Announcement

Collapse
No announcement yet.

แนวทางการ OC สำหรับนัก OverClock มือใหม่ ควรอ่านครับ

Collapse
This is a sticky topic.
X
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • แนวทางการ OC สำหรับนัก OverClock มือใหม่ ควรอ่านครับ

    มีหลายๆคนสนในเกี่ยวกับการ Overclock แต่ทำไม่เป็นไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง Over Clock คืออะไร ?? ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร ทำแล้วจะคุ้มค่าใหม ผลตามมาจะเป็นอย่างไร
    ผมต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมก็ไม่ได้เก่งเกี่ยวกับการ Overclock แต่ก็พอมีความรู้อยู่บ้าง ความรู้ที่ได้จากที่นี่เวป OverclockZone แห่งนี้ครับ จึงจะนำความรู้ที่ได้เหล่านี้มาเป็นแนวทางแก่นัก Overclock มือใหม่ได้ศึกษากันครับ

    -อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่า Overclock มันคืออะไรครับ
    >>> โอเวอร์คล็อกคืออะไร นี่อาจจะเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ผมจะกล่าวถึงการ "โอเวอร์คล็อก" ให้ฟังอย่างง่าย ๆ ครับว่า ผลของมันจะทำให้เครื่องของเราเร็วขึ้น แรงขึ้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

    ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับการโอเวอร็คล็อกให้มากกว่านี้กันดีมั้ยครับ เคยมีคนสงสัยว่า การโอเวอร์คล็อกนั้นจะทำให้เครื่องของเรา เร็วขึ้น แรงขึ้น ได้อย่างไร คำตอบก็คือ มันเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู โดยการปรับแต่งความเร็วของระบบบัสภายใน หรือการปรับเปลี่ยนความถี่ของซีพียูให้มีค่าเปลี่ยนไปจากเดิมที่ใช้กันอยู่ อย่างเช่นปกติเราใช้ซีพียูความเร็ว 1800 เมกะเฮิรตซ์ และเมื่อเรานำมาโอเวอร์คล็อกแล้ว ซีพียูของเราจะมีความเร็วเพิ่มจาก 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเป็น 3000 เมกะเฮิรตซ์ อาจจะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องซื้อซีพียูตัวใหม่ และไม่ต้องเสียเงินเสียทองในการโอเวอร์คล็อกแต่อย่างใด
    แต่เมื่อจะเริ่มโอเวอร์คล็อกเรามารู้หลักการและคำศัพท์กันก่อนนะครับ


    1.Front Side BUS
    เรียกกันสั้น ๆ ว่า FSB หรือบัสก็ได้ ซึ่งหมายถึง เส้นทางการส่งข้อมูลของลายวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง FSB นั้น จะส่งข้อมูลและทำงานไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่อยความจำ และสล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ด อย่างเช่นสล็อต PCI-E , PCI ซึ่ง FSB สัญญาณนาฬิการที่เราเรียกกันว่าความถี่ ที่อุปกรณ์แต่ละตัวก็จะมีแตกต่างกันออกไป ซึ่ง FSB จะเป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงานว่าจะรับหรือจะส่ง จังหวะเร็วก็ส่งเร็วเมื่อจังหวะช้าก็ส่งช้า เป็นต้น

    2.Multiplier (ตัวคูณ)
    ซีพียูทุกตัวไม่ว่าจะเป็นซีพียูจากค่าย lnter หรือ AMD ต่างก็มีตัวคูณอยู่ในตัวซีพียูอยู่แล้วซึ่งซีพียูแต่ละตัวจะมีตัวคูณที่ไม่เท่ากันซึ่งตัวนี้ก็จะมีผลต่อการโอเวอร์คล็อกเหมือนกัน เช่น E8200 มีตัวคูณ 8.0
    FSB 333 ก็จะเท่ากับ 333x8.0 ก็จะได้ความเร็วของซีพียู 2.66GHz แต่ถ้าเราปรับ FSB ไปที่ 400 ก็จะได้ 400x8 = 3.2GHz เมื่อเปรียบเทียบกับซีพียูรุ่น E8600 ชึ่งมีตัวคูณ 10 เมื่อเราปรับ FSB ไปที่ 400x10 = 4.0GHz เพราะฉนั้นซีพียูที่มีตัวคูณมากกว่าย่อมได้เปรียบนะครับ

    3.Vcore
    หมายถึงไฟที่ใช้เลี้ยงซีพียูและแน่นอนครับว่าเราสามารถที่จะเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับซีพียูได้(ขึ้นอยู่กันเมนบอร์ดด้วย) ซึ่งซีพียูทุกตัวต่างก็มีไฟเลี้ยงในตัวเอง และใช้ไฟเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปอีก เราจะรู้ได้อย่างไร
    ว่าไฟเลี้ยงของซีพียูที่เราใช้นั้นเท่าไร อันดับแรกดูในไบออสครับ ดูจากโปรแกรม cpu-z หรือโปรแกรมอื่นครับ เมื่อเรารู้ค่าไฟเลี้ยงของซีพียูแล้ว เวลาโอเวอร์คล็อกจะได้รู้ว่าเราต้องเพิ่มไฟเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น
    ซีพียู E8400 3.0GHz ไฟเลี้ยง 1.100 เราทำการโอเวอร์คล็อกไปที่ความเร็ว 4.0GHz ซึ่งไฟเลี้ยงที่ 1.100 ซีพียูอาจจะทำงานไม่ได้ที่ความเร็ว 4.0GHz เราอาจจะลองเพิ่มไปที่ 1.1125 หรือ 1.1250,1.1375-1.2000ไปเรื่อยๆนะครับไม่ต้องเพิ่มมาก จนกว่าซีพียูจะสามาทำงานได้อย่างเสถียนโดยการเทสด้วยโปรแกรม(อาจจะมีไฟอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)

    4.Vmem, VDD
    เป็นไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับหน่วยความจำ(แรม) ซึ่งหน่วยความจำ DDR1 ทั่วไปนั้นจะมีกำลังไฟเลี้ยงที่ 2.4 โวลต์ แต่ถ้าเป็น DDR2 ก็จะมีไฟเลี้ยง 1.8 โวลต์ หลักในการเพิ่มไฟเลี้ยงก็จะคล้ายคลึงกับ Vcore คือค่อยๆเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน จาก 1.8>1.85>1.9 ตามลำดับ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรมด้วย
    ยิ่งไฟเลี้ยงเยอะเท่าไรก็จะทำให้เราโอเวอร์คล็อกแรมที่ความถี่สูง ๆ เยอะเท่านั้น ทั้งนี้ก็อยู่อยู่กับคุณภาพของแรมด้วยว่าจะรับความถี่สูง ๆ ได้มากน้อยเพียงใด อีกอย่างก็คือการระบายความร้อนที่ดีด้วย ถ้าความร้อนสูงจนเกินไปแรมก็อาจจะทำงานไม่ได้
    4.1 Cas latency
    เรียกกันสั้นๆ ว่า CL หรือ Timing ก็ได้ครับ คืออัตราการรีเฟรซข้อมูลของแรมในหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งการรีเฟรชข้อมูลในหน่วยความจำบ่อย ๆ หรือ CL น้อย ๆ จะทำให้แรมทำงานได้เร็ว เนื่องจากใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลสั้นลง ซึ่งค่า CL นั้นจะเป็นตัวเลขที่ต่อท้าย 4 ตัวของแรม เช่น แรมยี่ห้อ Crucial DDR2 1024MB PC6400 5-5-5-15 จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งต่อไปยัง Chipset และ Chipset ก็จะประมวลผลอีกที (ถ้าค่า CL ยิ่งต่ำเท่าไรแรมก็จะส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น)


    5.VIO NB Voltage
    นี่คือไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซิปเซต ซึ่งส่วนมากแล้วเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งค่านี้ได้จะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อกจริงๆ อย่างเช่นเมนบอร์ดจาก ABIT,DFI,MSI,GIGABYTE และ ASUS เป็นต้น ซึ่งสามารถปรับไฟเลี้ยงชิป NB ได้ แล้วไฟชิปเซตมันมีผลอย่างไรกับการ OC
    ยกตัวอย่างเช่น ชิปเซตรุ่น P35 ใช้ไฟเลี้อง 1.25V สามารถทำงานได้ที่บัส 200-450MHz แต่เมื่อเราโอเวอร์คล็อกไปที่ FSB เกิน 450MHz ขึ้นไป
    ชิปเซตอาจจะทำงานไม่ได้ เราจึงต้องเพิ่มไฟเลี้ยงไห้แก่ชิปเซต เช่นเราโอเวอร์คล็อกไปที่ FSB 500MHz อาจจะต้องเพิ่มไฟชิปเซต 1.3-1.4 หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ด บอร์ดบางตัวอาจจะไม่ต้องเพิ่มเลยก็ได้ครับ

    6.CPU PLL Voltage
    ไฟตัวนี้ผมยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนนะครับ แต่จากประสบการของผมเอง ไฟตัวนี้จะมีผลตอนเราโอเวอร์ซีพียูไปที่ FSB สูงๆนะครับ การเพิ่มไฟตัวนี้อาจจะช่วยไห้เราไม่ต้องเพิ่มไฟเลี้ยงซีพียูมาก ไฟตัวนี้จะเพิ่มที่ 1.50-1.56 โดยประมาณนะครับ อาจจะมากกว่า
    หรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดและซีพียูครับ

    7.FSB Termination Voltage

    8.South Bridge Voltage

    แนวทางในการปฏิบัติครับ
    ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับการโอเวอร์คล็อกหรือไม่

    -เมนบอร์ดที่รองรับการโอเวอร์คล็อกจะต้องสามารถปรับค่า FSB(Front Side BUS) ได้นะครับ ถ้าไม่มีไห้ปรับก็ไม่สามารถโอเวอร์คล็อกได้


    -เมนบอร์ดที่รองรับการโอเวอร์คล็อกต้องปรับค่าไฟเลี้ยงต่างๆได้ครับ

    ถ้ามีสองอย่างข้างต้นที่ว่ามาเราก็สามารถสนุกกับการโอเวอร์คล็อกได้อย่างเต็มที่ครับ
    -แล้วจะโอเวอร์คล็อกอย่างไร ทำไม่เป็น??
    การโอเวอร์คล็อกสามาทำได้สองวิธีหลักๆคือ 1.ปรับแต่งจากในไบออส 2.ปรับแต่งบนวินโดว์ ชึ่งนิยมกันมากที่สุดคือวิธีที่ 1.ปรับแต่งจากไบออส จะทำไห้เราสามาปรับ FSB แล่ะค่าไฟเลี้ยงต่างๆได้
    -วิธีการก็ต้องเข้าไบออสเพื่อไปปรับค่าพวกนี้ครับ ซึ่งไบออสของแต่ล่ะรุ่นก็จะมีวิธีเข้าที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากจะไห้กดปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ดตอนเปิดเครื่อง โดยจะมีข้อความแจ้งบอกอยู่ด้านล่างมุมซ้ายของจอภาพครับ


    -เมื่อเข้าไบออสได้แล้วก็จะเจอหน้าตาของไบออสครับ (ไบออสนี้เป็นของ ASUS P5Q Deluxe)


    -จากนั้นไห้เลือกที่ Ai Tweeaker ตรง Ai Overclock Tuner เลือกเป็น Manual ก็จะเจอเมนูของการโอเวอร์คล็อกครับ


    -ในส่วนนี้จะเป็นค่าไฟเลี้ยงต่างๆ ที่เราจะสามารถปรับเพิ่มหรือลดได้


    -เรื่องของตัวคูณที่วิ่งขึ้นๆลงๆ นะครับ เป็นคำถามที่ถามกันมากสำหรับนักโอเวอร์คล็อกมือใหม่ ลองเข้าไปปิดในส่วนนี้ครับ

    เมื่อเรารู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อกแล้ว ก็มาลองปฏิบัติกันครับ
    -1.เข้าไบออสไปปรับ FSB จากค่าเริ่มต้นขึ้นไปเรื่อยนะครับไม่ต้องรีบร้อน ยกตัวอย่างเช่น 200 ไป 230 แล้วก็ลองบูตเข้าระบบ แล้วก็ทดสอบความเสถียนด้วยโปรแกรม ถ้าทุกอย่างผ่านไปด้วยดีก็เข้าไบออสไปเพิ่ม FSB อาจจะ
    จาก 230 ไป 250 เมื่อเพิ่ม บัสจนรู้สึกว่าไม่เสถียน ไม่เสถียนในที่นี้หมายถึงเทสไม่ผ่าน เข้าวินโดว์ไม่ได้ เปิดไม่ติด ก็มาถึงขั้นตอนการเพิ่มไฟครับ

    -2.การเพิ่มไฟ เมื่อลากบัสไปถึงจุดจุดหนึ่งแล้วไม่เสถียนเราก็มาเริ่มเพิ่มไฟครับ ไฟตัวแรกที่จะต้องเพิ่มคือไฟซีพียูครับ (Vcore)ดูค่าเริ่มต้นจากไบบอสแล้วก็เพิ่มจากเดิมไปเล็กน้อยนะครับ เช่นค่าเริ่มต้น 1.2000 อาจะเพิ่มไปที่ 1.250 ขึ้นไปเรื่อยๆจนสามารถบูตเข้าระบบ เทสโปรแกรมต่างๆผ่านได้ไม่มีปัญหา ดูเรื่องความร้อนของซีพียูด้วยนะครับอย่าไห้สูงจนเกินไป
    -2.1 เพิ่มไฟแรม(Dram Voltage) อาจจะต้องเพิ่มไปพร้อมกับไฟซีพียู ค่าไฟเริ่มต้นจะเป็น 1.8 อาจจะเพิ่มไปที่ 1.85,1.90,1.95 ตามลำดับ เราจะเพิ่มไฟก็ต่อเมื่อแรมทำงานเกินความเร็วที่กำหนดครับ
    เช่นแรมบัส 667 เราโอเวอร์คล็อกซีพียูจนแรมวิ่งเกินบัส 667 เช่นจาก 667 ไป 800 เราอาจจะต้องเพิ่มไฟแรมไปที่ 1.85-1.9
    ซึ่งการที่เราเพิ่มบัสซีพียูมันจะทำไห้บัสแรมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เราสามารถดูบัสแรมได้จากโปรแกรม CPU-Z ครับ



    -3.การทดแรม 1:1 (ของเมนบอร์ด Asus) การโอเวอร์คล็อกเพื่อตัดปัญหาของแรมตันทำไห้ไม่สามารถลากบัสซีพียูขึ้นไปสูงๆได้ที่นิยมกันคือทด 1:1 ครับ การเลือกค่าของแรมโดยการเอาค่าบัสของซีพียูคูณด้วยสองจะได้ค่าแรมครับ เช่น เราปรับบัสซีพียูไปที่ 333 ค่าแรมที่เราต้องการไห้เป็น 1:1 ก็คือ 667 ครับ
    ถ้าเป็นบอร์ดของ Gigabyte ตรง System Memory MultipLier (SPD) เลือกเป็น 2.0 ครับ



    -3.1 ทำไมต้องทดแรม 1:1 หลายๆคนอาจจะสงสัยสำหรับมือใหม่ การทด 1:1 คือการทำไห้บัสแรมวิ่งที่ความเร็วเดียวกับบัสซีพียู
    โดยปกติบัสแรมจะถูกตั้งเป็น Auto เมื่อเราโอเวอร์คล็อกบัสซีพียูบัสแรมก็จะถูกเพิ่มสูงตามบัสซีพียูไปด้วย เช่น ซีพียูบัส 200 บัสแรม 800(400x2)
    อัตตราทดเท่ากับ 1:2 เมื่อเราปรับบัสซีพียูไปที่ 250 Auto 1:2 บัสแรมจะวิ่งเท่ากับ 1000(500x2) ซึ่งแรมบัส 800 บางตัว
    มันอาจจะวิ่งที่บัส 1000 ไม่ได้ครับ เราโอเวอร์บัสซีพียูไปที่ 250 ทำไห้คอมเปิดไม่ติดเพราะแรมทำงานไม่ได้ จึงต้องมีการทดแรมลงมา
    1:1 เช่น โอเวอร์คล็อกซีพียูไปที่บัส 400 แรมทด1:1 บัสแรมเท่ากับ 800(400x2) ซึ่งถ้าเราใช้แรมสเป็กบัส 800 แรมก็วิ่งตามสเป็กแลย
    จึงไม่ต้องห่วงว่าแรมจะทำงานไม่ได้ แต่การทด 1:1 ไม่ใช่ค่าที่ดีที่สุดของการทดแรม อาจจะทด 2:3 ,3:5 หรือ 4:5 แล้วแต่ความสามารถของแรมครับ


    หมายเหตุ: นี่เป็นแค่แนวทางของการโอเวอร์คล็อกเบื่องต้นนะครับ เน้นไปทางเมนบอร์ดของ Asus แนวทางอาจจะไม่ละเอียด และอาจจะมีผิดพลาดบ้าง จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา แต่ก็หวังว่าจะเป็นแนวทางแก่นักโอเวอร์คล็อกมือใหม่ได้ ไม่มากก็น้อยนะครับ ส่วนข้อมูลอื่นๆที่ผมยังไม่ได้ลงไว้ ถ้าได้ข้อมูลแล้วจะมาแก้ไขไห้ที่หลังนะครับ วันนี้ตาลายแล้ว หรือถ้าท่านเทพทั้งหลายจะลงข้อมูลไว้เป็นแนวแทงไห้แก่นักโอเวอร์คล็อกจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ ถ้าข้อมูลข้างต้นของผมผิดพลาดยังไงช่วยทักท้วงด้วยนะครับ จะได้แก้ใขไห้ถูกต้อง เพื่อที่นักโอเวอร์คล็อกมือใหม่จะได้รับไปอย่างถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ผมเอามาลงไว้เป็นประโยชน์เห็นด้วยช่วยกันดันด้วยนะครับ
    Last edited by one; 5 Oct 2018, 08:47:50.

  • #2
    ปักหมุดไว้นะครับ

    Comment


    • #3
      มีอะไรเอ็ดมาคุยกันได้ครับ อยากทราบเรื่องไหน เรื่อง oc ก็ได้ lampofgod_god@hotmail.com อยากคุย

      Comment


      • #4
        เครื่องผมเปิด 24/7 ไม่ต้อง oc มากครับ เอาแค่ไม่รู้สึกอืดก็พอ สูงไปเท่านั้นแหล่

        Comment


        • #5
          Originally posted by Gearhead View Post
          ปักหมุดไว้นะครับ

          ขอบคุณครับท่าน หัวเกียร์ ถ้าผมมีเวลาว่างจะหาข้อมูลมาเพิ่มไห้เรื่อยๆครับ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่นัก Overclock มือใหม่ทุกคน ไห้สามารทำเป็นและสนุกกับการ OC และสามารถแผยแพร่ความรู้ที่ได้กันต่อๆไปครับ

          Comment


          • #6


            เด๋วมาอ่าน หุหุ

            Comment


            • #7
              แหล่มเลย m/b แรงเป็ดด้วย น่าจะมีพี่ดาดด้วยงับ ผมล่ะมึนกับมันจิงๆ

              Comment


              • #8
                แล้วปรับตัวคูณตรงไหนอ่ะครับ ไม่เหงเหมือนบอร์ด Gig..

                Comment


                • #9
                  Originally posted by Deenkung View Post
                  แล้วปรับตัวคูณตรงไหนอ่ะครับ ไม่เหงเหมือนบอร์ด Gig..

                  ปรับตรงหัวข้อ CPU Ratio Control สามารถพิมพ์ตัวเลขใส่ได้เลย หรือจะกดแป้นพิมพ์ + หรือ - เพื่อปรับครับ ไบออสของ Asus กับ Gigabyte เมนูไม่เหมือนกันครับ


                  Comment


                  • #10
                    ไม ไม่ได้ถึงบัส 600 ซักที นา

                    Comment


                    • #11
                      ผมมือใหม่ครับ ยังไงต้องขอคำแนะนำจากพี่แถวนี้ดเวยนะครับ

                      อยาก oc แต่ทำไม่เป็น

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by okinava30 View Post
                        ผมมือใหม่ครับ ยังไงต้องขอคำแนะนำจากพี่แถวนี้ดเวยนะครับ

                        อยาก oc แต่ทำไม่เป็น
                        มาเนียน

                        Comment


                        • #13
                          เเล้วASROCK NF7G HD720P R3 กับ AMD 5000+ ของผมมันปรับยังไงครับ ผมลองทำ โดยเพิ่มตัวคูน จาก
                          13x200 เป็น 13x220 โดยที่ไม่ปรับไฟเลี้ยง ผลของมันคือเเต็บเลยครับจอมืดไปหมด เข้าวินโว์ไม่ได้เลย

                          Comment


                          • #14
                            เข้ามาหาความรู้ครับ

                            Comment


                            • #15
                              แล้วเรื่อง Main board หรือ CPU อ่ะครับ จารู้ได้ไงว่า ตัวไหนรองรับการ Over clock ได้ดีอ่ะครับ
                              มี โคด หรืออะไรให้สังกตุไหมครับ ?

                              Comment

                              Working...
                              X