Announcement

Collapse
No announcement yet.

ศัพท์ เครื่อ่งเสียง

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ศัพท์ เครื่อ่งเสียง

    ผมเป็นคนนึงที่บางครั้งอ่านบทความหรือกระทู้เกี่ยวกับเครื่องเสียง แล้วไม่เข้าใจศัพท์ทางเทคนิคต่างๆ ทำให้อ่านแล้วไม่เข้าใจ พอดีไปเจอกระทู้นี้เข้าจากเว็ป suchartsound เห็นว่ามีประโยชน์เลยคัดลอกมาให้ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆกัน หวังว่าคงได้ประโยชน์กันไม่มากก็น้อย

    คัดลอกกระทู้คำศัพท์นี้จาก http://www.suchartsound.co.th/ket.php ขอยกเครดิตให้


    เรื่อง ของระบบเสียง

    ระบบ DOLBY SURROUND หรือ ระบบ PRO LOGIC
    คือระบบ เสียงที่ประกอบไปด้วย ทิศทางของลำโพงที่อยู่ด้านหน้า คือ Center และคู่หน้า Surround (อยู่ซ้าย และ ขวา) พร้อมลำโพงคู่หลัง คือ Surround หลัง(แต่เป็น Mono) และมีตู้ SUB รวมเป็น 4.1 channe

    ระบบ DOLBY DIGITAL หรือ ระบบ AC-3
    คือระบบ สียงที่ประกอบไปด้วย ทิศทางของลำโพงที่อยู่ด้านหน้า คือ Center และคู่หน้า Surround (อยู่ซ้าย และ ขวา) พร้อมลำโพงคู่หลัง คือ Surround หลัง(แต่เป็น Stereo) และมีตู้ SUB รวมเป็น 5.1 channe

    ระบบ DTS ย่อมาจาก DIGITAL THEATER SYSTEM
    คือระบบเสียงที่มีร่องเสียง 6CH (ถ้า AC-3 เรียกว่า 5.1CH) ระบบนี้ลำโพงจัดแบบ AC-3 มี Center, Surround หน้า, Surround หลัง, และ Subwoofer แต่สัญญาณ DTS จะมีความชัดเจนกว่า ระบบAC-3 ตรงที่ว่าสัญญาณที่ออกมาจากเครื่องเล่น CD หรือ DVD ไปที่เครื่องถอดรหัสเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่ง AC-3 เป็นสัญญาณอนาล็อก เสียงของ DTS จึงมีความชัดเจน และให้ความสมจริงเหนือกว่า

    ระบบ SDDS ย่อมาจาก SONY DINAMIC DIGITAL SOUND
    คือระบบเสียงที่มี 7.1CH ส่วนใหญ่จะใช้ในโรงภาพยนต์ มีลำโพง Center, Surround หน้า,Surround หลัง, Subwooferและมีเพิ่มจากระบบ DTS ตรงที่มี Surround กลาง อีก 2CH เสียงให้ความชัดเจนขึ้น แต่เสียงในระบบ DTS จะเคลียร์ และฟังดีกว่า เนื่องจากเป็นระบบ DIGITAL ซึ่งเปิดจาก CD ROM LINK กับแผ่นฟิลม์หนัง แต่เสียงในระบบ SDDSใช้เสียง DIGITAL ในร่องหนามเตย จึงมีความคมชัดสู้ระบบ DTS ไม่ได้

    ระบบ HI-POWER
    คือระบบที่ใช้กำลังในตัวเอง เช่น วิทยุ-เทป ติดรถยนต์โดยทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีกำลังวัตต์ถึง (60W x 4CH) แล้วขับกำลังในตัวเองออกสู่ลำโพง

    ระบบ SINGLE-AMP
    คือระบบ วิทยุ-เทป หรือ ซีดี ถ่ายทอดสัญญาณสู่ AMP 1 ตัว (2 CH) โดยใช้กำลังวัตต์จาก AMP ขับกำลังออกสู่ลำโพง

    ระบบ BI-AMP
    คือระบบ เสียงที่ใช้ AMP 2 ตัว (ตัวละ 2CH) ตัวแรก ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์ ตัวที่ 2 ขับลำโพงกลางแหลม โดยอาศัย อิเลคทรอนิคครอสส์ 2ทาง จ่ายความถี่ต่ำ และความถี่กลางแหลมให้

    ระบบ TRI-AMP
    คือระบบ เสียงที่ใช้ AMP 3 ตัว (ตัวละ 2CH) AMP ตัวแรกขับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ AMP ตัวที่ 2 ขับลำโพงเสียงกลาง AMP ตัวที่ 3 ขับลำโพงเสียงแหลม เสียงย่าน ต่ำ, กลาง, และสูง อิสระโดยมี อิเลคทรอนิคคอรสส์ แบบ 3 ทาง เป็นตัวจ่ายสัญญาณให้

    ระบบ CROSS-AMP
    คือระบบเสียงที่ใช้ AMP 4 ตัว (ตัวละ 2CH) AMP ตัวแรก ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์(ทุ้ม) AMP ตัวที่ 2 ขับลำโพงเสียงต่ำ AMP ตัวที่ 3 ขับลำโพงย่านกลาง
    AMP ตัวที่ 4 ขับลำโพงย่านสูง โดยมี อิเลคทรอนิคคอรสส์ แบบ 4 ทาง เป็นตัวจ่ายสัญญาณเหล่านี้ให้



    ศัพท์เครื่องเสียง

    A

    AAD
    หมายถึง เสียงดนตรีที่ได้ถูกบันทึกเป็นต้นฉบับในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก และต่อมาได้แปลงสัญญาณให้เป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลเพื่อบันทึกลงบนแผ่น CD

    AC-3
    หมายถึง ดูได้จากคำว่า Dolby Digital คือระบบเซอร์ราวท์ 5.1 CH

    ADD
    หมายถึง เสียงดนตรีที่บันทึกต้นฉบับ (มาสเตอร์) เป็นสัญญาณอนาล็อก หรือการนำเอามาสเตอร์ดังกล่าวมาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล และเก็บข้อมูลดิจิตอลดังกล่าวลงในแผ่น CD

    Alignment
    หมายถึง การจัดวางทิศทางของหัวเข็มให้ได้ฉากกับร่องแผ่นเสียง เพราะหากทิศทางและมุมของการวางหัวเข็มไม่ถูกต้องเสียงที่ออกมา นั้นจะมีความผิดเพี้ยนสูง ในขณะเดียวกัน Alignment นี้จะรวมไปถึงการจัดวางหัวเทปให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน

    Amplifier
    หมายถึง เรื่องของภาคขยายให้สัญญาณแรงขึ้นให้เพียงพอที่จะขับเสียงของลำโพงได้ การขายสัญญาณจะแบ่งเป็นสองช่วงคือ การขยายสัญญาณอ่อน เรียกว่า Pre-Amplifier ส่วนนี้จะขยายสัญญาณให้แรงขึ้นมาระดับหนึ่งก่อนที่จะป้อนเข้าภาคขยายตัวจริง คือเพาเวอร์แอมป์ และเมื่อในสองส่วนนี้มารวมกันในตัวเดียวกันเราเรียกว่า Integrated - Amplifier

    Analogue
    หมายถึง สัญญาณที่เป็นรูปคลื่นเสียงตามปกติ การรับและส่งสัญญาณก็เช่นเดียวกัน จะไม่เป็นสัญญาณข้อมูลตัวเลขเหมือนสัญญาณดิจิตอล

    Anti-skating
    หมายถึง เป็นตัวดึงและรักษาให้โทนอาร์มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงมีแรงต้านทาน การดึงเข้าสู่ศูนย์กลางในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน

    A COUSTIC
    หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคลื่นเสียง รวมทั้งปริมาตร และรูปลักษณ

    ALTERNATOR
    หมายถึง ส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าในรถ อุปกรณ์นี้สามารถแบทเตอรี ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานแล้วป้อนกระแสไฟไปให้อุปกรณ์ไฟฟ้ารวมทั้งตัวเพาเวอร์แอมพ์ อุปกรณ์ตัวนี้จะผลิตกระแสไฟ ระหว่าง 30-60 แอมแพร์

    ALTERNATOR WHINE
    หมายถึง เสียงความถี่สูงเกิดจากเครื่องทำกระแสไฟ ที่ขยายผ่านเข้าทางระบบเสียงเนื่องจากติดสายลงดินไม่แน่น ดูเพิ่มจากคำ GROUND LOOP

    ALUMINIUM ALLOY
    หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำโดมทวีเตอร์

    AMP-RAC
    หมายถึง แผงติดตั้งแอมพ์ที่สร้างจากโลหะ สามารถยึดแขวนได้

    ANGLE ALGNMENT
    หมายถึง การปรับตั้งมุม หรือทิศทางของลำโพง

    APERIODIC
    หมายถึง ประเภทตู้ซับวูเฟอร์ ที่ออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มช่วงความถี่

    AUX (AUXILARY)
    หมายถึง ช่องสัญญาณเข้า (เสริม)

    AXIS
    หมายถึง ทิศทางของเสียจากลำโพง เช่น ON-AXIX ทิศทางของลำโพงหันไปยังหูผู้ฟังโดยตลอด

    B

    Balanced connections
    หมายถึง การต่อวงจรไฟฟ้าแบบบาลานซ์ เพื่อจัดการให้สัญญาณไม่ว่าขั้วบวกหรือขั้วลบ เปลี่ยนไปจากปกติ ยิ่งเป็นสัญญาณบวกมาเทียบกับระดับอ้างอิง (หมายถึง การลงกราวด์) การต่อสัญญาณแบบบาลานซ์ คือการใช้สัญญาณบวกและลบผ่านมาในตัวนำที่มีการซีลด์ (หุ้มฉนวน) มาอย่างดี เพื่อป้องกันสัญาณรบกวน การต่อแบบนี้นิยมใช้กันในห้องบันทึกเสียงและชุด PA เนื่องจากต้องเดินสายเป็นระยะทางยาวๆ ดังนั้น โอกาสที่สอดแทรกเข้าสู่ระบบเสียงจึงมีอยู่สูง

    Bass
    หมายถึง ความถี่ต่ำและเป็นระดับเสียงตัวที่ 5 ของทางเสียงดนตรี เสียงเบสที่ดีนั้นหมายถึง การถ่ายทอดเสียงของเครื่องดนตรีที่เล่นเป็นริธึ่มออกมาได้ชัดเจน

    Bass reflex
    หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการออกแบบตู้ลำโพง เพื่อให้เกิดการอัดคลื่นในตู้ผ่านท่อออกมาในย่านความถี่ต่ำ ซึ่งทำให้เสียงเบสที่ได้นั้นหนักแน่นขึ้น

    Biamping
    หมายถึง รูปแบบของการต่อเพาเวอร์แอมป์เข้าไปกับซับวูฟเฟอร์ ลำโพงมิดเร้นจ์ และทวีตเตอร์ โดยใช้เพาเวอร์แอมป์ 2 ตัว และใช้เพาเวอร์แอมป์ตัวแรกขับซับวูฟเฟอร์โดยตรง ส่วนตัวที่สองใช้ขับลำโพงมิดเร้นจ์และทวีตเตอร์

    Binding post
    หมายถึง วงแหวนของขั้วต่อสายลำโพงที่สามารถต่อเล่นแบบไบวายร์ หรือต่อเล่นเป็นแบบธรรมดา

    Bit
    หมายถึง ข้อมูลทางสัญญาณดิจิตอล ซึ่งแบ่งออกเป็นช่วงสั้นๆ ของชุดสัญญาณ เช่น อาจเป็น 8 Bit, 14 Bit ซึ่งจะบอกถึงความแรงของสัญญาณในช่วงหนึ่งๆ ของเครื่องเล่น CD, DVD, Video CD

    Bitstream
    หมายถึง วิธีการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลมาเป็นสัญญาณนาล็อกสำหรับซีดี ตัวแปลงสัญญาณในระบบ Bitstream นี้ จะจัดการถอดรหัสดิจิตอลด้วยความเร็วสูงกว่าระบบ DAC ทำให้มีความต่อเนื่องราบเรียบกว่า

    Biwiring
    หมายถึง การต่อสายลำโพงสองชุด แยกสำหรับวูฟเฟอร์และมิดเร้นจ์ ทวีตเตอร์ ลดการรบกวนในสายลำโพง

    Bridging
    หมายถึง การเพิ่มกำลังขับของเพาเวอร์แอมป์ให้มากขึ้น ด้วยการให้สัญญาณจากขั้วบวกของแชนแนลที่หนึ่งและขั่วลบของแชนแนลที่สองของเพาเวอร์แอมป์ ต่อเข้าบวกลบของลำโพงโดยตรง ในกรณีที่ต้องการเล่นเป็นสเตอริโอนั้น ก็ใช้เพาเวอร์แอมป์สองตัว การต่อแบบริจด์นี้ส่วนใหญ่ใช้ต่อเพื่อขับซับวูฟเฟอร์ ไม่รวมถึงทวีตเตอร์เพราะกำลังขับสูงๆ อาจทำให้ทวีตเตอร์เสียหายโดยง่าย

    BASS CONTROL
    หมายถึง การปรับแต่งเสียงเบสส์

    BASS UP FRONT
    หมายถึง เสียงเบสส์จากด้านหลังแผ่มาถึงด้านหน้า

    BANDPASS
    หมายถึง ตู้ซับวูฟเฟอร์ชนิดที่มี 2 ห้อง ซ่อนตัวลำโพงด้านในติดตั้งที่ผนังตู้บริเวณที่อยู่ในตู้ หรือการตัดความถี่เป็นช่วง

    BANDWIDTH
    หมายถึง เกี่ยวกับภาคทูเนอร์ วงจรในเพาเวอร์แอมพ์หรือ ครอสส์โอเวอร์เป็นช่วงความถี่ระหว่าง 2 จุด

    BRIDGE MONO
    หมายถึง การต่อสัญญาณเอาท์พุทเพาเวอร์แอมพ์จาก 2 แชนแนลเป็น 1 แชนแนลเพื่อให้ได้กำลังขับเพิ่มขึ้น

    BUTTERWORTH
    หมายถึง ประเภทวงจรตัดความถี่ในครอสส์โอเวอร์ ที่ให้สัญญาณแฟลท

    C

    Cables
    หมายถึง สายนำสัญญาณ โดยมากอาศัยทองแดงเป็นตัวนำ การออกแบบโครงสร้างของตัวนำของสายแต่ละยี่ห้อ อาจมีความแต่งต่างกันออกไป ฉนวนที่หุ้มอาจต่างกัน สายนำสัญญาณอาจให้ผลความแตกต่างในด้านเสียงได้ เนื่องจากคุณสมบัติทางไฟฟ้าการวางสายยาวๆ ยิ่งกระทบต่อเสียงมาก

    Cable TV
    หมายถึง ขั้วต่สายสัญญาณของทีวีระบบมัลติแชนแนล

    Cartridge
    หมายถึง หัวเข็มเล่นแผ่นเสียงมีหน้าที่เก็บข้อมูลเสียงตามร่องที่ถูกบันทึกมาเป็นรูปคลื่นขยักๆ การทำงานอาศัยปลายเข็มรูดไปตามรูปคลื่นสร้างความเคลื่อนไหวมาตามก้านเข็ม ทำให้มีเส้นแรงแม่เหล็กตัดกับขดลวดสร้างแรงดันไฟฟ้าขึ้นมา

    Compact Disc
    หมายถึง แผ่นดิสด์ที่มีขนาดมาตรฐาน 12 เซนติเมตร เป็นแหล่งเก็บข้อมูลดิจิตอล อ่านสัญญาณด้วยแสงเลเซอร์ แผ่นดิสค์นั้นเริ่มต้นขึ้นมาจากการเก็บข้อมูลทางเสียงดนตรี ต่อมามีการพัฒนาเพื่อให้เก็บสัญญาณภาพได้ด้วย

    CD-R
    ตัวย่อของ CD - Recordable หมายถึง แผ่นดิสค์ที่บันทึกได้ แต่เป็นการบันทึกครั้งเดียว ลบไม่ได้ ให้เสียงลักษณะเดียวกับซีดีซึ่งเหนือกว่า DAT และ MiniDisc

    CD-ROM
    หมายถึง เป็นการใช้ซีดีในแบบของตัวบันทึกข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ บันทึกข้อมูลได้มากเป็น 550 เมกะไบท์

    CD-Text
    หมายถึง เป็นระบบใหม่ของเครื่องเล่นซีดี ซึ่งก็คือตัวอักษรที่ปรากฎบนจอดิสเพลย์ของเครื่องเล่น เพื่อบอกชื่อเพลงและเนื้อร้อง

    Class A
    หมายถึง เพาเวอร์แอมป์ซึ่งทำงานโดยวงจรแต่ละซีกขยายศัญญาณบวกและลบพร้อมๆกัน เพื่อลดการสวิทชิ่ง ทำให้มีความเพี้ยนน้อย ให้คุณภาพเสียงดีมาก แต่เครื่องมักจะร้อนได้ง่าย

    Class B
    หมายถึง เพาเวอร์แอมป์ที่ทำงานโดยวงจรแต่ละซีก ขยายสัญญาณเฉพาะบวกหรือลบเท่านั้น มีประสิทธิภาพสูง แต่คุณภาพเสียงอาจไม่ดีนัก เพาเวร์แอมป์ทั่วไปจะทำงานใน Class A-B คือ ไม่มีไฟเลี้ยงอยู่ระดับหนึ่ง พอจะเป็น Class A ได้ในช่วงที่ใช้กำลังขับน้อยๆ

    Coloration
    หมายถึง การที่เสียงบิดเบือนไปจากเดิม อาจเรียกได้ว่าเป็นการแต่งเติมสีสัน หรือการตกแต่งเสียงนั่นเอง

    Compression
    หมายถึง วิธีการลดเนื้อที่ของการเก็บสัญญาณในระบบดิจิตอล

    Crossover
    หมายถึง อุปกรณ์สำหรับใช้ตัดแบ่งความถี่ย่านต่างๆ เพื่อให้ความถี่ที่ถูกต้องไปยังลำโพงแต่ละตัว เช่น ตัดแบ่งความถี่ต่ำเพื่อส่งไปยังซับวูฟเฟอร์ หรือส่งความถี่สูงไปยังทวีตเตอร์

    D

    DAB
    ย่อมาจาก Digital Audio Broadcasting คือ สถานีวิทยุคลื่น FM และ AM ใดยส่งคลื่นเป็นระบบดิจิตอลสเตอริโอ อย่างเช่น สถานีวิทยุ BCC ให้คุณภาพเสียงยอดเยี่ยม

    DAC
    ชื่อเต็มคือ Digital-to-Analogue Converter เป็นอุปกรณ์ภายในเครื่องเล่น CD, DVD, Video CD ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลให้กลับเป็นสัญาณอนาล็อก บางรุ่นบางยี่ห้ออาจรวมอยู่ในตัวเดียวกัน หรือแยกอคนละตัว

    DAT
    ย่อมาจาก Digital-Analogue Tape เครื่องบันทึกสัญญาณดิจิตลลงบนเส้นเทป ส่วนใหญ่ใช้งานในสตูดิโอ ใช้หัวเทปหมุนคล้ายกับ Video

    Data reduction
    หมายถึง แหล่งเก็บข้อมูลเสียงดนตรีขนาดเล็ก อย่างเช่น เครื่องเล่น MiniDisc ระบบการเก็บข้อมูลนี้มีอยู่ด้วยกันสองระบบคือ ATAC (Adaptive Transform Acoustic Coding) และระบบ PASC (Precision Adaptive Sub-band Coding)

    DCC
    ชื่อเต็มยศคือ Digital Compact Cassette มีรูปแบบเป็นเทปคาสเซทท์ และบันทึกเสียงเป็นสัญญาณดิจิตอลลงบนเส้นเทป

    DDD
    หมายถึง อัลบั้มดนตรีที่บันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอล และผลิตมาสเตอร์ด้วยระบบดิจิตอล หลังจากนั้นจึงนำมาบันทึกลงแผ่นซีดี

    Decibel (dB)
    หมายถึง หน่วยการวัดความเปลี่ยนแปลงจากแรงดันของเสียง เปลี่ยนไปหนึ่ง dB ประสาทหูคนเราอาจจับความแต่งต่างไม่ได้ในขณะที่ +10 dB จะฟังเหมือนดังขึ้นเป็นสองเท่า

    Digital
    หมายถึง จำนวนตัวเลขสองฐาน โดยผ่านกระบวนถอดรหัสเสียงมาเป็นจำนวนตัวเลข เพื่อนำตัวเลขดังกล่าวเก็บเป็นข้อมูลสัญญาณต่างๆ เช่น ข้อมูลในแผ่น CD, DVD, MiniDisc, DAT, DCC

    Digital output
    เป็นสัญญาณดิจิตอลที่ออกมาจากเครื่องเล่น CD หรือ DVD เพื่อที่จะผ่านเข้าสู้เครื่องแปลงสัญญาณ หรือเครื่องบันทึกสัญญาณซึ่งสัญญาณดังกล่าวอาจมาในรูปแบบของไฟฟ้าหรือลำแสงก็ได้

    Distortion
    คือความเพี้ยนทางสัญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงรบกวนที่สอดแทรกเข้ามาตามสายสัญญาณ

    Dolby Labs
    ผู้คิดค้นระบบลดเสียงรบกวนในระหว่างการบันทึกเสียง และระบบเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางสำหรับภาพยนตร์

    Dolby B, C+S
    ระบบขจัดเสียงรบกวนในระหว่างการบันทึกเสียงและเมื่อเล่น Playback เสียงจะออกมาคมชัด เพราะมีการตัดเสียง Hiss ทิ้งไป

    Dolby Digital
    รู้จักกันในชื่อว่า AC-3 เป็นระบบเสียงชุดโฮมเธียร์เตอร์ เป็นการคิดค้นของ Dolby Labs ด้วยการเข้ารหัสดิจิตอลเสียง 5 แชนแนล และอีกหนึ่งแชนนแลเป็นสัญญาณความถี่ต่ำเพื่อส่งไปยังซับวูฟเฟอร์

    Dolby HX Pro
    เป็นระบบที่ช่วยบันทึกย่านความถี่สูงๆ ให้ดีขึ้น และไม่มีความเพี้ยน โดยที่ไม่ต้องมีระบบขจัดเสียงรบกวน

    Dolby Surround
    หมายถึง เสียงสำหรับโรงภาพยนตร์หรือวีดีโอ เข้ารหัสสัญญาณสำหรับเสียงที่ออกมาทางด้านหลังของตำแหน่งนั่งฟัง เมื่อเวลาเล่นก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัส เป็นสัญาณด้านหลังมาประกอบกับเสียงที่เป็นสเตอริโอด้านหน้า

    Dolby Pro-Logic
    เป็นระบบเสียงในชุด โฮมเธียร์เตอร์ เช่นเดียวกัน แต่เน้นความคมชัดของลำโพงคู่หน้า เพื่อให้เสียงบทสนทนาออกมาชัดเจน และเข้ารหัสเซอร์ราวด์ลำโพงคู่หลัง

    Dolby 3 Stereo
    หมายถึง การใช้เพาเวอร์แอมป์ขับเสียงแชนแนลสเตอริโอใน ชุดโฮมเธียร์เตอร์ ให้ออกไปยังลำโพงคู่หน้า ซ้าย/ขวา และอีกแชนแนลส่งสัญญาณสูญหายไปบางส่วน

    Drop - Out
    หมายถึง อาการที่เกิดขึ้นระหว่างการบันทึกหรือเล่นกลับของเทป เมื่อเส้นเทปสัมผัสกับหัวเทปไม่สนิท หรือมีรอยตำหนิบนเทปทำให้สัญญาณสูญหายไปบางส่วน

    DTS
    ย่มาจาก Digital Theater System ระบบ DTS นี้ จะเข้ารหัสสัญญาณดิจิตอลเป็น 6 แชนแนลโดยตรง และกลายมาเป็นคู่แข่งขันกับระบบ Dolby Digital

    Dual mono
    เป็นการออกแบบภาคขยายของเพาเวอร์แอมป์เพื่อให้ซีกขยายสัญญาณ ซ้าย/ขวา ทำงานพร้อมกัน เป็นการช่วยให้เพาเวอร์แอมป์แบบ 2 แชนแนล ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    DVD
    แผ่น CD รูปแบบใหม่ ด้วยการบีบข้อมูลได้จำนวนมาก และบันทึกทั้งสัญญาณภาพและเสียง ให้ความคมชัดสูง

    Dynamic range
    เป็นช่วงความดังที่แต่งต่างระหว่างที่มีสัญญาณดังที่สุดและเบาที่สุด จะบอกในหน่วยเดซิเบล

    E

    Electrostatic
    ส่วนมากจะหมายถึงลำโพงที่อาศัยประจุไฟฟ้าสถิตย์ในการทำแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนไหว ลำโพงประเภทนี้มักมีรูปทรงบางๆ

    F

    Flutter
    คือความไม่คงที่ของการเคลื่อนตัวของเส้นเทป หรือการหมุนของเครื่องเล่นแผ่นเสียง จะเกิดขึ้นแบบวูบวาบชั่วครั้งชั่วคราว

    Frequency
    หมายถึง ช่วงความถี่เสียงที่มนุษย์เราสามารถรับฟังได้ คือตั้งแต่ 20 Hz - 20,000 Hz ถ้าหากความถี่ต่ำหรือสูงกว่านี้จะรับฟังลำบาก

    Front End
    หมายถึง ส่วนที่ให้สัญญาณเป็นอันดับแรก หรือบางครั้งเรียกว่า Head Unit ก่อนที่จะส่งสัญญาณนั้น จะถูกส่งเข้าสู่ภาคขยาย Front end หมายถึงวิทยุ เครื่องเล่นซีดี และรวมไปถึงการแต่งเสียงๆ ด้วย

    H

    HDCD
    ย่อมาจาก High Definiton Compatible Digital เป็นระบบการเข้ารหัส และถอดรหัสสำหรับแผ่น CD ให้คุณภาพเสียงดีเยี่ยมปัจจุบันถูกนำมาใช้กับเครื่องเล่น DVD สามารถถ่ายทอดสัญญาณเสียงเอ็ฟเฟ็คได้สมจริงมากที่สุดในขณะนี้

    Hertz (Hz)
    เป็นหน่วยความถี่ หนึ่ง Hz หมายถึง หนึ่งรอบของคลื่นต่อหนึ่งวินาที

    Horn loading
    หมายถึง วิธีการหนึ่งที่เพิ่ประสิทธิภาพของลำโพง โดยใช้อุปกรณ์ปากแตร จ่อวางหน้าลำโพง I
    Impedance
    เป็นคุณสมบัติทางไฟฟ้าของวงจรที่มีสัญญาณโดยกว้างๆ หมายถึง ความต้านทานของอุปกรณ์แต่ละตัว เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ความต้านทานนี้อาจแปรเปลี่ยนไปกับความถี่ได้ ลำโพงที่มีความต้านทานต่ำคือน้อยกว่า 4 โอห์ม หรือมีความต้านทานที่แปรเปลี่ยนมากๆ นั้น ต้องการเพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขับสูง และเสถียรภาพดีเยี่ยม

    L

    Line level
    ใช้สำหรับสัญญาณทั่วไปที่มีความแรงพอที่จะไม่ต้องขยายขึ้นมาอีก ก่อนป้อนเข้าสู่เพาเวอร์แอมป์

    M

    Midband
    คือช่วงความถี่ของเสียงส่วนใหญ่ และเป็นช่วงความถี่ที่คนเรารับฟังได้อย่างสบายๆ เพราะไม่สูงหรือต่ำมากจนเกินไป เสียงในย่านความถี่นี้คือ เสียงพูดของคนเรา และเสียงร้อง เสียงกลุ่มคอร์ด
    MiniDisc
    มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของซีดี ใช้เทคนิคการบีบข้อมูลเพื่อให้บันทึกสัญญาณได้มากพอสำหรับการเล่นในระยะเวลา 74 นาที
    บันทึกสัญญาณได้โดยผู้เล่น

    Monobloc
    ภาคขยายสัญญาณของเพาเวอร์แอมป์ที่ขยายสัญาณแบบโมโน และบล็อคทั้งสองดังกล่าว แยกกันเป็นอิสระ และนำเมื่อ
    สัญญาณทั้งสองดังกล่าวมารวมกัน สัญญาณที่ได้คือ สเตอริโอ

    Moving coil
    หมายถึง ขดลวดของคอยล์ที่ต่อเข้ากับหัวเข็มแผ่นเสียง เมื่อหัวเข็มเก็บข้อมูลจากร่องแผ่นเสียงจะกำเนิดสนามแม่เหล็ก
    เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังกลหรือเสียงนั่นเอง

    Moving magnet
    คือปิคอัพที่ใช้สำหรับการบันทึกเสียงและเล่น เป็นแม่เหล็กขนาดเล็กต่อเข้ากับหัวเข็ม (ปิคอัพ) เมื่อหัวเข็มรูดไปตาม
    ร่องแผ่นเสียงแม่เหล็กจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมา

    N

    Nicam
    คือวิธีการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ ให้มีคุณภาพเสียงที่ดีเท่ากับซีดี ด้วยการอาศัยเทคนิคทางดิจิตอล

    O

    Ohm
    หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ตัวเลขมากแสดงความต้านทานสูง กระแสผ่านได้ยาก

    Oversampling
    ใช้ในการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลมาเป็นอนาล็อก เป็นเทคนิคในการกรองสัญญาณดิจิตอลและอนุมานข้อมมูล
    หรือสุ่มข้อมูลระหว่างช่วงของการ Sampling

    P

    Passive
    วงจรหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยง ไม่มีการขยายสัญญาณ ให้ผลทางดิสทอรชั้นต่ำ แต่ทำให้เกิดการสูญเสีย
    สัญญาณได้

    Phono stage
    กำลังขับเอาท์พุทของหัวเข็ม แต่การให้กำลังขับสัญญาณจะน้อยกว่าสัญญาณของเครื่องเล่น CD และ Tape Deck เครื่องเล่น
    แผ่นเสียงบางตัวที่มีแอมป์ภายในตัว ถึงแม้ว่าจะใช้แอมป์แบบพิเศษ แต่คุณภาพก็ยังสู้การเล่นแบบแยกไม่ได้ กล่าวคือ
    ใข้เพาเวอร์แอมป์มาขับสัญญาณโดยตรง

    Pixel
    คือหน่วยของการย่อภาพเป็นจุดเม็ดสีของสัญญาณภาพมีขนาดเล็กมาก

    PMPO
    กำลังวัตต์รวม โดยนำมาจากค่าของ IC แต่ละเบอร์ ทำใหมีกำลังวัตต์มาก แต่ไม่ใช่กำลังวัตต์ที่แท้จริง ส่วนใหญ่ใช้กับ เครื่องเล่นมินิคอมโป

    เกร็ดความรู้เครื่องเสียง


    เกี่ยวกับ A M P L I F I E R S

    MOS-FET
    MOS-FET ระบบทรานซิสเตอร์แบบ MOS-FET หรือ Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistor มีความเร็วในการสวิทซิ่งสูงกว่าทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าทั่วไป คุณจะสนุกกับการคืนกลับของเสียงที่ แน่นอน รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่า

    TWIN POWER SUPPLY
    มุมการภาคจ่ายไฟคู่ การแยกภาคจ่ายไฟออกจากกันในภาคขยายแต่ละแชนแนล ช่วยลดการแทรกแซงสัญญาณเสียงในระหว่างแชนแนล ให้ไดิมิติเสียงสเตอริโอที่คมชัดและคงที่ 1

    LOAD CAPABILIITY
    1 LOADCAPABILIITYภาคขยายล่าสุดของโซนี่มีวงจรกำลังสูงที่จำเป็นในการขับสัญญาณด้วยค่าอิมพีแดนซ์ ที่ต่ำเพียง1โอมท์ช่วยให้ต่อซับวูฟเฟอร์แบบขนานได้ซึ่งเป็นวิธีที่จะได้รับเสียงทรงพลังคมใสมีความเพี้ยนต่ำที่สุด

    1 LOAD SELECTABLE
    1 LOAD SELECTABLE ระบบทำงานนี้ให้คุณเปลี่ยนการทำงานระหว่างโหมดแบบแรงดันไฟสูงเพื่อ กำลังขับสูง กับโหมดกระแสไฟฟ้าสูงสำหรับการขับกำลังเสียงด้วยอิมพีแดนซ์ต่ำเพียง 1 โอมท์ ทำให้สามารถใช้ได้ทั้งระบบลำโพงธรรมดาที่มีลำโพงหนึ่งชุดต่อหนึ่งแชนแนล ซึ่งให้กำลังขับสูงหรือชุดลำโพงแบบต่อขนาน ซึ่งเป็นการจัดวางที่ใช้ได้เฉพาะในภาคขยายระดับสุดยอดเท่านั้น

    HIGH PASS FILTER
    High Pass Filter ตัวกรองที่ตัดโทนเสียงต่ำและกลาง ให้เฉพาะเสียงย่านความถี่สูงกับลำโพงทวีทเตอร์ของคุณ LOW PASS FILTER
    มุมการติดตั้งได้ถึง 60 องศา ตัวกรองที่ตัดโทนเสียงกลางและสูง ให้เฉพาะเสียงย่านความถี่ต่ำกับลำโพงซับวูฟเฟอร์ของคุณ

    PWM AMPPLIFIER
    ภาคขยาย PWM ภาคขยาย Pulse Wide Modulation มีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าภาคขยายมั่วไป ขณะที่ มีขนาดกะทัดรัด และกินไฟน้อยกว่า

    HIGH LEVEL INPUT
    ระดับสัญญาณเข้าสูง ภาคขยายของคุณจะรับสัญญาณโดยตรงจากเอาท์พุทลำโพงของชุดเฮดยูนิท ทำให้ สามารถเพิ่มกำลังขับได้ แม้ว่าชุดเฮดยูนิทของคุณจะไม่มีภาคพรี-แอมป์ เอาท์พุทโดยเฉพาะก็ตาม


    เกี่ยวกับ S P E A K E R S

    H.O.P
    ไดอะแฟรม HOP แผ่นไดอะแฟรม HOP High-Oriented Polyolefine ให้การตอบสนองความถี่เสียงกว้างกว่า และให้คุณลักษณะการถ่ายทอดสัญญาณเสียงที่ดีกว่าจึงให้เสียงคมชัด ไร้ความเพี้ยน

    COMPOSITE P.P.
    ไดอะแฟรมชนิด P.P. Composite สารโพลีพรอพีลีนนับเป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการผลิตแผ่นไดอะแฟรม หรือกรวยของลำโพง เนื่องจากมีความแกร่งสูงและคุณสมบัติด้าน Inner Loss ที่ดีเยี่ยม

    RUBBER SURROUND
    ขอบกรวยลำโพงบุยาง การหุ้มขอบกรวยลำโพงด้วยยางช่วยดูดซับเสียงผิดเพี้ยนให้เสียงที่คมใสและชัดเจนขึ้น

    STRONTIURM FERRITE MAGNET
    แม่เหล็กลำโพงแบบสตรอนเตียม เฟอร์ไรท์ ด้วยการพัฒนาฟลักซ์แม่เหล็กที่ทรงพลังกว่าปกติอีก 10% เทียบ กับแม่เหล็กชนิดแบเรียม เฟอร์ไรท์ขนาดเดียวกัน แม่เห็ลกลำโพงแบบสตรอนเตียม เฟอร์ไรท์ของโซนี่จึงให้ ประสิทธิภาพสูงกว่า

    NEODYMIUN FERRITE MAGNET
    แม่เหล็กลำโพงแบบนีโอไดเนียม เฟอร์ไรท์ เป็นแม่เหล็กลำโพงที่สร้างพลังสนามแม่เหล็กได้สูงกว่าแม่เหล็กแบเรียมเฟอร์ไรท์ถึง 9 เท่า จึงนำไปใช้ผลิตลำโพงขนาดจิ๋วสำหรับรถยนต์

    NON-PRESS CONE
    กรวยลำโพงแบบ Non-Press เป็นแผ่นกรวยลำโพงที่ทำจากเยื่อกระดาษที่หล่อขึ้นรูปเป็นทรงโคน และทำให้แห้งด้วยความร้อน โดยไม่มีการรีดให้แห้งทำให้กรวยลำโพงเบาแต่แข็งแกร่งกว่า

    MOLD FRAME
    กรวยลำโพงชนิดหล่อขึ้นรูป นับเป็นการออกแบบที่โดดเด่น ป้องกันการรั่วไหลของสนามแม่เหล็ก ให้เสียงที่ทรงพลังกว่า นอกจากนี้ยังลดแรงสั่น จึงให้เสียงที่คมชัด คุณภาพสูง

    เฟส (Phase)
    หมายถึงรูปแบบของการเคลื่อนที่ของสัญญาณเสียง 2 สัญญาณ (stereo) ที่เคลื่อนที่ออกไปพร้อมๆกัน หรือ
    คลื่อนที่ไม่พร้อมกัน หรือเคลื่นที่ช้าเร็วกว่ากัน หากลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่อนเกิดพร้อมๆกันและเคลื่อนที่มาพร้อมๆกันเรียกว่า อินเฟส(in phase) เสียงที่ได้ยินจะได้ยินครบสมบูรณ์ตามเหล่งกำเนิดเสียงนั้นๆ แต่ถ้าหากการเคลื่อนที่ของรูปคลื่นไม่เหมือนกันและยังกวนกันเองจะทำให้เกิดการหักล้างกันเองเรียกว่า เฟสเอ้า (out of phase)
    ซึ่งจะทำให้เสียงที่ได้ยินเกิดอาการเสียงบางขาดน้ำหนัก โดยเฉพาะย่านความถี่ต่ำ จะมีผลโดยตรงทำให้เสียงขาดน้ำหนัก มิติตรงกลางอ่อนตัวลงมีอาการเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ในกรณีที่เกิดการคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อยจะเรียกว่า
    เฟสชิฟท์ (phase shift)


    เกี่ยวกับ HOME THEATER

    Interlacing
    [1] ในสัญญาณภาพแบบ NTSC การค้นหาสนามของเส้นภาพและการค้นหาเส้นภาพจะกระทำไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงมีความ
    แม่นยำและได้สัญญาณภาพที่คมชัด [2] ความแม่นยำทั้งสองต้องปรากฏออกมาในรูปของสัญญาณภาพทั้งหมด

    Interpolation
    หมายถึง เส้นภาพซ้อนกันสองเส้น ซึ่งผ่านกระบวนการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ก่อนจะส่งออกมาในสนามเส้นภาพการแก้ไข
    นี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วคือ 1/60 ต่อวินาที หลังจากที่สัญญาณภาพแรกได้เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาคมชัดมากขึ้น

    RE Level
    คือหน่วยวัดความสว่างของภาพ เช่น IRE มีหน่วยเป็น 0 หมายความว่าสัญญาณภาพนั้นเป็นสีดำสนิท และหาก IRE
    มีหน่วยเป็น 100 คือสัญญาณภาพนั้นเป็นสีขาว

    Jaggies
    หมายความถึง จุดตัดกันของเส้นตรงและเส้นทะแยงมุมของเส้นภาพ มีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายรูปฟันปลาหรือซี่ของเลื่อย

    Kelvin
    หน่วยมาตรจำนวนเม็ดสีขาวของจอภาพแบบมอนิเตอร์ และจอโพรเจคเตอร์

    LCD
    ย่อมาจากคำว่า Liquid crystal display เป็นคริสตัลสะท้อนแสงขนาดเล็กสองตัวเรียงกันโดยปกติมันจะทึบแสงแต่เมื่อได้รับ กระแสโวทเทจมันจึงจะเรืองแสง LCD มีคุณสมบัติทำให้ฉากหลังจอภาพแบบโพรเจคเตอร์มีความคมชัด

    LCD Projector
    รูปแบบของจอภาพสัญญาณวีดีโอ มีคริสตัลเพื่อรับและสะท้อนแสง เพื่อทำให้ภาพของสัญญาณวีดีโอได้สัดส่วน คือสัญญาณภาพที่มีส่วนสูงเป็นสองเท่าของส่วนกลาง หลังจากนั้นหลอดภาพจะยิงสัญญาณภาพดังกล่าวไปยังจอ

    Lens flare
    หมายถึง แสงสะท้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผิวด้านหน้าของเลนส์ตัวรับ และเลนส์ตัวสะท้อนจุดตัดกันของแสงดังกล่าว ไม่ทำให้สีสัญญาณภาพตัดกันแต่อย่างใด

    Letterboxed vidio
    จอภาพของโทรทัศน์แบบไวลด์สกรีน

    Level
    หมายถึง ระดับของอัตราสัญญาณเสียงหรือสัญญาณวีดีโอ Library sound
    เสียงเอ็ฟเฟ็ครูปแบบต่างๆ ที่ทางสตูดิโอผลิตออกมาเพื่อนำไปใช้สร้างบรรยากาศเสียง เช่น เสียงลมพายุ กรจกแตก และฯลฯ

    Logic steering
    เป็นเทคนิคของการนำเอาสัญญาณ 2 แชนแนล ที่มีการเข้ารหัสมา มารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นสัญญาณเซอร์ราวนด์ และสัญญาณเซอร์ราวนด์นี้จะถูกส่งออกไปยังลำโพงคู่หลัง และสัญญาณอีกส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปยังลำโพงคู่หน้าซ้ายและขวา เทคนิคนี้เป็นการถอดรหัสสัญญาณของระบบ Dolby Pro-Logic

    Lower highs
    คือช่วงความถี่ตั้งแต่ 1,000Hz ถึง 2,600Hz Low-pass filters
    ตัวกรองสัญญาณความถี่ต่ำ ทำหน้าที่กรองสัญญาณ และยอมให้ย่านความถี่ต่ำไหลผ่านออกสู่ลำโพงซับวูฟเฟอร์เท่านั้น

    Luminance
    หมายถึง สัญญาณความสว่างของสัญญาณวีดีโอที่เป็นสีขาว หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งคือ สัญญาณ "Y"


    เกี่ยวกับ HDMI

    โลกของเทคโนโลยีนับวันก็จะยิ่งพัฒนาไปไกลมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพ ขนาด รวมถึงความ
    สะดวกสบายในการใช้งานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

    ในเรื่องของการเชื่อมต่อจำพวกพอร์ต คอนเน็กเตอร์หรือสายเคเบิลต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาไปด้วยเช่นเดียวกันเพื่อ
    ให้รองรับการส่งข้อมูลที่มีประมาณมากขึ้นได้อย่างเต็มที่ อย่างในสมัยก่อนที่เราอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านทางพอร์ต
    D-Sub หรือที่เรียกกันว่า VGA จากนั้นก็มาเป็น DVI ซึ่งส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ให้คุณภาพที่สูงมากขึ้นไปอีกขั้น

    มาถึงยุคนี้คงจะหนีไม่พ้นมาตรฐานใหม่ที่เรียกกันว่า HDMI ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์
    ต่างๆ ในท้องตลอดไม่ว่าจะเป็นกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็นเครื่องมีเดียเพลเยอร์รุ่นทอปๆ รวมถึงจอ
    แบบ LCD TV ทั้งหลายก็เริ่มมีการติดตั้งอินเทอร์เฟซแบบ HDMI นี้ลงไปแล้วเช่นกัน

    HDMI คืออะไร

    มาตรฐาน HDMI เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่ทาง Sony, Hitachi, Thomson (RCA), Philips, Matsu***a (Panasonic),
    Toshiba และ Silicon Image ได้พัฒนาขึ้น โดยชื่อ HDMI นี้เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface
    ซึ่งความหมายของมันก็ตรงประเด็นครับ คือเป็นการเชื่อมต่อสำหรับมัลติมีเดียความละเอียดสูงนั่นเอง และด้วยความที่มันได้รับ
    การออกแบบมาเพื่อรองรับมัลติมีเดียนั่นเอง

    จึงทำให้มันมีจุดเด่นตรงที่มันรองรับการส่งทั้งสัญญาณภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันบนสายเคเบิลเส้นเดียวกัน ผ่านพอร์ตๆ
    เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและลดความสับสนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ลงได้อย่างมากทีเดียว

    ด้วยจุดประสงค์หลักของ HDMI ที่ถูกพัฒนาขึ้นก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงเต็ม
    รูปแบบกับระบบภาพและเสียงแบบ High-Definition และระบบเสียงรอบทิศทาง ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อแบบ HDMI นั้น
    คุณอาจจะต้องเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอและสัญญาณเสียงอย่างน้อยก็ 2 ช่องทางแล้ว ยิ่งถ้าคุณต่อสัญญาณวิดีโอแบบ Component
    และใช้ระบบเสียงแบบ 5.1 หรือ 7.1-Channel ด้วยแล้ว จะต้องเชื่อมต่อสายเป็นสิบเส้นให้วุ่นวายไปหมด HDMI จึงช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อ
    ทุกอย่างได้ภายในสายเส้นเดียว เหมาะสำหรับพวกมีเดียเพลเยอร์ เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรืออุปกรณ์ Set top box ต่างๆ ที่ต้องต่อ
    เข้ากับทีวีอย่างยิ่ง

    คุณสมบัติของ HDMI

    แน่นอนว่าการเชื่อมต่อแต่ละชนิดย่อมต้องมีขีดจำกัดที่ถูกกำหนดมาไว้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็คือคุณสมบัติของการ
    เชื่อมต่อนั้นเอง HDMI นี้ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินเทอร์เฟซอื่นๆ แต่ด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ กับมัลติมีเดียระดับ
    High-Definition อยู่แล้ว มันจึงมีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพวิดีโอและเสียงที่คุณภาพระดับ High-Definition ได้อย่างสบาย
    โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการบีบอัดข้อมูลเลยการส่งสัญญาณภาพ สำหรับการส่งภาพวิดีโอนั้นเนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลภาพนั้นมีอยู่
    ด้วยกันหลายแบบ ดังนั้นมันจึงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ MPEG เสียก่อน เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลไปตามสาย ซึ่งการส่งข้อมูลภาพวิดีโอ
    แบบ MPEG ผ่าน HDMI นี้จะไม่มีการบีบอัดข้อมูลเลย ทำให้การสูญเสียคุณภาพนั้นไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ HDMI นั่นเอง รูปแบบ
    การส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ TMDS ซึ่งเป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบบเดียวกับที่ใช้บนการเชื่อมต่อแบบ DVI นั่นแหละครับ

    ก็จะมีการส่งสัญญาณวิดีโอที่คล้ายกับการเชื่อมต่อแบบ DVI ที่เราใช้งานกันอยู่นี่แหละครับขีดความสามารถในการ
    ส่งผ่านภาพวิดีโอของ HDMI นั้นจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของมาตรฐานด้วยเช่นกัน เนื่องจาก HDMI เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    จึงมีเวอร์ชันที่ต่างกันอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทุกๆ เวอร์ชันก็ยังคงใช้งานสายเคเบิล แบบเดียวกันอยู่ เพียงแต่จะมีความสามารถในการ
    ส่งข้อมูลได้แตกต่างกันไป ตามเวอร์ชัน อย่างเช่นในเวอร์ชัน 1.0 ซึ่งเป็น เวอร์ชันแรก จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลภาพอยู่ที่
    165 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถรองรับสัญญาณภาพแบบ High-Definition ที่ความละเอียดสูงถึง 1080p ที่ 60 เฮิรตซ์ ได้ หรือระดับ
    WUXGA (1920x1080) ซึ่งนั่นคือระดับความละเอียดสูงสุด แต่ถ้าต้องการความละเอียดที่สูงมากกว่านี้ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน
    HDMI ที่มีเวอร์ชันสูงขึ้นอย่างเช่น 1.3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 340 เมกะเฮิรตซ์ และมีสามารถส่ง สัญญาณภาพ
    ที่ความละเอียดระดับ WQXGA (2560x1600) ได้ การส่งสัญญาณเสียง

    สำหรับการส่งสัญญาญเสียงนั้น HDMI ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแบบไม่มีการบีบอัดเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นข้อมูลเสียง ระดับ 192 กิโลเฮิรตซ์
    และมีการ Sample แบบ 24 บิต ซึ่งเป็นระดับเสียงเดียวกับที่ใช้ในระบบเดียว Dolby Digital หรือ DTS นั่นเอง นอกจากนี้ HDMI ยังรองรับระบบเสียง
    แบบ 8 Channel และรองรับ One Bit Audio ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ใน Super Audio CD ด้วย แต่จะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและมากกว่า
    Super Audio CD ถึง 4 เท่าด้วยกัน และยิ่งในเวอร์ชัน 1.3 ยิ่งมีการพัฒนาให้รองรับระบบเสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่าDolby TrueHD และ
    DTS-HD Master Audio ด้วย


    ศัพท์แสงสำหรับนักเล่นเครื่องเสียง Audiophile

    ประโยชน์ ของการฝึกการฟังที่ถูกต้องก็คือการฝึกให้ประสาทหูได้รู้จักแยกแยะเสียงใน ลักษณะต่าง ๆ ออกจากกัน ซึ่งถ้าหูของคนเราสามารถแยกแยะรายละเอียดของเสียงได้ดีเพียงใด ก็จะทำให้เราสามารถเข้าถึงวิญญาณของเพลงที่ฟังได้มากเท่านั้น ในโลกของดนตรีนั้นศิลปินผู้สรรค์สร้างงานเพลงได้อาศัย “เสียง” เป็นสื่อในการถ่ายทอดความหมายไปยังผู้ฟัง ไม่ว่าผู้แต่งจะเป็นคนเชื้อชาติใด ภาษาใด แต่ “เสียง” ซึ่งเป็นภาษาดนตรีที่ถูกใช้ในการสื่อสารกันนั้นถือว่าเป็นภาษาสากล


    การเรียนรู้ในเรื่องของการฟังก็เหมือนการเรียนรู้ภาษาสากลของดนตรีนั่นเอง
    การได้เรียนรู้ถึงความหมายของการฟังที่ถ่องแท้ จะทำให้การเล่นเครื่องเสียงของเราบรรลุถึงเป้าหมายที่แท้จริง การหยิบเพลงของศิลปินขึ้นมาฟังก็เหมือนกับการเสพงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ซึ่งเครื่องเสียงก็เป็นเพียงเครื่องมือในการถ่ายทอดงานศิลปะชิ้นนั้นออกมา ให้เราเสพ บทเพลงหรืองานศิลปะดังกล่าวจะถูกถ่ายทอดออกมาได้ตรงตามความหมายของผู้สรรค์ สร้างมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องเสียงซึ่งเป็นตัวถ่ายทอด ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับ “วิธีการปรับแต่งให้ชุดเครื่องเสียงเหล่านั้นอยู่ในสภาวะที่สามารถถ่ายทอด งานศิลปะออกมาได้หมดจดที่สุด” นั่นเอง
    ทั้งหมดนี้เป็นคำศัพท์พร้อมความหมายที่แสดงถึงลักษณะในด้านต่าง ๆ ของเสียงเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในการอ่านบทวิจารณ์ในหนังสือฉบับนี้ มากยิ่งขึ้น

    (1) อิมเมจ หรือ ตัวเสียง
    หมายถึง รูปลักษณ์หรือเสียงที่ให้รูปทรงเป็นชิ้นดนตรีหรือเครื่องเสียงที่มีคุณภาพดี จะต้องสามารถให้รูปทรงของชิ้นดนตรีที่ชัดเจนขึ้นรูปเป็นสามมิติ (9) และมีสัดส่วน (10)ที่สมจริง

    (2) ซาวนด์สเตจ หรือ เวทีเสียง
    หมาย ถึง อาณาเขตโดยรอบที่อิมเมจหรือตัวเสียง (1)ทั้งหมดเรียงตัวอยู่ในอากาศ ลักษณะความกว้าง-แคบหรือตื้น-ลึกของเวทีเสียงจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของชุด เครื่องเสียง และการปรับแต่งตำแหน่งลำโพงและการปรับแต่งสภาพอะคูสติกในห้องฟังเป็นสำคัญ

    (3) ไดนามิก-คอนทราสต์
    หมายถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงความดังอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป เครื่องเสียงที่ดี ๆ นั้นจะต้องสามารถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงของชิ้นดนตรีได้ต่อ เนื่องละเอียดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ดังเช่นสัญญาณเสียงที่เกิดจากการสี เป่า และร้อง ลักษณะการบรรเลงของนักดนตรีที่กระทำต่อเครื่องดนตรีบางประเภทนั้นสามารถให้ ได้ทั้งไดนามิก-คอนทราสต์และไดนามิก-ทรานเชี้ยนต์ (4)

    (4)ไดนามิก-ทรานเชี้ยนต์
    หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของระดับความดังอย่างรวดเร็ว หรือสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นลักษณะของการเปลี่ยนระดับความดังจาก 0 เดซิเบลขึ้นไปจนถึงจุดพีคสุดของสัญญาณอย่างรวดเร็วมาก ๆ ดังเช่นสัญญาณเสียงที่เกิดจากการตี ทุบ หรือเคาะที่นักดนตรีกระทำต่อเครื่องดนตรีนั้น ๆ เครื่องเสียงที่ดีนั้นต้องสามารถตอบสนองสัญญาณในลักษณะดังกล่าวที่ให้สปีดร วดเร็วสมจริง

    (5) หัวเสียง (Impact)
    หมายถึง สัญญาณเสียงแรกที่เครื่องดนตรีถูกกระทำ เครื่องเสียงที่มีคุณภาพดีจะต้องให้หัวเสียงที่ประกอบด้วยความชัดเจนและความ เร็ว ในส่วนของความชัดเจนนั้นก็คือต้องให้ตัวเสียงที่มีความเข้ม มีมวลอิ่ม และมีขนาดที่สมจริง เช่น หัวเสียงที่เกิดจากการเคาะเหล็กสามเหลี่ยมจะให้ตัวเสียงที่มีขนาดเล็กกว่า หัวเสียงที่เกิดจากการย่ำกระเดื่องกลอง ส่วนความเร็วของหัวเสียงนั้นขึ้นอยู่กับการเดินทางของความถื่มาถึงหูของเรา เช่น เสียงย่ำกลอง ซึ่งอยู่ในย่านเสียงทุ้มจะเดินทางมาถึงหูของเราช้ากว่าเสียงเคาะเหล็กสาม เหลี่ยมซึ่งอยู่ในย่านเสียงสูง เหล่านี้ เป็นต้น

    (6) ความกว้างของเวทีเสียง
    หมายถึง ระยะทางจากซ้ายสุดของเวทีเสียงไปจนถึงชิ้นที่อยู่ขวาสุดของเวทีเสียง เพลง ๆ เดียวกันจากแผ่นซีดีแผ่นเดียวกันก็อาจจะให้ความกว้างของเวทีเสียงต่างกันได้ เมื่อฟังจากชุดเครื่องเสียงต่างกัน เครื่องเสียงที่ให้เวทีเสียงกว้างมาก ๆ ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะคุณภาพของเวทีเสียง (2) ย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับความลึก (7) ด้วย การแยกลำโพงทั้งสองข้างให้ถ่างออกจากกันจะเป็นการเพิ่มระยะความกว้างให้กับ เวทีเสียง แต่ถ้าลำโพงทั้งสองข้างถูกแยก***งกันมากเกินไปจะทำให้ความเข้มข้น ( 8 ) ของชิ้นดนตรีบริเวณกลาง ๆ เวทีเสียงเจือจางลง

    (7) ความลึกของเวทีเสียง
    หมายถึง ระยะทางจากระนาบของแถวชิ้นดนตรีที่อยู่ด้านหน้าลงไปถึงด้านหลัง เครื่องเสียงที่ดี ๆ นั้นต้องสามารถให้ความลึกของชิ้นดนตรีในระนาบหลัง ๆ ที่แผ่กว้าง ไม่ใช่หุบเข้าหาตรงกลางเวที การดึงลำโพงทั้งสองข้างให้เข้าใกล้ชิดกันจะทำให้ความลึกของเวทีเสียงชัดเจน ขึ้น แต่ถ้าลำโพงทั้งสองข้างวางชิดกันเกินไป ชิ้นดนตรีในระนาบหลัง ๆ จะเบียดกระจุกกันอยู่บริเวณกลางเวที ไม่แผ่กระจายออก

    ( 8 ) ความเข้มข้น กับ ความบอบบาง
    หมายถึง ความหนาแน่น หรือความเจือจางของมวลเนื้อเสียงของชิ้นดนตรี พิจารณาที่อิมเมจ หรือตัวเสียง (1) ที่ลอยอยู่ในอากาศเป็นความรู้สึกว่าชิ้นดนตรีเหล่านั้นคงอยู่ในอากาศด้วย ความชัดเจนมากน้อยเพียงใด ถ้ามากขนาอที่รู้สึกจะเหมือนกับ “มองเห็น” ชิ้นดนตรีนั้น ๆ ลอยอยู่ในอากาศได้ชัดเจนก็บอกได้ว่าชิ้นดนตรีนั้นมีเนื้อเสียงที่เข้มข้น แต่ตรงกันข้าม ถ้ารู้สึกแต่เพียงเลา ๆ เหมือนกับว่าเสียงชิ้นดนตรีนั้นลอยอยู่ตรงนั้นตรงนี้ บอกได้ไม่ชัดเจนนัก ก็คือชิ้นดนตรี นั้นให้เสียงที่มีมวลเนื้อบอบบางนั่นเอง

    (9) ความเป็นสามมิติ
    หมายถึง ภาพลักษณ์ของเวทีเสียงที่เกิดจากการจัดเรียงของชิ้นดนตรีขึ้นเป็นเวทีเสียง ที่ประกอบไปด้วยความกว้าง แคบ ความตื้น-ลึก และความต่ำ-สูง ความเป็นสามมิติของเวทีเสียงนี้จะเกิดขึ้นได้ ตัวเสียงหรืออิมเมจ (1) ของชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นก็ต้องมีรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเป็นสามมิติด้วยเช่น กัน คุณสมบัติข้อนี้นอกจากจะต้องอาศัยประสิทธิภาพของชุดเครื่องเสียงที่ดีแล้ว นั้น สิ่งที่สำคัญกว่านั้นต้องอาศัยความละเอียดพิถีพิถันในการปรับแต่งตำแหน่งการ จัดวางลำโพงและสภาพอะคูสติกภายในห้องฟังที่เหมาะสมอีกด้วย

    (10) ขนาดของชิ้นดนตรี
    หมายถึง การประกอบกันของเสียงหลักและฮาร์มอนิกของเสียงนั้น ถ้ามีความสมบูรณ์เพียงพอก็จะเกิดเป็นขนาดของเสียงที่แตกต่างกันออกไปตาม คลื่นเสียงหลักธรรมชาติของชิ้นดนตรีนั้น ๆ เช่น เสียงเปียโนจะให้ขนาดที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับเสียงอะคูสติกเบส แม้ว่าจะเล่นโน้ตตัวเดียวกันก็ตาม และในเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันก็จะให้ขนาดเสียงของตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่ เท่ากันด้วย เช่น เสียงเปียโนที่เล่นด้วยมือขวาจะให้ขนาดเสียงที่เล็กกว่าเสียงเปียโนที่เล่น ด้วยมือซ้าย ความแตกต่างอันนี้จะเกิดจากระดับเสียงที่สูง-ต่ำไปตามออกเตปของตัวโน้ต เครื่องเสียงที่ดี ๆ นั้นจะต้องสามารถแยกแยะคุณสมบัติดังกล่าวของเสียงออกมาได้อย่างชัดเจน และคุณสมบัติข้อนี้เรียกว่าเป็น “รายละเอียดเบื้องลึก” หรือ Inner Detail ของเสียงส่วนหนึ่ง

    (11) ความใส (Transparency)
    หมายถึง ลักษณะที่ทำให้สามารถ “มองเห็น” หรือรับรู้รายละเอียดของเสียงบนเวทีเสียงทั้งหมดตั้งแต่ระนาบต้นจนลึกลงไป ถึงระนาบหลัง ๆ สิ่งนี้จะตรงข้ามกับ “ความขุ่นมัว” ซึ่งจะทำให้การรับรู้รายละเอียดดังกล่าวไม่ชัดเจนเปรียบเหมือนการมองเข้าไป ในที่มีหมอกปกคลุมนั่นเอง
    Last edited by fefa2001; 6 Dec 2010, 19:01:59.

  • #2
    แน่น อิอิ

    Comment


    • #3
      เข้ามาจด....

      Comment


      • #4
        รู้ไว้ใช่ว่า...

        Comment


        • #5
          ผมเบลอๆๆๆๆ.....ลบทิ้ง...555+
          Last edited by tiger X-fi; 6 Dec 2010, 19:26:28.

          Comment


          • #6
            ขอบคุณครับ ความรู้ทั้งนั้นเลย

            Comment


            • #7
              ลงชื่อ รออ่านจบ ยังอ่านถึงแค่ตัวbเอง

              Comment


              • #8
                ไม่มีเรื่อง เฟส (Phase) งั้นผมเสริมให้นะครับ
                เฟส (Phase)
                หมายถึงรูปแบบของการเคลื่อนที่ของสัญญาณเสียง 2 สัญญาณ (stereo) ที่เคลื่อนที่ออกไปพร้อมๆกัน หรือ
                คลื่อนที่ไม่พร้อมกัน หรือเคลื่นที่ช้าเร็วกว่ากัน หากลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่อนเกิดพร้อมๆกันและเคลื่อนที่มาพร้อมๆกันเรียกว่า อินเฟส(in phase) เสียงที่ได้ยินจะได้ยินครบสมบูรณ์ตามเหล่งกำเนิดเสียงนั้นๆ แต่ถ้าหากการเคลื่อนที่ของรูปคลื่นไม่เหมือนกันและยังกวนกันเองจะทำให้เกิดการหักล้างกันเองเรียกว่า เฟสเอ้า (out of phase)
                ซึ่งจะทำให้เสียงที่ได้ยินเกิดอาการเสียงบางขาดน้ำหนัก โดยเฉพาะย่านความถี่ต่ำ จะมีผมโดยตรงทำให้เสียงขาดน้ำหนัก มิติตรงกลางอ่อนตัวลงมีอาการเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ในกรณีที่เกิดการคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อยจะเรียกว่า
                เฟสชิฟท์ (phase shift)
                ปล.คัดลอกมาจากหนังสือ Audio Engineer's Handbook ของ อ.โยธิน

                Comment


                • #9
                  สงสัยต้องทาดูทุกวัน

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by fenderfree View Post
                    ไม่มีเรื่อง เฟส (Phase) งั้นผมเสริมให้นะครับ
                    เฟส (Phase)
                    หมายถึงรูปแบบของการเคลื่อนที่ของสัญญาณเสียง 2 สัญญาณ (stereo) ที่เคลื่อนที่ออกไปพร้อมๆกัน หรือ
                    คลื่อนที่ไม่พร้อมกัน หรือเคลื่นที่ช้าเร็วกว่ากัน หากลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่อนเกิดพร้อมๆกันและเคลื่อนที่มาพร้อมๆกันเรียกว่า อินเฟส(in phase) เสียงที่ได้ยินจะได้ยินครบสมบูรณ์ตามเหล่งกำเนิดเสียงนั้นๆ แต่ถ้าหากการเคลื่อนที่ของรูปคลื่นไม่เหมือนกันและยังกวนกันเองจะทำให้เกิดการหักล้างกันเองเรียกว่า เฟสเอ้า (out of phase)
                    ซึ่งจะทำให้เสียงที่ได้ยินเกิดอาการเสียงบางขาดน้ำหนัก โดยเฉพาะย่านความถี่ต่ำ จะมีผมโดยตรงทำให้เสียงขาดน้ำหนัก มิติตรงกลางอ่อนตัวลงมีอาการเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ในกรณีที่เกิดการคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อยจะเรียกว่า
                    เฟสชิฟท์ (phase shift)
                    ปล.คัดลอกมาจากหนังสือ Audio Engineer's Handbook ของ อ.โยธิน
                    ขอนำไปเสริมตรงหัวข้อ เกร็ดความรู้เครื่องเสียง เกี่ยวกับ A M P L I F I E R S

                    Comment


                    • #11
                      *0*

                      Comment


                      • #12
                        มันเกี่ยวกับลำโพงกับการต่อสายสัญาณน่ะครับ
                        Originally posted by fefa2001 View Post
                        ขอนำไปเสริมตรงหัวข้อ เกร็ดความรู้เครื่องเสียง เกี่ยวกับ A M P L I F I E R S

                        Comment


                        • #13
                          แวะเข้ามาแซว แนะนำศัพท์ใหม่(อย่าตบผมนะ)

                          เป็ด อ่านออกเสียงตรงตัว ความหมายก็อย่างที่ทุกคนคิด เสียงเป็ดสิ้นดี น่าจะสื่อออกได้ว่า มันเป็นยังไงหล่ะนะ โดยรวมเป็นสัตว์ปีก มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัวกับหน้าตา หากโดนต่อว่า ว่า "เซ็งเป็ด" แบบนี้ก็ประมาณว่าเสียบอล แต่หากโดนต่อว่า ว่า "ข้าวหน้าเป็ด" อันนี้อาจจะบ่งบอกถึงลักษณะในหลายความหมาย แต่ถ้าเสียงเป็ดนี่ น่าจะเป็นเสียงแนวๆ ของที่ใกล้จะเดี้ยง หรือประตูนรกเปิดรอรับ ทำนองนี้แหละครับ

                          Ex. พี่เสือบ่นว่าหนังเรื่องนี้ นางเอกเป็ดแท้ แบบนี้หนังเรื่องนี้ดูแล้วอารมณ์เป็ดแหงมๆ
                          Last edited by TuiLor; 6 Dec 2010, 17:00:02.

                          Comment


                          • #14
                            ตาลาย

                            Comment


                            • #15
                              บ่จี๊ หรือไม่มีตัง หรือตังหมด หรือ เบี้ยหมด เป็นคำที่ได้ยินบ่อยสุด สำหรับการเล่นเครื่องเสียง 5555

                              Comment

                              Working...
                              X