สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ถ้าเราพูดถึงกระแสอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย ตอนนี้ที่ WIFI 6 มาแรงแซงทุกทาง ยิ่งพวกเราเตอร์จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ก็ให้ WIFI 6 มาใช้กัน แต่ทำไมมันก็ไม่แรง ใช้งานความเร็วสูงสุดไม่ตามเงินที่จ่ายรายเดือนไป ซึ่งคำตอบง่ายๆต้องอัพเกรดมาใช้เราเตอร์คุณภาพสูง ที่มีให้เลือกตามงบประมาณและการใช้งาน ซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวเราเตอร์จาก ASUS ในรุ่น RT-AX5400 ที่แน่นอนว่าการออกแบบของเราเตอร์ตัวนี้นั้นจะมีฟีเจอร์เน้นการใช้งานครบเครื่องรอบด้าน ที่ไม่มีพอร์ต 2.5 Gbps แต่รองรับ WAN Aggregation 2 Gbps รวมเน็ตสองเส้นไว้วงเดียว ทางด้านของเทคโนโลยีเครื่อข่ายไรสายในมาตรฐาน WiFi 6 แบบ Dual Band ความเร็วตามสเป็ค AX5400 หรือ ย่าน 2.4 Ghz ที่ความเร็ว 574 Mbps และ ย่าน 5 Ghz ที่ความเร็ว 4808 Mbps ทางการออกแบบนั้นยังคงมีความจัดเต็มครบเครื่อง ASUS ในรุ่น RT-AX5400 ซึ่งให้มีการรองรับฟีเจอร์ Extendable Router ที่เพิ่มความสะดวก ใช้งานได้หลากหลาย ของเก่าที่รองรับก็ใช้ได้
Package & Bundled
แพ็คเกจที่มาในสไตล์ของด้วยกล่องโทนดำ ในสไตล์ ASUS ในชุดจะมีคู่มือการใช้งาน ,สายแลน ,พาวเวอร์ซัพพลาย และ สาย AC ปลั๊กรูปแบบต่างๆ
Design & Detail
รูปทรงของตัวเราเตอร์ที่มีการออกแบบให้มีอารมณ์ความเป็นเกมมิ่งในสไตล์ของ ASUS ที่เราคุ้นตากันดำ ด้วยธีมสีดำ พร้อมกับเสาอากาศ 4 ต้น ที่เป็นไปตาม MU-MIMO 4X4 มุมมองด้านบน ที่จะเห็นโลโก้ ASUS สีทอง ที่บริเวณตรงกลาง ไฟแสดงสถานะการทำงาน ที่มีมาให้เห็นกันอย่างครบถ้วน
เสาอากาศที่ติดตั้งมานั้น 4 ต้น โดยไม่สามารถถอดออกได้ สามารถหมุนรอบได้ และ ปรับระดับองศาได้
ด้านข้างของตัวเครื่องมีช่องระบายความร้อนรอบตัว รวมไปถึงด้านล่างก็จะมาพร้อมกับช่องระบายอากาศอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังรองรับการแขวน โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม
จุดเชื่อมต่อพาวเวอร์ซัพพลาย ,ปุ่มพาวเวอร์ ,พอร์ต USB Super Speed ,RJ45 Gigabit Ethernet สามารถทำทีมมิ่ง 2Gbps รวมไปถึงมีเกมมิ่งพอร์ตแยก ,พอร์ต Gigabit Wan ,ปุ่ม WPS และ ปุ่มรีเซ็ต
การออกแบบมีรูปทรงสูง เนื่องจากการออกแบบภายในเพื่อการระบายความร้อนภายในขณะการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Setup
การเซ็ตนั้นสามารถทำผ่าน App หรือ Web Browser ได้ตามความสะดวก หลังจากทำผ่าน Web Browser มานาน ลองเปลี่ยนมาใช้มือถือดูบ้าง ทำการติดตั้ง ASUS Router ได้เลย
เลือกตระกูลของเราเตอร์ให้ถูกต้อง หลังจากนั้ยทำการเชื่อมต่อ SSID ของเราเตอร์
ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อย หลังจากนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ASUS Router
หลังจากนั้นให้ทำการตั้งค่า SSID ให้เรียบร้อย สามารถตั้งค่ารวมสองความถี่ให้เป็นชื่อเดียว หรือ สองชื่อ สองความถี่ได้
ให้ทำการตั้งรหัสผ่านของผู้ดูแล
ระบบกำลังเซ็ตค่าตามที่เราได้ตั้งเอาไว้ ในการจัดการภายหลัง ก็ทำการเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งตาม SSID ที่ตั้งค่าเอาไว้
จัดการผ่าน ASUS Router เป็นอีกหนึ่งทางที่สะดวก
การจัดการลูกข่ายที่เชื่อมต่อในระบบ หรือ Extendable Router ที่สามารถทำได้สะดวกผ่านแอป
การตั้งกฎการใช้งานทำได้สะดวก มีอายุให้เลือกด้วย
การจัดการคอนฟิกที่มีหัวข้อต่างๆใกล้เคียงกับ Web Browser
Config
มาถึงการเข้าไปจัดการการทำงานของระบบกันต่อ ซึ่งควรที่จะต้องเข้าไปทำ เพราะการเซ็ตอัพเบื้องต้นมันยังไม่สามารถปลดปล่อยประสิทธิภาพ เข้าไปที่ url router.asus.com ได้เลย หน้าแรกจะเป็นส่วนของ Network Map
เทคโนโลยี AiMesh ที่สามารถนำ Wireless Router รุ่นไหนก็ได้ที่รองรับ มาทำการเพิ่มพื้นที่ความครอบคลุมของสัญญาณ
เครือข่ายผู้เยี่ยมชม ที่แยกเป็นสองความถี่ และ สามารถสร้างได้ความถี่ละ 3 SSID
เทคโนโลยี Ai ที่ทาง ASUS ใส่เข้ามาเพื่อการป้องกันความปลอดภัย พัฒนาโดย Trend Micro พร้อมฟีเจอร์อีกหลากหลาย
รวมไปถึงการจัดการของผู้ปกครอง สามารถกรองตามฟิวเตอร์ หรือ ตั้งเวลา
การตรวจสอบความเร็วแต่ละลูกข่ายที่ใช้งาน การจัดการ QoS การตรวจสอบประวัติการเยี่ยมชม และ ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
การดูสถิติการใช้งาน ที่จะรายงานมาได้ละเอียด
สำหรับการใช้งานพอร์ต USB ที่อยู่ จะมีการรองรับฟีเจอร์การใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มประโยชน์ในการใช้งานเราเตอร์ได้อีกมากมาย
สำหรับการใช้งานพอร์ต USB ที่อยู่ มีการรองรับฟีเจอร์การใช้งานได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มประโยชน์ในการใช้งานเราเตอร์ได้อีกมากมาย Ai Cloud 2.0 ที่ช่วยเพิ่มความสามารถการใช้งานของเราเตอร์ได้มากขึ้น
การจัดการเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถปรับแต่งกันได้ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ามาเช็ค Bandwidth และ โหมดการทำงานของ WiFi 6
ฟีเจอร์ MU-MIMO ,Beamforming รวมไปถึงการปรับความแรงของสัญญาณเพิ่มเติมได้
การจัดการ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
IPv6 ที่มีให้ใช้งานได้ตามยุคสมัยของเทคโนโลยี ซึ่งถ้าเราใช้งานบน Web Host ที่รองรับ IPv6 ที่จะเป็นอีกหนึ่งการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการเล่นเกมได้ไหลลื่นมากขึ้น
การรองรับ VPN สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย
การใช้งาน Firewall จำเป็นเรื่องของความปลอดภัย
การปรับโหมดการทำงานของตัวเราเตอร์ได้ภายหลัง ซึ่งอีกหนึ่งโหมดที่ผมชอบมากคือ Media Bridge ที่ผมใช้งานการต่อกับ Smart TV หรือ Android Box ที่มีปัญหาเรื่องการรับสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
การตรวจสอบ Log การใช้งานด้านต่างๆได้ครบถ้วน
การตรวจสอบสถานและการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือในเครือข่าย ที่ตรวจเช็คได้สะดวกดี
ประสิทธิภาพการใช้งาน
การทดสอบ จะใช้คลื่นความถี่ 5 Ghz ในการทดสอบ
Conclusion
ASUS ในรุ่น RT-AX5400 อีกหนึ่งความน่าสนใจของ Router ในมาตรฐานของ WIFI 6 ในงบประมาณ 5,xxx บาท ที่ไม่ได้สนใจ พอร์ต 2.5 Gbps เน้นถึงความรอบด้านที่ทำออกมาได้ ในแง่การใช้งานต่างๆ ASUS นั้นได้ใส่ฟีเจอร์ครบเครื่องความปลอดภัย สำหรับประสิทธิภาพทางด้านเครือข่ายไร้สายกับการใช้งาน ASUS RT-AX5400 โดยภาพรวมนั้นด้วยมาตรฐานของ WIFI 6 ที่ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตทางด้านการใช้งาน ,ทำงาน ,เล่นเกม และ สตรีมมิ่งระดับ 4-8K ที่สามารถทำออกมาได้ชนกับระดับ Gigabit ได้อย่างสบาย ในจุดที่ความครอบคลุมของสัญญาณนั้นตัวนี้อาจไม่สุดทางซักเท่าไร เนื่องจากเสาอากาศภาพนอกที่ 4 ต้น และ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ในแง่พื้นที่การใช้งานเดียวกัน มีลูกข่ายจำนวนมากใช้งานพร้อมกัน ASUS RT-AX5400 สามารถรับมือการใช้งานได้สบาย นอกจากเครือข่ายไร้สายแล้ว การออกแบบ ที่สามารถรองรับการทำ Teaming 2Gbps รองรับเน็ตได้สูงสุด 2Gbps นับว่าเป็นอีกหนึ่งความลงของเราเตอร์ ฟีเจอร์ครบเครื่อง ในราคาที่จับต้องได้ในมาตรฐาน WIFI 6 สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.