Announcement

Collapse
No announcement yet.

Intel 80 core Processcer

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • Intel 80 core Processcer

    เจาะลึกชิป 80 คอร์ Terascale
    tags: Special Report In-Depth intel Processor

    หลังการสาธิตชิประดับ 80 คอร์จากอินเทลด้วยกระแสที่ออกมาเกี่ยวกับการออกแบบ Tiled CPU อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นไปได้เป็นอย่างยิ่งกว่าเราจะได้เห็นชิปเช่นนี้ในตลาดหลักกันในไม่ช้า ด้วยแนวคิดใหม่ที่ต่างจากการออกแบบชิปแบบมัลติคอร์แบบเดิมๆ ที่ใช้คอร์ความเร็วสูงหลายชุดมาต่อกัน ทำให้ได้ความเร็วที่ดีไม่ว่าจะเป็นการรันโปรแกรมแบบเธรดเดียวในแบบเดิมๆ หรือจะเป็นการรันโปรแกรมแบบหลายเธรดที่ทำให้สามารถใช้งานทุกคอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่การออกแบบ Tiled CPU จะเป็นการออกแบบเพื่อการใช้งานโปรแกรมหลายเธรดโดยเฉพาะ แม้จะทำให้การรันโปรแกรมแบบเธรดเดียวช้าลงไป แต่ประสิทธิภาพในหลายๆ ด้านที่ได้กลับมากลับน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่ซีพียูในรูปแบบสถาปัตยกรรมเช่นนี้จะมีขายตามห้างไอที เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าการออกแบบชิปแบบใหม่นี้แตกต่างและดีกว่าแบบเดิมๆ อย่างไร

    หลังการเปิดตัวชิปแบบมัลติคอร์ไปไม่นาน เป็นที่รู้กันดีว่าการเพิ่มจำนวนคอร์เข้าไปในซีพียูเพื่อเร่งความเร็วเครื่องนั้นจะพบกับขีดจำกัดที่ประมาณ 16 คอร์เนื่องจากคอขวดอื่นๆ เช่น การสื่อสารระหว่างคอร์ การอ่านหน่วยความจำ ตลอดจนข้อจำกัดอื่นๆ เช่นการใช้พลังงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการก้าวข้ามขีดจำกัดเหล่านี้ งานวิจัยใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2004 ถึงปี 2006 ที่ผ่านมาจึงมีการเสนอถึงการออกแบบ Tiled Processor (TP)

    ก่อนอื่นเราควรรู้ว่าเทคโนโลยีซีพียูนั้นพยายามประมวลผลแบบขนานโดยโปรแกรมเมอร์ไม่รู้ตัวมาก่อนหน้าที่การออกแบบแบบมัลติคอร์จะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เช่น Superscalar ที่ตัวซีพียูสามารถตัดสินใจทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้โดยผลลัพธ์ไม่แตกต่างจากการทำงานปรกติ หรือจะเป็นเทคโนโลยี VLIW ที่สร้างการทำงานแบบขนานด้วยการให้คอมไพล์เลอร์จัดเรียงคำสั่งให้ซีพียูสามารถดึงเข้าไปทำงานได้ทีละหลายคำสั่งโดยไม่มีผลต่อผลลัพธ์อีกเช่นกัน ปัญหาหลักคือการเพิ่มความเร็วในการทำงานด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถขยายความเร็วระบบได้อย่างอิสระ และที่แย่กว่านั้นคือการออกแบบเช่นนี้ลดประสิทธิภาพการใช้พลังงานลงเป็นอย่างมาก

    การแก้ปัญหาในตอนนี้จึงมีการเสนอการใช้งานซีพียูหลายคอร์ขึ้นมาเพื่อให้ระบบสามารถขยายได้โดยง่าย เช่นการใช้ซีพียูดูอัลคอร์ในทุกวันนี้ ปัญหาคือการเขียนโปรแกรมที่ทำงานแบบเธรดนั้นค่อนข้างยาก และการใช้งานจริงจะมีข้อจำกัดเช่นคอขวดของการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอร์ เนื่องจากทุกคอร์นั้นต้องส่งข้อมูลผ่านบัสร่วมกัน

    Tiled Processor แก้ปัญหาทั้งหมดด้วยการออกแบบคอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก โดยแต่ละคอร์นั้นมีการเชื่อมต่อกับคอร์ข้างเคียงในรูปแบบตาราง ทำให้ทุกคอร์สามารถส่งข้อมูลไปยังคอร์ข้างเคียงได้ค่อนข้างเร็วมาก
    Last edited by Poomsan; 17 Jun 2007, 13:49:44.

  • #2
    พัฒนาการจากคอร์เดี่ยวมาถึง Tiled Processor

    ข้อดีของการออกแบบซีพียูแบบนี้คือการที่ตัวซีพียูแต่ละคอร์สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้โดยยังสามารถส่งข้อมูลไปยังซีพียูที่ต้องการประมวลผลอื่นๆ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเส้นทางการส่งข้อมูลที่สามารถออกแบบให้สั้นเข้าด้วยการวางคอร์ที่ต้องทำงานต่อเนื่องกันให้อยู่ติดกัน โดยแบ่งการทำงานออกเป็นกลุ่มๆ ได้ตามความต้องการของซอฟต์แวร์ที่รันอยู่ในเครื่องขณะนั้นๆ นอกจากการแบ่งการทำงานเป็นกลุ่มแล้ว การแบ่งส่วนของซีพียูออกเป็นตารางยังทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับบางคอร์ในกระบวนการผลิต ผู้ผลิตยังมีโอกาสที่จะปิดการทำงานของคอร์นั้นโดยยังคงส่งชิปตัวนั้นสู่ตลาดได้ ตรงนี้เป็นกระบวนการแบบเดียวกับชิป Cell ของ PS3 ที่มี SPE ทำงานอยู่ 7 ชุดทั้งที่ผลิตไว้บนตัวชิปถึง 8 ชุด เพื่อลดการคิดทิ้งในกระบวนการผลิต

    Comment


    • #3
      การจัดกลุ่มการทำงานของคอร์ใน Tiled Processor

      ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือการเข้าถึงหน่วยความจำแบบ NUMA ของชิป Terascale ที่ทางอินเทลได้ออกแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยความจำกับซีพียูแต่ละคอร์โดยตรง จากการผลิตที่เป็นแผ่นเวเฟอร์ประกบกัน ทำให้แต่ละคอร์ของ Terascale สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำได้ด้วยความเร็ว 40 กิกะไบต์ต่อวินาทีในแต่ละคอร์ เมื่อรวมกันแล้วทำให้ชิป Terascale มีการส่งข้อมูลกับหน่วยความจำด้วยแบนวิดท์สูงสุดถึง 3 เทราไบต์ต่อวินาทีเลยดีเดียว

      Comment


      • #4
        การผลิตที่วาง DRAM ไว้ใต้ซีพียูโดยตรงทำให้แต่ละคอร์สามารถติดต่อกับแรมได้ด้วยตัวเอง

        ถ้าสังเกตุดูสถาปัตยกรรมของ Terascale แล้วเราอาจจะเห็นความหคล้ายคลึงกับชิป Cell ของ PS3 อยู่หลายประการ โดยความแตกต่างหลักๆ นั้นคือ Cell มีหน่วยประมวลผล PPE ที่เป็นชิปหลักไว้จัดการระบบโดยรวม และการสื่อสาร์ระหว่างคอร์ย่อยๆ นั้นก็เป็นการติดต่อผ่าน Element Interconnection ที่อยู่ตรงกลาง แต่ชิปอย่าง Terascale นั้นกลับมีการกระจายการทำงานออกจากกันทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการที่ชิปไม่มีคอร์ศูนย์กลางโดยแท้จริง หรือจะเป็นการสื่อสารระหว่างคอร์ที่แยกอิสระ

        การออกแบบอย่างอิสระเช่นนี้ ทางอินเทลอ้างว่าจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อไปสามารถทำงานแบบขนานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการรันระบบปฏิบัติการขนานกัน หรือแม้กระทั่งการแตกงานจากเธรดเดียวกันออกไปประมวลผลในหลายๆ คอร์ด้วยความช่วยเหลือของคอมไพล์เลอร์ก็ตาม

        การเดโมของทางอินเทลให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างหน้าตื่นตาตื่นใจ ด้วยการทำความเร็วสูงสุดถึง 1.28 Thz = 1280 Ghz แต่กินพลังงานเพียง 62 วัตต์ ทำให้เราหลายๆ คนอาจจะหวังได้ว่าจะมีการพัฒนาความเร็วพีซีในระดับก้าวกระโดดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ชิปไม่เข้ากับสถาปัตยกรรม x86 ในทุกวันนี้ และอาจจะทำงานร่วมกับสถาปัตยกรรม x86 ไม่ได้แม้ในวันที่วางจำหน่าย จึงน่าสงสัยว่านวัตกรรมที่หลุดจากกรอบในแบบเดิมๆ ไปมากๆ เช่นนี้จะได้รับการยอมรับรึเปล่า แต่ก็ไม่แน่...

        ปล. ปัจจุบัน C2D 2core processer ที่ 2.0 Ghz ก็เร็วแล้ว แต่ในอนาคต 80 core ที่ความเร็ว 1280Ghz เลยนะคับ
        ปล. ไม่รุ้มีคนโพสไปรึยัง ถ้ามีแล้วก็ขออภัยด้วยค๊าบบ


        ขอโทษคับลืม Credit : http://www.blognone.com/node/3929
        Last edited by Poomsan; 17 Jun 2007, 17:28:20.

        Comment


        • #5
          ปล. ไม่รุ้มีคนโพสไปรึยัง ถ้ามีแล้วก็ขออภัยด้วยค๊าบบ
          เอา credit มาแปะด้วยสิทั่น http://www.blognone.com/node/3929
          Last edited by hellods; 17 Jun 2007, 14:11:59.

          Comment


          • #6
            โอว Quad core กำลังจะตกรุ่นแล้ว

            Comment


            • #7
              จิงดิ สองหัว ยังใช้แค่ฟังเพลง เล่นเน็ต ตัดต่อหนังทำ dvd เอง

              Comment


              • #8
                แรงแน่

                Comment


                • #9
                  ราคา จะพอ ๆ กับ Super computer ป่าวหว่า

                  Comment


                  • #10
                    แรงขนาดนี้ราคาคงแพงขี้แตกแน่เลย

                    Comment


                    • #11
                      4หัว ยังไม่มีปัญญาใช้เลย นี่มา 80 core !!!

                      Comment


                      • #12
                        เซง
                        พัตนามาให้ของคนอื่นเขาตกรุ่นเล่น เวง

                        Comment


                        • #13
                          ของเค้าแรงจิงๆ แต่ตามไม่ทันเว้ย รุ้ป่าวเนี่ย

                          Comment


                          • #14
                            ไม่ได้เกิดหรอกครับ

                            ถ้าเข้ากับ x86 ไม่ได้

                            จะให้คนทั้งโลกทิ้ง x86 มันยากนะครับ

                            ถ้าไม่มีทางออกเรื่องนี้ ไม่ได้เกิดแน่นอน

                            Comment


                            • #15
                              แรงปแต่ไม่มีเงิน

                              Comment

                              Working...
                              X