สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน กับการมาของ 12th Gen Intel Core แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ 12th Gen Intel Core คือ Hybrid Core ที่จะมี Performance core (P-core) และ Efficiency core (E-Core) ในตัวเดียวกัน Threads Director จะเป็นตัวกลางที่ช่วยจัดการหน้าที่ Mega–Tasking เหมือนมี E-Core เป็นผู้ช่วยในการประมวลผล หรือ มองว่ามันมีซีพียูตัวที่สองในซีพียูตัวเดียวกัน ก็เป็นเทคโนโลยีซีพียูในยุคถัดไปอย่างแน่อน ทำให้เทคโนโลยีนั้นเปลี่ยนไปเป็น DDR5 มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งช่วงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีที่ทำให้มันยังคงรองรับการใช้งานร่วมกับแรม DDR4 กันอยู่ หลายคนที่มีแรมประสิทธิภาพสูง หรือความจุสูง อาจกำลังมองลู่ทางในการอัพเกรดเป็น 12th Gen Intel Core แต่เสียดายแรมเดิม ซึ่งเมนบอร์ด ASUS เรียกได้ว่ายุคนี้ทำออกมาเอาใจผู้ใช้งาน ทั้งการรองรับชุดระบายความร้อน LGA1200/115X และ LGA1700 แล้ว ก็ยังมีทางเลือกของเมนบอร์ดมาอย่างหลากหลายทั้งการใช้งานทั่วไป การเล่นเกมประสิทธิภาพสูง และ การเล่นเกม ที่วันนี้เราจะมากับเมนบอร์ดเกมมิ่ง ที่เน้นความถึงทนในสไตล์ TUF ในชื่อรุ่น ASUS TUF GAMING Z690-PLUS WIFI D4 ที่ยังคงมาพร้อมกับความครบเครื่องการใช้งานตามยุคสมัย พร้อมการรองรับเมโมรี DDR4 กับการออกแบบและการเลือกใช้อุปกรณ์บนตัวเมนบอร์ด ที่ถึก ทน รองรับการใช้งานต่อเนื่องได้อย่างสบายๆ พร้อมกับประสบการณ์ในการใช้งานที่เกือบสูงสุดตามที่อินเทลได้วางเป้าให้ผู้ใช้งานสัมผัส
Package & Bundled
แพคเกจสีสันดูโดดเด่นสะดุดตาด้วยสีดำ ที่ทำลวดลายตามสไตล์ของ TUF Gaming
ของในชุดที่จะมีรายการตามข้างล่าง
Cables
1 x SATA 6G cables
Miscellaneous
1 x ASUS Wi-Fi moving antennas
2 x M.2 SSD screw package(s)
1 x Q-connector
1 x TUF stickers
1 x TUF Certificate card
Installation Media
1 x DVD drive with utilities and drivers
Documentation
1 x User manual
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำดูดัน พร้อมกับการเล่นลวดลายบน PCB และ ฮีทซิงค์ ด้วยสีส้มและเทา ที่เป็นธีมของโลโก้ TUF Gaming การออกแบบของเมนบอร์ดที่ดูมีความเป็นเกมมิ่งดุดดันพอใช้ได้ ด้วยความเป็นเมนบอร์ดระดับกลางๆ การใส่อุปกรณ์และฮีทซิงค์นั้นอาจดูโล่งๆไปหน่อย แต่เวลาใช้งานติดตั้งการ์อจอไปก็แน่นแล้ว การจัดวางพอร์ตและการเชื่อมต่อยังคงมาแบบกระจายตัว จุดที่รู้สึกหงุดหงิดคือพอร์ต SATA วางแยกสองมุม นอกนั้นไม่ได้รู้สึกติดขัดอะไรครับ เราจะเห็นได้ว่าฮีทซิงค์ระบายความร้อนภาคจ่ายไฟ และ จุดสำคัญ ใส่มาช่วยเพิ่มความดุดดันใช้ได้ เกรดคุณภาพอุปกรณ์พวกภาคจ่ายไฟต่างๆ ที่ทาง ASUS นั้นได้มีความจัดเต็มในการเลือกใช้อุปกรณ์ทนทานต่อการใช้งานต่อเนื่องในมาตรฐานของ TUF Gaming เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานหนักต่อเนื่อง หรือ การโอเวอร์คล็อกระดับใช้งานจริงได้สบาย
จาก PCB สีดำผิวด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดีตามสไตล์ของ ASUS มีการใส่ลายบน PCB เพิ่มความเป็น TUF Gaming มากขึ้น พร้อมจุดโปร่งแสงให้ไฟ RGB ได้ส่องสว่างได้
ซีพียูที่รองรับนั้น LGA1700 หรือ 12th Gen Intel Core ที่การออกแบบของ PCB ทาง ASUS ได้เพิ่มการรองรับชุดระบายความร้อน LGA1200/115X เข้าไปด้วย ส่วนตัวเท่าที่ลองใช้งานมา เหมาะกับชุดระบายความร้อนแบบร้อยน็อตยึด ถ้าเป็นแบบคลิปคล็อกไม่ค่อยแนะนำเท่าไรนัก แต่ก็พอใช้งานได้ ติดตั้งให้มีสติด้วย ภาคจ่ายไฟสำหรับ CPU 14+1 เฟส อัดแน่นพอตัว รองรับปลั๊ก 12V ATX 8 + 4 Pin ช่วยเรื่องเสถียรภาพของการจ่ายรับพลังงาน เตรียมพร้อมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงทั้งการทำงาน การเล่นเกม รวมไปถึงการโอเวอร์คล็อกได้สนุกสนาน ตัวภาคจ่ายไฟที่ทาง ASUS นั้นได้ใช้อุปกรณ์และการควบคุมภาคจ่ายำฟ ซึ่งจะทำให้การจ่ายพลังงานมีความต่อเนื่องทุกท่วงท่าในการใช้งาน โดยไฟที่จ่ายให้ซีพียูจะมีเสถียรภาพและมั่นคงในการจ่ายพลังงานได้ดี ที่ยังมีการติดตั้งฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำสำหรับภาคจ่ายไฟแบ่งเป็นสองท่อน ที่เชื่อมต่อท่อฮีทไปท์ช่วยกันระบายความร้อน ประกบกับ I/O Cover ที่ตอกย้ำความเป็น TUF Gaming
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบมาตรฐานยุคเปลี่ยนผ่าน ที่เมนบอร์ดตัวนี้จะรองรับ เมโมรี DDR4 รองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 128GB ในเรื่องการโอเวอร์คล็อกความเร็วที่รองรับสูงสุดระดับ 5333+ Mhz ใครที่มีแรมดีๆ อยากประหยัดเงินลากบัส 5000+ ไปขิงพวกแรม DDR5 ได้แน่นอน ใช้งานจริงจะได้แค่ไหน ขึ้นกับฝืมือในการปรับจูน และ ของที่ใช้ร่วมในระบบ
สล๊อต PCI-Express x16 5.0 จำนวน 1 สล็อต ย้ำอีกครั้งว่า 1 ที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Safe Slot เป็นการสื่อสารผ่าน CPU นอกนั้นจะมี PCIe 3.0 x16 (X4) ,x1 จำนวน 2 สล็อต และ x4 ส่วนการติดตั้ง SSD M.2 บนเมนบอร์ดมีมาให้ใช้งาน 4 Slot รองรับ SSD ขนาด 2280 แบบ NVMe PCIe 4.0 PCIe 3.0 และ SATA ได้ ในการติดตั้งควรดูลายบน PCB หรือ คู่มือให้ดี ฮีทซิงค์ระบายความร้อนมีมาให้ใช้งาน SSD 3 สามตัว แถมรองรับการเชื่อมต่อ Raid 0/1/5/10 อีกด้วย
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดสี่พอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพเซ็ต Intel Z690 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 1 5 ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำ พร้อมโลโก้ TUF GAMING ใช้ลายเส้น สวยงาม โดดเด่น แต่ยังคงมีสไตล์ตามสมัย 2022
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 3.2 Gen 1 และ Gen 2
เนื่องจากมันไม่ใช่เมนบอร์ดสายซิ่งเน้นการโอเวอร์คล็อก ตัวช่วยในการใช้งานจะมีเพียง QLED ที่สำคัญสำหรับคนรักแสงสี จุดเชื่อมต่อไฟ RGB แบบ 5v หรือ Address RGB พร้อมรองรับการเชื่อมต่อพัดลมมาอย่างจัดเต็ม
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ RGB 12 V ,Address RGB 5V และ รองรับการเชื่อมต่อพัดลมมาอย่างจัดเต็ม รวมไปถึงการเชื่อมต่อพอร์ต USB 2.0 เข้ากับเคส หรือ อุปกรณ์อย่างอื่น เช่นชุดน้ำ ของตบแต่งต่างๆ แล้วยังรองรับการอัพเกรดอุปกรณ์เสริมที่รองรับการใช้งาน Thunderbolt 4
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ด ด้วยชิพเบอร์สั่งพิเศษจาก Reaktek พร้อมกับการใช้คาปาซิเตอร์ใช้ Nichicon Find Gold การตัดแยกกราว์นนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ของเมนบอร์ดยุค 2021
Back Panal I/O Ports
2 x USB 3.2 Gen 2
4 x USB 3.2 Gen 1
1 x Display Port
1 x SPDIF Out
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบการใช้งานออนบอร์ดนั้นจะมี 2.5 Gbps Ethernet ด้วยชิพจาก Intel i225-V ถัดมากับ WiFi 6E + Bluetooth 5.2 ด้วยโมดูล Intel AX211 ที่ใช้ซีพียูในการควบคุม
แสงไมต้องเยอะมาก แต่ก็ดูสวยงามเข้ากับความดุดันของเมนบอร์ด แสงสีที่ออกมาทำลายตามในแบบฉบับของ TUF การปรับแต่งรองรับการใช้งานร่วมกับ Softtware ของเมนบอร์ด พร้อมกับอุปกรณ์ RGB และ แรมที่รองรับ ปรับให้ออกมาในธีมเดียวกันก็ดูสวยงามดี
System Setup
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 16GB 3600 @ 4000 Mhz
- VGA : ASUS Dual Radeon RX6600 XT
- CPU Cooler : ROG Ryujin II 240
- SSD : Kingston NV1 1TB
- PSU : ROG THOR 1200 Watt
- OS : Windows 11 Pro

บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
ASUS TUF GAMING Z690-PLUS WIFI D4 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจกับความต้องการอัพเกรดเครื่องเดิมมาสู่ 12th Gen Intel Core ซึ่งเมนบอร์ดตัวนี้ยังรองรับการใช้งานแรม DDR4 ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้งาน DDR5 โดยทันที ซึ่งใครถ้ามีแรมแรงๆ ลากใช้งานได้บัสระดับ 5000 Mhz ระดับ 24/7 เอาไว้ขิงคนใช้งาน DDR5 ได้สบายๆ แต่ถ้าแรมแบบใช้งานบัส 3200-4666 Mhz (ลากในแบบง่ายๆ) ถือว่า ASUS TUF GAMING Z690-PLUS WIFI D4 ยังสามารถมีการใช้งานที่ดีอยู่ การใช้งานต่างๆที่ใส่มาให้กับ ASUS TUF GAMING Z690-PLUS WIFI D4 ยังคงตอบโจทย์ที่ Intel ตั้งเป้าให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดี จะมีแต่ที่ Thunderbolt 4 ที่อาจยังมีราคาของอุปกรณ์ที่สูงต่อผู้ใช้งานทั่วไป แต่ถ้าอยากจะใช้ ก็รองรับการอัพเกรดให้ใช้งาน Tunderbolt 4 ได้ครับ การเลือกใช้อุปกรณ์ในจุดภาคจ่ายไฟและจุดที่สำคัญ ASUS ยังมีการเลือกใช้อุปกรณ์คุณภาพระดับเกรดทหาร เพื่อความทนทานในการใช้งาน และ การใช้งานหนักต่อเนื่องได้อย่างสบาย นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดความน่าสนใจมากกว่าเกมมิ่งเมนบอร์ดระดับราคากลางๆ ที่มีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร ความสามารถในการโอเวอร์คล็อกจาก ASUS TUF GAMING Z690-PLUS WIFI D4 ถือว่าทำได้ดีกับการลากระดับใช้งานจริง ถ้าอยากจะลากกันแบบเอาระดับสถิติมีเหนื่อย ทางด้านราคาเมนบอร์ดช่วงนี้ทำใจกันครับ เพราะวัตถุดิบที่ใช้สร้างเมนบอร์ดมันราคาขึ้นทั่วโลก อย่างเช่นทองแดง อุปกรณ์ชิพควบคุมต่าง และ คาปาซิเตอร์ ก็ลองตัดสินใจดูตามงบประมาณที่พร้อมจ่าย ถ้าเลือกเมนบอร์ดตัวนี้อัพเกรดจาก LGA1200/115X ก็เปลี่ยนเพียงแค่เมนบอร์ด และ ซีพียู แรม DDR4 และ ชุดระบายความร้อนเดิมยังคงสามารถใช้งานร่วมกันได้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : ASUSTek Computer (Thailand) Co.,Ltd.