Announcement

Collapse
No announcement yet.

อยากถามเกี่ยวกับ cpu AMD เเละ INTEL หน่อยครับ ผม

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • อยากถามเกี่ยวกับ cpu AMD เเละ INTEL หน่อยครับ ผม

    เอออยากทราบอ่ะคับ ว่า CPU ไม่ว่าจะเป็น intel เเละ AMD

    ว่าL2 หรือ L3 อันไหนมันเเรงอ่ะ ครับ ผมจะเลือกซื้อ Cpu อ่ะครับ เเละผมเอามาเปรียบเทียบกัน

    ผมก็นึกไม่ออก ว่าเราจะดูยังไงว่าระหว่าง L2 หรือ L3 อันไหน เเรง อ่ะครับ


    บอก หน่อยนะครับ ผมไปดูไน หนังสือต่างๆ ผมไม่เข้าใจอ่ะครับ บ่างที่ L2 เม็กเเยะกว่า

    สเปก.jpg

  • #2
    ถ้าชอบแรงๆ ก็จัด Intel ไปครับ
    ถ้าชอบความลื่น (ทำงานหลายๆอย่างไปพร้อมๆกัน) ก็จัด AMD

    เอ ทำไม Intel มี L2 เยอะจัง
    เอ ทำไม AMD มี L2 น้อยจัง

    ก็มันคนละสถาปัตยกรรมกัน

    ลองปรึกษา เฮียกู๋ดู คงช่วยท่านได้

    Comment


    • #3
      L2 L3 เยอะๆ มีไว้สำหรัยการทำงานซ้ำๆ กัน
      ยิ่งมีเยอะ จะทำได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปดึงชุดคำสั่งมากจาก Ram
      เพราะคำสั่งที่จำเป็นต่างๆ จะนำมาเก็บไว้ใน L2 L3 หมด ยิ่งเยอะ ก็ยิ่งเก็บชุดคำสั่งได้มาก รวมถึงการพักข้อมูลด้วย
      งานที่จำเป็นต้องใช้ L2 L3 มากๆ ก็เป็นพวกงาน แปลงไฟล์ แปลงวีดีโอ และ โปรแกรมเทสต่างๆ

      จะ intel หรือ AMD ก็ตาม ถ้า L2 L3 เยอะ จะมีผลเหมือนกันหมดตามที่กล่าวไว้ แต่นั้นแค่ส่วนเล็กๆ ตรงตัว CPU
      สิ่งที่ต่างจริงๆ ของ AMD และ intel คือ สถาปัยกรรมของ mainboard ครับ โดยเฉพาะ HTT ของ AMD
      ซึ่ง HTT นี้โดยรวมแล้วทำให้การส่งผ่านข้อมูลภายในทั้งหมดลื่นไหลกว่า ระบบ FSB แบบ เดิมๆ ของ intel

      ผลของ HTT ทำให้สัญญาณนาฬิกาของ AMD อิสระมากกว่าในการส่งผ่านข้อมูล
      ในขณะที่ของ intel ต้องรอรอบสัญญาณนาฬิกาในการส่งผ่านข้อมูล

      มีข้อมูลอีกเยอะที่ต้องเขียน แต่กลัวจะเบื่อซะก่อน

      Comment


      • #4
        Northkung อธิบายได้แจ่มมากครับ

        Comment


        • #5
          แต่ถ้าดูกันที่แคช จิงๆ intel ยังเหนือกว่าครับ เพราะดูจากในระดับคอร์ที่เท่ากัน ความแรงเท่ากัน intel จะมีแคชเยอะกว่า จิงๆ l2 l3 พูดง่ายๆมันก็คือ ram ของ cpu อ่ะ

          Comment


          • #6
            พูดอย่างเป็นกลาง เอาจริงๆ นะครับ

            เล่นเกมส์ ผมมีความรู้สึกว่า Intel วิ่งกว่าจริงๆ ครับ

            แต่ใช้งานหลายๆอย่าง ประเภทหน้าต่างเต็มหน้าต้อง Swarp กันบ่อยๆ

            AMD ดูคล่องกว่านะครับ...

            Comment


            • #7
              Originally posted by XP_armor View Post
              พูดอย่างเป็นกลาง เอาจริงๆ นะครับ

              เล่นเกมส์ ผมมีความรู้สึกว่า Intel วิ่งกว่าจริงๆ ครับ

              แต่ใช้งานหลายๆอย่าง ประเภทหน้าต่างเต็มหน้าต้อง Swarp กันบ่อยๆ

              AMD ดูคล่องกว่านะครับ...
              เป็นผลมาจากเกมส์ก่อนหน้านี้จะเขียนซัพพอร์ตทาง Intel ซะมากกว่า(แต่ปัจจุบันพอๆกัน)
              ส่วนการใช้งาน AMD รู้สึกไวกว่าเพราะระบบบัสมันดีกว่านิดหน่อย

              Comment


              • #8
                Originally posted by lakcool View Post
                เป็นผลมาจากเกมส์ก่อนหน้านี้จะเขียนซัพพอร์ตทาง Intel ซะมากกว่า(แต่ปัจจุบันพอๆกัน)
                ส่วนการใช้งาน AMD รู้สึกไวกว่าเพราะระบบบัสมันดีกว่านิดหน่อย
                ตามนั้นครับ ระบบบัส AMD ลื่นกว่าจริงๆ

                Comment


                • #9
                  Originally posted by NorthKung View Post
                  L2 L3 เยอะๆ มีไว้สำหรัยการทำงานซ้ำๆ กัน
                  ยิ่งมีเยอะ จะทำได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปดึงชุดคำสั่งมากจาก Ram
                  เพราะคำสั่งที่จำเป็นต่างๆ จะนำมาเก็บไว้ใน L2 L3 หมด ยิ่งเยอะ ก็ยิ่งเก็บชุดคำสั่งได้มาก รวมถึงการพักข้อมูลด้วย
                  งานที่จำเป็นต้องใช้ L2 L3 มากๆ ก็เป็นพวกงาน แปลงไฟล์ แปลงวีดีโอ และ โปรแกรมเทสต่างๆ

                  จะ intel หรือ AMD ก็ตาม ถ้า L2 L3 เยอะ จะมีผลเหมือนกันหมดตามที่กล่าวไว้ แต่นั้นแค่ส่วนเล็กๆ ตรงตัว CPU
                  สิ่งที่ต่างจริงๆ ของ AMD และ intel คือ สถาปัยกรรมของ mainboard ครับ โดยเฉพาะ HTT ของ AMD
                  ซึ่ง HTT นี้โดยรวมแล้วทำให้การส่งผ่านข้อมูลภายในทั้งหมดลื่นไหลกว่า ระบบ FSB แบบ เดิมๆ ของ intel

                  ผลของ HTT ทำให้สัญญาณนาฬิกาของ AMD อิสระมากกว่าในการส่งผ่านข้อมูล
                  ในขณะที่ของ intel ต้องรอรอบสัญญาณนาฬิกาในการส่งผ่านข้อมูล

                  มีข้อมูลอีกเยอะที่ต้องเขียน แต่กลัวจะเบื่อซะก่อน
                  กะลังมันเลยอะครับ ต่อได้มั้ย

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by inosite_d View Post
                    กะลังมันเลยอะครับ ต่อได้มั้ย
                    +1 ต่ออีกครับ จะได้ มีความรู้เยอะๆ

                    Comment


                    • #11
                      Originally posted by NorthKung View Post
                      L2 L3 เยอะๆ มีไว้สำหรัยการทำงานซ้ำๆ กัน
                      ยิ่งมีเยอะ จะทำได้ดีกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปดึงชุดคำสั่งมากจาก Ram
                      เพราะคำสั่งที่จำเป็นต่างๆ จะนำมาเก็บไว้ใน L2 L3 หมด ยิ่งเยอะ ก็ยิ่งเก็บชุดคำสั่งได้มาก รวมถึงการพักข้อมูลด้วย
                      งานที่จำเป็นต้องใช้ L2 L3 มากๆ ก็เป็นพวกงาน แปลงไฟล์ แปลงวีดีโอ และ โปรแกรมเทสต่างๆ

                      จะ intel หรือ AMD ก็ตาม ถ้า L2 L3 เยอะ จะมีผลเหมือนกันหมดตามที่กล่าวไว้ แต่นั้นแค่ส่วนเล็กๆ ตรงตัว CPU
                      สิ่งที่ต่างจริงๆ ของ AMD และ intel คือ สถาปัยกรรมของ mainboard ครับ โดยเฉพาะ HTT ของ AMD
                      ซึ่ง HTT นี้โดยรวมแล้วทำให้การส่งผ่านข้อมูลภายในทั้งหมดลื่นไหลกว่า ระบบ FSB แบบ เดิมๆ ของ intel

                      ผลของ HTT ทำให้สัญญาณนาฬิกาของ AMD อิสระมากกว่าในการส่งผ่านข้อมูล
                      ในขณะที่ของ intel ต้องรอรอบสัญญาณนาฬิกาในการส่งผ่านข้อมูล

                      มีข้อมูลอีกเยอะที่ต้องเขียน แต่กลัวจะเบื่อซะก่อน
                      +10 คับ
                      มีความรู้มากๆ
                      ถ้ามีต่อ PM บอกผมด้วยนะคับ
                      อิอิ

                      Comment


                      • #12
                        อยากจะอธิบายข้อมูล FSB กับ HT ว่ามีความเป็นมายังไง ต่างอย่างไร
                        ถ้าเขียนจริงๆ คงได้รายงานเล่มหนึ่ง(เวอร์) 55+

                        FSB เรียกเต็มๆ ว่า Front Side Bus เป็นระบบบัสแบบดั้งเดิมของ computer ทำหน้าส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ของ computer
                        การทำงานของบัสตัวนี้จะทำงานเชื่อมต่อระหว่าง CPU กับ NorthBridge(ของเรียกย่อว่า NB) เป็นหลัก และ จาก NB ก็ไปยัง Memory
                        แล้วก็ยังแบ่งย่อย จาก NB ไปยัง SouthBridge(SB) และจาก SB ไปยัง I/O หรือ อุปกรณ์ต่างๆของระบบ

                        โดยหลักแล้วอุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วสูงๆ จะขึ้นอยู่กับ NB ซึ่งจะมีสัญญาณนาฬิกาเทียบเท่ากับตัว CPU
                        ในขณะที่ SB จะมีความเร็วที่ต่ำกว่า และใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำกว่า
                        ถ้าใครเคยใช้ computer เมื่อหลายปีก่อนนี้ จะเห็นว่า ความเร็วของ I/O ต่างๆ จะขึ้นกับสัญญาณนาฬิกาของ CPU ทั้งหมด
                        การ OC บัสจะทำให้ความเร็วสัญญาณของ I/O ต่างๆ เพี้ยนได้



                        การทำงานของ FSB จึงเป็นการทำงานแบบรอรอบ ในรอบหนึ่งๆของสัญญาณจะทำงานครบทั้งวงจร
                        ทั้งการผ่านข้อมูลจาก NB กับ RAM ไปยัง CPU และจาก CPU ไป NB และ ไปยัง I/O ต่างๆ
                        (SB จะอยู่ภายใต้การทำงานของ NB อีกที ซึ่ง NB จะจัดสรรข้อมูลที่ต้องใช้ไปยัง SB
                        และ SB ก็จะนำข้อมูลจาก I/O ส่งไป NB เพื่อรอส่งไปยัง CPU ในรอบถัดไป
                        ถ้าใครเคยเห็น diagram ของ intel สมัย pentium 4 จะพบว่า พี่ท่านพยายามจะให้ 1 สัญญาณนาฬิกา
                        สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า 1 ชุด เพื่อชดเชยการรอรอบ รู้จักกันว่า Double-pump
                        (ใน Core2Duo เรียก Quad-pump)

                        ระบบ FSB จึงต้องมี NB ที่ตัวใหญ่ ทำงานเป็นแขนขาแทน CPU ดีๆ นี่เอง

                        HT มันชื่อเต็มว่า HyperTransport ถูกนำมาใช้เมื่อ ปี 2001
                        ตอนนั้นเป็น HT 1.0 ปัจจุบัน HT 3.1

                        แนวคิดของระบบนี้คือ การสร้างทางด่วนระหว่างเมืองต่างๆ
                        เมืองต่างๆ ที่ว่านี้ก็คือ CPU Memory NB และ I/O ต่างๆ
                        ซึ่งการส่งผ่านข้อมูลจะเป็นแบบขาขึ้นและขาลง ทำให้สัญญาณรอบหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่าถึง 2 เท่า
                        ข้อสำคัญก็คือ ถนนหรือทางด่วนที่ว่านี้จะมีขนาดลดหลั่นไปตามความสำคัญของอุปกรณ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
                        ทางผ่านระหว่าง CPU กับ Memory/NB จะมีขนาดที่กว้างมากๆ และส่งข้อมูลได้ทีละมากๆ ในขณะที่ทางผ่านระหว่าง
                        SB กับ I/O ทั่วๆ ไปจะมีช่องทางที่แคบกว่า

                        การทำงานของการส่งผ่านจะเป็น จุดต่อจุดในทุกๆ ส่วน(ใช้คำว่า point to point-link กับ multi-link) ไม่ว่า CPU NB หรือ SB จะอิสระจากกัน ระบบของ HT จึงมีความยืดหยุนมากกว่า FSB เพราะ FSB ต้องรอรอบสัญญาณของ CPU เป็นหลัก ในขณะที่ HT แต่ละจุดจะสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทันที
                        จุดเด่นอย่างหนึ่งของ HT คือ สามารถเพิ่มเติม I/O ความเร็วสูงๆ ได้ง่ายกว่าระบบ FSB เพราะไม่ต้องพึ่ง สัญญาณนาฬิกาหลักจาก CPU เพียงแต่สร้างช่องทางเพิ่มให้กับ I/O ตัวใหม่ลงไปแทน


                        ส่งผ่านไปกลับได้ในทุกรอบสัญญาณ

                        *ระบบของ HT นี้ intel ได้นำหลักการเดียวกันไปใช้ใน CPU รุ่นใหม่ เรียก ว่า QPI เป็นแค่การสร้างทางเชื่อมต่อพิเศษสำหรับแต่ละ core

                        คราวนี้ ก็น่าจะเห็นได้ว่า ทำไมหลายๆ ท่านพูดว่า AMD ลื่นกว่า intel
                        HT ไม่จำเป็นต้องมีรอบที่แรงแบบ FSB ก็สามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ได้ลื่นไหล
                        ในขณะที่ FSB ต้องมีรอบที่สูงเพื่อให้การส่งผ่านต่อเนื่องได้มากที่สุด

                        ปล.ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ เพราะ เขียนจากประสบการณ์ทั้งหมดที่มี + search นิดหน่อย และแค่คร่าวๆ ^^'
                        ปล2.คำย่อ HTT คือ Hyper-Theading Technology หรือ Hyper-Transport Technology ก็ได้ - - ใช้ลำบากจริงๆ แต่ในระบบบัสเรียก HT ครับ ผมยังติด HTT บ่อยๆ เพราะ มันสับสนกับ HT ใน P4 อะ
                        Last edited by NorthKung; 13 Feb 2010, 23:45:30.

                        Comment


                        • #13
                          จดๆๆๆๆๆ

                          Comment


                          • #14
                            Originally posted by NorthKung View Post
                            อยากจะอธิบายข้อมูล FSB กับ HTT ว่ามีความเป็นมายังไง ต่างอย่างไร
                            ถ้าเขียนจริงๆ คงได้รายงานเล่มหนึ่ง(เวอร์) 55+

                            FSB เรียกเต็มๆ ว่า Front Side Bus เป็นระบบบัสแบบดั้งเดิมของ computer ทำหน้าส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ระหว่างอุปกรณ์ของ computer
                            การทำงานของบัสตัวนี้จะทำงานเชื่อมต่อระหว่าง CPU กับ NorthBridge(ของเรียกย่อว่า NB) เป็นหลัก และ จาก NB ก็ไปยัง Memory
                            แล้วก็ยังแบ่งย่อย จาก NB ไปยัง SouthBridge(SB) และจาก SB ไปยัง I/O หรือ อุปกรณ์ต่างๆของระบบ

                            โดยหลักแล้วอุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วสูงๆ จะขึ้นอยู่กับ NB ซึ่งจะมีสัญญาณนาฬิกาเทียบเท่ากับตัว CPU
                            ในขณะที่ SB จะมีความเร็วที่ต่ำกว่า และใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำกว่า
                            ถ้าใครเคยใช้ computer เมื่อหลายปีก่อนนี้ จะเห็นว่า ความเร็วของ I/O ต่างๆ จะขึ้นกับสัญญาณนาฬิกาของ CPU ทั้งหมด
                            การ OC บัสจะทำให้ความเร็วสัญญาณของ I/O ต่างๆ เพี้ยนได้



                            การทำงานของ FSB จึงเป็นการทำงานแบบรอรอบ ในรอบหนึ่งๆของสัญญาณจะทำงานครบทั้งวงจร
                            ทั้งการผ่านข้อมูลจาก NB กับ RAM ไปยัง CPU และจาก CPU ไป NB และ ไปยัง I/O ต่างๆ
                            (SB จะอยู่ภายใต้การทำงานของ NB อีกที ซึ่ง NB จะจัดสรรข้อมูลที่ต้องใช้ไปยัง SB
                            และ SB ก็จะนำข้อมูลจาก I/O ส่งไป NB เพื่อรอส่งไปยัง CPU ในรอบถัดไป
                            ถ้าใครเคยเห็น diagram ของ intel สมัย pentium 4 จะพบว่า พี่ท่านพยายามจะให้ 1 สัญญาณนาฬิกา
                            สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่า 1 ชุด เพื่อชดเชยการรอรอบ รู้จักกันว่า Double-pump
                            (ใน Core2Duo เรียก Quad-pump)

                            ระบบ FSB จึงต้องมี NB ที่ตัวใหญ่ ทำงานเป็นแขนขาแทน CPU ดีๆ นี่เอง

                            HTT มันชื่อเต็มว่า HyperTransport Teachnology ถูกนำมาใช้เมื่อ ปี 2001
                            ตอนนั้นเป็น HTT 1.0 ปัจจุบัน HTT 3.1

                            แนวคิดของระบบนี้คือ การสร้างทางด่วนระหว่างเมืองต่างๆ
                            เมืองต่างๆ ที่ว่านี้ก็คือ CPU Memory NB และ I/O ต่างๆ
                            ซึ่งการส่งผ่านข้อมูลจะเป็นแบบขาขึ้นและขาลง ทำให้สัญญาณรอบหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากกว่าถึง 2 เท่า
                            ข้อสำคัญก็คือ ถนนหรือทางด่วนที่ว่านี้จะมีขนาดลดหลั่นไปตามความสำคัญของอุปกรณ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
                            ทางผ่านระหว่าง CPU กับ Memory จะมีขนาดที่กว้างมากๆ และส่งข้อมูลได้ทีละมากๆ ในขณะที่ทางผ่านระหว่าง
                            SB กับ I/O ทั่วๆ ไปจะมีช่องทางที่แคบกว่า

                            การทำงานของการส่งผ่านจะเป็น จุดต่อจุดในทุกๆ ส่วน(ใช้คำว่า point to point-link กับ multi-link) ไม่ว่า CPU NB หรือ SB จะอิสระจากกัน ระบบของ HTT จึงมีความยืดหยุนมากกว่า FSB เพราะ FSB ต้องรอรอบสัญญาณของ CPU เป็นหลัก ในขณะที่ HTT แต่ละจุดจะสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทันที
                            จุดเด่นอย่างหนึ่งของ HTT คือ สามารถเพิ่มเติม I/O ความเร็วสูงๆ ได้ง่ายกว่าระบบ FSB เพราะไม่ต้องพึ่ง สัญญาณนาฬิกาหลักจาก CPU เพียงแต่สร้างช่องทางเพิ่มให้กับ I/O ตัวใหม่ลงไปแทน


                            ส่งผ่านไปกลับได้ในทุกรอบสัญญาณ

                            *ระบบของ HTT นี้ intel ได้นำหลักการเดียวกันไปใช้ใน CPU รุ่นใหม่ เรียก ว่า QPI

                            คราวนี้ ก็น่าจะเห็นได้ว่า ทำไมหลายๆ ท่านพูดว่า AMD ลื่นกว่า intel
                            HTT ไม่จำเป็นต้องมีรอบที่แรงแบบ FSB ก็สามารถส่งผ่านข้อมูลต่างๆ ได้ลื่นไหล
                            ในขณะที่ FSB ต้องมีรอบที่สูงเพื่อให้การส่งผ่านต่อเนื่องได้มากที่สุด

                            ปล.ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ เพราะ เขียนจากประสบการณ์ทั้งหมดที่มี + search นิดหน่อย
                            มาเต็ม

                            Comment


                            • #15
                              55+ก็ตามคำขอไงครับ ปล.อันนั้นผมแก้หลายจุดเลยนะ ลบให้ก็ดีนะครับ

                              *พยายามหารูป diagram ที่เข้าใจง่ายๆ ก็หายากจริงๆ
                              ส่วนของ intel ก็เจอแต่ภาพไม่ถูกใจเท่าไหร เพราะมันย่อเกิน
                              Last edited by NorthKung; 13 Feb 2010, 23:35:43.

                              Comment

                              Working...
                              X