Announcement

Collapse
No announcement yet.

การต่อ led หลายๆ ดวงอย่างไงครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • การต่อ led หลายๆ ดวงอย่างไงครับ

    การต่อ led หลายๆ ดวงอย่างไงครับ สอนหน่อย

  • #2
    ต่อแบบขนานดีก่านะ

    Comment


    • #3
      ต่อรวมกันเลยคับ ผมต่ออนุกรมอ่ะ ก็ OK นะ ไฟพออ่ะนะ ผมใช้ 12 V 5 ตัว

      Comment


      • #4
        แนะนำให้ต่อแบบขนานนะคะ แล้วใช้ R ดรอป เอา

        Comment


        • #5
          Originally posted by nongnew2000 View Post
          แนะนำให้ต่อแบบขนานนะคะ แล้วใช้ R ดรอป เอา
          ช่ายคับ ดรอปกระแสลงมาหน่อย แล้วแต่LED จะใช้R ถึงจะพอดี

          Comment


          • #6
            Vแหล่งจ่ายไฟ หมายถึง แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ มีหน่วยเป็น โวลท์
            I หมายถึง กระแสที่ต้องการ มีหน่วยเป็น แอมแปร์
            R หมายถึงค่าความต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม
            Vตกคร่อม หมายถึง แรงดันค่าหนึ่งที่สามารถทำให้ LED ( หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำขนิดอื่นๆ) ทำงานได้
            Vรวม หมายถึง แรงดันจริงที่ผ่านการคำนวณแล้ว

            *(1000mA(มิลลิแอมแปร์) = 1แอมแปร์)


            ต่อขนาน ต้องใช้ R ดรอป แต่ละตัว จะได้ความสว่างที่ไกล้เคียงกัน
            ถ้าขนานแบบรวม ตัวที่ แรงดันตกคร่อมต่ำกว่า จะสว่างกว่า

            Vรวม = I*R

            Vรวม = Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม

            Vแหล่งจ่ายไฟ-Vตกคร่อม LED = I*R

            LED สีแดง Vตกคร่อม 1.8โวลท์ กระแสที่ต้องการ 5-15mA
            LEDสีเขียว Vตกคร่อม 2.2-2.3โวลท์ กระแส 5- 15mA แนะนำความปลอดภัยที่ 10mA

            ตัวอย่าง ถ้าต่อกับไฟ 5 โวลท์ ด้วย LED สีแดง และ กระแส 10mA จะจะต้องใช้ R เท่าไหร่

            จาก Vรวม = I*R จะได้ R=Vรวม/I

            R = (Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม) / I

            R = 5-1.8/0.010 = 320 โอมห์ ค่าที่มีขายตามท้องตลาด 330 โอมห์ (รหัสสี แบบ5% ส้ม ส้ม น้ำตาล ทอง)

            ตัวอย่าง ถ้าต่อกับไฟ 12 โวลท์ ด้วย LED สีเขียวและ กระแส 10mA จะต้องใช้ R เท่าไหร่

            จาก Vรวม = I*R จะได้ R=Vรวม/I

            R = (Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม) / I


            R = 12-2.2/0.010 = 980 โอมห์ ค่าที่มีขายตามท้องตลาด 1000 โอมห์ (รหัสสี แบบ5% น้ำตาล ดำ แดง ทอง)



            ข้อดีของการต่อแบบขนาน ด้วย R ดรอปแยก จะได้ความสว่างที่ใกล้เคียงกัน
            และถ้าหลอดLEDใดหลอดหนึงเสีย ก็จะไม่ส่งผลกระทบถึงตัวอื่น

            ข้อเสีย อุปกรณ์เยอะ ใช้สายไฟเยอะ
            Last edited by zicmaxx; 15 May 2007, 13:23:59.

            Comment


            • #7
              Vแหล่งจ่ายไฟ หมายถึง แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ มีหน่วยเป็น โวลท์
              I หมายถึง กระแสที่ต้องการ มีหน่วยเป็น แอมแปร์
              R หมายถึงค่าความต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม
              Vตกคร่อม หมายถึง แรงดันค่าหนึ่งที่สามารถทำให้ LED ( หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำขนิดอื่นๆ) ทำงานได้
              Vรวม หมายถึง แรงดันจริงที่ผ่านการคำนวณแล้ว


              การต่อแบบอนุกรม เอาขั้วบวกของอีกตัว ไปต่อขั้วลบของอีกตัว (โดยปกติ ย้ำนะ ว่าปกติ แต่บางตัวไม่ปกติ แต่มีน้อยมากๆ มองเข้าไปข้างใน LED ขาที่เป็นแผ่นโลหะแบนๆ จะเป็นขั้วลบ)

              พูดถึงข้อดีข้อเสียก่อนเลยดีกว่า

              ข้อดี ใช้อุปกรณ์น้อย (แค่นี้แหละ)

              ข้อเสีย ถ้าหลอด LED ดวงใดดวงหนึงเสีย ก็จะไม่สว่างทั้งหมด
              จำนวน LED ที่ต่อได้ Vตกคร่อม ต้องน้อยกว่า V ของแหล่งจ่ายไฟ
              ต้องใช้ R วัตต์สูงเพื่อให้ทนต่อกระแสจำนวนมากที่ไหลผ่าน


              การต่ออนุกรม
              ใช้สูตรเดิม Vรวม = I*R

              Vรวม = Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม

              แต่ Vรวม จะได้จาก Vแหล่งจ่ายไฟ - (Vตกคร่อม1+Vตกคร่อม2+Vตกคร่อม3+... )= I*R

              ถ้าต่อกับไฟ 12V จะใช้ LED สีแดงได้ 6 ตัว มากกว่านี้ไม่ได้
              สีเขียวได้แค่ 5 ตัว
              ก็เอา ค่า Vตกคร่อม มาบวกกัน ไม่ให้เกิน Vแหล่งจ่าย



              ตัวอย่าง ต่อ LED สีเขียว อนุกรม 3 ตัว กับไฟ 12V แต่ละตัวต้องการกระแส 10mA (1000 มิลลิแอมป์แปร์ = 1แอมแปร์) กระแสรวม = 30mA ต้องใช้ R เท่าไหร่

              จาก Vรวม = I*R

              จะได้Vแหล่งจ่ายไฟ - (Vตกคร่อม1+Vตกคร่อม2+Vตกคร่อม3) = I*R

              12-(2.2+2.2+2.2) = 0.030*R

              R = 5.4 / 0.030 = 180 โอห์ม ค่าที่มีขายตามท้องตลาดพอดี รหัสสี น้ำตาล เทา น้ำตาล ทอง

              คำนวณ กำลังวัตต์ของ R ที่ต้องใช้
              จากสูตร P=I กำลัง 2 คูณ R ( P=I(ยกกำลัง)2*R )

              P= 0.03*0.03*180 = 0.162 วัตต์


              ใช้ตัวต้านทาน 1/4 วัตต์ได้สบาย
              Last edited by zicmaxx; 15 May 2007, 13:29:38.

              Comment


              • #8
                อย่างที่เพื่อนบอกเลยครับ

                Comment


                • #9
                  ช่วยอธิบายให้ละเอียกกว่านี้ได้ป่าวคับคือว่าไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เลยคับ
                  ขอบคุณคับ

                  Comment


                  • #10
                    ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องครับ

                    Comment


                    • #11
                      โอ้จอร์จ

                      เอาเป็นว่าไม่เข้าใจตรงไหนถามดีกว่า ถามเป็นข้อๆนะ จะมาตอบให้

                      Comment


                      • #12
                        กำ...นึกว่าต่อในเคสทีละหลายๆๆแผง

                        Comment


                        • #13
                          ซื้อสำเร็จรูปเลยคับ เอาของมอ,ไซค์อ่ะคับ 12V เหมือนกัน เค้าต่อแบบขนานคับ ผมใช้อยู่ขาดแล้วดวงอื่นก็ยังติดอยู่

                          Comment


                          • #14



                            จะเอาแบบกี่ดวงก็ใส่เลย

                            ปล. ขออภัยรูปห่วย โฟโต้ช้อปใช้ไม่เป็นครับ

                            ขออภัยนะครับ ในรูปผมทำขา LED ผิดด้าน ท่านจขกท.ต้องลองดูว่าต่อไฟด้านไหนแล้ว LED ติดจึงค่อยมาต่อวงจรนะครับ

                            Comment


                            • #15
                              เยี่ยมเลยครับ แต่ขาผิดไปหน่อย อิอิ

                              เดี๋ยวผมทำรูปให้ดูแล้วกัน

                              Comment

                              Working...
                              X