Announcement

Collapse
No announcement yet.

เพนเทียม D 3.4G กับ E6400 เอาอันไหนครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • #16
    Originally posted by nithinium View Post
    แง่วว่าแล้วเชียว ว่าต้อง e6400 ดันไปซื้อมาแล้วครับ p D3.4 เศร้า ร้าน JIB มันแนะนำอะ เลยลองตั้ง
    ให้ช้ำใจเล่นดู เฮ้อ อยากจาร้องงงงง
    ท่องไว้เลยครับ ร้านมันต้องเชียร์ของที่มันอยากจะขาย ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม

    ของชิ้นไหนขายยาก ๆ มันก็ต้องแนะนำให้ซื้อก่อน

    Comment


    • #17
      อยากรู้ว่าทำไม E6400 มันถึงดีกว่า P-D 3.4G อะค่ะ E6400 มันแค่ 2.1 G เอง ได้ยินมาว่า C2D cpu มัน คูณ 2 ใช่หรือเปล่าค่ะ อย่าง 2.1 G ก็เป็น 4.2G ใช่ปะค่ะ?
      คือมือใหม่ค่ะ งงง

      ปล.pentium D คือ Duo Core ใช่ปะค่ะ
      ปล.2 pentium D กับ pentium 4 อันไหนดีกว่ากัน

      Comment


      • #18
        E6400 2.13GHz
        สามารถถอดรหัสชุดคำสั่งได้สูงสุด 10 ชุดคำสั่งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬืกา ดังนั้น E6400 ถอดรหัสได้สูงสุด 21.3 พันล้านคำสั่ง (2.13GHz x 10 instruction decoded)

        Pentium D 3.40GHz
        สามารถถอดรหัสชุดคำสั่งได้สูงสุด 6 ชุดคำสั่งต่อ 1 รอบ
        สัญญาณนาฬิกา ดังนั้น Pentium D ถอดรหัสได้สูงสุด
        20.4 พันล้านคำสั่ง ( 3.40GHz x 6 instruction decoded)

        แต่เวลาประมวลผลข้อมูล E6400 ประมวลผลได้สูงสุด
        10 ชุดคำสั่งต่อหนึ่งรอบสัญญานนาฬิกา

        ขณะที่ Pentium D ประมวลผลได้สูงสุด 5 ชุดคำสั่ง
        ต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา

        ฉะนั้นคงไม่ต้องบรรยายต่อแล้วนะครับว่าใครไวกว่า

        Comment


        • #19
          แจ่ม แจ่ม แวะมาอ่านทีไรคนสูงวัยได้ความรู้เพิ่มทุกที




          มาเอาโกโก้เย็นไปกินซักแก้วมั๊ย อิ อิ

          Comment


          • #20
            Originally posted by Comlow View Post
            E6400 2.13GHz
            สามารถถอดรหัสชุดคำสั่งได้สูงสุด 10 ชุดคำสั่งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬืกา ดังนั้น E6400 ถอดรหัสได้สูงสุด 21.3 พันล้านคำสั่ง (2.13GHz x 10 instruction decoded)

            Pentium D 3.40GHz
            สามารถถอดรหัสชุดคำสั่งได้สูงสุด 6 ชุดคำสั่งต่อ 1 รอบ
            สัญญาณนาฬิกา ดังนั้น Pentium D ถอดรหัสได้สูงสุด
            20.4 พันล้านคำสั่ง ( 3.40GHz x 6 instruction decoded)

            แต่เวลาประมวลผลข้อมูล E6400 ประมวลผลได้สูงสุด
            10 ชุดคำสั่งต่อหนึ่งรอบสัญญานนาฬิกา

            ขณะที่ Pentium D ประมวลผลได้สูงสุด 5 ชุดคำสั่ง
            ต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา

            ฉะนั้นคงไม่ต้องบรรยายต่อแล้วนะครับว่าใครไวกว่า
            ถ้าทำงานฐานข้อมูล ข้อมูลข้างบนผิด เพราะไม่ใช่ทุกรอบสัญญานนาฬิกาจะประมวลผล 10 ชุดคำสั่ง หรือ 6 ชุดคำสั่ง เนื่องจากต้องรอผลลัพธ์จากการประมวลผลรอบแรกให้ได้เสียก่อน

            คือพูดภาษาง่ายๆว่า จ้วงน้ำ(น้ำคือข้อมูลและชุดคำสั่งใน L2 แคช) ได้ไม่เต็มขันในทุกหนึ่งรอบสัญญานนาฬิกาอ่ะ คือมันมีจ้วงแล้ววืดด้วยอ่ะ น้ำไม่เต็มขันไง จ้วงวืด จ้วงวืดดด แบบนี้จ้วงถี่ๆ ได้งานเร็วกว่า

            เพราะในบางรอบสัญญานนาฬิกา CPU หมุนว่างๆ เลยเป็นที่มาของเทคโนโลยีไฮเปอร์เทรด จะเอาข้อมูลและคำสั่งรอเสียบในจังหวะที่ CPU หมุนวืดด สังเกตว่า CPU ขึ้น 100% แล้วเรายังสั่งมันทำงานเพิ่มได้อีกอ่ะ

            พวกที่ทำงานฐานข้อมูลรู้ดีว่าถ้าใช้คำสั่ง Sort ใน SQL หรือให้มันเนสติ้งซ้อนตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปในเครื่องที่สัญญาณนาฬิกาต่ำจะได้งานช้ากว่าพวกสัญญาณนาฬิกาสูง

            ที่จริงแล้วของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า แต่มันต้องมีอย่างอื่นประกอบด้วยเช่นแคชใหญ่ fsbเร็วๆเพื่อปั่นข้อมูลมารอที่แคช และลักษณะการประมวลผลที่ไม่ต้องรอกัน เช่นพวกตัดต่อวีดีโอไง มันซอยแยกเฟรมสลับหน้าสลับหลังมาประมวลผลได้ แล้วค่อยเรียงใหม่ให้ถูกลำดับตอนหลังอ่ะ...

            Comment


            • #21
              แจ่มแจ้งแดงแจ๋เลยครับ

              Comment


              • #22
                Originally posted by DBA View Post
                ถ้าทำงานฐานข้อมูล ข้อมูลข้างบนผิด เพราะไม่ใช่ทุกรอบสัญญานนาฬิกาจะประมวลผล 10 ชุดคำสั่ง หรือ 6 ชุดคำสั่ง เนื่องจากต้องรอผลลัพธ์จากการประมวลผลรอบแรกให้ได้เสียก่อน

                คือพูดภาษาง่ายๆว่า จ้วงน้ำ(น้ำคือข้อมูลและชุดคำสั่งใน L2 แคช) ได้ไม่เต็มขันในทุกหนึ่งรอบสัญญานนาฬิกาอ่ะ คือมันมีจ้วงแล้ววืดด้วยอ่ะ น้ำไม่เต็มขันไง จ้วงวืด จ้วงวืดดด แบบนี้จ้วงถี่ๆ ได้งานเร็วกว่า

                เพราะในบางรอบสัญญานนาฬิกา CPU หมุนว่างๆ เลยเป็นที่มาของเทคโนโลยีไฮเปอร์เทรด จะเอาข้อมูลและคำสั่งรอเสียบในจังหวะที่ CPU หมุนวืดด สังเกตว่า CPU ขึ้น 100% แล้วเรายังสั่งมันทำงานเพิ่มได้อีกอ่ะ

                พวกที่ทำงานฐานข้อมูลรู้ดีว่าถ้าใช้คำสั่ง Sort ใน SQL หรือให้มันเนสติ้งซ้อนตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปในเครื่องที่สัญญาณนาฬิกาต่ำจะได้งานช้ากว่าพวกสัญญาณนาฬิกาสูง

                ที่จริงแล้วของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า แต่มันต้องมีอย่างอื่นประกอบด้วยเช่นแคชใหญ่ fsbเร็วๆเพื่อปั่นข้อมูลมารอที่แคช และลักษณะการประมวลผลที่ไม่ต้องรอกัน เช่นพวกตัดต่อวีดีโอไง มันซอยแยกเฟรมสลับหน้าสลับหลังมาประมวลผลได้ แล้วค่อยเรียงใหม่ให้ถูกลำดับตอนหลังอ่ะ...

                จขกท. ก็บอกแล้วนี่ว่า งานกราฟฟิก หาใช่ ฐานข้อมูลไม่

                Comment


                • #23
                  ใช่แล้ว นี่มันล่อเป้านี่หว่า ไอ้เกรียนเอ๊ย

                  บอกจะเอาไปทำฐานข้อมูลทั้งที่ จขกท. บอกไปทำกราฟฟิก
                  ทีหลังอย่ามาออกความเห็นเลย ไม่รู้จริงอย่ามาสะเออะที่นี่
                  คนที่นี่เล่นของจริงทั้งนั้น รู้จริงทุกคน

                  เทสกี่แบบๆ คะแนนสูงกว่าเห็นๆ ยังจะมาบอกอย่างนี้

                  แน่จริงเอาคะแนนมาเทียบกันดีกว่า

                  Comment


                  • #24
                    "ถ้าทำงานฐานข้อมูล ข้อมูลข้างบนผิด เพราะไม่ใช่ทุกรอบสัญญานนาฬิกาจะประมวลผล 10 ชุดคำสั่ง หรือ 6 ชุดคำสั่ง
                    เนื่องจากต้องรอผลลัพธ์จากการประมวลผลรอบแรกให้ได้เสียก่อน"
                    แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจสถาปัตยกรรมของ Core Microarchitect อย่างชัดแจ้งครับ ไม่ว่าจะเป็นงานฐานข้อมูลหรือว่า
                    ข้อมูลใดๆ ก็แล้วแต่นะครับ คำว่า ข้อมูลก็คือข้อมูล คำว่าชุดคำสั่งก็คือชุดคำสั่ง ในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เรามีแค่
                    2 อย่างนี้ครับ

                    ชุดคำสั่ง (instruction set) คือ คำสั่งให้ CPU กระทำการกับข้อมูล
                    ข้อมูล (data) คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลผ่านชุดคำสั่ง

                    แม้งานของคุณจะเป็น Database แบบ SQL หรืองานกราฟิกหรืองานทั่วไป การที่คุณจะได้ผลลัพธ์จากการประมวลผล
                    ของ CPU ออกมาจำเป็นต้องอาศัยชุดคำสั่งและข้อมูลเสมอนะครับ ภาษา SQL เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล
                    จัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง เมื่อจะทำงานกับ CPU จะต้องมีการแปล (Interpreter) เป็นภาษาระดับต่ำให้ CPU ทำ
                    งานก่อน ซึ่งคำสั่งง่ายๆ ในภาษา SQL ก็อาจจะแปลงได้เป็น assemblier หลายบรรทัด ตรงนี้ครับคือที่มาของคำว่า
                    ชุดคำสั่งที่ผมกล่าวถึง

                    ส่วนข้อมูลที่คุณใส่ไว้ Database ไม่ว่าจะเป็นแบบ integer floating point text string ฯลฯ ก็จะถูกแปลเป็น binary format
                    สำหรับรอการประมวลผลจาก CPU ครับ

                    ดังนั้นไม่ว่างานประเภทไหนๆ ก็หนีไม่พ้นการใช้ชุดคำสั่งและข้อมูลในการประมวลผลทั้งสิ้น กรณีงานกราฟิกก็ไม่ได้แตกต่าง
                    กันแต่อย่างใดในมุมมองของวิศวกรคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องใช้งานกับ CPU นี่เป็นหลักการพื้นฐานเลยครับ หากคุณบอกว่าสิ่งที่
                    ผมกล่าวมาผิด ก็สงสัยจะต้องเผาตำรา Computer Architect ทั่วโลกทิ้งแล้วกระมัง ฮิๆๆ

                    "คือพูดภาษาง่ายๆว่า จ้วงน้ำ(น้ำคือข้อมูลและชุดคำสั่งใน L2 แคช) ได้ไม่เต็มขันในทุกหนึ่งรอบสัญญานนาฬิกาอ่ะ
                    คือมันมีจ้วงแล้ววืดด้วยอ่ะ น้ำไม่เต็มขันไง จ้วงวืด จ้วงวืดดด แบบนี้จ้วงถี่ๆ ได้งานเร็วกว่า"
                    คุณยังไม่เข้าใจการทำงานของ L2 Cache ใน CPU ที่แท้จริง ข้อมูลส่วนใหญ่ก่อนการประมวลผล

                    SQL Database Application -> Interpreter -> X86 instruction + Binary format data ->
                    (ขั้นตอนที่ 1 สมมติคุณสั่งงานให้โปรแกรม SQL กระทำกับข้อมูลใดๆ)
                    System Memory -> MCH -> CPU
                    (ขั้นตอนที่ 2 หลังจากแปลชุดคำสั่งและข้อมูลแล้ว โปรแกรม SQL จะส่งผ่านข้อมูลไปยัง CPU)
                    L2 Cache -> L1 Instruction Cache + L1 Data Cache
                    (ขั้นตอนที่ 3 ภายใน CPU การทำงานของ L2 Cache ก็จะเริ่มขึ้น เพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยัง L1 Cache
                    ซึ่งในขั้นนี้จะแยกชุดคำสั่งและข้อมูลออกจากกันเก็บไว้ใน L1 cache เพื่อรอการประมวลผล)
                    L1 Cache ->Fetch ->Decode -> Pipeline -> ALU(FPU) -> Execute -> Retire -> L2 Cache
                    (ขั้นตอนที่ 4 CPU ก็จะทำงานตามลำดับเพื่อประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วส่งไปเก็บไว้ยัง L2 Cache)
                    CPU -> MCH -> System Memory
                    (ขั้นตอนที่ 5 CPU ก็จะส่งผ่านผลลัพธ์จากการประมวลผลไปที่ System Memory ในรูป Binary format data)
                    Binary format data -> Interpreter -> SQL Database Application
                    (ขั้นตอนที่ 6 โปรแกรม Interpreter ใน SQL Database Application ก็จะทำการแปลงข้อมูล Binary format data
                    เป็นข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา)

                    กรณีที่คุณยกมานั้นก็มีครับ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่คุณจะระบุได้ว่า CPU รุ่นไหนจะทำงานได้ไวกว่ากัน
                    คุณต้องศึกษาสถาปัตยกรรมของ CPU แต่ละตัว หลักการทำงานของสถาปัตยกรรม CPU แม้จะเป็นค่ายเดียวกัน
                    อย่าง Pentium D และ Core 2 ก็ใช่จะเหมือนกันไปซะทุกอย่าง ลองศึกษาดูดีๆ ก่อนค่อยสรุปก็ได้ครับ การที่คุณ
                    สรุปเอาดื้อๆ แบบนี้ มันไม่ถูกต้องครับ

                    " เพราะในบางรอบสัญญานนาฬิกา CPU หมุนว่างๆ เลยเป็นที่มาของเทคโนโลยีไฮเปอร์เทรด จะเอาข้อมูลและคำสั่ง
                    รอเสียบในจังหวะที่ CPU หมุนวืดด สังเกตว่า CPU ขึ้น 100% แล้วเรายังสั่งมันทำงานเพิ่มได้อีกอ่ะ "
                    เทคนิค Hyper-Threading เป็นการใช้ประโยชน์จาก CPU Single Core ให้ประมวลผลได้คล้ายกับ CPU แบบ Dual Core
                    โดยจำลองการทำงานลงมาให้เหมาะสมกับจำนวน Pipeline Stages ของ Netburst ครับ แต่สำหรับ Core 2 Duo E6400
                    ที่พัฒนาจาก Core Microarchitect นั้นมันเป็น Dual Core จริงๆ อยู่แล้ว ย่อมทำงานได้ดีกว่า Hyper-Threading อยู่แล้ว
                    ครับ

                    " พวกที่ทำงานฐานข้อมูลรู้ดีว่าถ้าใช้คำสั่ง Sort ใน SQL หรือให้มันเนสติ้งซ้อนตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปในเครื่องที่สัญญาณนาฬิกา
                    ต่ำจะได้งานช้ากว่าพวกสัญญาณนาฬิกาสูง"
                    ไม่เสมอไปหรอกครับการใช้คำสั่ง Sort เพื่อเรียงลำดับข้อมูลใน Core 2 Duo E6400 ทำงานได้ไวกว่า Pentium D 3.40GHz
                    แน่ๆ เพราะสถาปัตยกรรมของ Core เหนือกว่า Netburst อย่าเพิ่งเสียใจครับ แต่ถ้าเป็น Netburst เหมือนกันอาจจะถูกอย่าง
                    ที่คุณว่ามาแหงๆ เลยล่ะ

                    "ที่จริงแล้วของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า แต่มันต้องมีอย่างอื่นประกอบด้วยเช่นแคชใหญ่ fsbเร็วๆเพื่อปั่นข้อมูลมารอที่แคช
                    และลักษณะการประมวลผลที่ไม่ต้องรอกัน เช่นพวกตัดต่อวีดีโอไง มันซอยแยกเฟรมสลับหน้าสลับหลังมาประมวลผลได้
                    แล้วค่อยเรียงใหม่ให้ถูกลำดับตอนหลังอ่ะ..."
                    เอาเป็นว่าผมสรุปแทนเลยละกันครับว่า E6400 เร็วกว่า Pentium D 3.40GHz นะครับ
                    Last edited by Comlow; 28 Feb 2007, 12:51:10.

                    Comment


                    • #25
                      จบวิศวคอมพิวเตอร์หรือคับ
                      จบที่ไหนผมจาไปเรียนม่าง

                      Comment


                      • #26
                        คุณ comlow สุดตีนจริงๆเลยครับ แวะมาจดความรู้ครับผม

                        Comment


                        • #27
                          เก่งจิงๆ

                          Comment


                          • #28
                            ป๋ม วิศวะกะ มารับความรู้จากวิศวกร

                            ประมวลผลโดยสมองชั้นเซียนว่า โดนโจมตีฉาบฉวย
                            แต่...เราก็มี Firewall ป้องกัน และแบ่งปัน 5555




                            ดับร้อนต้อง โกโก้เย็น อิ อิ

                            Comment


                            • #29
                              comlow นับถือๆ

                              Comment


                              • #30
                                งะ !!! มาเป็นชุด เอาซะกระจ่างเลย แต่อ่านไปอ่านมา ก็อยู๋ที่เดิมคือ "งง" ครับ เพราะมะได้เรียนสายนี้มาอ่า แต่ก้อพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจ เอาไว้ประดับบารมีครับ ส่วนตัวผมมีคอมไว้ใช้ ก็เป็นพอแล้วหละครับ !!!

                                Comment

                                Working...
                                X