สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน วันนี้จะมากับช่วงเล่าย้อนอดีต ตอนที่สอง ในอดีตการเปลี่ยนยุคสมัยของซีพียู ซึ่งยังคงสามารถใช้งานร่วมกับชิพเซ็ตตัวเดิมได้ ถ้ามองกันที่สมัยนี้สมัยนี้เปลี่ยนยุคเทคโนโลยีก็ต้องเปลี่ยนชิพเซ็ตตาม แน่นอนว่าในการออกแบบของเมนบอร์ดสมัยก่อน ก็มีผู้ผลิตบางเจ้าที่คิดนอกกรอบจากช่องว่างระหว่างยุคเทคโนโลยี ยัดซ็อกเก็ตซีพียูสองบนเมนบอร์ดตัวเดียวกันซะเลย ในแง่ของผู้ใช้งานสามารถอัพเกรดซีพียูไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ โดยยังสามารถใช้เมนบอร์ดตัวเดิมได้ ก็ประหยัดงบประมาณไปได้ในการอัพเกรดเครื่อง ที่วันนี้เราจะเอาเมนบอร์ดตัวจริงในยุคสมัยนั้นที่มีการทำตลาดวางแผงขายในบ้านเราเอามาให้ได้ขมเรื่องราวในอดีตกัน
เมนบอร์ดตัวเดียวสองซ็อกเก็ต
ASRock ถ้าเราพูดถึงยุคแรกในการทำตลาดของเมนบอร์ดแบรนด์นี้คือ เมนบอร์ดสำหรับชาวรากหญ้า ที่ต้องการเมนบอร์ดราคาประหยัด อันนี้พูดถึงความจริงในอดีตนะครับ ไม่ได้ว่าอะไร แต่อีกสิ่งนึงของเมนบอร์ดค่ายนี้ที่จะออกแบบเมนบอร์ดที่มีความแหวกแนวที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีความคาบเกี่ยวของช่องว่างในยุคสมัยเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากเมนบอร์ดตัวเดียวที่มีสองซ็อกเก็ตแล้ว ASRock ก็เคยทำเมนบอร์ดที่รองรับกับการอัพเกรดซ็อกเก็ตด้วยการ์ดอุปกรณ์เสริมได้ ไม่ใช่แค่อัพเกรดแค่เพ็คเกจ มันยังอัพเกรดกันข้ามยุคสมัยของเทคโนโลยีได้อีก
เมนบอร์ด ASRock P4 Combo ถ้าผมจำไม่ผิดจะเป็นการทำตลาดในยุค 2004 หรือ พศ. 2547 ที่เป็นช่วงรอยต่อของสมัยเทคโนโลยีแพ็คเกจ Socket 478 เข้ามาสู่ แพ็คเกจ LGA775 ที่ตัวระดับเรือธงคือ Intel Pentium Extreme Edition เมนบอร์ดตัวนี้เป็นการใช้ Chipset ในส่วน Northbridge Intel 848P ผนวกกับ Southbridge Intel ICH5
ถ้าใครเคยเป็นแฟนคลับของเมนบอร์ด ASRock คงจะคุ้นเคยกันดีกับเมนบอร์ดที่ใช้ PCB สีน้ำเงิน ด้วยความเป็นเมนบอร์ดราคาประหยัดสมัยนั้นการออกแบบของเมนบอร์ด ASRock ที่จะไม่ได้ดูดีเหมือนยุค 2020 ซึ่งจุดเด่นของ ASRock P4 Combo ที่จะมีการวาง Socket 478 และ LGA775 ลงบนเมนบอร์ดตัวเดียวซะเลย สะดวกในการอัพเกรดช่วงระหว่างรอยต่อของแพลตฟอร์มได้เป็นอย่างดี
ในยุคสมัย Socket 478 ตัวยอดนิยมคงจะหนีไม่พ้น Intel Pentium 4 2.4 - 2.8 Ghz สถาปัตยกรรม Northwood และ อีกหนึ่งตัวที่ร้อนแรงกันอย่างมาก กับ Pentium 4 3 Ghz สถาปัตยกรรม Prescott
Socket LGA775 ยุคแรกในการทำตลาดของซีพียูไร้ขาจาก Intel ถ้าผมจำไม่ผิดตัวยอดนิยมอย่าง Pentium D และ Pentium Extreme Edition มากันในรูปแบบของซีพียู Dual Core แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้นที่ระบบปฏิบัติการ Windows แบบงานกันทั่วไม่สามารถดึงประสิทธิภาพของซีพียูแบบสองแกนได้เป็นอย่างดี ในยุคนั้นถ้าจำไม่ผิด ใครงบประมาณไม่สูงมาก ซีพียูแกนเดียวก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว
สมัยก่อนเรื่องแรม Dual Channels แบบสมัยนี้จะไม่มีนะครับ แรมแผงเดียวก็พอแล้ว ถ้าเมนบอร์ดที่มีฐานะสูงจะมาพร้อมกับสล็อตแรม 3 แถว ยุคนั้นจะเป็นแรม DDR 1
ถ้าเราดูการออกแบบของเมนบอร์ดสมัยนั้น ถ้าเป็นเมนบอร์ดราคาประหยัดจะตัดภาคจ่ายไฟกันออกดื้อ ที่เมนบอร์ดในยุคนั้นจะมากันแบบโล่งๆ
Back I/O Panel ของเมนบอร์ดในสมัยนั้น นอกจาก PS/2 กันแล้วจำเป็นต้องมีพอร์ตปริ้นเตอร์ และ Com ด้วย สมัยนั้นอินเตอร์เน็ต Dial-Up พอร์ตแลนเอาไป 10/100 Mbps ก็เกินพอ
หน้าตาของ Southbridge Intel ICH5 ที่จะเป็นการทำงานควบคู่ร่วมกับ Northbridge Intel 848P ที่อยู่ใต้ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีเทา
ข้อจำกัดของตัวเมนบอร์ด เมื่อต้องการสลับการใช้งานของ Socket ระหว่าง 478 หรือ LGA775 ต้องทำการสับชุด Pin ประมาณ 30 ชุดเท่านั้นครับ
วิธีการสลับ Pin ที่ต้องทำกันแบบด้วยมือของผู้ใช้งานเอง ในกล่องจะมีอุปกรณ์ที่ช่วยถอดชุดจั๊มเปอร์ได้สะดวกมากขึ้น ก็สลับกันไปสิครับ แลกกับการอัพเกรดซีพียูโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดใหม่ก็ถือว่าคุ้มอยู่กับเวลาที่เสียไป
เป็นอีกหนึ่งของเมนบอร์ดที่ทาง ASRock นั้นได้มีการออกแบบเมนบอร์ดที่มีความสุดแนวเอาใจกับคนที่อัพเกรดเช่นเดิม ถึงแม้จะเป็นเมนบอร์ดที่มีซ็อกเก็ตเดียว แต่รองรับการติดตั้ง CPU บอร์ดเพิ่มเติม ในยุคของเทคโนโลยีคาบเกี่ยวในยุคของ AMD K8 โดยในยุคนั้นจะมีชิพเซ็ต nForce ,VIA ,SiS และ ULi ในตลาด ที่เมนบอร์ด ASRock K8SLI-eSATA2 จะเป็นเมนบอร์ด Socket 754 รองรับแรมแบบ Single Channel ด้วยการใช้ชิพเซ็ตจาก ULi แต่ความพิเศษของเมนบอร์ดตัวนี้จะมี CPU Board เพื่อการอัพเกรดให้เลือกได้ 2 ซ็อกเก็ต คือ Socket 939 (DDR1) หรือ Socket AM2 (DDR2) ที่นอกจากการอัพเกรดเพิ่มการองรับของซีพียูแพลตฟอร์มใหม่แล้ว ยังสามารถรองรับเมโมรีตามแพลตฟอร์ม พร้อมกับรองรับแรม Dual Channels ได้ตามยุคสมัยของการออกแบบ ถึงแม้จะมีการ์ดอัพเกรดซ็อกเก็ต แต่ผู้ใช้งานจะต้องทำการสับ Pin จั๊มเปอร์บนเมนบอร์ดเหมือนตัว P4 Combo เลือกระหว่าง Socket บนเมนบอร์ด หรือ การ์ดอัพเกรดบอร์ด
Conclusion
วันนี้เล่าย้อนอดีตในตอนที่ 2 กับเมนบอร์ดตัวเดียวสองซ็อกเก็ต ที่เราได้เห็นกับผู้ผลิตเมนบอร์ดที่พยายามคิดนอกกรอบ ออกแบบเมนบอร์ดเพื่อเป็นใจกับผู้ใช้งานที่เน้นความประหยัดงบประมาณในการอัพเกรดเครื่อง ซึ่งงบประมาณอาจเพียงพอกับการเลือกใช้ซีพียู Intel Socket 478 เพียงแค่เลือกใช้เมนบอร์ด ASRock P4 Combo ก็เตรียมพร้อมกับการอัพเกรดข้ามยุคสมัยไปเป็น Pentium D ได้ในอนาคตโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ โดยในยุคสมัย 2020 คงไม่มีทางที่จะเห็นเมนบอร์ดในลักษณะนี้กันแล้ว ในสมัยนี้พอเปลี่ยนยุคพื้นฐานการออกแบบใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดตามกันไปด้วย สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ