Announcement

Collapse
No announcement yet.

เจาะลึกเทคโนโลยีซีพียูอินเทล 32 นาโนเมตร - Intel 32 Nanometer Processor

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เจาะลึกเทคโนโลยีซีพียูอินเทล 32 นาโนเมตร - Intel 32 Nanometer Processor



    Introduction

    ก่อนที่จะเข้าเรื่องกันผมขอเท้าความกันก่อนครับ หลังจากปลายปี 2008 อินเทลได้ปล่อยซีพียูที่เรียกได้ว่าเป็นซีพียูที่แรงในโลกหรือ Core i7 Extreme Edition 965 มาให้สัมผัสถึงความแรงกันแล้วนั้น
    ก็ต้องยอมรับว่าของเค้าแรงจริงเพราะ Core i7 นั้นได้ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ที่ชื่อโค้ดเนม (Code name) ว่า Nehalem โดยการเปลี่ยนแปลงหลักที่ทำให้มีความแรงมากนั้นขึ้นก็คือ การนำเอาส่วน
    เมมโมรี่คอนโทลเลอร์จากเดิมที่เคยอยู่บนชิพเซ็ตนำมาใส่ไว้ในตัวของซีพียูเลย ทำให้ลดปัญหาคอขวดของการรับส่งข้อมูลระหว่างชิพเซ็ตและซีพียูลงได้อย่างมาก Core i7 นั้นยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิดที่ 45 นาโนเมตรอยู่ครับ
    และเมื่อเร็วๆ นี้อินเทลได้ออกข่าวมาว่าปลายปี 2009 นี้ จะมีซีพียู 32 นาโนเมตรออกมาได้สัมผัสกัน ซึ่งในวันนี้ i3 มีข้อมูลร้อนๆ ของซีพียูตัวใหม่ตัวนี้มีให้ได้ลิ้มรสกันก่อนที่ตัวจริงจะออกมาครับ

    อินเทล 32 นาโนเมตร “Westmere”




    แผนพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูของทางอินเทล เรียกว่า Tick – Tock ครับ (เสียงของนาฬิกา) ชื่อนี้อินเทลเป็นคนตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งทุกๆ Tock จะเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมใหม่
    ส่วนทุกๆ Tick จะเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้เล็กลงครับ โดยในปัจจุบันเราอยู่ที่ Tock ของสถาปัตยกรรม Nehalem 45 นาโนเมตร (Core i7) และตอนนี้อินเทลกำลังล้ำหน้าไปอีกขั้น
    ด้วยการก้าวสู่ช่วง Tick ที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กเพียง 32 นาโนเมตร!! ซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะมีชื่อโค้ดเนมว่า Westmere ครับ


    อินเทล Core i7 สถาปัตยกรรม Nehalem 45 นาโนเมตร กำลังจะถูกแทนที่ด้วยซีพียูตัวใหม่ 32 นาโนเมตร



    ถ้าจะให้เข้าใจได้ง่ายๆ Westmere ก็คือสถาปัตยกรรม Nehalem ที่มีลดขนาดเล็กลง และเพิ่มชุดค่ำสั่งใหม่เข้ามาคือ AES โดยชุดคำสั่งนี้จะทำให้ซีพียู 32 นาโนเมตรรุ่นใหม่นี้สามารถเข้ารหัสข้อมูลรักษาความปลอดภัย (encryption)
    ฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งลูก และด้วยการเข้ารหัสด้วย AES ในระดับของฮาร์ดแวร์จะทำให้การเข้ารหัสได้รวดเร็วมาก เร็วกว่า Nehalem ประมาณถึง 3 เท่า ซึ่งทางอินเทลได้กล่าวว่าผู้ใช้งานจะไม่มีความรู้สึกเลยว่าข้อมูลฮาร์ดดิสก์ถูกเข้ารหัสเเล้ว
    ชุดคำสั่งใหม่ AES นี้จะมีประโยชน์มากกับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยในด้านข้อมูลสูงสุดเพราะ ข้อมูลฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกจะถูกเข้ารหัสไว้ด้วย AES ซึ่งฮาร์ดดิสก์ลูกนี้ถ้าหากถูกขโมยไปจะไม่มีทางดูข้อมูลได้เลยทั้งลูก
    ซึ่งต่างจาก Nehalem ที่ยังต้องใช้การเข้ารหัสข้อมูลผ่านซอฟแวร์ซึ่งช้ากว่ามาก

    High K Generation 2



    ในสมัยที่อินเทลปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 65 นาโนเมตร มาสู่ 45 นาโนเมตร อินเทลได้ใช้วัสดุ High K เพื่อทำให้ชิพสามารถลดขนาดเล็กลงและลดการสูญเสียพลังงานลงได้อย่างมาก และมาถึงยุค 32 นาโนเมตรก็เช่นกัน
    แต่อินเทลได้พัฒนาวัสดุ High K ขึ้นอีกขั้นเป็น High K เวอร์ชั่น 2 ซึ่งสามารถลดขนาดของชิพให้เล็กลงได้อีกเหลือเพียง 32 นาโนเมตร และในอนาคตอินเทลได้เผยข้อมูลออกมาว่าเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร
    ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการทดลองแล้วด้วย ซึ่งชื่อของสถาปัตยกรรม 22 นาโนเมตร จะใช้ชื่อโค้ดเนมของชิพว่า Sandy Bridge

    ในที่สุด CPU และ GPU ก็รวมร่างเป็นหนึ่งเดียว




    Thanks






    Roadmap ของอินเทลจะทำการเปิดตัวซีพียู 32 นาโนเมตรในตลาดระดับกลาง (Mainstream) ในปลายปี 2009 ก่อน แล้วตามด้วยซีพียุระดับสุดยอด (High-End) ในต้นปี 2010 ครับ
    ซีพียูในตลาดระดับกลางจะใช้ชื่อโค้ดเน้มว่า Clarkdale โดยจะมีซีพียู 2 Core และใส่เทคโนโลยี Hyper Threading (HT) ลงไปด้วยทำให้เสมือนมี 4 Core โดยความพิเศษของมันคือจะมีชิพกราฟิกฝั่งอยู่ในตัวซีพียูเลย
    ซึ่งความเล็กของเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรเนี่ยแหละเป็นผลให้พื้นที่ของ Core ซีพียูเล็กลงมากพอที่จะมีพื้นที่เหลือสำหรับยัดชิพกราฟิกลงไปด้วยนั้นเอง หลายๆคนคงสงสัยว่าถึงเรื่องประสิทธิภาพของกราฟฟิกว่ามากน้อยขนาดไหน
    ซึ่งทีมงาน i3 ก็ได้สอบถามถึงเรื่องนี้ด้วย ซึ่งทางอินเทลให้คำตอบว่าด้านประสิทธิภาพนั้นยังไม่มีข้อมูลมากนัก แต่เท่าที่ทางอินเทลประเทศไทยได้ข้อมูลมาคือประสิทธิภาพจะเทียบเท่าประมาณ การ์ดฟิกการ์ดระดับกลาง – ล่างครับ
    ซึ่งชื่อเรียกของซีพียูรุ่นนี้อาจจะเป็น Intel Core i5

    ส่วนซีพียู 32 นาโนเมตรระดับบนจะชื่อโค้ดเน้มว่า Gulftown นั้นจะมีจำนวนแกนประมวลผลถึง 6 Core ซึ่งเมื่อรวมกับเทคโนโลยี HT จะเสมือนมีถึง 12 Core เลยทีเดียว ซึ่งด้านประสิทธิภาพทางอินเทลได้เคลมไว้ว่ามีความเร็วมากกว่า
    Core i7 Extreme Edition 965 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์




    ขอย้อนมาพูดเรื่องชิพกราฟิกในซีพียูอีกทีครับ ถ้าใครยังจำ Intel Larabee โปรเจ็คกราฟิกระดับ Hi End สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะจากอินเทลได้คงมีคำถามเช่นเดียวกับผมว่าชิพกราฟิกที่ อยู่ Clarkdale ใช้ Larabee หรือไม่?
    คำตอบจากทางอินเทลคือยังไม่ใช่ครับ ซึ่งแผนที่จะนำเอา Larabee มาใส่ไว้ในซีพียูนั้นมีแน่นอนครับ แต่กว่าจะเป็นจริงคงต้องรอถึงซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมการผลิต 22 นาโนเมตร ประมาณปี 2011 โน้นแหละครับ

    ต้องเปลี่ยนชิพเซ็ตเพื่อรองซีพียู 32 นาโนเมตรหรือเปล่า?




    บ่อยครั้งที่เมื่อออกซีพียูรุ่นใหม่มักต้อง มีชิพเซ็ตรุ่นใหม่ออกมาเพื่อรองรับการร่วมกันเสมอ ซึ่งหมายความว่าเราต้องจ่ายเงินถึง 2 ต่อ เพื่ออัพเกรดซีพียูรุ่นใหม่
    แต่สำหรับซีพียู 32 นาโนเมตร Westmere นี้ ชิพเซ็ตเดิมอย่างซีรีย์ 5 เช่น X58 ยังคงรองรับอยู่ ซึ่งก็รวมถึงเรื่อง Socket ที่ยังคงเป็น LGA 1366 อยู่เช่นเดิมครับ

    สรุป

    และนี้ก็เป็นข้อมูลทั้งหมดของซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดจากอินเทลที่จะออกมาใน กลางปี 2009 นี้ สำหรับชื่ออย่างเป็นทางการของซีพียู Gulftown ที่มี 6 Core นั้นอินเทลยังไม่มีข้อมูลครับ
    ผมเดาเล่นๆ ว่าอาจเป็น Core i อะไรซักอย่าง อาจจะเป็น Core i8 ก็ได้ 555+ ส่วนตัว Clarkdale ที่มี 2 Core พร้อมชิพกราฟิกภายในนั้น มีข่าวมาว่าชื่อ Core i5 ครับ
    ต้องขอบอกว่าอินเทลช่วงนี้เป็นขาขึ้นของเค้าจริงๆ พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านซีพียูเร็วแบบก้าวกระโดดมากๆ เร่งแซงคู่แข่งไปหลายช่วงตัวเลยทีเดียว ยิ่งดูแผนพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูของทางอินเทล
    เรียกว่า Tick – Tock ด้วยแล้วนั้นต้องบอกว่าตั้งแต่หลังอินเทลได้ผลิตซีพียู Core 2 Duo ออกมา ก็ได้ออกซีพียูรุ่นใหม่ๆ ออกมาแบบปีต่อปี ซึ่งข้อดีตรงนี้ก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างเราๆ เนี่ยแหละ
    เพราะราคาของซีพียูจะลงอย่างรวดเร็ว เราก็ได้ซีพียูแรงๆ ไปใช้แบบสบายกระเป๋ากันครับ และสุดท้ายนี้ถ้าเราได้ตัวเป็นๆ ของซีพียู 32 นาโนเมตร มาเราจะนำมาทดสอบประสิทธิภาพให้ชมกันแน่นอนครับ

    http://www.i3.in.th/news/view/451/1
    Last edited by Hector; 25 Mar 2009, 06:37:55.

  • #2
    แจ่มครับ ความรู้ทั้งนั้น...(แต่ไม่ได้อ่านอ่ะเก็บไว้ก่อน)

    Comment


    • #3
      แจ่มครับ

      อยากใช้ 32nm เร็วๆจัง

      Comment


      • #4
        ฉลาดขึ้น ทันตา...

        Comment


        • #5
          ฮิๆๆๆ

          Comment


          • #6
            สุดยอดครับ

            Comment


            • #7
              คนที่เพิ่งเปลี่ยนไป i7 จะช้ำใจมั้ยเนี่ย...

              Comment


              • #8
                อ่านแล้วหนาวแทน amd

                Comment


                • #9
                  แรงกว่า i7 965 แล้วราคาละ- -" แรงตามสิน่ะ~

                  Comment


                  • #10
                    ผมว่า แรงกว่า i7 965


                    แต่ถ้า ราคาถูกกว่า รับรองขาดตลาดแน่...............................คนซื้อตรึม....เมืองนอกนะ

                    Comment


                    • #11
                      รอ 32nm โว้ย

                      Comment


                      • #12
                        สาธุ

                        Comment


                        • #13
                          มันเล็กลง

                          มันน่าจะถูกลงนะ

                          หรือยิ่งเล็กยิ่งแพงหว่า

                          ต่อไปพวกอุปกรณ์พกพาต่างๆ คงทันสมัยขึ้นเยอะ มือถือเล่น crysis ได้คงดี

                          Comment


                          • #14
                            45นาโนยังไม่ได้ใช้ 32 จะมาอีกแล้วหรอ หุหุ

                            Comment


                            • #15
                              พูดง่ายๆ นะ i7 ตกรุ่น !!!

                              Comment

                              Working...
                              X