สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน ช่วงนีก็ยังคงอยู่ในฤดูร้อนสำหรับบ้านเรา ซึ่งบ้านเรา ก็จะมีหน้าร้อน ร้อนมากๆ และ ร้อนโคตรๆ แน่นอนว่าการเลือกซื้อฮีทซิงค์ซักตัวกับช่วงเวลาที่ต้อง Work From Home ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะการอัพเกรดชุดระบายความร้อนที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพ และ การประมวผลได้อย่างราบลื่น ไม่ต้องมาหัวร้อนเวลาคอมค้างหรือมีปัญหาต่างๆ ที่วันนี้เราจะได้หยิบมาทดสอบให้ได้ชมกับ Thermaltake TOUGHAIR 110 ที่่ได้เปิดตัวในปี 2021 โดยความแตกต่างของฮีทซิงค์ตัวนี้คือ รูปทรงมันจะเป็นแนวนอน ที่ความสูงของมันไม่ได้เป็นแบบ Low Prolfile แต่การออกแบบฮีทซิงค์ลักษณะนี้จะมีข้อดีคือ รอบๆบริเวณตัวซีพียูจะถูกลมพัดผ่านเพื่อให้ช่วยสามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น ในการใช้งานหนักที่สำคัญคือภาคจ่ายไฟและแรม ที่จะมีความร้อนในการใช้งานอย่างไม่ต้องสงสัย Thermaltake TOUGHAIR 110 กับอีกหนึ่งความน่าสนใจคือพัดลมระบายความร้อนที่มีเสียงรบกวนต่ำ พร้อมทั้งแรงลมที่ดีที่เข้าช่วยระบายความร้อนออกจากซิงค์ Thermaltake TOUGHAIR 110 สามารถงานร่วมกับแพลตฟอร์มระดับเมนสตรีมจากทั้งฝั่ง Intel กับ Socket LGA1200 และ 115X แล้วก็ในฝั่งสามารถงานร่วมกับแพลตฟอร์มระดับเมนสตรีมจากทั้งฝั่ง AMD Socket AM4/AM3+/AM2+/FM2+/FM1
Package & Bundled
ตัวแพ็คเกจด้วยธีมสีดำตัดกับสีเทา ตามสไตล์ TT Preimum ในชุดจะมีคู่มือการใช้งาน ซิลิโคน ,อุปกรณ์การยึดพัดลม และ ไม่ปาดซิลิโคน
Design & Detail
Thermaltake TOUGHAIR 110 เป็นรูปทรงแนวนอน ที่จะมีสัดส่วน 137.7 x 123.6 x 114.1 มม ที่เรียกได้ว่าไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ในเคสที่อารมณ์ Mini Tower ที่ติดตั้งการ์ดจอความสูงปกติก็สามารถติดตั้งได้ ตัววัสดุทำมาจากครีบอลูมิเนียม ผนวกกับท่อฮีทไปท์ทองแดงขนาด 6 มม. จำนวน 4 เส้น ที่การออกแบบนั้นจะมีโครงเสริมความแข็งแรงเอาไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับลูกเล่นฝาครอบพลาสติกสีดำ ที่จะมีโลโก้ Thermaltake ปิดฮีทซิงค์ฝั่งในส่วนปลายของฮีทไปท์
ตัวพัดลมที่ให้มาในชุดนั้น ตามสเป็คไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรที่ดูดึงดูด ด้วยขนาด 12x12x2.5 ซม. ถ้าเรามองกันที่ภายนอกมุมพัดลมจะมีวัสดุยาง เพื่อลดแรงสั่นทะเทือน ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนขึ้นมาได้
แต่โดยการออกแบบของใบพัดที่สามารถแหวกอากาศได้เป็นอย่างดี ให้แรงอัดอากาศที่สูง โดยที่เสียงรบกวนไม่สูงมาก รอบการทำงานสูงสุด 2000 รอบต่อนาที ตัวพัดลมเป็นการเชื่อมต่อ 4 Pin PWM ที่ตัวสายเป็นสีดำ มีการหุ้มเก็บสายมาให้
มาถึงตัวครีบอลูมิเนียมกัน ที่ทาง Thermaltake ได้มีการออกแบบ Asymmetric Fin Structure เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานรอบพัดลมต่ำ โดยที่ยังคงสามารถระบายความร้อนได้ดี พร้อมทั้งอากาศสามารถไหลเวียนไปสู่บริเวณรอบๆได้อีกด้วย
ท่อฮีทไปท์ทองแดงขนาด 6มม. จำนวน 4 เส้น ที่จะเป็นตัวนำพาความร้อนจากซีพียู ไปสู่ครีบระบายความร้อนได้
ฐานหน้าสัมผัสซีพียูกับฮีทไปท์ จะเป็นแบบ DHT ก็มียุคนึงฮีทซิงค์ระบายความร้อนนั้นนิยมใช้กันมาก ซึ่งจากคำแนะนำของผมอย่าทาซิลิโคนเยอมาก ปาดบางๆเนียนๆนะครับ เดี๋ยวซิลิโคนจะทะลักเกินกระดองของซีพียูได้
ฐานหน้าสัมแบบสัมผัสตรงกับฮีทไปท์ ที่จะมีอลูมิเนียมเข้ามาเสริมช่วยในการจับความร้อนจากซีพียูด้วย การเก็บงานถือว่าทำออกมาได้ดีพอใช้ได้
รูปแบบการวางพัดลม ที่ในภาพผมยังไม่ได้ใส่ขาล็อกเข้าไป ลองสังเกตุดูว่าลมนั้นจะเข้ามาช่วยเสริมในการระบายความร้อนภาคจ่ายไฟและแรมได้อีกทางนึง
ความสูงของแรมไม่ใช่ปัญหา ถ้าใช้แรมความสูงแบบสมัยนิยม ไม่มีการติดขัดอะไร
System Setup
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 5 5600X
- VGA : AMD Radeon RX6800
- Mainboard : X570 Aorus Master
- Memory : G.Skill Trident Z Royal F4-4000C17D-16GTRSB
- SSD : AORUS Gen4 7000s 2TB
- PSU : FSP 1200Watt
- OS : Windows 10 Pro (20H2)
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
ในการทดสอบที่เราได้ใช้ซีพียู Thermaltake TOUGHAIR 110 ตามสเป็คค่า TDP ของซีพียู ไม่ถึงขั้นที่รองรับสูงสุด แต่การทดสอบวันนี้ ผมได้ทดสอบในห้องร้อนนอนเปิดแอร์ชิวๆ โดยพัดลมซีพียูปรับที่รอบการทำงานสูงสุด การทดสอบ Full Load จะใช้ Prime95 ทดสอบโหมดที่เค้นความร้อนของซีพียูสูงสุด การทดสอบจะ Full Load ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ในแง่ความเป็นจริงในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่มีอะไรที่จะมันไปดึง Full Load เหมือนพวกโปรแกรม Prime 95 แน่นอนครับ
Conclusion
Thermaltake TOUGHAIR 110 เป็นฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียูแบบอัพเกรดกับใครที่ไม่ชอบ ฮีทซิงค์ทรงทาวเวอร์ ชอบฮีทซิงค์ที่วางในแนวนอน หรือ การใช้งานในเคสขนาดที่ใม่ใหญ่มาก สังเกตุได้จากพัดลมด้านหลังเคสที่ติดตั้งได้สูงสุด 8-9 ซม. ในแง่ดีในการใช้งาน ที่ Thermaltake TOUGHAIR 110 ช่วยเสริมการระบายความร้อนของภาคจ่ายไฟเมนบอร์ด และ แรมได้เป็นอย่างดี ที่จากการทดสอบเราก็คงจะเห็นกันแล้วว่ามันสามารถระบายความร้อนออกมาได้ดีครับ โดยส่วตตัวที่ผมชอบมากกับฮีทซิงค์ตัวนี้ คือการออกแบบในจุดต่างๆและพัดลมที่ให้มาในชุด ส่งผลให้ต่อเสียงรบกวนในการทำงานที่ต่ำ แม้พัดลมจะทำงานในรอบสูงสุดที่ประมาณ 2000 รอบ ก็เป็นอีกหนึ่งของฮีทซิงค์ระบายความร้อนซีพียู ที่มีความแตกต่าวส่วนมากในท้องตลาด สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : Thermaltake Technology Co., Ltd.