สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน ผ่านพ้นไปสำหรับการเปิดตัว AMD Ryzen 9000 Series โดยเน้นการเพิ่ม IPC (Instructions per cycle) มากกว่าการไปเพิ่มสัญญาณนาฬิกา ถ้าเทียบกับ Ryzen 7000 Series จะเห็นได้สเปกไม่ต่างกัน เราจะได้เห็น Ryzen 5 และ Ryzen 7 ในบ้านเราที่ได้มีการสั่งซื้อได้แล้ว แต่วันนี้ที่เป็นการปล่อยการทดสอบ Ryzen 9 ในโมเดล 9900X และ 9950X ที่เป็นระดับเรือธงของ Ryzen 9000 Series ในเวลานี้ โดยวันนี้เราจะเจอกับ AMD Ryzen 9 9900X โมเดลเริ่มต้นรองท๊อปของ AMD Ryzen 9000 Series ในขณะนี้ ถ้านับจากคอร์/เธรดน้อยกว่า Ryzen 9 9950X เล็กน้อยครับ มีข้อดีมีสเปก TDP 120 Watt มีการเลือกของเมนบอร์ดที่มากมาก ราคาเบาอย่างชิพเซ็ต AMD A620 งบมากหน่อย AMD B650 และ B650E รวมไปถึงสายประสิทธิภาพสูงอย่าง X670 และ X670E ผนวกกับแรม DDR5 ราคาเบาอยู่ในช่วงเวลานี้ เลือกได้ตามความชอบและงบประมาณที่ไหว โดย AMD Ryzen 9 9900X ใช้พื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge โดยจะที่ไม่มีชุดระบายความร้อนมาให้ แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร โดย TSMC ประมวลผลจำนวน 12 แกน 24 เธรด ความเร็วพื้นฐานที่ 4.4 Ghz บูสคล็อกสูงสุด 5.6 Ghz ถือว่าสูงมากแม้ไม่ได้ทำการโอเวอร์คล็อก ที่ยังรองรับการโอเวอร์คล็อกได้ตามความน่าจะเป็นของอุปกรณ์และดวง มีค่า TDP 120 Watt อีกทั้งยังมีกราฟฟิกในตัว ความแรงออกมาสะใจ สมกับที่รอคอยการเปิดตัวของ AMD Ryzen 9000 Series มากแค่ไหน ตามมาชมกัน
Update : เพิ่มเติมจากการทดสอบ ที่ตอนนี้ทาง AMD เจอปัญหากับการเล่นเกม การแก้ปัญหาในเบื้องต้นให้ทำการ "ปิด SMT" ในไบออส เป็นวิธีแก้ปัญหาประสิทธิภาพของ Zen 5 ปัญหาในเบื้องต้นเท่านั้น ประสิทธิภาพในการเล่นเกมของ Ryzen 9000 Series ดีขึ้น โดยที่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในอนาคตที่ต้องมีการแก้ปัญหาที่ดีมากกว่านี้
Name | AMD Ryzen 9 9900X |
Series | Ryzen 9000 Series |
AMD Pro Technologies | No |
Codename | Granite Ridge AM5 |
Architecture | Zen 5 |
CPU Cores / Threads | 12 Cores / 24 Threads |
Multithreading (SMT) | Yes |
Max Boost Clock | Up to 5.6 GHz |
Base Clock | 4.4 GHz |
L1 Cache | 960 KB |
L2 Cache | 12 MB |
L3 Cache | 64 MB |
Default TDP | 120 Watt |
Technology for CPU Cores | TSMC 4nm FinFET |
Technology for I/O Die | TSMC 6nm FinFET |
Package Die Count | 3 |
Unlocked for Overclocking | Yes |
AMD EXPO Memory Overclocking Technology | Yes |
Precision Boost Overdrive | Yes |
Curve Optimizer Voltage Offsets | Yes |
AMD Ryzen Master Support | Yes |
CPU Socket | AM5 |
CPU Boost Technology | Precision Boost 2 |
Graphics Model | AMD Radeon Graphics |
Graphics Core Count | 2 |
Graphics Frequency | 2200 Mhz |
Max. Operating Temperature (Tjmax) | 95°C |
AMD Ryzen 9 9900X มีพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge โดยจะที่ไม่มีชุดระบายความร้อนมาให้ แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร และ ในส่วนของ I/O ที่การขนาดการผลิต 6 นาโนเมตร โดยมี Cache ระดับที่ 1 960 KB ระดับที่ 2 12MB และ ระดับที่ 3 64 MB พร้อมกับค่า TDP 120 Watt โดยความเร็วพื้นฐานที่ 4.4 Ghz บูสคล็อกสูงสุด 5.6 Ghz
รูปตัวอย่างภาพในของ AMD Ryzen 9 9900X ภายใต้กระดอง มีพื้นฐานสถาปัตยกรรม Zen 5 ในรหัสการพัฒนา Granite Ridge แกนของซีพียูเป็นขนาดการผลิต 4 นาโนเมตร และ ในส่วนของ I/O ที่การขนาดการผลิต 6 นาโนเมตร ที่จะต่างกับรหัสการพัฒนา Raphael ขนาดขบวนการผลิต 5 nm ของ Ryzen 7000 Series แทบจะไม่ต่างจากเดิมมากนัก มีแค่แกนซีพียูประมวลผลที่ใหม่กว่าครับ ที่มาพร้อมกับกราฟฟิก AMD Radeon Graphics เป็นขนาดการผลิต 5 นาโนเมตร เหมือนกันทั้ง Ryzen 9000 และ 7000 Series
Package & Bundled
แพคเกจของ AMD Ryzen 9000 Series โดยภาพรวมจะเป็นธีมสีดำแซมด้วยสีเทา พร้อมกับการตัดขอบส้ม โดยตัวที่เราได้รับมาทำการทดสอบ มีแต่ตัวเปล่า ไม่มีกล่องมาด้วย
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่โดดเด่นที่สุดจะเป็นกระดองที่เป็น 8 มุม ไม่เหมือนใคร แต่ทาซิลิโคนต้องมีความระมัดระวัง ควรทาแต่พอดี กระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างตามแบบฉบับของ AMD ที่ประกอบในจีน ที่ต่างจาก Ryzen 5 9600X ที่ประกอบที่มาเลเซีย
แพ็คเกจ LGA 1718 หรือ Socket AM5 ที่มีการใช้ตั้งแต่ Ryzen 7000 มีการทำรอยบากที่ใหญ่ ติดตั้งได้ไม่ยาก ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน
AMD Ryzen 9 9900X มีความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่ 5.6 Ghz ลากต่อ โอเวอร์คล็อกที่แรงสะใจแน่นอนเท่านั้น ตามการระบายความร้อนที่ใช้อยู่ ที่ยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ AMD Ryzen Master ,เปิดใช้งาน Precision Boost Overdrive ในไบออส และ ปรับแต่งเองในไบออส เพิ่มประสิทธิภาพการประมวณผลได้ตามความน่าจะเป็นของระบบและดวง
AMD Ryzen 9 9900X ใช้ SMT สองตัวประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสมัยนี้ ที่ AMD เริ่มมีการใช้ในสมัย Bulldozer
กราฟฟิกในตัวคือ AMD Radeon Graphics ที่พลังทำออกมาได้ไม่เลว ความเร็วแรมวิ่งตามแรมระบบ
กราฟฟิกในตัว AMD Radeon Graphics จะมีแค่บางการทดสอบเท่านั้น ที่จะมีการทดสอบแยกออกมาอีกชุด
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- Memory : G.Skill TridentZ5 RGB 32GB F5-7200J3445G16GX2-TZ5RS
- VGA : GIGABYTE Radeon RX 7800 XT
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : FSP 1200W Watt
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
System Setup (Integrated Graphics)
พลังของกราฟฟิกในตัวอย่าง AMD Radeon Graphics โดยภาพรวมที่ไม่ต่างจาก AMD Ryzen 7000 Sereis โดยพลังของกราฟฟิกที่ออกมาตอบสนองการใช้งานได้ถึงดี แต่ถ้าเล่นเกมพวกต้องวัดดวง และ ดูการกินกำลังของกราฟฟิกไว้ด้วย แต่ถ้าสามารถปรับแต่ง Software ให้ประมวลผลร่วมกับการจอแยกได้ ถือว่าได้ความคุ้มค่ามากขึ้น
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : MSI B650 Gaming Plus WiFi
- Memory : G.Skill TridentZ5 RGB 32GB F5-7200J3445G16GX2-TZ5RS
- VGA : AMD Radeon Graphics
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : FSP 1200W Watt
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
ราคาเปิดตัวของ Ryzen 9000 Series โดยภาพรวมที่จะต่ำกว่า Ryzen 7000 Series อยู่เล็กน้อย สี่โมเดลนี้เป็นกลุ่มแรกของ Ryzen 9000 Series เท่านั้น ยังมีอีกหลายโมเดลที่จะออกมา ไม่แน่ใจว่าจะมี Ryzen 3 ใน 9000 Series หรือไม่ ยังไม่นับรวม Ryzen 9000 X3D ราคา Ryzen 5 9600X อยู่ที่ 279 USD ราคาในบ้านเรา 11XXX บาท ,Ryzen 7 9700X ที่ 359 USD ราคาไทย 14XXX บาท ,Ryzen 9 9900X ที่ 499 USD และ Ryzen 9 9950X ที่ 649 USD ยังไม่รวมค่าขนส่งและภาษีในประเทศไทยครับ
Conclusion
AMD Ryzen 9 9900X ในระดับเกือบบนสุดห่วงโซ่ AMD RYZEN 9000 Series ด้วยกระแสของการพัฒนาซีพียูในยุคใหม่ เหมือนว่าจะหมดยุคที่ CPU นั้นจะร้อนและกินไฟได้ซักทีครับ แม้ว่าประสิทธิภาพรวมอาจจะไม่ได้แรงกว่า Ryzen 7000 Series แบบชัดเจน แต่ถ้าวัดเรื่องความร้อนและการกินไฟนั้น พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ค่า TDP จาก Ryzen 9 7900X ที่ 170W ลดลงเหลือ 120W เน้นการเพิ่ม IPC (Instructions per cycle) มากกว่าการไปเพิ่มสัญญาณนาฬิกา แต่ตามสเปกที่ AMD Ryzen 9 9900X บูสคล็อกสูงสุด 5.6 Ghz ถ้าโอเวอร์คล็อกลองดูเล่นๆ ที่ดูมีอนาคตดี ด้วยการที่ Ryzen 9 9900X มี 12 คอร์ และ 24 เธรด ที่มันเหมาะกับการใช้ทำงาน ,การตัดต่อ หรือ งานที่ต้องการคอร์/เธรดจำนวนมาก ในด้านการประมวลผลถ้าเทียบกับ Threadripper ที่ Ryzen 9 9900X แรงแบบกินขาด แถมมีความวุ่นวายในระบบน้อยกว่าด้วย ให้เทียบกับความรู้สึกในการเล่นเกมเพียวๆ Ryzen 9 9900X ที่ไม่ต่างจาก Ryzen 5 9600X มากนั้น แต่การเล่นเกมในยุค 2024 สมัยนี้มีการใช้งานมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมมิ่ง ,การอัดหน้าจอในการเล่นเกม และ อื่นๆ ที่ AMD Ryzen 9 9900X สามารถเข้ามาตอบโจทย์เกมมิ่งยุคใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เปรียบเสมือน Ryzen 9 9900X เป็น Ryzen 9 7900X เวอร์ชั่นที่ออกใหม่ มีความสดมากกว่าเดิม ค่า TDP ลดลง ที่ยังมีการลดขนาดขบวนการผลิต Ryzen 7000 Series จาก Raphael ขนาดขบวนการผลิต 5 nm มาเป็น Ryzen 9000 Series จาก Granite Ridge ขนาดขบวนการผลิต 4 nm โดยที่ I/O ยังคงขบวนการผลิต 6 nm และ กราฟฟิกขบวนการผลิต 5 nm เหมือนเดิมไม่ต่างกัน ในด้านการใช้งานที่ Ryzen 9 9900X ถือว่ามีการตอบสนองที่ดีกับสายเกมมิ่ง ทำงานหนัก เน้นการประมวลผลด้วยซีพียูที่มี 12 คอร์ / 24 เธรด ถ้าเอาไปเทียบกับระดับ Workstation เมื่อยุคที่ผ่านมา AMD Ryzen 9 9900X สามารถเทียบชั้นได้อย่างสบาย ส่วนสายโหดในการโอเวอร์คล็อก ที่ AMD RYZEN 9000 Series สามารถตอบโจทย์ได้ตามการระบายความร้อนและดวงที่ได้ซีพียูไปไกลๆ เรื่องการโอเวอร์คล็อกเมโมรีที่ยังไม่มีเวลาได้ลองมาก ลองดูเล่นๆ วิ่งสู้ Ryzen 8000 Series ยังไม่ได้ ที่ลากแรม DDR5 ต้องยกให้ Ryzen 8000 สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Update : เพิ่มเติมจากการทดสอบ ที่ตอนนี้ทาง AMD เจอปัญหากับการเล่นเกม การแก้ปัญหาในเบื้องต้นให้ทำการ "ปิด SMT" ในไบออส เป็นวิธีแก้ปัญหาประสิทธิภาพของ Zen 5 ปัญหาในเบื้องต้นเท่านั้น ประสิทธิภาพในการเล่นเกมของ Ryzen 9000 Series ดีขึ้น โดยที่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในอนาคตที่ต้องมีการแก้ปัญหาที่ดีมากกว่านี้
Special Thanks : AMD Far East | Thailand