สวัสดีชาวโอเวอร์คล็อกโซน อย่างที่ทราบกันที่สามารถลงผลการทดสอบของ Intel Core Ultra (Series 2) แบบ Desktop เป็นสถาปัตยกรรม Arrow Lake-S ในรอบนี้ที่จะได้เจอกับ Intel Core 9 285K ระดับเรือธงแห่งยุค Intel Core Ultra (Series 2) ซึ่ง Intel Core 9 285K จะเปลี่ยนใช้บริการของ TSMC โดยใช้ขบวนการผลิต TSMC N3B (3nm) ซึ่ง Node การผลิตของแต่ละชิปบนนั้นก็จะไม่เหมือนกัน มาต่อกันในลักษณะโมดูล่า เป็นลักษณะที่ใช้ในชิพกลุ่มโมบาย สิ่งที่ Intel ได้มีการตัดเทคโนโลยี Hyper-Threading ส่วนนึงคงมากจากความร้อนมหาศาล และ การจัดระเบียบโครงสร้างใหม่ๆ ที่ทำใหการรวมตัวของความร้อนลดลงมีการกระจายกันออกไปได้ Intel Core 9 285K มากับแพ็คเกจ LGA1851 สามารถยึดกับชุดระบายความร้อน LGA1700 ได้ Intel Core Ultra (Series 2) เป็นซีพียูแบบ Hybrid Core มีหมด 24 คอร์ 24 เธรด Performance core (P-core) 8 คอร์ 8 เธรด และ Efficiency core (E-Core) 16 คอร์ 16 เธรด มีค่า TDP มาตรฐาน 125 Watt สูงสุด 250 Watt รองรับการโอเวอร์คล็อก แต่ค่า TDP สูงสุด ต่ำกว่า Core i9-13900K และ 14900K เพียง 3 วัตต์ ถือว่าแทบไม่ต่าง เดี๋ยวเรามาทดสอบกันว่าความร้อนของ Intel Core 9 285K จะทำออกมาได้ระดับไหน
Core 5 245K | Core 7 265K | Core 9 285K | |
Code Name | Arrow Lake | Arrow Lake | Arrow Lake |
Lithography | TSMC N3B (3nm) | TSMC N3B (3nm) | TSMC N3B (3nm) |
Sockets | LGA1851 | LGA1851 | LGA1851 |
Total Cores | 14 | 20 | 24 |
P-Cores / E-Core | 6 / 8 | 8 / 12 | 8 / 16 |
Total Threads | 14 | 20 | 24 |
Max Turbo Freq | 5.2 GHz | 5.5 GHz | 5.7 GHz |
Thermal Velocity Boost | - | - | 5.7 GHz |
Turbo Boost Max 3.0 Freq | - | 5.5 GHz | 5.6 GHz |
P-Core Max Freq | 5.2 GHz | 5.4 GHz | 5.5 GHz |
E-Core Max Freq | 4.6 GHz | 4.6 GHz | 4.6 GHz |
Base P-Core Freq | 4.2 GHz | 3.9 GHz | 3.7 GHz |
Base E-Core Freq | 3.6 GHz | 3.3 GHz | 3.2 GHz |
Cache / L2 | 24 MB / 26 MB | 30 MB / 36 MB | 36 MB / 40 MB |
Base Power | 125 Watt | 125 Watt | 125 Watt |
Max Power | 159 Watt | 250 Watt | 250 Watt |
Processor Graphics | Intel Xe-LPG | Intel Xe-LPG | Intel Xe-LPG |
Max / Base GPU Freq | 1.9 GHz / 300 MHz | 2 GHz / 300 MHz | 2 GHz / 300 MHz |
NPU | Intel AI Boost | Intel AI Boost | Intel AI Boost |
NPU TOPS | 13 | 13 | 13 |
Memory Types | DDR5 6400 MT/s | DDR5 6400 MT/s | DDR5 6400 MT/s |
รหัส KF ไม่มีกราฟฟิก ผมขอไม่เอารวมในตรางเทียบ ที่ Intel Core Ultra (Series 2) รองรับหน่วยความจำ DDR5 ความเร็ว JEDEC ที่ DDR5 6400 MT/s โดย CPU ทำงานมีค่า Thermal Design Power (TDP) 125 W (PL1) และ สูงสุด 250 W (PL2) ยกเว้น Core 5 Ultra จะมีค่า PL2 ที่ 159 W นอกจากนี้ Core Ultra 200 ยังใช้ซ็อกเก็ต LGA 1851 ใหม่และเข้ากันได้กับเมนบอร์ดซีรีส์ 800 ของ Intel การออกแบบซ็อกเก็ตใหม่นี้เพื่อรองรับ CPU Intel รุ่นอนาคต
ด้วย Arrow Lake ที่ Intel จึงได้พัฒนาคอร์ใหม่ 2 คอร์ โดยคอร์หนึ่งสำหรับประสิทธิภาพ Lion Cove และ คอร์หนึ่งสำหรับประหยัดพลังงาน Skymont สถาปัตยกรรมเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการการประมวลผลที่หลากหลายโดยนำเสนอประสิทธิภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น Lion Cove ทำหน้าสำหรับคอร์ประสิทธิภาพสูงของ Intel โดยเน้นที่การมอบประสิทธิภาพการทำงานแบบเธรดเดียวที่รวดเร็ว
ทำได้ด้วยการปรับปรุงคำสั่งต่อรอบ (IPC) และรวมตัวควบคุมการปรับจูนอัตโนมัติ ด้วย AI ควบคุมนี้จะปรับแบบไดนามิกตามสภาพการทำงานแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการความร้อน คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ Lion Cove เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องใช้ทรัพยากรหนัก เช่น การเล่นเกม การสร้างเนื้อหา และงานคำนวณที่ซับซ้อน
การออกแบบ E-core นาม Skymont ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพสูงต่อวัตต์ โดยมุ่งสภาพแวดล้อมการประมวลผลที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปรับปรุงความสามารถในการจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพ Intel ได้มีการเพิ่มแคช P-Core แต่ละคอร์มีแคชระดับ 2 ขนาด 3MB ต่อคอร์ จากเดิม 2MB ใน Gen 13-14
กราฟฟิกภายใน สถาปัตยกรรม Xe-LPG ของ Intel มีแกนกราฟิก Xe สี่แกน ซึ่งแต่ละแกนมีเอ็นจิ้นเวกเตอร์ 128 ตัว รวมเป็นเชเดอร์รวม 1,024 ตัว ช่วยให้สามารถจัดการกับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับ Ray tracing 4 แกน และ พลัง 8 TOPS
การออกแบบโครงสร้างภายใน มาเป็นแบบ Tiles ก็คือมีการแบ่งส่วนของ CPU เป็นหลายๆตัว และ Node การผลิตของแต่ละชิปบนนั้นก็จะไม่เหมือนกัน มาต่อกันในลักษณะโมดูล่า
การทำตลาดของ Intel Core Ultra จะมี 9 ,7 และ 5 เป็นโมเดล K ที่สามารถทำการโอเวอร์คล็อกได้ทุกรุ่น และ KF ที่ตัดกราฟฟิกในตัว แต่มีแค่ Core Ultra จะมี 7 และ 5
Arrow Lake ในภาพรวมที่มีการออกแบบให้ความร้อนในการทำงานต่ำลงถ้าเทียบกับ Raptor Lake-R (14th Gen Intel Core)
นอกจากนี้ Xe-LPG แกนประมวลผลแปดตัวและมีเดียเอ็นจินสี่ตัว คุณสมบัติที่โดดเด่นของ Xe-LPG คือการรองรับหน่วย XMX สำหรับ AI ที่ให้ประสิทธิภาพปัญญาประดิษฐ์ 67 (TOPS) ทำให้เหมาะสำหรับงาน AI เช่น การจดจำภาพและการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่ง Xe-LPG รองรับ DirectX 12 Ultimate เข้ากันได้กับคุณสมบัติกราฟิกขั้นสูง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นมุมที่สำคัญของ Xe-LPG เนื่องจากมอบประสิทธิภาพต่อวัตต์สองเท่าเมื่อเทียบกราฟิกรุ่นก่อนหน้า การปรับปรุงให้กราฟิกมีประสิทธิภาพสูง(กว่า) รองรับการแสดงผลความละเอียดสูงได้เป็นอย่างดี รองรับการเข้ารหัส AV1 8K 120Hz แบบ 10 Bit และ สามารถถอดรหัส 8K 60Hz แบบ 10 Bit มีความลำหน้ามากสำหรับกราฟฟิกในซีพียู
การทำงานด้านสำนักงาน ที่ก่อนหน้านี้ Intel Thread Director มักจัดในงานพวกนี้เป็นหน้าที่ของ E-Core แต่เมื่องานด้านสำนักงาน ที่ต้องการประสิทธิภาพการประมวลผลที่ดีมากขึ้น จึงมีการย้ายการประมวลผลไปสู่ P-Core
Intel Thread Director ที่มีการพัฒนาความนึกคิด ให้เลือกประมวลผลระหว่าง P-Core กับ E-Core ได้ดีมากขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ แล้ว Intel ยังได้มีการพัฒนา E-Core ให้ดีมากขึ้น
ชิพเช็ตคู่บุญของ Arrow Lake นั้นก็คือ Intel ซึ่งรองรับทั้ง PCI Express 5.0 และ Thunderbolt 4 สามารถใช้หน่วยความจำ DDR5-6400 ชิปเซ็ตจะรองรับสูงสุด 48GB ต่อแถว รวม 192GB พร้อมรองรับ ECC ภายในชิปเซ็ต Intel 800 มีเลน PCIe 48 เลน (โดยมีเลน PCIe 4 24 เลนจากโปรเซสเซอร์) Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.3 นอกจากนี้ยังมีเลน USB 3.2 32 เลน รวมถึงเลนเฉพาะ 5 เลนสำหรับการเชื่อมต่อ 20Gbps
นักโอเวอร์คล็อกมีตัวเลือกมากมายภายใน Core Ultra นักโอเวอร์คล็อกไม่สนใจการประหยัดพลังงานอยู่แล้ว เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในถึงขีดสุด วิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้ Extreme Tuning Utility (XTU) ของ Intel ซึ่งจะใช้ AI เพื่อเปิดใช้งานการโอเวอร์คล็อกระบบของผู้ใช้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว แต่ยังมีการปรับแต่งอื่นๆ สำหรับการโอเวอร์คล็อกอีกด้วย ต่อด้วยการแบ่งแยกการโอเวอร์คล็อกในส่วนของ P-Core และ E-Core, Tile 2 tile รวมถึง Fabric Overclock ที่เพิ่มความหลากหลายในการปรับแต่งมากขึ้น ยังไม่นับรวมการรองรับเมโมรี CUDIMM และ CUDIMM ที่ข้ามขีดจำกัดได้มากกว่า Gen 14
โครงสร้างภายในของ Arrow Lake ที่เป็นภาพของ X:Madness727 และ การใส่รายละเอียดโดย HighYield พอผ่ากระดองออกมาก็จะเห็นดีไซน์การออกแบบที่แตกต่างไปจากรุ่นเดิม การออกแบบจะมาเป็นแบบ Tiles หลายๆตัวที่เชื่อมต่อกันอยู่ และถ้าดูดีๆจะเห็นว่ามีอยู่ 4 Tile ซึ่งประกอบไปด้วย Compute, GPU, SOC, และ I/O ส่วนอันที่ 5 กับ 6 นั้นจะเป็น Filler Tile ที่วางเอาไว้ เพื่อให้โครงสร้างเต็ม"
โดยภาพนี้มาจาก Asus.cn ภาพเปรียบเทียบ ที่ใช้กล้องในการถ่ายออกมา เราเห็นได้ว่าการวางกลุ่มของ P-Core และ E-Core เป็นรูปแบบ P-core ,E-Core ,P-Core ,P-Core , E-Core และ P-Core ต่างกับ Gen 13 หรือ Gen 14 ที่ P-Core หรือ E-Core จะเป็นเป็นก้อนเดียวกัน และ ฐานหน้าสัมผัสของชุดระบายความร้อนถ้าให้การระบายความร้อนที่ดีที่สุด จะต้องมีการวางมุมใหม่ เพราะส่วน Comput Tile มันไปอยู่มุมขวาบนตามภาพครับ แต่การกระจายคอร์ของ P และ E Core ทำให้ความร้อนไม่กระจุกตัวกัน
สิ่งที่ Intel ได้มีการตัดเทคโนโลยี Hyper-Threading ส่วนนึงคงมากจากความร้อน ถ้าเทียบการเปลี่ยนแปลงที่ Intel มีมาอย่างยาวนานประมาณ 20 ปีที่แล้ว ที่ Intel ได้มีการผลักดันเทคโนโลยี Hyper-Threading เอาเป็นว่า Arrow Lake ที่ไม่มี Hyper-Threading ให้ความรู้สึกติดอยู่ใจผู้ใช้งาน และ การออฟติไมซ์โปรแกรมการใช้งานในช่วงแรก เหมือนตอนมาของ Hyper-Threading ใหม่ๆ ที่บางโปรแกรมอาจยังไม่เห็นผลความต่างได้ชัดเจน
Intel Core Ultra (Series 2) - Arrow Lake
Intel Core Ultra (Series 2) ที่ทางอินเทลได้ส่งมาให้เราได้ทดสอบ ซึ่งจะมีใน Overclockzone.com และ Overclockzone TV ทาง YouTube
Intel Core 5 245k และ Intel Core 9 285k
Intel Core 9 285K
โดยรูปแบบของตัวซีพียูที่เป็นแผ่น PCB สีเขียว พร้อมกระดองโลหะ ด้านหน้ามีการยิงเลเซอร์อย่างชัด นี่คือ Intel Core 9 285k
รูปแบบแพ็คเกจ LGA1851 ขนาดที่ดูไม่ต่างกับ LGA1700 แต่จะมีความอัดแน่นของ Pin มากขึ้น กลายเป็น LGA1851
การทดสอบ ที่เราทำแยกกัน เนื่องจากปัจจัยการทดสอบที่ Core 5 และ Core 9 มีความรู้สึกที่แตกต่างกันในการเขียนออกมา
รูปแบบแพ็คเกจ LGA1851 ที่การติดตั้งไม่ต่างกับ LGA1700
ตัวคูณโหมดเทอร์โบสูงสุดที่ 54 รายละเอียดต่างๆของซีพียู ที่จะมีแคชระดับหนึ่ง 64 KB/48 KB ต่อคอร์ แคชระดับสอง 3 MB ต่อคอร์ รวมแคชระดับสามทั้งหมด 36 MB

การแยกกันการทำงานของ P-Core และ E-Core อย่างชัดเจน ที่มี Intel Thread Director รับหน้าที่ในส่วนนี้

ถ้าเทียบกับ Gen 13-14 Cache L2 ของ Arrow Lake ในส่วนของ P-Core มีมากกว่า Gen 13-14 ถึง 1MB

รายละเอียดต่างๆใน Intel Xe-LPG โดย GPU-z เวอร์ชั่นนี้ยังไม่สมบูรณ์สำหรับการ์ดนี้
System Setup
- VGA : Gigabyte Radeon RX 7800 XT
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
System Setup - Intel Xe
- VGA : Intel Xe-LPG
- CPU Cooler : ROG STRIX LC II 280 ARGB
- SSD : Kingmax PQ4480 1TB
- PSU : Thermaltake M1650
- OS : Windows 11 Pro 23H2
ข้อควรระวัง
การติดตั้ง Driver ในส่วน NPU ถือว่ามีความสำคัญมาก อันที่จริงควรติดตั้ง Driver ให้ครบ
เย็นลง แต่......
ถ้าพูดถึงการปล่อยความร้อนของ Intel Core Ultra (Series 2) ดีขึ้นกว่า Gen 13-14 ถ้าเทียบกับ Core i9-13900K และ 14900K ด้วยอาการที่เจอกับ Intel Core 9 285K หลายๆการทดสอบสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถจับภาพหน้าจอได้ โดยส่วนตัวมองด้วยความแปลกใจและความสงสัยมาก เพราะ ดึง Full load ประมาณ 30 นาทีไม่มีอาการค้าง แต่แค่ 3DMark แล้วเปิด CPU-z หรือ จับภาพหน้าจอแล้วเครื่องค้าง คงเกิดจากปัญหาการดึงความร้อนที่ไม่เหมาะสม แล้วหม้อน้ำผมแค่ 280มม. ถ้าเป็น Core i9-13900K หรือ 14900K คงได้แค่เปิดเครื่องทดสอบอะไรแทบไม่ได้
Conclusion !
พูดถึง Intel Core 9 285K มองกันที่ในระดับเรือธงแห่ยุค 2024-2025 สามารถทำประสิทธิภาพออกมาได้อย่างน่าประทับใจ ถึงแม่การเล่นเกมที่ไม่ได้เร็วกว่า Core i9-14900K แม่มีข้อดีที่สามารถให้ประสิทธิภาพการทำงานและด้านครีเอเตอร์ได้เป็นอย่างดี ที่โดยส่วนตัวยังคงมองว่าเทคโนโลยี Hyper-Threading พอมันหายไปที่ขัดต่อความรู้สึกของผู้ใช้งาน ที่คุ้นเคยกับ HT มาถึงยี่สิบปี พอไม่มีแล้วรู้สึกแปลกไปบ้าง เหมือนกับการทดสอบที่โดยส่วนมาก IPC สามารถจัดการได้ดี ประสิทธิภาพไม่ได้ด้อย และออกมาแรงกว่า Core i9-14900K ครับ แต่บางโปรแกรมที่มีอัลกอริทึมแบบเก่าต้องมี Thread จำนวนมาก ถึงดี แต่ไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพในการประมวลอย่างเต็มที่ การทดสอบก็เลยออกมาดูไม่ดีนักเมื่อเอาไปเทียบกับ Core i9-14900K มาถึงเรื่องความร้อน Intel Core 9 285K ถึงแม่มันจะไม่สูงมาก ที่ช่องระยะปกติเทียบความร้อนสูงสุดมันไม่มากนัก ถ้าภาษาคนเล่นโอเวอร์คล็อกแบบ Sub Zero มันเป็นจุดที่คุมยากมาก แต่การใช้งานชุดน้ำสำเร็จรูปไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แค่ไม่ใช้งานในสถาวะแวดล้อมที่เย็นระดับนึง พร้อมกับชุดน้ำสามตอน การใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเป็นเรื่องยาก ในการทดสอบผมดื้อก็แล้วกัน แค่อยากรู้ว่า Intel Core 9 285K มันเย็นแค่ไหนครับ ในการใช้งานแนะนำว่าใช้ชุด AIO หม้อน้ำ 360 หรือ 420 ดีกว่า ถ้าเอาให้สุดชุดน้ำแบบแยกชิ้น (เพื่อใครดูจากต่างประเทศ พูดในกรณีอากาศส่วนใหญ่ในไทย) มองในแง่การใช้พลังงานถือว่าทำออกมาได้ดีขึ้นมาก และ ความร้อนที่ปล่อยออกมา เทียบกับ Core i9-13900K และ 14900K ในชุดระบายความร้อนเดียวกับ ถือว่า Core 9 285K ทำออกมาได้ดีเยี่ยม ในการโอเวอร์คล็อก Intel Core 9 285K นอกจากการโอเวอร์คล็อก CPU และ Memory ที่ยังน่าสนใจกับการโอเวอร์คล็อก NPU ที่ผมยังไม่ได้ลองอะไรมากในจุดนี้ ในการโอเวอร์คล็อกที่เมนบอร์ดทุกเจ้า ได้นำ AI มาช่วยคิดวิเคราะห์เข้ามากขึ้น แต่ถ้าระบายความร้อนไม่ดี และ แรมไม่ถึงดวงดาว AI ในฟีเจอร์การโอเวอร์คล็อกที่ไมมีประโยชน์มาก ในการใช้งานจริงควรต้อง Windows อัพเดท เป็นเวอร์ชั่น 24H2 แต่ในการทดสอบเป็น 23H2 เนื่องจากมีบางโปรแกรมการทดสอบไม่สามารถติดตั้งได้ คงต้องรอการออกอัพเดทจาก Microsoft ครับ ด้วยค่าตัวประมาณ 22,xxx บาท รวมกับเมนนอร์ดราคาเริ่มต้นประมาณ 7,xxx บาท ถ้าลงทุนทีเดียวอาจดูมากไปหน่อย แต่ถ้ามีแรม DDR5 อยู่แล้วถือว่าน่าสน รอดูตลาด Memory ก่อนได้ ว่า CUDIMM ราคาค่าตัวและการค้นหาตัวแรงจะเป็นไปทางไหน ถ้าไม่คิดอะไรมากรอดู UDIMM ราคาคุ้มค่าได้เช่นกัน ถือว่า Intel Core 9 285K ในตลาดระดับเรือธง 2024 มันเป็นทางเลือกใหม่ ที่มีความสดของเทคโนโลยี เปลี่ยนไปใช้บริการ TSMC ที่ยังมี Intel Core 7 265K และ 265KF ในราคาที่สบายกระเป๋าลงมาบ้าง ส่วนโมเดลอื่นของ Intel Core Ultra (Series 2) ที่ราคาถูกกว่านี้ หยอดกระปุกรอไปก่อน สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Special Thanks : INTEL (THAILAND)