สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากที่ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen ในยุคที่สาม มาได้ซักพัก ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากตลาดกัน แต่หลายคนนั้นคงจะมีปัญหาและประสบการณ์ในการใช้งานที่ไม่ดีในเรื่องของ Boost Clock ที่ก็มีทั้งความรู้สึกในการใช้งานที่ไม่ราบลื่น หรือ เกิดปัญหาเครื่องค้างอะไรก็ว่ากันไป ก็เลยแก้ปัญหาตรงจุดที่ปิด Boost Clock แล้วจับล็อกความเร็วไว้ที่ระดับ Boost Clock นั้นเอง ที่เดี๋ยววันนี้เราจะมาทดสอบเปรียบเทียบกันว่าการใช้งานค่ามาตรฐานของ Ryzen Gen 3 กับ การเปิด Boost clock นั้นประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นจะออกมาแตกต่างกันเพียงใด
สำหรับ AMD Ryzen 5 3500X ที่เรามาใช้เป็นตัวทดลองครั้งนี้ โดย Ryzen 5 3500X ด้วยแกนประมวลผล 6 คอร์ 6 เทรด Base Clock 3.6 Ghz พร้อมกับ Boost Clock สูงสุด 4.1 Ghz โดยที่ซีพียูตัวนี้มาเป็นตัวเลือก ก็เพราะว่ามันคือ Ryzen 3 ที่ใช้พื้นฐาน Zen+ ในราคาที่ถูกที่สุด
มาถึง Precision Boost จะมีการปรับความเร็วให้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน แน่นอนว่ามันช่วยในเรื่องของประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่ในแง่ความจริงที่โหดร้ายหน้าที่หนักมันจะไหอยู่ที่เมนบอร์ด ที่ต้องคอยจ่ายไฟให้เหมาะสมกับความเร็วตลอดเวลา ถ้าใครเคยเล่นโอเวอร์คล็อกซีพียูแบบความเร็วสูงที่สุดในจุดที่ไฟเลี้ยงซีพียูต่ำสุด หรือ Low Voltage Tweak คงจะพอเข้าใจ เพราะเพียงแค่ไฟเลี้ยงไม่พอเพียงเล็กน้อย มันก็ทำให้เกิดอาการค้างได้
กับการทดสอบเปรียบเทียบกัน ระหว่างเดิมๆไม่ได้ยุ่งกับค่าคอนฟิกของซีพียูแต่อย่างไร มาเปรียบเทียบกับการปิดการทำงานของ Precision Boost พร้อมกับขึงความเร็วไว้ที่ 4.0 Ghz แค่นี้ก็เหนื่อยกับชุดระบายความร้อน Wraith Stealth
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ASUS TUF X470-Pro Gaming
- VGA : ROG STRIX Radeon RX580 8GB
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 16 GB
- CPU Cooler : AMD Wraith Stealth
- SSD : Silicon Power A56 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1903)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen High Performance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
***** ใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนติดไว้ที่กระดองขณะทำการทดสอบ ไม่ได้ใช้ซอร์ฟแวร์วัดความร้อนของซีพียู *****
Conclusion
จากการทดสอบเปรียบเทียบของ Boost Clock ของ Ryzen Gen 3 ในแง่ของประสิทธิภาพที่การปิดการทำงาน Boost Clock แล้วจับขึงความเร็วเอาไว้ ซึ่งทำให้การใช้งาน Ryzen Gen 3 โดยภาพรวมดีขึ้นเล็กน้อย ก็เนื่องจากความเร็วที่เราล็อกเอาไว้นั้นแหละ ที่ทำให้ประสิทธิภาพมันดีขึ้นและการใช้งานรูดสึกดีกว่าค่ามาตรฐานของ Ryzen Gen 3 แต่ความจริงที่โหดร้ายกับการปิด Boost Clock แล้วขึงความเร็วให้สูงกว่า Base Clock มันก็ทำให้เกิดความร้อนที่สูงขึ้นและใช้พลังงานที่มากขึ้น ถ้าเรามองที่จุดดีที่ Precision Boost มันช่วยปรับความเร็วและการจัดการพลังงานให้คุ้มค่าในการใช้งานช่วงเวลาๆนั้นๆ ถ้าใครคิดจะเค้นประสิทธิภาพความแรงของ Ryzen Gen 3 คงจะมองออกแล้วว่าจับลากให้ความเร็วมันสูงกว่า Boost Clock จะได้เห็นความแตกต่างของประสิทธิภาพในการใช้งาน สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ