Announcement

Collapse
No announcement yet.

HOT NEW จะที่รัก

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • HOT NEW จะที่รัก

    อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม กรุงไทเป ไต้หวัน 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

    แอพพลิเคชั่นและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตนั้น นอกจากจะต้องการแพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังจำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งได้สะดวก ซึ่งเป็นเป็นประโยชน์ต่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โดย อนันด์ จันทราเซเคอร์ ผู้บริหารของอินเทลได้ระบุว่าสถาปัตยกรรมอินเทลเป็นมีองค์ประกอบพร้อมสำหรับการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในอนาคต



    ในงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม (ไอดีเอฟ) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไต้หวัน อนันด์ จันทราเซเคอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มอัลตร้า โมบิลิตี้ ของอินเทล บรรยายให้เห็นว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีและความร่วมมือที่แข็งแกร่งในวงการอุตสาหรกรรมนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาอย่างไร รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่อินเทอร์เน็ตและโมบายล์เว็บเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของเรา

    อนันด์ กล่าวว่า “นวัตกรรมของเทคโนโลยีจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดประสบการณ์และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ตลอดจนความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทางอนาคตในอีก 40 ปีข้างหน้า และเมื่อประชากรอีกพันล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสอีกมหาศาลให้กับผู้บริโภค จากการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่เน้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก มาใช้เพื่อตอบสนอบความต้องการด้านการประมวลผลและประสบการณ์ที่หลากหลาย”

    อนันด์ กล่าวถึง อินเทล™ อะตอม™ โปรเซสเซอร์ และโปรเซสเซอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมชื่อรหัส “เนฮาเล็ม” ที่กำลังจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ รวมทั้ง แพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อรหัส “มอรส์ทาวน์” (Moorestown) ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในช่วง พ.ศ. 2552-2553 ว่า เป็นตัวอย่างที่ดีของนวัตกรรมและความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้นเขายังได้เน้นย้ำถึงความก้าวหน้าของแผนการณ์ของบริษัทอินเทล ในการเจาะกลุ่มตลาด MID ด้วยการสาธิตให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” ตัวแรกอีกด้วย




    แพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” ประกอบด้วย ซิสเต็ม-ออน-ชิป (SOC) ที่มีชื่อรหัสว่า “ลินครอฟท์” (Lincroft) ซี่งประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร กราฟิก และตัวควบคุมความจำรวมทั้ง การเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอ ไว้ในชิปชิ้นเดียว นอกจากนั้นยังมี Hub สำหรับ I/O ที่รองรับ I/O ได้หลายพอร์ต ซึ่งมีชื่อรหัสว่า แลงก์เวลล์ (Langwell) โดยสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สาย สตอเรจ และส่วนประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อเพิ่มการทำงานนอกเหนือจากส่วนที่ถูกรวมไว้อยู่แล้ว อนันด์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าอินเทลอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อลดการใช้พลังงานของแพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” ให้น้อยกว่าอุปกรณ์ MID รุ่นแรกที่ใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ 10 เท่า

    อนันด์กล่าวเสริมว่า แพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่เป็นนวัตกรรม และน่าตื่นเต้น ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารสำหรับสมาร์ทโฟนอีกด้วย โดยอนันด์ยังชี้ให้เห็นว่า แพลตฟอร์ม “มัอรส์ทาวน์” จะสามารถรองรับเทคโนโลยีไร้สายที่หลากหลายรวมถึง 3G ไวแมกซ์ ไวไฟ GPS เทคโนโลยีบลูธูท และโมบายล์ทีวี เป็นต้น

    นอกจากนั้นแล้ว อนันด์ ได้ประกาศถึงความร่วมมือกับบริษัท อีริคสัน* ในการนำโมดูลข้อมูล HSPA มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์ “ โดยเขาได้ประกาศว่า Option* กำลังเพิ่มขอบเขตความร่วมมือสำหรับ โมดูล HSPA ไปยังแพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” ด้วยเช่นกัน โมดูล 3G เหล่านี้ มีขนาด เพียง 25x30x2 มิลลิเมตร ซึ่งตอบสนองความต้องการในด้านพลังงานของ แพลตฟอร์ม “มอรส์ทาวน์” ได้อย่างสูงสุด และจะช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์ MID สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

    นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอสำหรับองค์กรขนาดใหญ่

    เคิร์ก สกาวเกน ผู้จัดการทั่วไปสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเดสก์ท้อปคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่สำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฮเอนด์ ซึ่งใช้อินเทล™ คอร์™ ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ ที่จะเริ่มวางตลาดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ว่า เดสก์ท็อปแบบไฮเอนด์เหล่านี้จะให้ประสิทธิภาพการทำงานที่โดดเด่นสำหรับการเล่นเกมส์ และแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างคอนเทนท์ สกาวเกินยังได้กล่าวถึงอินเทล วีโปร เทคโนโลยี สำหรับเดสก์ท้อปที่มีชื่อรหัสว่า “ไพค์ทาวน์” (Piketown) และสำหรับโน้ตบุ๊กมีชื่อรหัสว่า “คาลเพลลา” (Calpella) รุ่นใหม่ที่จะมีการเปิดตัวในปี พ.ศ. 2552 นี้ จะใช้โปรเซสเซอร์เนฮาเล็ม และจะช่วยให้ลูกค้าองค์กรสามารถใช้นวัตกรรมสำหรับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย



    ทั้งนี้ จะมีการใช้สถาปัตยกรรมไมโครอาร์คิเทคเจอร์ เนฮาเลมสำหรับผลิตภัณฑ์หลายกลุ่ม โดยเริ่มแรกจะเป็นอินเทล คอร์ ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ และตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นประสิทธิภาพการทำงาน ที่มีชื่อรหัสว่า เนฮาเล็ม-อีพี (Nehalem-EP) รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์แบบ expandable ที่มีชื่อรหัสว่า เนฮาเล็ม-อีเอ็กซ์ (Nehalem-EX) รวมทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับเดสก์ท็อปและโมบายล์ (ชื่อรหัสว่า ฮาเวนเดล (Havendale), ลินน์ฟิลด์ (Lynnfield) อูเบอร์นเดล (Auburndale) และ คลาร์คส์ฟิลด์ (Clarksfield) ตามลำดับ) ซึ่งจะเริ่มผลิตในช่วงครึ่งปีหลังของปีพ.ศ. 2552

    สกาวเกน ยังได้ประกาศว่า ไอบีเอ็ม และอินเทลจะร่วมมือกันต่อไปเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับตลาดของเบลดเซิร์ฟเวอร์อีกด้วย

    พอดีมันมีรูป แต่รีบเลยไม่ได้ลงให้ดู ทั้งหมดนี้เอามาจาก unlimitpc

  • #2
    ยาวเยียด ขอบคุณครับ

    Comment

    Working...
    X