Announcement

Collapse
No announcement yet.

D.I.Y มหาสนุก - -'' ตอน ประกอบ NOS DAC AD1865 ฉบับกระเป๋าฟังเอง + รีวิวเสียงชิบ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • D.I.Y มหาสนุก - -'' ตอน ประกอบ NOS DAC AD1865 ฉบับกระเป๋าฟังเอง + รีวิวเสียงชิบ

    D.I.Y มหาสนุก - -'' ตอน ประกอบ NOS DAC AD1865 ฉบับกระเป๋าฟังเอง + รีวิวเสียงชิบ

    เป็นรีวิวแรกนะครับ - -'' อาจจะขาดตกบกพร่อง ไปยังไงก็ขออภัยด้วยครับ
    เนื่องจากช่วงนี้หยุดยาวหลังจากโดนน้ำซัดไป ผมเลยมีเวลาทำอะไรนิดๆหน่อย
    ส่วนใหญ่ว่างๆผมจะชอบฟังเพลง ทำ D.I.Y และโปรโตไทป์ เพื่อศึกษาครับเพราะทำ
    เองมันสนุกดีได้เดินหาของมีปัญหาให้แก้ไขเยอะแยะไหนต้องมาปรับแนวเสียงให้เข้า
    กับที่เราต้องการอีก แต่มันจะยุงยากและลำบากหน่อยแต่ชินซะแล้ว

    ว่างๆจับ AD1865 ของ Analog Device
    ประกอบลงกล่องเล่นดีกว่า จะได้เอาไปฟังที่ทำงานด้วย มาดูสเป็คคร่าวๆของ AD1865 กันครับ



    Complete Dual 18-Bit
    16 3 FS Audio DAC


    110 dB SNR
    0.003% THD+N
    Operates at 16 3 Oversampling per Channel
    116 dB Channel Separation

    Multichannel Audio Applications
    Compact Disc Players
    Multivoice Keyboard Instruments
    DAT Players and Recorders
    Digital Mixing Consoles
    Multimedia Workstations


    AD1865 เป็น DAC 18-bit แท้ รับ format เสียงแบบ Right Justified อย่างเดียวไม่รับ I2S
    รับได้ทั้ง TTL Level 3.3V และ CMOS Level 5V ครับ เป็น DAC คู่แบบ monolithic
    ถูกนำไปใช้งานด้าน Audio Instruments เป็นหลักครับ รองรับ oversamplingได้ 16x
    สูงสุดแต่ที่ผมจะฟังจะฟังแบบ 1x เป็น Non-oversampng ครับ



    จากรูปเนื่องจาก AD1865 รับ LRCK ขาขึ้นเหมือนกันทั้งคู่ถ้าเราป้อนสัญญาณแบบ
    Right Justified MSB First จาก Receiver เข้าไปดิบๆ มันจะรับสัญญาณได้เฉพาะข้าง
    ขวาข้างเดียวครับคือเสียงมันจะออกมา เฉพาะข้างขวาเหมือนกันทั้ง 2 Channel เพราะมัน
    เหมือน Op-Amp คือมีเหมือนๆกันทั้งคู่ไม่มีตัวเลือกสัญญาณขาลง วิธีแก้ไขปัญหานี้คือเรา
    ต้องเลื่อนข้อมูล (Shift Data) จากข้างซ้ายให้เป็นขวาเองเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้แล้วครับ

    เนื่องจากมันเป็น DAC ตัวที่ 8 ของผมขอตั้งชื่อมันว่า MONO-LAB ProtoDAC 8 แล้วกัน
    สเป็คตามนี้ครับ

    AD1865 1X oversampng
    1 SPDIF Support 16/24 bit 44Khz - 48Khz
    1 USB Support 16 bit 44khz - 48khz
    1 RCA 1.8VRMS Output Driver
    1 Headphone Output

    อถิบายมาซะยืดยาวมาดู โปรโตไทป์กันดีกว่า โปรโตไทป์ตัวนี้ทำไว้ก่อนน้ำจะท่วมบ้านผม
    มาดูส่วนประกอบกันครับ

    D/A Module

    ใช้ชิบ AD1865N (K เกรด) ติด VR ไว้สำหรับปรับแต่ง MSB Analog Volt filter ใช้ C ของ NCC GXE
    Digital Volt filter ใช้ OS-CON SP มี Jumper สำหรับ Disable/Enable MSB
    เนื่องจากเป็น Develop โมดูลจึงมีจุดให้ปรับแต่งมากไปหน่อย



    D/A,SPDIF,USB,Power Module

    เพื่อไม่ให้เสียเวลารวบไปเลยแล้วกันครับง่ายๆ
    Power Supply ใช้ Ferrite Beads ดักขยะและสัญญาณรบกวน
    จากไฟ AC เรคติไฟด้วย BYV26 Ultra Fast Soft Diode ดักสัญญาณรบกวานจาก Diode ทุกตัวด้วย C10 nF
    ฟิลเตอร์ ริปเปิล สเตจแรกด้วย C 2200uf กองความถี่สูงด้วย C 100nf ฟิลเตอร์ ริปเปิล สเตจ 2 ด้วย C 2200uf
    ใช้ R แยกอิมพีแดนซ์ออกจากสเตจแรกเพื่อให้ไฟเรียบยิ่งขึ้น เรคกูเรเตอร์ภาค Buffer แบ่งเป็นไฟ +14V - 14V
    ไฟ 15V กลัว AD8620 เดี้ยง - -'' ภาค ดิจิตอล 5V และ 3.3V ภาค อนาล็อก + - 5V ใช้ 7805 TO39
    ขาทองของ MOTO กับ LM337 TO39 ขาทองของ NS แล้วกัน ฟิลเตอร์ เรคกูเรเตอร์ ด้วย NCC GXE 100 uf
    รวมทั้งหมดเป็น 6 ชุด สำหรับภาคจ่ายไฟ

    SPDIF ใช้ DIR9001 เพราะ Low-Jitter แค่ 50 ไม่จำเป็นต้อง
    Reclock เท่าไรถ้า CS8414 นิก็ไม่ใหว

    USB ใช้ PCM2706 แล้วกัน Buffer Logic แล้วส่งให้ DIR9001 อีกที
    เนื่องจากใช้ PCM2706 ทำ USB เลยได้แค่ 48/16 ถ้าจะเอามากกว่านั้นสงสัย
    ต้อง CM108 AH แต่ตัวต่อไปคงเอา USB ออกแล้วเปลืองวงจรทำตัว
    แปลงแยกเอาดีกว่าครับ

    Logic Shift Data สำหรับข้างซ้ายใช้ 74HCT164 แล้วกันเป็น TTL Level

    Prototype ก็ต้องแบบนี้แหละชุดซูชิ ไข่ปลา ยกทีม


    หลังจากผ่านการทดสอบไปแล้วผ่านหมด


    เริ่มประกอบกันเลยดีกว่า

    มาดูกล่องกันก่อนนิแหละครับกล่องใบน้อยยาวๆ ซื้อจาก ETT 80 บาท ยังคิดไปคิดมาตั้งนานว่า
    จะยัดมันลงไปไงหมดนิแต่ก็เอาจนได้ซิกแซกเอาจนได้ ที่ใช้กล่องพลาสติกเล็กๆก็ให้มีน้ำหนักเบา
    และสามารถพกใส่เป้ไปฟังที่ไหนก็ได้สะดวกดี



    อลูมิเนียมดัดรูปตัว L หาซื้อได้ตามร้านรับติดกระจกผมขอซื้อมา 1 เมตร 120 บาท ตัดแบ่งได้เพียบ
    ผมจะเอามาใช้กันห้องหม้อแปลงครับ อธิบายไปคงงงดูรูปต่อไปก็จะเข้าใจเอง



    เอามากราวนด์กันสนามแม่เหล็กจากหม้อแปลงไปรบกวนพวกภาคอนาล็อกและทำหน้าทีระบายความร้อน
    Buffer เรคกูเรเตอร์ไปในตัว 2 เด้ง


    เจาะรูวางแผนยึด PCB ต่างๆติดตั้งสายหม้อแปลงให้เรียบร้อย


    ติดตั้งภาค USB และ Logic Shift Data ที่ชั้นแรกให้เรียบร้อย


    เจาะรูยึด RCA BNC USB เจาะไม่ค่อยสวยเท่าไร


    ติดตั้งภาค SPDIF Receiver เดินสาย ดิจิตอลไฟเลี้ยงต่างๆให้เรียบร้อยจะเห็นว่าภาค Bufff เพิ่ง
    เพิ่มเข้ามาเพราะผมไปย่อขนาดมันและทดสอบอยู่พักหนึ่งครับกว่าจะเรียบร้อย
    ภาค Buffer I/V ใช้ Dual OP-AMP ง่ายๆใช้ C โพลีโพไฟลินแช่น้ำมันคัปปลิ้ง สัญญาณ
    สำหรับชุดขยายเสียง และแบ่งภาคเกนและ อิมพีแดนซ์ สำหรับขับหูฟังแยกออกมา
    สามารถขับหูขนาด 32 Ohm ได้อย่างสบายครับ กำลังประมาณ 40mW แค่นี้ก็ดังหูแตกแล้ว


    ติดตั้งพระเอกของเรา AD1865 เดินสายจาก Logic Shift Data ไฟเลี้ยงต่างๆ
    เดินสายหน้าปัดสวิตซ์ เพาเวอร์ สวิตซ์ เลือก input USB/BNC Coaxial และไฟ
    แสดงผลล็อกสัญญาณเป็นอันเสร็จพิธี



    ผมอาจจะใช้คอนแน็คเตอร์ เยอะไปนิดเพราะ
    เวลาผมถอดตัวไหนมาโมหรือปรับปรุ่งมันทำได้สะดวกกว่าและบางทีผม ทดลอง DAC ตัวอื่น
    ผมจะได้ จัมพ์ดึง สัญญาณของมันมาป้อน DAC ตัวอื่นเพื่อทดสอบได้อีกด้วย ประโยชน์ 2 ต่อ

    รูปเทียบกับ DAC 05 ครับจะเห็นว่าผมใช้ทีในกล่อง - -'' จนแทบไม่เหลือเลย




    เสร็จเรียบร้อยหน้าตาโดยรวมพอใจครับเพราะเป็นของ DIY จะเอาไรกับมันมาก - -''



    ทดสอบและรีวิวเสียงของชิบโดยรวมครับ

    หลังจาก เบริ์นทิ้งไว้ 2 วันได้เพื่อจะได้มีแนวทางปรับปรุ่งทั้งข้อดีและข้อเสียของมันครับ
    ระบบที่ใช้ทดสอบ ลำโพงมัสซุชิตะ 6 ohm Full Range LM3886 วงจรผมเอง พอดีไม่ชอบวงจร
    Ganeclone และ MONO-LAB ProtoDAC 8 (AD1865N K)

    แนวเสียงดิบๆไม่ผ่าน Op-Amp
    จะให้เสียงที่เรียบร้อย แต่ออกกระชับกระเฉง ครับเสียงร้องจะ
    ไม่หวานมากครับแต่จะออกชัดและไม่คม ออกไปทางคัลเลอร์ นิดหน่อยส่วนด้านเบสนั้นจะให้ความเป็น
    อิมแพคที่ค่อนข้างดีมากครับเบสจะเก็บตัวเร็วและไม่เบลอ แต่อาจจะขาดความนุมนวลของมวลเบส
    ไปบ้างครับ ส่วนด้านเสียงแหลมนั้นให้เสียงแหลมที่ทอดยาวได้สุดเสียงและมีความเป็นประกาย
    และให้ความรู้สึกสบายกว่า DAC ที่เป็น oversampling อยู่พอสมควรครับ อาจเพราะไม่โดน digital filter
    ตัดยอดความถี่ในส่วนนี้ไปในกระบวนการ oversampling ครับ
    ด้านมิตินั้น DAC ของ AD จะให้มิติเสียงและเวทีเสียงของลำโพงทั้ง 2 ข้างโอบเข้ามาหาตัวผู้ฟังครับ
    จะแตกต่างจากค่าย BB ที่มิติเสียงนั้นจะออกกว้างไปทางข้างซะส่วนใหญ่ ด้านการแยกแยะมิติ ของชิ้นดนตรี
    และความเร็วในการตอบสนองของชิ้นดนตรีแต่ล่ะชิ้นทำออกมาได้ดีมากครับ
    ส่วนด้านไดนามิกเรนซ์นั้นยังไม่ค่อยดีเท่า DAC รุ่นใหม่ๆครับเสียงที่ได้ออกจะไม่เปิดมากและ
    เสียงดูอัดอั้นไปนิดครับ ต้องแก้ไขได้โดยเพิ่มภาค Buffer และขยายเกนเพื่อเพิ่ม ไดนามิกเรนซ์
    แต่อาจจะขาดความนิมนวลไปซักนิด

    ทดลองเพิ่ม OP-AMP I/V Buffer
    เข้าไปเพื่อชดเชยด้านไดนามิกเรนซ์ก็ให้ผลอย่างน่าพอใจครับ
    ชิ้นดนตรีต่างๆเริ่มโดดเด่นมากขึ้น เสียงกลางที่เคยหลบก็เริ่มเปิดเผยมากขึ้น เสียงแหลมสดใสมากขึ้น
    เบสมีมวลมากขึ้น แต่ยังคง สไตล์เดิมคือ เด่นด้านอิมแพค โดยรวมดีขึ้นครับ

    เท่าที่ทดลอง OP-AMP 3 เบอร์นะครับ OPA627AP AD797ANZ AD8620ARZ

    AD797ARZ เสียงร้องคมชัด แต่กลางจะหลบนิดหน่อย เครื่องสายชัดและโดดเด่นดีครับ จังหวะกระฉับกระเฉงดี ตามสไตล์ของเบอร์นี้
    เสียงแหลมออกจะชัดและเด่นไปซักหน่อยส่วนเบส ออกไปทางอิมแพค

    OPA627AP เสียงร้องจะออกหวานๆไม่คมชัดเท่า AD797 ครับเสียงกลางโดยรวมออกเปิดเผยมากขึ้น จังหวะไปทางลื่นใหล
    ตามสไตล์ของเบอร์นี้ เสียงแหลมไม่เด่นเท่าไรแต่ออกไปทางบางๆไม่สดจนเกินไปครับ เบสออกไปทางลึกและนุมนวลมากกว่า
    และไม่อิมแพค เท่า AD797 ครับ

    AD8620ARZ เสียงร้องเหมือน OPA627AP ครับแต่ไม่หวานมากและไม่ชัดออกทุ้มๆครับ เสียงแหลมไม่เด่นมากครับอยู่กลางๆ
    เบสนั้นเด่นนำกว่า 2 เบอร์บนเลยครับ มีทั้ง Deep และ impact ด้านมิติของชิ้นดนตรี ยังสู้ 2 เบอร์บนไม่ได้

    สรุปผลเท่าที่ลองฟังมานะครับ
    AD1865N K Non-oversampng
    สุ้มเสียงฟังสบายออกไปทางเรียบๆครับ ให้ความเป็นดนตรีสูงครับเพราะไม่ได้ oversampling
    มิติด้านลึก ของชิ้นดนตรีทำได้ดี เยี่ยมครับ เท่าที่ลองเทียบกับ NOS ด้วยกันทำได้ดีกว่า TDA1541 S1 อีก
    เหมาะแก่การฟังดนตรีซะเป็นหลักเพราะออกแบบมาสำหรับงาน music Instruments โดยเฉพาะ

    มาดูข้อเสียของมันบ้างครับ
    เป็น monolithic ทำให้ออกแบบวงจรยากไปนิดต้องเพิ่ม Shift Data เข้าไปเอง
    เป็น Non-oversampling จึงทำให้เกิด Noise กับปลายเสียงแหลมเยอะครับถ้าเอาไปฟังกับ source ที่ ริปมาไม่ดีอย่าง MP3
    แต่ถ้าฟัง Audio-CD หรือพวก Lossless ก็ไม่ค่อยมีผลเท่าไรครับ เรื่องเสียงร้องออกจะหลบๆไปนิดครับ
    ไดนามิกเรนซ์ที่ดูด้อยกว่าเบอร์อื่นๆ ทำได้แย่กว่า TDA1541 ทำให้ยุงยากในการออกแบบวงจร IV ในส่วนนี้ไปนิด
    ชิบไว้ต่อ ESD ไฟฟ้าสถิต สูงครับ เสียง่ายอย่าเผลอเอามือแห้งๆถูกพลาสติกไปจับมันเล่นเด็ดขาดล่ะ เสียคามือเอาง่ายๆเลยครับ

  • #2
    ลองฟังแนวเสียงของ AD1865 สด
    คร่าวๆได้ครับ ผมอัดขำๆผ่าน Line-in Stereo สดๆครับ คุณภาพอาจจะได้ไม่สุดๆ
    เพราะผมอัดเข้า X-Fi ADC มันอาจจะไม่ดีเท่าที่ควรและผมอัดจาก DAC ใน USB Mode เพราะช่อง SPDIF ของ
    X-Fi มันใช้รวมกับ Line-in ถ้าอัดจาก DAC ในโหมด SPDIF เสียงจะดีกว่านี้มากครับ ออกจาก DAC ก็เข้า Line-in
    เลยไม่มีการปรับแต่งใดๆทั้งสิ้นครับ ใช้ Sonar อัดและใช้ limite plugins ดักและรักษาระดับเกน ให้คงที่ที 0 db
    เสียงที่ได้ยินนั้นคุณภาพเสียงขึ้นอยู่กับระบบของท่านด้วย ไม่ว่าจะเป็นแอมป์ ลำโพงหรือทางเดิน สัญญาณ และอื่นๆ
    จุดประสงค์หลักๆคือจะให้ลองฟังแนวเสียงโดยรวมของ DAC เบอร์นี้เท่านั้นครับ


    Part 1 Music & Instruments ที่เป็นเรื่องถนัดของเบอร์นี้ มี 5 เพลงครับสลับเร่งตามจังหวะ


    Part 2 Vocal Music Song เพลงสากลและเพลงไทย
    ยังทำไม่เสร็จครับ

    Part 3 Anime Game Song เพลงหลักโอตาคุ
    ยังทำไม่เสร็จครับ
    Last edited by MONOLAB; 13 Dec 2011, 00:17:57.

    Comment


    • #3
      แจ่มครับ

      Comment


      • #4
        visit

        Comment


        • #5
          โห สวดยอดอ่ะ รีวิวมีเสียงด้วย

          Comment


          • #6
            ขอบคุณครับ อ่านแล้วสนุกตามไปด้วยเลย

            Originally posted by MONOLAB
            ใช้ C โพลีโพไฟลินแช่น้ำมันคัปปลิ้งสัญญาณ
            หมายถึง "Cฟิลม์ ตัวขาว เรซิ่นน้ำเงิน 2.2uF 100v" หรือเปล่าครับ
            เคยลองสนุกแกะตัวCดูข้างในหรือเปล่าครับ ที่ถามเพราะสงสัยว่าข้างในมีน้ำมันจริงหรือเปล่า

            Comment


            • #7
              "ฉบับกระเป๋า" กระเป๋าเดินทางหรือเปล่าครับ แซวเล่นขำๆ 555+

              เยี่ยมเลยครับ งานเรียบร้อยดีจัง
              อุปกรณ์+แผงวงจรเยอะ แต่ประกอบได้เรียบร้อยดีจังครับ

              Comment


              • #8
                รีวิวได้เป็นขั้นตอนมากเลยครับยอดเยื่ยม ขอถามนิดนึงครับเสียง part 1 ผ่าน buffer I/V รึเปล่าครับ ขอบคุณสำหรับรีวิวดีดีได้ความรู้เยอาะเป็นแนวทางพัฒนาต่อได้เลยนะครับ

                Comment


                • #9
                  Originally posted by keang View Post
                  ขอบคุณครับ อ่านแล้วสนุกตามไปด้วยเลย


                  หมายถึง "Cฟิลม์ ตัวขาว เรซิ่นน้ำเงิน 2.2uF 100v" หรือเปล่าครับ
                  เคยลองสนุกแกะตัวCดูข้างในหรือเปล่าครับ ที่ถามเพราะสงสัยว่าข้างในมีน้ำมันจริงหรือเปล่า
                  ไม่รู้เหมือนกันครับ ยังไม่กล้าแกะดูครับ ผมสั่งมาลองจาก ebay เค้าเขียนว่า polypropylene in OIL PIO
                  แต่เท่าที่ลองฟังดูเสียงดีกว่า Solen มากครับ


                  Originally posted by LoveHifi View Post
                  รีวิวได้เป็นขั้นตอนมากเลยครับยอดเยื่ยม ขอถามนิดนึงครับเสียง part 1 ผ่าน buffer I/V รึเปล่าครับ ขอบคุณสำหรับรีวิวดีดีได้ความรู้เยอาะเป็นแนวทางพัฒนาต่อได้เลยนะครับ
                  part 1 ผ่าน buff i/v AD8620 ครับ ถ้าไม่ผ่านมันเบามากครับอัดไม่ได้ระดับ
                  จริงๆผมชอบ AD797ANZ มากกว่าแต่มันเสียชวิตไป 1 ตัวตอนทำลองถอดไปถอดมา
                  ผมดูไม่ดีเสียบ Socket เลยไป 1 ขามันเลยเสียชวิตไป 1 ตัวครับ เคร้า นิ
                  แหละข้อเสีย Socket ขากลม


                  ขอบคุณทุกๆความเห็นนะครับ
                  ถ้ามีเวลาหยุดยาวช่วงปีใหม่ผมจะค่อยๆ ทยอยเอาชิบแต่ล่ะตัวมารีวิวและทดสอบให้ฟัง
                  ครับคิวต่อไปคิดว่าจะเป็น AK4395 / 96 และ AD1955 ครับ คิดว่าจะปรับ
                  ปรุ่งเรื่องบทความใหม่ หาชิบที่หาง่ายๆในบ้านเราให้ DIY ใหม่หัดทำ DAC เล่นดูครับ
                  ถ้าไม่ติดไปเที่่ยวซะก่อนนะ
                  Last edited by MONOLAB; 13 Dec 2011, 11:05:31.

                  Comment


                  • #10
                    โอ้วว...เห็นแล้วอยาก...

                    Comment


                    • #11
                      ขอบคุณสำหรับรีวิว

                      ส่วนด้านไดนามิกเรนซ์นั้นยังไม่ค่อยดีเท่า DAC รุ่นใหม่ๆครับเสียงที่ได้ออกจะไม่เปิดมาก
                      ขยายความคำนี้หน่อยครับอ่านไม่ค่อยเข้าใจ

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by ManiacMaew View Post
                        ขอบคุณสำหรับรีวิว
                        ขยายความคำนี้หน่อยครับอ่านไม่ค่อยเข้าใจ

                        Dynamic range
                        เป็นช่วงในการตอบสนองความถี่่ของเสียงในช่วงที่เบาที่สุดถึงดังที่สุด
                        ช่วงการสวิงของชิ้นดนตรี เบาค่อย ถ้า dynamic range ต่ำ การตอบสนองของเสียงโดยรวมของแต่ล่ะย่าน
                        สูง กลาง ต่ำ อาจทำได้ไม่ดีพอเช่นเสียงชิ้นดนตรีบางชิ้น ขาดน้ำหนักไป หรือดูทึบไปไม่มีรายละเอียด
                        การเพิ่ม อัตราการขยาย Gain ก็คือการเพิ่ม dynamic range ก็จะทำให้เสียง
                        หนาขึ้นดังขึ้น มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นครับ ยกตัวอย่าง ชิบ DAC ที่มี dynamic range มาก
                        ไม่ต้องเร่งวอลุ่มมากฟังเบาๆก็ได้ รายละเอียด ครบแต่ DAC ที่มี dynamic range ต่ำๆ
                        อาจจะต้องเร่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปรกติ เพื่อให้ได้รายละเอียด
                        จริงๆ dynamic range มันมีอีกหลายตัวแปรครับ ทั้งเพลงที่ฟัง ลำโพง แอมป์ อื่นๆ

                        Comment


                        • #13

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by MONOLAB View Post
                            Dynamic range
                            เป็นช่วงในการตอบสนองความถี่่ของเสียงในช่วงที่เบาที่สุดถึงดังที่สุด
                            ช่วงการสวิงของชิ้นดนตรี เบาค่อย ถ้า dynamic range ต่ำ การตอบสนองของเสียงโดยรวมของแต่ล่ะย่าน
                            สูง กลาง ต่ำ อาจทำได้ไม่ดีพอเช่นเสียงชิ้นดนตรีบางชิ้น ขาดน้ำหนักไป หรือดูทึบไปไม่มีรายละเอียด
                            การเพิ่ม อัตราการขยาย Gain ก็คือการเพิ่ม dynamic range ก็จะทำให้เสียง
                            หนาขึ้นดังขึ้น มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นครับ ยกตัวอย่าง ชิบ DAC ที่มี dynamic range มาก
                            ไม่ต้องเร่งวอลุ่มมากฟังเบาๆก็ได้ รายละเอียด ครบแต่ DAC ที่มี dynamic range ต่ำๆ
                            อาจจะต้องเร่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปรกติ เพื่อให้ได้รายละเอียด
                            จริงๆ dynamic range มันมีอีกหลายตัวแปรครับ ทั้งเพลงที่ฟัง ลำโพง แอมป์ อื่นๆ
                            นึกภาพตามไม่ออกเท่าไร = ="
                            ยังไงก็ขอบคุณครับ

                            Comment


                            • #15
                              ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหมคือเวลาเราเปิดเพลงเบาๆเสียง สูง กลาง ตํ่า รายละเอียดอยู่ครบได้ยินชัดเจนและเวลาเราเปิดเสียงดังขึ้นเสียงไม่แตกพล่า คือ Dinamic. Range. ดี

                              Comment

                              Working...
                              X