Announcement

Collapse
No announcement yet.

ารทำ Over Clock CPU นั้น มีผลดีผลเสีย และวิธีการทำกันอย่างไร

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • ารทำ Over Clock CPU นั้น มีผลดีผลเสีย และวิธีการทำกันอย่างไร

    การทำ Over Clock CPU นั้น มีผลดีผลเสีย และวิธีการทำกันอย่างไร

    ที่จริงแล้ว ผมเองต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ใช่เซียน Over Clock เพียงแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ผมต้องเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะว่าเจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องแรก (ที่ผมมีโอกาสได้เป็นเจ้าของจริง ๆ) โดนคนขายหลอกมาเอา CPU Pentium 100 MHz มาทำ Over Clock เป็น Pentium 120MHz โดยที่ผมเองก็ไม่ค่อยจะได้รู้เรื่องอะไร ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดอยากจะ Upgrade เครื่องขึ้นมาถึงได้รู้ความจริงว่า CPU ตัวนั้นเป็นแค่ Pentium 100 MHz ดังนั้นท่านทั้งหลาย ก็ควรจะลองตรวจสอบเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่บ้าง ว่าจะเจออย่างผมหรือเปล่า ในส่วนของผมคงจะเขียนอธิบายแต่ละส่วนเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น หากต้องการรายละเอียดของเทคนิคต่าง ๆ ก็ลองหาอ่านดูตาม Link ด้านล่างเพิ่มเติมได้

    Over Clock คืออะไร

    คือการนำเอาอุปกรณ์เช่น CPU ที่ออกแบบมาสำหรับให้ทำงานที่ความเร็วค่าหนึ่ง แต่นำมาใช้งานที่ความเร็วสูงกว่านั้น เช่น CPU ความเร็ว 400 MHz แต่นำมาใช้งานที่ 500 MHz แทน หรือนำเอา CPU ที่เป็นรุ่นความเร็ว 500 MHz มาทำงานที่ความเร็ว 667 MHz อะไรทำนองนี้ครับ ภาษาที่ใช้แทนสำหรับการ Over Clock ก็เช่น 400@500 หรือ 500@667 เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์อื่น ๆ ก็สามารถนำมา Over Clock ได้เหมือนกันนะครับ เช่น RAM ที่เป็นแบบความเร็ว 100 MHz แต่นำมาทำงานที่ความเร็ว 133 MHz รวมถึงการ Over Clock การ์ดจอด้วยครับ เช่นปกติการ์ดจอทำงานที่ความเร็ว 110 MHz แต่เราตั้งให้ทำงานที่ 120 MHz อย่างนี้ก็เรียกว่า Over Clock เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะนิยมทำ Over Clock กับ CPU มากกว่า

    ข้อดีของการ Over Clock

    ที่เห็นชัดเจนคือได้ใช้ CPU ที่มีความเร็วมากขึ้น โดยที่จ่ายเงินซื้อในราคาเท่าเดิม เช่น แทนที่จะซื้อ CPU ความเร็ว 500 MHz ก็เปลี่ยนเป็นการซื้อ CPU ที่มีความเร็ว 400 MHz มาทำ Over Clock เป็น 500 MHz ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ได้ใช้งาน CPU ที่ความเร็วเท่ากันในราคาที่ถูกกว่า และอีกแนวทางหนึ่ง ก็คือสมมติว่า คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ แล้ว เกิดมีความรู้สึกว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น เริ่มจะมีความเร็วช้าไปบ้าง แต่ยังไม่อยากที่จะลงทุนเปลี่ยนเครื่องหรือ Upgrade เปลี่ยน CPU ใหม่ การนำเอา CPU ตัวเดิมนั้นมาทำ Over Clock ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง ที่จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมา โดยการเสียเงินน้อยที่สุดครับ นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

    ข้อเสียของการ Over Clock

    เท่าที่ทราบมา จะเป็นการลดอายุการใช้งานของ CPU ลงไป เช่นจากเดิมที่เคยออกแบบมาให้ใช้งานได้ประมาณ 15 ปี ก็อาจจะมีอายุสั้นลงมาเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คงจะไม่มีใครใช้งาน CPU ได้นานขนาดนั้นหรอกครับ อีกข้อหนึ่งก็คือ เรื่องความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีมากขึ้นเมื่อทำการ Over Clock เพราะว่าเหมือนกับการใช้งาน CPU แบบเกินกว่าค่าปกตินะครับ อ้อ อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า CPU ของคุณจะหมดประกันทันทีที่ทำการ Over Clock (ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า จะตรวจสอบได้อย่างไร)

    อันตรายจากการทำ Over Clock

    ข้อควรระวังอย่างมากก็คือ ไม่ควรที่จะทำการ Over Clock มากจนเกินไป และต้องระวังเรื่องของการระบายความร้อนให้ดีด้วย (เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ จะสามารถดูค่าความร้อนจาก BIOS ได้โดยตรงครับ) หาก CPU ร้อนมาก ๆ ก็อาจจะเสียหาย ถึงขั้นพังไปเลยได้นะครับ ระวังกันให้ดีนะครับ หากใครอยากจะลอง ก็ขอให้ใช้วิธีค่อย ๆ เพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละขั้นครับ และตรวจสอบความร้อนของ CPU อยู่เสมออย่าให้ร้อนจนเกินไป

    จะเพิ่มความเร็วของ CPU ได้อย่างไร

    ความเร็วของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกกันว่ากี่ MHz มาจากตัวเลข 2 ตัวคูณกันครับ คือ FSB กับ Multiple หรือเรียกง่าย ๆ คือความถี่กับตัวคูณ นั่นเอง ปกติแล้ว CPU รุ่นเก่า ๆ เช่น Pentium 100 ถึง Pentium II รุ่นแรก ๆ และ Celeron จะใช้ FSB เป็น 66 MHz ถ้าเป็น CPU รุ่นหลังจากนั้นมา มักจะใช้ FSB ที่ 100 MHz หรือ 133 MHz แล้วครับ ความเร็วที่ได้ก็จะมีตัวคูณกำหนดเพิ่มเข้าไปด้วย ผมยกตัวอย่างเช่น 100 MHz จะมาจาก FSB=66 กับตัวคูณ 1.5 ครับ หรือ 133 MHz = 66x2, 200 MHz = 66x3, 366 MHz = 66x5.5, 400 MHz = 100x4, 600 MHz = 100x6 หรือ 667 MHz = 133x5 เป็นต้น

    ดังนั้น หลักการเพิ่มความเร็วให้กับ CPU แบบง่าย ๆ ก็คือ ให้เพิ่มค่าของ FSB หรือ ตัวคูณเข้าไป เช่นจาก CPU ตัวเดิมเป็น 400 MHz ที่ 100x4 เราอาจจะตั้งค่าใหม่เป็น 100x4.5 แทนก็จะได้ความเร็ว 450 MHz ครับ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าจะง่ายอะไรขนาดนั้น สำหรับ CPU ของ AMD เช่น K6II, K6III ก็อาจจะใช้วิธีนี้ได้เลย แต่หากเป็น CPU ของ Intel รุ่นหลัง ๆ จะมีการล็อคตัวคูณมาจากโรงงานไว้แล้วเพื่อป้องกันผู้ขายหรือร้านค้านำมาทำ Over Clock แล้วลบตัวเลขความเร็วบนชิป โดยพิมพ์ตัวเลขค่าความเร็วที่สูงกว่าแทน นำมาหลอกขายลูกค้าหรือที่เรียกว่า CPU Remark ครับ ดังนั้นการ Over Clock CPU ของ Intel ก็จะไม่สามารถใช้วิธีการเพิ่มตัวคูณได้นะครับ ต้องใช้วิธีการเพิ่ม FSB อย่างเดียวเท่านั้น

    นอกจากนี้ ในส่วนของ CPU AMD Athlon ก็อาจจะต้องมีการ์ดหรืออุปกรณ์พิเศษสำหรับการทำ Over Clock ด้วยนะครับ ลองหาอ่านจาก Link ด้านท้ายบทความนี้ดู

    การปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ทำที่ไหน

    การปรับเปลี่ยนค่าของ FSB หรือ ตัวคูณ รวมทั้งค่าต่าง ๆ เช่น Vcore ที่ผมจะพูดถึงต่อไป ต้องดูจากคู่มือของเมนบอร์ดประกอบด้วยนะครับ เพราะเมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกับ บางรุ่นอาจจะทำการปรับโดยการเปลี่ยน jumper บนเมนบอร์ดโดยตรง แต่บางรุ่นอาจจะเป็นการเข้าไปปรับค่าใน BIOS ครับ ดังนั้นต้องดูตามคู่มือของเมนบอร์ดด้วย หากไม่มีคู่มือ ก็คงต้องลองมองหาเอาเอง ทั้งจากบนเมนบอร์ดที่อาจจะมีการพิมพ์ติดไว้ หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ด้วยครับว่ามีให้ปรับด้วยหรือเปล่า

    เริ่มต้นการทำ Over Clock

    หลักการกำหนดความเร็วของ CPU ก็ทราบกันแล้วนะครับ ดังนั้นการทำ Over Clock ก็เริ่มต้นได้เลย โดยการตั้งค่า FSB และ Multiple หรือตัวคูณใหม่ให้ได้ค่าที่เร็วกว่าเดิม โดยให้ทำการเพิ่มขึ้นไปทีละขั้นนะครับ เช่นจาก 400 MHz ที่ 100x4 ก็เพิ่มเป็น 420 MHz ที่ 405x4 ก่อน แล้วทดลองใช้งานดูสักพักหนึ่งว่ามีปัญหาการใช้งานหรือไม่ ความร้อนเพิ่มขึ้นมามากน้อยเพียงใด หากยังเป็นปกติดี ก็ให้เพิ่มความเร็วไปเรื่อย ๆ จนถึงขีดสุดของ CPU ครับคือเครื่องจะเริ่มมีปัญหา เข้า Windows ไม่ได้ หรือเข้าได้แต่ใช้งานหนัก ๆ แล้วจะแฮงค์ นั่นแปลว่าถึงขีดสุดของ CPU แล้ว ก็ให้ลดความเร็วลงมา 1 ขั้นก่อนที่จะเริ่มพบปัญหาครับ ถ้าการใช้งานต่าง ๆ เป็นปกติดีก็ถือว่าผ่าน (ในขั้นตอนแรกนะครับ) ขั้นตอนต่อไปก็คือการจัดการกับระบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำการ Over Clock หรือเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น โดยการปรับปรุงค่าต่าง ๆ ที่จะแนะนำต่อไป

    การปรับ Vcore กับการทำ Over Clock

    ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อน Vcore คือค่าของ ไฟเลี้ยงของ CPU ซึ่งแต่ละรุ่นจะใช้ไฟเลี้ยงไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ให้ดีนะครับว่า ค่าปกติของ CPU แต่ละรุ่นเป็นเท่าไร เช่น K6II, K6III จะใช้ 2.2 V. , Celeron, PII และ PIII จะใช้ 2.0 V. และ PIII รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ที่ 1.6 V. ส่วนใหญ่จะสามารถเพิ่มค่าของ Vcore ขึ้นไปได้อีกประมาณ 0.2 - 0.4 V. โดยที่การเพิ่ม Vcore ให้มากขึ้นก็จะสามารถทำให้การ Over Clock ทำได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่การเพิ่ม Vcore ไปมากเท่าไร ความร้อนของ CPU ก็จะเพิ่มมากตามไปด้วยนะครับ หลักการเพิ่ม Vcore โดยทั่วไปก็คือ ให้เพิ่มขึ้นทีละน้อยที่สุดครับ เช่นทีละ 0.05 V. หรือทีละ 0.1 V. และทดลองใช้งานดู หากยังไม่เสถียรนัก ก็ลองเพิ่ม Vcore ขึ้นไปอีก โดยที่รวมแล้ว ต้องไม่มากจนเกินไปนะครับ คือไม่ควรเกินกว่าปกติมากกว่า 0.2 - 0.4 V. ไม่เช่นนั้น CPU ของคุณอาจจพังได้นะครับ (สำหรับท่านที่โชคดี ได้ CPU ตัวที่ดี ๆ มาใช้อาจจะสามารถนำมาทำ Over Clock โดยที่ไม่ต้องเพิ่มไฟ Vcore เลยก็ได้ (แต่ค่อนข้างจะหายาก)

    อีกนิด สำหรับ CPU แบบ Slot 1 ส่วนใหญ่จะเป็นการ Detect จากเมนบอร์ด ทำให้เราไม่สามารถปรับค่าไฟ Vcore ให้เพิ่มขึ้นได้นะครับ แต่ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือการปิดขา CPU เพื่อเพิ่มไฟ ลองหาอ่านจาก Link การปิดขา CPU slot-1 เพื่อเพิ่ม Vcore

    การระบายความร้อนที่ดี สำหรับการทำ Over Clock

    หัวใจสำคัญของการทำ Over Clock ก็คือการระบายความร้อนออกจากตัว CPU ยิ่งเราทำการระบายความร้อนได้ดีมากเพียงใด ก็จะทำให้เราสามารถทำ Over Clock ได้มากขึ้นเท่านั้นครับ และยังสามารถยืดอายุการใช้งานของ CPU ได้อีกด้วย วิธีการระบายความร้อนก็มีอยู่ไม่กี่วิธีนะครับ ลองอ่านดูและทำความเข้าใจ หลังจากนั้นลองเลือกทำตามที่คุณคิดว่าพอจะทำได้ อันไหนมันโหดเกินไป ก็ข้าม ๆ ไปบ้างก็ได้ (แต่ถ้าทำได้ทุกอย่างก็ดี)

    * การเปลี่ยนพัดลมระบายความร้อนของ CPU
    เรียกได้ว่าเป็นสิ่งแรกเลยที่ควรจะทำครับ เนื่องจากว่าโดยปกติแล้ว พัดลมของ CPU ที่มีมาให้เดิม ๆ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นแค่ตัวเล็ก ๆ เท่านั้น การที่เราเปลี่ยนพัดลมระบายความร้อนของ CPU ใหม่ให้ตัวใหญ่ขึ้น มีความแรงของลมมากขึ้น ก็ทำให้การระบายความร้อนดีขึ้นครับ ลองหาดูตัวอย่างของพัดลมระบายความร้อนแบบต่าง ๆ กันดีกว่า ว่าที่เขาใช้สำหรับ Over Clock กัน มันสุด ๆ ขนาดไหน http://www.titan-cd.com/majesty_1.htm (ผมเห็นแล้วยังอยากได้เลย)
    * การติดพัดลมที่เคสเพิ่มเติม
    ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้โดยไม่ยากนัก หาพัดลมมาติดเพิ่มอีกตัวหนึ่งที่เคส สำหรับดูดลมเข้า และจะมีการเป่าลมออกอยู่แล้วที่พัดลมของ Power Supply นะครับ ซึ่งจะช่วยได้มากเลยทีเดียว
    * การขัด Heatzing ให้เรียบขึ้น
    โดยใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 1500 วางให้เรียบบนแผ่นกระจก แล้วเอา Heatzing ขัดผิวหน้าเบา ๆ ให้ขัดวนไปมาเป็นรูปเลข 8 คอยเติมน้ำไปเรื่อย ๆ อย่าใจร้อนและห้ามออกแรงกดเด็ดขาด เราจะรู้ได้อย่างไงว่ามันเรียบแล้ว ก็ต่อเมื่อมันเกิด สูญญากาศ จะเกิดแรงตรึงผิวระหว่าง กระดาษทราย กับ Heatzing และห้ามเอากระดาษทรายหยาบขัดก่อนโดยเด็ดขาด พึงคิดไว้เสมอว่าเราจะทำการขัดผิวหน้าให้เรียบเท่านั้น เพื่อที่มันจะได้สัมผัสกับแผ่นระบายความร้อนของ CPU ให้แนบสนิทมากที่สุด
    * การทำ Lapping CPU
    วิธีนี้คือ การขัดผิวสัมผัสของ CPU ด้านที่จะติดกับ Heatzing ให้เรียบนะครับ ซึ่งผมไม่ขอแนะนำให้ทำเพราะว่าอาจจะเกิดความเสียหายต่อ CPU ได้และหากคิดจะนำ CPU ไปขายต่อก็คงจะยากแล้วนะครับ หลักการทำ Lapping ก็ก็คล้าย ๆ กับการขัด Heatzing นั่นแหละครับ คือใช้กระดาษทรายเริ่มด้วยเบอร์ 800 ขัดตัว CPU ก่อน พอเริ่มเห็นทองแดงแล้วก็ใช้เบอร์ 1500 และปิดท้ายด้วยเบอร์ 2000 เพื่อความเงางาม สะท้อนแสงได้เลย เวลาขัดต้องขัดเป็นรูปเลข 8 อย่าขัดเป็นวงกลมหรือขัดไปในทางใดทางหนึ่ง ขัดให้สีเงินหมดก็พอแล้ว อย่าขัดมากเกินไป ไม่งั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ หาอ่านเรื่องการทำ Lapping เพิ่มเติมจากเวปไซต์ http://overclocking.telefragged.com/...g/lapping.html
    * การใช้ ซิลิโคน ทาระหว่าง CPU กับแผ่น Heatzing
    การใช้ ซิลิโคน (สำหรับแผ่นระบายความร้อนโดยเฉพาะนะครับ) ทาระหว่าง CPU กับ Heatzing ซึ่ง ซิลิโคน จะช่วยนำพาความร้อนไปสู่ Heatzing ได้ดีขึ้น ทำให้การระบายความร้อนออกจากตัว CPU ทำได้ดีขึ้นครับ อันนี้แนะนำให้หามาทานะครับ โดยวิธีการก็คือ ทาให้บางที่สุด แต่ให้แนบสนิทด้วยนะครับ เพราะเราต้องการให้มีพื้นที่ว่างระหว่าง CPU กับ Heatzing ให้น้อยที่สุด
    * การทำระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
    ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งครับที่สามารถทำได้ แต่ก็คงจะลำบากและอาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษสักหน่อย หลักการก็คือการนำเอา Heatzing แบบพิเศษที่จะมีช่องทางเดินของน้ำผ่านเข้ามาด้วย และใช้มอเตอร์ ปั้มน้ำให้ไหลเวียนผ่าน เพื่อนำพาเอาความร้อนออกไปด้วย หาอ่านเรื่องนี้ได้จาก Link ด้านล่าง
    * การเปิดฝาเคส และใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
    ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่หลาย ๆ คนนิยมทำกัน จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ค่อนข้างดี แต่อาจจะเกะกะ ไม่สะดวกนัก
    * การใช้เคสแบบพิเศษ
    อันนี้ขอพูดถึงเล่น ๆ นะ แต่ว่าที่จริงก็มีผู้นำมาใช้งานได้จริง ๆ แล้ว คือการนำเอาตู้เย็นขนาดเล็ก ๆ มาดัดแปลงทำเป็นเคส ซึ่งแน่นอน ระบบทำความเย็นยังไงก็ต้องดีกว่าการใช้พัดลมอยู่แล้ว

    การทำ Burn in CPU

    คือการใช้งาน CPU แบบหนัก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ อย่างต่อเนื่องภายใต้อุณหภูมิสูง เช่นการเพิ่มไฟ Vcore เข้าไปอีกนิดหน่อย และหาโปรแกรมที่ต้องใช้งาน CPU หนัก ๆ มารันค้างทิ้งไว้ เช่น Prime95 หรือโปรแกรม Benchmark ต่าง ๆ โดยที่การทำ Burn in จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Interface ต่าง ๆ ภายในตัวชิป CPU ทำให้มีการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ดังนั้น การ Burn in จึงมีส่วนช่วยให้สามารถใช้งาน CPU ได้ที่ความเร็วมากขึ้นด้วย หลักการทำ Burn in สำหรับการ Over Clock ก็คือ หลังจากที่ปรับความเร็วได้สูงที่สุดแล้ว ให้ทดลองทำ Burn in หรือใช้งานหนัก ๆ สัก 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น จึงทดลองเพิ่ม ความเร็วขึ้นไปอีก ซึ่งอาจจะได้ความเร็วที่สูงขึ้นกว่าเดิมก็ได้

    ประสิทธิภาพของแคช Level 2 บน CPU

    ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการ Over Clock ก็คือความสามารถของแคช L2 ว่าจะสามารถทำงาน ได้ตามความเร็วของ CPU หรือ FSB หรือไม่ เนื่องจากการทำงานของ แคช L2 นั้นจะทำงานสัมพันธ์กับความเร็วของ FSB หรือ CPU โดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรม ของระบบนั้น ๆ บน Socket7 แคช L2 จะมีความถี่เดียวกับ FSB แต่สำหรับ PentiumII ความถี่จะเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็ว CPU และบน Celeron จะใช้ที่ความถี่เดียวกับ CPU เลย ดังนั้นความสำเร็จจากการ Over Clock จึงขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพ ของแคช L2 ด้วย ถ้าการ Over Clock ไม่สำเร็จ ก็ให้ลอง Disable Cache L2 ใน BIOS แล้วลองดูใหม่ ถ้าระบบเสถียรขึ้น หรือสามารถบูตได้ก็แสดงว่า อาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็ได้ (แต่อย่าลืมว่าการ Disable Cache L2 นี้จะทำให้ประสิทธิภาพของ CPU นั้นลดลงไปด้วย)

    รู้จักกับระบบความเร็วบัสต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์กันก่อน

    โดยทั่วไปแล้ว การทำ Over Clock โดยการเพิ่ม FSB ให้สูงขึ้นนั้น จะเป็นการเพิ่มความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ในเครื่องด้วยนะครับ ดังนั้นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่บนระบบบัสเหล่านี้ ก็จะต้องทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย การเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น VGA Card, Sound Card หรือแม้แต่ Hard Disk ก็จะต้อง สามารถรองรับการทำงาน ของบัสต่าง ๆ ที่สูงผิดปกตินี้ได้ด้วยครับ เพื่อความเข้าใจระบบบัสต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ง่ายขึ้น ผมขอแบ่งออกง่าย ๆ ตามนี้

    * ความเร็วของ External Clock หรือ FSB ส่วนใหญ่ก็จะเป็นมาตราฐานครับ เช่น 50, 55, 60, 66, 75, 83, 100, 133, 150 หรือ 180 MHz การปรับค่าต่าง ๆ จะทำได้ละเอียดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดแต่ละรุ่น
    * ความเร็วของ PCI Bus จะมีความเร็วมาตราฐานที่ 33 MHz หรือเป็น 1/3 เท่าของ FSB สำหรับเมนบอร์ดที่ดี ๆ ก็จะสามารถปรับอัตราส่วนของ PCI ได้หลายค่าเช่น 1/2, 1/3 หรือ 1/4 เท่าของ FSB ก็ได้ เช่น เราสามารถใช้ FSB ที่ 133 MHz แต่ว่า PCI ยังสามารถทำงานได้ที่ 33 MHz นะครับโดยการปรับอัตราส่วนเป็น 1/4 เป็นต้น
    * ความเร็วของ AGP Bus โดยทั่วไปแล้ว AGP จะเป็น Slot สำหรับการ์ดแสดงผลครับ ซึ่งใน 1 เครื่องคอมพิวเตอร์จะมี AGP Slot เพียงแค่อันเดียวนะครับ โดยที่ AGP Bus จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz หรือเป็น 2/3 เท่าของ FSB นะครับ หลักการอื่น ๆ ก็เหมือนกันกับ PCI คือสามารถปรับเป็นอัตราส่วนความเร็วค่าต่าง ๆ เช่น 2/3 หรือ 1/2 เป็นต้น
    * ความเร็วของ RAM Bus ส่วนใหญ่แล้ว RAM จะทำงานที่ความเร็วเดียวกับ FSB แต่ว่าในเมนบอร์ดบางรุ่นที่ดี ๆ ก็ยังสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วได้ด้วย เช่น FSB เป็น 133 MHz แต่ RAM ทำงานที่ 100 MHz

    โดยสรุป ก็คือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่สามารถปรับค่าต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุณทำการ Over Clock ได้ดีขึ้น จากข้อมูลข้างบน จะเห็นว่า หากเราใช้เมนบอร์ดแบบทั่ว ๆ ไปใช้งาน FSB ที่ 120 MHz ลองมาดูกันนะครับ จะเห็นว่า PCI จะต้องทำงานที่ 40 MHz และ AGP ก็จะต้องทำงานที่ 80 MHz ซึ่งอุปกรณ์บางชนิด จะไม่สามารถทำงานได้ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาการ Over Clock ที่ไม่ควรมองข้ามไป

    อุปกรณ์รอบข้าง ก็มีผลต่อการทำ Over Clock ด้วย

    จากความรู้เรื่องของความเร็ว FSB และระบบบัสต่าง ๆ ก็จะเห็นว่า การทำ Over Clock โดยการเพิ่ม FSB และทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานที่ความเร็วไม่มาตราฐาน ดังนั้น การเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีความสำคัญมากนะครับ ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดนั้น จะสามารถทนรับความเร็วที่ผิดปกติได้มากน้อยเพียงใด อุปกรณ์ที่ผมพูดถึง ก็เช่น VGA Card, Sound Card, Hard Disk หรือ RAM นะครับ ดังนั้นต้องเลือกกันให้ดี

    Power Supply ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

    หลาย ๆ ท่านอาจจะมองข้ามปัญหาของ Power Supply ไป แต่ที่จริงแล้ว กำลังไฟของอุปกรณ์จ่ายไฟเช่น Power Supply นี่ต้องถือว่ามีความสำคัญมากเหมือนกันครับ คุณลองนึกดูนะ ว่าการเพิ่มความเร็วของ CPU จะทำให้ต้องใช้กำลังไฟ เพิ่มขึ้นมากเท่าไร การติดพัดลมเพิ่มเติม ก็ล้วนแต่กินไฟทั้งนั้น ดังนั้นหากเป็น Power Supply ที่ใช้งานมานาน ๆ แล้วหรือมีกำลังไฟต่ำ ๆ ก็ต้องพิจารณากันด้วย

    สายการผลิต หรือเทคโนโลยีที่ใช้ใน CPU ก็มีส่วนสำคัญ

    การเลือก CPU ในแต่ละรุ่น หรือแต่ละสายการผลิต ก็มีส่วนสำคัญกับการทำ Over Clock ว่าจะได้มากหรือน้อยด้วยนะครับ ผมยกตัวอย่างเช่น Celeron 366 MHz เปรียบเทียบกับ Celeron 533 MHz นะครับ สมมติว่า CPU 2 รุ่นนี้ผลิตมาจากเทคโนโลยีเดียวกัน ซึ่งสามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุดน่าจะได้ใกล้เคียงกัน แต่ว่าหากเรามามองหลักการ Over Clock ซึ่งสำหรับ Celeron นั้นจะล็อคตัวคูณ ทำให้เราใช้วิธีการเพิ่ม FSB ได้อย่างเดียว จะเห็นว่า 366 = 66x5.5 ในขณะที่ 533 = 66x8 นะครับ ซึ่งลองนึกภาพการนำเอา CPU 2 ตัวนี้มาทำงานที่ FSB 100 MHz ก็จะได้ 366@550 กับ 533@800 ซึ่งโอกาสที่เราจะได้ตัว 533@800 นี่แทบจะไม่มีเลยทีเดียวนะครับ ดังนั้น CPU รุ่นแรก ๆ ที่เพิ่งออกมา จะสามารถนำมาทำ Over Clock ได้ดีกว่ารุ่นหลังนะครับ ยกตัวอย่างเช่น Celeron II 566 MHz ตอนนี้ที่เพิ่งออกมา หลายคนสามารถใช้ FSB 100MHz ได้สบาย ๆ ครับ หรือ PentiumIII 500 รุ่นแรก ๆ ก็สามารถใช้งานที่ FSB 133 MHz ได้เป็นต้น

    การเพิ่ม ตัวคูณ กับเพิ่ม FSB อะไรดีกว่ากัน

    การทำ Over Clock ที่ดีควรจะเพิ่ม FSB นะครับ เพราะว่า FSB คือความเร็ว External Clock ที่จะเป็นตัวกำหนดความเร็วของอุปกรณ์อื่น ๆ ให้ทำงานเร็วขึ้นด้วย การที่เราลด FSB ลงมาแต่เพิ่มตัวคูณเข้าไป อาจจะได้ตัวเลขที่สูงขึ้น แต่ที่จริงแล้วความเร็วโดยรวม ๆ อาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นมามากนัก ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรใช้วิธีเพิ่ม FSB

    สุดท้ายก็ขอจบเท่านี้นะครับ เขียนไปก็ยังนึกอยู่เหมือนกันนะ ว่าจะมีคนอ่านจนจบได้จริง ๆ ซักกี่คนกันเนี่ย เอาเป็นว่าใครอ่านแล้วมีข้อแนะนำติชม หรือต้องการแก้ไขข้อมูลที่ผมอาจจะเขียนผิดก็ได้ บอกกันหน่อยก็ดีครับ

    เครดิต : www.com-th.net

    ปล.ไม่รู้ว่ามีรึยังนะครับ ถ้ามีแล้วก้อขออภัยด้วย ถือว่าเอาไว้ให้คนไม่ทราบ อ่านนะครับ

  • #2
    ลอกมาจากหนังสือทั้งดุ้นเลยมั้ยนี่

    Comment


    • #3
      หุๆ

      Comment


      • #4
        เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ...

        Comment


        • #5
          มีใครอ่านจนจบมั่งอ่ะ สรุปให้ฟังหน่อย

          Comment


          • #6
            ก้อดี

            Comment


            • #7
              พึ่งรู้ คับ ขอบคุนมากคับ



              ผม อ่านแล้ว ลากได้ แค่นี้เลย

              Comment


              • #8
                ...

                อ้อ อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า CPU ของคุณจะหมดประกันทันทีที่ทำการ Over Clock (ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า จะตรวจสอบได้อย่างไร)

                ใครเคยโดนจำได้ มาบอก ด้วย ผมจะได้ ไม่ทำ เพราะตอนนี้ทำอยุ ด่วน เลย นะครับ

                Comment


                • #9
                  บทความนี้อ่านมานานแล้วครับ สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มต้น oc อ่านแล้วจะเข้าใจพื้นฐานมากขึ้นครับ

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by battlecruiser View Post
                    เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ...
                    ถูกต้องนะคร้าบๆๆๆ

                    Comment


                    • #11
                      555+

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by dears View Post
                        ถูกต้องนะคร้าบๆๆๆ
                        คนไม่รู้มีอีกเยอะแยะคับ อย่างน้อยๆก้อผมคนนึงละ มีแต่สิ่งดีๆทั้งนั้น...

                        Comment


                        • #13
                          ก็ดีคับ ความรู้ทั้งนั้น ผมยังไม่เทพ

                          Comment


                          • #14
                            อืมดีครับคนที่ยังไม่รู้อ่านไว้นะครับ น่าจะตรึงเอาไว้ซะเลย

                            Comment


                            • #15
                              Originally posted by battlecruiser View Post
                              เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ...
                              คิดกว้างๆไว้ครับ อย่างน้อยก้อเป็นไกด์ให้มือใหม่ไว้อ่านได้นะครับท่าน

                              Comment

                              Working...
                              X