Announcement

Collapse
No announcement yet.

จะไปค่ายแล้ว

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • จะไปค่ายแล้ว

    อับแล้ว ข้างล่าง
    Last edited by คนท้า(ทาย)ฟ้าลิขิต; 5 Mar 2009, 21:20:27.

  • #2
    ดัน

    Comment


    • #3
      ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

      CPU (Central Processing Unit)
      หน่วยประมวลผลกลาง CPU เป็นอุปกรณ์ที่ อยู่ภายในเครื่อง แต่ภายใน CPU มีหน่วยประมวลผลมากมาย และทำหน้าที่ประมวลผลทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ดังนั้น CPU จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์มากที่สุด

      *Tip หลายคนเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า CPU เพราะว่า CPU เปรียบเหมือนหัวใจ
      หลักของคอมพิวเตอร์

      รายละเอียดของ CPU
      Front Side Bus ( FBS ) = ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของ CPU ในแต่ละครับ
      เช่น 1 MHz ( 1เมกะเฮิร์ต ) หรือ 1 ล้านครั้งต่อวินาที

      Multiple = ตัวคูณ เป็นเทคนิกที่ทางบริษัทผู้ผลิดนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

      Core Speed = ความเร็วที่สามารถประมวลผลได้ ในปัจจุบันมีหน่วยเป็น GHz
      ( พันล้านครั้งต่อวินาที ) โดย Core Speed = Front Side Bus x Multiple

      Cache ของ CPU
      เนื่องจาก CPU ต้องประมวลผลข้อมูลมากมาย และ ซ้ำๆกันหลายๆครับ ดังนั้นต้องมีที่พักข้อมูลที่ CPU สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาได้อย่างรวดเร็วนั่นคือความจำ Cache นั่นเอง ซึ่งทำให้ไม่ต้องดึงข้อมูลจาก แรม ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
      Cache มี 2-3 ระดับแล้วแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
      L1 Cache เป็น Cache อันดับแรก มีความเร็วมากที่สุด แต่มีความจำน้อย
      เพียง 4-16 Kb เท่านั้น

      L2 Cache เป็น Cache อันดับ2 มีความเร็วรองลงมา แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ถึง 2-12 Mb สามารถพักข้อมูลใหญ่ๆ ได้
      L3 Cache เป็น Cache พิเศษที่มีอยู่บน Mainboard หรือ CPU รุ่นใหม่ๆเท่านั้น โดยมักจะเป็นที่เก็บข้อมูลนาดใหญ่มาก ทำหน้าที่พักข้อมูลใหญ่








      CPU แบบ Multi-core
      เมื่อ CPU ไม่สามารถเพิ่ม ความเร็วได้ เนื่องจากทางบริษัทผู้ผลิตไม่สามารถ เพิ่ม FBS ไม่ได้มากกว่านี้ จึงมี CPU แบบ Multi-core ขึ้นมา
      CPU แบบ Multi-core คือ CPU ที่มีหลายแกน โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพ
      ของ CPU ได้มากเป็นหลายเท่าเลยทีเดียว
      CPU Multicore แบ่งออกเป็น

      Dual-core = คือการผลิต CPU แกนคู่ โดยมองเห็น CPU จากภายนอกเหมือนชิ้นเดียว แต่ภายในมี 2 แกน และ มี Cache ที่ใช้ร่วมกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ ได้ไม่มาก
      Core 2 Duo = การผลิต CPU โดย เป็นแบบ 2 แกน แยกอย่างอิสระ มี Cache เป็น 2 เท่า ทำให้ CPU ชนิดนี้มีประสิทธิภาพเป็น 2 เท่าจาก CPU
      แบบ Solo – Core
      Quad – core = การผลิต CPU แบบที่มี 4 แกน แยกกันโดนอิสระ มี Cache เป็น 4 เท่า เป็น CPU ระดับสูง

      I-7 = ซีพียูชนิดที่ มี 4 แกน แต่ภายใน 4 แกนนั้น แบ่งการทำงานเสมือนเพิ่มขึ้นอีกแกน ทำให้ CPU ชนิดนี้มีถึง 8 แกนที่เดียว ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

      ความร้อนของ CPU
      CPU เป็นอุปกรณ์ทำงานเร็วมาก เป็น พันล้านครั้งต่อวินาที จึงมีความร้อนขณะทำงานสูงมาก จึงต้องมีอุปกรณ์ระบายความร้อนแบบพิเศษสำหรับ CPU โดยเฉพาะขึ้นมา โดยอุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่า Heat Sink
      Heat Sink เป็น อุปกรณ์ระบายความร้อนโดยมีส่วนที่ติด CPU โดยตรงทำให้ความร้อนจาก CPU สามารถระบายไปที่ CPU ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
      Heat Sink เป็นอุปกรณ์ที่มีครับจำนวนมาก ที่บาง และ ถี่ โดยวัสดุหลัก ๆ ที่นิยมทำ Heat Sink มี 2 ชนิดหลักๆ
      ทองแดง = เป็นโลหะที่สามารถนำความร้อนได้ดี
      อลูมิเนียม = เป็นโลหะที่สามารถระบายความร้อนได้ดี

      ตัวอย่าง Heatsink




      Main Board
      Main Board เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยตัวหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพของ
      Main boardคือ Chipset โดยจะเป็นเหมือนสะพาน(Bridge) ที่จะให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์สามารถ เชื่อมต่อ กันได้
      Chipset มีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
      - North Bridge เป็น ชิปเชื่อมสำหรับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูง
      เช่น CPU RAM และ APG
      - South Bridge เป็นชิปที่เชื่อมอุปกรณ์ความเร็วต่ำ เช่น Floppy
      PCIex Pci อื่นๆ
      ส่วนประกอบของ Main Board
      Socket = ที่ใส่ CPU แบบต่าง ๆ
      CPU ของ INTEL
      Socket 1366 (PGA1366) ใช้กับ CPU I7
      Socket T (LAG775) ใช้กับ CPU รุ่น Duo-core Core 2 duo
      Quad-Core
      Socket 478 ใช้กับ CPU รุ่นเก่า ๆ

      Socket 478 Socket T Socket 1366





      Memory Socket = ที่ใส่ RAM แบบต่าง ๆ
      DIMM 168 สามารถใส่ SD Ram
      DIMM 184 สามารถใส่ DDR SARAM (DDR1)
      DIMM 240 สามารถใส่ DDR2 SARAM (DDR2) มีรอยที่ 2.42 นิ้ว
      DIMM 240 สามารถใส่ DDR3 SARAM (DDR3) มีรอยที่ 2.16 นิ้ว

      PCI = Slot ที่ใส่อุปกรณ์ความเร็วต่ำ ๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดทีวี ฯลฯ มีความเร็ว
      133 MB/s
      APG = ช่องสำหรับใส่ การ์ดจอรุ่นเก่า ๆ มีความเร็วสูงสุด 2 GB/s
      PCI Express = มีความเร็ว สูงสุด 8GB/s สำหรับใส่การ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ
      PCI x1 = สำหรับใส่อุปกรณ์ความเร็วต่ำ อีกตัว มีความเร็ว 500MB/s










      IDE = ( Intergrated Drive Electronic ) เชื่อมต่อผ่านสายแพ (Ribbon cable)
      มีความเร็ว 33/66/100/133 MB/s ตามลำดับ ใช้กับอุปกรณ์ความเร็วต่ำ คือ CD Dirve กับ Harddisk

      สายแพ (Ribbon cable)

      SATA = ( Serial ATA ) การเชื่อต่อแบบใหม่ ใช้รับสัญญาน Cd Rom และ
      Harddisk เหมือนกับ IDE แต่เร็วกว่า มีความเร็ว 1.5 GB/s ถึง 3.0 GB/s







      CHIP BIOS
      BIOS = ( Basic Input Output System ) เป็น Chip ที่ทำให้ OS สามารถ ทำงานกับ Hardware ได้

      RAM
      RAM ( Random Access Memory ) เป็นอุปกรณ์ที่เขียนข้อมูลแบบสุ่ม
      โดยเป็นที่พักข้อมูล เมื่อ Cache เต็มแล้ว
      เนื่องจากไม่มีการจัดระบบข้อมูลที่จะเขียนลง RAM ทำให้ RAM สามารถ อ่าน และ เขียนได้อย่างรวดเร็วมาก
      ประเภทของ RAM
      SD RAM มี 168 ขา ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว เพราะ RAM ชนิดนี้ สามารถ
      ส่งข้อมูลแบบขนานได้เท่านั้น จึงสามารถส่งข้อมูลได้หนึ่งครั้ง ต่อ การทำงาน 1 ครั้ง

      DDR SDRAM ( Double Data Rate SD Ram ) เป็นแรมที่สามารถรับส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ กัน ต่อการส่งข้อมูล 1 ครั้ง ดังยั้น DDR SDRAM จึงสามารถทำงานได้เร็วเป็น 2 เท่าของ SD RAM มีความถี่ 200 , 266 , 333 , 400 ใช้พลังงาน 2.5 V.

      DDR2 SDRAM ( Double Data Rate 2 SD Ram ) พัฒนามาจาก DDR SDRAM
      ให้มีความถี่ สูงขึ้น และ ให้มีการใช้พลังงานน้อยลง โดยมีความถี่
      400 , 533 , 477 , 800 , 1066 , 1100 ใช้พลังงาน 1.8 V.

      DDR3 SDRAM ( Double Data Rate 3 SD Ram ) พัฒนามาจาก DDR2 SDRAM
      ให้มีความถี่ สูงขึ้น และ ให้มีการใช้พลังงานน้อยลง โดยมีความถี่
      800 , 1066 , 1333 , 1600 ใช้พลังงาน 1.5 V.


      Dual Channel
      Dual Channel คือ การใช้ RAM รุ่นเดียวกัน ขนาดเดียวกัน และ ความ ถี่เดียวกัน
      ใช้คู่กัน เพื่อให้ มีการรับส่งข้อมูลเพิ่มเป็น 2 เท่า

      Timing
      Timing คือ ค่าหน่วงเวลาที่ RAM สามารถจะมาจะเริ่มทำใหม่ได้อีกครั้ง
      เนื่องจาก RAM ต้องทำงานหลายครั้ง และ เร็ว ดังนั้น Timing คือ เวลาที่ RAM สามารถทำงานได้ใหม่อีกครั้ง


      ค่า Timing ของหน่วยความจำ ประกอบไปด้วยค่าพารามิเตอร์มากกว่า 11 ค่า โดยแต่ละค่ามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
      • CAS Latency Time (tCL) : ค่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงเซลล์หน่วยความจำในตำแหน่ง Column จนได้ข้อมูลออกมา
      • DRAM RAS to CAS Delay (tRCD) : ค่าเวลาที่ใช้ระหว่างการเข้าถึงตำแหน่งข้อมูลใน Row จนได้ค่าตำแหน่งข้อมูลใน Column ของ Matrix เซลล์หน่วยความจำที่เก็บข้อมูล
      • DRAM RAS# Precharge (tRP) : ค่าเวลาที่ใช้ในการ Precharge ให้กับวงจรของหน่วยความจำเพื่อให้ Memory Controller เลือกใช้งาน Row ของหน่วยความจำใหม่อีกครั้ง
      • Precharge delay (tRAS) : ค่าเวลาที่ใช้ในการ Precharge
      • Bank Cycle Time (tRC) : ค่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงหน่วยความจำในแต่ละ Bank
      • Refresh Cycle Time (tRFC) : ค่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงหน่วยความจำในแต่ละครั้ง
      • RAS to RAS Delay (tRRD) : ค่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงตำแหน่ง Row ใหม่อีกครั้ง
      • Write to Precharge Delay (tWR) : ค่าเวลาที่ใช้ในการ Precharge ให้กับวงจรหน่วยความจำเพื่อเขียนข้อมูล
      • Rank Wirte to Read (tWTR) : ค่าเวลาที่ใช้ในช่วงของการอ่าน-เขียนข้อมูล
      • Read CAS# Precharge (tWTR) : ค่าเวลาในการ Precharge ให้กับวงจรหน่วยความจำเพื่ออ่านค่าตำแหน่ง column
      • Command Rate (1T/2T) : ค่าเวลาในการเลือกใช้โมดูลหน่วยความจำและชิปหน่วยความจำที่ต้องการ



      ค่า Timing ที่แสดงบน RAM คือ 3-2-2-8


      รายละเอียดของ RAM มองผ่าน คอมพิวเตอร์
      การ์ดจอ
      การ์ดจอ ( Display Card ) หรือ การ์ดแสดงผล ทำหน้าที่ แสดงผลภาพต่าง ๆ หลังการประมวลผล การ์ดจอมีผลต่อการแสดงผล ภาพจะมีคุณภาพเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการ์ดจอเป็นส่วนใหญ่ ๆ

      ส่วนประกอบของการ์ดจอ
      GPU ( Graphic Processing Unit ) หน่วยประมวลผลภาพ
      GDDR หรือ แรมที่กราฟิก ทำหน้าที่พักข้อมูลสำหรับภาพที่ประมวลผลแล้ว
      ส่วนประกอบทั้ง 2 อย่างนี้ นอกจะทำให้กราฟิกการ์ดมีประสิทธิภาพที่สูงแล้ว ยังสามารถ แบ่งเบาภาระของ CPU และ RAM ด้วย

      รูปแบบของกราฟิกการ์ด
      AGP ( Accelerated Graphic Port )
      โดย
      AGP x1 มีความถี่ 66 MHz สามารถรับส่งข้อมูลได้ 266 Mb/s
      AGP x2 มีความถี่ 133 MHz สามารถรับส่งข้อมูลได้ 533 Mb/s
      AGP x4 มีความถี่ 266 MHz สามารถรับส่งข้อมูลได้ 1064 Mb/s
      AGP x8 มีความถี่ 533 MHz สามารถรับส่งข้อมูลได้ 2133 Mb/s


      PCI Express ( Peripheral Component Interconnect Express ) มีความเร็วในการ รับส่งสูงสุด 16 GB/S


      PCIEX ความเร็ว16x สำหรับการ์ดจอเท่านั้นครับ
      PCIEX ความเร็ว1x เอาไว้ใช้กับพวกการ์ดแลน และการ์ดเสียง
      PCIEX ความเร็ว4x ใช้กับฟิสิกส์การ์ดของ AGEIA

      Port เชื่อมต่อ
      เชื่อมต่อสัญญาณไปยังจอภาพ เพื่อ แสดงผล
      - Analog มี 15 ขา แปลงสัญญาณ ดิจิตอล เป็น Analog
      - Digital ไม่สูญเสียความชัดของภาพเพราะไม่ต้องแปลงสัญญาณ

      สีขาว - Digital
      สีน้ำเงิน - Analog

      รู้จัก VGA แบบ Onboard
      VGA แบบ Onboard คือ ชิปการฟิกที่ติดตั้งมาบน Chipset เลย มันเจอในบอร์ด ราคาประหยัด เพราะไม่ต้องซื้อการ์ดจอเพิ่ม การ์ดจอชนิดนี้จะดึงแรมของระบบมาใช้ งานด้วย

      Multi GPU
      เมื่อกลุ่มผู้ใช้ระดับสูงต้องการประสิทธิภาพของการฟิกในการประมวลผลมาก ยิ่งขึ้น และ กราฟิกการ์ดตัวเดียวไม่สามารถมีประสิทธิภาพสูงได้เท่าที่ควร จึงต้องมีการ ทำงานร่วมกันของกราฟิกการ์ด มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป เพื่อช่วยกันประมวลผลทำให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาก

      ประเภทของ Multi GPU
      - SLI ( Scalable Link Interface ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับ การ์ดจอของ ค่าย nVIDIA ต้องใช้การฟฟิกการ์ดรุ่นเดียวกันประมวลผลเท่านั้น มีการประมวล
      ผล 2 แบบคือ
      - SFR ( Split Frame Rendering ) ประมวลผลโดย แบ่งเป็นครึ่งจอ ประมวลผลการ์ดละครึ่งจอ



      - AFR (Alternate Frame Rendering) ประมวลผลโดยแบ่งเป็น ภาพแรก การ์ดตัวที่ 1 ภาพที่ 2 การ์ดตัวที่ 2 สลับไปเรื่อย ๆ


      - Crossfire เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับ การ์ดจอของค่าย ATi ต้องใช้
      การฟิกการ์ดรุ่นที่รองรับกันได้ มีการประมวลผล 3 แบบคือ
      - Scissor โหมดนี้เป็นการแบ่งครึ่งหน้าจอ แต่แตกต่างกับ SFR
      ตรงที่ มีระบบไดนามิคที่จะจัดสรรพื้นที่สำหรับตัวการ์ดให้การ์ดจอตัวที่เร็วกว่า
      ให้สมดุลกับการ์ดจดตัวที่ช้ากว่า



      - SuperTiling ในโหมดนี้จะแบ่งภาพเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วให้ ระบบไดนามิคมาจัดการให้การ์ดที่มีความเร็วสูงกว่าทำงานประมวลผลสี่เหลี่ยม เหล่านี้เยอะกว่า

      - AFR (Alternate Frame Rendering) ประมวลผลโดยแบ่งเป็น ภาพแรก การ์ดตัวที่ 1 ภาพที่ 2 การ์ดตัวที่ 2 สลับไปเรื่อย ๆ




      HARDDISK
      คอมพิวเตอร์มีส่วนที่สำคัญคือ ส่วนประมวลผล ส่วนรับข้อมูล และก็ส่วนแสดงผล แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาประมวลผลก็ต้องมีข้อมูล ซึ่งข้อมูลนั้นจะต้องถูกนำมาจากที่แห่งหนึ่งนั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า Storage ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคแรกจะเป็นกระดาษที่เป็นรู ซึ่งใช้งานยาก จากนั้นได้พัฒนามาใช้ แผ่นพลาสติกที่เครื่องด้วยสารแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diskette ต่อมาเมื่อข้อมูลมากขึ้นจำนวนการเก็บข้อมูลก็มากขั้นทำให้การเก็บข้อมูลลงบนแผ่น Diskette นั้นไม่เพียงพอ ต่อมาก็ทำการพัฒนามาเป็น Hard Disk ในปัจจุบัน
      ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle


      ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่ม

      Seek Time
      เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential)

      Cylinder Switch Time

      เวลาในการสลับ Cylinder สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียนจะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือ Cylinder ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง Cylinder จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจาก Cylinder หนึ่งไปยัง Cylinder อื่น ๆ เวลาในการสลับ Cylinder จะวัดด้วยหน่วย ms

      Head Switch Time

      เป็นเวลาสลับการทำงานของหัวอ่านเขียน แขนยึด หัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ที่อยู่ในแนวตรงกัน หัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลาในการสลับกันทำงานของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดเป็นหน่วย ms

      Rotational Latency

      เป็นช่วงเวลาที่คอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในการหมุนภายใน Hard Disk เกิดขึ้นเมื่อหัวอ่านเขียนวางตำแหน่งอยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสม ระบบการทำงานของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัดเป็นหน่วย ms แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที)

      การควบคุม Hard Disk

      Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

      IDE (Integrated Drive Electronics)

      ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายข้อมูลต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ใน
      แผงตัวควบคุม

      รูปแสดง Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard


      SCSI (Small Computer System Interface)

      เป็น Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว

      รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI
      Serial ATA (Advanced Technology Attachment)

      เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น วันนี้บริษัท Intel Seagate และบริษัทอื่นๆ คอยช่วยกันพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่
      Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA
      Serial ATA II ของทาง Seagate คาดว่าจะออกวางตลาดภายในปี 2546 และจะทำงานได้กับ Serial ATA 1.0 ทั้งทางด้าน products และ maintain software



      รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA

      การบำรุงรักษา
      การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป


      ข้อมูลจาก www.dcomputer.com






      Optical Drive

      ออฟติคอลไดรฟ์ (Optical Drive) อุปกรณ์ประเภท I/O (Input/Output Device) ส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากระบบ ผ่านกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ ปัจจุบันสื่อและอุปกรณ์ที่เป็นออฟติคอลไดรฟทั้งหลายมีการแตกแขนงออกไปเรื่อยๆโดยเฉพาะดีวีดี จนอาจทำให้บางท่านสับสนต่อการใช้งานก็เป็นได้ โดยการแตกแขนงออกไปนั้นเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีของไดรฟ์แต่ละตัวรวมถึงกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ที่กำลังจะพลัดใบไปสู่สำแสงสีฟ้า (Blu-Ray) เร็วนี้ หากถามว่าเพื่ออะไร คำตอบก็คือการใช้เทคโนโลยีสำแสงสีฟ้าจำทำให้สามารถขยายขนาดความจุบนแผ่นดิสก์ได้มากขึ้น จากเดินการจัดเก็บในรูปดีวีดีสูงสุด 4.7GB และ 8.5GB เท่านั้นแต่เมื่อปรับการใช้แสงเป็นสีฟ้า ด้วยขนาดการยิงที่สั้นลงทำให้ความละเอียดในการเขียนข้อมูลบนพิท(Pit) ทำได้มากขึ้น ซึ่งนั้นมันก็เป็นเรื่องของอนาคตที่น่าติดตามกันต่อไป ...
      สำหรับเครือข่ายของออฟติคอลไดรฟ์ที่เห็นๆและมีขายกันในปัจจุบันอันประกอบด้วย ไดรฟ์ CD-ROM, DVD-ROM, COMBO, CD ReWriter และ DVD ReWriter ซึ่งทั้งหมดต่างก็มีหน้าที่การทำงานที่สัมพันธ์กัน และไต่เต้าความสามารถขึ้นไปเรื่อย รวมถึงปัจจุบันได้ก่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆมาอำนวยความสะดวกให้การใช้งานมากขึ้นด้วย ทำให้การเลือกซื้อต่อไปอาจจะดูเพียงสเป็กอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว เพราะประสิทธิภาพที่ได้เกิดจากการสั่งสมดั่งเดิมและเทคโนโลยีเสริมใหม่ๆ จนอาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการของไดรฟ์ได้ถล่ำไปอีกขั้นแล้ว
      CD-ROM
      อุปกรณ์อ่านข้อมูลชนิดซีดี ที่ถูกบรรจุให้อยู่คู่คอมพิวเตอร์มาอย่างนมนาน จวบจนปัจจุบันพัฒนาการทางด้านความเร็วของอุปกรณ์ประเภทนี้ทะยานเข้าสู่เลขหลัก 60X แต่กลับกลายเป็นว่าปัจจุบันพิมพ์นิยมคือความเร็ว 52X ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหาซื้อได้ง่ายและรองรับต่อการอ่านแผ่นได้ดีด้วย สำหรับการใช้งาน CD-ROM จะเป็นมาตรฐานอยู่บนคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ามีการดัดแปลงเอาจุดเด่นของไดรฟ์ตัวนี้ไปใส่กับเครื่องเสียงบนรถยนต์หรือตามบ้าน นับเป็นแนวคิดที่ดี และประหยัดไปอีกทาง
      ปัจจุบัน CD-ROM จะรองรับแผ่นขนาด 12 เซนติเมตร แล้วยังรองรับแผ่นที่มีขนาดมินิหรือปรับเป็นการ์ดคล้ายบัตรเติมเงินที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดิสก์ 8 เซนติเมตร ทำให้การพกพาสะดวกมากขึ้น แม้ปริมาณความจุจะให้ค่าตามขนาดรูปทรงดิสก์ก็ตาม

      AOpen CD956E
      CD ReWriter
      อุปกรณ์เพื่อการอ่านและเขียนแผ่นประเภทซีดี ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไดรฟ์ประเภทซีดีสามารถเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดีได้ ปัจจุบันความเร็ว 52X 32X 52X คือความเร็วสูงสุด และทำตลาดได้ดีที่สุดของไดรฟ์ประเภทนี้ ซึ่งคงไม่มีการพัฒนาความเร็วไปมากกว่านี้ เพราะการพัฒนานั้นจะไปเน้นดีวีดีซะมากกว่า สำหรับตัวเลข 3 ตัวที่ได้เอ่ยไป มือใหม่หัดใช้อาจงง ดังนั้นเฉลยก็แล้วกัน ซึ่งตัวเลข 3 ตัวเป็นการบอกความเร็วในการทำงาน โดยที่ค่า X แทนหน่วยที่ใช้วัดเป็น 150 กิโลไบต์ต่อวินาที ฉะนั้นหากความเร็วของเราเป็น 52X หมายความว่าไดรฟ์ของเรามีความเร็วในการทำงาน 52 * 150 = 7800 กิโลไบต์ต่อวินาที ส่วนตัวเลขที่มีให้ถึง 3 ตัว (52X 32X 52X) บ่งบอกอะไรไว้บ้างนั้นเราก็มีเฉลยอีก โดย 52X (ความเร็วในการเขียน CD-R) 32X(ความเร็วในการเขียน CD-RW) 52X(ความเร็วในการอ่าน CD-ROM) โดยที่รองรับขนาดแผ่นดิสก์ที่ 8 และ 12 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน
      และสิ่งที่เข้ามาอีกอย่างหนึ่งของไดรฟ์ประเภทนี้ ที่นับว่าสำคัญต่อการบันทึกมากนั้นก็คือขนาดของบัฟเฟอร์สำหรับพักข้อมูลก่อนบันทึกลงแผ่น โดยปัจจุบันอยู่ที่ 2MB และ 8MB เจ้าสิ่งนี้ จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีบัฟเฟอร์ที่เรียกว่า Buffer Underrun เพื่อป้องกันการผิดพลาดขณะเขียนแผ่น ซึ่งแต่ละผู้ผลิตอาจเรียกจุดนี้ต่างกันไป แม้กระบวนการทำงานอาจต่างกัน ทว่าผลลัพธ์ที่ได้ก็เหมือนกัน

      TDK AI-CDRW523252D
      Combo Drive
      อุปกรณ์ที่รวมการทำงานของไดรฟ์ CD ReWriter (อ่าน/เขียน) และ DVD-ROM(อ่านอย่างเดียว) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจุดสังเกตความเป็น Combo Drive จะมีสัญลักษณ์ CD-RW และ DVD-ROM คู่กัน (แต่ถ้าเป็น OEM งานนี้ก็ดูหนักหน่อยนะครับ) ซึ่งการผสานสองอย่างไว้ในไดรฟ์เพียงตัวเดียว แน่นอนประหยัดงบประมาณลงไปได้มาก แต่ความสมบูรณ์ของไดรฟ์เฉกเช่นต้นขั้วของมันโดยแท้อาจไม่เต็มหน่วยมากนัก สำหรับ Combo Drive จะว่าไปแล้วนอกจากการรวม CD ReWriter และ DVD-ROM เข้าไว้ด้วยกันแล้วยังถือเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์สำหรับอ่านการ์ดหน่วยความจำ (Card Reader) เพราะได้กำไรหลายต่อ กลับกลายป็นว่าสร้างจุดขายให้กับอุปกรณ์แนวนี้กันเป็นขบวน ฉะนั้นเราจึงได้ตัวเลขเพิ่มจาก CD ReWriter มาอีกหนึ่งตัวติดทางด้านท้าย เช่น 52X 32X 52X 16X ตัว 16X นี้และคือความเร็วการอ่านแผ่น DVD-ROM หากถามว่าค่า X ของดีวีดีต่างจากซีดีมากไหมตอบได้เลยว่าเกือบ 9 เท่าตัว (CD 1X = 150 กิโลไบต์ต่อนาที, DVD 1X = 1,350 กิโลไบต์ต่อนาที) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วความถี่ในการอ่านดีวีดีเหนือกว่าเยอะครับ

      Apacer DISC STENO CP200
      DVD-ROM
      อุปกรณ์อ่านข้อมูลที่รองรับการอ่านได้ทั้งแผ่นซีดีและดีวีดี ซึ่งมาตรฐานความเร็วมาหยุดอยู่ที่ 16X จนกระทั้งปัจจุบัน ซึ่งที่ขนาดความเร็วในระดับ 1X ของดีวีดีนั้นจะให้ความเร็วที่เหนือกว่า การทำงานของไดรฟ์ CD-ROM ถึง 9 เท่า และด้วยราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง จวบจนทุกวันนี้เงินเพียงหนึ่งพันบาทกว่าๆเท่านั้นก็มีสิทธิที่จะเลือกซื้อไดรฟ์ประเภทนี้ได้แล้ว ฉะนั้นการเลือกซื้อแนะนำให้เลือกที่ระดับ 16X สำหรับไดรฟ์ประเภทนี้มักรองรับการอ่านดิสก์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 และ 12 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับไดรฟ์ CD-ROM ส่วนเรื่องโซนที่ถูกจำกัด ก็ตัดปัญหาออกไปได้บ้างเมื่อมีโปรแกรมปลดล็อกโซนช่วยให้การจำกัดการใช้งานเหล่านั้นหมดไปได้บ้าง

      Asus DVD-E616P2
      DVD ReWriter
      อุปกรณ์ที่เรียกได้ว่าคือสุดยอดไดรฟ์เพื่อการอ่านและเขียนแผ่นในขณะนี้เพราะรองรับได้ทั้งซีดีและดีวีดี บนมาตรฐานการบันทึกความจุ 4.7GB (Single Layer) และ 8.5GB (Double Layer) แต่มาตรฐานความจุยังมีมากกว่านี้ ซึ่งก็ได้แก่ DVD 10, DVD 18 ทว่าการใช้งานกับไดรฟ์ประเภทนี้คงเป็นเพียงการอ่านเท่านั้น ซึ่งการบันทึกสื่อประเภทนี้ด้วยไดรฟ์ DVD ReWriter ยังไม่สามารถทำได้
      นอกจากนี้คุณสมบัติในการใช้งานร่วมกับแผ่นดิสก์โดยเฉพาะดีวีดียังคล้ายกันไปซะหมด โดยไม่มีการแบ่งแยกแล้ว ระหว่างความเป็นไดรฟ์ประเภทบวกหรือลบอย่างแต่ก่อน เพราะในไดรฟ์ 1 ตัว สามารถที่จะรองรับได้ทั้ง 2 รูปแบบ (Dual Format) ทว่าสิ่งที่จะเอามาแข่งขันน่าจะเป็นคุณสมบัติทางด้านความเร็วในการบันทึก รวมถึงการรองรับสื่อที่เป็น DVD Double Layer และ DVD - Ram ซะมากกว่า


      รูปแบบของแผ่นดีวีดี

      DVD-R เป็นแผ่นที่สามารถทำการบันทึกได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถทำการบันทึกซ้ำได้อีก
      -DVD-RW คล้ายกับแผ่น DVD-R ที่สามารถทำการบันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียว แต่ต่างกันที่สามารถเขียนได้หลายครั้ง หรือลบแล้วเขียนใหม่ได้แต่ต้องทำกับข้อมูลทั้งแผ่น

      DVD+R เป็นแผ่นที่เมื่อเขียนแผ่นไปแล้วสามารถนำแผ่นกลับมาเขียนต่อได้อีก แต่ไม่สามารถลบได้

      DVD+RW คล้ายกับแผ่น DVD+R ต่างกันตรงที่สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง

      DVD-RAM สามารถเขียนและลบได้หลายครั้ง คล้ายกับแผ่น CD-RW และสามารถที่จะนำข้อมูลไปเขียนไว้ในส่วนใดก็ได้ของแผ่น คล้ายกับฮาร์ดดิสก์ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนหรือลบทั้งแผ่น

      * หมายเหตุ : สำหรับขนาดความจุในส่วนของ 4.7GB (Single Layer) นั้นมีทุกรูปแบบ แต่ 8.5GB (Double Layer) นั้นยังมีให้เห็นเพียง DVD+R เท่านั้น ส่วน DVD-R และ DVD+RW นั้นกำลังจะตามมา

      Pioneer DVR-A09 BenQ DW1625
      เทคโนโลยีแนวใหม่
      สำหรับออฟติคอลไดรฟ์ในปัจจุบัน ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆที่เอื้อต่อการใช้งานให้มีความสะดวกขึ้น รวมถึงเทคนิคบางอย่างที่มีเฉพาะไดรฟ์บางยี่ห้อเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่ก็ไม่แน่ที่ผู้ผลิตไดรฟ์ค่ายอื่นๆจะลอดลายมังกรทำบ้าง ไม่ว่าจะเป็น
      - เทคโนโลยี Giga Rec. จาก Plextor กับการเขียนแผ่นเกินขนาดความจุจากแผ่น 700MB ไปสู่ 1GB หน้าตาเฉย
      - เทคโนโลยีการทำ Book Type จาก BenQ ที่ช่วยให้แผ่นดิสก์ที่เคยใช้งานไม่ได้กับเครื่องเล่นทั่วๆ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
      - และเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ กับเทคนิคการทำ LightScribe ที่ช่วยสร้างปกฝากฝังไว้บนแผ่นดิสก์โดยไม่ผ่านเครื่องพิมพ์ อาศับก็เพียงแต่ ไดรฟ์ + แผ่นดิสก์ + โปรแกรม ในการทำเท่านั้น

      LightScribe Technology
      จากสิ่งที่กล่าวมาคือบางส่วนของเทคโนโลยีออฟติคอลที่ควรรู้ และน่าที่จะแยกประเภทให้ถูกว่าไดรฟ์แต่ละประเภทมีดีอย่างไร จำเป็นมากน้อยเพียงไรในการใช้งานไดรฟ์เหล่านั้น ทว่าหากมองย้อนเข้าไปในเรื่องของการเลือกซื้อไดรฟ์เพื่อมาใช้งานจริงๆ เราควรมองสิ่งอื่นประกอบด้วย อันได้แก่
      อินเทอร์เฟซ
      ในส่วนของอินเทอร์เฟซ สามารถแบ่งแยกรูปแบบการติดตั้งและดัชนีราคาได้เป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหากเป็นอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานภายในเครื่องหรือ Internal นั้น มักมีอินเทอร์เฟซเป็นแบบ E-IDE รองรับการเชื่อมต่อตามมาตรฐาน ATAPI โดยส่วนใหญ่มักมีการลำเลียงข้อมูลผ่านสายสัญญาณแบบ ATA 100 ที่แม้จะรองรับการเชื่อมต่อในแบบ ATA 100 แต่ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลก็ไม่เกิน DMA 2 หรือ 33 เมกะไบต์ต่อวินาที และหากเป็นอุปกรณ์แบบติดตั้งใช้งานภายนอกหรือ External มักจะมาในรูปแบบของ USB และ Firewire ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเครื่องพีซีและแม็คอินทอช แต่ต้องขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า หากเลือกที่จะใช้งานอุปกรณ์เขียนแผ่นแบบ External มักต้องเปลืองเงินขึ้นมาอีกเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับ Internal แต่ก็น่าคุ้มค่ากับประโยชน์ใช้สอยที่เอื้อต่อการใช้งานได้มากขึ้นตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเคลื่อนย้าย การติดตั้งรวมถึงฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

      E-IDE Interface USB Interface
      หน่วยความจำบัฟเฟอร์
      นับเป็นสิ่งสำคัญที่อุปกรณ์เพื่อการเขียนแผ่นโดยตรงขาดไม่ได้เลย นั้นก็คือหน่วยความจำบัฟเฟอร์หรือบริเวณอันเป็นที่พักข้อมูลที่ถูกฝากฝังไว้บนตัวไดรฟ์ ในปริมาณความจุที่ต่างกันออกไป ซึ่งปัจจุบันขนาดหน่วยความจำบัฟเฟอร์ของไดรฟ์เขียนที่ขึ้นด้วยเลข 8 นั้น มีเพียงผู้ผลิตไม่กี่รายให้ความสนใจกับขนาดบัฟเฟอร์ในระดับนี้ ทำให้มีพื้นที่สำหรับพักข้อมูลก่อนถูกลำเลียงตามสภาวะการใช้งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งความได้เปรียบที่ได้จากบัฟเฟอร์นี้อาจมองไม่เห็นประสิทธิภาพต่อการใช้งานด้วยพื้นที่ที่มีเหนือขนาดบัฟเฟอร์ 2 เมกะไบต์ ถึง 6 เมกะไบต์ และโดยส่วนใหญ่เช่นกันที่ไดรฟ์เพื่อการอ่านแผ่น เฉกเช่นไดรฟ์ CD-ROM และ DVD-ROM มักมีหน่วยความจำบัฟเฟอร์ในระดับที่ต่ำกว่าเนื่องจากอัตราการเรียกใช้หน่วยความจำบัฟเฟอรอันเกิดจากสภาวะการอ่านข้อมูลนั้นมีค่อนข้างน้อย จึงไม่ส่งผลมากน้องต่อการเรียกใช้งาน ส่งผลให้ไดรฟ์ประเภทนี้จึงมีหน่วยความจำในปริมาณที่น้อยตามไปด้วย และด้วยหน่วยความจำบัฟฟเฟอร์นี้เองได้สร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้นขณะเครื่องปฏิบัติการลำเลียงข้อมูล เพราะขณะทำการเขียนแผ่นอยู่นั้น เครื่องจะทำการดึงไฟล์ข้อมูลต้นแบบจากอุปกรณ์ Storage มายังตัวไดรฟ์เขียนข้อมูลก่อนทำการบันทึกลงแผ่น ซึ่งถ้าพื้นที่มากก็สามารถจัดเก็บข้อมูลไว้มากขึ้น ช่วยให้การถ่ายออกของข้อมูลเพื่อทำการบันทึกลงแผ่นมีความต่อเนื่องและราบรื่น นอกจากนี้แล้วหากมองลึกลงไปจะเห็นว่ามีเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากในเรื่องจัดการหน่วยความจำบัฟเฟอร์ ซึ่งได้สร้างความสมดุลให้บังเกิดขึ้นมาระหว่างการโอนถ่ายข้อมูล โดยเทคโนโลยีจัดการบัฟเฟอร์นี้ แม้มีชื่อเรียกและขั้นตอนในกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันกันออกไปบ้าง เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้งาน ซึ่งจุดนี้เองจึงทำให้มีผู้ใช้งานบางท่านเกิดการเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีตัวไหนดี และยึดติดเรื่อยมา แต่จุดประสงค์หลักสำหรับการเลือกใช้เทคโนโลยีของผู้ผลิตแต่ละค่ายนั้นกับตรงกัน คือเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการป้องกันหรือลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดขณะทำการเขียนแผ่น ช่วยให้แผ่นที่เขียนออกมาอยู่ในสภาพดี สมบูรณ์มากที่สุด ดังนั้นในการเลือกซื้อควรดูจุดนี้ให้ดีด้วยว่ามีการสนับสนุนบ้างไหม
      อัตราการเข้าถึงข้อมูล
      สำหรับอัตราการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) จุดบ่งบอกศักยภาพการทำงานของการเข้าถึงข้อมูลเมื่อเทียบกับเวลาที่สูญเสียไป ซึ่งเป็นที่สังเกตเช่นกันว่าหากใช้ระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่น้อย ย่อมส่งผลให้มีการเรียกใช้งานเป็นไปด้วยความว่องไวขึ้น อีกทั้งความต่างด้านเวลาเข้าถึงข้อมูลของไดรฟ์เขียนแผ่นรูปแบบซีดีและดีวีดี มักมีให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว การเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบซีดีมักทำได้ดีกว่าดีวีดีเสมอ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรเลือกที่ค่าเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลน้อยๆ เพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้งานยิ่งขึ้น
      ฟังก์ชันเสริม
      ปัจจุบันอุปกรณ์เขียนแผ่นได้เปิดรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ดิจิตอลมากยิ่งขึ้น เพราะฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมานี้ได้สร้างจุดสนใจมายังผู้ใช้งานได้ไม่น้อย เห็นได้ชัดจากการะแสการใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอล เช่น กล้องดิจิตอล พีดีเอ ปาล์ม และมือถือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีการเรียกใช้งานหน่วยความจำ ส่งผลให้มีการผลิตไดรฟ์เขียนข้อมูลที่มาพร้อมอุปกรณ์อ่านเขียนสื่อหน่วยความจำ (Memory Card Reader) ผนึกไว้บนตัวไดรฟ์ โดยผู้ผลิตแต่ละค่ายนั้น มักผลิตอุปกรณ์อ่านเขียนสื่อหน่วยความจำที่มีช่องสำหรับใส่การ์ดเหล่านั้นไม่เท่ากัน ซึ่งหากไดรฟ์ตัวใดสามารถรองรับการใช้งานกับสื่อได้มากกว่าถือว่าได้เปรียบ และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
      นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอย่าง CD ReWriter Combo Drive และ DVD ReWriter แบบ External บางตัวสามารถทำงานร่วมกับสื่ออีเล็คทรอนิกส์อื่นๆเช่นเครื่องเสียง โทรทัศน์ ได้อย่างน่าประทับใจ จึงเป็นจุดสนใจใช่เล่นเช่นกัน โดยความสามารถที่เอ่ยมานี้เปรียบได้กับ เครื่องเล่นซีดีหรือดีวีดีที่มีขายกันตามท้องตลาด

      อุปกรณ์ออฟติคอลไดรฟ์แต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีอยู่ในตัวทั้งสิ้น ดังนั้นการเลือกใช้งานอุปกรณ์แบบใดนั้น อันดับแรกที่ต้องดูคืองบประมาณที่จัดเตรียมมา และควรดูเหตุจำเป็นด้วยว่าเราต้องการใช้งานอุปกรณ์ตัวนั้นในระดับใด เพราะจุดนี้สามารถช่วยให้ท่านไม่สูญเสียเงินโดยใช่เหตุ หากได้เรื่องแล้วก็ให้ดูคุณสมบัติด้านต่างๆที่ตัวไดรฟ์นั้นทำได้ว่ามีมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เฟซ หน่วยความจำบัฟเฟอร์ เทคโนโลยี อัตราการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงฟังก์ชันเสริมที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งานครับ
      ที่มา http://technology.impaqmsn.com/article.asp?id=2198

      Comment


      • #4
        ใครจะอ่านบ้างเนี่ย

        Comment


        • #5
          งง หัวข้อกระทู้

          Comment


          • #6
            Originally posted by :[HARDMAN]: View Post
            งง หัวข้อกระทู้
            เอ่อ คือผมจะไปค่ายอาสา เลยทำสื่ออะครับ

            แล้วข้างบนก็คือสื่อ

            ให้มาดูก่อนเผื่อผิดอาราย

            Comment


            • #7
              ยาวมาก แต่เท่าที่สุ่มอ่านก็ใช้ได้แล้วนี่ครับ...

              Comment


              • #8
                Originally posted by Nihilus View Post
                ยาวมาก แต่เท่าที่สุ่มอ่านก็ใช้ได้แล้วนี่ครับ...

                Comment


                • #9
                  ย่อสักนิดก็ดีนะครับ แฮะๆ

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by Dej_SAVAGE View Post
                    ย่อสักนิดก็ดีนะครับ แฮะๆ
                    เยอะดีๆๆ

                    Comment


                    • #11
                      แล้วจะนำเสนอหมดหรอครับ เด๋วเค้าหลับกันก่อน

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by b0taN View Post
                        แล้วจะนำเสนอหมดหรอครับ เด๋วเค้าหลับกันก่อน
                        3 วัน และ ปริ้นใส่บอร์ดไปตั้งอ่าครับ

                        Comment


                        • #13
                          ก็ OK แต่ยาวไปนิสเวลาไปนำเสนอก็ย่อเอาแต่ใจความสำคัญละกาน พูดตลกๆด้วยละไม่งั้นคนฟังหลับ 55

                          Comment


                          • #14
                            55555555555

                            Comment


                            • #15
                              รู้สึกจาเอนเอียงไปทางอินเทลนะครับ

                              อิอิ

                              Comment

                              Working...
                              X