สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน กับคราวที่แล้วนั้นเราได้นำเสนอกับเมนบอร์ดเพื่อชาว AMD ในงบไม่เกินสามพันบาท เดี๋ยววันนี้เราจะมานำเสนอกันต่อในส่วนฝั่ง Intel บ้างในงบไม่เกินสองพันบาทเช่นกัน โดยเมนบอร์ดที่เราจะมาส่องกันในวันนี้ ทุกตัวนั้นรองรับการใช้งานร่วมกับ Socket 1151 V2 ที่เรารู้จักกันดีกับ Intel Gen 8 และ Gen 9 ทุกตัว เดี๋ยวเรามาดูกันก็แล้วกันว่าเมนบอร์ดระดับไม่เกินสามพัน จะมีตัวไหนบ้างที่เราพามาส่องกัน แล้วแต่ละตัวมีความน่าสนใจยังไงกันบ้าง
ตัวที่ 1 ด้วย ASROCK B365M-HDV เป็นอย่างดีแน่นอน ในราคาสองพันต้น แต่ได้ Intel Gigabit Ethernet เรียกได้ว่าใครเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยสายแลน เลือกได้ง่ายมาก ซึ่งตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด Micro ATX ที่มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย ในราคาสองพันต้น ยังมีการเชื่อมต่อ M.2 แถมยังใช้คาปาซิเตอร์ในส่วนระบบเสียงจาก Elna Audio สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 2 กับTUF GAMING จาก ASUS ในโมเดล ASUS TUF B360M-E GAMING ที่มาพร้อมกับความสวยงามและรองรับฟีเจอร์ AURA SYNC ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด Micro ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย ในราคานี้มีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-e และ ระบบเสียงที่มีการใช้คาปาซิเตอร์ Nichicon FG ที่ถือว่าน่าสนใจกับราคาค่าตัวของมัน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 3 กับ GIGABYTE B365M GAMING HD กับเมนบอร์ดเกมมิ่งดำแดงในราคาสองพันต้น ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด Micro ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย มีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-e และ ระบบเสียงที่มีการใช้คาปาซิเตอร์ Nippon Chemi-Con เกรดเครื่องเสียง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 4 กับเกมมิ่งเมนบอร์ด MSI MAG B365M MORTAR กับชื่อเมนบอร์ดที่ดูงงๆกันหน่อย ที่ราคาจะสูงกว่าสามตัวที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่ใส่แรมได้ 4 แผง พร้อมกับหน้าตาที่ดูอลังการนะครับ ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด Micro ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย ยังมีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-e และ คาปาซิเตอร์ระบบเสียงจาก Nippon Chemi-Con สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 5 ด้วย B365 M AORUS ELITE โดนส่วนตัวผมถูกใจที่สุดกับเมนบอร์ดในชุดนี้ กับเมนบอร์ดที่มาพร้อมกับธรมสีดำส้ม กับการออกแบบที่มให้ความเป็นเกมมิ่งดี ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด Micro ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย มีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-e และ คาปาซิเตอร์ระบบเสียงจาก Nippon Chemi-Con แล้วก็รองรับกับการเชื่อมต่อสีสันจาก LED RGB ได้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 6 ASRock B365 PRO4 กับเมนบอร์ดที่ดูดีกับราคาไม่ถึงสามพันบาท ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ไม่รองรับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ยังมีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-จำนวน 2 สล็อต แถมยังใช้คาปาซิเตอร์ในส่วนระบบเสียงจาก Elna Audio โดยข้อดีที่น่าสนใจกับใครใช้การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วยสายแลน เพราะมันใช้ Intel Gigabit Ethernet นั้นเอง ความเนียนในการใช้งานดีกว่าพวกชิพ Realtek แน่นอนครับ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
ตัวที่ 7 คือ ASUS PRIME B365 PLUS ที่เน้นเมนบอร์ดดูดี ประกอบแล้วเต็มเครื่องในราคาสามพันมีทอน ตัวเมนบอร์ดนั้นจะเป็นขนาด ATX มาพร้อมหัวใจหลักชิพ Intel B365 ที่ไม่รองรับกับการโอเวอร์คล็อก ฟีเจอร์การใช้งานนั้นจะไม่มีอะไรอลังการมากันแบบเน้นใช้งานเป็นหลัก กับการเชื่อมต่อที่มีมาตามพื้นฐานของสมัย 2019 แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้รองรับการใช้งานได้สูงสุดกับ Intel Core i9 ได้ด้วย ยังมีการเชื่อมต่อ M.2 PCI-e จำนวน 2 สล็อต และ คาปาซิเตอร์ระบบเสียงจาก Nichicon FG ถ้าใครจะไปต่อยอดสายเกมมิ่ง ก็จัดแสงสีเพิ่มเติมได้จาก LED RGB ในฟีเจอร์ AURA Sync สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ที่นี่
Conclusion
วันนี้ก็เป็นทางเลือกของเมนบอร์ดในระดับราคาไม่เกินสองพันบาท สำหรับชาว Intel ก็ลองดูกันไว้เป็นแนวทางได้ โดยเมนบอร์ดทุกตัวที่ผมพามาส่องให้ชมกันนั้นรองรับกับการใช้งานได้ Socket 1151 V2 ที่เรารู้จักกันดีกับ Intel Gen 8 และ Gen 9 ทุกตัว แน่นอนว่าเมนบอร์ดในระดับราคา 2-3 พันบาท ที่มีการใช้งานที่มากขึ้นกว่าเมนบอร์ดในระดับต่ำกว่าสองพันบาท โดยการใช้งานแบบพื้นฐานตามยุคสมัย 2019 ไม่ได้เน้นความอลังการงานสร้างแบบเมนบอร์ดราคาแพง ซึ่งประสิทธิภาพโดยของคอมพิวเตอร์เครื่องนึงมันก็ขึ้นกับส่วนประกอบทุกๆส่วนในเครื่องด้วย แต่เมนบอร์ดระดับแบบนี้เอาไปใช้งานกับซีพียูราคาแพงๆนั้นมันคงจะไม่ค่อยเข้ากันเท่าไรนัก แต่ถ้าจะเอาเมนบอร์ดระดับราคาช่วงนี้ไปใช้กับ i9 ,i7 ,i5 แบบ non-K ก็ยังพอรับได้ เผื่อไปอัดงบประมาณในส่วนอื่นๆ สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ