สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน หลังจากงาน Computex Taipei 2019 ที่ทาง AMD ได้มีการสร้างสีสันด้วยการเปิดตัว AMD Ryzen 3 หรือ Ryzen 3000 ผนวกกับเมนบอร์ดชิพ AMD X570 ที่เราคงจะได้เห็นการทดสอบกันไปแล้ว แต่กับบทความนี้เป็นเรื่องราวที่ผมนั่งเขียนก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ AMD Ryzen 3 หรือ Ryzen 3000 ด้วยความที่ผมได้รับเมนเบอร์ด X570 AORUS PRO ที่เป็นเกมมิ่งเมนบอร์ดภายใต้ร่มเงาของ GIGABYTE ด้วยหัวใจหลักกับชิพ AMD X570 มาก่อนวางไว้ในห้องคู่กับ AMD Ryzen 2 ก็เลยคิดถึงวันวานที่ใช้ AMD Phenon II X6 คู่กับเมนบอร์ดชิพ AMD 990FX ที่วันนี้เราจะมาทดสอบร่วมกับ AMD Ryzen 2 หรือ Ryzen 2000 เผื่อใครที่ใช้อยู่อาจตัดสินใจเปลี่ยนเมนบอร์ดมาใช้รอระหว่างเก็บเงินซื้อ AMD Ryzen 3 หรือ Ryzen 3000 นั้นเอง ซึ่ง X570 AORUS PRO ที่เราจะมารีวิวในวันนี้ ยังไม่ใช่เมนบอร์ดระดับสูงสุดของยุค AMD X570 แต่ก็ด้วยการออกแบบตามแบบฉบับ GIGABYTE ที่ยังคงกับการจัดเต็มกับการออกแบบตอบโจทย์ในสายเกมมิ่งอย่างคุ้มค่า
Package & Bundled
แพคเกจที่ดูดุดันสวยงามสไตล์ของ AORUS ดำตัดส้ม โดยของในชุดที่ มีแผ่นโปรแกรมการติดตั้ง ,คู่มือการใช้งาน ,น็อตยึด SSD ,สาย SATA III สี่เส้น และ สายต่อความยาวไฟ RGB
Design & Detail
ธีมของเมนบอร์ดที่มาด้วยสีดำตัดกับสีเทา มีการใส่ลายบนเมนบอร์ดเพื่อความสวยงาม การจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดถือว่าลงตัวกับขนาดของ PCB ทางด้านอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้บนเมนบอร์ด ถือว่าอัดแน่นดี กับการใช้อุปกรณ์คุณภาพตามแบบฉบับของ AORUS
จาก PCB สีดำด้าน เป็นขนาด ATX การเก็บงานและรายละเอียดต่างๆทำออกมาดี โดยจะมีการซ่อนหลอดไฟ LED แล้วให้แสงสว่างลอดขึ้นไปในช่วงของ PCB ที่ทำโปร่งแสงไว้
ซีพียูที่รองรับนั้น หลักๆถ้าพูดสั้นๆง่ายๆ Socket AM4 Ryzen ยุคที่ 3 และ 2 ส่วนทางด้าน Ryzen With Radeon Vega ในยุคที่ 2 และ 1 โดยทางด้านภาคจ่ายไฟที่มาจัดเต็มทั้งหมด 12+2 เฟส ภาคจ่ายไฟใช้อุปกรณ์คุณภาพมาอย่างจัดเต็ม ทางด้านการระบายความร้อนภาคจ่ายไฟที่มาอย่างจัดเต็มอีกด้วยการใช้ท่อฮีทไปท์มาช่วยระบายความร้อรนภาคจ่ายไฟโดยตรง
สล็อตติดตั้งแรมนั้นจะเป็นแบบมาตรฐาน โดยเมโมรีที่รองรับนั้นเป็นชนิด DDR4 ตามมาตรฐานของ Socket AM4 โดยรองรับการติดตั้งเมโมรีแบบ Dual Channels สูงสุดที่ 128GB ความเร็วที่รองรับสูงสุด 4400 Mhz ความเร็วสูงสุดที่รองรับจะแตกต่างกันตามหน่วยประมวลผลกลางที่ติดตั้งเข้าไป ในส่วนของสล็อตแรมนั้นจะใส่ Ultra Durable Memory Armor เสริมความแข็งแรงมาพร้อม
ที่รองรับการติดตั้งสามขนาดคือ 2242 ,2260 ,2280 และ 22110 ที่รองรับ PCI-e สูงสุด 4.0 x4 (ขึ้นกับซีพียูที่ติดตั้ง) และ SATA III 6Gb/s โดยจะมาพร้อมกับฮีทซิงค์ระบายความร้อน SSD พร้อมใช้งาน
สล๊อต PCI-Express x16 4.0 สองสล็อต ที่มีการเสริมความแข็งแรงด้วย Ultra Durable PCIe Armor รองรับการติดตั้งกราฟฟิกการ์ด AMD Crossfire และ NVIDIA SLI แล้วนอกนั้นจะมี PCI-e x16 4.0 แบนวิธิ x4 สุดท้ายกับ PCI Express x1 4.0 อีก 2 สล็อต โดยทั้งหมดจะเป็น PCI-e 4.0 จะต้องใช้กับ Ryzen 3 เท่านั้น
พอร์ต SATA III 6GB/s จะมีมาทั้งหมดสี่พอร์ตบนเมนบอร์ด เป็นการควบคุมโดยชิพ X570 รองรับการเชื่อมต่อ RAID 0 1 และ 10 ฮีทซิงค์อลูมิเนียมสีดำรับหน้าที่ระบายความร้อนชิพ X570 ที่มาพร้อมกับฝาครอบที่มีโลโก้ AORUS พร้อมกับพัดลมระบายความร้อน 4 ซม.
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ Bracket Port USB 2.0 และ USB 3.0 หรือ USB 3.1 Gen1
การรองรับการเชื่อมต่อ LED RGB จะรองรับทั้งสองรูปแบบ
จุดสำหรับการเชื่อมต่อ USB 3.2 GEN2 แม้เมนบอร์ดตัวนี้จะไม่ใช่ตัวท๊อปสุด แต่ก็มีไฟ LED แจ้งสถานะขณะการบูตระบบ
การรองรับการเชื่อมต่อ LED RGB จะรองรับทั้งสองรูปแบบ ในภาพเราจะเห็นกับฟีเจอร์ QFLASH PLUS ช่วยทำให้อัพเดทไบออสได้ง่ายมาก
การรองรับการเชื่อมต่อ LED RGB ของชุดระบายความร้อนมาตรฐานจาก AMD ที่มีไฟ RGB ติดตัวมา
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดด้วยชิพ Realtek ALC1220-VB รองรับระบบเสียงรอบทิศทางแบบอนาล็อก โดยคาปาซิเตอร์ใช้ WIMA และ Nichicon Find Gold สายเล่นเครื่องเสียงเห็นภาพก็รูปแล้วว่ามันคือแบรนด์อะไร
Back Panal I/O Ports
1 x HDMI port
1 x USB Type-C™ port, with USB 3.2 Gen 2 support
1 x USB 3.2 Gen 2*/Gen 1 Type-A port (red) * For 3rd Generation AMD Ryzen processors only.
1 x USB 3.2 Gen 2 Type-A port (red)
3 x USB 3.2 Gen 1 ports
4 x USB 2.0/1.1 ports
1 x RJ-45 port
1 x optical S/PDIF Out connector
5 x audio jacks
< < < Specifications > > >
ในส่วนระบบเสียงออนบอร์ดใช้ชิพ Realtek ALC1220 ทางด้านเครือข่ายแบบด้วยการเชื่อมต่อสายแลนใช้ชิพจาก Intel
แสงสีที่สามารถปรับแต่งได้จากฟีเจอร์ RGB Fusion 2.0
การปรับแต่งแสงสีจาก RGB Fusion 2.0 สามารถปรับแต่งเป็นโซนได้ตามความต้องการ
System Setup
การทดสอบวันนี้ก็เน้นง่ายๆครับ โอเวอร์คล็อกซีพียูขึ้นมาเล็กน้อย พร้อมกับปรับบัสแรมไปที่ 3200 Mhz
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- CPU : AMD Ryzen 5 2600
- VGA : ASUS Radeon RX580 8GB
- Memory : G.Skill Trident-Z RGB 3200 Mhz 16GB Dual Channels
- CPU Cooler : Stock
- SSD : Silicon Power a56 256GB
- PSU : FSP 1000 Watt
- OS : Windows 10 Pro (1903)
บรรยากาศขณะการทดสอบ
Performance Test
Conclusion !
X570 AORUS PRO กับเมนบอร์ดที่ใช้หัวใจหลักชิพ AMD X570 ในระดับที่จับต้องได้ง่ายมาขึ้นในยุคของ AMD Ryzen 3 เพราะจากราคาที่ผมได้ยินแว่วๆมา เมนบอร์ดชิพ X570 ราคาไม่ถูกครับ ในแง่กับการทดสอบแล้วการใช้งานร่วมกับ AMD Ryzen 2 โดยส่วนตัวแล้วมันหาความคุ้มค่าอะไรไม่ได้ เพราะในการใช้งานต่างๆนั้น จะไม่สามารถดึงความสามารถสูงสุดของเมนบอร์ดชิพ AMD X570 กันครับ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ PCI Express 4.0 และ USB 3.2 Gen 2 โดยเหตุผลในการทดสอบก็ได้แจ้งเอาไว้แล้วว่าเผื่อใครอยากรู้ว่า X570 ใช้ร่วมกับ Ryzen 2 จะออกมายังไง ถ้าไม่มีแผนในการอัพเกรดรอ ก็อยู่ที่ AMD 300 หรือ AMD 400 กันต่อไปละกันครับ X570 AORUS PRO ก็เป็นอีกความน่าสนใจของเมนบอร์ดชิพ AMD X570 กับการใช้งานร่วมกับ AMD Ryzen 3 ที่มีการใช้งานต่างๆอย่างครบเครื่องตามยุคสมัยของเทคโนโลยี ถึงแม้จะไม่ใช่เมนบอร์ดตัวท๊อป แต่ X570 AORUS PRO ยังมาพร้อมกับการจัดเต็มด้วยอุปกรณ์บนเมนบอร์ดมาอย่างมีคุณภาพตามแบบฉบับของ GIGABYTE ตอบโจทย์การใช้งานด้านเกมมิ่ง รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอลากันแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
Price : N/A บาท
Special Thanks : GIGA-BYTE Technology Co., Ltd.