Announcement

Collapse
No announcement yet.

มาวัดไฟ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ กินไฟ มาก/น้อย กันคะ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • มาวัดไฟ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ กินไฟ มาก/น้อย กันคะ

    สวัสดีค่า

    การวัดไฟครั้งนี้เป็นการวัดอย่าง มั่วๆ นะคะ (ย้อเย่น + จริงนิดๆ)

    เห็นกระทู้หลายท่านคำนวณว่าเครื่องตัวเอง กินไฟกันเท่าไร โดยใช้ตัวเลขจากแหล่งต่างๆ ส่วมมากข้อมูลที่ได้มานั้น ส่วนใหญ่จะเผื่อเป็นค่า MAX สูงสุดไว้ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเวลาใช้งานกันนะคะ

    เริ่มจากเครื่องที่บ้าน สเปคเครื่องเป็นดังนี้
    P4 541 3.2Ghz
    P5GD1 PRO
    DDR 400 Kingmax GOLD Chip 512 MB x 2 = 1 GB
    Harddisk NL Series SEAGATE 250 GB SATA2 x 2 = 500 GB
    CD-Combo Drive + FDD
    Audigy 2 รุ่นถูกสุด
    VGA ก็ EN7300GS 256 MB
    พัดลม CPU + หลังเครื่อง 1 ตัว
    POWER 250W ตัวเก่ง แต่หนัก นิดๆ หล่นใส่ขา กระดูกแตกเลย แหละ อิอิ

    ถ้าคำนวณจากเวป http://www.antthai.com/home/tip&trick/watt_psu.htm
    ได้ค่าจากเวปมาที่ 330 วัตต์ขึ้นไป (VGA หาไม่มี ใช้ค่า FX5900 ไปแทนคะ)

    การคำนวณหาค่าการกินพลังงานไฟ อย่างความไร้สติ ของนิวนะคะ อิอิ
    Volt (แรงดันไฟ) x Amp(กระแสไฟฟ้า) = Watt (พลังงาน น่าจะใช่นะ)
    เช่น 12V x 4.00Amp = 48 วัตต์ ถูกป่าวไม่รู้ ไปถามแฟนมา อิอิ

    ทีนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้ แรงดันไฟ หลายๆ แบบ
    5V , 12V , 3.3V , -12V , -5V (อันนี้เลิกใช้กันไปแล้วนะ)

    หลักๆ นิวจะใช้แค่ 3 อย่าง นะคะ
    12V สำหรับ Board รุ่นใหม่ จะป้อนให้แก่ CPU , VGA เป็นหลักๆ CDROM , HDD นิดๆ หน่อย
    5V จ่ายให้กับ Board , PCI Card ให้น้อยกว่าอุปกรณ์อื่น เช่น USB , KEY , MOUSE , HDD , FDD , CDROM เหล่านี้จะใช้มากกว่า Board
    3.3V จ่ายให้กับ Board , Chip SET , RAM , VGA , PCI Card

    ทีนี้ กินไฟกันอย่างไงบ้าง ล่ะ ขอแบ่งเป็นช่วงๆ นะคะ (นิวแบ่งเอง)
    1. ช่วงเปิดเครื่อง ตอนกดปุ่มเปิด
    2. ช่วงอยู่ใน windows แบบสภานะ IDLE นะคะ
    3. ช่วงที่ CPU ทำงานตลอด 80-95% (ตัดต่อหนัง)
    4. ช่วงที่ CPU + GPU (VGA) (ช่วงนี้ เป็นช่วงเล่นเกมส์ 3D)
    5. ช่วงที่ทุกอย่างใช้งานพร้อมๆ กัน คือ CPU + GPU + HDDทุกลูก + CD กำลังเขียน โดยที่ทั้งหมดทำงานพร้อมๆ กัน (ข้อนี้ขอยกเว้นนะคะ เพราะ เล่นเกมส์ + ตัดต่อหนัง + เขียน CD พร้อมกัน คงไม่มีใครทำข้อนี้มากนักหรอกคะ)

    (มีต่อนะคะ)
    Last edited by nongnew2000; 26 May 2007, 23:02:48.

  • #2
    ขั้นตอนการวัดไฟ
    การวัดไฟนี้จะใช้ Meter 2 ตัว นะคะ คือใช้วัดแรงดันไฟ Volt และ อีกตัวใช้วัดกระแสที่ไหลผ่านแบบหนีบ คือ ตัวที่เขาใช้วัดไฟบ้านกันนะคะ แต่รุ่นนี้สามารถวัดไฟ DC กระแสตรงได้ด้วย

    Meter แบบที่ 1 ตัวนี้วัดแรงดันไฟ และอื่นๆ หลายๆ อย่าง สามารถวัดรอบเครื่องยนต์ได้ วัดอุณหภูมิได้ ตัวนี้ผลิตที่ Korea คะ ค่าตัวตอนนั้นซื้อมาประมาณ 7,800 บาท (หลายปีก่อน)

    Comment


    • #3
      Meter แบบที่ 2 ก็คล้ายๆ กับแบบที่ 1 แต่ option น้อยกว่า แต่จุดเด่น ก็ คือ วัดกระแสได้โดยแค่ ไปหนีบไว้กับสายที่ต้องการรู้เท่านั้น สะดวกดีใช่ไหมล่ะคะ ตัวนี้ผลิตที่ จีน ค่าตัวเมื่อ 4 ปีก่อน ประมาณ 5,000 บาท

      Comment


      • #4
        เครื่องมือที่นำมาทดสอบนี้ จะมีค่าผิดเพี้ยน จึงขอเป็นการวัดอย่างคร่าวๆ นะคะ

        ความผิดพลาดของอุปกรณ์ นิวกำหนดไว้ที่ + - 5% นะคะ
        จริงๆ ไม่ถึง 5% หรอกคะ เผื่อไว้เท่านั้น
        จริงๆแล้วตามมาตราฐานของมิเตอร์ ให้เพี้ยนได้ไม่เกิน 0.01-0.25% ตามคู่มือบอกมาคะ

        การวัดกระแสไฟนี้ จะหนีบสายที่เป็นชุดของค่าไฟนั้น เท่านั้น เช่น 12V ก็จะรวมสายสีเหลืองทั้งหมด มาหนีบไว้ ก็จะได้รู้ค่าที่ไหลผ่าน ของ 12V จริงๆ ทั้งหมดคะ

        ผลการทดลองนี้ ไม่ได้ รวมถึงการแสดงแรงดันไฟ นิ่ง หรือ ไม่นิ่ง นะคะ
        Last edited by nongnew2000; 6 Jan 2007, 20:10:36.

        Comment


        • #5
          ช่วงที่ 1 ช่วงเปิดเครื่อง อันนี้กินไฟสุดๆ ประมาณ 1 วินาทีคะ ไม่รู้ทำไมเหมือนกันคะ???
          ไม่มีรูปให้นะคะ พอดี ถ่ายไม่ทัน มันวิ่งค่าเร็วมากเลย แต่ก็จดไว้แล้วก็พิมพ์บอก ตรงนี้ก่อนคะ

          12V กินที่ 10-11 Amp = 132 Watt
          5V กินที่ 5-6 Amp = 30 Watt
          3.3V กินที่ 7-8 Amp = 27 Watt

          รวมๆ แล้ว ก็ .. อืม เท่าไรหว่า.... คิดๆๆๆ อืมม ได้ 190 Watt มั้งคะ



          ช่วงที่ 2 ตอนบูตเข้า windows เสร็จเรียบร้อยแล้ว อันนี้มีรูปให้ดูคะ

          3.3V กินไฟ 3.5-3.8 Amp
          5V กินไฟ 3.2-3.5 Amp
          12V กินไฟ 4.0 - 4.2 Amp

          รวมๆ แล้ว ก็ .. เฉลี่ย 80 Watt คะ

          Comment


          • #6
            ช่วงที่ 3 ให้ CPU ทำงานเยอะๆ คะ ตัดต่อหนัง และ สั่ง Convert ด้วยโปรแกรม ULEAD
            การทำงานของ CPU อยู่ในช่วง 80-90% วิ่งไปวิ่งมาคะ

            3.3V วัดได้ 3.342V กินไฟ 4.40 - 4.85 Amp
            5V วัดได้ 5.10V กินไฟ 4.30 - 4.70 Amp
            12V วัดได้ 11.69V กินไฟ 8.80 – 9.50 Amp

            รวมๆ แล้ว ก็ .. เฉลี่ย 160 Watt คะ
            Last edited by nongnew2000; 6 Jan 2007, 19:38:07.

            Comment


            • #7
              ช่วงที่ 4 เป็นช่วงของการเล่นเกมส์คะ
              ใช้ PangYa ที่ 1024x768 32 Bits เปิด Full ทุกอย่างคะ
              การทำงานของ CPU จัดอยู่ในช่วง 20-85% ไม่แน่นอนคะ

              3.3V วัดได้ 3.337V กินไฟ 5.30 - 5.70 Amp
              5V วัดได้ 5.10V กินไฟ 4.30 - 4.70 Amp (ไม่เปลี่ยนแปลง)
              12V วัดได้ 11.70V กินไฟ 8.80 – 9.20 Amp

              รวมๆ ก็ เท่าไรหว่า. เฉลี่ย 165 Watt คะ

              Comment


              • #8
                สรุปการทดลอง
                สำหรับการทดลองสเปคเครื่องรุ่นนี้เท่านั้นนะคะ


                3.3 V กินไฟไม่ค่อยเยอะมาก เพราะอุปกรณ์ที่ดึงไฟ 3.3V มีไม่ค่อยเยอะ (สงสัย 3D ไม่แรงพอ)
                12 V จะกินไฟมากที่สุด เพราะต้องจ่ายให้กับ CPU , Harddisk , CDROM , VGA3D
                5V นี้อุปกรณ์ที่ใช้ ไม่ค่อยมี จึงแน่นึ่งอยู่แค่นั้น ส่วนใหญที่ใช้ 5V จะเป็น HDD , CDROM , FDD


                สำหรับ CPU/Board รุ่นอื่นๆ
                เท่าที่เคยลองไปวัดมานะคะ ถ้าเป็น Board รุ่นที่ไม่มีหัว ATX12V บนบอร์ด เช่น Board สำหรับ AMD Socket 462 จะใช้ไฟจาก 3.3V มากเป็นพิเศษ ราวๆ 8 Amp ขึ้นไป แต่ 12V แทบไม่ได้ใช้งานเลย

                การจะใช้ไฟชุดใดนั้น ขึ้นอยู่กับ บ. ผู้ design board มากกว่าคะ ว่าจะดึงไฟจากชุดไหน ไป down แรงดันไฟลงให้แก่ CPU หรือ อุปกรณ์อื่นๆ บน board

                สุดท้ายนี้ ถ้านิวทำหรือพิมพ์อะไรผิดไป ก็ขอให้ยกโทษ กันบ้าง นะคะ

                ขอบคุณคะ
                นิว

                Comment


                • #9
                  สุดยอดครับ สำหรับความตั้งใจ
                  ส่วนตัวผมถ้าแสดงความคิดเห็นอะไร ทำให้คุณนิวรู้สึกไม่สบายใจก็ต้องขอโทษด้วยครับ จริง ๆ แล้วผมไม่ได้คิดเข้ามาป่วนกระทู้น่ะครับ เพียงแต่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ในบอรด์เท่านั้นเอง
                  ส่วนสาเหตุหลัก ๆ ที่เข้ามาในกระทู้ของคุณน้องนิว เพราะสนใจตัว NMB อยู่เหมือนกัน ไม่ได้เจตนาเข้ามาป่วนเลยน่ะครับ

                  Comment


                  • #10
                    ลองคำนวณจากเวปนี้ดีก็ได้น่ะครับรู้สึกลิงค์ทางด้านบนจะไม่ได้ Update
                    http://www.extreme.outervision.com/index.jsp

                    Comment


                    • #11
                      เพิ่มเติมให้คับถ้าใช้ GF serie7จะกินน้อยกว่าserie6บางตัว

                      Comment


                      • #12
                        สรุปได้ว่าใช้ com จอ LCD ดูทีวี ประหยัดไฟกว่า ดูทีวี -*- เอ๊ะยังไงงงคำพูดตะเอง

                        Comment


                        • #13
                          ไอ้เจ้า คลิปแอมป์นี่ คล้องหลายเส้นได้ด้วยเหรอครับ เคยใช้คล้องเส้นเดียวตลอด (A/C น่ะ)

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by m-1 View Post
                            ไอ้เจ้า คลิปแอมป์นี่ คล้องหลายเส้นได้ด้วยเหรอครับ เคยใช้คล้องเส้นเดียวตลอด (A/C น่ะ)
                            เท่าที่ลอง DC นะคะ ส่วน AC ไม่ทราบจริงๆคะ ยังไม่เคยลอง กัวไฟดูด

                            เส้นเดียว กับ 2 เส้นพร้อมกัน ไม่เหมือนกันคะ

                            สมมุติ ATX12V ถ้าลองวัดเส้นเดียวได้ 2 amp ทั้ง สอง สาย

                            แต่ถ้าจับสองเส้นมารวมกัน แล้ว วัด ก็จะได้ 4 Amp คะ

                            เหมือนกับ สายเส้นใหญ่ เส้นเดียว นะคะ

                            Comment


                            • #15
                              แนะนำเพิ่มเติมครับ ควรเลือก Psu Wattแท้ และควรเลือกที่ไฟ12V จ่าย 18A ขึ้นไปครับ(เป็นมาตรฐานไปแล้ว) coolermasterผมจ่าย 12V 20Aเลยครับ

                              Comment

                              Working...
                              X