Announcement

Collapse
No announcement yet.

คุยตามประสาคนใช้จอ LCD ครับ ใครใช้ LCD มั่งเข้ามาคุยกันครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    ไม่มีตังซื้อคับ เอาตังไปกะอย่างอื่นหมด หุหุ

    รู้สึกจอผมจะด้วยกว่าอย่างอื่นเลย เหอๆ

    HANSOL 17" จอไม่แบนซะด้วย แต่สีสันบาดใจ คมมาก เลยไม่กล้าเปลี่ยนเป็น LCD

    Comment


    • #17
      ผมใช้LCD มาตั้งนาน ไม่เคยคิดแม้แต่จะเช็ด

      แตี่ที่แน่ๆ จอ samsung ผิวจอมันแข็งกว่า จอกระจกของ NB Acer เยอะเลย

      ว่าจะกลับไปใช้ Samsung 955DF 19นิ้ว ตัวเดิม 1600*1200 สะใจ


      เหตุผลหลัก คือ จะเอาปากกาเคมี ไป จุด กลางจอ ไว้เป็นเป้าเล็ง rifel เดินลุย ใน CS - -*
      Last edited by battlecruiser; 25 Jan 2007, 10:25:10.

      Comment


      • #18
        LCD จะชัดที่สุดที่ resolution เดียว ที่กว้าง-ยาวเท่ากับจำนวนเม็ด pixel ซึ่งก็คือสูงสุดของจอ

        Comment


        • #19
          ชอบ LCD บาง เบา สวยดี

          Comment


          • #20
            Originally posted by IBUG View Post
            อยากทราบว่า รุ่นไหนมันทนๆถึกๆง่ะ 19 นิ้ว wide screen+DVI ศูนย์ประกันไม่งี่เง่าด้วยอ่ะคับ

            แนะนำหน่อยจิคับ กะลังจะซื้อแต่ตัดสินใจไม่ถูก

            ViewSonic

            Samsung

            Comment


            • #21
              Originally posted by battlecruiser View Post
              ผมใช้LCD มาตั้งนาน ไม่เคยคิดแม้แต่จะเช็ด

              แตี่ที่แน่ๆ จอ samsung ผิวจอมันแข็งกว่า จอกระจกของ NB Acer เยอะเลย

              ว่าจะกลับไปใช้ Samsung 955DF 19นิ้ว ตัวเดิม 1600*1200 สะใจ


              เหตุผลหลัก คือ จะเอาปากกาเคมี ไป จุด กลางจอ ไว้เป็นเป้าเล็ง rifel เดินลุย ใน CS - -*
              955DF เหมือนกันครับ
              4 ปี แล้ว ไม่มีทีท่าว่าจะเสีย ทนจริงๆครับ
              ของที่มาจากโรงงานบ้านเกิด ทนทุกตัวเลย

              แต่พอเริ่มส่งไปผลิตที่อื่นเริ่มมีปัญหาเยอะ โดยเฉพาะ จีน
              ไทยยังจะทำดีกว่านะ

              แต่ก็รัก ซัมซุง

              Comment


              • #22
                แล้ว TFT LCD มันต่างกะ LCD ยังไงล่ะครับ ใครใช้อยู่มั่ง

                Comment


                • #23
                  TFT LCD ต่าง กับ LCD อย่างไร

                  จอ LCD คืออะไร ?
                  เทคโนโลยีมอนิเตอร์ LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเ:ซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น

                  เทคโนโลยีที่พัฒนามาใช้กับ LCD นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

                  Passive Matrix หรือที่เรียกว่า Super-Twisted Nematic (STN) เป็นเทคโนโลยีแบบเก่าที่ให้ความคมชัดและความสว่างน้อยกว่า ใช้ในจอโทรศัพท์มือถือทั่วไปหรือจอ Palm ขาวดำเป็นส่วนใหญ่
                  Active Matrix หรือที่เรียกว่า Thin Film Transistors (TFT) สามารถแสดงภาพได้คมชัดและสว่างกว่าแบบแรก ใช้ในจอมอนิเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก
                  เทคโนโลยี TFT LCD Mornitor

                  TN + Film (Twisted Nematic + Film)
                  Twisted Nematic (TN) คือสารประเภทนี้จะมีการจัดโครงสร้างโมเลกุลเป็นเกลียว แต่ถ้าเราผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปมันก็จะคลายตัวออกเป็นเส้นตรง เราใช้ปรากฏการณ์นี้เป็นตัวกำหนดว่าจะให้แสงผ่านได้หรือไม่ได้ Twisted Nematic (TN) ผลึกเหลวชนิดนี้จะให้เราสามารถเปลี่ยนทิศทางการสั่นของคลื่นแสงได้ 90? ถึง 150? คือเปลี่ยนจากแนวตั้งให้กลายเป็นแนวนอน หรือเปลี่ยนกลับกันจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้งก็ได้ ด้วยจุดนี้เองทำให้การค่า Response Time (ค่าตอบสนองสัญญาณเทียบกับเวลา) มีค่าสูง



                  IPS (In-Plane Switching or Super-TFT)
                  การจัดโครงสร้างของผลึกจากเดิมที่วางไว้ตามแนวขนานกับแนวตั้ง (เทียบกับระนาบ) เปลี่ยนมาเป็นวางตามแนวขนานกับระนาบ เรียกจอชนิดนี้ว่า IPS (In-Plane Switching or Super-TFT) จากเดิมขั้วไฟฟ้าจะอยู่คนละด้านของผลึกเหลวแต่แบบนี้จะอยู่ด้านเดียวกันแปะหัวท้ายเพราะย้ายแนวของผลึกให้ตั้งขึ้น (เมื่อมองจากมุมมองของคนดูจอ) เป้าหมายเพื่อออกแบบมาแก้ไขการที่มุมของผลึกเหลวจะเปลี่ยนไปเมื่อมันอยู่***งจากขั้วไฟฟ้าออกไป ปัญหานี้ทำให้จอมีมุมมองที่แคบมาก จอชนิด IPS จึงทำให้สามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ข้อเสียของจอชนิดนี้ก็คือ ต้องใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวต่อหนึ่งจุดทำให้เปลืองมาก นอกจานั้นการที่มีทรานซิสเตอร์เยอะกว่าเดิมทำให้แสงจากด้านหลังผ่านได้น้อยลง ทำให้ต้องมี Backlite ที่สว่างกว่าเดิม ความสิ้นเปลืองก็มากขึ้นอีก



                  MVA (Multi-Domain Vertical Alignment)
                  บริษัท Fujisu ค้นพบผลึกเหลวชนิดใหม่ที่ให้คุณสมบัติ คือทำงานในแนวระนาบโดยธรรมชาติและต้องการทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียวก็สามารถให้ผลลัพธ์เหมือน IPS เลยเรียกว่าว่าชนิด VA (Vertical Align) จอชนิดนี้จะไม่ใช้ผลึกเหลวที่ทำงานเป็นเกลียวอีกต่อไป แต่จะมีผลึกเป็นแท่ง ซึ่งปกติถาไม่มีไฟป้อนเข้าไปหาก็จะขวางจอเอาไว้ทำให้เป็นสีดำ และเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าก็จะตั้งฉากกับจอให้แสงผ่านเป็นสีขาว ทำให้จอชนิดนี้มีความเร็วสูงมาก เพราะไม่ได้คลี่เกลียว แต่ปรับทิศทางของผลึกเท่านั้น จอชนิดนี้จะมีมุมมองได้กว้างราว 160 องศา
                  ปัจจุบันบริษัท Fujisu ได้ออกจอชนิดใหม่คือ MVA (Multi-Domain Vertical Alignment) ออกมาแก้บั๊กตัวเอง คือจากรูจะเห็นว่าด้วยความที่เป็นผลึกแท่ง และองศาของมันใช้กำหนดความสว่างของจุด ดังนั้นเมื่อมองจากมุมมองอื่น ความสว่างของภาพก็จะเปลี่ยนไปเลย เพราะถูกผสมในอีกรูปแบบหนึ่ง จอ Multidomain ก็จะพยายามกระจายมุมมองให้แต่ละ Pixel นั้นมีผลึกหลายมุมเฉลี่ยกันไป ทำให้ผลกระทบจากการกระมองมุมที่ต่างออกไปหักล้างกันเอง







                  เปรียบเทียบความสามารถระหว่างจอ LCD กับจอ CRT

                  (+) ดีมาก (~) พอรับได้ (-) ระดับต่ำ

                  Features Flat Panel Displays (TFTs) Tube Monitors (CRTs)
                  Brightness (+) 170 to 250 cd/m2 (~) 80 to 120 cd/m2
                  Contrast ratio (~) 200:1 to 400:1 (+) 350:1 to 700:1
                  Viewing angle (contrast) (~) 110 to 170 degrees (+) over 150 degrees
                  Viewing angle (color) (-) 50 to 125 degrees (~) over 120 degrees
                  Convergence errors (+) none (~) 0.0079 to 0.0118 inch (0,20 to 0,30 mm)
                  Focus (+) very good (~) satisfactory to very good
                  Geometry/linearity errors (+) none (~) possible
                  Pixel errors (-) up to 8 (+) none
                  Input signal (+) analog or digital (~) only analog
                  Scaling for different resolutions
                  (-) none or by low-performance interpolation methods (+) very good
                  Gamma (color tuning for the human eye) (~) satisfactory (+) photo realistic
                  Uniformity (~) often brighter at the edge (~) often brighter in the center
                  Color purity/color quality (~) good (+) high
                  Flickering (+) none (~) not visible over 85 Hz
                  Response time (-) 20 to 30 msec (+) not noticeable
                  Power consumption (+) 25 to 40 watts (-) 60 to 150 watts
                  Space requirements/weight (+) flat design, light weight (-) require a lot of space, heavy

                  เทคโนโลยีมอนิเตอร์แบบ LCD มีจุดเด่นหลายประการคือ

                  ขนาดเล็กกะทัดรัดและนํ้าหนักเบา
                  ด้วยการทำงานที่ไม่ต้องอาศัยปืนยิงอิเล็กตรอน จึงช่วยให้ด้านลึกของจอภาพมีขนาดสั้นกว่ามอนิเตอร์แบบ CDT ถึง 3 เท่าและด้วยรูปร่างที่แบนราบทางด้านหน้าและด้านหลัง ในบางรุ่นจึงมีอุปกรณ์เสริมพิเศษสำหรับติดฝาผนังช่วยให้ประหยัดพื้นที่มากยิ่งขึ้น
                  พื้นที่การแสดงผลเต็มพื้นที่
                  จากเทคโนโลยีพื้นฐานในการออกแบบ ทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถแสดงผลได้เต็มพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับแบบ CDT ขนาด 17 นิ้วเท่ากัน พื้นที่แสดงผลที่กว้างที่สุดจะอยู่ที่ 15 นิ้วกว่าๆ เท่านั้น
                  ให้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดสูง และมีสัดส่วนที่ถูกต้อง
                  เนื่องจากมอนิเตอร์มีความแบนราบจริง
                  ช่วยถนอมสายตาและมีอัตราการแผ่รังสีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตํ่ามาก
                  ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
                  ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ตํ่ากว่าจอ CDT ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
                  ความสามารถในการรองรับอินพุต (Input) ได้หลายๆแบบพร้อมกัน
                  เนื่องด้วยมอนิเตอร์แบบ LCD สามารถรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลอื่นๆได้ เช่น โทรทัศน์หรือเครื่องเล่นดีวีดีและบางรุ่นสามารถทำภาพซ้อนจากหลายแหล่งข้อมูลได้ จึงทำให้จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นได้ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องซื้อมอนิเตอร์หลายๆตัวมาใช้งาน

                  ที่มา Dcomputer

                  http://www.dcomputer.com/proinfo/sup...k/Vol11-12.asp

                  Comment


                  • #24
                    ขอบคุณ คุณ Artemis มากครับ

                    Comment


                    • #25
                      แต่ยังสงสัยว่า ในโบชัวตามร้านขายจอLCDอ่ะครับ บางยี่ห้อเขียนว่า
                      LCD 17" กับ LCD TFT 17" มันอันเดียวกันไหมครับ

                      Comment


                      • #26
                        ไม่แน่ใจเหมือนกันคะ แต่จอ LCD เท่าที่เคยทราบจะแบ่ง เป็นแแบบนี้
                        TFT
                        Wsaga
                        Xaga

                        ถ้าเจอข้อมูลอะไรแล้วจะมาบอก

                        Comment


                        • #27
                          ผมใช้ BenQ FP73G

                          ทำไมปรับาภาพ 1152 *xxx หรือ 1250*xxx

                          ตัวหนังสือมันบาง ๆ เล็ก ๆ อะครับ (ตรงเมนูในหน้าจอ desktop)

                          ตัวหนังสือมันจะดูไม่ค่อยคมชัดเลย เกี่ยวกับว่ามันละเอียดขึ้นก็เลยบีบตัวหนังสือให้เล็กลงรึเปล่าครับ

                          ตอนนี้ใช้ 1024*xxx ภาพใหญ่ดีครับ เอิ๊ก ๆ

                          Comment


                          • #28
                            Originally posted by Rikimaru View Post
                            ผมใช้ BenQ FP73G

                            ทำไมปรับาภาพ 1152 *xxx หรือ 1250*xxx

                            ตัวหนังสือมันบาง ๆ เล็ก ๆ อะครับ (ตรงเมนูในหน้าจอ desktop)

                            ตัวหนังสือมันจะดูไม่ค่อยคมชัดเลย เกี่ยวกับว่ามันละเอียดขึ้นก็เลยบีบตัวหนังสือให้เล็กลงรึเปล่าครับ

                            ตอนนี้ใช้ 1024*xxx ภาพใหญ่ดีครับ เอิ๊ก ๆ
                            ขอดูรูปด้วยคะ

                            Comment


                            • #29
                              ปรับไปให้สุดครับ LCD จะได้ภาพที่คมที่สุด


                              ส่วน TFT ที่ขายๆกัน ถึงไม่เขียน ถ้าเป็นจอคอมก็เป็น TFT แหละครับ จอมือถือส่วนใหญ่ก็เป็น TFT ครับ

                              Comment


                              • #30
                                ใช้เวลาอ่าน + ทำความเข้าใจ ประมาณครึ่ง ชม. แต่ ขอบคุณมากครับ

                                Comment

                                Working...
                                X