Processor ฝั่ง PC ที่เราใช้งานกันมานาน ก็จะเป็นแบบ Core ประเภทเดียว หมายถึงใน CPU นั้นมี Core ทุกตัวที่เหมือนกัน ประสิทธิภาพภายในของทุก Core ก็จะอยู่ในระดับเดียวกัน จนกระทั่ง Intel เปิดตัว Processor Core ใน Generation ที่ 12 ซึ่งเป็น CPU Hybrid รุ่นแรกของวงการคอม ที่ภายในนั้นจะมี Core ใหญ่ และ Core เล็ก แยกการประมวลผลกัน ทำให้ได้ทั้งเรื่องประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการทำ Multi-Tasking ก็จะดีขึ้นด้วย
ล่าสุดนี้ทาง AMD ก็ได้มีการเปิดตัว Processor ประเภท Hybrid ของตัวเองเข้ามาแล้วครับ จุดประสงค์หลักๆเลยก็คือกลุ่มตลาด Thin and Light Notebook ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากค่า Efficiency ของ Processor .. โดยรหัสที่เปิดตัวมาก็จะเป็น Ryzen 5 7545U และ Ryzen 3 7440U ทั้งสองรุ่นนี้จะเป็น Processor ในตระกูล Phoenix 2 และมี Core พื้นฐานทั้ง Zen 4 มาตรฐาน และ Zen 4c ที่เป็น Core เล็กลงมา
รุ่นใหญ่กว่าก็คือ Ryzen 5 7545U ที่จะเป็น Processor แบบ 6-Core, 12-Thread ประกอบไปด้วย Zen 4 Core ทั้งหมด 2 Core และ Zen 4c Core ทั้งหมด 4 Core มากับ Base Cock ที่ 3.2GHz และ Boost Clock ที่ 4.9GHz ค่า TDP อยู่ราวๆ 15-30W ประกบกับชิปกราฟฟิค Radeon 740M มี Cache รวม 22MB โดย 16MB ในนั้นจะเป็น L3 Cache
ส่วนอีกหนึ่งตัวที่เป็นรุ่นน้องเล็กลงมาก็คือ Ryzen 3 7440U ตัวนี้จะเป็น Processor แบบ 4-Core / 8-Thread มี Base Clock 3GHz และ Boost Clock 4.7GHz ค่า TDP ของมันจะอยู่ที่ 15-30W เหมือนกัน แต่จะมี Cache รวมที่ 12MB (L3 Cache 8MB) ชิปกราฟฟิคภายในจะเป็น Radeon 740M เหมือนกัน
ทีนี้สิ่งที่น่าสนใจเลยก็คือสถาปัตยกรรมแบบ Hybrid ที่เอา Core ของ Zen 4c เข้ามาใช้ ว่ามันจะมีความแตกต่างกับ Core ของ Zen 4 ธรรมดามากน้อยแค่ไหน .. ข้อมูลตรงนี้ของ AMD ระบุว่า Core ใหม่นี้มี Efficiency ที่สูง และมีขนาดที่เล็กลงกว่า Zen 4 ธรรมดาราวๆ 35% ทำให้สามารถทำ Scalability ได้ดีกว่า รวมไปถึงสามารถใส่จำนวน Core รวมได้มากกว่าด้วย สำหรับตัว Processor รุ่นใหญ่กว่าที่จะเปิดตัวมาในอนาคต
ทางบริษัทบอกว่า Zen 4c นั้นจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับ Entry-Level Device เพราะว่า Core เล็กที่ว่านี้ มีค่า IPC เทียบเท่ากับ Zen 4 มาตรฐาน แต่กินพลังงานน้อยกว่า ทำให้ตัวชิปสามารถทำประสิทธิภาพได้ดีในขณะที่การกินไฟนั้นไม่เกิน 15W .. แต่ก็แน่นอนว่าเรื่องประสิทธิภาพ ตัว Zen 4 มาตรฐานก็จะยังดีกว่า เพราะว่ามี Absolute Clock Limit ที่สูงกว่า ทำให้มีการแบ่งการทำงานได้อย่างชัดเจน ระหว่าง Core ใหญ่ ที่รับหน้าที่ Workload ประมวลผลสูง ส่วน Core เล็กก็จะรับหน้าที่งานที่ประหยัดพลังงานไป คล้ายๆกับของฝั่ง Intel นั่นแหละครับ
การใช้งาน Zen 4c Core นี้ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรมากมาย เพราะก่อนที่จะเปิดตัว Processor สองรุ่นนี้ออกมา ก็เคยมีอุปกรณ์ที่ใช้ Core แบบนี้มาแล้ว อย่างเช่นชิป Ryzen Z1 ที่เห็นกันใน ROG Ally ตัวนั้นจะมี Core Zen 4 จำนวน 2 Core และ Zen 4c Core จำนวน 4 Core เพียงแค่ครั้งนี้จะเป็นการนำมันเข้ามาสู่ตลาด Consumer Market เท่านั้น
แต่สิ่งที่หายไปจาก Processor ตระกูลใหม่นี้เลยก็จะเป็นฟีเจอร์ Ryzen AI ที่มีอยู่ใน Ryzen 7 7840U และ Ryzen 5 7640U แบบนี้ก็อาจจะไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้ Windows ที่ต้องการจะรันงาน AI บนโน๊ตบุ้กของตัวเองซักเท่าไหร่ แต่สำหรับ Linux ก็อาจจะไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากมายขนาดนั้น เพราะ Ryzen AI ก็ยังไม่ได้รองรับบน Linux อยู่ดี
ข้อมูล : TechSpot