Announcement

Collapse
No announcement yet.

4-4-4-12 ใน ram มีความหมายว่าอะไรครับ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • 4-4-4-12 ใน ram มีความหมายว่าอะไรครับ

    4-4-4-12 ใน ram มีความหมายว่าอะไรครับ
    ไม่เข้าใจอะ
    4-4-4-10 กับ 5-5-5-15 อันไหนดีกว่ากัน
    Ram Kingston Hyper X ดีไหมครับ
    ผมเห็นยี่ห้อ kingston ก็ดังดีในเรื่องram แต่ผมกับไม่ค่อยเห็นเจ้าตัวนี้ดูนำมา clock เลย
    เห็นแต่ G.skill

    แล้วที่มันเขียนว่า 2Gb (Kit of 2) มันหมายถึง ขายเปงชุดใช้ไหมครับ 1Gb * 2 ใช่ไหม

  • #2
    กระทู้แดจาวูอีกแล้วครับ
    http://forums.overclockzone.com/foru...ad.php?t=55607

    สรุปสั้นๆ เค้าว่า CL = CAS Latency ค่าตัวนี้จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งต่อไป ยัง chip set
    ยิ่งน้อยยิ่งไวครับ

    Comment


    • #3
      มาแอบฟังด้วย อยากรู้เหมือนกัน = =

      Comment


      • #4
        ยนิ่งน้อย delay ยิ่งน้อย

        Comment


        • #5
          CL ย่อมาจาก CAS Latency
          ส่วน CAS ย่อมาจาก Column Access Strobe หรือ Column Access Select อย่างที่ว่าครับ

          ซึ่ง CL2 CL3 ก็หมายถึงจำนวนรอบของสัญญาณนาฬิกาที่หน่วยความจำใช้ครับ หรือเราจะเรียกมันว่า Timing ก็ได้

          โดยสามารถอธิบายต่อได้ว่า

          แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเมมโมรีก็คือ ความเร็วที่สูงกว่า (เป็น MHz) และความล่าช้าที่ลดลงจะส่งผลทำให้ได้แบนด์วิดท์ที่มากกว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่สิ่งที่ผู้ใช้มักมองข้ามก็คือความล่าช้า (latency) ในขณะที่พยายามเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ

          ประสิทธิภาพของเมมโมรีไม่ได้กำหนดโดยแบนด์วิดท์เสมอไป แต่ยังขึ้นอยู่กับความเร็วของการตอบสนองต่อคำสั่งใดคำสั่งหนึ่ง หรือเวลาที่รอก่อนที่จะเริ่มหรือจบขั้นตอนการทำงานของการอ่านหรือเขียนข้อมูล เรื่องเหล่านี้ก็คือความล่าช้าของเมมโมรีหรือเวลาในการตอบสนอง (timings) เมมโมรีไทม์มิงควบคุมวิธีการเรียกใช้เมมโมรีและอาจเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมในพีซีของคุณดีในหรือเลวลงได้

          เมมโมรีจะจัดเรียงในลักษณะของสเปรดชีต โดยแบ่งออกเป็นแถว (Rows) และคอลัมน์ (Colums) สัญญาณพื้นฐานจะถูกส่งไปยัง RAM เพื่ออ่านหรือบันทึกข้อมูล กำหนดแอดเดรสและทำการคอนโทรลต่างๆ โดยแอดเดรสก็คือจุดที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในเมมโมรีแบงก์ ในขณะที่สัญญาณคอนโทรลก็คือคำสั่งต่างๆ ที่จำเป็นจำหน่ายการอ่านและบันทึกข้อมูล

          ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประมวลผลหรือจบการทำงานของสัญญาณคอนโทรล ฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับความล่าช้าของเมมโมรีใช้ตัวเลข 4 ชุดคั่นด้วยขีดจากซ้ายไปขวา อาทิ 2-2-2-6 (CAS-tRP-tRCD-tRAS) ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวแทนว่าความล่าช้าแต่ละแบบมีวงรอบสัญญาณนาฬิกามากน้อยขนาดไหน แต่ไม่ได้เรียงลำดับของการเกิดตัวเลขชุดนี้ไบออสแต่ละชนิดจะแสดงตัวเลขชุดนี้แตกต่างกันได้ รวมทั้งอาจจะมีความล่าช้าแบบอื่นๆ เพิ่มเข้ามาด้วย

          โดยปกติแล้วเมนูไบออสซึ่งอยู่ในเมนบอร์ดมักมีการตั้งค่าตัวแปรแบบต่างๆ จำนวนมาก เพื่อช่วยให้เมมโมรีทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยตัวเลือกต่างๆ เหล่านี้ก็คือตัวเลือกการกำหนดความล่าช้าซึ่งมีอยู่ในไบออสยุคใหม่ส่วนใหญ่

          • command rate-ความล่าช้านี้ (เป็นวงรอบสัญญาณนาฬิกา เป็นช่วงเวลาระหว่างการยืนยันการเลือกชิป (อาทิเช่นการเลือก RAM) และคำสั่ง (อาทิ Activate Row) ที่ส่งไปให้ RAM ค่าปกติก็คือ 1T (หนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา และ 2T (สองรอบสัญญาณนาฬิกา
          • CAS (Column Address Strobe หรือ Column Address Select) คือจำนวนวงรอบสัญญาณนาฬิกา (หรือ Ticks ซึ่งย่อเป็น T) ระหว่างการส่งคำสั่ง READ จนถึงเมื่อข้อมูลส่งมาถึงบัสข้อมูล เราอาจมองว่าเมมโมรีเป็นตารางตำแหน่งของเซลล์ และความล่าช้า CAS จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงคอลัมน์ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าการเปลี่ยนแถว
          • tRP (RAS Precharge Delay) เป็นความเร็วหรือช่วงเวลาที่ DRAM ใช้สำหรับการยกเลิกการติดต่อกับข้อมูลแถวหนึ่งแล้วไปเริ่มแถวใหม่ หรือพูดง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนเมมโมรีแบงก์นั่นเอง

          • tRCD (ความล่าช้าจาก RAS (Row Access Strobe) ถึง CAS) หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการติดต่อกับ RAS และ CAS นั่นเอง อาทิเช่นความล่าช้าระหว่างการเรียกใช้เมมโมรีแบงก์ชุดหนึ่งไปจนถึงเมื่อมีคำสั่งอ่านหรือเขียนส่งไปยังแบงก์นั้น คุณต้องนึกถึงสเปรดชีต Excel ที่มีตัวเลขอยู่ด้านบนและด้านซ้ายเอาไว้ โดยตัวเลขด้านซ้ายเป็นตัวแทนของ Rows และตัวเลขด้านบนเป็นตัวแทนของ Column ตัวอย่างเช่นเวลาที่คุณใช้เลื่อนตำแหน่งไปยัง Row 20 และย้ายไปถึง Column 20 ก็คือ RAS ไปถึง CAS นั่นเอง

          • tRAS (Active to precharge หรือ Active Precharge Delay) ใช้ควบคุมความล่าช้าระหว่างคำสั่งเริ่มทำงานและ precharge ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วก็คือต้องใช้เวลามากน้อยขนาดไหนกว่าที่คำสั่งเริ่มต้นทำงานจะเริ่มกันได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เรื่องนี้มีผลกระทบต่อเวลาในการเริ่มต้นทำงานของแถวที่คุณต้องให้ความสำคัญเมื่อเมมโมรีไปถึงคอลัมน์สุดท้ายของแถวใดแถวหนึ่ง หรือเมื่อมีการเรียกใช้ตำแหน่งเมมโมรีที่ต่างออกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

          • tRC (Row Cycle และ tRFC (Row Refresh Cycle) -tRC เป็นช่วงเวลาต่ำสุดระหว่างคำสั่งใหม่ที่มาแทนของเก่าในแบงก์เดียวกัน

          timings หรือความล่าช้านี้เกิดขึ้นเรียงลำดับเฉพาะ ถ้าหากมีการอ่านข้อมูลจากเมมโมรีแถวหนึ่งจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นก่อนที่เราจะเรียกใช้ข้อมูลในแถวนั้นได้ ความล่าช้านี้คือ tRCD (RAS to CAS) ถ้าหากแถวนั้นพร้อมที่จะทำงานแล้ว คำสั่งอ่านข้อมูลก็จะส่งออกไป และความล่าช้าก่อนที่จะเริ่มต้นข้อมูลจริงก็คือ CAS (Column Access Strobe) ถ้าหากอ่านข้อมูลเสร็จแล้ว ระบบต้องหยุดการทำงานของข้อมูลแถวนั้น ซึ่งทำให้มีความล่าช้าเกิดขึ้นเช่นกันในชื่อ tRP ก่อนที่ข้อมูลแถวใหม่จะเริ่มต้นทำงานได้ ตัวเลขสุดท้ายก็คือ tRAS ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดของความล่าช้า Active to Precharge ถ้าหากมีข้อมูลแถวใหม่พร้อมที่จะทำงานแล้ว เราไม่อาจยกเลิกการทำงานจนกว่าความล่าช้าของ tRAS จะจบเสียก่อน

          ที่มา : CLICK

          Comment


          • #6
            ขอบคุณท่านซอลที่ให้คำตอบนะฮะ(ผมก็สงสียมานาน)

            Comment


            • #7
              อธิบายอย่างละเอียดมากครับ
              ขอบคุณมากครับ

              Comment


              • #8
                แจ๋วครับ

                Comment


                • #9
                  ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆๆ

                  Comment

                  Working...
                  X