สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ในยุค 2021 เทคโนโลยี Wi-Fi 6 ที่มีทางเลือกในการใช้งานอย่างแพร่หลายมาหขึ้น ทั้งอุปกรณ์ลูกข่ายที่รองรับ รวมไปถึงทางเลือกของระบบเครือข่าย Wireless AX หรือ WiFi 6 ที่ไม่ต้องจ่ายเงินกันราคาสูงแล้ว โดยทางเลือกของเราเตอร์ในมาตรฐาน Wi-Fi 6 ที่มีทางเลือกในตลาดก็ตั้งแต่หลักพันจนไปถึงหลักหมื่น ที่วันนี้เรามารีวิวจะเป็น WiFi 6 Router จากแบรนด์ ASUS ที่เป็นผู้ผลิตแบรนด์แรกในโลกที่ปล่อยเราเตอร์ในมาตรฐาน WiFi 6 ลงมาให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกันก่อนใคร มากับ ASUS ZenWiFi XD6 ที่เป็นชุด Mesh WiFi 6 ในแบบ Dual Band มาตรฐาน AX5400 ประสิทธิภาพระดับนี้การสตรีมคอนเทนต์ในระดับ 4K มันคือเรื่องเล็กน้อย เพราะความเร็วระดับนี้ 8K ก็ยังสามารถสตรีมได้สบายๆ ASUS ZenWiFi XD6 ในแง่พื้นที่ในการใช้งานที่สามารถทำได้ครอบคลุมถึง 500 ตรางเมตร ถ้ายังไม่พอก็ยังสามารถเพิ่มเข้าไปอีกชุด หรือ ใช้งานร่วมกับเราเตอร์ของ ASUS ที่รองรับเทคโนโลยี Ai Mesh ได้เช่นกัน
Package & Bundled
แพ็คเกจที่มาในสไตล์เรียบหรู สมกับการใช้ชื่อของตรกูล Zen ด้านหน้าที่มีการบ่งบอกรายละเอียดเอาไว้อย่างชัดเจน
อุปกรณ์ในกล่องจะมาพร้อมกับคู่มือการ คำแนะนำในการใช้งาน สายแลน และ พาวเวอร์ซัพพลายสองชุด พร้อมกับหัวเปลี่ยนเต้าเสียบ
Design & Detail
การออกแบบที่เป้นรูปทรงเหมือนกระติกน้ำทรงรี ในขนาดที่ใม่ใหญ่มากวางได้สะดวกกับทุกมุมภายในบ้าน พร้อมการใช้พื้นผิววัสดุสีขาว ด้านหน้าทีโลโก้ ASUS สีทองพร้อมกับไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน เสาอากาศภายในจะเป็นแบบ 4 X 4
ASUS ZenWiFi XD6 นั้นสามารถใช้งานตัวเดียว ที่มันก็คือ WiFi 6 Router Dual Band AX5400 ดีๆหนึ่งตัว
ด้านข้างทั้งสองฝั่งที่จะมีช่องระบายความร้อน ที่ออกแบบมาสวยงามดูแล้วได้ความเป็น Zen ดี ที่ดูเหมือนจะเรียบง่ายแต่แอบซ่อนลูกเล่นเอาไว้
ด้านล่างนั้นจะมาพร้อมกับช่องระบายอากาศ นอกจากฉลากด้านล่างแล้วก็จะมีปุ่ม WPS และ Reset ตัวเครื่องออกแบบมาในลักษณะแบบการวาง ไม่สามารถห้อยหรือแขวนได้
พื้นผิวด้านบนที่ออกแบบมาเรียบง่ายแต่แอบซ่อนลูกเล่นเอาไว้ ด้วยผิวสัมผัสคล้ายกับอลูมิเนียมขั้นเสี้ยนเป็นรูปก้นหอย
การใช้งานที่ด้านหลัง พอร์ต Gigabit Lan 3 ช่อง , Gigabit Wan , และ จุดเชื่อมต่อพาวเวอร์ซัพพลาย
Config / Setup
การเซ็ตอัพที่สามารถทำได้ผ่าน App ได้อย่างง่ายดาย ๆม่กี่ขั้นตอนก็จบครับ
การเซ็ตอัพผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ URL router.asus.com ก็เข้ามาทำได้เรียบร้อย
สามารถเซ็ตอัพให้ ASUS ZenWiFi XD6 ทำงานในรูปแบบของ Mesh WiFi ได้ตั้งแต่เริ่มต้น
ในการตั้งค่าของ Wireless Lan สามารถใช้ SSID เดียวกันทั้งสองความถี่ หรือ แยก SSID ในแต่ละความถี่ได้
น่าจะเป็น Router WiFi 6 หรือ Wireelss AX ยี่ห้อเดียว ที่มีการใส่ใจต่อผู้ใช้งาน เรื่องคำเตือนและคำแนะนำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
การตั้ง User Name และ Password ของผู้ดูแลระบบ
ตอนนี้ ASUS ZenWiFi XD6 ก็เรียบร้อยพร้อมใช้งานให้ลูกข่ายเชื่อมต่อสู่โลกภายนอก
เข้ามาคอนฟิกการทำงานข้างในกันต่อ ด้านหน้าที่เป็น Network Map แต่ผมยังไม่ได้ต่อ Mesh WiFi หรือ Ai Mesh ของ ASUS ZenWiFi XD6 ตัวที่สองนะครับ
ในส่วนของ AiMesh ที่รองรับการเชื่อมต่อเราเตอร์ ASUS ที่รองรับเข้าไปด้วยกัน สามาถเชื่อมต่อได้มากกว่า 2 ตัว เพื่อการครอบคลุมพื้นที่ได้สูงมากขึ้น
รองรับการทำ Mesh ด้วยการใช้ Ethernet Backhaul ที่ปกติมันจะคุยระหว่าง Node ด้วย Wireless 5 Ghz
เครื่อข่ายผู้เยี่ยมชม
การตรวจสอบการใช้งานข้อมูลในแต่ละลูกข่าย
การตั้งค่าการทำงานของ Wireless Lan ทั้งสองความถี่ รองรับ 5Ghz ที่ 160 Mhz
การปรับโหมดการทำงานของ ASUS ZenWiFi XD6 ก็เรียกได้ว่านำไปปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย
ประสิทธิภาพการใช้งานตัวเดียว
การทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานนั้น เราจะมาหาความน่าจะเป็นของประสิทธิภาพ ASUS ZenWiFi XD6 ในรูปแบบตัวเดียวกันก่อน โดยลูกข่ายในการทดสอบใช้ iPhone SE 2020 รองรับมาตรฐาน WiFi 6 แล้ว แต่ไม่ใช่ตัวที่แรงที่สุด การทดสอบทำการทดสอบในบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ที่มีจำนวนห้องนอนมากว่า 4 ห้องนอน ความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ 1000/300 Mbps ที่ผมได้ทำการเชื่อมต่อ ASUS ZenWiFi XD6 เข้ากับระบบเดิมภายในบ้าน เท่ากับว่าจะมีลูกข่ายเป็นจำนวนมากที่เข้ามาเชื่อมต่อในวงนี้
มาถึงทางด้านประสิทธิภาพในการทดสอบชั้นเดียวกับ ASUS ZenWiFi XD6 ที่ความเร็วในการดาว์นโหลดทำออกมาได้ที่ 852 Mbps กับค่าเฉลี่ยที่เกือบ 700 Mbps ถือว่าตัวเดียวก็แรงพอตัว
ในการทดสอบที่ชั้นสองของบ้าน โดยผมเลือกพื้นที่นอกห้องนอนข้างหลังบ้าน มีสิ่งกีดขวางเป็นจำนวนมาก แถมด้วยการตากผ้านวมผืนใหญ่ขวางหน้าห้องที่ทดสอบ เพื่ออยากจะรู้ความสามารถในการทะลุทะลวงหลังจากเชื่อมต่อแบบ Mesh WiFi ซึ่งถ้ามองกันที่ประสิทธิภาพความเร็วในการดาว์นโหลดสูงสุด 437 Mbps ถือว่ายังใช้งานได้ดี แต่ค่าความหน่วงในการรับส่งข้อมูล รวมไปถึงสัญญาณกวนจากการทดสอบ ที่ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตต่างๆนั้นไม่ไหลลื่นตามความเร็วรับส่งข้อมูลแน่นอน
ประสิทธิภาพการใช้งานแบบ Mesh WiFi
การทดสอบประสิทธิภาพหลังจากการเชื่อมต่อ Mesh WiFi ที่เราจะทดสอบทั้งแบบการใช้ Wireless และ Ethernet เพื่อหาความแตกต่างของประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การเพิ่ม Node หรือ ASUS ZenWiFi XD6 ตัวที่สอง เรียกได้ว่าง่ายมากครับ เสียบปลั๊กรอตัวมันเองบูตให้เรียบร้อย กดเพิ่ม Node ไม่กี่วินาทีก็หากันเจอแล้ว
ตามหน้าต่างเราจะเห็น ASUS ZenWiFi XD6 ตัวที่สองทำการเชื่อมต่อในรูปแบบ Mesh WiFi หรือ AiMesh เรียบร้อยแล้ว
สามารถจัดการ AiMesh Node ให้ทำการเชื่อมต่อ Backhaul หรือ การคุยหลังบ้าน แยกกันในแต่ละ Node ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวทั้งระบบเครือข่าย
การทดสอบยังคงอยู่พื้นที่นอกห้องนอนชั้นสองของบ้านเหมือนเดิม ความเร็วที่ทำการทดสอบออกมาได้นั้น ไม่ได้เร็วขึ้นอย่างเห็นชัดเจน แต่ค่าความหน่วงเวลาที่ทำออกมาได้ดีขึ้น รวมไปถึงการรบกวนสัญญาณต่างๆที่ส่งผลต่อความหน่วงเวลาที่ทำออกมาได้ดีขึ้น
การทดสอบต่อไป จะทำการเชื่อมต่อ ASUS ZenWiFi XD6 ตัวที่สองในรูปแบบ Ethernet Backhaul
การทดสอบยังคงอยู่พื้นที่นอกห้องนอนชั้นสองของบ้านเหมือนเดิม แต่การเชื่อมต่อระหว่าง Node จะเป็น Ethernet Backhaul ซึ่งประสิทธิภาพที่ทำออกมาได้นั้นถือว่าเร็วแรง และ ความหน่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับการทดสอบที่บริเวณที่วาง ASUS ZenWiFi XD6 ตัวหลัก
การติดตั้ง Node ของ Mesh WiFi หรือ AiMesh นั้นควรมีการวางแผนให้ดี มิฉะนั้นประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่ายไร้สายอาจออกทะเลได้ หาที่วางและเพิ่ม Node อย่างมีสติ
Conclusion
ASUS ZenWiFi XD6 เป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่กำลังมองการอัพเกรดระบบเครือข่ายไร้สายภายในบ้านให้รองรับมาตรฐาน Wireless AX หรือ WiFi 6 ที่ตอบโจทย์การใช้งานพื้นที่การใช้งานที่มีขนาดประมาณ 500 ตรางเมตรสำหรับ ASUS ZenWiFi XD6 ชุดแพ็คคู่นี้ ซึ่งการใช้งานของมันก็คือ Router ASUS Dual Band AX5400 ที่มีฟีเจอร์การใช้งานอันมากมาย พร้อมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยมในสไตล์ของ ASUS ถ้ามองกันที่ประสิทธิภาพแล้วตัวเดียว ASUS ZenWiFi XD6 ประสิทธิภาพความแรงในการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือว่ามันทำออกมาได้ดีแล้ว เมื่อทำการเชื่อมต่อ Mesh WiFi หรือ AiMesh แล้ว ความสามารถในการใช้งานเครือข่ายไร้สายนั้นจะได้พื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น ถ้ามองในแง่การใช้งานบ้านเดี่ยวระดับ 4 ห้องนอนขึ้นไปถือว่า ASUS ZenWiFi XD6 สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ดีเยี่ยมมาก แต่ถ้ายังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ตามการใช้งานพร้อมทั้งการใช้งานได้อย่างเต็มแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตระดับ Gigabit จริงๆ ลองเชื่อมต่อ Ethernet Backhaul หรือเพิ่มเราเตอร์ ASUS ที่รองรับ AiMesh เข้าไปมันก็ได้ได้เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานได้จาก SSID เดียวกัน ทั้งพื้นที่ในการใช้งานได้สะดวกและประสิทธิภาพดีกว่ากว่าการใช้ Wireless Repeater อย่างเทียบกันไม่ติด สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.