สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ปี 2019 ที่เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของกระแสแสงสีไฟ RGB ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่จากการใช้ RGB แบบ 12 V มาสู่ ARGB หรือ Address RGB ที่ใช้ไฟเลี้ยง 5V ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด แน่นอนว่าข้อดีของ ARGB นั้นด้วยการใช้ไฟเลี้ยง 5V ที่ช่วยในแง่ความร้อนที่เกิดจากการลดกำลังไฟให้ใช้งานกับหลอด LED รวมไปถึงกับการปรับแต่งของ ARGB ที่สามารถทำได้ละเอียดยิบย่อยมาก ที่วันนี้เราจะมาพูดถึงกับการเล่นแสงสีกับ ARGB ที่เราจะมาเล่าให้ฟังว่าเราจะต้องมีใช้อะไรกันบ้าง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเรานั้นสว่างไสว สวยงามตามใจเราคิด และ งบประมาณที่มี
เมนบอร์ดในยุค 2019 ที่เราจะเห็นได้ว่ามันมีช่องเสียบไฟ ARGB ซึ่งก็จะมีเมนบอร์ดบางแบรนด์จะเป็นช่องเสียบแบบ 3 Pin ติดกัน ไม่ได้เป็นแบบ 3 Pin เว้น 1 Pin แบบในภาพ ซึ่งแบบ 4 Pin จะเป็น RGB 12 V จะมาเสียบมั่วกันไม่ได้ โดยเมนบอร์ดที่มี ARGB นั้นจะมีข้อดีตรง Software ปรับแต่งเนี่ยแหละ แต่ใครเป็นพวกขี้รำคาญจาก Software หรือ เมนบอร์ดไม่มี ARGB เรายังมีทางออกครับ
วงจรควบคุม ARGB แบบ Hardware ซึ่งในแบบที่เราเห็นส่วนมากจะเป็นการใช้รีโมทไร้สาย หรือ ใช้ปุ่มที่ตัวควบคุม ก็มีความสะดวกแตกต่างกันไป แต่ก็มีของทาง Gview ที่ออกแบบแหวกแนวใช้ปุ่มรีเซ็ตของเคสคอมพิวเตอร์ มาเป็นปุ่มที่ใช้ควบคุมแสงสีจากไฟ ARGB ได้ครับ ราคาเริ่มต้นที่สองร้อยปลายๆ
มาถึงจุดหลักของ ARGB กันด้วย RGB LED Strip โดยหลักแล้วจะเป็นจะเป็นแบบ 3 Pin ซึ่งก็จำเป็นต้องมีสายแปลงเป็น 3 Pin เว้นว่าง 1 Pin แบบที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยราคานั้นก็ขึ้นกับความยาว, แบบกันน้ำ และ ฝังแม่เหล็ก ราคาก็เริ่มต้นที่ร้อยกว่าบาท
คงจะพอเข้าใจกันได้ว่า ARGB จะเป็นแบบ 3 Pin ซึ่งก็จะในการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่กระแสจะมาใช้แบบทางด้านซ้าย ที่เป็น 3 Pin เว้นไว้ 1 Pin เมนบอร์ดบางแบรนด์จะใช้ 3 Pin ก็ยังพอเห็นได้อยู่
เอาให้สุดแล้วหยุดที่แสงแสบตา ก็ต้องใช้ ARGB HUB หรือ เป็นสายพ่วง ก็แล้วแต่การใช้งานนะครับ โดย ARGB HUB ที่ผมได้สั่งมาราคาประมาณสามร้อยกว่าบาท ถ้าจำไม่ผิดนะครับ
เรามาดูกับ M.2 Heatsink ที่จะมาให็เห็นว่าการเชื่อมต่อเป็น ARGB จะเป็นแบบ 3 Pin เว้น 1 Pin
ตัวอย่างของพัดลมจากทาง Gview ที่ออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อ ARGB ขนานกันไปเรื่อยๆได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ ARGB HUB
นี่ก็เป็นตัวอย่างของ CPU Cooler จาก Gview ที่ ARGB รองรับการต่อ ARGB ขนานไปเรื่อยๆได้ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าเค้าต้องการทำอุปกรณ์ของตัวเองให้มี Eco System กันแบบไหน
ในภาพก็จะรกๆตามสมัยนิยมของการซุกสายต่างแอบในมุมที่มองไม่เห็น
ที่เราเล่นกับแสงสี ARGB ผมใช้เคส Gview i5-60 ที่มีวงจรควบคุม ARGB มาแล้ว และ เมนบอร์ดที่ผมใช้มันไม่มี ARGB ครับ ในส่วนพัดลมั้นจะมีการต่อ ARGB ขนานไว้หมดแล้ว ก็เรียกได้ว่าถ้าไม่ได้ต่ออุปกรณ์ ARGB อะไรเพิ่มเติมมาก มันก็มีสาย ARGB ไว้ให้ต่อเพิ่มอีก 1 จุด
เนื่องจากอุปกรณ์ ARGB ที่ผมคิดเอาไว้จะมาเชื่อมต่อนั้นเยอะมาก การใช้ ARGB HUB มาช่วยเพิ่มเติม นั้นจะเป็นอะไรที่วางแผนการติดตั้งได้ง่ายกว่า
แสงสีจากอุปกรณ์ที่เราติดเข้าไป ด้วยการเป็น ARGB ที่ติดตั้งผ่านวงจรเดียวกัน ก็เลยทำให้แสงสีที่สว่างไสวออกมาเป็นธีมเดียวกัน
สว่างกันตาแตก นี่ยังไม่ครบกับของ ARGB ที่ผมเตรียมไว้ตั้งแต่แรก
ARGB Strip ที่ผมหยิบเอาของ Corsiar มาใช้ โดย Wire สายใหม่เข้ากับ ARGB เพราะมันฝังแม่เหล็กมาแล้ว สะดวกต่อการใช้งาน เราจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ ARGB mี่เราติดตั้งเข้าไป แสงสีเป็นธีมเดียวกัน
เมนบอร์ดตระกูล ROG Apex ที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์แปลกๆกว่าเมนบอร์ดปกติ โดย M.2 Heatsink เลยต้องย้ายมาติดบน M.2 Dimm
ขาตั้งการ์ดจอจากทาง Gview ที่เป็น ARGB อีกเช่นกัน ที่เราได้เชื่อมต่อผ่าน ARGB HUB
การการวางแผนในการเล่น ARGB ให้เตรียมพร้อม ในอนาคต ถ้าเราจะเสริมเพิ่มอุปกรณ์ ARGB ให้มากกว่านี้ เราก็จะสามารถติดตั้งเข้าไปได้อย่างง่ายดาย สามารถเพิ่มความสว่างไสวภายในเคสได้สะดวกมากขึ้น
Conclusion
วันนี้เราก็เป็นแนวทางในการเล่นแสงสีจาก ARGB ที่เป็นแนวทางของการเล่นที่เผื่อใครที่เมนบอร์ดไม่รองรับ ARGB แบบในตัวอย่าง หรือ ใครที่ไม่ชอบ Software ในการควบคุม RGB ของเมนบอร์ด ที่แนวทางของเราในวันนี้ก็หวังว่าจะไปกันไปสมควร ซึ่งใครที่มีเมนบอร์ด ARGB อยู่แล้วเริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทกับการซื้อ Address RGB มาเพิ่มเติมเราก็จะเริ่นต้นให้ในเคสของเรามีแสงสีกันได้อย่างสว่างไสวกันได้แล้ว แต่ถ้าใครอยากจะเล่นอุปกรณ์เสริมที่เป็น ARGB เพิ้มเติม อย่างจัดเต็มให้ภายในเครื่องนั้นมีแสงสีอย่างจัดเต็มกับการหา ARGB HUB เพิ่มเติม ก็เรียกได้ว่าช่วยเพิ่มความสะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ที่มี ARGB ได้มากขึ้นนั้นเอง สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ