หลังจากที่ทาง AMD ได้เปิดตัวซีพียู Ryzen ในยุคที่สามที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 ได้ประมาณ 10 เดือนได้แล้ว โดยข่าวคราวที่ออกมาก่อนหน้าวันนี้ ที่จะมีการเปิดตัวและทำตลาดของของ AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 กับขนาดขบวนการผลิต 7 nm. ในราคาที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ด้วยค่าตัวในต่างประเทศ 120 และ 99 USD ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนและเพิ่มไปอีกนิดหน่อย เพราะบ้านเราเป็นราคาขายปลีกตามหน้าร้าน ที่จากการเปิดตัวของ AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 จะมีการปล่อยเมนบอร์ดชิพเซ็ต AMD B550 ที่รองรับเทคโนโลยี PCI-e 4.0 ในราคาที่ย่อมเยาลงมากว่า AMD X570 ซึ่งคราวหน้าผมจะเอาข้อมูลส่วนนี้มาเขียนประกอบเพิ่มเติม
AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 ถ้าเรามองกันแต่ที่ 4 Core และ 8 Threads นั้นจะไม่ได้มีความแตกต่างกัน เราจะเห็นความแตกต่างกันตรงที่ Base Clock และ Max Boost Clock ตามสเป็ค ส่วนค่า TDP 65 Watt และ ชุดระบายความร้อน Warith Stealth มายังเหมือนกันอีก
AMD Ryzen 3 3300X และ 3100 ถ้าเรามองกันที่สเป็คนั้นมันไม่ได้ต่างกันมาก แต่ Ryzen 3 3300X มี 4C/8T จาก Core Complex หรือ CCX 1 ชุด แต่ Ryzen 3 3100 มี 4C/8T จาก Core Complex หรือ CCX 2 ชุด ซึ่งก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน คงอารมณ์สมาร์ทโฟนสมัยนี้ ที่ดูแต่สเป็คของความละเอียดกล้องไม่ได้ต้องมาดูกันที่การออกแบบและองค์ประกอบอื่นๆด้วย
CPU Detail
รูปแบบของตัวหน่วยประมวลผล ที่จะเป็น AMD แบบดั่งเดิมมาตั้งแต่ในยุค AMD Athlon 64 เพิ่มเติมมาคือจำนวนขาตามแต่ละซ็อกเก็ต ที่จะเป็นกระดองครอบคอร์พร้อมกับการยิงเลเซอร์รายละเอียดต่างๆมาตามแบบฉบับของ AMD เรียกได้ว่าซีพียูตัวเดียวผ่านมา 3 ประเทศ คือสหรัฐอเมริกา ,ไต้หวัน และ สุดท้ายประกอบที่จีน ไม่ได้แตกต่างจาก AMD Ryzen 3000 Series โมเดลอื่นๆ
แพ็คเกจ AM4 ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด 400 Series และ 500 Series
ชุดระบายความร้อน AMD Wraith Stealth ที่ทาง AMD นั้นได้ส่งมาให้พร้อมกับ CPU ซึ่งถ้าใช้งานเดิมๆ Wraith Stealth มันก็เอาอยู่กับค่า TDP 65 Watt ครับ ซึ่งหลายๆคนอาจจะบอกว่ามันร้อน โดยส่วนตัวก็ว่าตามนั้น แต่ถ้าเคสระบายความร้อนดีๆ ใช้งานปกติมันก็เอาอยู่ครับ
อันนี้ AMD ของแท้ เวลาแกะชุดระบายความร้อนต้องมีสติกันด้วย
เทคโนโลยีและฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีมากับ AMD Ryzen 3 3300X ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นพี่ เพราะมันคือ ZEN 2 แบบ 7 nm. โดยจะมี Base Clock 3.8 Ghz และ Max Boost Clock 4.3 Ghz
ในการสื่อสารระหว่าง VGA ,SSD และ Chipset ที่เป็นการสื่อสารตรงกับซีพียู
ข้อสังเกตุของ Ryzen 3 3300X ที่จะเป็น Cache L3 ก้อนด้วยกัน เนื่องจากมันใช้ CCX เพียงชุดเดียวทั้ง 4 Core / 8 Threads
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- M/B : ASUS TUF Gaming X570-Plus
- VGA : ASUS GeForce RTX2060 Turbo
- Memory : G.Skill Trident-Z NEO 3600Mhz 32GB Kit
- CPU Cooler : AMD Wraith Stealth
- SSD : Intel SSD 600P 256GB
- PSU : FSP 1200 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1909)
โปรไฟล์การจัดการพลังงานที่ใช้ในการทดสอบคือ AMD Ryzen Banlance
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion
AMD Ryzen 3 3300X ถ้าเรามองที่แง่มุมของประสิทธิภาพที่จากการทดสอบทำออกมาได้ประทับใจมาก ซึ่งถ้าเราก็เทียบกับ Ryzen 5 3500 ที่ประสิทธิภาพมันพอฟัดพอเหวี่ยงกันได้เลย แต่ด้วยราคาและจำนวนคอร์ที่ด้อยกว่า ก็ไม่น่าแปลกใจนักที่ Ryzen 3 3300X ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า Ryzen 5 3500 แต่ถ้าเรามองเทียบกับคู่แข่งของ AMD แล้ว ก็นับว่า AMD Ryzen 3 3300X ทำออกมาชนตั้งแต่ตัวท๊อปของเมนสตรีมในยุคที่ 7 และ ตัวกลางของยุคที่ 9 ก็ถือว่าชนกันได้สนุก ที่เป็นผลพลอยได้ของผู้บริโภคที่กำลังเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ หรือ กำลังอัพเกรดคอมพิวเตอร์ โดย AMD Ryzen 3 3300X ที่รองรับการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ด AMD B450 ,X470 ,X570 และ B550 ที่ออกมาแทน B450 แต่รองรับกราฟฟิกการ์ด และ สตอเรจ PCI Express 4.0 นั้นเอง โดยราคาในไทยอย่างเป็นทางการของ AMD Ryzen 3 3300X นั้นผมยังไม่ทราบ แต่ถ้าให้ผมเดาๆคือน่าจะประมาณสามพันปลายๆจนถึงสี่พัน ก็ลองตัดสินใจดูกับ AMD Ryzen 3 3300X ที่สถาปัตยกรรม Zen 2 กับขนาดขบวนการผลิต 7 nm. ในราคาที่สบายกระเป๋ากว่า Ryzen 5 3500 โดย AMD Ryzen 3 3300X ในการใช้งานทั่วไป การเล่นเกม และ การทำงาน ที่สามารถตอบสนองได้ดีด้วยซีพียูแบบ 4 คอร์ 8 เทรด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : 4,XXX บาท
Special Thanks : AMD Far East | Thailand