Announcement

Collapse
No announcement yet.

หาข้อมูลมา สำหรับการรีดพลัง Phenom ครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • หาข้อมูลมา สำหรับการรีดพลัง Phenom ครับ

    เอเอ็มดีได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ในชื่อ “Spider” ซึ่งในแพลตฟอร์มนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 3 ชนิดคือ AMD Phenom Processor, AMD 7 – Series Chipset, ATI Radeon HD3800 Series โดยแพลตฟอร์มนี้มีจุดเด่นอยู่ที่เป็นแพลตฟอร์มที่อัพเกรดได้ง่าย รวมทั้งมีแบนด์วิดธ์ในการทำงานที่สูงเพื่อตอบสนองกับยุคของเทคโนโลยี Hi – Def และยังมีคุณสมบัติการประหยัดพลังงานอีกด้วย


    AMD Phenom Processor

    ในอันดับแรกก็คือซีพียูในระดับ Desktop รุ่นใหม่ล่าสุดจากทางเอเอ็มดีที่ชื่อว่า “Phenom” ซึ่งการมาของ AMD Phenom Processor นั้นจะมาแทนรหัสเดิมที่ใช้งานมานานของ "Athlon" นั่นเอง ซึ่งซีพียูตระกูล Phenom นั้นยังคงแบ่งออกเป็นหลายระดับเหมือนเดิมอีกด้วย โดยจะแบ่งออกเป็นสามซีรีส์คือ Phenom FX - 80 Series เป็นรุ่นที่มีความแรงมากที่สุด Phenom 9000 Series ที่เป็นซีพียูแบบ Quad Core และ Phenom 8000 Series ที่เป็นซีพียูแบบ Triple – Core ซึ่งในปัจจุบันได้เปิดตัวออกมาแล้วสองโมเดลด้วยกันคือ AMD Phenom 9500 และ AMD Phenom 9600

    โครงสร้างภายใน Phenom



    What’s New on Phenom
    Phenom มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจใหม่ๆ ดังนี้

    True Quad Core - โดย AMD Phenom เป็นซีพียู Quad Core แท้ตัวแรกของโลกที่เป็นซีพียู 4 Core บน 1 die ซึ่งไม่เหมือนกับซีพียู Quad Core ของคู่แข่งที่มี 4 Core บน 2 die ซึ่งนี่นับเป็นจุดเด่นที่ AMD กล่าวว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานแบบมัลติคอร์อย่างแท้จริงซึ่ง True Quad Core มีข้อดีอยู่ที่การส่งข้อมูลระหว่าง Core บนซีพียู เพราะในครั้งที่ Quad Core ในสมัยแรกๆ นั้นเรื่องนี้ก็เป็นประเด็นไปแล้วครั้งหนึ่ง เนื่องจากการเอาซีพียู Dual Core สองตัวมาประกบกัน โดยยังคงใช้ช่องทางสื่อสารเท่าเดิม ดังนั้นระบบการเดินทางของข้อมูลและการใช้แคชอาจต้องใช้เวลามากขึ้น เนื่องจาก L2 Cache ที่แชร์กันอยู่นั้นไม่ได้แชร์ตลอดแนวทั้ง 4 Core การย้ายข้อมูลจาก Core ที่ 1 ไป Core ที่ 3 ซึ่งอยู่คนละฝั่งกันทำให้ต้องส่งข้อมูลผ่านไปยังหน่วยความจำก่อน ซึ่งเสียเวลามาก ในขณะที่ AMD ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Direct Connect ด้วยความช่วยเหลือจาก Crossbar ที่อยู่ในโครงสร้างซีพียูของ AMD ช่วยให้สามารถโยกย้ายข้อมูลระหว่าง Core ได้อย่างสะดวก และลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นภายในตัวซีพียูได้

    Integrated Memory Controller - Phenom นั้นยังคงใช้เมมโมรีคอนโทรลเลอร์แบบภายในที่นำมาใช้งานตั้งแต่สมัย Althon แล้วโดยพัฒนาให้สามรถรองรับความเร็วของเมมโมรีได้เร็วขึ้นเป็น DDR2 1066MHz จากเดิมในแพลตฟอร์ม AM2 ที่รองรับได้สูงสุด DDR2 800MHz โดยประโยชน์ของการมีเมโมรีคอนโทรลเลอร์แบบภายในนั้นจะช่วยให้การทำงานระหว่างซีพียูและเมมโมรีมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

    L3 Cache - สำหรับ Cache L3 นั้นใน Phenom จะมีขนาด 2MB ในแบบแชร์ต่อกันตลอดทั้งแนว 4 Core เพื่อช่วยให้การใช้งานข้อมูลร่วมกันระหว่าง Core เป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น สำหรับในส่วนของ L2 cache นั้นจะแยกอิสระต่อกันของคอร์ซีพียู โดยจะมีขนาด L2 cache ทั้งหมด 2MB เช่นกัน แต่จะเป็นในแบบ 512kB x 4 L2 cache

    HyperTransport 3.0 - ในเวอร์ชั่นนี้ได้เพิ่มแบนด์วิดธ์สูงสุดถึง 16GB/s มีความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ 3.6GHz ซึ่งมากกว่า HT 1.0 อยู่ประมาณ 2.25 เท่า และ HT 2.0 ประมาณ 1.8 เท่า โดยเทคโนโลยีนี้จะทำให้แอพพลิเคชันที่ใช้แบนด์วิดธ์สูงๆ อย่างเช่น การเล่นไฟล์หนัง Hi – Def 1080P หรือการเล่นเกมสามมิติความละเอียดสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    Socket AM2+ - มีสิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับซีพียู Phenom นี้ก็คือ Socket AM2+ ซึ่งเป็น Socket ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยลักษณะยังเหมือน Socket AM2 ทุกประการแต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ AM2+ จะรองรับ HT 3.0 ส่วน AM2 จะรองรับ HT 2.0 และ1.0 ส่วนอีกอย่างคือรูปแบบการจ่ายไฟ โดยใน AM2+ ได้พัฒนาให้ระบบจ่ายไฟมีการทำงานแยกจากกันระหว่างเมโมรี
    คอนโทรลเลอร์และซีพียู ช่วยให้เมโมรีคอนโทรลเลอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้นและซีพียูก็สามารถประหยัดไฟลงได้อีกด้วย โดยซีพียูที่เป็น Socket AM2+ นั้นยังคงสามารถนำมาใช้กับเมนบอร์ด Socket AM2 ได้แต่ว่าจะไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่นการจ่ายไฟที่กล่าวมา และการรับส่งข้อมูลของ HT 3.0 นั้นจะทำงานไม่เต็มความเร็ว จะสามารถทำงานได้เทียบเท่า HT 2.0 เท่านั้น

    Cool ‘n’ Quiet 2.0 Technology - ระบบของซีพียู Phenom ได้รับการปรับปรุงให้มีความสามารถในการประหยัดไฟมากขึ้น โดยซีพียู Phenom จะมีชุดควบคุมความเร็วและชุดจ่ายไฟในแต่ละคอร์แยกกันอย่างอิสระ โดยปรับความเร็วคอร์และการใช้พลังงานตามภาระหรือ load ที่เกิดตามแต่ละคอร์ โดยส่งผลให้อุณหภูมิในการทำงานและการใช้พลังงานของซีพียูลดต่ำลงอีกด้วย

    AMD 7 – Series Chipset

    ชิพเซ็ตที่เปิดตัวออกมาพร้อมกับแพลตฟอร์ม Spider นี้ก็คือ AMD 7 – Series ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกันคือ AMD 790FX ที่มีความสามารถต่อการ์ดจอได้ถึงสี่ตัวในเมนบอร์ดเดียว พร้อมทั้งสุดยอดฟังก์ชั่นโอเวอร์คล็อกอีกตัวคือ AMD 790X ที่รองรับการต่อการ์ดจอได้สูงสุดสองตัวและสุดท้ายกับ AMD 770 ที่รองรับการติดตั้งการ์ดจอตัวเดียว โดยชิพเซ็ตในซีรีส์นี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจก็คือ

    ATI CrossFireX - โดยเทคโนโลยีนี้จะสามารถต่อการ์ดจอให้ทำงานพร้อมกันได้มากถึงสี่ตัว ซึ่งหมายความว่าเราสามารถต่อจอภาพได้มากถึงแปดจออีกด้วย และเมื่อต่อการ์ดจอพร้อมกันสี่ตัวระบบ CrossFireX จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นมากขึ้นถึงสี่เท่าตัว


    AMD OverDrive - เป็นโปรแกรมที่ทำให้เราสามารถปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ ของระบบได้อย่างง่ายดาย หรือพูดง่ายๆ ก็คือโปรแกรมสำหรับการโอเวอร์คล็อกนั่นเอง ซึ่งมันจะสามารถปรับแต่งค่าทุกอย่างใน Bios ที่เกี่ยวข้องกับการโอเวอร์คล็อกได้จากใน Windows โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับ Bios เลย ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อการโอเวอร์คล็อกสำหรับผู้ใช้งานทั่วๆ ไป

    ATI Radeon HD3870

    ATI Radeon HD3850

    ATI Radeon HD3800 Series

    อีกหนึ่งในองค์ประกอบหลักของเพลตฟอร์มนี้ก็คือการ์ดจอ โดยเอเอ็มดีได้เปิดตัว ATI Radeon HD3800 Series ซึ่งเป็นการ์ดจอซีรีส์ใหม่ล่าจากทาง ATI โดยในปัจจุบันมีด้วยกันสองรุ่น ได้แก่ ATI Radeon HD3870 และ ATI Radeon HD3850 โดยการ์ดจอในซีรีส์นี้ได้เพิ่ม API ตัวใหม่อย่าง DirectX 10.1 พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนอินเตอร์เฟสมาเป็น PCI – Express เวอร์ชั่น 2.0 อีกด้วย ซึ่งการ์ดจอ ATI Radeon HD3800 Series นี้ได้รองรับเทคโนโลยี CrossFireX อย่างสมบูรณ์ส่วนอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ
    ATI Avivo HD Video โดยเทคโนโลยีนี้จะพร้อมกับการ์ดจอในซีรีส์นี้ทุกตัว โดยมีความสามารถในการช่วยถอดรหัสไฟล์หนังประเภท Hi – Def ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้พลังงานการคำนวนจากซีพียูน้อยมาก ซึ่งมีผลการใช้พลังในระบบโดยรวมลดลงอีกด้วย
    นับว่าการเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ของเอเอ็มดีในครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของเอเอ็มดีหลังจากที่เงียบไปนาน และการกลับมาในครั้งนี้จะทำให้เอเอ็มดีกลับมาเป็นผู้นำอีกครั้งหรือไม่คงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ส่วนทางด้านประสิทธิภาพที่หลายๆ คนสงสัยว่ามันจะดีขึ้นมากขนาดไหนคงต้องรอกันอีกสักพักนึง เมื่อเราได้ชุดทดสอบจริงมาเมื่อไรจะรีบนำมาให้ได้รับชมกันอย่างเร็วที่สุดครับ

    เสียบการ์ดจอได้มากถึงสี่ตัว

    เครดิต จาก Web online-station

  • #2
    โอว ความรู้ ความรู้ที่ต้อง เก็บ
    ขอบคุณครับ

    Comment


    • #3
      จัดมาให้ตามที่ท่านถามผมในกระทู้อื่นน่ะครับ ว่าแต่ท่านใช้ 9500 แล้วหรอ อิจฉาจัง อิอิ

      Comment


      • #4
        ไม่จดไม่ได้แล้ว

        Comment


        • #5
          รูปข้างบน ใส่การ์ดจอ 4 ตัว ใช้ พาวเวอร์ซัพพลาย 10000 วัตต์ 5555

          Comment


          • #6
            สุดยอด

            Comment


            • #7
              ไม่มี AMD 780 หรือนี่

              Comment


              • #8
                เอ่อ....สไปเดอร์นะเหรอครับ

                Comment


                • #9
                  ทำไมมันออกแนว "ข้อมูลลับสุดยอด!" ของพี่คนนั้นจัง 555+

                  Comment

                  Working...
                  X