Announcement

Collapse
No announcement yet.

ถามไรหน่อยคับ..เรื่องลำโพง

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ถามไรหน่อยคับ..เรื่องลำโพง

    คือที่บ้านมีลำโพงของ infinity 50W อยู่คู่นึง อยากเอามาใช้แทนลำโพงเล็กๆของ SAAG 1000W อ่ะคับจะได้ไหมแล้วเสียงของ infinity เป็นยังไงใช้ได้ป่าว หรือจะใช้ของเดิมดีกว่า
    แล้ว 1000W ที่เขียนไว้ตามลำโพงอ่ะคับ คิดเป็น W rms ได้ Chanel ละกี่ W
    อีกนิดคับตอนนี้ใช้ sound onboard ที่มากับ P5B Deluxe อยู่ถ้าเปลี่ยนจะดีขึ้นเยอะไหม
    Last edited by raineza; 8 Nov 2007, 03:07:38.

  • #2
    ใช้แทนได้ อ่าใช้ได้แหละครับ แต่จะดีฤป่าว อันนี้ท่านพี่ต้องลองฟังทั้ง 2 ตัวเทียบกันเองอ่าครับ ว่าท่านพี่ชอบเสียงแนวไหน ท่านพี่มี saag อยู่ ลองฟังก่อนเปลี่ยนอ่าคับ แล้วท่านพี่ลองเปลี่ยนเป็นตัว infinity ถ้าเปลี่ยนแล้ว ชอบเสียงตัวไหน ก็ใช้ตัวนั้นดีกว่าคับ แหะๆ

    ไอ้เรื่องวัต ผมไม่รู้อ่า ว่า pmpo กะ rms มันคิดแปลงยังไง แหะๆ
    ส่วน เรื่องซาวการ์ดอ่าครับ ถ้ามีซาวการ์ด เสียงดีกว่าซาวออนบอร์ดอยู่แล้วแหละครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น ลำโพงต้องมีคุณภาพหน่อยนะครับท่านพี่ ถึงจะฟังออก แหะๆ

    Comment


    • #3
      Nature ของ Infinity หวานใส เบสบางนิสนุงครับ
      ดูวัตต์ RMS พอแร้นครับ PMPO มะเคยสนเลยอ่ะ
      Last edited by ลุงอ๊อด; 8 Nov 2007, 04:55:53.

      Comment


      • #4
        watt RMS เรียกตามภาษาบ้านๆ คือวัตกลางแจ้งครับ

        Comment


        • #5
          แล้ว pmpo กับ rms ต่างกันไงครับ อยากรู้เหมือนกันครับ

          Comment


          • #6
            rms คือ ค่าเฉลี่ย
            PMPO คือ ค่าสูงสุดชั่วขณะหนึ่งครับ

            1000 w pmpo จะสู้ 100 W rms ได้เปล่ายังไม่รู้เลย

            Comment


            • #7
              มีคนทำตารางเปรียบเทียบกันครับ -> http://www.sound-map.com/index.php?l...112299&Ntype=2

              ถ้าอยากทราบโดยละเอียดนี่ครับ -> http://en.wikipedia.org/wiki/Audio_power

              Comment


              • #8
                กำลังงานอาร์เอ็มเอส ( RMS Power ; PRMS ) ในการคำนวณค่าของกำลังงานของแหล่งจ่ายทั่วไป เช่น แหล่งไฟตรง แหล่งไฟสลับ เป็นต้น มักจะมีการคำนวณค่าออกมาเป็นเทอมของกำลังงานเฉลี่ยทั้งสิ้น เนื่องจากทางวิศวกรรมไฟฟ้าค่าของกำลังงานในหน่วยของอาร์เอ็มเอสนั้นไม่มีนิยาม หรือความหมายใดๆ ดังนั้นเราสามารถกล่าวได้ว่าการเรียกค่าของกำลังงานอาร์เอ็มเอสนั้นเป็นการเรียกที่ผิด หรือเป็นการใช้ชื่อผิดก็ได้ เนื่องจากโดยนิยามของอาร์เอ็มเอสนั้นใช้อธิบายเฉพาะค่าของ แรงดัน ( V ) หรือ กระแส ( I ) ที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อวิเคราะห์ค่าของกำลังงานเฉลี่ยของอุปกรณ์ แต่ถ้าเราจะทดลองคำนวณเทอมของกำลังงานอาร์เอ็มเอสในทางคณิตศาสตร์โดยใช้สมการที่ (3) เราสามารถทำได้ดังตัวอย่างการคำนวณต่อไปนี้คือ






                แทนค่าของ p(t) ด้วยสมการที่ (1)





                สมมติให้แรงดันเป็นไซน์ จะได้



                จะได้

                จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นว่าเมื่อเราแทนค่าของกำลังงานที่เวลาใดๆ p(t) ลงในสมการที่ (3) จะทำให้เกิดเทอมของแรงดันยกกำลัง 4 หรือกระแสยกกำลัง 4 ในกรณีที่แทนด้วยเทอมของกระแส ( ซึ่งไม่มีความหมายสำหรับฟังก์ชันตัวนี้ ) เมื่อเราทำการคำนวณตัวอย่างข้างต้นจนเสร็จสิ้นจะพบว่า ในกรณีของสัญญาณไซน์ค่าของกำลังงานอาร์เอ็มเอสที่หาค่าได้จากสมการจะมีค่าสูงกว่าค่ากำลังงานเฉลี่ยเท่ากับ 1.23 เท่า ( PRMS = 1.23PAV ) แต่ค่ากำลังงานอาร์เอ็มเอสที่คำนวณได้นี้เป็นเพียงค่าที่สามารถหาได้ในทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ในทางทางวิศวกรรมไฟฟ้าค่านี้ไม่มีความหมายใดๆทั้งสิ้น และไม่ใช่ค่าของกำลังงานอาร์เอ็มเอสที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย

                แต่เราจะพบว่าในการกำหนดกำลังงานของเครื่องเสียงปัจจุบัน มีการใช้หน่วยของกำลังงานอาร์เอ็มเอสกันมาก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เหตุผลก็คือ กำลังงานอาร์เอ็มเอสที่ระบุในเครื่องเสียงนั้นไม่ได้มีการวิเคราะห์ในลักษณะดังที่แสดงในตัวอย่างข้างต้นนั่นเอง ที่มาของการกำหนดหน่วยกำลังงานใหม่นี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของการวิเคราะห์ค่าอาร์เอ็มเอสของรูปสัญญาณใดๆ คือ ถ้ารูปคลื่นที่เราทำการวิเคราะห์มีฮาร์มอนิกปะปนอยู่ค่อนข้างมาก หรือกล่าวได้ว่ารูปคลื่นของสัญญาณมีความเพี้ยนไปจากสัญญาณไซน์มาก เช่น สัญญาณดนตรีของระบบเครื่องเสียง เราจะพบว่าการหาค่าอาร์เอ็มเอสของสัญญาณจะทำได้ยากลำบาก และมีความผิดพลาดมากขึ้น ดังนั้นในกรณีที่สัญญาณที่เราทำการวิเคราะห์มีฮาร์มอนิกปะปนสูงมาก เราแทบจะกล่าวได้เลยว่า การหาค่าอาร์เอ็มเอสที่แท้จริงของสัญญาณเหล่านั้นมีความเป็นไปได้ที่ต่ำมาก ย่อมส่งผลให้การหาค่าของกำลังงานเฉลี่ยที่แท้จริงแทบจะเป็นไปไม่ได้เช่นกัน

                แต่เนื่องจากผู้ผลิตเครื่องเสียงในปัจจุบันมีความต้องการที่จะแสดงค่าของกำลังงานของผลิตภัณฑ์ให้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงให้มากที่สุด ดังนั้นในการวิเคราะห์ค่าของกำลังงานของเครื่องเสียงผู้ผลิตจึงทำการการทดสอบเครื่องเสียงโดยเลียนแบบสัญญาณดนตรีต่างๆ ( ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเลียนแบบได้ทั้งหมด ) แต่ย่อมเกิดปัญหาในการหาค่าอาร์เอ็มเอสของสัญญาณดนตรีที่ทำได้ยาก และมีความผิดพลาดได้ดังที่กล่าวไว้แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ผลิตจึงต้องทำการทดสอบวัดค่าของกำลังงานเฉลี่ยหลายๆครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะมีเงื่อนไขของสัญญาณหลากหลายรูปแบบ และหลายสภาวะ ( ทั้งในเงื่อนไขสภาวะที่ดีที่สุด และ แบบแย่ที่สุด ) ซึ่งการวัดแต่ละครั้งจะมีความผิดพลาดแตกต่างไปตามลักษณะของสัญญาณ เมื่อนำค่าทั้งหมดมาทำการเฉลี่ยออกมา เราจะได้หน่วยกำลังงานใหม่ที่ถูกตั้งชื่อว่า “ กำลังงานอาร์เอ็มเอส ( RMS Power )” ( แท้จริงแล้วก็เป็นกำลังงานเฉลี่ยของหลายๆเงื่อนไขนั่นเอง ) ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่า “ กำลังงานอาร์เอ็มเอส ( RMS Power ) เป็นค่าที่ใช้ระบุค่ากำลังงานเฉลี่ย ( Average Power ) จากการทดสอบวัดกำลังงานเฉลี่ยด้วยสัญญาณดนตรีหลายๆครั้งจากหลากหลายสภาวะ และเงื่อนไข โดยใช้ระบุสำหรับสำหรับเครื่องเสียงโดยเฉพาะ ” ซึ่งแตกต่างไปจากการนิยามของอาร์เอ็มเอสในทางวิศวกรรมข้างต้น หรือกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นใหม่เฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องเสียง เพียงแต่มีชื่อพ้องกันเท่านั้น

                การที่ผู้ผลิตระบุหน่วยเช่นนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจสมรรถนะที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดเมื่อนำไปใช้กับสัญญาณดนตรี ( ไม่ใช่การใช้สัญญาณไซน์ทดสอบที่ความถี่เดียว ) ดังนั้นเราสามารถจะกล่าวได้ว่าเครื่องเสียงที่มีกำลังงานอาร์เอ็มเอสสูงๆ ย่อมดีที่สุดใช่หรือไม่ คำตอบย่อมคือไม่ใช่ เนื่องจากว่าค่ากำลังงานอาร์เอ็มเอสนี้เพียงแต่บ่งบอกถึงสมรรถนะทางด้านกำลังงานเท่านั้น แต่เครื่องเสียงที่ดีย่อมต้องรวมไปถึงสมรรถนะทางด้านอื่นๆ เช่น การกำจัดสัญญาณรบกวน ความผิดเพี้ยนจากการขยายสัญญาณ ฯลฯ หรือกล่าวรวมๆว่าต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพเสียงด้วยนั่นเอง เราจึงพบเสมอๆว่า เครื่องเสียงที่มีกำลังงานต่ำกว่าสามารถมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าได้
                Attached Files

                Comment


                • #9
                  กำลังงานพีเอ็มพีโอ ( PMPO Power ; PMPO ) คำว่า PMPO เป็นตัวย่อมาจาก “ Peak Music Power Output ” หรือ “ Peak Momentary Performance Output ” เป็นหน่วยที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ระบุถึงรายละเอียดของอัตรากำลังงานของเครื่องขยายเสียง และลำโพง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเพียงตัวเลขของเกมการแข่งขันทางการค้าที่ใช้ระบุคุณสมบัติของสินค้า โดยที่แทบจะไม่มีวิธีการ หรือรูปแบบการทดสอบที่เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน ( ต่างบริษัทต่างทดสอบกันเอง ) นอกจากนี้การทดสอบกำลังงานนี้ส่วนใหญ่มักจะทำกันในห้องทดลองที่ควบคุมสภาวะ และเงื่อนไขที่ดีที่สุด เพื่อให้ผลทดสอบที่ได้มีค่าค่อนข้างสูง ซึ่งยิ่งเป็นการยากที่จะระบุถึงสมรรถนะของกำลังงานเมื่อถูกนำออกไปใช้งานจริง หรืออาจจะกล่าวได้ว่ากำลังงานพีเอ็มพีโอที่เกิดจากการวัดในลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และ แทบจะไม่มีความน่าสนใจหรือประโยชน์ในการพิจารณา อีกทั้งสร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคอีกด้วย แตกต่างจากการระบุกำลังงานด้วยค่ากำลังงานเฉลี่ย และค่ากำลังงานอาร์เอ็มเอส ที่น่าเชื่อถือมากกว่า ตัวอย่างเช่น การทดสอบเครื่องขยายเสียงด้วยสัญญาณไซน์ ( Sine Signal ) สัญญาณรบกวนพิ้งค์ ( Pink Noise ) และสัญญาณอื่นๆที่ไม่ใช่สัญญาณทางดนตรี ( Non-musical Signal ) โดยสัญญาณเหล่านี้เพียง เป็นตัวแทนเพื่อใช้ทดสอบค่าของกำลังงานเฉลี่ยแทนสัญญาณดนตรี ซึ่งเป็นค่าตัวอย่างของกำลังงานเฉลี่ยที่ได้เมื่อนำไปใช้งานจริง ซึ่งสินค้าต่างบริษัทที่ถูกทดสอบด้วยวิธีเดียวกันนี้จะถูกระบุแยกคุณสมบัติที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่กำลังงานพีเอ็มพีโอ ( PMPO ) โดยแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เพื่อแสดงคุณสมบัติของเครื่องเสียง โดยจะต้องพยายามทดสอบด้วยสัญญาณดนตรีจริง โดยเลียนแบบสภาวะแวดล้อมและการใช้งานที่ใกล้เคียงความจริง ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างมาก ( ถ้าทำได้จริง ) แต่เนื่องจากไม่มีมาตรฐานการวัดที่แน่นอนสำหรับทุกๆบริษัท ดังนั้นสินค้าราคาถูกกว่าอาจจะมีการกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เพื่อจงใจให้ได้ข้อกำหนดของคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับสินค้าที่ราคาสูงกว่า ( ทำให้สินค้าดูเหมือนมีคุณภาพเท่ากัน ) ซึ่งผู้บริโภคยากที่จะสามารถเห็นข้อแตกต่างได้เนื่องจากผู้บริโภคไม่ทราบถึงข้อแตกต่างในวิธีการวัดของแต่ละบริษัทและยากที่จะทำความเข้าใจ นอกจากว่าจะได้ทดสอบผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบคุณภาพกันด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้บริโภคจึงมักจะให้ความสนใจในข้อกำหนดคุณสมบัติของสินค้าที่ผู้ผลิตให้มา เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและเลือกซื้อสินค้าก่อนเป็นอันดับแรก ( ซึ่งจะค่อนข้างสับสนสำหรับตัวเลขนี้ ) สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับวิธีการวัดค่ากำลังงานพีเอ็มพีโอที่แตกต่างกันไปอย่างมากนี้เกิดขึ้นเนื่องจากว่า ไม่มีมาตรฐานใดที่จะระบุได้ว่า เสียงดนตรีเป็นอย่างไร หรือสัญญาณดนตรีมีรูปร่างที่แน่นอนอย่างไร ทำให้เกิดข้อสงสัยและเคลือบแคลงว่าคุณสมบัติต่างๆที่ผู้ผลิตกำหนดไว้มีที่มาอย่างไร นอกจากนี้ในการทดสอบค่ากำลังงานพีเอ็มพีโอนี้ ผู้ผลิตแต่ละบริษัทต่างก็มีการทดสอบต่างๆกันตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมที่ตั้งขึ้นกันเองอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหน่วยการวัดกำลังงานพีเอ็มพีโอนี้ก็กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในอุตสาหกรรมประเภทไฮไฟ ( Hi-Fi industry ) ( ปัจจุบันจะพบการระบุหน่วยกำลังงานแบบพีเอ็มพีโอใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องเสียงขนาดเล็ก เช่น มินิคอมโพเนนท์ ) ในขณะที่ความชัดเจนของพื้นฐานความเข้าใจในการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ และมาตรฐานกลางในการวัดยังไม่ได้รับความใส่ใจกันมากนัก ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเปรียบเทียบค่าตัวเลขของกำลังงานพีเอ็มพีโอของสินค้าที่มีวิธีวัดต่างกัน หรือเปรียบเทียบสินค้าต่างบริษัทกันด้วยตัวเลขนี้

                  Comment


                  • #10
                    โห คุณวิกร มาแบบแน่นปึ้กมาเลย
                    เยี่ยมครับ ขอบคุณมาก

                    Comment

                    Working...
                    X