ดดิสก์แทน เพราะ SSD จะมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ว่าเมื่อพื้นที่เหลือน้อย
    ประสิทธิภาพจะเริ่มช้าตาม (ส่วนใหญ่เกิดจาก SSD ที่ใช้ Chipset บางยี่ห้อ ในขณะที่บาง Chipset ไม่มีปัญหานี้) รวมถึง SSD

    ยังมีอายุการใช้งานที่จำกัด หากมีการเขียนไฟล์บ่อยๆ จะทำให้อายุ SSD สั้นลง (แต่จากการทดสอบทั่วไป พบว่าหากเขียนวันละ 10G จะอยู่ได้ถึง 10 ปี)

    ทำให้เรามักจะใช้ SSD เป็นที่เก็บ OS และไว้รันโปรแกรมมากกว่า


    5. การติดตั้ง



    การติดตั้ง SSD ก็ไม่ต่างจากฮาร์ดดิสก์ปกติเลย โดย SSD จะมาในขนาด 2.5? ทำให้สามารถใส่ได้ทั้ง Laptop

    และเครื่อง Desktop (ซึ่งมักจะมีถาดแปลง 2.5? -> 3.5? มาให้) แต่เมื่อติดตั้งเสร็จ ต้องไม่ลืมไปตั้งค่าใน SATA Setting

    ใน BIOS ให้เป็น AHCI ทุกครั้งเมื่อต้องการใช้ SSD ไม่งั้นประสิทธิภาพที่ได้รับอาจจะไม่เต็มที่

    ในราคาที่ปัจจุบันก็ไม่ได้แพงเท่าไหร่ หากอยากได้ประสบการณ์ในการใช้งานที่เร็วขึ้น อาจจะลองใช้ SSD 64G หรือ 128G

    ไว้สำหรับเป็น OS หลัก ซึ่งรับรองว่าจะเห็นผล ตั้งแต่ครั้งแรกในการเริ่มใช้งานแน่นอนครับ



    อยากได้ SSD ที่เร็วและใช้งานบนพีซีให้สะดวกกว่าเดิม เลือกแบบไหน




    1.แบบแรกซื้อ SSD มาต่อ RAID แบบนี้เป็นวิธีการแบบกำปั้นทุบดิน แต่ให้ผลได้ดี ด้วยการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับ SSD ลูกใหม่ แล้วนำมาต่อ RAID 0 เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น จะสูงกว่าเดิมมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ SSD พื้นฐานที่ใช้อยู่เดิม แม้ความเร็วจะไม่ได้สูงขึ้นเป็นเท่าตัวก็ตาม แต่ตัวเลขที่ได้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แม้ความจุจะยังเท่าเดิมก็ตาม รวมถึงสิ่งได้กลับมาอีกอย่างก็คือ หากไม่ต้องการเพิ่มความเร็ว ก็นำมาใช้ในการขยายพื้นที่ให้มากขึ้นหรือใช้สำหรับสำเนาไฟล์ ด้วยการต่อ RAID ทำงานในแบบ Mirror นั่นเอง



    2.แบบที่สอง เลือก SSD ในบบ PCI-Express เป็นทางออกที่มีความโดดเด่นน่าใช้มากขึ้น เนื่องจากเป็นการใช้ SSD บนอินเทอร์เฟสแบบการ์ด แทนแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ปกติที่เชื่อมต่อผ่าน SATA ซึ่งบางรุ่นก็มาพร้อมฟีเจอร์ RAID ที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง อย่างเช่น OCZ RevoDrive ที่มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 128GB ไปจนถึงระดับ Terabyte พร้อมการต่อ RAID ภายในให้ความเร็วในการ Read/ Write สูง บางรุ่นสูงกว่า 1000MB/s เลยทีเดียว เช่น RevoDrive 3 x2 เมื่อทำงานผ่านสล็อต PCI-Express ก็ยิ่งทำให้อัตราการรับ-ส่งข้อมูลรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาค่าตัวก็สูงจนน่าใจหาย



    3.แบบที่สาม M.2 หรือ M.2 SATA SSD เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้การใช้งาน SSD ได้ดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อมต่อบนสล็อตของเมนบอร์ด แต่ยังอยู่บนพื้นฐานของ SATA 6Gb/s ซึ่งคงต้องบอกว่าแม้จะไม่ได้ให้ความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้นแบบโดดเด่นเห็นได้ชัด แต่ก็ให้ความคล่องตัวในการทำงานที่ดี เพียงแต่ว่า เมนบอร์ดที่มีสล็อตสำหรับ M.2 SATA เพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่รองรับ ส่วนใหญ่จะเป็นเมนบอร์ดรุ่นท็อปและล่าสุดคาดว่าจะได้เห็นบนเมนบอร์ด Intel 9 series มากยิ่งขึ้น อีกทั้งความจุอาจจะยังไม่สูงมาก



    4แบบที่สี่ M.2 SSD PCI-Express ในแบบดังกล่าวนี้ เป็นรูปแบบที่น่าสนใจและคล้ายคลึงกับแบบ SSD PCI-Express เพียงแต่ในแบบดังกล่าวนี้จะเป็นการต่อ SSD ในแบบ M.2 ต่อเข้ากับสล็อตบนตัวการ์ด จากนั้นต่อการ์ดเข้าไปที่สล็อต PCI-Express อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งแบบ PCI-Express x2 และบางรุ่นในปัจจุบันรองรับในรุ่น x4 ที่เป็นการเพิ่มอัตราการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น Plextor?s next-gen M6e M.2 2280 PCIe SSD ซึ่งเป็นการ์ดขนาดเล็ก เชื่อมต่ออินเทอร์เฟส PCI-Express x4 และมีสล็อต M.2 เพื่อใช้ติดตั้ง SSD M.2 โดยมีอัตราการอ่านและเขียนข้อมูลที่รวดเร็ว รวมถึงความจุที่ยังไม่สูงมากนัก ข้อดีอยู่ที่เราสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรด M.2 SSD ได้ตามต้องการ

    สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ที่กำลังมองหา SSD ที่ให้ความเร็วและความยืดหยุ่นที่มากขึ้นในการใช้งาน รวมถึงมีความคุ้มค่าและเหมาะสม เพราะบางแบบมีค่าใช้จ่ายสูง แต่บางแบบก็ต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดเฉพาะรุ่น แต่บางแบบก็เหมาะกับการใช้งานแบบสลับสับเปลี่ยนได้สะดวกขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เองว่าต้องการในแบบใด


    การเลือกซื้อ SSD มาเปลี่ยนชีวิตให้เร็วปี๊ดกันเถอะ



    หลายๆ ครั้งที่คอมพ์ของเราช้า ทำงานไม่ได้ดั่งใจมีสาเหตุมาจากฮาร์ดดิสก์ เพราะเมื่อเทียบกับฮาร์ดแวร์อื่นๆ แล้วฮาร์ดดิสก์ถือว่าช้ามากและมักเป็นคอขวดทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลง สมัยก่อนมีวิธีแก้ปัญหานี้ 2-3 ทาง เช่น เปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดดิสก์ที่เร็วขึ้นหรือทำ RAID แต่สมัยนี้เรามีทางออกอีกทางหนึ่งคือ Solid-State Drive หรือ SSD นั่นเอง วันนี้ PCToday จะมาแนะนำวิธีเลือกซื้อ SSD แบบง่ายๆ รวมถึงทิปส์เล็กๆ น้อยๆ อีกด้วย



    Intel ซีรี่ส์ 9 ก็วางขายกันให้พรึ่บแล้ว น่าสนใจตรงที่หลายๆ รุ่นมีพอร์ตรุ่นใหม่อย่าง NGFF (M.2) ซึ่งใช้อินเทอร์เฟสใหม่อย่าง SATA Express ให้ด้วย ฮาร์ดแวร์ที่จะได้ประโยชน์จากพอร์ตใหม่ๆ เหล่านี้สูงสุดก็หนีไม่พ้น SSD นั่นเองครับ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะความนิยมและความต้องการใช้ SSD สูงขึ้นมาก และเทคโนโลยีของ SSD ก็พัฒนามากทีเดียว อย่างความจุนั้นก็มีถึงหลัก Terabyte แล้ว ส่วนความเร็วก็ทะลุ 1GB/s กันไปเรียบร้อยและอาจจะถึง 2GB/s ในเร็วๆ นี้

    อยากเล่น SSD ต้องเริ่มยังไง

    แน่นอนว่า SSD รุ่นท็อปที่ความจุสูงๆ หรือเร็วมากๆ นั้นราคาก็ยังถือว่าแพงกว่าฮาร์ดดิสก์ แต่ SSD ก็มีข้อดีเรื่องการประหยัดพลังงาน ความร้อนน้อยกว่า และกินพื้นที่น้อยกว่าด้วย สำหรับลูกค้ากลุ่มองค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ แล้วข้อดีเหล่านี้ช่วยให้ประหยัดงบ ประหยัดต้นทุนไปได้แยะ

    แล้วสำหรับคนธรรมดาทั่วไปล่ะ?ราคาไงครับ SSD สำหรับ Consumer นั้นราคาลดลงมาเยอะมาก อย่างความจุขั้นต่ำที่ผมมักจะแนะนำคือ 120GB นั้น ราคาก็อยู่ราวๆ 3 พันบาทเท่านั้น จริงอยู่ที่ราคาขนาดนี้เอาไปซื้อ 1-2TB ได้สบายๆ แต่เชื่อเถอะครับว่าใครที่ได้ลองใช้ SSD แล้วจะไม่อยากกลับไปใช้ฮาร์ดดิสก์ การเลือกซื้อ SSD นั้นไม่ยากเลยเพียงแค่เราทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว


    Controller ตัวชี้ชะตาสถียรภาพและความแรง

    ถ้าซีพียูเป็นสมองของคอมพ์ล่ะก็ Controller ก็คือสมองของ SSD คงจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าศูนย์กลางที่แท้จริงของ SSD คือตัว Controller ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่าง หลักๆ แล้ว Controller ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างชิปข้อมูลกับคอมพ์ และดูแลจัดการการทำงานของ SSD ทั้งหมดไล่ตั้งแต่เข้า/ถอดรหัส, จัดการแคช, เก็บไฟล์ขยะ, จัดการ Bad block (คล้ายๆ Bad sector ใน HDD) ฯลฯ Controller มีความสำคัญทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เพราะเฟิร์มแวร์ของ Controller เป็นตัวสั่งการให้ Controller ทำงาน



    ฉะนั้นแล้วการเลือกซื้อ SSD นั้นต้องพิจารณา Controller ว่าเป็นของบริษัทไหน SSD บางยี่ห้อมี Controller เป็นของตนเอง (เช่น Intel, Samsung) ผู้ผลิต SSD ที่เหลือส่วนใหญ่ใช้ Controller ของบริษัทอื่น (Third-party) Controller ดังๆ ก็เช่น Marvell, SandForce, JMicron โดยมากแล้วบริษัทที่เป็นเจ้าของทั้ง SSD และ Controller มักจะผลิต SSD ที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง แต่ SSD ดีๆ ที่ใช้ Controller แบบ Third-party ก็มีไม่น้อย SSD ที่ใช้ Controller SandForce (โดยเฉพาะรุ่น 2281) ถือว่าเร็วพอสมควรและมีความน่าเชื่อถือสูง แต่หลายบริษัทหันมาใช้บริการ Marvell ซึ่งใหม่กว่า ฟีเจอร์เยอะกว่า และให้ผู้ผลิต SSD ทำเฟิร์มแวร์แบบ Custom ได้ด้วย

    ปล. เรื่อง Controller แนะนำกระทู้นี้ http://www.overclockzone.com/forums/...-SSD-vs-SATA-3

    ชิป NAND

    SSD นั้นเปรียบได้กับแฟลชไดรฟ์เพียงแต่ดีกว่าและซับซ้อนกว่า ที่เหมือนกันคือมันเก็บข้อมูลบนชิป NAND (หน่วยความจำแบบแฟลชประเภทหนึ่ง) อันกระติ๊ด แต่ชิป NAND บน SSD นั้นมีคุณภาพและอายุการใช้งานสูงกว่าในแฟลชไดรฟ์มาก ชิป NAND เหล่านี้แม้มีหน้าที่เพียงแค่เป็นที่เก็บข้อมูลแต่ก็มีผลต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของ SSD มากเลยทีเดียว เช่น NAND แบบ SLC มีอายุการใช้งานยาวกว่า เสถียรกว่า และเขียนได้เร็วกว่าแบบ MLC

    ตามธรรมชาติของ I/O เมื่อมีอุปกรณ์แล้วก็ต้องมี Controller เพื่อมาควบคุมการทำงานอีกที ทีนี้ตัว SSD ก็ต้องมี Controller เพื่อควบคุมการอ่าน/เขียนข้อมูลลงไปใน Flash Memory ตัว Controller เจ้าดังๆที่นิยมใช้กันใน SSD ก็มีอย่างเช่น Indilinx, Marvell, Samsung, Sandforce ซึ่งแต่ละตัวก็มีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ถ้า Controller มีทำงานปกติก็ดีไป แต่ถ้าเจอตัวที่หลุด QC มาหรือโดนล็อตที่มีปัญหาเมื่อไร บอกได้เลยว่าซวย! ปัญหาที่เจอบ่อยกับ SSD ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตัว Controller ก็มีอาทิ ความเร็วตก, Random Freeze บางทีขึ้นจอฟ้าอีก ? -? เจ้าที่มีปัญหาบ่อยๆก็เป็น Sandforce นี่แหละ?




    ระยะหลังมานี้ผู้ผลิต SSD ส่วนใหญ่หันมาใช้ชิป NAND แบบ MLC (ยกเว้น Samsung ซึ่งเน้นใช้แบบ TLC) เพราะราคาถูกกว่า SLC ราว 3 เท่าและยังมีความจุ (ต่อเซลล์หรือตร.มม.) สูงกว่า SLC เป็นเท่าตัว จึงสามารถผลิต SSD ที่ความจุสูงขึ้นแต่ราคาถูกลงได้ ปัญหาเรื่องอายุการใช้งานนั้นและความเสถียรมีการแก้ไขโดยใช้ซอฟต์แวร์และอัลกอริทึ่มเข้ามาช่วย



    ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ควรดูเวลาเลือกซื้อ SSD คือมาตรฐานของ NAND ที่ใช้ซึ่งหลักๆ ก็มี ONFi (ควรเป็น 2.x ขึ้นไป) และ Toggle Mode (ควรเป็น 2.0) ตรงนี้อาจจะต้องค้นข้อมูลกันลึกหน่อยหรือต้องพึ่งเว็บรีวิวเป็นหลัก ที่เตือนเพราะว่ามีกรณีเกิดขึ้นแล้วคือ Kingston SSDNow V300 ล็อตแรกๆ นั้นใช้ NAND มาตรฐาน Toggle Mode 2.0 แต่ล็อตหลังๆ มาจู่ๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ NAND อีกยี่ห้อที่ใช้มาตรฐานต่ำกว่ามาก (น่าจะเป็น ONFi 1.x) โดยไม่มีการประกาศ ผลคือแม้จะเป็นยี่ห้อ/รุ่นเดียวกันแต่ความเร็วแตกต่างกันมาก




    ความจุ

    อย่างที่บอกไปนะครับว่าเดี๋ยวนี้ SSD มีความจุไม่แพ้ฮาร์ดดิสก์เลย ความจุ SSD ในปัจจุบันก็มีตั้งแต่ไม่กี่สิบ GB ไปจนถึง 4TB ก็มี แต่ขนาดแนะนำสำหรับยูสเซอร์ทั่วไปก็อยู่ราวๆ 120/128GB ไปจนถึง 480/512GB ส่วนใหญ่แล้วความจุของ SSD นั้นมีผลต่อประสิทธิภาพ/ความเร็วของ SSD ด้วย สังเกตว่าถ้าเป็น SSD ยี่ห้อ/รุ่นเดียวกันโมเดลที่ความจุสูงกว่ามักจะมีความเร็วอ่าน/เขียนสูงกว่า (ติ๊ต่างว่าให้ตัวแปรอย่างอื่นเหมือนกันหมด) สาเหตุหลักมาจากจำนวนชิป NAND ของรุ่นความจุสูงมีมากกว่าซึ่งทำให้การทำงานในแบบขนานออกมาได้ประสิทธิภาพสูงกว่า (นึกถึงการทำ RAID 0 ? stripping) แต่ในความเป็นจริงมันมีคำอธิบายอื่นๆ อีก เช่น TRIM, Garbage collection, Erase block เป็นต้น


    Over-provisioning




    TRIM ผู้ช่วยคนสำคัญ

    TRIM เป็นคำสั่งคอมพ์ ประเภทหนึ่งภายใน SSD หรือ OS ส่งไปยัง SSD เพื่อบอกให้ลบข้อมูลจากบล็อคที่ไม่ใช้งาน ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าทั้งฮาร์ดดิสก์และ SSD มีหลักการทำงานคล้ายกัน คือเมื่อเราลบไฟล์หรือข้อมูลใดๆ ไป ไฟล์หรือข้อมูลนั้นๆ ไม่ได้หายไป ณ ตอนนั้น แต่ฮาร์ดดิสก์/SSD จะมาร์คเซ็คเตอร์หรือบล็อคที่มีไฟล์/ข้อมูลนั้นอยู่ว่าเป็นขยะและจะลบจริงภายหลัง (เมื่อได้รับคำสั่งให้ลบหรือเมื่อมีการเขียนข้อมูลใหม่ทับ)

    เวลาลบข้อมูลไว้ว่าจะเป็น HDD หรือ SSD ส่วนที่โดนลบคือชื่อไฟล์ ข้อมูลจริงๆยังไม่ถูกลบออกไป ซึ่งใน SSD ยิ่งมีเนื้อที่น้อยอยู่แล้ว ก็ทำให้เนื้อที่โดนกินไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนลดลงมาก ดังนั้นใน SSD จึงในฟังก์ชั่นชื่อว่า TRIM เพื่อลบข้อมูลที่เรากด Delete ออกจากที่เก็บข้อมูลจริงๆ แต่อันนี้ลบแล้วลบเลยนะ กู้ไม่ได้ Smile with tongue out หน้าที่ของ TRIM นอกจากจะช่วยคืนเนื้อที่เก็บข้อมูลแล้วยังช่วยป้องกันการอ่าน/เขียนซ้ำๆลงบน Cellๆ เดียว จึงช่วยยืดอายุของ SSD ได้อีกหน่อย



    ทีนี้ถ้าไม่มีคำสั่ง TRIM ล่ะก็ SSD ก็จะเต็มไปด้วยบล็อคที่เป็นขยะ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพเพราะก่อนที่จะเขียนข้อมูลใหม่ทับต้องมีการลบข้อมูลเก่าทิ้งเสียก่อนทุกครั้งไป SSD หรือ OS ที่รองรับ TRIM จะคอยส่งคำสั่ง TRIM ให้ SSD จัดการลบบล็อคที่ไม่ใช้งาน (แต่มีข้อมูลขยะอยู่) เพื่อที่จะได้พร้อมเขียนข้อมูลใหม่ เท่าที่ทราบ SSD แทบทั้งหมดรองรับ TRIM ดังนั้นที่เหลืออยู่ที่ OS (Windows 7 ขึ้นไป, OS X 10.6 ขึ้นไป และ Linux kernel 2.6.33 ขึ้นไปรองรับ TRIM แต่ในกรณีของ Linux อาจจะต้องเปิดใช้งานเอง)


    พอร์ตที่ใช้

    SSD ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นแบบ SATA และ mSATA ซึ่ง Transfer rate อยู่ตั้งแต่ 300MB/s ? 500MB/s ขึ้นไป พอร์ต SATA 3Gb/s หรือ SATA 2.0 รองรับความเร็วสูงสุด (ในทางทฤษฎี) ไม่เกิน 2.4Gb/s หรือ 300MB/s เท่านั้น ดังนั้นแนะนำว่าถ้าเป็น SSD แบบ SATA ก็ควรจะใช้กับพอร์ต SATA 6Gb/s (ซึ่งรองรับได้ถึงราวๆ 600MB/s) ส่วน SSD แบบ mSATA นั้นก็เช่นเดียวกันคือควรใช้กับพอร์ต mSATA แบบ 6Gb/s นี่สำหรับ SSD ที่ใช้เทคโนโลยี SATA นะครับ



    SSD รุ่นต่อๆ ไปจะเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีจากอินเทอร์เฟซอื่นๆ เช่น PCI Express และ SATA Express ในรูปของ PCIe SSD, NGFF (M.2) SSD ซึ่งสามารถรองรับ Transfer rate ได้สูงกว่า SATA มาก อย่าง SATA Express นั้นก็รองรับได้ถึง 1-2GB/s (เท่ากับ PCIe 2.0 x2-x4) หรือ 4-8GB/s ในกรณีของ PCIe 3.0 แต่ยูสเซอร์ทั่วไปคงไม่ได้ใช้ SSD แบบ PCIe กันซักเท่าไหร่ (ส่วนใหญ่แพงมาก) ส่วน M.2 SSD นั้นกำลังทยอยมาครับ


    MTBF เวลาที่ไม่น่ากังวล

    มานำกันก่อนว่า MTBF คืออะไร, MTBF ย่อมาจาก Mean time between failures แปลง่ายๆ ระยะเวลาเฉลี่ยคิดตั้งแต่เริ่มใช้งานจนพังไป ค่า MTBF ทั่วๆไปก็อยู่ประมาณ 1 ล้านชั่วโมง คิดง่ายๆถ้าใช้วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน กว่า SSD จะพังฟาดไป 200 กว่าปี

    อย่าเพิ่งดีใจคิดกว่า เฮ้ย! 200 ปีกว่าจะพัง ค่า MTBF ของ SSD ไม่เหมือนกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ย้อนกลับมาเรื่องพื้นฐานในวิธีการเก็บข้อมูลของ SSD คือใน Chip ความจำแต่ละตัวจะเก็บข้อมูลเป็น Block หรือ Cell ในแต่ละ Cell ที่เก็บข้อมูล จะมีระยะเวลาในการเขียนทับจุดเดิมที่จำกัด อาจจะ 10,000 ครั้ง 100,000 ครั้ง เมื่อเขียนลงไปในจุดเดิมๆจนครบตามชนิดของ Memory ก็จะไปทำให้ Cell นั้นๆพังไปใช้ไม่ได้อีก ระยะเวลากว่าที่ Cell นั้นๆจะพังอาจจะกินเวลา 1 ปี 3 ปี หรืออาจจะแค่เดือนเดียวก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง

    เพิ่มเติม : http://www.overclockzone.com/forums/...-1304179.html?

    สรุปง่ายๆว่า : ใช้ไปเหอะ ดูระยะเวลารับประกันก็พอ? ส่วนถ้าเอาไปใช้หนักๆอย่างยัดเข้า Server ที่อ่าน/เขียนข้อมูลไว้ว่ากันอีกที


    IOPS ดูไว้ก็ดี

    อีกค่าหนึ่งของ SSD ก็คือ IOPS ? Input/Output Operations Per Second ก็คือปริมาณการอ่าน/เขียนไฟล์ต่อ 1 วินาที ใน SSD แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีค่าไม่เท่ากัน แถมรุ่นเดียวกันแต่คนละความจะก็ไม่เท่ากันอีก



    สรุปสั้นๆ : สำหรับ Home User ค่านี้ไม่จำเป็นมากเท่าไรนัก เอาไปดูค่า Transfer Rate ดีกว่าแต่ถ้า Server ก็คิดดูอีกที?


    Defragment ไม่จำเป็นอีกต่อไป


    ใน HDD เราทำ Defragment เพื่อจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้เร็วๆ แต่ใน SSD ที่มีความเร็วสูงอยู่แล้ว Defragment ไม่จำเป็นอีกต่อไป นอกจากจะไม่ช่วยให้เร็วขึ้นแล้ว ยังไปลดอายุของ SSD ซะอีก เพราะต้องไปอ่าน/เขียนไฟล์จำนวนมาก


    Frimware OS ของ SSD


    อย่าคิดว่าคอมพิวเตอร์จะมี OS ได้อย่างเดียว SSD ก็มีด้วย Frimware คอยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของตัว SSD ปัญหาส่วนใหญ่ของ SSD สามารถแก้ไขได้ด้วยการอัพเดต Frimware ใหม่ ฉะนั้นการอัพเดต Frimware เพื่อให้ SSD ทำงานได้ดีขึ้นก็ควรทำเช่นกัน


    Secure Erase ปีละครั้งก็ยังดี


    เวลาจะเขียนข้อมูลลงไปใน SSD ตัว Controller จะต้องวิ่งเข้าไปดูว่า Cell หรือ Block ไหนว่างๆ เพื่อจะเขียนข้อมูลลงไปได้ แต่บางทีตัว Controller เจอ Cell ที่ว่างนะ แต่เข้าไปเขียนไม่ได้ อาจจะติดปัญหาอะไรบางอย่างก็ไม่รู้ การทำ Secure Erase จะเข้าไปเคลียร์ให้แต่ละ Cell พร้อมใช้งาน เพื่อให้ Controller สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้



    Last edited by S.M.TRUE; 3 Sep 2014, 19:43:30.

  • #2
    ได้ SSD มาแล้ว?เริ่มต้นชีวิตใหม่ยังไงดี


    ถ้าลงวินโดวส์ใหม่

    โดยส่วนใหญ่ผมจะแนะนำให้ลงวินโดวส์ใหม่เพราะนอกจากจะรู้สึกดี (เพราะเหมือนได้เริ่มอะไรใหม่ๆ) แล้วมันได้ประสิทธิภาพและความเสถียรกว่าการโคลนฮาร์ดดิสก์แน่ๆ ผมคงไม่อธิบายละเอียดนะครับเพราะลงวินโดวส์ไม่ใช่เรื่องยากอยู่แล้วและเดี๋ยวจะยาวไป

    1. เหลือไว้แค่ไดรฟ์ SSD (กับ Optical)

    ถ้ามีฮาร์ดดิสก์หรือ SSD ลูกอื่นๆ อยู่แนะนำให้ถอดสายไฟสายดาต้าออกก่อนนะครับ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ได้ฟอร์แมทหรือลงผิดไดรฟ์ นอกจากนี้บางที BIOS/UEFI และวินโดวส์ก็อาจเกิดอาการง๊องแง๊งถ้ามีไดรฟ์อื่นอยู่ด้วย ดังนั้นถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง?เหลือไว้เฉพาะ SSD กับไดรฟ์ดีวีดี/บลูเรย์ดีกว่า หรือถ้าติดตั้งด้วยแฟลชไดรฟ์ก็เหลือแต่ SSD อย่างเดียวเลย

    2. อย่าลืมตั้งโหมด SATA เป็น AHCI



    พีซีโดยเฉพาะเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊กจำนวนไม่น้อยตั้งโหมด SATA เป็น IDE มาจากโรงงานซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เสียโอกาสใช้ฟีเจอร์ AHCI หลายอย่างเช่น การจัดการพลังงาน ในบางครั้งเราจำเป็นต้องใช้โหมด AHCI เพื่อเปิดใช้งาน TRIM ด้วย


    ถ้าโคลนวินโดวส์

    1. เหลือไว้แค่ SSD กับไดรฟ์วินโดวส์เดิม

    ในการโคลนนั้นเราก็ควรจะเหลือไดรฟ์ที่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด (ซึ่งก็คือ 2) แล้วใช้โปรแกรมโคลนไดรฟ์จากตัวที่มีวินโดวส์เดิมไปยัง SSD โดยแนะนำให้ใช้โปรแกรมฟรีแวร์ชื่อ XXClone ครับ ดาวน์โหลดได้ที่ www.xxclone.com

    2. โคลนไดรฟ์



    การใช้ XXClone นั้นง่ายมากครับ หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วรันโปรแกรม เลือกไดรฟ์ต้นทาง ปลายทางให้ถูกต้อง แล้ว Start รอซักครู่ (ราว 15-30 นาที) ก็เสร็จ หลังจากนั้นให้เข้าไปเซ็ท BIOS ให้บูทจาก SSD เท่านั้นเองครับ

    3. อีกทางเลือก?ใช้โหมด Recovery



    โน้ตบุ๊กหลายรุ่นโดยเฉพาะที่มีวินโดวส์แท้ให้มาแต่ไม่มีแผ่น อาจจะไม่สามารถโคลนไดรฟ์ได้ แนะนำให้ใช้โปรแกรม Recovery แล้วสร้างแผ่น Recovery หรือแฟลชไดรฟ์ Recovery จากนั้นให้สลับฮาร์ดดิสก์เป็น SSD หรือเหลือไว้แต่ SSD อย่างเดียว แล้วรันโปรแกรม Recovery จากสื่อที่ทำไว้เมื่อครู่


    ใช้ชีวิตติด SSD

    สำหรับคนที่เปลี่ยนมาใช้ SSD แทนที่ฮาร์ดดิสก์ 100% (มีไดรฟ์เดียว) เลย ก็ต้องมีการอพยพไฟล์จากฮาร์ดดิสก์มายัง SSD กัน ไฟล์ของ User วินโดวส์นั้นจะอยู่ที่ (ไดรฟ์วินโดวส์?มักจะเป็น C/Users/(ชื่อ User) ซึ่งเราสามารถก๊อปปี้ ไปไว้ยังโฟลเดอร์ User ของเราใน SSD ได้เลย




    อีกกรณีหนึ่งคือคนที่ซื้อ SSD มาใช้ร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยใช้ SSD เป็นไดรฟ์ OS ส่วนข้อมูลอื่นๆ อยู่ในฮาร์ดดิสก์เช่นเคย ตรงนี้เราจะย้ายข้อมูลของ User เหมือนตะกี้ก็ได้ อีกทางหนึ่งที่ไม่ต้องมีการย้ายไฟล์ใดๆ คือใช้ Library โดยพิมพ์ libraries ใน Start Menu หรือ Start Screen จากนั้นเลือกหมวดที่ต้องการ (Document, Music, Pictures, Videos) คลิกขวาเลือก Properties แล้วเลือก Include a folder หรือ Add แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการให้จัดอยู่ใน Library นั้นๆ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วเวลาเราเข้าไปที่ Library นั้นก็จะโชว์ไฟล์จากโฟลเดอร์ที่เราเพิ่มเข้าไปด้วย


    3 ขั้นตอนยืดอายุการใช้งาน SSD ให้อยู่กับเราได้นานกว่าเดิม

    ขึ้นชื่อว่า SSD หรือ Solid-State Drive ที่เป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาจาก Harddisk Drive ที่เป็นจานแม่เหล็กในอดีต ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าแต่ก็ต้องการการดูแลที่ดีกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปเช่นกันซึ่งทางทีมงานเองก็เตรียมวิธีการดูแล SSD แบบง่ายๆ มาฝากกันในทิปครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้ยืดอายุการใช้งานของ SSD ไปได้นานขึ้น

    ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้วิธีการปรับแต่งเครื่องของเราเพื่อยืดอายุการใช้งาน SSD นั้นต้องเท้าความกันก่อนว่า SSD นั้นเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้บน Flash Memory (คิดง่ายๆ ก็คล้ายๆ กับแฟลชไดรฟ์ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเซฟงานนั่นเอง) ซึ่งอายุการใช้งานของ Flash Memory นั้นขึ้นอยู่กับ Cell ที่นำมาติดตั้งเอาไว้ด้านใน และ Cell หนึ่งๆ จะมีอายุการเขียนบันทึกไฟล์ราว 10,000 ครั้ง แต่ใน SSD หนึ่งลูกนั้นจะมี Cell ติดตั้งเอาไว้หลายชิ้นด้วยกัน ทำให้อายุการใช้งานนั้นมากเกิน 1 ล้านครั้งขึ้นไป แต่ถ้าเราดูแลรักษาไม่ดีก็จะทำให้ Cell นั้นเสื่อมและเกิดความเสียหาย ส่งผลให้ข้อมูลเราหายได้เช่นกัน

    เกริ่นนำกันมาเพียงพอแล้ว เราไปชมวิธีการปรับแต่ง Windows ของเราให้ถนอมและยืดอายุการใช้งาน SSD ของเรากันเลยดีกว่า



    1.ไม่ใช้แล้ว Hibernation สาเหตุที่เราไม่ใช้งานโหมดนี้เพราะว่าเมื่อเราตั้งให้เครื่องอยู่ในโหมด Hibernation นั้น ข้อมูลต่างๆ และโปรแกรมต่างๆ ที่เราเปิดค้างเอาไว้ก่อนที่จะสลับเข้าสู่โหมด Hibernation นั้นจะถูกนำมาพักเอาไว้ที่ SSD ซึ่งถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์แบบธรรมดานั้นก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็น SSD นั้นจะทำให้อายุของ Cell ลดลง สำหรับการปิดโหมด Hibernation ง่ายๆ นั้น ให้เราเปิด Control Panel แล้วเลือก Hardware and Sound > Power Option > System Settings แล้วเปลี่ยนจากโหมด Hibernation เป็น Sleep หรือ Do nothing แทนก็ได้ตามสะดวก




    2.ปิดการ Defragment ทิ้งไปได้เลย สิ่งสำคัญหนึ่งที่ผู้ใช้ SSD ห้ามทำคือการทำ Defragment เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของ Cell ลดลงเพราะปกติ SSD จะมี Controller เอาไว้จัดเรียงการเขียนไฟล์เพื่อบันทึกข้อมูลเก็บเอาไว้ใน SSD อยู่แล้ว ดังนั้นการ Defragment ก็จะเร่งความเสียหายให้ SSD มากขึ้นเท่านั้น โดยการปิด Defragment นั้นให้เราคลิกขวาที่ไดรฟ์ SSD ของเรา เลือก Properties > Tools ก่อนจะกดที่ปุ่ม Defragment Now (ในภาพนั้น Windows 8 จะเปลี่ยนชื่อเป็นคำสั่ง Optimise Drives) จากนั้นให้กดที่ Configure schedule? (หรือ Change Settings ของ Windows 8) แล้วติ๊กถูกช่อง Run on a schedule (recommend) ทิ้งไปแล้วกด OK จากนั้นก็ใช้งานได้ตามปกติ





    3ตั้งค่า TRIM สักหน่อย สิ่งหนึ่งตอนเราลบไฟล์แล้วยังสามารถกู้ไฟล์กลับมาได้นั้น เพราะตอนลบไฟล์แล้วไฟล์นั้นๆ จะเสียแค่ชื่อของไฟล์ไปเท่านั้น แต่การเปิดระบบ TRIM เอาไว้จะทำให้ตอนเราลบไฟล์แล้วไฟล์นั้นๆ จะหายไปโดยสมบูรณ์ไม่สามารถกู้คืนมาได้ แต่จะรักษาอายุการใช้งานของ SSD ได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการเปิด TRIM นั้นเราต้องเข้าสู่หน้า Command Prompt ก่อน โดยกด Windows+R พิมพ์คำว่า cmd แล้วหน้า Command Prompt จะเปิดขึ้นมา จากนั้นให้เราพิมพ์คำว่า ?fsutil behavior query disabledeletenotify? จากนั้น SSD จะแสดงค่าว่าตอนนี้ TRIM ของเราเป็นแบบไหน ถ้าเป็น 0 แสดงว่า TRIM ถูกเปิดใช้งานอยู่ แต่ถ้าเป็น 1 แสดงว่า TRIM ยังไม่เปิดใช้ ซึ่งถ้าเราต้องการเปิดใช้งานล่ะก็ ให้เราพิมพ์ ?fsutil behavior set disabledeletenotify 0? แล้วระบบจะแจ้งการเปิดใช้งาน TRIM แต่ถ้าใครต้องการปิด TRIM กลับไปเหมือนเดิมก็พิมพ์คำสั่งเมื่อครู่อีกครั้ง แต่เปลี่ยนจากเลข 0 เป็นเลข 1 แทน


    เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถยืดอายุให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม ถ้าโน้ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์พีซีของใครติดตั้ง SSD เอาไว้ก็สามารถนำวิธีการดังกล่าวนี้ไปปรับใช้กับเครื่องกัน จะได้ไม่ต้องเสื่อมแล้วต้องเปลี่ยน SSD กันบ่อยๆ


    สำรองไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ SSD ได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Comodo Backup

    การแบ็กอัพไฟล์หรือการสำรองไฟล์ เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าให้ความปลอดภัยในการใช้งานข้อมูลมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ในเครื่อง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสีย ยิ่งการเก็บไว้ในไดรฟ์ที่ติดตั้งระบบด้วยแล้ว ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญด้วยการที่ปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์แบบใหม่อย่าง SSD หรือ Solid State Drive ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ในลักษณะของNAND Flash ที่ทราบกันดีว่า หากเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อใด โอกาสจะแก้ไขหรืแอกู้ข้อมูลกลับมาได้นั้นยากเย็นทีเดียว หากมีการเตรียมตัวที่ดีแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ดีทีเดียว

    ส่วนวิธีการนั้นก็ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีเดิมๆ ง่ายๆ ก็คือ การ Copy ด้วยตัวเอง ด้วยการสั่ง Copy file ลงในอุปกรณ์ที่ต้องการจัดเก็บ อย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอกหรือจะใส่ไว้ในแผ่นดีวีดีก็ได้ แต่วิธีการนี้ดูจะช้าและไม่แน่นอน เพราะจะใช้เวลาค่อนข้างนาน พอเริ่มขี้เกียจก็ไม่อยากทำ ซึ่งก็ดูจะไม่เกิดเป็นผลที่ชัดเจนนั่นเอง ดังนั้นอีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการ อย่างเช่น โปรแกรม Comodo Backup ที่ใช้งานง่ายและมีแบบฟรีเวอร์ชันให้ใช้งานอีกด้วย



    1.เริ่มแรกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม Comodo Backup มาติดตั้งไว้ในเครื่องเสียก่อน โดยจะมีฟังก์ชันในการแบ็คอัพปกติและการแบ็คอัพร่วมกับระบบ Cloud storage แต่ต้องมีการสร้าง Account สำหรับการอัพโหลดและจัดเก็บ



    2.เมื่อเข้าสู่หน้าโปรแกรม ควรเข้าไปตั้งค่าสิ่งต่างๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน ด้วยการคลิกที่ Setting ที่แถบเมนูด้านบนขวา จากนั้นตั้งค่าในส่วนของ Backup Location ด้วยการคลิกที่ Browse? แล้วเลือกไดรฟ์และโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บ ถ้าในกรณีที่ต้องการเก็บลงในฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอก ก็ให้ต่อฮาร์ดดิสก์เสียก่อน



    3.เลือกฮาร์อดิสก์หรือพื้นที่ในการจัดเก็บ Backup file เพื่อกำหนดให้ระบบเข้าสู่การจัดเก็บเป็นค่าปกติทุกครั้ง



    4.จากนั้นคลิกไปที่แถบ Backup ด้านขวามือของหน้าต่าง ให้เข้าไปกำหนดรูปแบบการแบ็กอัพหรือ Backup Type ในหัวข้อนี้ สามารถเลือกได้ว่าต้องการแบ็กอัพแบบใด มีให้เลือก 3 แบบคือ
    -Full แบ็กอัพข้อมูลทั้งหมดตามที่กำหนดไว้
    -Differential แบ็กอัพเฉพาะไฟล์ที่ไม่ได้มีแบ็กอัพไว้ในที่จัดเก็บ
    -Incremental แบ็กอัพเฉพาะไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเดต จากแบ็กอัพเดิมที่เก็บเอาไว้



    5.เสร็จแล้วลงมาที่ช่องด้านล่างในหัวข้อ Backup Format ซึ่งเป็นการเลือกรูปแบบในการจัดเก็บ ในที่นี้เลือกได้ตามใจชอบ ว่าต้องการทำเป็น CBU, Zip, ISO หรือเป็นแบบธรรมดาก็ได้เช่นกัน



    6.เลือกไดรฟ์ของไฟล์ต้นทางที่ต้องการจัดเก็บ โดยเลือกครั้งละหลายไดรฟ์หรือจะทีละไดรฟ์ก็ได้เช่นกัน จากนั้นคลิก Next



    7.เสร็จแล้วก็จะมาถึงขั้นตอนสุดท้าย ที่โปรแกรมจะจัดการให้ โดยจะกำหนดชื่อไฟล์ของตัว Backup ให้หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อและสถานที่จัดเก็บก็เปลี่ยนจากตรงนี้ได้ทันที



    8.นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการตั้งเวลาหรือ Schedule ในการจัดเก็บให้ระบบทำเป็นประจำอัตโนมัติ ก็สามารถเข้ามาตั้งได้ที่หัวข้อ Backup ด้านซ้ายมือ โดยเรามีหน้าที่ในการกำหนดช่วง วัน เวลาและความถี่ได้เอง เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ Save Schedule ได้ทันที


    เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่สามารถสร้างความปลอดภัยให้กับระบบข้อมูลของคุณ โดยเฉพาะคนที่ใช้ SSD ที่ไม่แน่ใจในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล Comodo Backup น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุณสำรองข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากทีเดียว
    Last edited by S.M.TRUE; 3 Sep 2014, 19:03:23.

    Comment


    • #3
      มีประโยชน์มากๆ ครับ

      ขอบคุณมากๆ ครับ

      Comment


      • #4



        ยังใช้จานหมุนอยู่เบย ^^

        Comment


        • #5
          ขอบคุณสำหรับการรวบรวมข้อมูลให้คนที่เริ่มได้อ่านทำความเข้าใจครับ

          Comment


          • #6
            Originally posted by oishizeed View Post
            มีประโยชน์มากๆ ครับ

            ขอบคุณมากๆ ครับ
            ขอบคุณครับ


            Originally posted by tawat_kun View Post
            ขอบคุณสำหรับการรวบรวมข้อมูลให้คนที่เริ่มได้อ่านทำความเข้าใจครับ
            ยินดีครับ

            เห็นหลายท่านถามกันเข้ามาเยอะ เลยรวบรวมข้อมูลมาให้ครับ ^^


            SSD ข้อแนะนำการซื้อ และใช้งานในวินโดวส์




            SSD เร็วแค่ไหน

            ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวนำเอาฮาร์ดดิสก์มาต่อเป็น Riad 0 เพื่อเพิ่มความเร็ว ซึ่งความเร็วที่ได้นั้นจะเร็วกว่าการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบปกติ แต่ถ้านำมาเทียบกับ SSD เพียงตัวเดียวโดยไม่ได้ต่อ Riad 0 จะเห็นว่าความเร็วของ SSD ก็ยังเร็วกว่ามาก ดังผลการทดสอบด้านล่างนี้ครับ


            ภาพวัดผลความเร็วฮาร์ดดิสก์ต่อ Riad 0 ในวินโดวส์ 8




            ภาพวัดผลความเร็ว SSD ในวินโดวส์ 8




            ทีนี้มาทดสอบความเร็วของ SSD ว่าได้ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเท่าไหร่ โดยจะใช้โปรแกรม AS SSD Benchmark ในการทดสอบ ความเร็วที่ได้จะเห็นว่า การอ่านได้ที่ 472 MB/s และเขียน 403 MB/s ซึ่งเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ทั้งแบบปกติและต่อ Riad 0 มาก




            ทดสอบการก็อปปี้ไฟล์ขนาด 5.3 GB จาก SSD ไปยังฮาร์ดดิสก์ปกติ




            ข้อสังเกต


            จะเห็นว่ากราฟในการก๊อปปี้ช่วงต้นสูงมาก ซึ่งวัดความเร็วได้เกือบ 400 MB/s ซึ่งน่าจะเป็นระบบการก็อปปี้ในวินโดวส์ที่ช่วงต้นนั้นจะก็อปปี้ข้อมูลจาก SSD ไปเก็บยังแรมแล้วเขียนลงฮาร์ดดิสก์ ต่อมาแคชในแรมถูกใช้หมดแต่ข้อมูลเขียนลงฮาร์ดดิสก์ไม่ทัน ความเร็วจึงลดลงตามปกติ สรุปก็คือ กราฟช่วงต้นนั้นไม่ใช่ความเร็วจริงเป็นเพียงความเร็วการอ่านข้อมูลจาก SSD ไปยังแรมเพื่อพักข้อมูลรอเขียนลงฮาร์ดดิสก์เท่านั้นครับ

            ทดสอบก๊อปปี้ไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ปกติมายัง SSD



            source : pssix


            ข้อควรรู้ก่อนซื้อ SSD มาใช้

            ความเร็วของ SSD (หากคุณซื้อมาใช้) แต่ละตัวจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกันแม้ว่าเป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น เมนบอร์ด(ยี่ห้อและชิปบนบอร์ด)และการตั้งค่า, ความจุที่เหลือ(ยิ่งใช้พื้นที่ใน SSD มากคะแนนยิ่งต่ำ) การเชื่อมต่อผ่านทาง SATA รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ภายในเครื่อง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะมากหรือน้อยกว่าของผม ดังนั้นก่อนซื้อ SSD ผมจึงขอเสนอแนะแนวทางในการตัดสินใจไว้ดังนี้


            [1] ดูสภาพของเครื่องคอมพ์คุณก่อน ตรวจดูว่าเมนบอร์ดต้องรองรับการเชื่อมต่อแบบ SATA III (6Gbps หรือ 750MBps) เนื่องจาก SSD จะวิ่งในความเร็วที่เกินกว่า SATA II (3Gbps หรือ 375MBps) ถ้าถามว่าเครื่องที่มีแต่พอร์ต SATA II จะติดได้หรือไม่ คำตอบคือ ซื้อมาติดได้ครับ แต่ความเร็วจะเร็วเท่ากับความเร็วสูงสุดของ SATA II ซึ่งได้ไม่เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็นของ SSD นอกจากนั้นควรตั้งค่า SSD เป็นแบบ AHCI ใน bios ด้วย ซึ่งโดยทั่วไปเมนบอร์ดที่ไม่เก่ามากนักก็จะตั้งค่านี้ได้อยู่แล้ว

            [2] SSD ความจุมากจะเร็วกว่า SSD ความจุน้อย การซื้อ SSD ความจุน้อยเช่น 60 GB ความเร็วที่ได้จะช้ากว่าขนาด 128 GB เนื่องจากยิ่ง SSD มีความจุมาก จำนวนช่องทาง (channels) ในการเข้าไปเขียนอ่านข้อมูลในชิปก็จะมากตามไปด้วย ซึ่งการอ่านเขียนข้อมูลใน SSD จะอาศัยช่องทางการเข้าถึงพื้นที่ข้อมุลในเวลาเดียวกันยิ่งมีช่องทางมากก็ยิ่งโอนถ่ายข้อมูลมากตาม

            [3] ชิปควบคุมการทำงานในตัว SSD มีผลต่อความเร็ว คุณจะเห็นว่า SSD ในตลาดมีหลากหลายยี่ห้อ บางอันก็ราคาถูกเมื่อเทียบกับอีกอันทั้งที่มีความจุเท่ากัน เนื่องจากบนตัว SSD จะมีชิปความคุมการทำงานเพื่ออ่านเขียนข้อมูล ตัวชิปดังกล่าวมีบริษัทผู้ผลิตอยู่ไม่กี่เจ้า (คล้ายๆ CPU ในคอมพ์) ซึ่ง SSD ที่มีราคาถูกมักจะเป็นชิปที่ประสิทธิภาพน้อย ตัวอย่างเช่น SSD 60 GB ที่คุณไปซื้อจากร้านมี 3 ยี่ห้อราคา ดังนี้ 1,900 ? 2,200 ? 2,600 (ราคาประมาณจากเวลาในเขียนบทความ อนาคตจะลดลงกว่านี้) โอกาสที่ SSD ราคา 1,900 จะมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นที่แพงกว่านั้นแทบเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขความเร็วการอ่านเขียนของ SSD ที่ระบุในสเปกนั้นเชื่อถือไม่ค่อยได้ เนื่องจากเป็นแค่ผลการทดสอบในแลปของผู้ผลิตเท่านั้น ไม่ใช่สภาพในการใช้งานจริง ดังนั้นหากไม่รู้ข้อมูลก่อนซื้อ ควรเลือกเฉพาะยี่ห้อที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ทั่วไป

            หมายเหตุ: ผู้ผลิตชิปควบคุม SSD จะจำหน่ายให้หลายบริษัทผู้ผลิต SSD เพื่อให้แต่ละบริษัทไปพัฒนาเฟิร์มแวร์อีกทอดหนึ่ง บางครั้งแม้ว่าจะมีชิปรุ่นเดียวกัน แต่มาจากผู้ผลิตคนละบริษัท SSD คุณภาพที่ได้ก็จะไม่เหมือนกัน


            การปรับแต่งเพื่อรีดประสิทธิภาพสูงสุดของ SSD
            [*] อย่าใช้พื้นที่ SSD จนใกล้เต็มเพราะประสิทธิภาพความเร็วจะลดลง
            [*] ฟีเจอร์ต่างๆ ในวินโดวส์เช่น System Restore และการจัดเก็บ temp ไฟล์ต่างๆ ควรย้ายไปเก็บยังฮาร์ดดิสก์แทน
            [*] เพื่อให้ความเร็วไม่ลดลงมาก SSD ควรใช้ลงวินโดวส์และโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้งานทั่วไป แต่หากเป็นไฟล์ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วในการอ่านมาก เช่น ไฟล์ภาพยนตร์, เพลง, รูปจากกล้องที่ถ่ายจากการไปเที่ยว ก็ควรเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์
            [*] SSD เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วในเกือบจะทันที ไม่ต้องเสียเวลาหมุนจานข้อมูลเหมือนฮาร์ดดิสก์ ดังนั้น SSD จึงไม่จำเป็นต้อง Defragment (การจัดเรียกข้อมูล)
            [*] การปรับแต่งอื่นๆ ในวินโดวส์ปกติเพื่อทำให้เครื่องบูตเร็วขึ้น หรืออ่านไฟล์ข้อมูลได้เร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ใน SSD เช่นกัน
            [*]SSD มีความไวต่อกระแสไฟฟ้า ควรใช้ PSU ที่มีประสิทธิภาพดี ไม่ควรใช้พวก วัตต์ละบาทสองบาท จำพวก PSU 500W 500 - 700 บาท จ่ายไฟไม่นิ่งพอ อาจทำให้ SSD หมดอายุขัยเร็วกว่ากำหนด หรืออาจจะใช้งานได้ไม่กี่วันก็พัง ควรจะหาซื้อ PSU พวกที่มีป้าย 80 Plus อย่างน้อย ๆ ก็ 80 Plus Bronze ก็ยังดี
            [*] ไวต่อไฟฟ้าสถิตย์ (ในบางรุ่น)
            แค่ปิดเครื่อง แล้วมีไฟฟ้าสถิตย์ในตัว โดยที่เรายังไม่ล้างออก แล้วไปจับ SSD ที่อยู่ในเคส ก็อาจจะทำให้เสียหายได้เช่นกัน
            [*] จับผิดวิธีก็เสียหายได้ (ควรอ่านคู่มือ และศึกษาให้ละเอียด โดยเฉพาะกับบางรุ่น)
            [*] เขียนข้อมูลซ้ำ ๆ ต่อบล็อคบ่อยมากไม่ได้ เพราะมันมีอัตราการเขียนซ้ำ อยู่ประมาณ 1,000 ครั้ง ต่อบล็อค
            [*] การใช้งาน SSD ให้มีประสิทธิภาพ ต้องปรับค่า SATA เป็น AHCI mode เท่านั้น ถ้าหากปรับเป็น IDE mode จะทำให้ความเร็วไม่ต่างกับการใช้ HDD
            [*] ห้ามทำการ Defrag เพราะถือเป็นการไปกระตุ้นให้เขียนข้อมุลซ้ำในจุดเดิม ๆ บ่อยขึ้นไปอีก และจริง ๆ แล้ว SSD ก็อ่านเขียนข้อมูลได้ไวกว่า HDD อยู่แล้ว จึงไม่แนะนำให้ทำการ Defrag
            [*] ควรมีความรู้ด้านอุปกรณ์ การปรับแต่ง และการใช้งานวินโดวส์อยู่บ้าง
            Last edited by S.M.TRUE; 3 Sep 2014, 16:52:37.

            Comment


            • #7
              สุดยอดเลยครับท่าน ความรู้ทั้งนั้น

              Comment


              • #8
                พออ่านแล้ว ก็ขอพูดแบบตรง ๆ เลยน๊ะครับ
                โดยรวมเนื้อหาก็พอใช้ได้ แต่...อ่านยากมาก ใช้สีตัวอักษรเหมือนกับว่าไม่ได้เอาไว้ให้คนตาปกติอ่าน

                เนื้อหาบางอย่างยังไม่ถูกต้อง
                ผมว่าอยากให้ จขกท ลอง ๆ อ่านบทความของคุณ Prime Time ดูว่ามันเป็นยังไง แล้วจะรู้ว่ามีเนื้อหาส่วนไหนบ้างที่ยังไม่ถูกต้อง และควรปรับปรุง

                ขอบคุณครับ

                Comment


                • #9


                  แจ่ม

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by AlphaZero View Post
                    พออ่านแล้ว ก็ขอพูดแบบตรง ๆ เลยน๊ะครับ
                    โดยรวมเนื้อหาก็พอใช้ได้ แต่...อ่านยากมาก ใช้สีตัวอักษรเหมือนกับว่าไม่ได้เอาไว้ให้คนตาปกติอ่าน

                    เนื้อหาบางอย่างยังไม่ถูกต้อง
                    ผมว่าอยากให้ จขกท ลอง ๆ อ่านบทความของคุณ Prime Time ดูว่ามันเป็นยังไง แล้วจะรู้ว่ามีเนื้อหาส่วนไหนบ้างที่ยังไม่ถูกต้อง และควรปรับปรุง

                    ขอบคุณครับ
                    ขอบคุณท่าน AlphaZero ครับ ส่วนไหนที่ผิดสามารถเพิ่มเติมได้ครับ ขอบคุณครับ ^ ^

                    Comment


                    • #11
                      มานำกันก่อนว่า MTBF คืออะไร, MTBF ย่อมาจาก Mean time between failures แปลง่ายๆ ระยะเวลาเฉลี่ยคิดตั้งแต่เริ่มใช้งานจนพังไป ค่า MTBF ทั่วๆไปก็อยู่ประมาณ 1 ล้านชั่วโมง คิดง่ายๆถ้าใช้วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน กว่า SSD จะพังฟาดไป 200 กว่าปี
                      ขอไร้สาระน่ะ
                      ใครเคยเจอssdมีbad sectorบ้างมั้ย? ผมสงสัย?
                      เมื่อก่อนจะมีคนกังวลกันว่าอายุมันสั้น รอบการflashมันจำกัด จานหมุนผมว่าเจอbadได้ง่ายกว่าอีก

                      เท่าที่ลองไล่อ่านมา เวลาเสียจะเป็นกรณีอื่นหมดเลย อย่างมากที่หาอ่านก็เจอ+ประสบด้วยตนเองคือ c7 rellocate count
                      แต่มันก็มีอะไรที่ผมไม่เคยอ่านไม่รู้อีกเยอะ
                      Last edited by ManiacMaew; 3 Sep 2014, 17:54:23.

                      Comment


                      • #12
                        เขาให้ข้อมูลมากขนาดนี้มันก็ดีมากแล้ว ยังจะไปติเขาอีก เขาก็เป็นเขา จะให้เรียงความเหมือนอีกคนได้ยังไง

                        AlphaZero

                        Comment


                        • #13
                          ท่านใดที่เป็นคอเกม แนะนำว่าควรจะมี ssd นะครับ เพราะเวลาเล่นเกม เข้าเกม โหลดฉาก save/load เกม ฯ ไวมาก

                          และจะได้ไม่เสียอรรถรสในการเล่นนะครับ

                          SSD & HDD Gaming Performance - Load time Comparison

                          Comment


                          • #14
                            โน๊ตบุ๊คที่มีวินโดว์แต่ไม่มีแผ่นมาให้ต้อง Recover Factory ให้เหมือนตอนที่เราซื้อเครื่องมาใหม่ก่อน แล้วค่อยทำ Recovery ใส่แฟลชไดรฟ์ หรือ ทำ Recovery ใส่แฟลชไดรฟ์ได้เลยครับ? ผมจะเปลี่ยน SSDใส่โน๊ตบุ๊คควรทำแบบไหนครับ ผมไม่เคยลงวินโดว์ มันต้องทำอะไรบ้างครับ

                            ขอบคุณครับ

                            Comment


                            • #15
                              Originally posted by Gobby View Post
                              โน๊ตบุ๊คที่มีวินโดว์แต่ไม่มีแผ่นมาให้ต้อง Recover Factory ให้เหมือนตอนที่เราซื้อเครื่องมาใหม่ก่อน แล้วค่อยทำ Recovery ใส่แฟลชไดรฟ์ หรือ ทำ Recovery ใส่แฟลชไดรฟ์ได้เลยครับ? ผมจะเปลี่ยน SSDใส่โน๊ตบุ๊คควรทำแบบไหนครับ ผมไม่เคยลงวินโดว์ มันต้องทำอะไรบ้างครับ

                              ขอบคุณครับ

                              ไม่เคยลงวินโดว์

                              ผมว่าซื้อ ssd มา แล้วหาร้าน ใส่ให้พร้อมลง win ใหม่ง่ายกว่านะ

                              Comment

                              Working...
                              X