Announcement

Collapse
No announcement yet.

ถามกันเยอะ PSU วัตต์แท้ไม่แท้ดูตรงไหนมาดูกัน

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ถามกันเยอะ PSU วัตต์แท้ไม่แท้ดูตรงไหนมาดูกัน

    ย้ำ กันชัดๆ 80+ ไม่ได้หมายความว่า PSU ตัวนั้นจ่ายไฟได้ 80 เปอเซ็นขึ้นไปนะครับ

    แก้ไขครั้งนี้แล้วมั่นใจข้อมูล 100% ครับ
    อ่านมาหลายเวบมากๆ

    มันจะมีอยู่2ค่าที่เป็นตัวบอก ประสิทธิภาพ ของ PSU

    1. ค่า Power Factor Correction (PFC) ก็คือค่าอัตราส่วนระหว่างกำลังงานจริงต่อกำลังงานปรากฏ
    ยิ่งไกล้ 100 หรือ 1.00 มันก็จะจ่ายได้ตรงตามสเป็คมากเท่านั้นครับ
    พวกที่เป็น Active PFC จะจ่ายไฟได้ มากว่าหรือเท่ากับ 95% หรือ 0.95
    และพวก Passive PFC จะจ่ายไฟได้ 60-80% หรือ 0.6-0.8
    ถ้า PSU ที่ซื่อตรงต่อลูกค้าหน่อยมักจะระบุค่า PFC มาด้วยครับ เช่น iCute , PCP&C
    ส่วนพวก None PFC ไม่มีข้อมูลว่าจ่ายจริงเท่าไรครับ
    วิธีสังเกตุง่ายๆ คือ APFC จะไม่มีสวิทปรับแรงดันไฟ 110-220v ครับ มันจะปรับออโต้
    PPFC จะมีสวิทเลือกแรงดันไฟ แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะ PSU ถูกๆบางตัว
    ก็กะว่าขายที่ไทยก็ต้องใช้ที่ไทยสิเนอะ เลยไม่ใส่สวิทปรับแรงดันเพื่อลดต้นทุนก็มีนะครับ

    2. ค่า Efficiency เป็นตัวบ่งบอกค่าพลังงานที่เสียไปกับความร้อนเพื่อที่จะจ่ายไฟได้ตามสเป็คครับ
    เช่น สัญลักษณ์ 80+ ก็คือจะเสียพลังงานไปกับความร้อนไม่ถึง 20% เพื่อที่จะจ่ายไฟได้ตามสเป็ค

    2ค่านี้จะแยกกันนะครับ

    สมมุติยกตัวอย่างเช่น
    ถ้า PSU 300 วัตต์ มี 60% efficiency มันจะกินไฟจริงๆ 500 วัตต์ ถึงจะจ่ายไฟได้ 300 วัตต์
    ถ้า PSU 300 วัตต์ มี 80% efficiency มันจะกินไฟจริงๆ 375 วัตต์ ถึงจะจ่ายไฟได้ 300 วัตต์
    แล้วจากวัตต์ที่ได้นั้น
    ถ้าพาวเวอร์เป็นพาสซิฟ PFC ก็จะได้ไฟจริง 180-240w
    ถ้าพาวเวอร์เป็นแอคทีฟ PFC ก็จะได้ไฟจริง 285-300w
    สรุปแล้ว
    พาวเวอร์ที่เป็น Active PFC ถือว่าเป็นวัตเต็มทุกตัวครับ จะจ่ายไฟได้ มากว่าหรือเท่ากับ 95%
    ส่วนสัญลักษณ์ 80+ นั้น จะเป็นตัวบอกว่า PSU นั้น จ่ายไฟได้คุ้มกับวัตต์ที่ใช้จริงไปมากที่สุด คือมันประหยัดไฟนั่นเอง
    สั้นๆง่ายๆ 80+ ไม่ใช่ตัวบอกว่าวัตต์เต็ม ค่า PFC ต่างหากที่เป็นตัวบอกว่าเป็นวัตเต็มรึเปล่า

    ทีนี้ยกตัวอย่าง ตัว PSU กันมั่งดีกว่า ขอยกมาซัก 6 รุ่นนะครับ

    1. EnerMax 460W EG465P-VE
    Maximum Power: 460W
    PFC: Active PFC Function 0.95 << วัตต์เต็มจ่ายจริง 437- 460w
    70% Efficiant ตามสเปคแล้วต้องกินจริง +- 657w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    2. iCute TiTaNium Pro 650W
    Maximum Power: 650W
    PFC: Active PFC Function 0.99 << วัตต์เต็มจ่ายจริง 99%+
    80%+ Efficiant ตามสเปคแล้วต้องกินจริงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 812w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    3. Tagan TG600-U38
    Maximum Power: 600W
    PFC: Active PFC Function 0.99 << วัตต์เต็มจ่ายจริง 99%+
    80%+ Efficiant ตามสเปคแล้วต้องกินจริงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 750w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    4. Thermaltake TR2 470W
    Maximum Power: 470W
    PFC: Passive PFC Function 0.6-0.8 << วัตต์ไม่เต็มจ่ายจริง 60-80% = 282-376w
    70% Efficiant ตามสเปคแล้วต้องกินจริง +- 671w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    5. Raidmax RX-530SS 530W
    Maximum Power: 530W
    PFC: Passive PFC Function 0.6-0.8 << วัตต์ไม่เต็มจ่ายจริง 60-80% = 318-424w
    Up to 80 Efficiant กินไฟมากกว่าหรือเท่ากับ 662.5w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    6. DeLUX DLP-35A 500w
    Maximum Power: 500W
    PFC: Active PFC Function 0.95 << วัตต์เต็มจ่ายจริง 475w
    70% Efficiantตามสเปคแล้วต้องกินจริง +-714w ถึงจะจ่ายไฟเต็มค่าด้านบน

    อันนี้ผมคำนวนคร่าวๆจากข้อมูลสเปคเบื้องต้นนะครับ เพราะเวลาใช้งานจิงในแต่ละช่วงกำลังวัตต์ที่จ่ายนั้น
    PSU จะกินไฟไม่เท่ากันอยู่แล้ว และยัง มีช่วง Peak อีก
    ยกตัวอย่างกราฟมาให้ดูกัน อันนี้เป็นของ iCute นะครับ
    ดูกราฟเส้นสีชมพู คือรุ่น iCute TiTaNium Pro 650W ที่เรายกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ

    จะเห็นได้ว่า ช่วงที่ PSU ตัวนี้จ่ายไฟ ที่ 300w จะประหยัดพลังงานที่สุด PowerEfficiency มากถึง 85%
    แต่ใน ขณะที่ จ่ายไฟที่ 100w และ 500w นั้น กลับเปลืองไฟเท่ากันครับ PowerEfficiency อยู่ที่ 82.5%


    ส่วนมันเป็นวัตเต็มแล้วจะคุณภาพจะดีนั้นไม่เกี่ยวครับ มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของวงจรที่ใช้ด้วย
    ซึ่งตรงส่วนนี้ผมว่ามันจะจะแปรผันตามราคาครับ
    เช่นบางตัวตามสเป็คเป็นเป็นวัตต์เต็ม แต่ใช้วงจรคุณภาพต่ำกว่าวัตต์ไม่เต็มบางตัว
    อาจจะทำให้จ่ายไฟได้ไม่นิ่งเท่าวัตต์ไม่เต็มที่ใช้วงจรคุณภาพดีกว่าครับ

    ยกตัวอย่างเช่น
    มีคนถามเยอะ DeLUX DLP-35A 500w วัตต์เต็มมั้ย
    จากสเปคและประเภทวงจรที่ใช้ ตอบได้เลยว่ามันเป็นวัตเต็มครับ
    แต่มันคงจ่ายไฟได้ไม่นิ่งเท่า PSU ราคา แพงๆแน่นอนครับ
    คุณภาพวงจรมันต่างกัน ราคามันก็บอกอยู่แล้วครับ

    หวังว่าทุกท่านคงจะพอเข้าใจกันนะครับ

    อ้างอิง
    http://www.hardwaresecrets.com/article/742
    http://gamenpc.hosthit.net/css/revie...undup01/1.html
    และอีกหลายเวบมากๆ ขี้เกียจลง
    Last edited by amcrew; 18 Jul 2009, 00:59:21. Reason: แก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

  • #2
    จด ๆ
    DeLUX เค้าดีจริง

    Comment


    • #3
      ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่ครับ (สำหรับผม)

      Comment


      • #4
        3. Tagan TG600-U38
        Maximum Power: 600W
        PFC: Active PFC Function 0.99 << วัตต์เต็มจ่ายจริง 99%+
        Input Current: 110v 15A / 220v 8A << กินไฟจริง 8*220 = 1760w
        ทำไมมันกินเยอะจังอะ....

        Comment


        • #5
          มะเจื่อ Delux...HDD ผมพังไปตัว หรือว่าผมเจอของปลอมหว่า...

          Comment


          • #6
            DELUX นี่ได้ชื่อว่าประหยัดไฟ พอๆกับ Enhance เลยหละ

            Comment


            • #7
              เคยเห็นในเว็ปๆ Enermax 460W จ่ายจริงได้ประมาณ 430W ครับ

              Comment


              • #8
                DeLUX "DLP-35A" 500w ATX12V v2.3 Power Supply 1,180 << ราคาไม่แพงครับ หน้าสนใจทีเดียว

                Comment


                • #9
                  ดูๆแล้ว RaidMax 530W ไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่เนาะ สายก็เป็นแบบต่อเอา ไม่ได้ถอดหมด

                  เอ้อ...แล้ว ผู้หญิงแท้ไม่แท้ดูตรงไหน

                  Comment


                  • #10
                    Thermaltake Toughpower 1000w

                    - Efficiency 87% +
                    - PFC Active PFC (PF > 0.9)
                    - Input Voltage 115 VAC ~ 230 VAC
                    - Input Current 13A

                    คุณพระช่วย -*-
                    กินไฟ 2860w

                    Comment


                    • #11
                      iCute เเจ่ม

                      Comment


                      • #12
                        เหอะๆ สูตรง่ายๆทางไฟฟ้าเลยเหลอครับ ??
                        P = IVcos(zeta) เลยเหลอ

                        แล้วที่มันบอกว่าจ่ายกี่วัตต์ๆ หล่ะคับ ??

                        เท่าที่ผมเรียนมาค่า PF ของอุปกรณ์ มันเกี่ยวกับสามเหลี่ยมกำลังซึ่งเชื่อมไปถึง Conductor/Capacitor ที่อยู่ในวงจร นั่นหมายความว่าค่า PF มากสุดของ Power Triangle คือ 1 นั่นคือว่ามุมเป็น 0 องศา แปลว่าถ้าเกิด PF เป็น 1 แล้ว อุปกรณ์ต้องการไฟ 500watt แล้ว Source ก็จ่ายแค่ 500watt คับ ซึ่งในทางปฎิบัติเป็นไปไม่ได้ครับ ต้องสูญเสียพลังงานความร้อนแน่ แต่ไม่น่าจะเว่อถึงขนาดนี้


                        ยกตัวอย่างเช่นถ้าหากผมใช้ Tagan TG600-U38 ที่ จขกท บอกว่ากินไฟ 1760 วัตต์
                        คำนวนการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ว่า

                        Unit = Watt * Hour / 1000

                        นั่นหมายความว่าถ้าผมเปิดคอมใช้ ไม่รวมจอผมจะใช้ไฟไป 1 ยูนิตปลายๆ ต่อชั่วโมง ถ้ารวมจอคง 2 Unit ไปแล้ว อีกอย่างผมอยู่หอพักค่าไฟ Unit ละ 7 บาท ผมเปิดโหลดบิทข้ามคืน เล่นเฉลี่ยวันนึงไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง (บางวันผมเปิด 18 ชั่วโมง) ซึ่งความจริงผมก็ใช้ Supply รุ่นนี้อยู่ แต่ค่าไฟต่อเดือนของผมแค่ 100 ยูนิตเศษๆ เท่านั้น(นั่นคือ ผมจ่ายค่าไฟทุกเดือนที่ผมใช้ประมาณ 700-900 บาทครับ) ถ้าหากเป็นไปตาม จขกท พูดจริง ผมคงใช้ไฟฟาดไปถึง 250+ Unit (ซึ่งค่าไฟน่าจะ 1750+ ไปแล้ว) ซึ่งผมไม่เคยใช้ถึงขนาดนั้น นี่ยังรวมกับไฟจากเครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น ทีวีในห้องผมอีก

                        สรุป สมมติฐานของผมคิดว่าการคำนวนการใช้ไฟจริงของเจ้าของกระทู้ "พลาด" ครับ
                        Last edited by spree; 28 Nov 2008, 10:53:41.

                        Comment


                        • #13
                          แทงคิ้ว แซงคิ้ว

                          Comment


                          • #14
                            อ่านแล้วยังคงมีข้อสงสัยมากมาย

                            เพราะมันไม่สมเหตุสมผลตามที่ท่าน Spree ได้กล่าวไว้ครับ

                            อีกทั้งเรื่อง Efficiency ไม่เกี่ยว วัตต์แท้อยู่ที่ Active PFC เท่า่นั้น

                            ถ้าเกิดมี PSU 1000W Efficiency 50% A.PFC 0.99

                            1000W*50%*0.99 = 495W << แบบนี้วัตต์แท้หรอครับ

                            ดังนั้น Factor ทั้งสองตัวข้างบนน่าจะมีผลต่อการจ่ายไฟ

                            ปล.ผมคิดแบบชาวบ้านนะ เพราะไม่มีความรู้ด้านช่างเลย

                            Comment


                            • #15
                              เสริมจากด้านบนนิดหน่อยนะครับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
                              ประเทศไทยเราใช้ไฟฟ้าแบบ AC 220V/50-60Hz

                              AC = Alternating Current ไฟฟ้ากระแสสลับ
                              DC = Direct Current ไฟฟ้ากระแสตรง

                              แต่โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องการใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ครับ แล้วทำไมการไฟฟ้า เค้าไม่ปล่อยไฟฟ้ากระแสตรงมาที่บ้านเลย ???

                              คำตอบคือ ไฟฟ้ากระแสสลับมีข้อดีกว่ากระแสตรงหลายอย่าง เช่น แหล่งผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จะได้เป็น AC อยุ่แล้ว, การส่งตามสายไฟสูญเสียความร้อนน้อยกว่ากระแสตรง, สามารถปรับแรงดันของไฟฟ้ากระแสสลับได้ (ปรับเพิ่ม-ลดได้ตามที่เราต้องกา่ร ซึ่งไฟฟ้ากระแสตรงทำไม่ได้) ซึ่งถ้าพูดถึงสมัยก่อนที่อเมริกา เค้ามีสงครามระหว่างไฟฟ้า AC กับ DC เลยทีเดียว แม้ว่า โธมัส อัลวา เอดิสัน จะอยู่ทางฝั่ง DC แต่ก้อแพ้อยู่ดีครับ...


                              มาพูดถึงเรื่อง PSU กันดีกว่า
                              PSU นั้นทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC แล้วแปลงกำลังไฟ ให้ตรงตาม Spec. ที่ระบุไว้
                              วงจรการแปลง กระแส AC เป็น DC นั้นทำได้หลายแบบเท่าที่ผมเรียนมานะครับ ตัวอย่างเช่น Center-Tap, 4 ไดโอด ฯลฯ
                              มาต่อกันที่หัวข้อสำคัญของ Watt เลยนะครับ โดยทั่วไปวงจรไฟฟ้าอย่าง PSU จะต้องมี Capacitor(ตัวเก็บประจุ, จะเรียกย่อว่า C) และ Conductor (ขดลวดเหนี่ยวนำ, จะเรียกย่อว่า L) ประกอบอยู่ในวงจร ซึ่งการต่อ L เข้าในวงจรจะทำให้เกิดสามเหลี่ยมกำลัง ซึ่งมุมมีค่าเป็นบวก (หรือมีค่า Power Factor < 1) อธิบายง่ายๆคือ ถ้าเราต้องการไฟ 500w อุปกรณ์ต้องใช้ไฟเกิน 500w แน่ๆ ฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการโหลดพลังงานเกินจำเป็น เราต้องการใช้ C ต่อเสริมเพื่อดึงเอารูปสามเหลี่ยมกำลังให้มีค่ามุมใกล้ 0 (ทำให้ PF เข้าใกล้ 1 มากๆนั่นเอง) ซึ่งปกติแล้ว C เกรดดีๆ และค่าการเก็บประจุเยอะๆ จะมีราคาพอสมควร

                              หัวข้อนี้ผมทำรูปคร่าวๆมาให้ดูนะครับ



                              อีกเรื่องคือที่เพื่อนๆในบอร์ดบอกว่า 'จ่ายไฟนิ่งไม่นิ่ง' มาจาก การแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ เป็นกระแสตรง ซึ่งไฟฟ้าที่ส่งมาบ้านเรามีลักษณะกราฟเป็น Sinusoidal Wave (กราฟ Sin ลูกคลื่นสลับบนล่าง) เวลาแปลงเป็นกระแสตรงแล้ว จะต้องกรองกระแส โดยทั่วไปหลักการง่ายๆคือใช้ Capacitor (อีกแล้ว) แต่ทั่วไปใช้ Capacitor ก็ยังไม่นิ่งพอที่จะจ่ายไฟให้กับวงจรคอมพิวเตอร์ได้อยู่ดี ต้องกรองอีกใช้ให้เรียบแปล้ โดยมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น Series, Shunt , Switching ซึ่งแต่ละวิธีก้อมีข้อดีข้อเสีย และรวมถึงคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้


                              ฉะนั้น PSU ที่แพงเพราะใช้ C เกรดดีๆ มีวงจรกรองกระแสที่มีคุณภาพ ใช้อุปกรณ์คุณภาพและ Feature ที่ดึงดูด ไม่ว่าจะเป็นถอดสายได้ ฯลฯ

                              ขอจบเพียงเท่านี้ครับ
                              Last edited by spree; 28 Nov 2008, 15:10:43.

                              Comment

                              Working...
                              X