Announcement

Collapse
No announcement yet.

[Review] Synology "์NAS ที่ใครก็ใช้ได้"

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [Review] Synology "์NAS ที่ใครก็ใช้ได้"

    เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมเวิร์กช็อป NAS กับทาง Synology แบรนด์ด้านระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย (network attached storage) ระดับโลก
    โดยจัดงานร่วมกับทางเว็บไซต์ overclockzone.com นอกจากนี้ยังมีเซอร์ไพรส์จาก WD หรือ Western Digital มาร่วมสนับสนุน ฮาร์ดดิสก์ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในงานอีกด้วย

    1533994553550.jpg
    บรรยากาศก่อนเริ่มงาน มานั่งรอด้วยความตื่นเต้น ไม่เคยเวิร์กช็อปด้านไอทีมาก่อนเลย

    overclockzone synology.jpg
    เดินหาสถานที่จัดงานอยู่นาน คิดว่าจะเข้างานสายเดินหลงมาจากปากซอย นานา พอมาถึงทะเบียนหน้างาน อ่าว.. เรามาคนแรกเลย ฮา

    ในโอกาสที่ได้เวิร์กช็อปกับทาง Synology นอกจากจะได้รับความรู้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการทำงาน การใช้งานเบื้องต้น และลูกเล่นต่างๆ
    ที่มีให้เลือกใช้งานหลากหลายบนเครื่อง NAS ผ่านระบบปฏิบัติการ DiskStation ซึ่งออกแบบมาเฉพาะสำหรับ NAS ของ Synology
    ทาง Synology ยังมอบ NAS รุ่น DS218+ พระเอกในงานมาให้ทดลองใช้ฟรีๆ พร้อมกับฮาร์ดดิสก์ WD RED 2TB จากทาง WD อีกด้วย
    (นึกว่าจะได้เสียเงินซื้อฮาร์ดดิสก์เพิ่ม ขอบคุณ WD อีกครั้งนะครับ)

    overclockzone synology_1.jpg
    ไม่เพียงมาเก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน NAS ยังได้ WD RED ขนาดความจุ 2TB กลับบ้านอีกด้วย ????
    (credit: overclockzone.com)


    - ก่อนจะเข้าเรื่องขอเกริ่นซักนิด..
    ในปัจจุบัน แม้ว่าอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสที่เป็น SATA หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ฮาร์ดดิสก์จานหมุน กำลังถูกเทคโนโลยีแบบใหม่
    ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลประเภท solid state drive (SSD) ทั้งประเภท M.2 SATA และ NVMe เข้ามาแทนที่ก็ตาม

    ทว่าสำหรับผู้ใช้งานที่มีข้อมูลดิจิตัลจำนวนมาก และในชีวิตประจำวันต้องการการเข้าถึง และใช้งานข้อมูลเหล่านั้นจากหลายสถานที่
    บนแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ ไฟล์งานเอกสารที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของความลับ ทั้งส่วนตัวและขององค์กร

    ดังนั้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ จากการถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ต ระบบ NAS จึงสามารถตอบโจทย์โซลูชันการใช้งานดังกล่าว
    ไม่ว่าจะเป็นการ backup และ sync ข้อมูลส่วนตัวของเราให้อยู่รอดปลอดภัย ในยุคสมัยที่มนุษย์เราจัดเก็บข้อมูลไว้บนอากาศ

    พูดถึงภาพรวมของ NAS มาพอสมควร แต่ละคนที่ใช้งานก็มีวัตถุประสงค์ในการนำ NAS ไปใช้งานแตกต่างกันออกไป
    แต่สำหรับผู้ใช้งานหน้าใหม่อย่างผม อาจจะยังไม่เห็นประโยชน์ และแนวทางใช้งานของเจ้าตัว NAS ที่ชัดเจนเท่าใดนัก
    สิ่งที่ผมจะเขียนต่อจากนี้ จะเป็นเรื่องราว และการแชร์ประสบการณ์ การนำเจ้าตัว NAS มาใช้ในช่วงเกือบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาครับ

    ____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________


    Synology "NAS ที่ใครก็ใช้ได้"




    แรกเริ่มหลังจากที่ยก NAS กลับมาห้อง ตามนิสัยเพอร์เฟกชันนิสต์ ที่ชอบความเป๊ะ ก็เริ่มต้นการใช้งานด้วยการตั้งค่าต่างๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน
    ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่า IP address, domain name หรือแม้แต่ตั้งชื่อให้กับเจ้า DS218+ ของเราใหม่ ซึ่งทั้งหมดที่ว่ามา สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
    แม้จะเป็นการใช้งานครั้งแรกก็ตามผ่าน DiskStation Manager และบนแอปฯ DS finder ที่มีให้ดาวน์โหลดไว้ใช้ลงทะเบียน serial number
    และดูข้อมูลทั่วไปของ NAS บนสมาร์ตโฟน





    - หลายคนอาจจะกังวล มันต้องเกี่ยวกับระบบ LAN ระบบอินเทอร์เน็ต โอย ยุ่งยากแน่ๆ ต้องมาตั้งค่า IP address, MAC address หรือ DNS server
    แต่ Synnology นั้นได้ออกแบบระบบปฏิบัติการภายในตัว NAS ทุกรุ่น ที่มีชื่อว่า DiskStation Manager ซึ่งก็คล้ายๆกับระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตโฟน
    ที่เราสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ มาเก็บไว้บนเครื่องได้ เช่นเดียวกันครับ


    หน้าจอใช้งาน DS finder ที่เราสามารถเข้ามาดูข้อมูล NAS ของเรา
    และยังสามารถอัปเดตเฟิร์มแวร์ และแอปฯ ที่เราติดตั้งไว้บน DiskStation ได้อีกด้วย




    ตัวอย่างหน้าจอ DiskStation Manager ซึ่งสามารถใช้งานได้บนบราวเซอร์ โดยที่เราสามารถล็อกอินผ่านระบบ LAN (ก็คือ IP address)
    และผ่าน domain ของ Synnology QuickConnect (แบบหลังช้ากว่าเพราะต้องผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถกำหนด URL ให้กับ NAS เราได้
    เช่นของผม deepshard.quickconnect.to

    - สิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจมากสำหรับ DSM (DiskStation Manager) ก็คือเราสามารถกรุ๊ปรวมแอปฯ ที่เรามี ซึ่งอันนี้ผมก็เพิ่งค้นพบจากการทดลองใช้งาน
    กดเข้าโน่น คลิกนี่ไปเรื่อย เพราะมันตอบโจทย์การบริการจัดการพื้นที่ ที่เน้นความเป็นระเบียบ สะอาดตา ไม่รกวุ่นวายได้เป็นอย่างดี คล้ายๆ เราจัดหมวดหมู่แอปฯ
    บนมือถือเราเลย จากตอนแรกที่เต็มหน้าจอ ทีนี้ก็โล่งเลย รู้สึกดีขึ้นเยอะ


    นอกจากนี้หน้าจอที่เป็นมอนิเตอร์ อธิบายการทำงานต่างๆ ก็ยังทำให้เรารู้ว่า CPU และ RAM ของ NAS ทำงานมากน้อยเพียงใด ปริมาณการดาวน์โหลด/อัพโหลด
    รวมไปถึงไคลเอ้นต์ที่เราอนุญาตให้เข้ามาใช้งาน NAS
    (ผมสร้าง user ให้เพื่อนสนิท ทีนี้เราก็จะรู้หมดเลยว่าเพื่อนเข้ามาใช้งาน NAS ตอนไหน ใช้มานานเท่าไร แถมรู้ไปถึง IP ที่ล็อกอินเข้ามา)


    เชิญชวนเพื่อนๆ หลายคน แต่มีเพื่อนผมคนเดียวที่ยินดีมาให้เป็นหนูทดลอง (ใช้ NAS) ให้ผมเพียงคนเดียว

    พูดถึงการใช้งานทั่วไปเรียร้อยแล้ว ต่อไป ผมจะยกตัวอย่างการใช้งานแอปพลิเคชันบน DSM ที่ผมเองใช้งานเป็นประจำ
    ได้แก่ Drive, Cloud Sync, Moments และ Video Station

    มาพูดถึงตัวแรกเลยก็คือ


    Drive & Cloud Sync


    Drive สำหรับผมแล้วเปรียบกับ 'สนามบิน' ที่ผู้คนเดินทางไปมาระหว่างจังหวัด ประเทศ หรือแวะเปลี่ยนเครื่อง
    ซึ่ง Drive เองก็เป็นต้นทางของไฟล์ที่เราอัพโหลดไปยัง NAS ว่าเราจะเลือกไปไว้ในโฟลเดอร์ใด
    นอกจากนี้ยังเข้าไปลบ คัดลอก ย้าย หรือลบไฟล์ต่างๆ ได้ผ่านแอปฯ DS Drive

    นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถเข้าไปตั้งค่า โฟลเดอร์ที่จำกัดการเข้าถึงได้เพียง user ที่เราตั้งค่าไว้เท่านั้น หรือ shared drive ที่เราและไคลเอ้นต์อื่นๆ
    สามารถเข้ามาอัพโหลด หรือแชร์ ไฟล์ โฟลเดอร์ต่างๆ ได้ ก็ทำได้เช่นกัน เราสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ Drive ไว้บน desktop โดยที่ตัวซอฟต์แวร์จะสร้าง directory ขึ้นมาเป็นโฟลเดอร์หนึ่ง
    ซึ่งเราสามารถโยนไฟล์ที่เราต้องการอัพโหลดลงไปในโฟลเดอร์ดังกล่าว NAS ก็จะทำการอัพโหลดโดยอัตโนมัติ และแจ้งเป็น history ให้เราทราบผ่าน tray icon ที่มุมขวาล่างจอ





    - นอกจากจะเข้าใช้งานผ่าน Drive จาก DSM บนบราวเซอร์และสมาร์ตโฟน เรายังสามารถ add map network drive มาไว้บน file explorer ได้อีกด้วยนะ
    คล้ายๆ กับระบบเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรทั่วไปที่เขาทำกันนั่นแหละครับ


    ผมเป็นคนที่ชอบเก็บและดาวน์โหลด e-book หนังสือวรรณกรรมคลาสสิก บทความวิชาการไว้อ่านระหว่างเดินทาง
    จะพกหนังสือ หรือหอบเป็นปึกกระดาษจะลำบาก ก็โยนไฟล์ pdf ไปไว้บน NAS และเข้าไปอ่านจาก NAS ได้เลย


    ซึ่ง Drive เองก็มีแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนให้ดาวน์โหลดเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเราหรือ user คนอื่นที่ใช้งาน NAS ร่วมกัน
    อัพโหลดไฟล์ต่างๆ ไปยัง shared folder บน Drive เราก็สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะใช้งานผ่าน พีซี แล็ปท็อต มือถือ หรือแทปเล็ต
    ซึ่งส่วนตัวผมเองคิดว่า มีความสะดวกและรวดเร็วกว่า แอปพลิเคชันแชท ที่จำกัดขนาดอัพโหลดไฟล์ที่และเสี่ยงต่อการส่งผิดแชทอีกต่างหาก

    นอกจากนี้การเก็บไฟล์ไว้บน NAS นอกจากจะเก็บไว้ใน Drive แล้ว เรายังสามารถเชื่อมต่อ Drive ไปยัง cloud services
    ของผู้ให้บริการรายต่างๆ เช่น OneDrive ของ Microsoft หรือ Google Drive ของ Google ได้อีกด้วย



    โดยผ่านแอปฯ ที่ติดตั้งมาบน DSM ชื่อว่า Cloud Sync เพียงเชื่อมต่อบัญชีของเรามายัง NAS ไฟล์ที่เราเลือกก็จะทำการ backup มาเก็บไว้บน NAS ของเราทันที
    ตัดปัญหา ไฟล์เต็มใน OneDrive ของผมที่มักต้องลบทิ้งเป็นประจำ เพราะว่าขนาดพื้นที่ที่ให้มามีจำนวนจำกัด (ตอนนี้ได้มา 1TB ก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี เพราะต้องไปเก็บไฟล์งานที่มีขนาดใหญ่)
    ดังนั้นการ backup ไฟล์มาไว้บน NAS ซึ่งสามารถใส่ฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุได้สูงสุด 12TB ต่อหนึ่งฮาร์ดดิสก์ ยิ่งช่วยให้เราหายห่วงได้ว่าจะมีที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงพอ หรือเผลอลบไปตอน cleanup

    - ผมมองว่าทั้ง Drive และ Cloud Sync มีประโยชน์สำหรับผมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการ sync ข้อมูลในรูปแบบ two-way sync

    นอกจากนี้ ผมยังใช้เป็นที่เก็บไฟล์ BIOS แต่ละเวอร์ชัน ของ mainboard ทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดปัญหากับ BIOS
    เราก็สามารถเข้ามาดาวน์โหลดไฟล์ที่เราเก็บไว้ที่นี่ได้ รวมไปถึงไฟล์เซฟเกม แน่นอนใครที่ชอบลง Windows ใหม่เป็นประจำ มักจะลืมเก็บไฟล์เซฟเกมไว้ มานึกได้ก็หัวร้อน เล่นไปตั้งไกล
    โดยเฉพาะเกมออฟไลน์เก่าๆ ที่ไม่ได้มี cloud save ให้ หรือบางเกมอาจจะเก็บไว้อวดเพื่อน ก็ต้องหายไปเพราะเราไม่ได้ back up ดันไปเก็บไว้ในไดร์ฟหลัก

    ทั้ง Drive และ Cloud Sync จึงสามารถตอบโจทย์ปัญหาที่ว่ามาได้เป็นอย่างดี


    พูดถึงแอปฯ หลักที่เปรียบเป็น 'สนามบิน' ที่เอาไว้แลกเปลี่ยนไฟล์จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งแล้ว
    ผมจะมาแนะนำสองแอปพลิเคชัน ที่ผมใช้งานเป็นประจำ และยังแชร์ไปให้เพื่อนผมได้ใช้งานอีกด้วย


    MOMENTS


    คอนเซปต์ของ Moments คือเป็น photo library บนตัว NAS เราสามารถเปิด แก้ไข แชร์ และ sync รูปภาพ อัลบั้มส่วนตัวของเราไปให้เพื่อนๆ ได้
    ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ OneDrive, Google Drive, Drop Box และผู้ให้บริการรายอื่นๆ

    สำหรับใครที่ชอบถ่ายรูป และเก็บไฟล์เป็นจำนวนมาก มักจะพบกับปัญหาพื้นที่หน่วยความจำในโทรศัพท์เต็มบ้าง หรือไปเต็มถึงบน cloud กันเลยทีเดียว
    Moments จึงเข้ามาแก้ทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จัดเก็บที่ไม่เพียงพอ ต้องลบหรือย้ายมาลงบนพีซี ซึ่งก็กินพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เช่นกัน
    โดยการ sync รูปภาพจากโทรศัพท์ผ่านแอป Moments ไปยัง NAS ของเรา และยังสามารถตั้งค่าให้ รูปภาพที่ผมถ่าย
    นอกจากจัดเก็บไว้บนโทรศัพท์ ส่งมายัง NAS แล้ว ยังทำการอัพโหลดไปยัง OneDrive ด้วย

    ดังนั้น ไฟล์อัลบั้มรูปของผม จึงมีการจัดเก็บในรูปแบบที่ผมตั้งชื่อให้เองเลยว่า "three-way sync" หรือการซิงก์แบบสามทาง
    ไม่ว่าผมจะไปเปิดดูรูปโปรแกรม Windows Photos บนพีซี, OneDrive บนมือถือ หรือเข้าผ่าน QuickConnect จากที่ทำงาน
    ผมจะสามารถเข้ามาดูไลบรารีได้เหมือนกันทั้งหมด



    เจอแมวที่ไหน ผมจะชอบถ่ายเก็บไว้ดูเล่น และแชร์ให้เพื่อนๆ ที่ชอบเจ้าเหมียว ปัญหาที่กวนใจมาตลอดคือ เมมโมรีในโทรศัพท์จะเต็มไปด้วยไฟล์รูปภาพแมว
    ทำให้บางรูปจำเป็นต้องลบ เก็บไว้แต่รูปที่ชอบ ปัญหานี้ก็หมดไปด้วยการอัพโหลดรูปภาพไปยัง NAS ของเรานี่แหละ




    หน้าจอแอปฯ Moments บนแอนดรอยด์ สามารถดูรูปโดยแบ่งเป็นไทม์ไลน์ เช่น แบบวัน และเดือน เป็นต้น

    นอกจากนี้ Moments ยังสามารถตั้งค่าให้เรา sync รูปภาพเฉพาะเมื่อต่อ Wifi เท่านั้น สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้โปรเน็ตมือถือแบบผม
    เพราะใช้งานเน็ตบ้านอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อต่อ Wifi เน็ตบ้าน จึงค่อยทำการ sync รูปภาพเพียงครั้งเดียวต่อวัน




    VIDEO STATION


    มาถึงอีกแอปพลิเคชันบน DiskStation ที่อยากจะแนะนำสำหรับคอภาพยนตร์ นั่นก็คือ
    Video Station ผมเองก็ชอบดูหนังโดยเฉพาะหนังฮอลลิวูด คลาสสิก และหนังดราม่าเก่าๆ
    ซึ่งไม่ได้หาซื้อกันง่ายๆ อีกแล้ว ในยุค DVD กำลังถูกแทนที่ด้วย video streaming service ที่กำลังได้รับความนิยมสูง


    ตัวอย่างหน้าแอปพลิเคชัน DS video ซึ่งสามารถดูและสตรีมหนังผ่าน NAS
    นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ลิ้งก์ให้เพื่อนๆ ทั้งที่มี user NAS และคนทั่วไป สามารถเข้ามาดูหนังได้เช่นกัน


    คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากเพราะชื่อก็บอกแล้วว่าเป็น สถานีสำหรับวิดีโอ นั่นก็คือเราสามารถดูหนัง ซีรี่ส์ ที่ถูกจัดเก็บไว้บน NAS
    โดยที่เราสามารถเล่นไฟล์เหล่านี้ผ่านบราวเซอร์ และผ่านแอปพลิเคชัน DS video บนมือถือ ได้เช่นเดียวกัน

    สำหรับ Video Station เป็นแอปที่ผมประทับใจมากเป็นพิเศษ เพราะทำให้เพื่อนสนิทผมที่ชอบดูหนังมาก
    สามารถเข้ามาดูหนังผ่าน user ที่ผมสร้างให้บน NAS จากในอดีตที่ต้องเตรียมไฟล์หนัง ไฟล์ซับไตเติลใส่ใน thumb drive ให้ยืมไปให้ยืมมา
    กว่าจะได้ดูแต่ละเรื่อง ครั้นจะเข้าโรงหนังก็ไม่ค่อยมีเวลา เพราะเพื่อนผมทำงานเป็นกะ

    - ซึ่งหลังจากแนะนำการทำงานของ NAS และ DS video ผมก็สร้าง user ให้เพื่อนผมเข้ามาทดลองใช้งาน ซึ่งผลตอบรับก็ออกมาดี ซึ่งเพื่อนผมถึงกับบอกว่า
    เป็นเทคโนโลยีที่สุดยอด ทำให้ดูหนังได้ง่ายขึ้นเยอะเลย


    โดยหนังที่เราอัพโหลดไปไว้บน Video Station ยังสามารถค้นหาข้อมูล ใบปิด และภาพพื้นหลังของหนังแต่ละเรื่องได้อีกด้วย
    ไม่ว่าจะหนังเก่าขนาดไหน จากรูปหนังตั้งแต่ปี 1946 ก็ยังไปค้นมาได้ ไม่ต้องหามาอัพโหลดใส่รูปเอง เจ๋งสุดๆ !




    ____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________



    แอบคิดในใจว่า อนาคต Synology จะทำ NAS แบบมีไฟ RGB มาด้วยหรือเปล่า


    เขียนมาถึงตรงนี้ คงยืนยันได้ไม่มากก็น้อยว่า การจะใช้งาน NAS ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีความรู้ด้านไอทีในระดับ advance
    หรือเจาะจงเฉพาะกับการใช้งานในระดับองค์กรแต่อย่างใด
    ด้วยปัจจุบันที่ internet of things (IoT) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกคน
    ก็คงไม่เกินความจริง ถ้าจะบอกว่า NAS ก็เช่นเดียวกัน ที่ใครก็ใช้ได้ จากตัวอย่างการใช้งานที่ผมได้นำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ในกระทู้นี้ครับ

    ขอบอกเลยว่า ผมยังใช้ NAS ตัวนี้ได้ไม่คุ้มค่ากับมูลค่า และประสิทธิภาพของมันเท่าใดนัก อาจจะเป็นเพราะกำลังทำความรู้จัก
    และยังค้นหาฟังก์ชันที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์อยู่ ซึ่งขณะที่เขียนนี่ ก็ยังเจอลูกเล่นต่างๆที่สามารถประยุกต์มาใช้งานในชีวิตได้
    ซึ่งนอกจากจะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยีแล้ว ยังรู้สึกสนุกสนานเหมือนได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

    ในอนาคต ผมเชื่อว่า network attached storage หรือ NAS จะมีบทบาทต่อเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น
    มากกว่าเป็นเพียงแค่ตัวเก็บไฟล์ทอร์เร้นต์ อย่างที่ผมเคยเข้าใจมาตลอด

    YouTube แชนแนล ที่ผมติดตาม HardwareCanucks ล่าสุดก็พูดถึงโปรเจค NAS ของเขา







    - สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณ ทีม Synology ทุกท่านที่เดินทางมาจากไต้หวัน เพื่อแนะนำการใช้งาน NAS แบบเป็นกันเอง ซึ่งผมประทับใจมาก
    จากผู้ใช้งานธรรมดาคนนึงที่หนึ่งเดือนก่อนหน้า ยังไม่รู้จักแม้แต่นิดว่า NAS คืออะไร จนทุกวันนี้ NAS ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมที่ตื่นมาตอนเช้าก็เห็นไฟเครื่องกะพริบอยู่ไกลๆ

    - ขอบคุณ overclockzone.com ที่สละเวลา จัดหาสถานที่ อุปกรณ์ภายในงาน และของที่ระลึกอีกมากมาย
    ผมเชื่อว่าทีมงานทุกท่านทำงานกันเต็มที่ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดี และทุกฝ่ายก็ประทับใจ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับตัวผมครับ

    - และอีกหนึ่งผู้สนับสนุนกิจกรรมนี้ ที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ Western Digital ที่มาเซอร์ไพรส์ ภายในงาน
    ด้วยการแจก WD RED 2TB ให้กับผู้เข้าเวิร์กช็อป ซึ่งก่อนร่วมงานไม่ได้มีการแจ้งว่า WD จะมาร่วมงานด้วย
    อันนี้ก็ยิ่งประทับใจมากขึ้น จากตอนแรกที่คิดว่าจะไปซื้ออีกแบรนด์ ก็ต้องกลับลำมาเป็นลูกค้า WD เหมือนเดิมครับ ความประทับใจล้วนๆเลย
    Last edited by deepshard; 12 Aug 2018, 10:38:06. Reason: แก้ไขคำผิด

  • #2
    ละเอียดดีครับ มีให้เพื่อนร่วมทดลองใช้งานด้วย


    แอบคิดในใจว่า อนาคต Synology จะทำ NAS แบบมีไฟ RGB มาด้วยหรือเปล่า
    ปล. ถ้าอนาคต NAS มีไฟ RGB จริง คงเป็นของแต่งบ้านได้เลยนะเนี่ย แค่ใส่แสงไฟตรงโลโก้ก็สวยแล้วครับ เหมือนพวกเร้าเตอร์ Mesh Network ที่มีไฟสวยๆ ครับ

    Comment


    • #3
      Originally posted by sakurasong View Post
      ละเอียดดีครับ มีให้เพื่อนร่วมทดลองใช้งานด้วย




      ปล. ถ้าอนาคต NAS มีไฟ RGB จริง คงเป็นของแต่งบ้านได้เลยนะเนี่ย แค่ใส่แสงไฟตรงโลโก้ก็สวยแล้วครับ เหมือนพวกเร้าเตอร์ Mesh Network ที่มีไฟสวยๆ ครับ
      เพื่อนผมไม่มีความรู้ด้านนี้เลย อธิบายอยู่นานครับ กว่าจะยอมดาวน์โหลด DS video
      และล็อกอินเข้ามาดูหนัง หลังจากนั้นก็รีเควสหนังเพิ่ม รัวๆ 5555

      ปล. พยายามลดแล้วครับ กลัวคนมาเห็นแล้วท้อ สุดท้ายออกมา 17 หน้า ไฟล์ word

      Comment


      • #4
        ใช้ดีมาก ผมก็ใช้อยู่เหมือนกันครับ ^^ ตอบโจทย์สาย โหลดอย่างผมมาก

        Comment


        • #5
          Originally posted by maxta View Post
          ใช้ดีมาก ผมก็ใช้อยู่เหมือนกันครับ ^^ ตอบโจทย์สาย โหลดอย่างผมมาก
          ตัว Download Station ใช่ไหมครับ เคยลองใช้อยู่ สะดวกดี
          ปิดคอมแล้วเปิด NAS ไว้ให้ p2p
          เช็กจากในมือถือก็ได้

          Comment


          • #6
            ถ้าต้องการใช้งาน File ผ่าน Internet แล้วเป็น Private IP สามารถใช้งานผ่าน Notebook ได้ป่าวครับ
            ตัวอย่างเช่น NAS อยู่ที่บ้าน แต่ตัวเราอยู่ต่างจังหวัด เปิดใช้งานผ่าน Notebook IP ที่บ้านเราเป็น Private IP


            ขอบคุณครับ

            Comment


            • #7
              Originally posted by noktualek View Post
              ถ้าต้องการใช้งาน File ผ่าน Internet แล้วเป็น Private IP สามารถใช้งานผ่าน Notebook ได้ป่าวครับ
              ตัวอย่างเช่น NAS อยู่ที่บ้าน แต่ตัวเราอยู่ต่างจังหวัด เปิดใช้งานผ่าน Notebook IP ที่บ้านเราเป็น Private IP


              ขอบคุณครับ
              ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหม คือปกติใช้โน้ตบุ๊กที่บ้านผ่านวง LAN เดียวกันกับ NAS แต่เป็น private IP ใช่ไหมครับ

              ผมคิดว่าได้นะ
              ถ้าเชื่อมต่อเข้ามาจากที่อื่น ที่ไม่ใช่จากวง LAN มันต้องเข้าผ่าน (ชื่อuser name).quickconnect.to ที่เราตั้งไว้เหมือนกัน
              ซึ่งมันจะลิ้งมาที่หน้า DiskStation ให้เราระบุชื่อของ NAS และ ล็อกอิน user/password ถึงจะเข้ามาได้

              Comment


              • #8
                ผมยังใช้ zyxel nas อยู่เลย เก่ามากๆ ต้องไปลอง synology บ้างแล้ว โอเครเลย

                Comment


                • #9
                  ถ้าทำ (ชื่อuser name).quickconnect.to ผมว่า private ip คงไม่ได้ครับ เพราะเหมือน forwardport

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by tidoi View Post
                    ผมยังใช้ zyxel nas อยู่เลย เก่ามากๆ ต้องไปลอง synology บ้างแล้ว โอเครเลย
                    NAS สมัยนี้ใช้ง่ายจริงๆ ผมนี่ไม่เคยจับมาก่อน พอได้ไปเวิร์กช็อป กลับมาลองๆ อยู่แปป ใช้เป็นแล้ว

                    Comment


                    • #11
                      Originally posted by noktualek View Post
                      ถ้าต้องการใช้งาน File ผ่าน Internet แล้วเป็น Private IP สามารถใช้งานผ่าน Notebook ได้ป่าวครับ
                      ตัวอย่างเช่น NAS อยู่ที่บ้าน แต่ตัวเราอยู่ต่างจังหวัด เปิดใช้งานผ่าน Notebook IP ที่บ้านเราเป็น Private IP


                      ขอบคุณครับ
                      ของผม QNAP ทำได้นะครับถ้าเรารู้ WAN
                      ของผม Remote เข้าไปดูที่หน้า Config ของ Router ASUS ที่บ้านเพื่อดู WAN (WAN มันเปลี่ยนทุกครั้งที่รี Router)
                      ล่ะก็เข้าที่ address พิมพ์ WAN\XXXXX
                      XXXXX = port ของ NAS ที่เรา Fix ไว้
                      ปล.ต้องทำ Foward Port ที่ Router ไปหา Port ของ NAS ที่เราล๊อคไว้ ไม่งั้นมีโอกาสหาไม่เจอ

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by deepshard View Post
                        ตัว Download Station ใช่ไหมครับ เคยลองใช้อยู่ สะดวกดี
                        ปิดคอมแล้วเปิด NAS ไว้ให้ p2p
                        เช็กจากในมือถือก็ได้
                        ใช่แล้วครับ ค่าอัพโหลด ขึ้นมาเยอะมากเลย ^^ จนไม่รู้จะโหลดอะไรดีแล้ว

                        Comment


                        • #13
                          ขอขุดขึ้นมานะครับ อยากให้คนเข้ามาอ่าน

                          Comment


                          • #14
                            ขอบคุณdeepshard ที่มาแบ่งปันข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

                            Comment


                            • #15
                              Originally posted by ยองยองซอย View Post
                              ของผม QNAP ทำได้นะครับถ้าเรารู้ WAN
                              ของผม Remote เข้าไปดูที่หน้า Config ของ Router ASUS ที่บ้านเพื่อดู WAN (WAN มันเปลี่ยนทุกครั้งที่รี Router)
                              ล่ะก็เข้าที่ address พิมพ์ WAN\XXXXX
                              XXXXX = port ของ NAS ที่เรา Fix ไว้
                              ปล.ต้องทำ Foward Port ที่ Router ไปหา Port ของ NAS ที่เราล๊อคไว้ ไม่งั้นมีโอกาสหาไม่เจอ

                              ถ้า Forward port แสดงว่าเป็น Public IP ครับ Private IP ใช้ไม่ได้ ซึ่งปัจจุบัน Internet หลายเจ้าไม่ได้เป็น Public IP แล้ว

                              Comment

                              Working...
                              X