Announcement

Collapse
No announcement yet.

แผ่นเวเฟอร์คืออะไรเหรอคับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • แผ่นเวเฟอร์คืออะไรเหรอคับ

    ไอ้เนี่ยเห็นหลายรอบแล้วใครก็ได้อธิบายให้เข้าใจทีนึง

  • #2
    ตอนเรียนก็เคยได้ยินแต่แผ่นเวเบอร์นะ มันคือแผ่นที่สร้างมาจากสารกึ่งตัวนำ ใช้สำหรับโด๊ปสาร P และสาร N ลงไปตามที่ได้ออกแบบไว้ ทำให้เกิดรอยต่อของสาร เช่น เราต้องการออกแบบทรานซิสเตอร์เราก็ต้องคำนวณว่าต้องโด๊ปสาร P และสาร N ลงไปในแผ่นเวเบอร์ด้วยความหนาแน่นเท่าไรและเป็นพื้นที่เท่าไร จึงจะเกิดเป็นทรานซิสเตอร์

    Comment


    • #3
      งง . . . มันคืออะไรหว่า

      Comment


      • #4
        ขนมไง อิอิ

        Comment


        • #5
          ขนมปังกรอบ

          Comment


          • #6
            เอามาแบ่งแล้วยัดใส่ CPU ใช้กันอยู่นี้แหละ

            ในแผ่นเดียวกันก้อมีหลายตัวหลายคุณภาพ จะมีการใช้ไฟฟ้ามาทดสอบแยกเกรดว่าอันนี้เอาไปทำของแพง อันนี้ไม่ดีเอามาทำของถูก เมื่อก่อนอันที่ความเร็วไม่ถึงจะต้องทิ้งมาหลอมให้ แต่ต่อนนี้(นานและ)Intel พี่เขาเอา2อันมาทำเปง Duoคอร หรือ แพนเทียม-Dนั้นเอง ไคใช้อยู่ รู้ประวัดไว้ด้วยนะ

            Comment


            • #7
              จนแล้วจนรอดก็ยังงงอยู่ดี

              Comment


              • #8
                ดันนน

                Comment


                • #9
                  ก็คือ ตัว core cpu ไงครับ ตัดๆเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วใส่ กระดอง ใส่ขา

                  Comment


                  • #10
                    มันคือแร่ธาตุซิลิกอนครับ (Si)
                    ธาตุซิลิกอนเป็นธาติกึ่งตัวนำ เป็นกึ่งโลหะตัวนึง ในธรรมชาติ ไม่พบอยู่เดี่ยวๆ ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่กับธาตุอื่นๆ
                    กลายเป็นของต่างๆ สิ่งที่มีธาตุซิลิกอนมากที่สุดคือ ทราย (เอามาทำแก้วก็ได้นะ)

                    แล้วเอามาสังเคราะห์ให้เป็นธาตุซิลิกอนที่บริสุทธิ์มากๆ 99.99% เพราะถ้าเกิดมีธาติอื่นปนอยู่ วงจรที่ผลิตขึ้น
                    เล็กมากๆ อิเล็กตรอนจะสะดุดและวิ่งผ่านไม่ได้และจะเสียทันทีครับ

                    แผ่นนี้แหละครับที่เรียกว่าแผ่นเวเฟอร์ จากนั้นก็เอาแสงที่มีความยาวคลื่นน้อยมากๆ(พลังงานสูงมากๆ)
                    เมื่อมีความยาวคลื่นน้อย ก็จะเหมือนดินสอแหลมๆ เขียนลงบนเวเฟอร์เป็นวงจรต่างๆ
                    ปัจจุบันใช้ 45nm และปีหน้า i7 ที่มาใหม่จะเป็น 32nm แล้ว หน้าตัดของเส้นผมสามารถวางวงจรต่างๆได้มากมายเลย

                    มีข่าวออกมาว่า ปัจจุบัน ถึงขีดสุดของ ซิลิกอนแล้วในการเพิ่มความเร็ว CPU ซึ่งความเร็วจะทำได้เพียง 3.2-4.0Ghz และปล่อยหลังงานความร้อนสูงมากๆๆ สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามาก และธาตุก็โมเลกุลใหญ่
                    ลองย้อนกลับไปสมัย P4 เพิ่มความเร็วเป็นว่าเล่น ต่อมา PD เพิ่มความเร็วไม่ได้ เลยทำเป็น 2 คอร์แทน

                    และมีข่าวตามออกมาว่า ธาตุแกรไฟต์(กึ่งโลหะอีกตัว) ที่เราๆใช้ทำดินสอกันนั่นแหละ(ผสมกับคาร์บอน)
                    สามารถทำความเร็วได้อย่างน้อยๆก็ 6-7GHz แล้ว อนาคตจะได้เห็น CPU ที่ทำจากไส้ติดสอแล้วล่ะ

                    Comment


                    • #11
                      สรุปสั้นๆ ก็แผ่นวงจรของ CPU นั้นแหละครับ (Core) เวลาผลิตจะทำทีละหลายๆ ตัว
                      สมัยก่อนแผ่นเวเฟอร์จะเป็นตัวกำหนดความเร็วของ CPU คือ เวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอน
                      บริสุทธิ์มากๆ จะเป็นตัวกึ่งนำไฟฟ้าได้ดี กว่าเวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอนเกรดต่ำ ถึงขนาด
                      ว่ามีการระบุกันเลยว่าโรงงานของอินเทล (Fab) ที่นั้นที่นี้สามารถผลิตเวเฟอร์ได้
                      คุณภาพดีแตกต่างกัน แผ่นเวอเฟอร์ถูกฝังวงจรเหมือนรายพิมพ์เขียวแล้วใช้เลเซอร์
                      คัต ตัดออกเป็นชิ้นเล็ก (Package) ก่อนไปประกบกับชั้นอื่นๆ อีก 6-9 ชั้นตามการ
                      ออกแบบ ชั้นอื่นๆ จะเป็นลายวงจรทองแดง หรือชั้นค้ำจุน (Support) ให้เวเฟอร์

                      ปกติเวลาผลิตทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจตุรัสครับ แต่เวลาโฆษณาจะตัดให้กลมสวย
                      ในอดีตอินเทลเคยออกมาบอกว่าทำต้นแบบ 5GHz สำเร็จแล้วแต่ก็ไม่ปรากฏ
                      ว่าจะมีวางขาย เพราะความถี่สูงมากทำให้ Error สูงจากการรบกวนของความถี่
                      สูงตามไปด้วย จึงเปลี่ยนไปเพิ่มจำนวณ Core แทนความถี่ และทำงานแบบ
                      คู่ขนาน (HT) แทนแบบเดิมที่ทำได้ทีละคำสั่ง จึงยังใช้ซิลิกอนทำเวเฟอร์ได้

                      ความร้อนไม่ใช่ปัญหาสำหรับความถี่สูงๆ เพราะการใช้ไฟฟ้าน้อยลง (VCore)
                      ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นมีน้อยลงด้วยตามเทคโนโลยีการผลิตที่ยิ่งเล็กยิ่งกิน
                      ไฟน้อย แต่เมื่อเล็กจนถึงระดับหนึ่งไฟฟ้าจะกระโดดข้ามช่อง (Gap) ทำให้
                      การประมวลผลผิดพลาด (0->1,1->0) สูงมาก ซึ่งไม่ควรเกิดกับ Processor
                      คาดว่าในอนาคตจะใช้วิธี Atomization การเรียงตัวของ Atom แทน ทำให้
                      สามารถกลับไปเพิ่มความเร็วของสัญญาณได้มากถึง 10GHz / 1 Core
                      ผิดพลาดประการใดขออภัยผมเด็กไบโอไม่ชำนาญทฤษฏีคอม

                      Comment


                      • #12
                        ขาดไปนิด

                        ซิลิกอนเป็นธาตุที่มีคุณสมบัติกึ่งตัวนำคือในสภาวะปกติไม่นำไฟฟ้าแต่สามารถกระตุ้นให้นำ
                        ไฟฟ้าได้ ส่วนซิลิก้าคือทรายครับเกิดจากซิลิกอนรวมกับออกซิเจน สมบัติกึ่งตัวนำไฟฟ้า
                        ของซิลิกอนทำให้เหมือนมีสวิตท์เปิด-ปิดนับล้านในวงจรหรือที่เราเรียกว่า ทรานซิสเตอร์
                        ซึ่งในสมัยก่อนใช้หลอดแก้วสูญญากาศแต่ขนาดใหญ่และใช้ไฟฟ้ามหาศาลจึงเปลี่ยน
                        ให้มีขนาดเล็กลงๆๆๆ และในที่สุดก็ใช้ซิลิกอนควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าแทนครับ

                        Comment


                        • #13
                          นึกว่าขนาดซะอีก หิหิหิ

                          Comment


                          • #14
                            ความรู้แน่นจิงๆ

                            Comment


                            • #15
                              Originally posted by nununu View Post
                              ธาตุแกรไฟต์(กึ่งโลหะอีกตัว) ที่เราๆใช้ทำดินสอกันนั่นแหละ(ผสมกับคาร์บอน)
                              สามารถทำความเร็วได้อย่างน้อยๆก็ 6-7GHz แล้ว อนาคตจะได้เห็น CPU ที่ทำจากไส้ติดสอแล้วล่ะ
                              เอ่อ ท่านครับ แกรไฟต์(ไส้ดินสอ) มันไม่ใช่ชื่อธาตุนะครับ แกรไฟต์เป็น carbon ที่ทำพันธะโคเวเลนท์กันในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่แข็งแรงมากนักสามารถเลื่อนหลุดเป็นชั้นๆได้ง่าย (เวลาไส้ดินสอฝนกับกระดาษจึงเลื่อนหลุดติดกระดาษไปไง) และด้วยรูปแบบการวางตัวของมัน ทำให้มันสามารถนำไฟฟ้าได้ด้วยครับ carbon ในรูปแบบอื่นๆ เช่น เพชร(เพชรก็เป็นธาตุcarbonที่ทำพันธะโคเวเลนท์กันเช่นกัน แต่โครงสร้างมันแข็งแรงกว่ากันมาก) ขี้เถ้า และอนุพันธ์อื่นๆของcarbon ที่เป็นของแข็งไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ครับ

                              ปล.จากเด็กสายวิทย์คนหนึ่งซึ่งอ่านผ่านมาแล้วสะดุดกับคำว่าธาตุแกรไฟต์

                              Comment

                              Working...
                              X