Announcement

Collapse
No announcement yet.

**ผลการเทสแผ่นแต่ละยี่ห้อ ไรท์ด้วย DW Benq 1640**

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • **ผลการเทสแผ่นแต่ละยี่ห้อ ไรท์ด้วย DW Benq 1640**

    มาเริ่มกันเลยนะครับ
    (เดียววันนี้ผมลงไว้ 1 ยี่ห้อก่อนนะครับจะค่อยทยอยลงมาให้นะครับ)
    เราต้องมารู้จัก เกรตของแผ่นกันก่อนนะครับ
    อ้างอิงจาก www.thaidvd.net เขียนโดยคุณ ลอร์ดยู

    1. แผ่นจากโรงงาน Taiyo Yuden
    แผ่นจากโรงงานนี้ถือเป็นแผ่นเกรด A+ เป็นแผ่นดีที่สุดที่หาซื้อมาใช้ได้ในราคา consumer (ไม่เว่อร์) แต่ในไทยอาจจะยังหายากอยู่ มีทั้งที่เป็นแบรนด์ของตัวเอง คือเป็นแบบ Taiyo Yuden OEM, หรือภายใต้แบรนด์ตัวเองคือ That's หรือที่ผลิตให้เจ้าอื่นไปตีตราขาย เช่นภายใต้แบรนด์ Verbatim, Fujifilm, Panasonic, Sony และอาจมีอีก วิธีสังเกตุเบื้องต้นโดยไม่แกะกล่องคือ ตรงฉลากจะต้องเขียนว่า Made in Japan เท่านั้น หากแกะกล่องแล้ว ให้ดูว่ากาวตรงขอบเยิ้มๆหรือเปล่า ถ้าใช่ก็น่าจะใช่ชัวร์ จากนั้นจึงส่องดู Stamper ID กะ Serial Number โดยรหัส (ตัวเลขผสมตัวอักษร) ต้องมี pattern ลักษณะนี้

    Stamper ID: ตัวอักษร G (แผ่นลบ) หรือ T (แผ่นบวก) ตามด้วยอีก 1 ตัวอักษร แล้วแต่ความเร็วของแผ่น แล้วตามด้วยตัวเลข 6 หลัก เช่น

    TYG01 (DVD-R 4x): GD000321, GDxxxxxx
    TYG02 (DVD-R 8x): GG000110, GG000102, GG000103, GGxxxxxx
    TYG03 (DVD-R 16x): GH000076, GH000073, GH000125, GHxxxxxx
    YUDEN000 T03 (DVD+R 16x): T?xxxxxx
    YUDEN000 T02 (DVD+R 8x): TG001125, TG001159, TG001112, TGxxxxxx
    YUDEN000 T01 (DVD+R 4x): TCxxxxxx

    Serial Number: ตัวเลขผสมตัวอักษรรวม 14 หลัก มักขึ้นต้นด้วยตัวอักษร 2 ตัว และลงท้ายด้วยตัวอีกษร 2 ตัว และมีตัวอักษรแทรกในตัวเลขอีก 1 ตัว เช่น

    NB526A508131GG
    YH532A310123GG
    EB523A404456PG
    VE534A304789GG

    และยังมีตัวเลข 4 หลักอยู่ใกล้ๆ กะ Serial Number ยังไม่แน่ใจว่าเป็นตัวเลขอะไร เช่น

    0402
    0103
    0409
    1013

    2. แผ่นยี่ห้อ Verbatim หรือ Mitsubishi เป็นแผ่นเกรด A ผลิตป้อนโดยโรงงาน 4-5 แห่ง ทั้งของตัวเองและของคนอื่น แต่ทุกแห่งจะใช้ Stamper ของตัวเอง ยกเว้นที่ผลิตให้โดย Taiyo Yuden จะใช้ Stamper ของ Taiyo Yuden และจะเป็น Made in Japan วิธีดูกรณีนี้ก็ดูเหมือนของ Taiyo Yuden เป๊ะ ส่วนวิธีดูของ Verbatim/Mitsubishi เองนั้น

    Stamper ID: มี pattern เดียวกันเสมอไม่ว่าผลิตจากโรงงานไหน โดยขึ้นต้นด้วย Z เสมอ ตามด้วยอีก 1 ตัวอักษรและอีก 4 ตัวเลข แล้วตามด้วย -DVR- เสมอ แล้วตามด้วย ตัวอักษรผสมตัวเลขอีก 4 ตัว เช่น

    ZD4136-DVR-I47C
    ZD3605-DVR-X47B
    ZD4155-DVR-147C
    ZD1126-DVR-147A
    ZD3056-DVR-T47D
    ZD1551-DVR-I47A
    ZC7156-DVR-X47A
    ZC8365-DVR-X47B
    ZC9761-DVR-147A
    ZD3596-DVR-X47B
    ZC9742-DVR-147A
    ZC8098-DVR-W47B

    Serial Number: แตกต่างกันไป แล้วแต่โรงงานที่ผลิต

    2.1 แผ่นจากโรงงาน Verbatim (สิงคโปร์) ขึ้นต้นด้วยตัว V ตามด้วยตัวเลขผสมตัวอีกษร รวมทั้งหมด 14 หลัก สังเกตุว่าดูคล้ายๆ Serial Number ของ Taiyo Yuden บางแผ่น แต่จุดต่างมีนิดนึงคือสองตังสุดท้ายของ Taiyo Yuden มักเป้นตัวอักษร แต่อันนี้เป็นตัวเลข เช่น

    VI4417KA144652
    VX4221KA098132
    VI4301KA089812

    2.2 แผ่นจากโรงงาน Prodisc (ไต้หวัน) เป็นตัวเลขผสมตัวอักษร 2 กลุ่ม กลุ่มแรกรวม 9 หลัก กลุ่มหลังรวม 8 หลัก คั่นกลางระหว่างกลุ่มโดยเครื่องหมาย ลบ (กรณีเป็น DVD-R) หรือ บวก (กรณีเป็น DVD+R) เช่น

    แผ่น DVD-R

    5024E0826-06169001
    4254F1213-04308C10
    4329E1512-08057W16
    5128E2824-02181C20

    แผ่น DVD+R

    4333E2924+03469021
    4281E1412+02399C08
    5190E1425+09196004

    2.3 แผ่นจากโรงงาน CMC Magnetics (ไต้หวัน) มักขึ้นต้นด้วยตัวอักษร 3 ตัว แล้วตามติดด้วยตัวเลขผสมตัวอักษร รวมทั้งหมดแล้ว 16 หลัก แล้วเว้นวรรคแล้วตามด้วยตัวเลขอีก 1 หลัก เช่น

    PAH637JA31035535 6
    MAHA02II09093266 2
    MAH642IL07033347 6

    2.4 แผ่นจากโรงงาน Moser Baer (อินเดีย) ตัวเลข 4 หลัก เว้นวรรค ตัวเลข 3 หลัก เว้นวรรค -R หรือ +R แล้วแต่ชนิดของแผ่น แล้วเว้นวรรค ตามด้วย 1 ตัวอีกษร แล้วเว้นวรรค ตามด้วยอีก 1 ตัวอีกษร แล้วเว้นวรรค ตามด้วยตัวเลข 5 หลัก เช่น

    5007 512 -R C B 10930
    5138 533 -R C C 10704
    5138 533 -R C B 10705
    5063 509 -R C B 16526
    5090 528 +R E F 13318
    5104 522 +R C F 06123

    3. แผ่นอื่นๆที่ผลิตโดยโรงงานที่กล่าวไป พวกแผ่นโนเนมหรือยี่ห้อไม่ดังบางแผ่นจะมี Serial Number คล้ายๆกับแผ่นของ Verbatim/Mitsubishi นั่นเป็นเพราะว่าผลิตมาจากโรงงานเดียวกัน เพราะโรงงานพวกนี้จะใช้ pattern ของ Serial Number แบบเดียวกันเสมอ ไม่ว่าผลิตแผ่นให้ยี่ห้อไหน แต่ตัว Stamper ID จะแตกต่างกันไป แต่ก็มีข้อยกเว้น คือบางครั้งอาจเจอแผ่นที่ทั้ง Serial Number และ Stamper ID เหมือน Verbatim/Mitsubishi เป๊ะ แผ่นแบบนี้คือแผ่นแท้ของ Verbatim/Mitsubishi ซึ่งเอามาตีตรายี่ห้อใหม่ เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นแผ่นตก QC ของ Verbatim/Mitsubishi ที่เอามาขายถูกๆให้ยี่ห้อโนเนมมาตีตราขายอีกที

    การสแกนแผ่น
    ทำมัยต้อง scan แผ่น
    ขอขอบคุณ หลายท่านจากเวป Pantip
    จากคุณ :

    Confirmed by : BIGSIAW , Mrshadow , สายรุ้งกลางฟ้า , ฝันว่าบินได้ , billgame Yu - [ 17 ธ.ค. 48 2310 A:221.135.51.70 X: ]

    Confirmed by : underground1 , Vicente , Jose Padilla , include_fox , OGalix

    ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเครื่องไรท์ดีวีดี (1st Edition)

    ที่ผ่านมาผมจะไม่ค่อยเข้ามาเชียร์ว่ารุ่นไหนดี หรือรุ่นไหนไม่ดี ในกระทู้ธรรมดาที่ถามว่าซื้อรุ่นไหนดี เพราะกระทู้แบบนี้มีถามกันทุกวัน วันละ 10 ครั้ง โดยปกติผมตอบเฉพาะในกระทู้ที่เรียกว่า highly technical เท่านั้น แต่ตอนนี้ขอเปลี่ยนกลยุทธ์ โดยจะพยายามตัดแปะข้อความต่อไปนี้ไปทุกกระทู้ โดยจะเชียร์บางรุ่นเป็นพิเศษ โดยจะทำให้หลายคนและหลายเจ้าหมั่นไส้พอสมควร แน่นอนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ของดีจริงก็ต้องเชียร์กันไป ของไม่ดีหรือยังดีไม่พอก็ต้องปรับปรุงกันไป ที่ผ่านมาผมไม่อยากเชียร์ใครเป็นพิเศษ เพราะว่าไม่ได้ค่าเชียร์แต่อย่างใด แต่ดูไปดูมาแล้วมันมีข้อเสียต่อผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย ก็คือของที่ไม่ดีจริงหรือยังดีไม่พอนั้นก็จะยังคงความไม่ดีและความที่ยังดีไม่พอต่อไป เพราะไม่มีคนบ่น หรือไม่มีคนเชียร์รุ่นที่ดีจริงให้จังๆ ทำให้พวกที่ไม่ดีจริงยังคงขายได้ต่อไป ต่อนี้ไปจึงขอใช้กลยุทธ์ใหม่ จุดประสงค์ก็เพื่อให้พวกที่ไม่ดีจริงและยังดีไม่พอได้ยกระดับตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราๆท่านๆทั้งหลายนี่แหละ

    วิธีการเลือกซื้อเครื่องไรท์ดีวีดีของหลายๆคนนั้น เลือกเพราะแรงเชียร์ และการเชียร์ของหลายๆคนนั้น เป้นการเชียร์แบบหลับหูหลับตาเชียร์ หรือเป็นการเชียร์แบบไม่ค่อยให้เหตุผลเท่าไร เช่น

    - ผมใช้รุ่นนี้อยู่ ไรท์ฉลุยอ่านฉลุย ขอแนะนำ
    - ผมใช้รุ่นนั้นอยู่ ยังไม่มีปัญหาอะไรเลย ขอแนะนำ

    ส่วนที่บ่น ก็อาจเป็นไปในทำนองเดียวกัน

    - ผมซื้อรุ่นนี้มา ไรท์แผ่นยี่ห้อ "กิ๊กก๊อก" ราคาแผ่นละ 7 บาท แล้วเอาไปเปิดอ่านที่ไหนไม่ได้เลย
    - ผมซื้อรุ่นนั้นมา ไรท์แผ่นยี่ห้อ "ให้ฟรีก็ไม่เอา" ราคาแผ่นละ 5 บาท ไรท์ไป 10 แผ่น เจ๊งไป 9 แผ่น อีกแผ่นที่เปิดได้ก็กระตุกยังกะเจ้าเข้า ดูแล้วเสียอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง

    เป็นต้น หลายครั้งที่เวลาบ่นกันนั้นไม่ได้รู้เลยว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน หลายคนโทษเครื่องไรท์ไว้ก่อน ทั้งที่จริงๆแล้วอาจเป็นที่แผ่น หรืออาจเป็นที่เครื่องคอมพ์

    การเลือกซื้อเครื่องไรท์ดีวีดีนั้น เท่าที่อ่านๆมาสิ่งที่หลายคนพิจารณาก็คือ

    1.คุณภาพการไรท์
    2.คุณภาพการอ่านแผ่น
    3.ความสามารถในการสแกนแผ่น
    4.ความสามารถในการไรท์ DVD-RAM
    5.ประกัน
    6.ราคา
    7.เสียงรบกวน
    8.ของแถม

    ผมขอตัดข้อ 7 กะ 8 ทิ้งไป เพราะไม่ถือว่าสำคัญนัก และขอตัดข้อ 6 ทิ้งไป เพราะส่วนใหญ่ราคาจะพอๆกัน ต่างกันไม่กี่สิบกี่ร้อย ที่เหลือผมขอเรียงตามลำดับความสำคัญ จากประสบการณ์นานหนึ่งปีของผม ดังนี้

    1.ความสามารถในการสแกนแผ่น
    2.คุณภาพการไรท์
    3.คุณภาพการอ่านแผ่น
    4.ประกัน
    5.ความสามารถในการไรท์ DVD-RAM

    เอาข้อ 5 ก่อน ที่อยู่ท้ายสุดนั้นก็เพราะ 1.แผ่น DVD-RAM ยังแพงอยู่ 2.ใช้ DVD+RW แทนได้ แม้ไม่เต็มประสิทธิภาพเทียบกับ DVD-RAM แต่ก็พอทดแทนกันได้ แต่ถ้า DVD-RAM จำเป็นจริงๆ ก็มีรุ่นที่จะแนะนำในตอนสรุปตอนท้ายครับ

    ส่วนข้อ 4 นั้น ก็แล้วแต่คนแล้วแต่รุ่น แล้วแต่การใช้งาน ถ้าซื้อมาไรท์แผ่นดีวีดีขาย ไรท์มันวันละ 100 แผ่น เครื่องมันก็จะพังเอาง่ายๆนะ ก็แน่นอนเรื่องประกันย่อมสำคัญเป็นอันดับ 1 แต่ถ้าซื้อมาไรท์ข้อมูลสำคัญก็อีกเรื่องนึง สำหรับผมเรื่องประกันนั้นยอมได้ถ้าข้อ 1 2 3 ดีจริงๆ

    ข้อ 3 ก็อยู่ที่การใช้งานอีกเช่นกัน บางคนซื้อเครื่องไรท์ดีวีดีมาไว้ดูหนัง บางคนซื้อมาไว้ก๊อปแผ่น

    ข้อ 2 เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น แน่นอนเครื่องไรท์ดีวีดีมันก็ต้องทำหน้าที่การไรท์ได้ดี ไม่งั้นมันก็ไม่ควรเรียกว่าเป็นเครื่องไรท์ดีวีดี

    ข้อ 1 เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผม หลายคนที่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรก็พอจะอธิบายได้เคร่าๆดังนี้ เวลาเราไรท์ดีวีดีนั้น เราสามารถตรวจสอบคุณภาพการไรท์ได้ โดยใช้วิธีการสแกนแผ่นที่ไรท์มา โดยใช้เครื่องไรท์ที่มีความสามารถในการสแกนแผ่น บางเครื่องทำได้ บางเครื่องทำไม่ได้ จะสแกนมันไปทำใม? ก็สแกนเพื่อดูว่าเครื่องไรท์กับแผ่นมันเข้ากันดีหรือเปล่า เพราะเครื่องไรท์แต่ละเครื่องนั้น มีความสามารถในการไรท์แผ่นแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นแผ่นยี่ห้อเดียวกัน ก็ใช่ว่าจะเป็นแผ่นจากโรงงานเดียวกันเสมอไป ความสามารถในการไรท์แผ่นก็จะแปรเปลี่ยนไป

    การทดสอบของหลายๆคนนั้น ใช้วิธีเอามาเปิดดู ว่าดูได้หรือเปล่า กระตุกหรือเปล่า บางคนก็เปิดดูด้วยเครื่องที่ใช้ไรท์ บางคนก็เปิดดูด้วยเครื่องเล่นดีวีดีที่ต่อกับทีวี ขอบอกว่าวิธีทดสอบแบบนั้นมันไม่พอครับ เพราะมันบอกไม่ได้ว่าคุณภาพการไรท์เป็นอย่างไร ก็เพราะว่าคุณภาพมันมีตั้งแต่ ดีเยี่ยม-ดีมาก-ดี-พอใช้-ค่อนข้างแย่-แย่-แย่มาก-แย่ที่สุด-เลว แล้วระดับไหนที่เปิดดูแล้วกระตุกละครับ ก็ระดับเลวครับ หรืออาจรวมไปถึงระดับแย่ที่สุด ส่วนระดับที่เหลือนั้นบอกไม่ได้จากการเอามาเปิดดูครับ

    วิธีที่จะบอกได้มีวิธีเดียว ก็คือใช้วิธีการสแกนครับ (แต่ปัญหาคือเครื่องไรท์หลายรุ่นหลายยี่ห้อมันสแกนไม่ได้) การใช้เครื่องที่สแกนได้ด้วยนั้นจะมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในการเลือกซื้อแผ่น วิธีการก็คือซื้อมาน้อยๆก่อน แล้วลองไรท์ดู แล้วลองสแกนดู ถ้าผลสแกนออกมาดี ก็ค่อยไปซื้อแบบเดียวกันมาเพิ่ม ถ้าผลออกมาแย่ ก็ค่อยลองยี่ห้อใหม่ ส่วนที่ซื้อมาแล้วก็ค่อยเอามาไรท์ข้อมูลที่ไม่ค่อยสำคัญ เช่นแบ๊คอัปแผ่นหนัง (ที่มีต้นฉบับเก็บไว้) หรือมาไรท์ลินุกซ์หรือหนังโป๊ะจาก bit (ที่สามารถ download ใหม่จาก Internet เมื่อไรก็ได้) เป็นต้น

    การใช้เครื่องไรท์ที่สแกนไม่ได้มันก็เหมือนตาบอดครับ ไรท์ไปแล้วไม่รู้ว่ามันดีไม่ดีแค่ไหน ถึงมันจะเปิดดูได้ไม่กระตุกก็เถอะ อย่าลืมว่าเครื่องอ่านแต่ละเครื่องนั้น มีความสามารถในการอ่านไม่เท่ากันครับ โดยเครื่องไรท์จะมีพลังในการอ่านแผ่นได้ดีถึงระดับ แย่มาก-แย่ที่สุด แต่เครื่องอ่านธรรมดา (DVD-ROM ไดรฟว์) จะมีพลังในการอ่านรองลงมา เช่นอาจจะอ่านได้ดีแค่ระดับ แย่ เกินกว่านั้นอาจเริ่มกระตุก ส่วนเครื่องเล่นดีวีดีที่ต่อกับทีวี ก็คือเครื่อง DVD-ROM ธรรมดานี่เอง พลังในการอ่านแผ่นก็พอๆกับเครื่อง DVD-ROM ไดรฟว์ นอกจากนี้เครื่องแต่ละยี่ห้อก็อาจปรับแต่งมาให้อ่านแผ่นได้ดีไม่เท่ากัน เช่น Soken อาจจะอ่านแผ่นที่มีผลสแกนในระดับ เลว ได้ ในขณะที่ Philips อาจจะทำได้ไม่ดีเท่า เป็นต้น

    ร่ายมาซะยาว แล้วเมื่อไรจะฟันธงซะทีล่ะ?

    เอ้า ฟันก็ฟันครับ

    รุ่นที่ผมแนะนำสำหรับคนที่จะซื้อเครื่องไรท์ดีวีดีเป็นตัวแรก และคาดว่าจะเป็นตัวเดียวที่จะต้องใช้ไปอีกเป็นเวลาปีสองปี ก็คือ BenQ DW1640 ครับ ข้อดีข้อเสียคือ

    BenQ DW1640
    ข้อดี:
    - ไรท์แผ่นได้ดีโดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรอีก
    - สแกนแผ่นได้ ทำให้เราสามารถเลือกหาแผ่นที่เข้ากับเครื่องได้ด้วยตัวเอง
    - มีระบบ Error Correction ที่ดีเยี่ยม ทำให้สามารถอ่านแผ่นที่มีค่า PIE/PIF สูง (แผ่นที่มีผลสแกนแบบแย่-แย่มาก-แย่ที่สุด) ได้ดี
    - อ่านแผ่นได้ดีที่ความเร็วสูงสุด โดยไม่มีการจำกัดความเร็วเหมือนหลายยี่ห้อ เช่น LG จำกัดความเร็วตอนอ่านไว้ที่ 10x แต่ BenQ ได้เต็มที่ถึง 16x
    - มีความสามารถที่เรียกว่า SolidBurn ซึ่งมีเฉพาะใน BenQ เท่านั้น ความสามารถนี้น่าจะเหมาะกับแผ่นที่มีขายในเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปรับวิธีการไรท์โดยอัตโนมัติตามการเปลี่ยนแปลงของแผ่นแต่ละยี่ห้อแต่ล๊อต (ปกติ SolidBurn จะปิดอยู่ ต้องเข้าไปเปิดใน QSuite) ปกติเครื่องไรท์ทั่วไปนั้นจะมีวิธีการไรท์ที่ fixed ก็คือมันจะดู Media ID แล้วไรท์ตามนั้น และในไทยจะมีแผ่นเลียนแบบเยอะ ประเภทใช้สูตร dye ของยี่ห้อนึง (กิ๊กก๊อก) แต่หลอกโดยใช้ Media ID ของอีกยี่ห้อนึง (ยี่ห้อดังๆ) เวลาไรท์เครื่องไรท์มันก็จะไม่มีทางรู้ มันก็จะไรท์ด้วยวิธีที่ผิด ทำให้ผลออกมาดูไม่จืด และ SolidBurn ช่วยแก้ปัญหานี้ได้
    - ทำ bitsetting ได้ทั้ง DVD+R, DVD+RW และ DVD+R DL หลายยี่ห้อทำได้เฉพาะ DVD+R DL และหลายยี่ห้อทำ DVD+RW ไม่ได้ (แต่อาจไม่สำคัญนักสำหรับ DVD+RW)
    ข้อเสีย: (มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ไม่ได้เชียร์แบบหลับหูหลับตาชะเลีย)
    - ประกันอาจไม่ดีเท่ายี่ห้ออื่น แต่ตอนหลังได้ข่าวว่ามีประกันของ Synnex แล้ว ซึ่งได้ข่าวว่าดีพอๆกับ DCom ลองเช็คดูกันเอาเอง
    - ไม่มีแล้ว เท่านั้นแหละข้อเสียน่ะ
    - อ้อ ไรท์ DVD-RAM ไม่ได้นะ

    นั่นคือตัวที่ผมแนะนำ ส่วนถ้าอยากได้ DVD-RAM จริงๆ ก็ขอแนะนำรุ่นนี้ครับ

    Lite-On SHM-165P6S
    ข้อดี:
    - อ่าน-เขียน DVD-RAM ได้
    - สแกนแผ่นได้
    - ทำ bitsetting ได้ (ไม่แน่ใจว่าได้ครบหรือเปล่า แต่เข้าใจว่าได้ครบ)
    - ประกัน DCom (แต่ไม่รู้เอาเข้ามาหรือยังนะ โทรไปถามกันเอาเอง)
    ข้อเสีย
    - ไม่รู้คุณภาพการไรท์เป็นยังไงบ้าง ใครอยากเป็นหนูทดลองเชิญได้
    - ใช้ SOHW-1693S อยู่ ซึ่งเป็นตัวดีที่สุดของ series SOHW-16x3S แต่เรื่องคุณภาพการไรท์สู้ BenQ DW1640 ไม่ได้เลย

    นั่นแหละครับที่ผมแนะนำ ขอหมายเหตุนิดเรื่อง DVD-RAM ว่าตอนนี้มีไรท์ได้แค่ 5x เท่านั้น และเมื่อสองสามเดือนก่อนเพิ่งจะมีการอนุมัติสเปค DVD-RAM 16x ดังนั้นถ้าอยากได้ DVD-RAM จริงๆ เป็นผมจะรออีกหน่อย เพราะ 5x ผมถือว่าค่อนข้างช้าสำหรับการไรท์ข้อมูลแบบลบได้ ส่วนจะต้องรอนานเท่าไรนั้น ก็ไม่รู้เหมือนกัน น่าจะ ประมาณปีนึงมั๊ง (ดังนั้นตอนนี้ด็ไปซื้อ BenQ DW1640 ก่อน)

    แล้ว LG กะ Asus ล่ะ เห็นเชียร์กันจัง? ผมไม่แนะนำครับ ด้วยเหตุผลเดียวคือสแกนไม่ได้ ประกันดีก็จริงแต่เอามาใช้แล้วตาบอดครับ ยกเว้นคุณจะมีเครื่องไรท์อีกตัวที่สแกนได้มาช่วย ฉะนั้น LG กะ Asus ไปทำให้สแกนได้ซะก่อน แลัวให้ผลมันคงเส้นคงวาด้วย ไม่ใช่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แล้วผมจึงจะมาเชียร์

    แล้ว Pioneer ล่ะ สวยดีนะ เท่ด้วย? ถ้าทั้งสวยทั้งเท่ก็ซื้อไปเลยครับ ขอให้โชคดีกับความสวยความเท่นะ

    Samsung ล่ะ? หาอ่านกระทู้เก่าๆดูครับ ได้ข่าวว่าประกันแย่มาก แต่ถ้าประกันดี ผมแนะนำรุ่น SH-W162C ซึ่งสแกนได้ เพราะใช้ chipset เดียวกันกับ Lite-On SHM-165P6S (แต่ Samsung ไม่มี DVD-RAM)


    กระทู้เกี่ยวกับการสแกนคุณภาพของแผ่น และกระทู้อื่นเกี่ยวกับการเลือกซื้อ

    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1972680.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HM1957528.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1953707.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1947725.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1946501.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1945592.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1937247.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1912807.html
    http://www.pantip.com/tech/software/...SA1966068.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1967407.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1968095.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1968310.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1969731.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1975708.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1970211.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1969790.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1972488.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1972605.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HP1976758.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1976144.html
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1979627.html

    YTG

    chipset ที่ใช้ในเครื่องไรท์เครื่องนั้น และคนทำ chipset ในโลกนี้มีกันอยู่ไม่กี่คน ได้แก่
    - Sanyo ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ Plextor
    - MediaTek ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ Lite-On, Sony หลายรุ่น (OEM จาก Lite-On ไป), Samsung บางรุ่น, Toshiba, HP บางรุ่น
    - Philips ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ BenQ, Philips และเจ้าอื่นที่ OEM ไป เช่น Plextor บางรุ่น, Sony บางรุ่น
    - NEC ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ NEC, Pioneer, ASUS (OEM จาก Pioneer)
    - Panasonic ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ Panasonic, LG บางรุ่น, Sony บางรุ่น
    - Renesas ยี่ห้อหลักๆที่ใช้ chipset นี้คือ LG

    และ chipset ที่สแกนได้และเป็นที่ยอมรับก็คือ Sanyo, MediaTek, Philips

    ส่วนที่สแกนได้แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะให้ผลเพี้ยนๆก็คือ NEC

    ส่วนที่สแกนไม่ได้ก็ Panasonic, Renesas

    รุ่นที่สามารถ scan แผ่นได้

    Plextor: PX-760A, PX-755A, PX-716A, PX-712A

    BenQ: DW1655, DW1650, DW1640, DW1625, DW1620
    BenQ (OEM Lite-On): DW2010, DW2000, DW1810, DW1805, DW1800, DW1680

    Lite-On: LH-20A1H, LH-20A1P, LH-18A1H, LH-18A1P, LH-16A1P, LH-16W1P, SHM-165H6S, SHM-165P6S, SHW-160H6S, SHW-160P6S, SHW-16H5S, SHW-1635S, SOHW-1693S, SOHW-1673S, SOHW-1653S, SOHW-1633S, SOHW-1613S, SOHW-1213S, SOHW-832S, SOHW-812S

    การอ่านผลการ scan

    1.PIE จะต้องไม่เกิน 280
    2.PIF จะต้องไม่เกิน 32 (กรณี 8ECC เช่น BenQ ที่ใช้ chipset Philips) หรือ ไม่เกิน 4 (กรณี 1ECC เช่น Lite-On ที่ใช้ chipset MediaTek)
    3.POF จะต้องเท่ากับ 0 (ศูนย์)

    อันนี้แบบเต็ม ๆ ครับ
    http://www.thaidvd.net/forum/upload/...24&t=127688&s=

    ต่อมาเรามารู้จักข้อแตกต่าง ระหว่าง DVD+R กับ DVD-R กันครับ
    อ้างอิงจาก www.thaidvd.net เขียนโดยคุณ ลอร์ดยู และ เวป http://www.justusers.net/

    ถ้าพูดถึงโครงสร้างการเก็บข้อมูลบนแผ่น เช่น DVD5, DVD9, DVD10, DVD18, DVD-Video, DVD-Audio ก็เป็นอีกเรื่อง แต่ถ้าพูดถึงโครงสร้างทางกายภาพของแผ่น ก็มีดังนี้ครับ (คร่าวๆ)

    ค่าย DVDForum ส่งเข้าประกวด ได้แก่ DVD-R, DVD-RW, DVD-R DL, DVD-RAM, DVD-ROM
    ค่าย DVD+RW Alliance ส่งเข้าประกวด ได้แก่ DVD+R, DVD+RW, DVD+R DL

    ในด้านความจุนั้น

    DVD-R และ DVD-RW เป็นแบบชั้นเดียว มีความจุ 4,706,074,624 bytes หรือเท่ากับ 4488MB
    DVD+R และ DVD+RW ก็เป็นแบบชั้นเดียว มีความจุ 4,700,372,992 bytes หรือเท่ากับ 4482MB

    DVD+R DL เป็นแบบสองชั้น (DL==Dual Layer) มีความจุ 8,547,993,600 bytes หรือเท่ากับ 8152MB
    DVD-R DL เป็นแบบสองชั้น ขณะนี้ยังอยู่ในห้องแล็ปคาดว่าภายในปีนี้จะเริ่มออกวางตลาด แต่ราคาคงแพงหูฉี่ ความจุก็คงประมาณ DVD+R DL

    DVD-ROM เป็นได้ทั้งชั้นเดียวหรือสองชั้น ความจุประมาณ DVD-R หรือ DVD+R DL

    DVD-RAM มี 2 แบบคือแบบเก่าและแบบใหม่ ทั้งสองแบบมีทั้งแบบด้านเดียว (Single Side) และแบบสองด้าน (Double Side)

    เวลาใช้งานแบบสองด้านผู้ใช้จะต้องทำการกลับข้างแผ่นเอง ทุกด้านจะเป็นแบบชั้นเดียว (Single Layer) โดยมีความจุดังนี้
    2,6xx,xxx,xxx bytes เป็นแบบเก่า ชั้นเดียว ด้านเดียว
    5,2xx,xxx,xxx bytes เป็นแบบเก่า ชั้นเดียว สองด้าน
    4,7xx,xxx,xxx bytes เป็นแบบใหม่ ชั้นเดียว ด้านเดียว
    9,4xx,xxx,xxx bytes เป็นแบบใหม่ ชั้นเดียว สองด้าน

    ในด้านความเร็วในการเขียนของเครื่องเขียนนั้น ความเร็วสูงสุดของเครื่องเขียนที่เขียนแผ่นแบบต่างๆได้ขณะนี้อยู่ที่
    16x สำหรับ DVD-R และ DVD+R โดยเครื่องเขียนดีวีดีที่เขียนได้ทั้งสองแบบส่วนใหญ่จะเขียน DVD+R ได้เร็วกว่า DVD-R เช่น 16x DVD+R 12x DVD-R หรือ 12x DVD+R 8x DVD-R
    8x สำหรับ DVD+RW
    6x สำหรับ DVD-RW, DVD-R DL, DVD+R DL
    5x สำหรับ DVD-RAM
    โดย 1x ของดีวีดี = 9x ของซีดี = 9*150kB/s = 1350kB/s

    ในด้านราคาและความเร็วของแผ่นนั้น
    ที่ความเร็วการเขียนเท่ากัน และที่คุณภาพของแผ่นเท่ากัน DVD-R จะถูกกว่า DVD+R นิดหน่อย
    ที่คุณภาพของแผ่นเท่ากัน DVD-R และ DVD+R ที่ 16x ยังหายาก 12x ยังแพงอยู่ 8x ถูกลงมา 4x ก็ถูกสุด

    แผ่น DVD-R หรือ DVD+R บางแผ่นที่บอกว่ารับรองการเขียนได้ที่ 4x แต่จริงๆอาจเขียนได้ถึง 6x หรือ 8x นั้น จะต้องระวังเรื่องคุณภาพการเขียนและการอ่านกลับ ไม่ควรเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับแผ่นที่เขียนมาด้วยความเร็วสูงกว่าที่ระบุไว้ที่แผ่น
    แผ่น DVD+R DL ตอนนี้มีแค่ 2.4x และ 4x ราคายังแพงมากในขณะนี้ ถ้าบ้านไม่รวยก็ยังไม่คุ้มที่จะซื้อใช้
    แผ่น DVD-R DL ยังไม่มีวางขาย
    แผ่น DVD-RW หรือ DVD+RW ตอนนี้มีไม่เกิน 4x ราคาแพงกว่า DVD-R หรือ DVD+R แต่ถูกกว่า DVD+R DL
    แผ่น DVD-RAM ตอนนี้มีไม่เกิน 5x ราคาแพงกว่า DVD-RW หรือ DVD+RW แต่ถูกกว่า DVD+R DL

    ในด้านความเข้ากันได้กับเครื่องอ่าน (เขียนแล้วเอาไปอ่านกับเครื่องอื่นได้หรือไม่ได้มากน้อยแค่ไหน)
    แผ่น DVD-ROM มีความเข้ากันได้กับเครื่องอ่านมากที่สุด (ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอ่านแบบ DVD-ROM ที่ใช้ในคอมพ์ หรือเครื่องเล่นดีวีดีที่ต่อเข้าทีวี) เนื่องจากเป็นแผ่นที่ปั๊มมาจากโรงงาน โดยปั๊มจากโมล ไม่ได้ถูกเขียน(หรือถ้าจะเรียกให้ถูกคือ เบอร์น)มาด้วยแสงเลเซอร์จากเครื่องเขียนดีวีดี
    ความเข้ากันได้รองลงมาจาก DVD-ROM ของแผ่นแบบอื่นเรียงตามลำดับคือ DVD-R (93%), DVD+R (89%), DVD-RW (80%), DVD+RW (79%), DVD+R DL (??), DVD-RAM (??)

    ในด้านความสามารถในการเขียน
    แผ่น DVD-R, DVD+R, DVD-R DL, DVD+R DL เขียนแล้วลบไม่ได้ เขียนทับไม่ได้
    แผ่น DVD-RW, DVD+RW เขียนแล้วลบได้ เขียนทับได้
    แผ่น DVD-R สามารถเขียนแบบทีละนิด ไปเรื่อยๆจนเต็ม (ที่เรียกว่าการเขียนแบบ multi-session) ได้เช่นเดียวกับ DVD+R หลายคนเข้าใจผิดว่า DVD-R เขียน multi-session ไม่ได้ จริงๆแล้วเขียนได้ เพียงแต่เครื่องอ่านหลายเครื่องที่อ่าน DVD-R ได้ อาจจะอ่าน DVD-R แบบ multi-session ไม่ได้ บางรุ่นอาจต้องอัปเกรด firmware ก่อนจึงจะอ่านได้ นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อก็คือตัว OS เช่น Windows บางเวอร์ชั่นก็อ่าน DVD-R แบบ multi-session ไม่ได้ ไม่แน่ใจว่ามีรุ่นไหนบ้าง แต่ Windows XP นั้นอ่านได้ นอกจากนี้การเขียน multi-session ของ DVD-R นั้นจะใช้แก็ปมากกว่า DVD+R เช่นถ้าทดลองเขียนข้อมูลขนาด 10MB ทีละนิดเขียนไป 100 ครั้งด้วยข้อมูลเดียวกัน ทดลองทั้งแผ่น DVD-R และ DVD+R แล้วลองดูว่าใช้พื้นที่ไปแล้วเท่าไรและหลืออีกเท่าไร จะพบว่าแผ่น DVD+R จะเหลือที่ว่างเพื่อเขียนเพิ่มมากกว่าแผ่น DVD-R (ต่างกันแค่ไหนนั้นจำไม่ได้ แต่มากพอสมควร)

    ต่างกันแค่ไหนระหว่าง multi-session ในแบบของ DVD-R กับ DVD+R นั้น ก็ต่างกันมากทีเดียว โดย DVD-R นั้นจะต้องเสียพื้นที่ถึง 32-96 MB ระหว่างสอง session แรก และ 6-18 MB ระหว่างสอง session ต่อๆ ไป ดังนั้นสมมติว่าตอนนี้เรามีอยู่แล้ว 10 session ก็แสดงว่าอาจต้องเสียพื้นที่ไปแล้วมากถึง 258 MB (มากกว่า 5% ของพื้นที่ทั้งหมดบนแผ่น) ส่วน DVD+R นั้น จะเสียพื้นที่ระหว่าง session เพียง 2 MB เท่านั้นไม่ว่าจะเป็นระหว่าง session ไหน ดังนั้นถ้าเราเขียนไปแล้ว 10 session ก็แสดงว่าเราเสียพื้นที่ไปแค่ 18 MB เท่านั้น ที่เป็น 18 MB ไม่ใช่ 20 MB ก็เพราะว่า session ที่ 10 นั้นไม่ต้องเสียพื้นที่ 2 MB เพื่อปิดท้ายเหมือนของ DVD-R

    DVD+R, DVD+RW, DVD+R DL มีความสามารถที่ไม่มีในคู่แข่ง (แบบ -) คือ ความสามารถที่เรียกว่า bitsetting ซึ่งเป็นการเปลี่ยน book type ของแผ่นให้กลายเป็น DVD-ROM ทำให้ความเข้ากันได้ของ DVD+R, DVD+RW, DVD+R DL เพิ่มขึ้นไปใกล้เคียง หรือมากกว่า คู่แข่งแบบ - เพราะเครื่องอ่านโดนหลอกว่าแผ่นนี้เป็นแผ่น DVD-ROM (แผ่นปั๊ม) ไม่ใช่แผ่น DVD+R หรือ DVD+RW หรือ DVD+R DL บางคนบอกว่าตอนนี้ DVD+R ที่เปลี่ยน book type เป็น DVD-ROM มีความเข้ากันได้เทียบเท่าแผ่น DVD-ROM จริงๆเลยทีเดียว ซึ่งความสามารถนี้ทำให้แผ่น DVD+R/RW/R DL ล้ำหน้า DVD-R/RW เพราะ DVD-R/RW นั้นไม่สามารถเปลี่ยน book type ได้ อนึ่ง bitsetting นี้ตัวเครื่องเขียนจะต้องสนับสนุนด้วย เครื่องเขียนบางเครื่องทำ bitsetting ได้เฉพาะแผ่น DVD+R หรือบางเครื่องทำได้เฉพาะ DVD+R DL บางเครื่องทำได้ครบทั้ง DVD+R, DVD+RW, DVD+R DL บางเครื่องเปลี่ยนให้โดยอัตโนมัติ บางเครื่องต้องเข้าไปเซ็ตก่อน ต้องดูเป็นเครื่องๆไป ทั้งนี้อาจขึ้นกับ firmware ด้วย เครื่องเดียวกันตอนนี้อาจทำไม่ได้แต่อัปเกรด firmware แล้วอาจทำได้

    แผ่น DVD-RAM มีความสามารถในการเขียนที่น่าอัศจรรย์ที่หลายคนไม่รู้ คือ การเขียนข้อมูลแบบ random ได้เหมือนกับฮาร์ดดิสค์ ยกตัวอย่างคือ เปิดไฟล์ขึ้นมาตรงๆจากแผ่น DVD-RAM แล้วแก้ไฟล์ แล้วก็เซฟไฟล์ไปตรงนั้นเดี๋ยวนั้นได้เลยเหมือนกับทำบนฮาร์ดดิสค์ ไม่มีแผ่นแบบไหนทำแบบนี้ได้ และไม่ค่อยมีเครื่องเขียนเครื่องไหนเขียน DVD-RAM ได้ และที่สำคัญ (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ DVD-RAM ไม่ค่อยแพร่หลาย) คือไม่ค่อยมีเครื่องอ่านเครื่องไหนที่อ่านแผ่น DVD-RAM ได้ เครื่องเขียนที่เขียนและอ่านแผ่น DVD-RAM ได้คือเครื่องเขียนหลายรุ่นจากค่าย LG และค่าย Panasonic แผ่น DVD-RAM เป็นที่นิยมกันในญี่ปุ่น โดยจะใช้อัดหนังด้วยเครื่อง DVD Recorder (คือเครื่องอัดที่ใช้อัดหนังจากทีวีแบบเดียวกับเครื่อง Video VHS เพียงแต่อัดลงแผ่น DVD) แล้วเอามาแก้ไขตัดต่อบนคอมพ์ โดยใช้เครื่องเขียนดีวีดีที่อ่านเขียน DVD-RAM ได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องย้ายข้อมูลทั้งหมดจากแผ่น DVD-RAM ลงฮาร์ดดิสค์ก่อน เป็นการประหยัดเวลาได้มาก เครื่อง DVD Recorder ที่อัดลง DVD-RAM ได้ก็เครื่องจากค่าย Panasonic หลายรุ่น ดังนั้นใครมี LG ก็อาจลองเล่นความสามารถนี้ของ DVD-RAM ดูได้ ไม่ต้องถึงขนาดซื้อ DVD Recorder มาลอง แค่ใช้เก็บข้อมูลแล้วลองแก้ไขบนแผ่นโดยตรง แล้วจะติดใจ

    เพิ่มเติมรายละเอียดของ DVD-RAM
    ข้อดี: http://www.ramprg.com/en/a/main.html เป็น Flash สีสันสวยงาม
    และ การใช้งาน: http://www.ramprg.com/en/b/B_1_1.html

    ต่อมาเป็นข้อมูลการ scan แผ่น จากเวป pantip นะครับ
    http://www.pantip.com/tech/hardware/...HS1982421.html


    ถึงส่วนนี้เป็นส่วนของผมเองแล้วครับ


    spec เครื่องผมนะครับ
    CPU AMD64bit(939) 3000+
    MB Asus A8N SLI Deluex
    VGA 6600GT Extream
    HDD ซีเกด 80 G (sata)
    DRW Benq1640 Firmware BSLB
    DRW Asus 1608P2
    DVD-ROM E616P2
    RAM 256*2 bus400

    ผมจะทำการทดสอบแบบสุ่มนะครับคือ จาก 50 แผ่นผมอาจจะนำมาสัก 5-6 แผ่นนะครับ
    แล้วคิดค่าเฉลี่ยออกมาให้ดู

    วันนี้เอาแผ่นยี่ห้อ Media ก่อนนะครับ เดียวจะทยอยลงเรื่อย ๆ ครับ

    แผ่น DVD ยี่ห้อ Media DVD+R 1-8X 120min
    *บอกก่อนเลยนะครับ lot ที่ผมซื้อนั้นแผ่นเสียหายเยอะมากครับ(แผ่นเป็นลอย)ประมาณครึ่งนึงได้

    *ทุกแผ่นที่ผมไรท์จะใช้ Benq DRW1640 ตัวเครื่อง Scan ทุกแ่ผ่นนะครับ*

    แผ่นที่ 1 ไรท์ ด้วย DRW1640



    แผ่นที่ 2 ไรท์ ด้วย DRW1640



    แผ่นที่ 3 ไรท์ ด้วย DRW1640



    แผ่นที่ 4 ไรท์ ด้วย DRW1640



    แผ่นที่ 5 ไรท์ ด้วย DRW1640





    เรามา สรุปกันดีกว่าครับ
    ค่า PIE เฉลี่ย จากทุกแผ่นครับ 2.77+2.04+1.15+2.44+4.21 หาร 5 = 2.522
    ค่า PIE มากที่สุด จากทุกแผ่นครับ 10+8+8+19+14 หาร 5 = 11.8
    ค่า PIF เฉลี่ย จากทุกแผ่นครับ 0.07+0.07+0.06+0.18+2.08 หาร 5 = 0.492
    ค่า PIF มากที่สุด จากทุกแผ่นครับ 8+7+7+7+15 หาร 5 = 8.8

    จากผลที่ได้นะครับ สำหรับแผ่นยี่ห้อจากความคิดของผมนะครับ
    แผ่นไหนดีถือว่าดีมาก ๆ ครับ แต่ขอเสียคือ lot ที่ผมซื้อมาแผ่นเป็นลอยซะ 10 กว่าแผ่นแ้ล้วครับ

    ต่อด้วย Konco

    แผ่นที่ 1 ไรท์ด้วย DRW 1640



    แผ่นที่ 2 ไรท์ด้วย Asus DRW 1608P2 ไรท์เมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว



    แผ่นที่ 3 ไรท์ด้วย Asus DRW 1608P2 ไรท์เมื่อ เดือนกว่า ๆ ที่แล้ว



    ยี่ห้อต่อมา Ohayo

    แผ่นที่ 1 ไรท์ด้วย DRW1640



    แผ่นที่ 2 ไรท์ด้วย DRW1640

    Last edited by FreeDom; 21 Jan 2007, 20:40:55. Reason: **ผลการ Scan แผ่น DVD แต่ละยี่ห้อโดย คณะเพื่อน OCZ**

  • #2
    ยังไม่เคยลองเลยครับ lolz

    เดียวพรุ่งนี้ว่างๆ ลองดูดีกว่า tdk sony pinco benq


    สรุปที่มี แผ่นปลอมหมด lolz

    Comment


    • #3
      ผมว่าเรามาช่วยกัน วิเคราะห์กันหลาย ๆๆ ยี่ห้อกันเลยดีกว่าครับใครมียี่ห้อไหนเอามาช่วย
      กันลงครับ

      Comment


      • #4
        ละเอียดดีจิงๆเรยครับ ขอบคุนครับบ

        Comment


        • #5
          ข้อมูลเยี่ยมมากเลย
          ขอบคุณมากครับ

          Comment


          • #6
            เดี๋ยวเอาหนังโป๊มาเทสก่อน....ง่วนๆ...

            Comment


            • #7
              ดีครับ ช่วยๆกันนะครับ ขอบคุณครับ

              Comment


              • #8
                ช่วยลงครับ...

                princo ล๊อตปีที่แล้ว

                Comment


                • #9
                  Konco รุ่นปีที่แล้ว

                  Comment


                  • #10
                    ขอ post แยกนะครับ เพราะจะได้ดูง่ายๆ + กัว post เน่า แล้วเดี๋ยวต้องมานั่ง upload ใหม่หมด

                    อันนี้ media+ ล๊อตปีที่แล้ว ใช้แล้วติดใจในคุณภาพและราคาสุดๆ แต่ดันหาซื้อไม่ได้

                    Comment


                    • #11
                      Smartbuy ล๊อตปลายปีที่แล้ววววว

                      Comment


                      • #12
                        Iomega รุ่น 2 ปีที่แล้ว (แต่เพิ่งซื้อจาก zeer) หน้าขาวปรินท์ได้


                        หมดละครับ เท่าที่เคยลองๆมา โดยการไรท์และสแกนของ BENQ 1655

                        Comment


                        • #13
                          แผ่นแต่ละแผ่นที่ทดสอบ อยากยืมบ้างจัง

                          Comment


                          • #14
                            แผ่นมันมีปลอมม่ะ และดูยังไงไม่โดนหลอกงับ

                            Comment


                            • #15
                              ผมว่าส่วนใหญ่แผ่นที่ขายกันไม่ค่อยปลอมหลอก ครับถึงปลอมจริงเราก็ต้องลองเอาผลเปรียบ
                              เีทียบจากการ Scan แผ่นแต่ละ lot ว่าถ้ามันใกล้เคียงกันก็ไม่ปอมหลอกครับ

                              Comment

                              Working...
                              X