ตามที่คาดการณ์ไว้เลยครับ หลังจากที่เปิดวางขาย Processor Intel Core Ultra 200 รุ่นรหัส K ไปแล้วก่อนหน้า ตอนนี้ Intel ก็มีการเปิดตัวรุ่น Non-K รวมไปถึง Mainboard ชิปเซ็ตที่ประหยัดลงมาในงาน CES2025 เป็นที่เรียบร้อย สำหรับใครที่สงสัยว่าจะมีฟีเจอร์อะไรบ้าง แตกต่างกับรุ่นบนอย่าง Z890 ยังไง .. วันนี้จะมาสรุปให้ฟังครับ
อย่างแรกเลยคือ Intel นั้นมีการเปิดตัวมาทั้ง CPU และ Mainboard ที่ใช้งานคู่กันมาเลย ไม่ว่าจะเป็น CPU ในรหัส Non-K ของ Socket LGA1851 ที่นำทัพมาด้วย Core Ultra 9 285 ไม่ K รุ่นนี้จะมี 8P+16E Core ความเร็ว 5.6GHz สูงสุดสำหรับ P-Core / รุ่นรองอย่าง Core Ultra 7 265 (8P + 12E) ความเร็ว 5.3GHz , และ Core Ultra 5 245 (6P+8E) ความเร็ว 5.1GHz โดยทุกรุ่นในนี้ก็จะมากับซิงค์ในกล่องเหมือนกับ Non-K ทุก Gen ที่ผ่านมา
ส่วน Mainboard ก็จะมีอยู่สองชิปเซ็ตหลักๆครับ อันแรกเลยก็คือ B860 อันนี้จะมาเจาะตลาด Midrange โดยเฉพาะ .. ตัวนี้จะมี Direct Media Interface 4.0 แบบ 4-Lane ซึ่งจะน้อยกว่ารุ่น Z890 ที่มีอยู่ 8 Lane อยู่ครึ่งนึง .. ทางด้าน PCH ก็จะมี PCI-Express 4.0 Lane ทั้งหมด 14 น้อยกว่า Z890 อยู่พอสมควร / Storage ที่รองรับหลักๆแล้วก็จะมี SATA 6Gbps ทั้งหมด 4 ช่อง และที่เหลือแล้วแต่ว่าผู้ผลิต Mainboard จะเลือกเอา Lane มาทำ .. ด้าน Network รุ่นนี้จะได้ 1GbE มาเป็นมาตรฐาน , มี Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.3 .. ส่วน USB 3.2 5Gbps ก็จะได้มาสูงสุดที่ 16 lane .. ในนี้จะเอาไปแบ่งเป็น 5Gbps , 10Gbps , หรือ 20Gbps ก็แล้วแต่ผู้ผลิต Mainboard ไป .. สุดท้ายแล้วเรื่องการ Overclock ก็จะเป็นข้อจำกัดของ Mainboard ในชิปที่ไม่ใช่ Z แต่ก็จะยังรองรับ Memory Overclocking ผ่าน XMP 3.0 Profile
รุ่นถัดมาก็จะเป็นระดับเริ่มต้น หรือกลุ่มที่เน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก อันนี้ก็จะเป็น H810 ครับ ตัวนี้จะมี DMI 4.0 Chipset Bus จำนวน 4 Lane เหมือนกับ B860 เลย แต่สำหรับ PCIe Gen 4 Downstream จะมีมาแค่ 4 Lane เท่านั้น .. แต่อันนี้ถ้าเทียบกับ H610 ก็ถือว่ามีการอัปเกรดมาระดับนึงแล้ว เพราะตอนนั้นมีอยู่แค่ Gen 3 เท่านั้น .. ส่วน USB 3.2 Connectivity ก็จะมีอยู่แค่ 4 Lane แบบ 5Gbps ซึ่งจะเอาไปรวมเป็น 10Gbps หรือ 20Gbps ก็ได้เช่นกัน
ย้ำอีกรอบสำหรับใครที่ยังไม่รู้ .. ข้อมูลที่ว่ามาตรงนี้เป็นแค่พื้นฐานของทาง Intel ให้มาเท่านั้น ซึ่ง Mainboard แต่ละตัว ของแต่ละค่ายจะเอา Lane ต่างๆไปทำอะไรบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละแบรนด์และการทำการตลาดไป .. การเลือกซื้อ Mainboard นั้น ผู้ใช้จึงควรจะคำนึงว่าตัวเองต้องการใช้ฟีเจอร์มากมายแค่ไหน ถ้าอยากได้สุดทุกทางก็อาจจะต้องไป Z890 คู่กับ CPU รุ่น K ส่วนถ้าอยากใช้งานฟีเจอร์สมัยใหม่พอได้ แต่อาจจะไม่ได้ต้องการอะไรที่อลังการมาก B860 ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมโดยไม่ได้ตัดอะไรออกไปมากนัก .. ส่วนถ้าเน้นใช้งานเฉยๆ พอร์ตไม่ต้องการใหม่อะไรมาก ฟีเจอร์ไม่ได้ต้องการครบหรือล่าสุดทุกอย่างก็จะมี H810 เป็นทางเลือกครับ
ข้อมูล : TechPowerUp