Announcement

Collapse
No announcement yet.

Jazz Part 2 : Fusion Jazz

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • Jazz Part 2 : Fusion Jazz

    จาก Part 1 คราวนี้ผมจะมาแนะนำเพลงแจ๊สในรูปแบบที่เรียกว่า ฟิวชั่นแจ๊สบ้าง แท้จริงแล้ว smooth jazz ก็ถือเป้น fusion jazz ชนิดหนึ่งถ้ายึดความหมายที่ว่า fusion jazz คือ
    การนำเอาเครื่องดนตรีไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในวงดนตรี เพียงแต่ smooth jazz จะทำดนตรีให้เข้าถึงผู้ฟังได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยอิงแนวทางเพลงป๊อปเสียส่วนใหญ่ แต่สำหรับคำว่า fusion jazz จริงๆแล้ว
    คำนี้ได้อิทธิพลมาจากช่วงปลายยุค 60 กระแสดนตรีร็อกกำลังมาแรง นักดนตรีอย่าง Jimi Hendrix,The Beatles,UFO,Elvis Presley หรือวง hardrock ได้เป็นแรงบัลดาลใจ
    ให้กับคนรุ่นใหม่ๆอย่างมากมาย ในขณะนั้นเอง Miles Davis ได้เป็นผู้บุกเบิกดนตรีแขนงนี้ขึ้นโดยการนำเอาเครื่องดนตรีไฟฟ้ามาประสมเข้ากับวงแจ๊สและจำกัดขนาดของวงให้มีนักดนตีน้อยลงพอๆกับวงดนตรีร๊อค เขาตัดสินใจทิ้งเครื่องดนตรีอย่างดับเบิ้ลเบสหรือเปียโน เพื่อนำเอาเครื่องดนตรีอย่างเบสไฟฟ้าหรือคีย์บอร์ดและเขายังนำเอากีต้าร์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในงานด้วย การเล่นของ Miles จะประยุกต์โดยละทิ้งการเล่นแบบสวิงหรือคือการเปลี่ยนคอร์ดไปมาอย่างมากมายเป้นใช้ทางคอร์ดไม่มากและเน้นส่วนของการอิมโพรไวส์เข้าไป จึงทำให้มีอิสระในการเล่นเป็นอย่างยิ่ง ลแะมีนักดนตรีรุ่นหลังได้นำแนวคิดนี้ไปต่อยอดเพื่อสร้างดนตรีในแบบฉบับของตัวเองอีกมากมาย แม้การกระทำของ Miles จะไม่เป็นที่พอใจของนักดนตรีแจ๊สรุ่นเก่านักเพราะหาว่าเขาเป็นตัวทำลายความสวยงามของดนตรีแจ็สที่เคยมี แต่มันก็ทำให้เกิดดนตรีแจ๊สสาขาใหม่ซึ่งถือเป้นสาาหลักสาขาหนึ่งของแจ๊ส เรียกว่ามีส่วนผสมทั้งร๊อคและแจีสเข้าด้วยกัน ทำให้ขยายกลุ่มคนฟังให้มากขึ้นไปอีก ถึงแม้จะมีส่วนผสมของริธึ่มอันหนักหน่วง แต่ก็มีเพลงช้าที่บรรเลงได้อย่างสุขุมนุ่มลึก คือจังหวะจะไม่เหมือนกับเพลงสมูธ แต่มันจะลงลึกไปถึงก้นบึ้งหัวใจมากกว่านั้น ซึ่งหมายความว่าคนฟังต้องเข้าถึงกาารถ่ายทอดบทเพลง
    ของนักดนตรีด้วย ดนตรีแนวนี้จะค่อนข้างฟังยากและเล่นยาก กล่าวคือจะมีการงัดเทคนิคแปลกๆซึ่งผสมผสานระหว่างร๊อค แจ๊ส บลูส์ โซล ฟังก์ หรือดนตรีแขนงอื่นๆเข้ามา เนื่องจากไม่มีกฎตายตัว และมีการทดลองเล่นโดยเปลี่ยนรุปแบบการเล่นไปเรื่อยๆ ทำให้มีการใช้ทักษะการเล่นอย่างมาก สรุปว่า ยากทั้งเล่นและฟัง แต่อย่างไรก็ดี ถึงจะฟังแบบผ่านหูหรือเก็บรายละเอียด ผมว่ามันก็ทำให้ผู้ฟังได้อะไรที่แปลกและแตกต่างโดยมีความเป็นเอกลักษณ์ของ ตัวมันเองอยู่ คนแรกที่ผมจะแนะนำก็ไม่ใช่ที่ไหนนอกเสียจาก Miles Davis นั่นเอง ก็ลองไปฟังกันดูครับสำหรับตำนานศิลปินฟิวชันแจ๊สผิวดำผู้นี้ที่เป็นคนสร้างนักดนตรีฝีมือฉกาจอีกมากมาย และเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักดนตรีฟิวชั่นในยุคต่อมา[/RIGHT]

    ถัดจากแจ๊สชั้นครู ก็จะขอนำเสนอวงฟิวชั่นแจ๊สจากญี่ปุ่นวงหน่งซึ่งบางท่านอาจจะรู้จักดีในชื่อ T-Square วงนี้เป็นวงฟิวชั่นที่โด่งดังของญี่ปุ่น (วงที่คล้ายวงนี้ก็คร่าวๆจะมี Side Steps Prism Naniwa Ottotrio เป็นต้น) ส่วนประวัติ ลองอ่านจาก
    http://pirun.ku.ac.th/~b4908063/tsquare.htm ดูครับ ด้วยการเล่นของวงที่มีเอกลักษณ์ ทำให้ฟิวชั่นแจ๊สสไตล์ญี่ปุ่นเป้นที่รู้จักกันในหมู่ฝรั่งเรียกได้ว่าพอฟังปุ๊ปจะรู้ปั๊ปเลยว่าเป็นวงจากญี่ปุ่น เพราะดนตรีร๊อคของญี่ปุ่นเองก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยุ่แล้ว เมื่อบวกกับแจ๊ส ก็ทำให้เกิดสำเนียงที่โดดเด่นออกมา วงน้จึงเป้นแรงบันดาลใจของวงแจ๊สญี่ปุ่นหลายๆวงทีเดียว โดยเฉพาะ
    หัวหน้าวงที่เล่นแซกโซโฟนด้วยสำเนียงที่ยอดเยี่ยมตามด้วยลูกทีมที่ฝีมือเยี่ยมไม่แพ้กัน เพลงของวงนี้ก็นำไปใช้ประกอบโฆษณาบ้าง และนำไปทำเพลงการ์ตูนบ้าง เห็นได้ว่าเป็นที่นิมของผู้ฟังอยุ่ไม่น้อยเลย ประกอบกับการแสดงสดที่น่าประทับใจ (จะมีวงอื่นๆมาแจมบ่อย และโดยเฉพาะหัวหน้าวงเปลี่ยนแซกเป็นว่าเล่นโดยทำเป็นรูปทรงแปลกไม่เหมือนใคร) ชุดหลังๆของพวกเขาจะเน้นร๊อคมากขึ้นคือจะเป็น Fusion Jazz Rock เต็มตัว สิ่งนี้บ่งบอกว่าแม้อายุของวงจะมากแล้ว แต่ความฟิตของนักดนตรีมีแต่จะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา จึงอยากให้ลองฟังกันดูครับ (ดูจากใน visitor message ของผมได้ ถ้าผมมาลงเนื้อหาอะไรใหม่ๆ ก็จะไปลงเพลงไว้ที่นี่ครับ)

  • #2
    ไปเปิดประเด็น take five ver ใหน ของใคร เพราะที่สุด

    Comment


    • #3
      เพลงนี้ผมเคยฟังแต่ของ Miles กับ Dave Brubeck เลยไม่ได้ไปหาของเวอร์ชั่นอื่นเลย ซึ่งคิดว่าคงมีอีหลายเวอร์ชั่น เห็นทีคงไม่น่าไปเปิดได้ครับ %-%

      Comment


      • #4
        ต่อมาจะพูดถึงมือเปียโนแนว fusion jazz funk ที่ชื่อ Herbie hancock ผู้บรรเลงดนตรีแจ๊สสไตล์ฟังค์เป็นหลัก เขาเองก็เคยร่วมงานกับ Miles อยู่เป็นเวลาไม่นานนัก ซึ่งการได้เล่นร่วมกับนักดนตรีแจ๊สระดับตำนานทำให้เขาได้รุ็จักศิลปินที่เป้นเพื่อนสนิทเช่น Ron Carter,Wayne Shorter,Tony Williams และอีกหลายต่อหลายท่าน แต่ส่วนนึงก็มาจากความสามารถในการแต่งเพลงของตัวเขาเองด้วยจึงเป็นที่ดึงดูดของนักดนตรีหลายคนอยู่ทีเดียว ผลงานของเขามีทั้งโปรเจคของเขาเองและการไปเล่นให้กับวงอื่นเช่น Stevie Wonder,Donald Byrd,Jaco Pastorius,Quincy Jones etc.หรือไปร่วมงานกับศิลปินชื่อดัง Christina Aguilera และ John Mayer อีกด้วย ถ้าใครได้ดูรายการ 108 music เมื่ออาทิตย์ก่อน จะเห็นว่าอ.ปราชญ์ได้นำเพลงของ herbie มาเล่น cover ซึ่งไม่ว่าคนไหนจะนำมา cover ผมฟังแล้วก็รุ็สึกสนุกตามไปด้วยเนื่องจากรากฐานเดิมเป็นสไตล์อิเลคทรอนิกส์ฟังก์ มีการส่งการรับกับแซกและเบสก็จะมีช่วงโชว์ที่มากขึ้นอีกด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมผมเองก็มีไม่มากนักก็ต้องไปค้นกันเอาเองครับ ก็ลองฟังกันดูครับสำหรับ watermelonman ผู้นี้
        Attached Files

        Comment


        • #5
          คนหรือมนุษย์ต่างดาวกันแน่! คำถามนี้มีไว้สำหรับบุคคลที่ชื่อ Allan Holdsworth มือกีตาร์ชาวอังกฤษที่การเล่นของเขานั้นพิศดารเป้นอย่างมาก แม้แต่อ.ปราชญ์ยังเคยกล่าวไว้ว่า เขาผู้นี้ อาจไม่ใช่มนุษย์โลกแต่เป็น มนุษย์ต่างดาว ที่เล่นกีตาร์เป็น'' โดยเฉพาะท่วงทำนอง เเละวิธีการเล่นกีตาร์ ที่สามารถเเบ่งแยกออกมาเป็นตัวตน คงความแตกต่าง ได้ชัดเจน ไม่มีใครเหมือนและไม่มีใครเคยคิดทำขึ้นมาก่อน เหล่านี้คือสิ่งที่ระบุถึงตัวตนของเขาได้เป็นอย่างดี การเลนคอร์ดที่แปลประหลาด legato ที่โดดเดน หรือการใช้ซินส์สำเนียงแปลกๆ แม้แต่ Van Halen ยังบอกว่าการเล่นของตัวเขาเองที่ใช้มือทั้งสองนั้น allan สามารถเล่นได้โดยใช้มือข้างเดียวหรือ Steve Vai ก็เคยพูดทำนองว่า ผมตามความคิดหรือเดาใจเขาไม่ออกจริงๆว่าเล่นไปในทิศทางใด ฟังดูแล้วคงสงสัยว่าตกลงการเล่นของเค้านั้นเล่นมั่วหรือเปล่าถึงยากต่อการฟัง ผมขอยืนยันเลยว่าเค้าไม่ได้เล่นมั่ว
          แต่เล่นซับซ้อนจนเราฟังไม่ออกเลยก็ว่าได้ ยิ่งตอนเขาสอนในวีดิโอ ฟังแล้วรายละเอียดที่เขาพูดมันเยอะมาก และเขาพูดราวกับว่ามันทำได้ง่ายดังปอกกล้วยเข้าปากซึ่งคนอย่างเราๆเห็นทีคงจะยาก ผมฟังแล้วก็ยังฟังไม่ค่อยออกว่าทิศทางการเล่นของเค้าเป็นยังไง ฟังแล้วล้าหูดังชื่ออัลบั้มชุดนึงของเขาว่า Metal Fatigue แม้จะพยายามฟังให้มันเพลิดเพลินแต่ก็ยังงงงวยกับสำเนียงที่มีเอกลักษณ์อย่างมากของเค้าอยู่ดี ถ้าใครจะลองหาผลงานของเขามาฟัง ชุด Road Games จะเป็นชุดที่ฟังง่ายที่สุดสำหรับการเริ่มต้นฟัง แต่หากใครติดใจสไตล์การเล่นของเขาก็ไปตามหางานอื่นๆได้ และถ้าท่านฟังออกหมดโดยทะลุปรุโปร่งถึงการเล่นของเขา ท่านลองดูตัวท่านเองว่าท่านได้กลายเป็นมนุษย์ต่างดาวไปหรือยังครับ
          Attached Files

          Comment


          • #6
            Pat Metheny หลายท่านอาจจะรู้กันกันแล้วสำหรับศิลปินแจ๊สระดับโลกผู้นี้ ผู้ซึ่งเคยมาเปิด workshop ในไทยและสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังหลายท่านมาแล้ว โปรเจตของเขานั้นมีมากมายไม่ว่าจะออก solo album หรือเป้นวงเล่นคู่ เล่นสามชิ้น สี่ชิ้น หรือพวก free jazz เป้นต้น
            โดยอัลบั้มแรก Bright Size Life นั้นเขาก็ได้น่วมงานกับมือเบสในตำนานนาม Jaco นั่นเอง ด้วยสำเนียงการเล่นที่มีเอกลักษณ์ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น acoustic,electric guitar หรือที่โดเด่นคือการใช้ซินธีไซเซอร์ทำให้เสียงดนตรีที่ออกมามีความหลากหลายและแปลกใหม่ บางครั้งจะออกแนว world music ไปเลยทำให้เขาสามารถก้าวข้ามกำแพงที่ปิดกั้นจากสไตล์การเล่นแจ๊สยุคเก่าออกไปให้มีความอิสระมากขึ้น ดูได้จากคร้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า“ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไรนะเกี่ยวกับเรื่องหลักการทั้งหลายแหล่ อย่างที่พวกนักฟังเพลงแจ๊สเขามักจะเอามานั่งถกเถียงการในวงสนทนา สำหรับผมแล้ว ความงดงามตามแบบอย่างของแจ๊สก็คือการที่เราค้นพบบุคลิกที่แท้จริงของตัวเอง มีประสบการณ์กับมันอย่างแท้จริงเท่านั้น แล้วผมก็คิดว่าผมมีสิ่งเหล่านั้นชัดเจน ถ้าผมมามัวนั่งกังวลว่าใครจะพูดถึงเพลงของผมว่า เออ มันเป็นแจ๊สประเภทไหนนะ ซึ่งผมได้ยินมาเยอะมาก แต่นั่นก็คือสิ่งที่ผมมองว่าแจ๊สมันเป็นอย่างนั้นน่ะ ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่ลุ่มลึกกว่านั้น แล้วก็ละเอียดกว่านั้น ไม่ใช่ว่าฟังแป๊บๆ ก็พูดได้เป็นฉากๆ มันสละสลวยเกินกว่านั้นจริงๆ ผมพยายามที่จะนำเสนอมาตรฐานที่มันสูงขึ้นอีกระดับ” เป็นต้น ด้วยฝีมือที่เยี่ยมยอดของเขาบวกกับดีกรีดุษฎีบัณฑิตและเป็นอ.สอนใน berklee collage of music ทำให้มีนักดนตรีฝีมือเยี่ยมมากมายมาร่วมงานกับเขาเช่นMichael Brecker,Steve Reich,Herbie Handcock,Jim Hall,John Scofield,Ornette Coleman เป็นต้น ทำให้มีไลน์อัพที่แข็งแกร่งหรือรวมพวกหัวกระทิเข้าด้วยกันนั่นเอง
            นอกจากนี้เขายังเป้นผู้คิดค้นกีตาร์แบบใหม่ขึ้นมาอีกหลายชินดเช่น กีต้าร์อคูสติคเสียงโซปราโน,กีตาร์ซินธีไซเซอร์,กีตาร์ 12 สาย และที่ผมชอบมากคือ กีต้าร์ Pikasso ซึ่งมีถึง 42 สายเลยทีเดียว! (ชนะไมเคิล แองเจดลที่มี 4 คอ 26 สายไปโดยปริยาย แต่ความเร็วคงต้องเขานี่ล่ะ เร็วตัวจริงสำหรับการเล่นสองมือ แต่ถ้ามือเดียว impelliteri เร็วกว่า)ส่วนตัวผมชอบงานรุปแบบ trio มากที่สุด เนื่องจากเพราะหาซื้อได้ง่ายและความพอดีของนักดนตรีที่ไม่มากเกินไปทำให้มีโอกาสแสดงความสามารถได้เต็มที่ ประกอบกับชอบ Bill Stewartและ Christian McBride เป็นทุนเดิมด้วย ก็ลองฟังกันดูครับ ใครยังไม่เคยฟังก็ลองฟังกันดู รับรองว่าจะได้สัมผัสถึงหลากหลายอารมณ์ ส่วนใครคเยฟังแล้วกูลองดูว่าเพลงที่ลงนั้นท่านเคยฟังหรือยัง เพาะเจ้าตัวมีผลงานมากเหลือเกิน ตามเก็บไม่หมดครับ แต่รับประกันฝีมือได้ ไม่ผิดหวังครับ
            Attached Files

            Comment


            • #7
              มากมายสำหรับความรู้ ... ขอบคุณครับ

              Comment


              • #8
                เยี่ยมไปเลยครับ

                Comment


                • #9
                  ตบมือให้ครับ

                  Comment


                  • #10
                    แระไงต่ออ่ะต๊ะ

                    ไม ญี่ปุ่นมะมี Casiopia , Hiroshima , Masayoshi Takanaka
                    T-Square เคยได้ยินแต่ชื่อ รึฟังนิดหน่อย ช่วงจะเปลี่ยนไป World Music เลยเลิกตามเพลง Jazz

                    แต่ปราชญ์ ป๋มก๊ะว่ายังเล่นธรรมดาทั่วๆ ไปนะ
                    เก่งที่สามารถจัดการสิ่งที่ชอบ ที่ไปเรียนมา เอามาหากินได้อย่างน่านับถือ อันเน้ สุดยอดมาก
                    รึป๋มฟังเค้ามะรุเรื่องมะรุ งิ

                    โค๊ะ!!!!!

                    Comment


                    • #11
                      เยี่ยมครับ ขอบคุณมาก

                      Comment


                      • #12
                        ขอบคุณมากครับ

                        Comment


                        • #13
                          ผมงงที่ลุงอ๊อดพูดน่ะครับช่วงแรกๆ ช่วยรบกวนขยายความหน่อยครับ แต่ถ้าได้โหลดเพลงของผมไป จะมีเพลงนึงที่ T Square แจมกับ Caseopia ครับ ส่วนอ.ปราชญ์อันนี้ผมไม่ได้พูดในแง่ฝีมือเค้าครับ แต่พูดถึงการวิจารณ์ของเขาต่อตัวนักดนตรี ซึ่งมันน่าจะเป็นคนละเรื่องกันครับ ถ้าไม่เช่นนั้น คนที่ไมได้เล่นดนตรีนี่ยิ่งไม่มีน้ำหนักในการวิจารณ์นักดนตรีเลย ซึ่งก็ไม่ถูกนัก เพียงแต่นักดนตรีจพได้เปรียบเนื่องจากเขารู้ทฤษฎี กฎในการเล่น จึงสามารถวิเคราะห์ออกมาได้มากกว่า แต่การบรรยายถึงอารมณ์ ความรู้สึก อันนี้ก็ไม่จำเป็นครับ

                          Comment


                          • #14
                            และแล้วก็มาถึงนักดนตรีคนสุดท้ายที่ผมจะนำเสนอแล้วครับสำหรับ Partนี้ บุคคลนี้เป็นมือกีตาร์สายแจ๊สที่ผมชอบมาก นั่นคือ John Mclaughlin แห่งวง Mahavishnu Ochestra ส่วนตัวผมชอบอะไรที่เกี่ยวกับฮินดูอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอวงนี้เข้าเรียกได้ว่าเข้าทางเลยครับในตอนแรกนั้นเขาได้เล่นกับ Miles Davis และยังไปร่วมวงกับมือกลอง Tony Wiliams พร้อมกับออกอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง 3 ชุด คือ Extrapolation, My Goal's Beyond และ Devotion ซึ่งมีส่วนผสมของทั้ง Fusion และ Post-Bop ต่อมาในช่วงปี 1971 McLaughlin จากนั้นจึงได้ร่วมกับนักดนตรีแจ๊สหลายคนเช่น Billy Cobham,Jerry Goodman,Jan Hammer และ Rick Laird ตั้งวง Mahavishnu Orchestra ซึ่งรูปแบบดนตรีจะเป็น Progressive fusion Jazz Rock อย่างชัดเจนและยังมีกลิ่นอายของดนตรีอินเดียและดนตรีคลาสสิคยู่ด้วย ก็แน่นอนเพราะ John เป็นศิษย์เอกของ Ravi Shankar มือซีตาร์ผู้โด่งดังของอินเดียนี่ อัลบั้ม The Inner Mounting Flame กับ Birds of Fire ผมให้เป็นอัลบั้มขึ้นหิ้งเลย ทิศทางของตัวดนตีนั้้นจะเน้นการอิมโพรไวส์ที่เร่าร้อนประกอบกับภาคดนตรีที่ซับซ้อนตามแนวทาง Progressive แต่แฝงความสละสลวยไว้ในตัว ด้วยตัวนักดนตรีเองที่ถือเป็นระดับปรมาจารย์กันทุกคน ทำให้ผลงานที่ถ่ายทอดออกมาเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบทีเดียว
                            การอิมโพรไวส์โดยไม่มีขอบเขตของ McLaughlin ไวโอลินและคีย์บอร์ดก็ที่อิมโพรไวส์เข้ากันได้อย่างดีคอยสร้างเมโลดี้ซ้อนทับกันหลายๆ ชั้น นั่นเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพที่เต้มเปี่ยมของวง นอกจากนี้ งานเดี่ยวของเขาก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน เห็นได้จากการทดลองเล่นรูปแบบที่แปลกใหม่อยู่ตลอดเวลาหรือผมจะใช้คำว่า Experimental เขามีหัวก้าวหน้าและพัฒนาตนเองตลอดเวลาและมีความสนใจในดนตรีหลายแขนงพร้อมกับศิลปวัฒนธรรมนั้นด้วยๆ ดังจะเห็นได้จากชุด Industrial Zen เป้นต้น นักดนตรีที่เคยร่วมงานกับเขาก็มีแต่ระดับฝีมือเยี่ยมกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นShakti,Santana,Chick Corea,Jimi Hendrix และการรวมตัวกับ Al Di Meola และ Paco De Lucia สร้าง Live อันเป็นตำนาน Friday Night in San Francisco เป็นต้น จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเล่นของ John นั้นแทบจะครบเครื่องทีเดียวเพราะมีสไตล์การเล่นที่หลากหลายแนวเป้นอย่างมากและนำมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัวประกอบกับหน้าตาที่หล่อเหลาและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เขามีเพื่อนในวงการมากมายและเป้นที่ที่รู้จักในวงกว้าง เนื่องจากเป็นมือกีตาร์สัญชาติเดียวกับ Allan Holdsworth บางครั้งจึงมีคนเปรียบเทียบฝีมือการเล่นของเขากับ Allan ว่าใครเก่งกว่า ซึ่งมันวัดกันยากเพราะ Allan นั้นจะมุ่งไปทางการเล่นที่มีเอกลักษณ์เป็นอย่างมากเสมือนกับมุ่งไปทิศทางเดียวเลยส่วน John นั้นจะเน้นเอกลักษร์ที่มาจากการผสมผสนรูปแบบการเล่นของแต่ละแนว นำเอาข้อดีมารวมกัน แต่สำหรับผม ผมชอบ John มากกว่าเพราะเข้าถึงตัวดนตรีของเขาได้มากกว่า Allan ซึ่งฟังไม่ออกว่าเขาเล่นอย่างไร แต่บางเพลงของ john ที่แม้จะฟังรู้เรื่องนั้นแต่ก็ออกแนวเครียดได้เหมือนกันเช่นเพลง Spectrum ฟังแล้วเหมือนมีรังสีคอสมิคตกลงมาที่ตัวเรา ทำนองขับเคลื่อนจนทำให้ผมรุ็สึกร้อนข้นมาจับใจ โดยทำนองเพลงจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆราวกับแสงที่ไล่สีจาก ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสดง แดง ฟังแล้วทึ่งในความสามารถเลยทีเดียว ในด้านอุปกรณ์ เขาจะไม่เน้นใช้ซินส์มากนัก แต่ก็มีกีตาร์ Gibson EDS-1275 Double neck คู่กายของเขา และกีตาร์แกะสลักลวดลายแบบอินเดียนาม bogue ที่ผมชอบมาก (ได้ไอเดียว่าถ้าเราสั่งทำ จะแกะเป้นลายกินรีบ้าง) เอาล่ะครับ ยังไงก็ลองไปฟังกันดู เพราะคงบรรยายไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว ต้องลองสัมผัสกันเองสำหรับตำนานฟิวชั่นแจ๊สร๊อคผู้นี้ ผมก็ขอจบ Part 2 ไว้แค่นี้แล้วกัน ส่วนใครอยากจะร่วม Review ต่อจากผมก็เชิญได้เลยครับจะได้แบ่งปันความรู้แก่กันและกันครับ
                            Attached Files

                            Comment


                            • #15
                              part ต่อไป ขอเป็น Bossa Nova นะคับ ^^

                              Comment

                              Working...
                              X