สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน เข้าใกล้กับปี 2021 ถึงแม้จะมีสถานการณ์ของ COVID-19 เข้ามา แต่เทคโนโลยีที่ยังคงต้องดำเนิมต่อไป ที่เราจะเห็นได้การบริโภคการใช้งานอินเตอร์เน็ตกับคอนเทนต์ที่ใหญ่โตมากขึ้น อุปกรณ์ไร้สายมาตรฐาน Wi-Fi 6 เข้ามาทำตลาดกันมากขึ้น ซึ่ง TP-Link Archer AX73 เราเตอร์ไร้สายโมเดลปี 2021 ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ในยุคคอนเทนต์ระดับ 8K ด้วยมาตรฐาน Wi-Fi 6 แบบ Dual Band AX5400 ด้วยย่านความถี่ 5Ghz ที่ความเร็วการเชื่อมต่อสูงสุด 4800 Mbps และ ย่านความถี่ 2.4 Ghz ความเร็วการเชื่อมต่อสูงสุด 574 Mbps ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานที่ครบเครื่อง ตอบโจทย์การใช้งานยุคอุปกรณ์ IoT สมัยใหม่ พร้อมกับความปลอดภัยด้วยฟีเจอร์ HomeShield อีกทั้งยังมาพร้อมกับเทคโนโลยี Beamforming ,MU-MIMO และ OFDMA ที่จะช่วยทำให้การใช้งานเครือข่ายไร้สาย สามารถใช้งานได้อย่างไหลลื่น รับส่งข้อมูลไม่มีสะดุดทุกการใช้งาน ด้วยซีพียูประมวลผล Triple-Core ความเร็ว 1.5 Ghz พร้อมทั้งความครอบคลุมของสัญญาณด้วยเสาอากาศ จำนวนหกต้น ที่ช่วยทำให้สัญญาณครอบคลุมทุกพื้นที่การใช้งานภายในบ้าน และใช้งานพร้อมกันหลายลูกข่ายได้เป็นอย่างดี
Package & Bundled
แพ็คเกจที่มาในสไตล์ของด้วยกล่องสีเขียวตามสไตล์ของ TP-Link ในยุค 2020 มีการบ่งบอกรายละเอียดเอาไว้อย่างชัดเจน ของในชุดมีคู่มือการใช้งานเบื้องต้น ,สายแลน และ พาวเวอร์ซัพพลายแบบ 2 ขาแบน
Design & Detail
มาถึงภาพรวมของ TP-Link Archer AX73 จะมีการเปลี่ยนรูปแบบรูปโฉมภายนอก ทรงสี่เหลี่ยมเรียบง่าย โดยวัสดุภายนอกเป็นพลาสติกสีดำทั้งหมด พร้อมกับช่องระบายอากาศที่เยอะมาก เรียกได้ว่าใช้งานหนักนั้นระบายความร้อนได้สบาย ส่วนตรงกลางมีลูกเล่นตัดวางทะแยงด้วยพลาสติกสีดำผิวเงา
ก็คงเป็นรูปแบบภายนอกของ Router จาก TP-Link ที่เราจะได้พบกันในปี 2021 ที่มาเน้นความเรียบง่าย แต่ใส่ใจกับการระบายความร้อนเพื่อเสถียรภาพในการทำงานที่ดีมากขึ้น
ขอบด้านหน้าจะเป็นไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน ที่ทาง TP-Link ได้ใส่ไฟแสดงสถานะเอาไว้ครบถ้วน
เสาอากาศทั้งหกต้นที่ไม่สามารถถอดออกได้ แต่สามารถปรับองศาได้ตามความต้องการ โดยการออกแบบของ TP-Link Archer AX73 จะมีภาคขยายสัญญาณภายในทั้งสองย่านความถี่
พอร์ต USB 3.0 รองรับกับการเชื่อมต่อ Storage ใช้งานในรูปแบบแชร์ไฟล์ หรือ สำรองข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น
ด้านล่างจะมีช่องระบายความร้อน พร้อมกับฉลากบ่งบอกข้อมูลประจำตัว ที่ยังสามารถห้อยหรือแขวนได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม
การใช้งานด้านหลัง ปุ่มปิด/เปิดไฟแสดงสถานะ ,ปุ่ม WPS ,ปุ่มเปิด/ปิดการทำงาน Wi-Fi ,ปุ่มรีเซ็ต ,พอร์ต Gigabit WAN ,พอร์ต Gigabit Lan 4 ช่อง รองรับการทำ Link Aggregation ที่จะมีจุดเชื่อมต่อพาวเวอร์ซัพพลาย และ ปุ่มพาวเวอร์
Config / Setup
การเข้ามาเซ็ตอัพการใช้งาน สามารถทำผ่าน URL tplinkwifi.net ที่สะดวกสำหรับมือใหม่ดีครับ โดยถ้าใครไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำผ่านแอปบนสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน
มาถึงหน้าของสถานะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ถ้าใครจะเอาไปต่อเป็น Bridge Mode ก็ไปเซ็ตที่ Router ตัวเดิมรอไว้ แล้วเตรียม User / Password ของ Account PPPoE ให้เรียบร้อย
การจัดการ Wi-Fi ในเบื้องต้น ถ้าใครจะให้รวมทั้งสองความถี่บน SSID ด้วยกัน ก็ใช้ Smart Connect ได้ครับ
ใครที่ชอบอัพเดท Firmware ก็มีฟีเจอร์อัพแบบออโต้ให้ครับ
การใช้งาน TP-Link Cloud ที่มีมาให้ใช้งานได้
หน้าของสถานะของระบบเครือข่าย ที่สะดวกใช้งานง่ายๆ
การจัดการ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ที่ออกแบบมาใช้งานได้สะดวก
การจัดการในส่วน Wireless Lan ที่มีการปรับแต่ได้ตามการใช้งานพื้นฐาน ถ้าจะปรับละเอียด เข้าไปที่ Advance Mode
ฟีเจอร์ รักษาความปลอดภัย HomeShield ที่ทาง TP-Link นั้นออกแบบมาให้สามารถจัดการผ่านแอปได้สะดวก
การปรับต่าในรูปแบบ Advance ที่จะสามารถปรับได้ละเอียดมากขึ้น
บรรยากาศขณะการนำ TP-Link Archer AX73 มาใช้งานจริงภายในบ้าน โดยตัวเราเตอร์วางส่วนหน้าชั้น 1 ของบ้าน ลูกข่ายที่ใช้ในการทดสอบเป็น ROG Gaming Notebook รุ่นเก่าที่ได้อัพเกรดให้รองรับ Wi-Fi 6 + iPhone 2020 (Wi-Fi 6) และ Xiaomi Mi8SE (Wi-Fi 5) ไม่ได้เน้นการเค้นประสิทธิภาพ เน้นการครอบคลุมพื้นที่ในการใช้งาน ขณะการทดสอบมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่หลายลูกข่ายนะครับ
ประสิทธิภาพเครือข่ายไร้สาย
ในการทดสอบชั้นเดียวกัน อย่างที่บอกไป ผมได้วาง TP-Link Archer AX73 ช่วงหน้าของบ้าน แต่การทดสอบชั้นเดียวกันผมได้ทำการทดสอบที่ช่วงหลังของบ้าน โดยผลทดสอบออกมาดังนี้
ROG Laptop (Wi-Fi 6) : 812/314 Mbps
iPhone SE (Wi-Fi 6) : 731/336 Mbps
MI8 SE (Wi-Fi 5) : 478/160 Mbps
ในการทดสอบชั้นที่สองของบ้าน อย่างที่บอกไป ผมได้วาง TP-Link Archer AX73 ช่วงหน้าของบ้านชั้น 1 การทดสอบนั้นผมใช้พื้นที่ห้องนอนด้านหลังบ้านเป็นจุดทดสอบ โดยผลทดสอบออกมาดังนี้
ROG Laptop (Wi-Fi 6) : 610/316 Mbps
iPhone SE (Wi-Fi 6) : 521/268 Mbps
MI8 SE (Wi-Fi 5) : 357/130 Mbps
Conclusion
TP-Link Archer AX73 จากการทดสอบที่ทำออกมาได้ โดยส่วนตัวน่าประทับใจมากกับประสิทธิภาพที่ออกมาระดับนี้ บ้าน 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น (ควรวางที่ชั้น 2 ของบ้าน) ที่ TP-Link Archer AX73 สามารถให้ความครอบคลุมของพื้นที่ในการใช้งานได้ประทับใจ ซึ่งทางด้านความเร็วโดยส่วนตัวที่ผมลองทดสอบเค้นๆ มันก็ชนกับอินเตอร์เน็ตระดับ Gigabit กับการเชื่อมต่อไร้สายได้อย่างสบายๆ โดยภาพรวมประสิทธิภาพที่มันสามารถตอบโจทย์การใช้งานในยุค 2021 หรือ คอนเทนต์ระดับ 8K ได้อย่างไหลลื่น ที่การออกแบบยังตอบโจทย์ในยุคของ IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อลูกข่ายจำนวนมาก ใช้งานพร้อมกันได้หลายลูกข่ายในเวลาเดียวกัน ที่สำคัญการพัฒนาในส่วนของฟีเจอร์ความปลอดภัยอย่าง HomeShield ที่สามารถจัดการผ่านสมาร์ทโฟนได้สะดวกมากขึ้น จัดการได้อยู่หมัด ด้วยระดับราคาห้าพันบาทมีทอน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกับการอัพเกรดระบบเครือข่ายภายในบ้านให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่า Wi-Fi Router จาก ISP ไม่ได้จำเป็นว่าต้องใช้ลูกข่าย Wi-Fi 6 แล้วการใช้งาน Wireless AX Router ถึงจเป็นการใช้งานร่วมกับลูกข่ายที่เป็น Wireless AC หรือ N การนำ TP-Link Archer AX73 ไปใช้งานที่สามารถได้รับประสิทธิภาพในการใช้งานที่เหนือขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : 4,990 บาท
Special Thanks : TP-Link Enterprise(Thailand) Co.,Ltd.