Announcement

Collapse
No announcement yet.

สงสัยเรื่องเสียงหวี่ๆในหู

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    ผมก็เป็นครับ หลังกลับฝากผับ นั่งนานเกินไป ตั้งแต่ 3 ทุ่ม ยัน ตี 2 ครึ่ง หูอื้อ วี้ง วี้ง ไปสามวัน ฮ่าๆ แต่ใช่อินเอีย ไม่เคยเกิดปัญหานี้นะคับ เพราะฟังไม่นานเท่าไหร่ ไม่เกินสามชั่วโมง เปิดเสียงปานกลางครับ ก่อนถอดหูฟังออก ก็เริ่มเบาระดับเสียงเป็นระดับๆ เพื่อให้หูปรับสภาพก่อนจะดึงครับ (ใช้เวลาฟังนานๆ)

    Comment


    • #17
      ปัญหาใหญ่ของคนฟังเพลง ไปผับ หรือขับมอเตอรืไซค์
      เขาเรียกว่า ประสาทหูเสื่อม
      เนื่องจากในกระดูหูที่รับสัญญานเสียงนั้น ตัวในสุดคือขนเส้นเล็กๆที่เรียงตัวกันแบบก้นหอย ทำหน้าที่รับสัญญานอนาล๊อคแล้วประมวลเป้นคลื่นไฟฟ้า(คล้ายๆ DAC) ซึ่งรับสัญญานแล้วประมวลส่งต่อไปที่สมอง เวลาเราได้ยินเสียง มันก็จะขยับ ว่าง่ายๆ ก็ทำงานนี่แหละครับ
      แต่ว่า ถ้าเสียงดังเกินไป มันจะหุบตัวลงอย่างรุนแรง ข้อนี้แหละครับที่ทำให้เสื่อม
      มันหุบแล้ว ไม่กางอีกเลย เลยได้ยินเสียงเหมือนแมงหวี่ หรือแมงวัน บินให้ว่อน บางคนหนักกว่า เหมือนได้ยินจั๊กจั่น ร้องข้างหู เป็นฝูง!!!
      เรื่องนี้ผมรู้เยอะเพราะว่าสงสัยว่าทำไมในหูมีเสียงแบบนี้ เลยไปถามหมอ
      แต่โชคดี หมอบอกว่ายังไม่ถึงแบบนี้
      ท่านที่มีภาวะเสี่ยง ขอเถอะครับ อย่าไปอยู่หรือฟังเสียงดังๆ
      โรคนี้ ไม่มีทางรักษาครับ ทำอย่างไรก็ไม่หาย มีอาการ รีบเลิกซะเถอะครับ
      ส่วนท่านที่เป็นไปแล้ว มีอาการนี้บ่อยๆ ให้นั่งสมาธิ ทำใจไปกับมัน คิดเสียว่า ไม่มีอะไร ไม่ได้ยินอะไร ก็จบ
      มังกรซ่อนกาย
      ข้อมูงเพิ่มเติม
      http://www.google.co.th/#hl=th&sourc...524ed85fe4b478
      Last edited by HiddenDragon; 27 Sep 2010, 08:47:44.

      Comment


      • #18
        ระวังจะเป็นน้ำในหูไม่เท่ากันนะครับ
        บ้านหมุนกันเชียวนะ

        Comment


        • #19
          อยู่ในห้องที่เงียบสนิท ปิดมิดชิด คนปกติได้ยินเสียงหวี่ ๆ ในหูถือเป็นเรื่องปกติค่ะ *-*

          แต่หากได้ยินเวลาอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย อาจเป็นโรคเสียงในหูได้

          ขอนำบทความจากนายแพทย์มานัตมาฝากค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อพี่ ๆ ห้องเสียงที่น่ารักทุกคนค่ะ ^^


          Credit http://www.eartone.co.th/tinnitus_th.html#tinnitus1
          ---------------------------------------------------------------------------------
          เสียงในหูคืออะไร
          การได้ยินเสียงเหมือนเสียงจักจั่น หรือเสียงลมในหู โดยไม่มีเสียงนั้นจริง ๆ จากภายนอก เป็นอาการพบได้บ่อย ในคนทั่วไป
          บางคนอาจได้ยินเสียงเหมือนอยู่ในศีรษะ หรือบอกตำแหน่งได้ไม่ชัด จากการสำรวจทั่วโลกพบว่า มีผู้ที่มีได้ยินเสียงในหูประมาณ 15 %
          ของประชากรในแต่ละประเทศ ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า ทินไนตัส (Tinnitus)

          อาการหูไวผิดปกติ
          คืออาการที่ไม่สามารถทนต่อเสียงที่ปรกติเคยทนได้ แต่เมื่อมีอาการหูไวผิดปรกติจะทนไม่ได้โดยที่เสียงนั้นดัง
          เท่าเดิม จะเกิดอาการหงุดหงิด ปวดหู ปวดหัว เช่น เสียงเปิด ปิดประตู เสียงชักโครก เสียงกริ่งโทรศัพท์ เสียงเด็กร้อง
          เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีเสียงในหู บางคนเป็นมากจนเกิดอาการกลัวต่อเสียงใดเสียงหนึ่ง หรือกลัวเสียงทุกอย่าง
          (Phonophobia ) บางคนกลัวมากจนต้องใส่ที่อุดหูอยู่ตลอดเวลา หรือแยกตัวจากสังคม

          ระบบการตอบสนองต่อเสียงของมนุษย์
          มื่อเสียงกระทบหูคลื่นเสียงจะเคลื่อนที่จากหูชั้นนอก เข้า สู่หูชั้นใน ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินหรือ โคเคลีย (cochlea)
          หูชั้นในจะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็น คลื่นไฟฟ้า และส่งไปตามระบบประสาทการรับเสียงระดับต่างๆ จน ถึงระดับสูงสุดของสมอง
          สมองระดับสูงสุดจะสั่งให้เกิด การตอบสนองต่อเสียง โดยแสดงออกทางระบบประสาท อัตโนมัติ ทางร่างกายและทางอารมณ์
          เกิดจินตนาการ ต่างๆขึ้น เช่นได้ยินเสียงสุนัขเ*** จะจินตนาการเห็นภาพ สุนัขโดยที่ไม่เห็นตัว เด็กที่เคยถูกสุนัขกัดจะเกิดความกลัว
          ขึ้นมาทันที

          รูปแบบการตอบสนองต่างๆ นี้ ถูกเก็บสะสมไว้ตั้งแต่แรกคลอดจนโต ทั้งเวลาตื่นและหลับ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อ
          เสียงใหม่จะถูกเก็บสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นระบบในสมองไม่มีที่สิ้นสุด สำหรับเสียงที่ไม่มีความสำคัญหรือ
          ไม่มีอันตรายต่อการดำรงชีวิต จะถูกละเลยไว้แค่สมองระดับล่างคือในระดับจิตใต้สำนึก ไม่เกิดปฏิกิริยาทางกาย
          และอารมณ์ เสียงที่มีความสำคัญ หรือคุกคามต่อการดำรงชีวิตจะถูกขยายให้เด่นขึ้นและเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ เช่น
          เราจะหันไปหาเสียงที่เรียกชื่อเราทันที แม้เสียงนั้นจะเบาและอยู่ในที่ที่มีเสียงจอแจ เมื่อได้ยินเสียงปืน หรือเสียง
          ระเบิด หัวใจจะเต้นเร็ว ตื่นตัว และเอามืออุดหู หรือเมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ เช่น ชายทะเล ในป่า
          เสียงลมพัด เสียงคลื่น เสียงนกร้อง จะทำให้เรามีอารมณ์ผ่อนคลาย จิตใจสงบ

          เสียงในหูเกิดขึ้นได้อย่างไร
          จนถึงปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการเสียงในหูได้ แต่จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์
          ชื่อ Heller และ Herqman ในปี ค . ศ .1953 พบว่า ในคนปกติที่ไม่เคยได้ยินเสียงในหู เมื่อเข้าไปอยู่ในห้อง
          เงียบมากๆ ที่ไม่มีเสียงรบกวน จะได้ยินเสียงในหูแบบเดียวกับผู้ที่มีเสียงในหู จึงเชื่อว่าโดยปกติจะมีเสียงที่เกิดจาก
          การทำงานของระบบประสาทการรับเสียงในสมอง แต่สมองได้เรียนรู้ว่าเสียงนี้ไม่มีความสำคัญ มันจึงถูกละเลยไว้
          ใต้จิตสำนึก แต่ในผู้ที่มีเสียงในหูอาจจะเกิดความผิดพลาดในการรับรู้เสียงนี้ชั่วขณะ หนึ่ง เช่น ประสาทหูถูกทำลายหรืออยู่ใน
          ภาวะเครียดกังวลมาก ทำให้สมอง จดจำเสียงการทำงาน ของประสาท นี้เป็นเสียงคุกคามและให้ความสำคัญ กับเสียงนี้
          สมองจึงสั่งการให้ร่างกาย ตื่นตัวเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา นอนไม่หลับ กังวลและ เครียด
          ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำๆ จน กลายเป็นนิสัย เชื่อกันว่าในผู้ที่มีหูไว ผิด ปกติก็เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน ระบบประสาทการรับเสียง
          ระบบ ประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทควบคุมอารมณ์ เกิดการตอบสนอง เสมือนหนึ่งว่าร่างกายอยู่ในสภาวะถูก คุกคาม
          จึงตื่นตัวและไวเกินปกติอยู่ตลอดเวลาแม้มีเสียงกระตุ้นเพียงเบาๆ ก็จะถูกขยายให้ดังเกินเหตุ เกิดปฏิกิริยาในทางลบ
          เช่น ไม่ชอบเสียงที่เปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยหรือกลัวเสียง

          เสียงในหูแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ

          • เสียงในหูประเภทที่สามารถตรวจพบได้ เช่น ผู้ที่มีหลอดเลือดบริเวณคอ ฐานกะโหลกศีรษะแคบลงผิด ปกติ
          เมื่อเลือดไหลผ่านหลอดเลือดที่แคบลง จะเกิดเสียงดังขึ้น ถ้าใช้เครื่องมือดักฟังก็จะได้ยินเสียงเหมือนที่ ผู้ป่วย
          ได้ยินเอง หรือบางท่านอาจได้ยินเสียงการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณเพดานปาก กล้ามเนื้อใน หูชั้น กลาง
          หรือการเปิดปิดของท่อปรับความดันอากาศในหูชั้นกลาง
          • เสียงในหูประเภทที่ไม่สามารถตรวจพบได้ ได้ยินเฉพาะผู้ที่มีอาการ แต่ผู้อื่นไม่ได้ยิน เสียงในหูประเภทนี้
          ซึ่งสามารถแบ่งตามสาเหตุที่เกิดได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
          1. เสียงในหูที่พบโรคอื่นร่วมด้วย
          เสียงในหูอาจเกิดในผู้ที่ป่วยเป็นโรคอื่น เช่น เมื่อถูกตบที่หู อาจจะมีอาการหูอื้อได้ยินน้อยลง ขณะเดียวกันจะได้ยิน
          เสียงในหูดังวี้ดๆ นานเป็นวัน ผู้ที่ได้รับยาฉีดโดยเฉพาะยาปฎิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยซิน อาจจะมีเสียงในหูร่วมกับ
          ประสาทหูที่เสื่อม ในผู้สูงอายุที่มีประสาทหูเสื่อม บางท่านอาจจะมีเสียงในหูร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมีเนีย (Meniere )
          ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคที่ประกอบไปด้วยอาการ เวียนศีรษะ บ้านหมุน การได้ยินลดลง อาจจะมี เสียงในหูร่วมด้วยได้
          ในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 (Acoustic neuroma) อาจมี อาการเสียงในหูร่วมด้วย
          ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลน ( Otosclerosis ) อาจมีเสียงในหูร่วม กับการได้ยินที่ลดลงได้
          เสียงในหูประเภทเหล่านี้อาจจะลดลงหรือหายไปได้ ถ้าหากสาเหตุของโรคได้รับการแก้ไข
          2.เสียงในหูที่ไม่พบโรคอื่นร่วมด้วย
          ผู้ที่มีเสียงในหูส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนี้ และเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด ตรวจไม่พบสาเหตุและไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ
          เกิดขึ้นได้ในคนสุขภาพกายและจิตปรกติ

          เสียงในหูจำแนกตามระยะเวลาที่เกิด
          ประเภทแรก เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งมักเป็นชั่วคราวโอกาสที่จะหายเองมีมาก
          เช่น เมื่อเข้าไปในที่เงียบหรือห้องเก็บเสียงจะได้ยินเสียงในหูชั่วคราวแล้วค่อยๆ หายไป

          ประเภทที่สอง ประเภทเรื้อรัง คือ เป็นนานเกิน 3 เดือน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดประมาณ 80%
          ของผู้ที่มีเสียงในหูทั้งหมดและมักหาสาเหตุไม่พบโอกาสหายเองมีน้อยต้องปรึกษาแพทย์ถ้าหากเกิดความรำคาญมาก
          จนมี อาการ หงุดหงิด ขาดสมาธิในการทำงาน นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          หรือมีอาการหูไวผิด ปกติต่อเสียง ( Hyperscusis) บางชนิด หรือเป็นมากถึงขั้นกลัวเสียง (Phonophobia )

          การรักษาเสียงในหู
          ผู้ที่มีเสียงในหู ควรไปปรึกษา แพทย์เพื่อรับการ ตรวจวินิจฉัย ว่าเสียงในหู ที่เป็นอยู่มีสาเหตุจากโรค
          อื่นร่วมด้วย หรือไม่ซึ่ง ส่วนใหญ่มักจะไม่พบความ ผิดปรกติใดๆ ถ้าหากเสียงในหูนี้ ไม่ก่อให้เกิดความ
          รำคาญ นอน หลับได้ปรกติ การได้ทำความเข้าใจถึง สาเหตุของ โรคจะทำ ให้หายกังวลได้ มีเพียง 20 %
          ของผู้ที่มีเสียง ในหู ที่ต้องรับการ รักษาอาการ แทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น เกิด ความวิตก
          กังวลว่าอาจมีโรคร้ายแรงในสมอง นอนไม่หลับ ขาดสมาธิในการทำงาน ทนต่อเสียงดังได้น้อยลงการรักษา
          โดยการฝึกสมองให้เปลี่ยนวิธีการตอบสนองใหม่อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเป็นวิธีที่ได้ผลมาก

          ข้อปฏิบัติในการรักษาเสียงในหู
          1. ต้องรักษาสภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ ผ่อนคลาย เลิกกังวล

          2. สร้างความเชื่อมั่นว่าเสียงในหูนี้รักษาได้
          3. ศึกษาและทำความความเข้าใจกับสมมติฐานของการเกิดโรค สร้างทัศนคติที่ดีต่อ แนวทางการปฏิบัติ

          4. หลีกเลี่ยงความเงียบ อย่าอยู่ในที่เงียบๆ เพียงลำพัง ความเงียบทำให้เสียงในหูเด่นชัดขึ้น ต้องพยายามรับเสียงจาก
          ภายนอกเพื่อเบี่ยงเบนให้เสียงในหูด้อยลง ฝึกให้สมองรับรู้และคุ้นกับเสียงรอบข้าง จากการทดลองพบว่าเสียงธรรมชาติ
          ที่ไม่มีความหมายจะทำให้สมองเกิดความเคยชิน และเบี่ยงเบนจากเสียงในหูได้ง่าย เช่น เสียงน้ำตก เสียง คลื่น เสียงน้ำไหล
          เราสามารถฟังเสียงเหล่านี้ได้จากแผ่นซีดี วิทยุเทป และควรฟังอย่างต่อเนื่องโดย เฉพาะเวลา กลางคืนอาจฟังจนกระทั่งหลับไป
          ในผู้ที่ไม่สะดวกที่จะพกวิทยุเทป หรือซาวด์อเบาท์ไปทุกที่ การใช้เครื่องกลบ เสียง ในหูอาจจะช่วยให้การบำบัด
          ได้ผลแน่นอนในเวลาที่รวดเร็วขึ้น

          การรักษาโดยใช้เครื่องกลบเสียงในหู
          อาศัยหลักการของการสร้างความเคยชินให้กับสมองคล้ายๆ กับเวลาที่เราย้าย บ้านไปอยู่ริมถนน ใหม่ๆ
          เราจะนอนไม่ หลับ รำคาญต่อเสียงรถยนต์ที่วิ่งผ่านไป มาขาดสมาธิในการทำงาน นานวันเข้าสมอง
          สามารถสร้างความเคยชินกับเสียง นี้ได้ ทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยา ไม่ตื่นตัว ไม่รำคาญ มีสมาธิ ใน การทำงาน
          และนอน หลับได้ เสมือนหนึ่งไม่รับรู้ว่ามี เสียง รถวิ่ง แต่ถ้าหากเราตื่นขึ้นกลางดึกและตั้ง ใจฟังเสียงรถวิ่ง
          ก็จะได้ยินเด่นชัดขึ้น แต่เราก็สามารถที่จะหลับต่อไปได้อย่าง ง่ายดาย แสดงว่าเราสามารถที่จะฝึกสมอง
          ไม่ให้สนใจต่อ เสียงรถวิ่งและปล่อย การรับรู้เสียงนี้ไว้แค่ใต้จิตสำนึกไม่ขึ้น ไปสมองส่วนบนสุดจึงไม่เกิดปฏิกิริยา
          โต้ตอบสมองได้เรียนรู้ว่าเสียงรถวิ่งไม่ คุกคามต่อร่างกายหลังจากที่ถูกกระตุ้น อยู่หลายคืน จึงไม่เกิดปฏิกิริยาเตรียมพร้อม
          คือตื่นอยู่ตลอดเวลาจนถึงระดับหนึ่งสมองเกิดการวางเฉยและไม่รับรู้ต่อ เสียงรถวิ่งในที่สุด

          การรักษาโรคหูไวผิดปกติ
          ในผู้ที่มีหูไวผิดปกติ ละเกิดอาการกลัวเสียงจนต้องใช้ที่อุดหูกันเสียงแม้ในสภาพ แวดล้อมที่ไม่มีเสียงดังและจอแจมาก
          แนวทางการรักษาคือจะต้องหลีกเลี่ยงความ เงียบและต้องสร้างความเคยชินกับเสียงรอบข้าง โดยฝึกรับเสียงดังเพิ่มขึ้นทีละ น้อย
          และให้เลิกใช้ที่อุดหูในผู้ที่มีประสาทหูเสื่อมร่วมกับเสียงในหู และมีอาการ หูไวผิดปกติร่วมด้วย จำเป็นที่ต้องใส่เครื่องช่วยฟัง
          เพื่อให้รับเสียงภายนอกชัด เจนขึ้น โดยในระยะแรกที่ใส่เครื่องช่วยฟังควรปรับกำลังขยายให้อยู่ ในระดับพอ ได้ยินเสียงรอบข้าง
          และเสียงสนทนา และค่อย ๆ เพิ่มกำลังขยายขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ระดับที่ต้องการ
          -------------------------------------------------------------------------------------

          Comment


          • #20
            อ่า โดนมากเลย ขอบคุณครับ
            รู้สึกมีปัญหา กับเส้นเลือดแถวๆ คอที่ไรเป็นทุกที แบบว่า ก้มเงยผิดท่า จนเส้นเลือดมันตุบๆ จะเป็น
            อีกทีก็ตอนอัด nichicom fw fa เยอะ 55+ เสียงบาดเกิน หูไม่ชิน

            ที่เป็นไม่ใช่แบบหูอื้อน่ะ แต่เป็นแบบหูไว ได้ยินอะไรดังนิดหน่อยก็รู้สึกดังมากแหล่ะ
            แถมเป็นคนเวลาปกติ ชอบอยู่เงียบมากๆ ด้วย

            Comment


            • #21
              น่ากลัวใช่เล่นเลยนะครับ ต้องระวังซะหน่อยแล้ว ผมก็ใช้หูฟัง In ear ด้วย แต่ปิดเทอมไม่ค่อยได้ใช้ครับ
              ชอบฟังกับลำโพงมากกว่าครับ ฟังเพลง เบาๆ ชิวดีครับ

              Comment


              • #22
                เคยมีใครรู้้หรือยังครับ การที่เราใช้หูฟัง จะเป็นการสะสมเเบตทีเลีย หูมากกว่าคนปกติ ประมาณสองเท่า
                ยิ่งตอนที่เราฟังหลังอาบน้ำเสร็จ เพราะหลังจากอาบน้ำ จะมีน้ำค้างอยู่ในหู อันนี้้ ก็จะเพิ่มไปอีกประมาณสามเท่า
                ^^ เเต่เพื่อเพลงเพราะๆๆ เเละไม่รบกวนผู้อื่น จะอดใจได้หรือเปล่าเน้อ ^^

                Comment


                • #23
                  ผมโดนมาแล้วครับ บ้านหมุนเลย ต้องไปหาหมอๆบอกเยื้อแก้วหูอักเสบ ทำให้น้ำในหูไม่เท่ากัน เสียค่ารักษาโดนไปซะ พันกว่าบาท จากการใช้หูฟังแบบครอบ เพราะความที่ใช้หูฟังคราวละนานๆเป็นหลายชม.ไม่ยอมพักหู เดี๋ยวนี้หลีกเลี่ยงที่จะฟังเพลงหรือเล่นเกมส์จากหูฟัง ครับส่วนหมอบอกว่าบางทีเราไปทำความสะอาดหูโดยใช้คัทเติลบัทมากเกินไป ควรจะปล่ยให้หูเรามีขี้หูคอยดักจับเชื้อโรคบ้างน่ะครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังได้ยินเสียงวิ้งตลอด แต่ดีกว่าเมื่อก่อนเยอะ ^^
                  Last edited by onoshow; 29 Sep 2010, 13:09:07.

                  Comment


                  • #24
                    เครื่องเสียงดีขนาดไหน หากหู ฟังไม่ได้ มันก้ไร้ค่า

                    ถนอมหูกันด้วยครับ ผม ก็เริ่มแย่ๆและ ต้อง ฟังเบาๆ ...

                    Comment


                    • #25
                      มีเพื่อนคนนึง ไม่รู้หูตอบสนองเสียงสูงดีเกินหรือหูเสื่อม
                      เค้าจะได้ยินเสียงฟลายแบคในเครื่องทีวี(แบบจอแก้วจะมีทุกเครื่อง) เห็นเค้าบอกว่าได้ยินเป็นเสียงจี๊ดๆเบาๆในหู
                      จำไม่ได้ว่า เค้าเคยบอกว่า ทีวียี่ห้อนึงใหม่ๆเค้าจะได้ยินแบบนี้เหมือนกัน

                      พูดง่ายๆ เวลาไปเดินห้าง เค้าจะเลี่ยงเดินดูแผนกทีวีไปเลย

                      ++ ฟลายแบคจะคล้ายหม้อแปลงของเครื่องใช้ไฟฟ้า เวลาทำงานมันจะมีการสั่นในตัวเอง ++

                      Comment


                      • #26
                        เมื่อก่อนผมก็เคยได้ยินนะครับ มันหวี่ที่แถว ๆ 16k ตามความถี่ภาค hor แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้สังเกตุตัวเองเหมือนกันครับว่ายังได้ยินอยู่ไหม .. น่าจะเป็นข้อดีกว่านะครับ เพราะ 16k ยังได้ยินอยู่แล้วลำโพงของเรามันไปถึง 20k น่าจะยังได้ยินได้อีก
                        พึ่งหายจากอากาศหูซ้ายอื้อเหมือนกัน ฟังอะไรไม่ค่อยได้ยินฟังเสตอริโอไม่มีมิติใด ๆ ตอนนี้เกือบหายดีแล้วแต่ข้างซ้ายยังเบากว่าขวานิดนึงต้องรักษาสุขภาพให้ดีต่อไป..

                        เฮ้ย! .. พูดก็พูดนะครับ มีเงินหมื่นเงินแสนเงินล้าน ซื้อเครื่องเสียงมาเล่นราคาแพงแค่ไหนแต่ถ้าหูเสียก็เปล่าประโยชน์อ่ะครับ.. เพราะรับรู้ความไพเราะของเครื่องเสียงไม่ได้..

                        Comment


                        • #27
                          ไปหาหมอซะนะครับ จากคนที่ประสาทหูเสียไปแล้ว

                          Comment


                          • #28
                            หูฟังผมก็เป็นนะ เสียงวี่ๆในหูอะ

                            คือมี หูฟัง 4 ตัว

                            1. Hand free - Nokia
                            2. Hand free - LG
                            3. Oker in-ear
                            4. Creative EP-630

                            ต่อหลัง X-FI XtremeMusic >>> ทุกตัวไม่มีเสียงรบกวน

                            ต่อกับ notebook >>> มีเสียงวี่ๆเฉพาะ EP-630

                            ผมก็เลยงงๆ เอ้านี่มันอะไร

                            Comment


                            • #29
                              Originally posted by keang View Post
                              มีเพื่อนคนนึง ไม่รู้หูตอบสนองเสียงสูงดีเกินหรือหูเสื่อม
                              เค้าจะได้ยินเสียงฟลายแบคในเครื่องทีวี(แบบจอแก้วจะมีทุกเครื่อง) เห็นเค้าบอกว่าได้ยินเป็นเสียงจี๊ดๆเบาๆในหู
                              จำไม่ได้ว่า เค้าเคยบอกว่า ทีวียี่ห้อนึงใหม่ๆเค้าจะได้ยินแบบนี้เหมือนกัน

                              พูดง่ายๆ เวลาไปเดินห้าง เค้าจะเลี่ยงเดินดูแผนกทีวีไปเลย

                              ++ ฟลายแบคจะคล้ายหม้อแปลงของเครื่องใช้ไฟฟ้า เวลาทำงานมันจะมีการสั่นในตัวเอง ++
                              เสียงแบบนี้ผมก็ได้ยินเหมือนกันครับ
                              เท่าที่ได้ยิน เสียงมันจะเปลี่ยนไปตามการทำงานของทีวี
                              เสียงจะเบาลง ตอนสแตนบาย ตอนเปลี่ยนช่อง และจะดังขึ้นเมื่อเปิดเครื่อง
                              แต่ไม่ได้ยินตลอดนะครับ ต้องอยู่ในที่เงียบๆหน่อยถึงจะได้ยิน

                              Comment


                              • #30
                                ผมได้ยิน ตอน ใส่หูฟัง
                                ฟังเพลงน่ะครับ......
                                ไม่ทราบว่าเป็นปัญหาที่หูผม...หรือที่หูฟัง.....

                                Comment

                                Working...
                                X