Announcement

Collapse
No announcement yet.

สาระหน้ารู้ ทั้ง Nvidia และ ATi ครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • สาระหน้ารู้ ทั้ง Nvidia และ ATi ครับ

    ท่ามกลางอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายนั้น การ์ดจอถือได้ว่าเป็นสมองส่วนที่สองลองจากซีพียูเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นส่วนที่จะทำหน้าที่คิดคำนวณในระบบของกราฟิกแทบจะทั้งหมด โดยที่ความซับซ้อนของระบบกราฟิกนั้นก็แทบไม่ได้ด้อยไปกว่าการประมวลผลส่วน กลางของซีพ
    ียูเลยก็ว่าได้...!

    การศึกษาให้เข้าใจถึงเรื่อง ราวต่างๆ ของการ์ดจอนั้น นอกจากจะทำให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีแล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อการ์ดจอที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลักษณะงานและ งบประมาณ
    ได้อีกด้วย ต้องบอกกล่าวกันก่อนครับว่า อย่าเพิ่งคิดว่าบทความนี้เป็นบทความ ”วิชาการ” แม้จะมีศัพท์เทคนิคต่างๆ อยู่บ้าง แต่ไม่อยากให้ผู้อ่านเครียดกับเนื้อหา และอยากให้ได้ความรู้บ้างไม่มากก็น้อย โดยบทความในครั้งนี้จะดำเนินไปในลักษณะ “คำถาม-คำตอบ“ ในแง่มุมของผู้ใช้ทั่วๆ ไป และสิ่งสำคัญก็คือต้องการให้บทความนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ดังนั้น ผมจะพยายามกล่าวถึงเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครเอ่ยถึง ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตก็จะไม่เน้นนัก บทความนี้จึงน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่รักใน “การ์ดจอ” ทุกคน ตอนนี้พร้อมกันหรือยังครับ...ถ้าพร้อมแล้วเราไปลุยกันเลย!!!

    คำถามที่ 1 : ทำไมซื้อการ์ดจอรุ่นแพงๆ ดันรองรับเกมได้ไม่นาน แต่ทำไมซื้อคอนโซลเครื่องหนึ่งกลับอยู่ได้มากกว่าห้าปี ?
    คำ ตอบ : น่าแปลกไหมครับทั้งๆ ที่การ์ดจอของคอมพิวเตอร์เองก็แรงกว่าของคอนโซลตั้งเยอะตั้งแยะ แต่กลับตกรุ่นว่ากันเป็นรายปี จริงๆ แล้วเรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ สำหรับเครื่องคอนโซลนั้น ตัวฮาร์ดแวร์จะเป็นตัวกำหนดซอฟต์แวร์หรือตัวเกมนั่นเอง ซึ่งหากใครได้เครื่องคอนโซลมาครอบครองแล้วก็ย่อมจะต้องการไปหาซื้อเกมมาเล่น ให้สะใจ โดยเกมต่างๆ ที่ออกมานั้น ผู้ผลิตเกมก็ย่อมต้องพัฒนาเกมของตนภายใต้เงื่อนไขของสเปกของตัวเครื่อง คอนโซลให้พอเห
    มาะอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องอัพเกรดอุปกรณ์ใดๆ พูดง่ายๆ ก็คือในฝั่งคอนโซลนั้นจะเน้นในเรื่องของการขายตัวเกมมากกว่า ในทางกลับกัน ทางฝั่งพีซี ตัวซอฟต์แวร์หรือตัวเกมนั้นจะเป็นแรงจูงใจในการซื้อฮาร์ดแวร์ พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ (แทบจะทุกชิ้นส่วน โดยเฉพาะซีพียูและการ์ดจอ) ต้องคอย ”ฮั้ว” กับผู้ผลิตเกมให้พัฒนาเกมที่มีกราฟิกมากๆ ออกมาเพื่อที่ตนเองจะได้ขายฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ได้เรื่อยๆ ยังไงล่ะครับ (ทั้ง nVIDIA และ AMD คงจะเจ๊งกันพอดีหากขายการ์ดจอรุ่นใหม่ในทุกๆ 5 ปีเหมือนคอนโซล)

    คำถามที่ 2 : ทำไม Radeon HD 2900 XT ที่มี Shader Processor ถึง 320 หน่วยกลับมีความเร็วตามหลัง GeForce 8800 GTX ที่มี Shader Processor เพียง 128 หน่วย ?
    คำตอบ : มีเหตุผลใหญ่ๆ อยู่สองข้อเกี่ยวกับ Shader Processor ที่ทำให้ผู้นำในวันนี้คือ nVIDIA ครับ
    1. หน่วยประมวลผล Shader หลักของ Radeon HD 2900 XT จะมีเพียง 64 หน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีหน่วยประมวลผลย่อยออกไปอีกหน่วยละ 5 หน่วยย่อย ส่วน GeForce 8800 GTX จะมีหน่วยประมวลผล Shader หลักเต็มๆ ที่ 128 หน่วย โดยไม่มีหน่วยประมวลผลย่อยแต่อย่างใด การพัฒนาเกมโดยทั่วไปนั้นจะมีลักษณะการเขียน Shader อยู่สามแบบ คือ Single Texture, Multi Texture และ Complex Texture ซึ่งเกมโดยทั่วไปจะพัฒนาโดยใช้กลวิธีสองวิธีแรก ซึ่งจะทำให้ GeForce 8800 GTX สามารถใช้ Shader Processor ได้พร้อมกันทุกหน่วย (ขึ้นอยู่กับจำนวน Shader ในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา) ในขณะที่ Radeon HD 2900 XT จะสามารถใช้ Shader Processor ได้พร้อมกันเพียง 64 หน่วยเท่านั้น ส่วนย่อยที่เหลือจะไม่ได้ใช้กับการโปรแกรม Shader ในลักษณะดังกล่าว ยกเว้นการเขียนโปรแกรมแบบ Complex Texture จึงจะทำให้หน่วยประมวลผลย่อยถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า แต่ผู้พัฒนาเกมไม่ค่อยนิยมกัน เนื่องจากโปรแกรมยาก เสียเวลา และความสวยงามแทบไม่แตกต่างจาก Multi Texture เลย

    2. Shader Clock หรือสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผล Shader นั้น ทาง nVIDIA ได้กำหนดไว้เป็นอัตราส่วนที่มากกว่าสัญญาณนาฬิกาของชิปกราฟิก ในขณะที่ ATi กลับให้ Shader Clock วิ่งที่อัตรา 1:1 กับความเร็วของจีพียู ดังนั้น GeForce 8800 GTX ที่มี Shader Clock 1420 (575x2.47) จึงเร็วกว่า Radeon HD 2900 XT ที่มี Shader Clock เพียง 743MHz (743x1)

    คำถามที่ 3 : จริงหรือว่าการ์ดจอของ ATi ดูหนังดีกว่าการ์ดจอของ nVIDIA ?
    คำ ตอบ : ถ้าถามผมสมัยยุค GeForce FX ลงไปคงตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า “ใช่” แต่หลังจากที่ nVIDIA พัฒนาชุดคำสั่งตัวเก่งอย่าง “Pure Video” ซึ่งในปัจจุบันพ่วงคำว่า “HD” ต่อท้ายมาให้ด้วย ในแง่ของคุณภาพของภาพวิดีโอก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างแล้วล่ะครับ แม้ ATi จะให้รายละเอียดของภาพได้ดีกว่า (เพียงเล็กน้อย) แต่ในเรื่องของการทำ De-Interlacing (พูดง่ายๆ ก็คือการลบรอยหยักของเส้นในแนวเฉียง)nVIDIA จะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ (แต่ต้องขยายหลายเท่ากว่าจะเห็นความแตกต่าง) แต่ถ้าในแง่ของความถูกต้องของสีสัน โดยเฉพาะการต่อออกทีวี ATi ยังคงได้เปรียบอยู่ เพราะแสดงความแตกต่างของเฉดสีที่ใกล้เคียงกันได้ถูกต้องกว่า nVIDIA ครับ ก็เอาเป็นว่า ในเรื่องคุณภาพของการดูหนังผมให้เสมอกันครับ

    คำถามที่ 4 : การ์ดจอรุ่นกลางมีแรมบนการ์ดจอมากๆ กับการ์ดจอรุ่นใหญ่มีแรมบนการ์ดจอน้อยกว่า อย่างไหนจะเล่นเกมได้เร็วกว่ากัน ?
    คำ ตอบ : หากเทียบในยุคเดียวกัน การวัดเฟรมเรตและเฟรมเรตสูงสุดจากการ์ดจอรุ่นใหญ่ที่มีแรมน้อยกว่า ย่อมได้ความเร็วที่สูงกว่าอยู่แล้ว แต่ก็อาจมีบางกรณีที่การ์ดรุ่นกลางที่มีแรม 256MB สามารถให้เฟรมเรตที่เหนือกว่าได้ เช่น กรณีวัดเฟรมเรตที่ต่ำที่สุด เนื่องจากสำหรับบางเกมนั้น ในบางรอบของการประมวลผลจะมีขนาดเท็กซ์เจอร์ที่มากกว่าจำนวนแรมบนการ์ดจอก็ อาจทำให้เก
    ิดปัญหาคอขวดได้ ยกตัวอย่างผลการทดสอบจากเกม F.E.A.R ในแบบ Maximum ที่ GeForce 6800 ที่มีแรม 128MB แม้จะแรงกว่า GeForce 6600 GT ที่มีแรม 256MB มาก แต่ถ้าเทียบเฟรมเรตต่ำสุดแล้ว GeForce 6600 GT จะเร็วกว่านิดหน่อย

    คำถามที่ 5 : ได้ยินว่า Radeon HD 2900 XT จาก ATi มีอินเทอร์เฟซของหน่วยความจำสูงถึง 1,024 บิต แล้วทำไมการ์ดรุ่นสูงสุดของ nVIDIA อย่าง GeForce 8800 Ultra จึงยังมีอินเทอร์เฟซสูงสุดอยู่แค่ 384 บิต ?
    คำตอบ : การคำนวณระบบบิตของหน่วยความจำบนการ์ดจอจากทั้ง ATi และ nVIDIA นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยระบบบิตของหน่วยความจำของ nVIDIA จะคำนวณจากการนำหน่วยความจำ 32 บิต มาคูณด้วยจำนวนหน่วยความจำทั้งหมดที่มี ซึ่ง GeForce 8800 Ultra มีชิปหน่วยความจำทั้งหมด 12 ชิป หน่วยความจำจึงมีอินเทอร์เฟซ 32x12 = 384 บิต ส่วน Radoen HD 2900 XT จะเป็นหน่วยความจำแบบ 512 บิตแท้ๆ แต่ด้วยกระบวนการทำงานแบบ Ring Bus ที่ทำให้หน่วยความจำรับและส่งข้อมูลถึงกันได้พร้อมกันในคราวเดียว จึงมีการคำนวณระบบบิตออกมาเป็น 2x512 = 1,024 บิต


    คำถามที่ 6 : ทำไมเราถึงเห็นการ์ดจอราคาย่อมเยาที่สามารถแฟลชไบออสไปเป็นรุ่นสูงๆ ได้บ่อยเหลือเกิน อย่างนี้คนที่ซื้อการ์ดรุ่นใหญ่ราคาแพงไปแล้วไม่เซ็งแย่หรือ ?
    คำตอบ : สำหรับการ์ดจอที่สามารถแฟลชไบออสไปเป็นรุ่นที่สูงกว่าได้นั้น ยกตัวอย่าง Radoen HD 2900 Pro ที่ส่วนใหญ่ก็สามารถแฟลชไบออสไปเป็นรุ่น XT ได้ทันที ความจริงแล้วการ์ดทั้งสองตัวแต่เดิมใช้ชิปกราฟิกเดียวกันครับ เพียงแต่ล็อตหลังๆ ที่เรานำมาแฟลชไบออสกันอย่างสนุกสนานนั้นมันจะเป็นรุ่นที่ “ไม่ผ่าน” การตรวจสอบคุณภาพที่จะทำงานเป็นรุ่น XT ได้ จริงๆ แล้วคุณสามารถแฟลชไบออสได้ แต่อายุการใช้งานมันจะสั้นกว่ารุ่น 2900 XT แท้ๆ อย่างแน่นอน (แต่ถ้าเปลี่ยนการ์ดจอบ่อยอยู่แล้ว เรื่องนี้ก็แทบไม่ต้องนึกถึง) ส่วนที่ถามมาว่า “คนที่ซื้อการ์ดรุ่นใหญ่ราคาแพงไปแล้วไม่เซ็งแย่หรือ” ก็อย่าไปเซ็งเลยครับ อย่างน้อยก็อุ่นใจในเรื่องประสิทธิภาพและเสถียรภาพ น่าภูมิใจดีออก ^^

    คำ ถามที่ 7 : กระบวนการ CrossFire ของ ATi กับ SLI ของ nVIDIA เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร และอย่างไหนจะมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน ?
    คำตอบ : กระบวนการทั้งสองมีจุดที่เหมือนกันก็คือแนวคิดในการนำการ์ดจอตั้งแต่ 2 การ์ดขึ้นไปมาทำงานพร้อมกันเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น โดยจุดที่แตกต่างก็คือเทคนิคการทำงานภายในที่ไม่เหมือนกัน โดยหลักๆ แล้วเทคนิคของ nVIDIA การ์ดจอทั้งสองจะแบ่งพื้นที่บนจอออกเป็นสองส่วนเพื่อช่วยกันคำนวณทีละส่วน ส่วนเทคนิคของ ATi จะแบ่งพื้นที่หน้าจอออกเป็นตารางย่อยๆ เพื่อช่วยกันคำนวณทีละช่อง ในที่นี้จะไม่ลงในรายละเอียดนัก จุดสำคัญของความแตกต่างระหว่างสองเทคโนโลยีนี้ก็คือ ทาง nVIDIA จะต้องใส่โพรไฟล์ของเกมต่างๆ ซึ่งบรรจุไปด้วยอัลกอริธึมหรือวิธีการคำนวณการแบ่งหน้าจอไว้ในไดรเวอร์เวอร์ ชันใหม่ๆ
    เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดอยู่เสมอ (เนื่องจากการแบ่งครึ่งหน้าจอเป็นกระบวนการที่หยาบเกินไป) ในขณะที่ทาง ATi นั้นไม่จำเป็นต้องใส่โพรไฟล์ของเกมไว้ในไดรเวอร์ของตน เนื่องจากการแบ่งหน้าจอออกเป็นตารางย่อยๆ นั้นทำให้การ์ดจอแต่ละการ์ดจะมีการโหลดการทำงานที่ค่อนข้างสมดุลอยู่แล้ว

    ส่วน การใช้เทคโนโลยี CrossFire และ SLI นั้น บางครั้งอาจไม่ได้ช่วยให้เฟรมเรตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แต่จะช่วยในเรื่องของการประคองเฟรมเรตต่ำสุดไม่ให้ร่วงลงไปจนเกินรับได้ และช่วยในการรันเกมในโหมดความละเอียดสูงได้อย่างราบรื่นโดยที่เฟรมเรตไม่ลด ฮวบฮาบจนเ
    กินไปนัก ในแง่ของเทคนิคนั้น CorssFire จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า SLI แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ nVIDIA หมั่นอัพเดตไดรเวอร์ของตนอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้ความแตกต่างเกือบกลายเป็น ศูนย์ ทีนี้ถ้าถามว่าอย่างไหนมีสิทธิภาพมากกว่ากัน คำตอบก็น่าจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของชิปกราฟิกมากกว่ากระบวนการที่ใช้

    คำถามที่ 8 : ระหว่างซีพียูกับการ์ดจอ อย่างไหนจะมีผลต่อการเล่นเกมมากกว่ากัน ?
    คำ ตอบ : หากพิจารณาเฉพาะเรื่องของอัตราเฟรมเรตเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว คงตอบได้ไม่ยากกว่า “การ์ดจอ” มีผลมากกว่า เนื่องจากภาระทางด้านกราฟิกส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของการ์ดจอ โดยซีพียูจะมีหน้าที่เพียงแค่สร้างโครงร่าง กำหนดพิกัด คำนวณระบบฟิสิกส์ และด้าน A.I. ในขณะที่งานอย่างการคำนวณในเรื่องของพื้นผิวที่ต้องมีการเติมลงไปในโครงร่าง ทุกๆ ส่วนที่ซีพียูได้สร้างขึ้นมาจะเป็นงานที่หนักกว่ามาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการอัพเกรดการ์ดจออย่างเดียวโดยไม่สนใจระบบส่วนอื่น จะเป็นเรื
    ่องที่ถูกต้อง เนื่องจากการ์ดจอที่มีความเร็วสูงก็ย่อมต้องการแรงขับเคลื่อนจากซีพียูที่ เพียงพอ มิฉะนั้นก็จะทำให้เกิดปัญหาคอขวดส่งผลให้การ์ดจอไม่ได้ทำงานอย่างเต็มที่

    คำถามที่ 9 : ปัจจุบัน ระหว่างการ์ดจอของ ATi กับ nVIDIA ค่ายใดเล่นเกมแล้วภาพสวยกว่ากัน ?
    คำ ตอบ : นี่เป็นคำถามที่เกมเมอร์ผู้รักสวยรักงามถามกันมามากมายอีกคำถามหนึ่งทีเดียว แน่นอนว่าหากจะวัดที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วแล้ว ในปัจจุบัน การ์ดจอจาก nVIDIA ได้เปรียบอยู่ไม่น้อย แต่หากจะวัดที่ความสวยงามในการเล่นเกมล่ะ ??? ในเรื่องนี้คงไม่สามารถฟันธงไปได้อย่างชัดเจนเหมือนกันเรื่องความเร็ว เพราะไม่มีโปรแกรมใดสามารถเบนช์มาร์กในเรื่องความสวยงามได้ ความจริงแล้วหากเป็นยุค DirectX 9 นั้น โดยรวมแล้ว ATi จะให้คุณภาพของภาพที่ดีกว่า nVIDIA เนื่องจากทีมพัฒนาของ ATi ได้ทำงานร่วมกับทีมพัฒนาของ Microsoft ในการทำงานร่วมกับ DirectX 9.0 โดยเฉพาะ แต่หากเป็นเกมที่อ้างอิงกับ API อย่าง OpenGL ก็ต้องยกให้ nVIDIA (แต่ก็ไม่ค่อยมีเกมที่ใช้ OpenGL เท่าใดนัก) แต่ในยุค DirectX 10 กลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากไมโครซอฟท์ได้บังคับให้ผู้ผลิตการ์ดจอทุกค่ายต้องบรรจุทุกฟีเจอร์ ของ DirectX 10.0 ลงไปในการ์ดจอของตน จึงทำให้ไม่ควรจะมีความแตกต่างในเรื่องความสวยงามมากนัก

    คำถามที่ 10 : คอมพิวเตอร์ที่แรงๆ ในวันนี้จะสามารถเล่นเกม Crysis บนความละเอียดสูงๆ ในโหมด Very High พร้อมทั้งปรับ Anti Aliasing กับ Anisotropic Filtering แบบสุดๆ ได้หรือไม่ ?
    คำตอบ : ขอตอบฟันธงเลยว่า สำหรับวันนี้ “ยังไม่ได้” ครับ เหตุผลเพราะเกมนี้ยังไม่รองรับ SLI (ส่วนทาง CrossFire สำหรับ Radeon รุ่นที่แรงที่สุดนั้นก็ยังไม่ลื่นพอ) ดังนั้น แม้ว่าคุณจะใช้ระบบที่แรงที่สุดในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถเล่นเกมนี้ในระดับ Very High บนความละเอียดสูงๆ ได้ลื่นอย่างแน่นอน ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการปรับ Anti Aliasing กับ Anisotropic เลยด้วยซ้ำ

  • #2
    ตาลาย - -

    Comment


    • #3
      ตาลาย

      Comment


      • #4
        ขอบคุณครับ แต่เก่าไปนิสนะครับ


        ตั้งแต่ HD Series 2xxx
        ตอนนี้จนจะออก 5xxx มาละ - -"

        Comment


        • #5
          ข้อ10ข้อมูลเก่าไปนิดครับผม

          Comment


          • #6
            ตาลายเหมือนกัน อ่านเกือบตายเพราะตาลาย เลยนะเนี่ย....อะล้อเล่งงับ

            รู้สึกว่าข้อมูลทั้งหมดจะเก่าไปนิดนะ
            Last edited by aun002; 24 Oct 2008, 22:45:23.

            Comment


            • #7
              ขอบคุณครับ แต่ข้อมูลเก่าไปนิด / น่าจะจัดเรียงตัวหนังสือใหม่นะครับ ปวดตา - -

              Comment


              • #8
                อืม

                Comment


                • #9
                  ขอบคุณครับ

                  Comment


                  • #10
                    ลายตา อิอิ

                    Comment


                    • #11
                      เอิ๊กๆ ความรู้ครับ ถึงแม้จะเก่า สู้ๆ ATi

                      Comment


                      • #12
                        อยากแนะนำ ATi Radeon HD 4870 X2 อีกรุ่นนะฮับ

                        GDDR 5 , 2 GB

                        285 Watt

                        ิ0.0

                        Comment


                        • #13
                          Thx แต่บางเรื่องรู้อยู่แล้วบางเรื่องไม่รู้ ^^

                          Comment


                          • #14
                            น่ารู้ครับ

                            ไม่ใช่หน้ารู้

                            Comment


                            • #15
                              ตาลาย แต่อ่านไปก้อหนุกดี มีความรู้ ชอบๆ อยากให้มีอีกเลี่อยๆ คับ ชอบๆ

                              Comment

                              Working...
                              X