Announcement

Collapse
No announcement yet.

บ่นไปเรื่อย ว่าด้วยเรื่องของ ระบบเสียงอนาล๊อก ก่อนจะลืมเลือน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • บ่นไปเรื่อย ว่าด้วยเรื่องของ ระบบเสียงอนาล๊อก ก่อนจะลืมเลือน

    บทนำ:
    ต้องขอบอกใว้ก่อนว่าผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องนี้สักเท่าไหร่ บทความที่ผมเขียนขึ้นมานี้
    ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลมาจาก ความจำที่เคยศึกษา,อ่าน,ค้น google
    บทความไม่ได้มีความสมบูณเท่าไรนัก แต่อยากแบ่งปันให้ ท่านที่สนใจในเรื่องของอนาล๊อค
    ได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาหาข้อมูล เพื่อต่อยอดควมรู้ในโอกาศต่อไป
    บทความของผมจะไม่ลึกลับซับซ้อนนอกเหนือจากความเข้าใจของผมมากนัก
    หวังว่าบทความของผมจะมีประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย

    มองอดีต อนาล๊อคคืออะไร:
    คำๆนี้เชื่อว่าหลายๆท่านคงเคยได้ยินจนชินหู อนาล๊อคนั้นเกี่ยวเนื่องกับ รูปแบบสัญาญ
    ที่ต่อเนื่องกันไปเป็นสัญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปร Amplitude และ time
    ดังเช่นภาพที่ 1 จริงๆแล้ว อนาล็อค นั้นมีความแม่นยำและความละเอียดสูงมาก แต่การส่งต่อ
    สัญณาญ จะถูกรบกวนได้ง่าย และการควบคุม อนาล็อคนั้นทำได้ยากจึงทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้
    ยกตัวอย่างการเปรียบเทียบเช่น โวลุ่ม ที่แอมป์ กับ โวลุ่มที่เครื่องเล่น mp3
    โวลุ่มที่แอมป์(แอมป์ธรรมดา แบบไม่มีรีโมต) นั้นเป็นระบบอนาล๊อค ปรับได้ค่อน
    ข้างละเอียดมากๆคือสามารถปรับความดังได้ตามที่เราต้องการ แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อใช้ไปนานๆ
    หรืออุณหภูมิเปลี่ยนไป ค่าความต้านทานของโวลุ่ม มีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิด ความไม่แน่นอน
    ของการปรับความดังของเสียงขึ้นมาได้ แต่ในส่วนของ โวลุ่มที่เครื่องเล่น mp3 นั้น
    ประกอบไปด้วย ไมโครคอนโทรเลอร์ ซึ่งจะตีความหมายของการกดปุ่ม + หรือ -
    ตราบใดที่หน้าสัมผัส ของปุ่ม + และ - ยังดีอยู่ ไมโครคอนโทรเลอร์ จะตีความหมายได้ถูกต้องแม่นยำ
    สเมอ แต่เราจะไม่สามารถ ปรับความดังเสียงได้ละเอียดเท่ากับ โวลุ่มแบบอนาล็อคได้
    นี่คือการยกตัวอย่างความแตกต่าง แบบง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่าง ของทั้งสองระบบ
    ระบบอนาล๊อคนั้นมีมานานกว่าร้อยปีแล้ว(อันนี้ไม่แน่ใจ ผิพลาดต้องขออภัยด้วยครับ)
    เริ่มแรกของระบบเสียงที่ใช้นั้นเป็นแบบอนาล๊อค เริ่มตั้งแต่การบันทึกเสียง เป็นอนาล๊อคล้วนๆ
    และการฟัง (play back) ก็มีแต่อนาล๊อคล้วนๆ ยกตัวอย่างเช่น
    เมื่อปี 1974 นักร้องนักดนตรีวงหนึ่งได้ บันทึกเสียง โดยใช้ ม้วนเทปแบบ open real
    (รูปที่ 2) โดยที่เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้นั้นล้วนแล้วแต่เป็น อนาล็อคทั้งหมดทั้งสิ้น
    และถ่ายผลงานลงม้วนเทป แบบพกพา(cassette tape) เพื่อจำหน่าย และผู้ฟังนั้น
    ก็ใช้เครื่องเล่นเทปซึ่งก็เป็นแบบอนาล็อคเช่นกัน ฟังผลงานของนักดนตรี
    นี่คือตัวอย่างระบบเสียงแบบอนาล็อค ที่เราใช้เมื่อก่อน
    ในยุคต่อๆมานั้นได้เริ่อมีการ นำระบบเสียงแบบ ดิจิตอลมาใช้ ควบคู่กับ อนาล็อค
    ทำให้เกินการผมสมผสาน กันระหว่างดิจิตอลเและอนาล็อค หรือแม้แต่เครื่องดนตรีที่ใช้นั้น
    ก็ได้ก่อกำเนิด เครื่องดนตรีแบบ ดิจิตอลขึ้นมา ในยุคแรกนั้น สื่อการฟังเริ่มเป็นดิจิตอล ขึ้นมาก่อน
    เหตุผลก็เพราะว่า เทปคาสเส็ท มีความอ่อนไหว มาก สื่อบันทึกเพื่อการจำหน่าย จึงได้มีการเปลี่ยน
    จาก เทป เป็น CD แทน แต่การบันทึกเสียงนั้นยังเป็น อนาล็อคอยู่เนื่องจาก อุปกรณ์และ ซอฟแวร์ที่
    ใช้ใน สตูดิโอนั้นยังไม่ได้มีการพัฒนามากนัก แต่อุปกรณ์บางชิ้นก็ได้ เปลี่ยนไปเป็น ดิจิตอลบางส่วน
    แต่ก็ยังถือว่า ทั้งระบบการบันทึกนั้นยังเป็น อนาล็อคอยู่ และเมื่อผ่านกาลเวลา อุปกรณ์ต่างๆในสตูดิโอ
    มีการพัฒนาไปเป็นดิจิตอล จนหมด เราก็ได้ก้าวเข้าสู่ระบบเสียงดิจิตอลแบบเต็มรูปแบบในปัจจุบัน

    อนาล็อคในปัจจุบัน:
    ในปัจจุบันนี้การ บันทึกการ ฟังล้วนแล้วแต่เป็นระบบ ดิจิตอลด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    เริ่มตั้งแต่การบันทึก สื่อบันทึก เครื่องเล่นต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นระบบดิจิตอล ทั้งระบบ
    ที่ระบบดิจิตอล นั้นสามารถ ทดแทน ระบบเสียงได้ดีกว่าเดิมเพราะมีการคิดค้นเทคโนโลยี
    ใหม่ๆขึ้นมาเสมอ รวมถึงคอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็ว มากขึ้น ระบบ อนาล็อคนั้นได้
    หายไปจากท้องตลาดเรียบร้อย ยังคงมีก็แต่ขั้นสุดท้าย ที่เป็นอนาล็อค คือการขยายเสียงเข้า
    สู่ลำโพง ที่ยังคงยึดหลัก อนาล็อคต่อไป เพระไม่สามารถ นำนระบบ ดิจิตอลมาใช้ได้
    จะใช้ได้ก็แค่ระบวนการควบคุม การขยายเท่านั้น ไม่สามารถใช้ ทั้งระบบได้
    ดังเช่นที่หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องมี DAC แพงๆออกมาขายให้เสียตังด้วย
    แต่ก็ยังมีผู้ผลิตบางรายที่เน้น คุณภาพ และธรรมชาติของดนตรี ที่ยังคงใช้ระบบ อนาล็อค
    เข้ามาผสมผสาน กับดิจิตอล เพื่อผลิตผลงาน ให้แก่ นักฟัง ที่เน้น คุณภาพและความเป็น
    ธรรมชาติของดนตรีอยู่บ้าง กลุ่มคนเหล่านี้มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ได้ผ่านมาทั้ง
    ยุคดิจิตอล และยุคอนาล็อค และเกิดการเปรียบเทียบ ระบบเสียงในยุคก่อน ที่เป็นอนาล็อค กับ
    ระบบเสียงในปัจจุบันที่เป็นดิจิตอล และค้นพบว่า ธรรมชาติของดนตรีนั้น เหมาะสมกับ
    ระบบเสียงยุคเก่าที่เป็น อนาล็อคมากกว่า คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยฟังระบบเสียงแบบ อนาล็อค
    เลยบางท่าน อาจจะไม่รู้สึกอะไรเพราะไม่มีสิ่งใดให้เปรียบเทียบ แต่บางท่านที่ชอบดู การแสดงดนตรี
    สดๆ อาจจะเกิด ข้อเปรียบเทียบขึ้นมาในใจ ว่า ช่างแตกต่างกันมากเหลือเกิน กับ
    สื่อบันทึกที่มีในปัจจุบัน บทสรุป ระบบเสียงอนาล็อคในปัจจุบัน นั้นได้ซบเซาลงไป แต่ก็ยังมีกลุ่ม
    คนที่ยังเห็นคุณค่า ในระบบอนาล็อค และยังคงยึดมั่นระบบนี้ต่อไป ในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าเราไม่
    สามารถ หาผลงานสื่อบันทึกที่วางจำหน่าย ที่เป็น อนาล็อคแท้ๆได้อีกแล้ว คุณภาพผลงานขึ้นอยู่
    กับว่า ผู้ผลิตมีความเข้าใจในธรรมชาติของเสียงดนตรีมากน้อยแค่ไหน และจะผสมผสาน การทำงาน
    ของระบบเสียงดิจิตอล กับอนาล็อคได้ดีแค่ไหน

    มองอนาล็อคในอนาคต:
    ระบบดิจิตอลนั้นยังพัฒนาได้อีกไกลมาก วันนึงเราอาจจะได้สัมผัสกับ
    ระบบเสียงดิจิตอลที่สมบูรณ์แบบ ใกล้เคียงกับ อนาล็อคที่สุด ลบข้อด้อยของทั้ง ระบบ
    ดิจิตอล และ อนาล็อคลงไปได้ แต่ก็เชื่อกันว่า อนาล็อคนั้นจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
    โดยแยกผู้บริโภคออกเป็นสองส่วนที่ชัดเจน ผู้ฟังก็เช่นกัน ดังที่เราเห็นในปัจจุบันว่า
    มีผู้ที่เล่นแผ่นเสียงอยู่ไม่น้อย แต่ผู้ผลิตนั้นมองไม่เห็นกำไร ในการที่จะ ผลิตแผ่นเสียง
    ใหม่ๆออกมาขาย แต่ถ้ามีผู้บริโภคตอบรับมากพอ การกลับมาสู่ยุคอนาล็อค
    จะค่อยๆเปลี่ยนแปลง แยกตัวออกมาจากระบบดิจิตอลล้วนๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ
    ตัวเราเองว่า พอใจในระบบเสียงแบบใด เพราะท้ายที่สุดของเสียงนั้น คือ ลำโพง
    ลำโพงคือสื่อกลางระหว่างหูเรากับ สัญญาณทางไฟฟ้า ที่สื่อสารให้เราเข้าใจได้
    และลำโพงนั้นรับสัญญาณ ไฟฟ้าที่เป็น อนาล็อกเท่านั้น จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า
    ระบบเสียงอนาล็อค นั้น จะยังคงอยู่คู่กับ วงการระบบเสียง มันแค่***งหายไป
    เพื่อรอวันฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เท่านั้นเอง ถ้ามองในแง่ของธุระกิจ ย่อมจะมองไม่เห็น
    ถึงอนาคตระบบเสียงการบันทึกแบบอนาล๊อค แต่ถ้ามองในแง่ที่ว่า มนุษย์ ย่อม
    ที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดอยู่สเมอ ในเมื่อดิจิตอลไม่สามารถ ตอบสนองได้เหมือน อนาล็อค
    และ อนาล๊อคก็ไม่สามารถ ตอบสนองบางอย่างได้เหมือนดิจิตอล เมื่อ ไม่มีอไรแทนกันได้
    ทั้งสองสิ่งย่อมอยู่คู่กันไป ต่างทำหน้าที่ของมัน อย่างที่สมควรจะเป็น
    รูปที่1

    Thanks: ฝากรูป Hosting

    รูปที่ 2

    Thanks: ฝากรูป Hosting


    ส่งท้าย คำนิยมโดยคุณ tiger x-fi
    "ดิจิตอลเป็นส่วนที่สัมผัสไม่ได้ อนาล็อคเป็นส่วนที่สัมผัสได้ไม่ว่าเทคโนโลยี
    จะพัตนาไปขนาดไหนสุดท้ายคลื่นเสียงที่ลอยในอากาศมากระทบประสาทหู
    ทำให้รับรู้ได้ก็คือ อนาล็อค อยู่ดี"

  • #2
    ชอบครับ บทความแนวนี้แต่จริงๆมันไม่ตายหรอกครับ
    นักเล่นที่พอมีเงินก็หันไปเล่นแฟผ่นไวนิ่ลกันเหมือนเดิมครับ

    Comment


    • #3
      ไวนิลกลับมาเกิดใหม่แล้วที่ usa พวกวัยรุ่นเริ่มทำงานกลับมาฮิตกัน บางวงดนตรี ออกแต่ MP3 กับแผ่นไวนิล ไม่ออก cd
      จำได้ว่า สมัย cd ออกมาใหม่ เถียงกันแบบเสื้อแดงเสื้อเหลืองสมัยนี้เลย สมัยออกมาใหม่ cd เสียงกัดหูฉิบ กว่าจะได้เสียงดีๆ3-4ปีได้ แผ่นไวนิลถึงจะน๊อยเยอะแต่ ได้บรรยากาศกว่า

      Comment


      • #4
        เทคโนโลยี DAC ทุกวันนี้ผมว่าก็ก้าวหน้าไปมาก จนให้เสียงไกล้เคียง analogs แล้วล่ะนะ

        จะคอยก็แต่ขีดจำกัดด้านเทคโนโลยีบางอย่าง ที่จะมาลดความน่ากลัวของวงการ Hifi ลงบ้าง ( ใครหลงเข้ามา กินมาม่าทุกราย )

        ไม่แน่อีก 10 ปีเราอาจจะใด้เห็นไฟล์เพลง 5 นาทีขนาด 200 เทร่าไบท์ ที่ผ่าน DAC แล้วแยกไม่ออกกับแผ่นไวนิลก็ใด้

        Comment


        • #5
          จริงๆเราต้องดูทั้งระบบครับ ว่าเป็นยังไง เช่นถ้าผมเอาผลงานเพลงที่อัดใว้ในคอมพิวเตอร์ ถ่ายลง แผ่นเสียง
          แล้วมาบอกว่าเป็นเสียง อนาล็อคแท้ๆ อย่างนี้ก็ใช่เรื่อง เพราะต้นฉบับ บันทึกเป็น ดิจิตอล
          อยากให้มองในแง่ นี้มากกว่ามองว่าเป็น เทรน โก้เก๋

          Comment


          • #6
            แผ่นไวนิลมันเป็นวินเทจ เล่นแล้วได้อารมณ์โบราณ ให้คุณค่าทางใจได้ด้วย
            แต่แผ่นดีๆหายากมาก ส่วนใหญ่สภาพไม่ค่อยดี แต่ส่วนใหญ่ก็คิดว่าวินเทจแค่นี้ก็เอาล่ะ -*-

            ก่อนหน้านี้เคยไปคุยกับคุณศักย์ เจ้าของ KTT เค้าสรุปง่ายๆเลย
            " เก็บตังค์ไปทำอย่างอื่นเหอะ ไม่เชี่ยวชาญหาของดียาก ขนาดพี่เองยังหาแผ่นดีๆแทบไม่ได้เลย "

            Comment


            • #7
              อ่านจนตาแฉะเลยครับ 555+

              ขอบคุณครับ สำหรับบทความ

              Comment


              • #8
                เรื่องราวประวัติศาสตร์ของวงการระบบเสียง โดย โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
                http://www.totalsoundmag.com/totalso...2010&Itemid=20


                อันนี้น่าจะเป็นต้นฉบับ ของด้านบน เนื้อหามีมากกว่าเยอะครับ
                ยิ่งเข้าไปดูเรื่อยๆเนื้อหาดีมากครับ
                http://www.videointerchange.com/audio_history.htm
                อากู๋แปล
                http://translate.google.co.th/transl...%26prmd%3Divns
                Last edited by tiger X-fi; 29 Apr 2011, 21:34:07.

                Comment


                • #9
                  ท่านfenderfree เล่ากระบวนการบันทึกเสียงของเพลงในปัจจุบัน หน่อยสิ
                  มันผ่านอะไรมาบ้างก็ออกมาเป็นcd

                  Comment


                  • #10
                    มีหลายแบบครับ เอาแบบ ทำลวกๆนะ
                    1.ไมโครโฟน(แปลง คลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า)
                    3.ปรีไมค์(ขยายสัญญาณไฟฟ้า)
                    2. interface(ADC.แปลงสัญาณไฟฟ้าอนาล็อคเป็น ดิจิตอล)
                    3.คอมพ์(มิกเสียง แปลงสัญาณดิจิตอลเป็นไฟล์เสียง)
                    4. ไฟล์มาสเตอร์
                    5.โรงงานปั๊มแผ่น

                    Comment


                    • #11
                      ขอบคุณครับ

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by tiger X-fi View Post
                        เรื่องราวประวัติศาสตร์ของวงการระบบเสียง โดย โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์
                        http://www.totalsoundmag.com/totalso...2010&Itemid=20


                        อันนี้น่าจะเป็นต้นฉบับ ของด้านบน เนื้อหามีมากกว่าเยอะครับ
                        ยิ่งเข้าไปดูเรื่อยๆเนื้อหาดีมากครับ
                        http://www.videointerchange.com/audio_history.htm
                        อากู๋แปล
                        http://translate.google.co.th/transl...%26prmd%3Divns
                        โยธิน ฤทธิพงศ์ชูสิทธิ์ คนนี้สุดยอดครับ หูเทพ mix งานออกมาดีมากครับ

                        Comment


                        • #13
                          ไม่ยาวเกินไป เข้าใจได้ง่าย ยกนิ้วโป้งให้ 2 นิ้วเลยครับ ให้พี่เสือด้วยนะครับสำหรับlink ขอบคุณครับผม

                          Comment


                          • #14
                            อยากกดไลค์แบบ facebook 55+

                            Comment

                            Working...
                            X